หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน ประจำปี 2562 โดย IMD (2019 IMD World Competitiveness Ranking)
ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน ประจำปี 2562 โดย IMD (2019 IMD World Competitiveness Ranking)
19 พ.ย. 2562
0
นานาสาระน่ารู้

ในปี 2562 IMD ได้จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของ 63 ประเทศทั่วโลก และได้เผยแพร่ใน IMD World Competitiveness Yearbook 2019 โดยมีผลการจัดอันดับดังนี้

ตารางผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 5 อันดับแรกและประเทศไทย ปี 2561-2562 โดย IMD

ประเทศ สิงคโปร์ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไทย
ปี 2562 2561 2562 2561 2562 2561 2562 2561 2562 2561 2562 2561
อันดับรวม 1 3 2 2 3 1 4 5 5 7 25 30
1. สมรรถนะทางเศรษฐกิจ
5 7 10 9 1 1 23 25 7 3 8 10
1.1 เศรษฐกิจในประเทศ 8 7 18 20 2 2 6 8 22 22 30 34
1.2 การค้าระหว่างประเทศ 1 2 4 3 16 14 29 34 2 1 6 6
1.3 การลงทุนระหว่างประเทศ 5 7 4 3 1 1 18 33 16 10 21 37
1.4 การจ้างงาน 7 8 17 12 6 7 29 27 9 3 3 4
1.5 ระดับราคา 58 51 62 61 48 41 57 53 18 25 29 23
2. ประสิทธิภาพของภาครัฐ
3 3 1 1 23 26 4 2 2 4 20 22
2.1 ฐานะการคลัง 7 3 1 1 50 51 5 4 3 2 16 18
2.2 นโยบายภาษี 12 13 2 2 13 22 8 9 3 3 6 6
2.3 กรอบการบริหารด้านสถาบัน 2 3 8 9 22 23 1 1 5 10 34 35
2.4 กฎหมายด้านธุรกิจ 2 2 1 1 16 14 12 18 5 11 32 36
2.5 กรอบการบริหารด้านสังคม 9 17 20 23 37 34 8 5 18 29 48 45
3. ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ
5 11 2 1 11 12 9 9 1 2 27 25
3.1 ผลิตภาพและประสิทธิภาพ 9 15 8 10 5 7 10 11 2 2 43 40
3.2 ตลาดแรงงาน 8 10 6 8 26 27 15 23 2 2 9 6
3.3 การเงิน 6 7 1 1 2 4 3 2 16 22 19 24
3.4 การบริหารจัดการ 16 18 3 7 18 11 17 13 1 2 27 24
3.5 ทัศนคติและค่านิยม 4 9 3 7 30 27 21 15 2 1 26 17
4. โครงสร้างพื้นฐาน 6 8 22 23 1 1 2 2 33 36 45 48
4.1 สาธารณูปโภคพื้นฐาน 11 7 3 6 12 12 8 10 2 9 27 31
4.2 โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี 1 2 18 19 6 3 8 9 24 27 38 36
4.3 โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ 14 17 23 24 1 1 4 3 39 37 38 42
4.4 สุขภาพและสิ่งแวดล้อม 23 25 20 23 7 8 1 2 35 46 55 58
4.5 การศึกษา 2 2 16 18 21 21 9 8 41 44 56 56

สิงคโปร์ได้อันดับ 1 ดีขึ้นกว่าปีก่อน 2 อันดับ รองลงมาคือ ฮ่องกง ยังคงครองอันดับเดิมเหมือนปีที่แล้ว ถัดมาเป็นสหรัฐอเมริกา ซึ่งตกลงมา 2 อันดับจากปีที่แล้วเคยเป็นอันดับ 1  สวิตเซอร์แลนด์ได้อันดับ 4 ในปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว 1 อันดับ  อันดับ 5 คือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซึ่งขึ้นมา 2 อันดับจากปีที่แล้ว ส่วนไทยได้อันดับ 25 ดีขึ้นกว่าปีที่แล้วถึง 5 อันดับ

สิงคโปร์ได้อันดับ 1 ในปีนี้เลื่อนอันดับขึ้นกว่าปีก่อน 2 อันดับ เกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นถึง 3 ปัจจัยจากทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 2 อันดับจากอันดับ 7 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 5 ในปีนี้  2. โดยเฉพาะปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 6 อันดับ ในปีนี้ได้อันดับ 5 จากอันดับ 11 ในปีที่แล้ว  3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เลื่อนอันดับขึ้น 2 อันดับ มีอันดับ 6 ในปีนี้ ส่วนอีก 1 ปัจจัยคือ ประสิทธิภาพของภาครัฐ ยังคงรักษาอันดับ 3 ไว้เหมือนปีที่แล้ว ปัจจัยย่อยที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจคือ การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยการค้าระหว่างประเทศ ปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศ และปัจจัยย่อยการจ้างงานเป็นอันดับ 1, 5 และ 7 ในปีนี้ จากปีที่แล้วได้อันดับ 2, 7 และ 8 ตามลำดับ ในขณะที่ปัจจัยย่อยทั้งหมด (5 ปัจจัยย่อย) มีการเลื่อนอันดับขึ้นทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจมีอันดับเลื่อนขึ้นมาก โดยเฉพาะปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพ และปัจจัยย่อยทัศนคติและค่านิยมมีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 6 และ 5 อันดับจากอันดับ 15 และ 9 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 9 และ 4 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ และปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมีผลต่อการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน โดยปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีเลื่อนอันดับขึ้นจากอันดับ 2 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 1 ในปีนี้  ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เลื่อนอันดับขึ้นจากอันดับ 17 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 14 ในปีนี้ และปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเลื่อนอันดับขึ้นเป็นอันดับ 23 ในปีนี้ ส่วนปีที่แล้วได้อันดับ 25   

ฮ่องกงยังคงครองอันดับ 2 เหมือนปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการยังคงรักษาอันดับ 1 ไว้ได้ของปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ และปีนี้ได้อันดับ 2 ถึงแม้จะเลื่อนอันดับลง 1 อันดับจากปีที่แล้วของปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ส่วนอีก 2 ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับเลื่อนลง 1 อันดับเป็นอันดับ 10 ในปีนี้ และปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานมีอันดับดีปานกลางทั้งปีนี้และปีที่แล้วโดยได้อันดับ 23 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้ได้อันดับ 22 การยังคงรักษาอันดับไว้เหมือนเดิมได้ของปัจจัยย่อยฐานะการคลัง ปัจจัยย่อยนโยบายภาษี และปัจจัยย่อยกฎหมายด้านธุรกิจที่อันดับ 1, 2 และ 1 ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐยังคงรักษาอันดับ 1 ไว้ได้ ถึงแม้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานมีอันดับดีปานกลางทั้งปีนี้และปีที่แล้ว แต่มี 1 ปัจจัยย่อยที่มีอันดับดีมากคือ สาธารณูปโภคพื้นฐานมีอันดับ 6 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 3

ถึงแม้สหรัฐอเมริกามีอันดับรวมตกลงมาจากอันดับ 1 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 3 ในปีนี้ แต่ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจและปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานยังคงครองอันดับ 1 ไว้ได้เหมือนปีที่แล้ว ปัจจัยย่อยที่ส่งผลให้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจยังคงครองอันดับ 1 ไว้ได้คือ ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศและปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศที่ยังครองอันดับ 2 และ 1 ไว้ได้เหมือนปีที่แล้ว ตามลำดับ ส่วนปัจจัยย่อยที่ทำให้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานยังคงครองอันดับ 1 ไว้ได้คือ ปัจจัยย่อยสาธารณูปโภคพื้นฐาน ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ และปัจจัยย่อยการศึกษาที่ยังคงครองอันดับ 12, 1 และ 21 ไว้เหมือนเดิมกับปีที่แล้ว ตามลำดับ

สวิตเซอร์แลนด์ได้อันดับ 4 ในปีนี้ เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับจากปีที่แล้ว เนื่องจากปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเลื่อนอันดับขึ้น 2 อันดับจากอันดับ 25 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 23 ในปีนี้ ในขณะที่ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจยังคงรักษาอันดับ 2 และ 9 ไว้ได้เหมือนปีที่แล้ว ตามลำดับ และปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐเลื่อนอันดับลง 2 อันดับ จากอันดับ 2 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 4 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยการค้าระหว่างประเทศและปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศมีผลอย่างมากต่อการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ โดยปัจจัยย่อยการค้าระหว่างประเทศเลื่อนอันดับขึ้น 5 อันดับ เป็นอันดับ 29 ในปีนี้ และปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศเลื่อนอันดับขึ้นถึง 15 อันดับ เป็นอันดับ 18 ในปีนี้

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้อันดับ 5 ในปีนี้ดีขึ้นจากปีที่แล้ว 2 อันดับ เนื่องจากการเลื่อนอันดับขึ้นถึง 3 ปัจจัยได้แก่ 1. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐเลื่อนอันดับขึ้น 2 อันดับจากอันดับ 4 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 2 ในปีนี้  2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจเลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับจากอันดับ 2 ในปีที่แล้วส่วนปีนี้ได้อันดับ 1  3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเลื่อนอันดับขึ้น 3 อันดับจากอันดับ 36 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 33 ในปีนี้ ส่วนที่เหลืออีก 1 ปัจจัยคือ ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเลื่อนอันดับลง 4 อันดับจากอันดับ 3 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 7 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐคือ ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน ปัจจัยย่อยกฎหมายด้านธุรกิจ และปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสังคมที่เลื่อนอันดับขึ้น 5, 6 และถึง 11 อันดับจากอันดับ 10, 11 และ 29 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 5, 5 และ 18 ในปีนี้ ตามลำดับ การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยการเงินและปัจจัยย่อยการบริหารจัดการ 6 และ 1 อันดับเป็นอันดับ 16 และ 1 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจเลื่อนอันดับขึ้น ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเลื่อนอันดับขึ้นได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยสาธารณูปโภคพื้นฐานเลื่อนอันดับขึ้น 7 อันดับจากอันดับ 9 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 2 ในปีนี้  2. ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเลื่อนอันดับขึ้นถึง 11 อันดับจากอันดับ 46 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 35 ในปีนี้

คงเป็นข่าวดีมากของไทยที่เลื่อนอันดับรวมขึ้นถึง 5 อันดับจากอันดับ 30 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 25 ในปีนี้ เนื่องจากการเลื่อนอันดับขึ้นถึง 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ และปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน จากอันดับ 10, 22 และ 48 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 8, 20 และ 45 ในปีนี้ ตามลำดับ ในขณะอีก 1 ปัจจัยคือ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจเลื่อนอันดับลง 2 อันดับจากอันดับ 25 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 27 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่ส่งผลอย่างมากต่อการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจคือ ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศและปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศที่เลื่อนอันดับขึ้น 4 และถึง 16 อันดับจากอันดับ 34 และ 37 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 30 และ 21 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศเป็นปัจจัยย่อยที่มีอันดับเลื่อนขึ้นมากที่สุดในบรรดาปัจจัยย่อยทั้งหมด ส่วนปัจจัยย่อยที่มีผลต่อการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐได้แก่ ปัจจัยย่อยฐานะการคลัง ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน และปัจจัยย่อยกฎหมายด้านธุรกิจที่มีอันดับเลื่อนขึ้น 2, 1 และ 4 อันดับจากอันดับ 18, 35 และ 36 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 16, 34 และ 32 ในปีนี้ ตามลำดับ การเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยย่อยสาธารณูปโภคพื้นฐาน ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ และปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมทำให้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานมีอันดับเลื่อนขึ้น โดยปัจจัยย่อยสาธารณูปโภคพื้นฐานและปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เลื่อนอันดับขึ้น 4 อันดับจากอันดับ 31 และ 42 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 27 และ 38 ในปีนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเลื่อนอันดับขึ้น 3 อันดับจากอันดับ 58 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 55 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับลงอย่างมากถึง 9 อันดับจากอันดับ 17 ในปีที่แล้วเป็นอันดับ 26 ในปีนี้ของปัจจัยย่อยทัศนคติและค่านิยม ทำให้เป็นปัจจัยย่อยที่มีการเลื่อนอันดับลงมากที่สุดในบรรดาปัจจัยย่อยทั้งหมด ส่งผลอย่างมากต่อการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ปัจจัยย่อยที่มีอันดับดีมากในปีนี้ได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยการค้าระหว่างประเทศได้อันดับ 6 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว อยู่ภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ  2. ปัจจัยย่อยการจ้างงานได้อันดับ 3 ในปีนี้ ส่วนปีที่แล้วได้อันดับ 4 อยู่ภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ  3. ปัจจัยย่อยนโยบายภาษียังครองอันดับ 6 ไว้ได้เหมือนปีที่แล้ว อยู่ภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ  4. ปัจจัยย่อยตลาดแรงงานมีอันดับ 9 ในปีนี้ ส่วนปีที่แล้วได้อันดับ 6 อยู่ภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ปัจจัยย่อยที่มีอันดับไม่ค่อยดีในปีนี้ต้องได้รับการพัฒนาอย่างมากพบเพียงในปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้อันดับ 55 ในปีนี้ ส่วนปีที่แล้วได้อันดับ 58  2. ปัจจัยย่อยการศึกษายังคงครองอันดับ 56 ไว้เหมือนปีที่แล้ว

ถึงแม้ไทยจะเลื่อนอันดับขึ้นในปีนี้ถึง 5 อันดับ เป็นอันดับ 25 ในปีนี้ แต่เป็นอันดับระดับดีปานกลาง ทำให้ไทยต้องพัฒนาในอีกหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษาที่ได้อันดับต่ำมากในปีนี้และปีที่แล้วดังที่กล่าวมาแล้ว เพื่อในปีหน้าไทยจะเลื่อนอันดับขึ้นมาก

19 พ.ย. 2562
0
แชร์หน้านี้: