หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญของศูนย์วิจัยสุขภาพจากการศึกษาเชิงคุณภาพและปริมาณของ 22 ศูนย์วิจัยในหนึ่งมหาวิทยาลัยด้านการแพทย์ในอิหร่าน
ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญของศูนย์วิจัยสุขภาพจากการศึกษาเชิงคุณภาพและปริมาณของ 22 ศูนย์วิจัยในหนึ่งมหาวิทยาลัยด้านการแพทย์ในอิหร่าน
26 มี.ค. 2564
0
นานาสาระน่ารู้

1. การศึกษาเชิงคุณภาพทำให้ได้ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของศูนย์วิจัยโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 10 คนจากศูนย์วิจัย 22 แห่ง และจัดกลุ่มปัจจัยที่ได้เป็น 9 ประเด็นหลัก และ 42 ประเด็นย่อย ดังนี้

ประเด็นหลักที่ 1 คือ การวางแนวกลยุทธ์ (strategic orientation) ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย คือ

1. แผนกลยุทธ์ (Strategic plan)

2. แผนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and technology roadmap)

3. การประเมินความต้องการการวิจัย (Research needs assessment)

4. ดัชนีการประเมินผล (Evaluation indexes)

5. นโยบายการวิจัย (ระดับรัฐและระดับมหาวิทยาลัย) (Research policy (the state and university level))

 

ประเด็นหลักที่ 2 คือ ทุนมนุษย์ (Human Capital) ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย คือ

1. นักวิจัยที่มีความสามารถ (Capable researchers)

2. นักเรียนและชนชั้นสูงในท้องถิ่น (Local students and elites)

3. อาจารย์และนักศึกษาต่างชาติ (Foreign professors and students)

4. สัดส่วนทรัพยากรบุคคลกับวัตถุประสงค์ (Human resources proportion with the objectives)

5. Committed human resources

 

ประเด็นหลักที่ 3 คือ การสนับสนุน (Support) ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย คือ

1. การสนับสนุนทางการเมือง (Political support)

2. การสนับสนุนทางการเงินและงบประมาณ (Financial and budget support)

3. การสนับสนุนทางศีลธรรมของเจ้าหน้าที่ (Officials’ moral support)

4. เงินอุดหนุน (Grants)

5. การกระจายเงินอุดหนุน (Grants distribution)

 

ประเด็นหลักที่ 4 คือ การสื่อสารและความร่วมมือ (Communication and Collaboration) ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย คือ

1. การทำงานเป็นทีม/การทำงานเป็นกลุ่ม (ระหว่างสมาชิก – ระหว่างศูนย์) (Teamwork/group work (among members – among centers))

2. เครือข่าย (Networking)

3. การทำงานร่วมกันและการวิจัยระหว่างประเทศ (International interactive and researches)

4. การวิจัยร่วมกันระดับชาติ (National collaborative researches)

 

ประเด็นหลักที่ 5 คือ โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructures) ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย คือ

1. โครงสร้างพื้นฐานทางความคิด (กฎระเบียบ, ขั้นตอน, ค่านิยม) (Conceptual infrastructure (rules, procedures, values))

2. โครงสร้างพื้นฐานข้อมูล (Information infrastructure)

3. โครงสร้างพื้นฐานพื้นที่ทางกายภาพ (Physical space infrastructure)

4. โครงสร้างพื้นฐานอุปกรณ์ (Equipment infrastructure)

 

ประเด็นหลักที่ 6 คือ การจัดการ (Management) ประกอบด้วย 6 ประเด็นย่อย คือ

1. การจัดการและพัฒนาทุนมนุษย์ด้านการวิจัย (Management and development of research human capital)

2. ระบบการจ่ายผลตอบแทนและการให้รางวัล (Compensation and rewarding system)

3. การประเมินทางวิทยาศาสตร์ของศูนย์และบุคคล (Scientific evaluation of centers and individuals)

4. จริยธรรมการวิจัยและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Research ethics and intellectual property rights)

5. การดำเนินการตามกฎหมาย, ระเบียบ และแนวปฏิบัติ (Implementation of laws, regulations and guidelines)

6. การบริหารระบบราชการ (Administrative bureaucracy)

 

ประเด็นหลักที่ 7 คือ กระบวนทัศน์/ความคิด (Paradigm/Ideological) ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย คือ

1. การคิดอย่างเป็นระบบของเจ้าหน้าที่ (Officials’ systematic thinking)

2. จริยธรรมและจิตวิญญาณ (Ethics and spirituality)

3. วิธีการอาศัยคุณค่าในการวิจัยและนักวิจัย (Value based approach to research and researcher)

 

ประเด็นหลักที่ 8 คือ นวัตกรรม (Innovation) ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย คือ

1. นวัตกรรมในการวิจัยและการนำไปใช้ (Innovation in research and implementation)

2. การต่อยอดผลิตภัณฑ์วิจัยในเชิงพาณิชย์ (The commercialization of research products)

3. บรรยากาศการแข่งขัน (ระหว่างสมาชิกและศูนย์) (Competitive climate (among members and centers))

 

ประเด็นหลักที่ 9 คือ โครงการ (projects) ประกอบด้วย 7 ประเด็นย่อย คือ

1. คุณภาพของโครงการ (Quality of projects)

2. ปริมาณของโครงการ (The quantity of projects)

3. เขตวิจัยพิเศษ (Special research areas)

4. การเผยแพร่ผล (Publication of results)

5. ระยะเวลาในการอนุมัติโครงการ (Time for project approval)

6. การวิจัยตามลำดับหรือแบบอนุกรม (Sequential or serial researches)

7. ความหลากหลายของหัวข้องานวิจัยใหม่ (Diversity of new research titles)

 

2. การศึกษาเชิงปริมาณเพื่อจัดอันดับความสำคัญของปัจจัยต่างๆ ที่ได้จาการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามของสมาชิก 54 คนจาก 22 ศูนย์วิจัย และการจัดอันดับความสำคัญของปัจจัยได้จากการใช้การทดสอบ Friedman ผลเป็นดังนี้

2.1 การจัดอันดับความสำคัญของประเด็นหลักที่มีผลต่อการประสบผลสำเร็จของศูนย์วิจัย ได้ผลดังนี้ซึ่งเรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ได้แก่ Strategic orientation, Management, Human capital, Support/Advocacy, Projects, Infrastructures, Communication and collaboration, Paradigm/Ideological และ Innovation ตามลำดับ

2.2 การจัดอันดับความสำคัญของประเด็นย่อยในแต่ละประเด็นหลัก ได้ผลคือประเด็นย่อยที่มีความสำคัญมากที่สุดในแต่ละประเด็นหลักคือ Science and technology roadmap ใน Strategic orientation, Scientific evaluation of centers and members ใน Management, Committed human resources ใน Human capital, Financial and budget support ใน Support/Advocacy, Quality of projects ใน Projects, Equipment infrastructure ใน Infrastructures, Teamwork ใน Communication and collaboration, Value based approach to research and researcher ใน Paradigm, Innovation in research and implementation ใน Innovation

2.3 การจัดอันดับความสำคัญของประเด็นย่อยทั้งหมด 42 ประเด็น พบ 10 อันดับแรกประเด็นย่อยที่มีความสำคัญมากต่อการประสบความสำเร็จของศูนย์วิจัย โดยเรียงตามลำดับจากอันดับ 1 ถึงอันดับ 10 ได้แก่ Science and technology roadmap ใน Strategic orientation, Strategic plan ใน Strategic orientation, Evaluation indexes ใน Strategic orientation, Committed human resources ใน Human capital, Scientific evaluation of centers and members ใน Management, Innovation in research and implementation ใน Innovation, Financial and budget support ใน Support, Capable researchers ใน Human capital, Equipment infrastructure ใน Infrastructures และ Teamwork ใน Communication and Collaboration ตามลำดับ

 

ที่มา: Shahram Tofighi, Ehsan Teymourzadeh and Majid Heydari (August 25, 2017). Key success factors of health research centers: A mixed method study. Retrieved January 14, 2021, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5614283/

แชร์หน้านี้: