หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ แนวคิดที่ผิดเกี่ยวกับการเผยแพร่แบบเข้าถึงแบบเปิด
แนวคิดที่ผิดเกี่ยวกับการเผยแพร่แบบเข้าถึงแบบเปิด
19 ก.ย. 2561
0
นานาสาระน่ารู้

1. วารสารเข้าถึงแบบเปิดไม่มีการ peer-review
ในขณะที่เป็นไปได้ที่จะพบวารสารผ่านอินเทอร์เน็ตซึ่งไม่ใช้ขบวนการ peer review ส่วนใหญ่ของวารสารเข้าถึงแบบเปิดใช้ขบวนการ peer review เหมือนกับวารสารแบบดั้งเดิม

2. วารสารเข้าถึงแบบเปิดมีคุณภาพที่แย่กว่าวารสารที่ต้องบอกรับเป็นสมาชิกแบบดั้งเดิม
หลายวารสารเข้าถึงแบบเปิดเป็นผู้นำในสาขามีค่า impact factor ที่สูง

3. บทความเข้าถึงแบบเปิดไม่มีลิขสิทธิ์
นักวิจัยบางคนกลัวว่าการเผยแพร่บทความเข้าถึงแบบเปิดหมายความว่าบทความไม่ถูกคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์แต่นี้ไม่ใช่เรื่องจริง ความจริงคือการเข้าถึงแบบเปิดทำให้บ่อยๆ ผู้แต่งยังคงมีลิขสิทธิ์ในบทความ ในบางกรณีผู้แต่งเผยแพร่ในวารสารแบบดั้งเดิมอาจต้องการการอนุญาตเพื่อใช้รูปภาพหรือเนื้อหาเมื่อสอนในห้องเรียน วัสดุเข้าถึงแบบเปิดไม่มีข้อจำกัดนี้ หลายวารสารเข้าถึงแบบเปิดใช้การอนุญาตแบบ Creative Commons ซึ่งยอมให้ใช้วัสดุถ้ามีการอ้างอิงผู้แต่งต้นฉบับ

4. การเข้าถึงแบบเปิดเป็นเพียงแฟชั่นชั่วขณะ

5. การเข้าถึงแบบเปิดเพียงช่วยผู้อ่านไม่ใช่ผู้แต่ง
การเข้าถึงแบบเปิดมีประโยชน์ต่อผู้อ่านเพราะเป็นวิธีที่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการดูบทความที่ถูกเผยแพร่ อย่างไรก็ตามการเข้าถึงแบบเปิดมีประโยชน์ต่อผู้แต่งด้วย การมองเห็นที่เพิ่มขึ้นของบทความที่ถูกเผยแพร่ทำให้บ่อยๆ เพิ่มความถี่การอ้างอิง ซึ่งมีประโยชน์ต่อนักวิจัย

ที่มา: Ben Mudrak. OPEN ACCESS PUBLISHING:
FIVE MYTHS . American Journal Experts. Retrieved August 27, 2018, from https://www.aje.com/dist/docs/aje_open_access_myths.pdf

19 ก.ย. 2561
0
แชร์หน้านี้: