หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน ฉบับที่12 เดือนธันวาคม 2561
รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน ฉบับที่12 เดือนธันวาคม 2561
13 มี.ค. 2562
0
นานาสาระน่ารู้

แผนงานร่วมภารกิจทีมประเทศไทยตามแนวทางของนายเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา
แคนาดาได้เปิดประเทศนอกภูมิภาค โดยเฉพาะการที่แคนาดาเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีความพร้อมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีทัศนคติที่ดีต่อประเทศไทย โดยได้ให้แนวทางกับประเทศไทยไว้ดังนี้
1. การแบ่งกรอบการเจรจาและการพัฒนาความร่วมมือมุ่งเน้นกระชับความสัมพันธ์กับแคนาดาใน 3 ระดับ ทั้งระดับรัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ซึ่งบทบาทในมิติด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเกี่ยวข้องยึดโยงได้ทั้ง 3 ระดับ และสามารถผลักดันให้เกิดรูปธรรมที่ข้ามระดับได้ เช่นระดับรัฐกับเอกชน หรือรัฐกับประชาชน ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
2. การดำเนินงานใน 3 มิติ ประกอบด้วย การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม สำหรับแคนาดา ในด้าน วทน. จะเน้นในภาคเศรษฐกิจ และสังคม ประสงค์เพื่อมุ่งเน้นเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
3. ลักษณะโครงการความร่วมมือที่น่าสนใจกับแคนาดา อาทิ
 3.1 นวัตกรรมด้านอาหารและการเกษตร แคนาดามีความสนใจและมึความเชี่ยวชาญในหลายสาขา เช่น การทำฟาร์มสัตว์ให้นม (Dairy Farming) การพัฒนาโปรตีนจากแมลงและจากพืช (Insect and Plant based Protein) และการผลิตอาหารในแบบ Functional Food
 3.2 ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนด้าน Creative Economies & Industries ผลักดันการประกอบธุรกิจร่วมทุนไทยแคนาดา เชิง Start-up ที่ช่วยกระตุ้นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความรู้เทคนิคด้านวทน. (Knowledge Based Activities)
 3.3 ผลักดันร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในการนำแนวทางพัฒนา Big Data และ Internet of Things โดยเฉพาะกับระบบภาคการเกษตร รวมทั้งช่วยพัฒนา platform ที่จะสร้าง value chain และดึงภาคธุรกิจรุ่นใหม่ ที่มีนวัตกรรม ให้สนใจหาช่องทางประกอบธุรกิจกับแคนาดามากขึ้น
 3.4 ในภาคการศึกษาและการวิจันเพื่อพัฒนา สถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงออตตาวา ได้ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลักดันให้เกิดการลงนามในความตกลงกับ National Research Council (NRC) แคนาดา ได้สำเร็จแล้วเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2561 และจะใช้เป็นกรอบความร่วมมือในด้านส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยของสองประเทศ

แคนาดากับยุคผู้นำคนรุ่นใหม่ที่ไปไกลกว่า 4.0
นายกรัฐมนตรี จัสติน ทรูโด (Justin Pierre James Trudeau) หัวหน้าพรรคเสรีนิยม ให้ความสนใจอย่างมากในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากแคนาดาเอง เป็นแหล่งของนักวิจัยและโครงสร้างพื้นฐานด้านงานวิจัย วทน. จำนวนมาก ที่ยังกล่าวได้ว่า ไม่ได้รับการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร หรือนำไปร่วมพัฒนาโลก เนื่องจากระบบราชการของแคนาดา เน้นการมองภายใน สมถะ จึงไม่ค่อยมีความกระตือรือล้นในการแสดงบทบาทเป็นผู้นำโลก แต่เนื่องจากนโยบายของสหรัฐอเมริกา มีการเปลี่ยนแปลงแบบแปลกๆ แคนาดาจึงขยายความร่วมมือกับต่างประเทศมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในมิติด้าน วทน. รัฐบาลได้มีการแต่งตั้งหัวหน้าคณะที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์  Chief Science Advisor ประจำนายกรัฐมนตรี ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์สตรีชื่อ ดร.โมนา นีเมอร์ (Mona Nemer) เพื่อให้การผลักดันด้านวิทยาศาสตร์กับการตัดสินใจทางการเมืองของแคนาดา แคนาดาได้เพิ่มการใช้สื่อของรัฐบาลในด้านวิทยาศาสตร์ เช่น FACETS – วารสารวิทยาศาสตร์ของแคนาดา สามารถให้ข้อมูลด้านวทน. เช่น กระทรวงสิ่งแวดล้อม สำนักงานอวกาศแคนาดา ประมงและมหาสมุทรแคนาดา กระทรวงสาธารณสุข

สภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา (National Research Council – NRC)
สภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา (National Research Council – NRC) เป็นองค์กรวิจัยที่ใหญ่ที่สุดของรัฐบาล ผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนวัตกรรม วิทยาศาสตร์และการพัฒนาเศรษฐกิจ มีหน้าที่หลักในการสนับสนุนนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมความก้าวหน้าของการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยี NRC สามารถช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมและรัฐบาลดำเนิการตามภารกิจลำดับความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ระดับประเทศไปในทิศทางเดียวกัน ผ่านการวิจัยเชิงภารกิจและการพัฒนาเทคโนโลยี โครงการของ NRC มุ่งเน้นไปที่วิทยาการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเชิงกลยุทธ์ต่อแคนาดาและเป็นสาขาที่แคนาดามีความโดดเด่น
NRC ประกอบด้วยหน่วยงานวิจัยและพัฒนาแบบบูราการ 4 สาขา ได้แก่ 1) การขนส่งและการผลิต 2) วิศวกรรม 3) ชีววิทยาศาสตร์ และ 4) เทคโนโลยีอุบัติใหม่ พัฒนา มีศูนย์วิจัยเฉพาะด้านรวม 14 แห่งมุ่งเน้นไปที่ภาคอุตสาหกรรมหลักหรือสาขา R&D  แต่ละแห่งที่ได้รับคำแนะนำจากหน่วยงานซึ่งประกอบด้วย ภาคอุตสาหกรรม ภายใต้แผนกการวิจัยที่มีอยู่
สภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา (National Research Council – NRC)
ศูนย์วิจัยทั้ง 14 แห่งของ NRC ประกอบด้วย
1. Advanced Electronics and Photonics Research Centre
เน้นความเชี่ยวชาญและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาซอฟต์แวร์สารกึ่งตัวนำและการออกแบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (คล้ายกับ NECTEC ของไทย)
2. Aerospace Research Centre
เน้นการวิจัยพัฒนาในการออกแบบการผลิตการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษายานพาหนะทางอากาศและอวกาศ
3. Aquatic and Crop Resource Development Research Centre
เน้นงานวิจัยพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับพืชอาหารและสัตว์น้ำ ที่เป็นแหล่งอาหารและภาคผลิตภัณฑ์ชีวภาพอื่นๆ
4. Automotive and Surface Transportation Research Centre
เน้นการส่งเสริมทักษะการผลิตขั้นสูงเพื่อช่วยในการพัฒนายานพาหนะที่เบาเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและประหยัดมากขึ้น
5. Construction Research Centre
ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อการผลิตวัสดุก่อสร้างและข้อบังคับความปลอดภัยจากอัคคีภัยโครงสร้างพื้นฐานและอื่นๆ
6. Digital Technologies Research Centre
ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ที่เน้นปัญญาประดิษฐ์ ชีวสารสนเทศศาสตร์ blockchain ความปลอดภัยทางไซเบอร์ การวิเคราะห์ข้อูมูล การประมวลผลภาษา
7. Energy, Mining and Environment Research Centre
ศูนย์ที่ส่งเสริมงานวิจัยด้านการลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันระดับโลกในภาคพลังงานและเหมือง
8. Herzberg Astronomy and Astrophysics Research Centre
ศูนย์วิจัยด้านดาราศาสตร์และดาราศาสตร์ฟิสิกส์ (คล้ายกับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย สดร. ของไทย)
9. Human Health Therapeutics Research Centre
ศูนย์ที่ทำการการพัฒนาและผลิตวัคซีนสำหรับการบำบัดขั้นสูง และเทคโนโลยีการวินิจฉัย
10. Medical Devices Research Centre
ศูนย์วิจัยอุปกรณ์ทางการแพทย์ โครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและความเชี่ยวชาญในการพัฒนาเทคโนโลยีการวินิจฉัยทางการแพทย์
11. Metrology Research Centre
ศูนย์วิจัยด้านมาตรวิทยา ดำเนินการวิจัยการวัดและให้บริการด้านมาตรวิทยาเพื่อให้บริการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (คล้ายกับกรมวิทยาศาสตร์บริการ วศ)
12. Nanotechnology Research Centre
ศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยี ที่ออกแบบโครงสร้างพื้นฐานในการวิจัยนาโนวิทยาศาสตร์ที่ใช้ข้ามสาขาวิทยาศาสตร์ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ (คล้ายกับ NANOTEC ของไทย)
13. Ocean, Coastal and River Engineering Research Centre
ศูนย์ติดตามและพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาด้านวิศวกรรม ในมหาสมุทร ชายฝั่งทะเลและแม่น้ำ
14. Security and Disruptive Technologies Research Centre
ศูนย์ที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการวิจัยด้านเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกวัสดุขั้นสูงโฟโตนิกส์ และเทคโนโลยีควอนตัม

การลงนามความตกลงด้าน วทน. ระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กับสภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับสภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา (The National Research Council of Canada – NRC) ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กับสภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2562
ซึ่งทั้งสองประเทศจะมีความร่วมมือด้านวทน. โดยเฉพาะนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ และเกษตรกรรมสมัยใหม่

Canadian Super Clusters ซุปเปอร์คลัสเตอร์บนผืนดินที่กว้างใหญ่ไพศาล
กระทรวงนวัตกรรม วิทยาศาสตร์และการพัฒนาเศรษฐกิจ (Ministry of Innovation, Science and Economic Development) ได้แบ่งเขตผลิตภัณฑ์วทน. เฉพาะทางไว้ 5 ด้าน โดยแบ่งออกได้ดังนี้
1. Digital Technology ในเขตมณฑล British Columbia) ที่มีนครแวนคูเวอร์เป็นศูนย์กลางอยู่ติดฝั่งทะเลมหาสมุทรแปซิฟิก มุ่นเน้นด้าน Augmented Reality, การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การคำนวนแบบควอนตัม และพันธุกรรม
2. AI-Powered Supply Chains (ในมณฑล Quebec) ที่มีนครมอนทรีออลเป็นศูนย์กลางและใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก มุ่งเน้นด้าน Artificial intelligence และเทคโนโลยีเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain)
3. Protein Industries มุ่งเน้นด้านเทคโนโลยีที่พัฒนาพันธุกรรม กระบวนการและ IT ใน Agri-food เนื่องจากเป็นแหล่งเกษตรกรรมบนทุ่งหญ้าแพรรี่
4. Ocean มุ่งเน้นด้านการพัฒนาอุปกรณ์วัดและสำรวจทางทะเล การสร้างพลังงานทางน้ำ รวมถึง Marine Biotechnology
5. Advanced Manufacturing มุ่งเน้นด้าน Internet of Things machine Learning Cybersecurity และ 3D Printing สำหรับรองรับภาคการพัฒนาเมือง

Canada’s Science Vision วิสัยทัศน์ วทน. ของแคนาดา
ประธานาธิบดี ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านวทน. มีการลงทุนที่สำคัญดังนี้
การวิจัยขั้นพื้นฐาน ค่าใช้จ่ายทางอ้อมของการศึกษาวิจัย สนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศด้าน วทน. การวิจัยแบบสหวิทยาและการวิจัยที่มีความเสี่ยงสูง สนับสนุนโครงการ Canada Research Chairs เพื่อดึงดูดนักวิจัยรุ่นใหม่ การจัดทำสำรวจเก็บข้อมูบเกี่ยวกับนักวิจัยและโครงการวิจัยต่างๆ เพื่อพัฒนาความเท่าเทียมและความหลากหลายในการศึกษา เพื่อสนับสนุนองค์กร Canada Foundation for Innovation ในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือล้ำสมัยด้านการวิจัย เพื่อสนับสนุนการวิจัยประยุกต์และผลักดันความร่วมมือวิจัย เพื่อพัฒนากลยุทธด้านโครงสร้างพื้นฐานการวิจัยดิจิตอลเพื่อเพิ่มการเข้าถึงทรัพยากรด้าน Big Data เพื่อสนับสนุนงานวิจัยของ National Research Council Canada (NRC) และสร้างบทบาทของ NRC เป็นหน่วยงานพันธมิตรด้านการวิจัยและพัฒนาที่น่าเชื่อถือ

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20190312-newsletter-washington-vol12-61.pdf

13 มี.ค. 2562
0
แชร์หน้านี้: