หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ สารสนเทศวิเคราะห์ สารสนเทศวิเคราะห์ กระทรวงวิทย์ฯ สรุปผลงานวิจัยเด่นในรอบ 30 ปี
กระทรวงวิทย์ฯ สรุปผลงานวิจัยเด่นในรอบ 30 ปี
22 ต.ค. 2563
0
สารสนเทศวิเคราะห์
สารสนเทศวิเคราะห์
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวบรวมผลงานวิจัยเด่น 143 โครงการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในรอบ 30 ปี นับตั้งแต่วันที่สถาปนา วันที่ 24 มีนาคม 2522 จัดพิมพ์ใน หนังสือ “รวมเทคโนโลยีของ วท.”จากผลงานวิจัยเด่นทั้งหมด 143 โครงการที่ได้มีการรวบรวม เมื่อนำมาวิเคราะห์โดยแบ่งตามกลุ่มของสาขาเทคโนโลยี พบว่าเทคโนโลยีเครื่องจักรและระบบการผลิตอัตโนมัติเป็นอันดับหนึ่งโดยมีจำนวนโครงการ 41 โครงการ ซึ่งคิดเป็น 29% จากจำนวนทั้งหมด ต่อด้วยเทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร และ เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ 40 และ 20 โครงการ หรือคิดเป็น 28% และ 14% ตามลำดับ ขณะที่เทคโนโลยีการเกษตร มีจำนวนโครงเป็นอันดับสุดท้าย คือ 5 โครงการ หรือ 3.5%ตารางแสดงจำนวนผลงานวิจัย แบ่งตามสาขาเทคโนโลยี

 อันดับ
  สาขา
 จำนวนผลงาน
 เปอร์เซ็นต์
 1  เทคโนโลยีเครื่องจักรและระบบการผลิตอัตโนมัติ  41  29%
 2  เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร  40  28%
 3  เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ  20  14%
 4  เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ การแพทย์ และเภสัช  16  11.2%
 5  เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์  9  6.3%
 6  เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน  6  4.2%
 7  เทคโนโลยีอื่นๆ  6  4.2%
 8  เทคโนโลยีการเกษตร  5  3.5%

ขณะที่นักวิจัยที่มีจำนวนผลงานมากที่สุด 20 อันดับ อันดับหนึ่ง คือ นางสาวอารี ชูวิสิฐกุล จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยมีผลงาน 20 โครงการ และเป็นผลงานด้านเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารทั้งสิ้น ตามมาด้วย นักวิจัยจากกรมวิทยาศาสตร์บริการเช่นเดียวกัน คือ นางวรรณดี มหรรณพกุล จากผลงานเทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร จำนวน 13 โครงการ และ นางวรรณา ต.แสงจันทร์ จำนวน 11 โครงการ กับผลงานสาขาเทคโนโลยีโลหะและวัสดุ

ตารางแสดงอันดับเจ้าของผลงานงานวิจัย ที่มีจำนวนผลงานมากที่สุด 20 อันดับ

  อันดับ
 เจ้าของผลงาน
หน่วยงาน
  จำนวนผลงาน
 เปอร์เซ็นต์
 1  อารี ชูวิสิฐกุล  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  20  13.99
 2  วรรณดี มหรรณพกุล  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  13  9.09
 3  วรรณา ต.แสงจันทร์  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  11  7.69
 4  สถาบันไทย-เยอรมัน (TGI)  สถาบันไทย-เยอรมัน(TGI)  7  4.90
 5  สัมพันธ์ ศรีสุริยวงศ์  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  7  4.90
 6  ยุทธนา ตันติวิวัฒน์  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  5  3.50
 7  คงพันธุ์ ร่งประทีปถาวร  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  4  2.80
 8  ยุทธ์พงศ์ ประชาสิทธิศักดิ์  สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ  4  2.80
 9  สมาคมเครื่องจักรกลไทย  สมาคมเครื่องจักรกลไทย  4  2.80
 10  จิตต์เรขา ทองมณี  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  4  2.80
 11  พิมพ์วัลคุ์ วัฒโนภาส  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  2  1.40
 12  พิมพ์วัลคุ์ วัฒโนภาส  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  2  1.40
 13  ลดา พันธุ์สุขุมธนา  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  2  1.40
 14  อดิสร เตือนตรานนท์  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  1.40  1.40
 15  อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  2  1.40
 16  สิรพัฒน์ ประโทนเทพ  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  2  1.40
 17  ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  2  1.40
 18  เอกรัตน์ ไวยนิตย์  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  2  1.40
 19  อุราวรรณ อุ่นแก้ว  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  2  1.40
 20  ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ  ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ  1  0.70

จากผลงานเด่นที่ได้รวบรวม 143 โครงการ เมื่อแบ่งตามหน่วยงานเจ้าของผลงาน หน่วยงานที่มีจำนวนผลงานการวิจัย และพัฒนา สูงสุด 3 อันดับแรก คือ กรมวิทยาศาสตร์บริการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดย 62 โครงการเป็นผลงานของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ขณะที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มีจำนวนผลงานวิจัย 28 และ 21 โครงการตามลำดับ

โดยผลงานที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากจะเป็นผลงานการวิจัยและพัฒนาของนักวิจัยจากหน่วยงานในสังกัด สวทช. แล้ว ยังได้รวมถึงผลงานที่เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันของหน่วยงานวิจัยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันอุดมศึกษา ร่วมด้วย

ตารางแสดงอันดับหน่วยงานเจ้าของผลงานวิจัย ที่มีจำนวนผลงานมากที่สุด 5 อันดับ

 อันดับ
  หน่วยงานเจ้าของผลงาน
 จำนวนผลงาน    เปอร์เซ็นต์
 1  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  62  43.36
 2  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  28  19.58
 3  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  21  14.69
 4  หน่วยงานที่วิจัยร่วมมากกว่า 1 หน่วยงาน  19  13.29
 5  สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ  4  2.80

ในจำนวน 62 โครงการที่ดำเนินการโดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ หากแบ่งตามสาขาเทคโนโลยี พบว่าผลงานส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร ถึง 33 โครงการ ขณะที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จะเน้นสาขาเทคโนโลยีเครื่องจักรและระบบการผลิตอัตโนมัติ ซึ่งมี 18 โครงการ ส่วน 21 โครงการของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สาขาของเทคโนโลยีที่มีผลงานมากที่สุด คือ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ รวม 9 โครงการ

ตารางแสดงจำนวนผลงานวิจัย แบ่งตามสาขา้เทคโนโลยีที่ีมีจำนวนผลงานมากที่สุด

 อันดับ  หน่วยงานเจ้าของผลงาน จำนวนผลงาน  เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
 เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ การแพทย์ และเภสัช เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ
เทคโนโลยีเครื่องจักรและระบบการผลิตอัตโนมัติ
 เทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
 เทคโนโลยีอื่นๆ
 1 กรมวิทยาศาสตร์บริการ  62  33  6  5  17  0 0  0  3
 2 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  28  4  0  6  0  18 0  0  0
 3 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  21  0  0  4  3  1 1 9 3

นอกจากจะดำเนินการวิจัยโดยบุคลากรในหน่วยงานในสังกัด สวทช. แล้วยังมีการสนับสนุนบุคลากร/นักวิจัยเสนอผลงานการวิจัยและพัฒนาผ่านรูปแบบการให้งบประมาณเงินทุนสนับสนุนร่วมด้วย

ตารางแสดงอันดับหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนโครงการการวิจัย

  อันดับ
หน่วยงานเจ้าของผลงาน/ให้การสนับสนุนโครงการ
 จำนวนผลงาน   เปอร์เซ็นต์
 1  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  62  43.36
 2  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  25  17.48
 3  สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  24  16.78
 4  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  27  18.8
 5  สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ  4  2.80
 6  สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)  1  0.70

แหล่งที่มาข้อมูล : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ปรับปรุงจาก : สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี. รวมเทคโนโลยีของ วท. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี, 2552.

แชร์หน้านี้: