หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ Digital transformation กับผลกระทบและการปรับตัวของหน่วยงาน
Digital transformation กับผลกระทบและการปรับตัวของหน่วยงาน
19 พ.ค. 2562
0
นานาสาระน่ารู้

Digital transformation คือ การนำเทคโนโลยีมาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในยุคเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบัน
ทั้งนี้ Mr.Jun Fwu Chin (Research Director, IDC Asia/Pacific) แสดงความคิดเห็นว่า Digital transformation คือ การกลายเป็น digital native หรือ การกลายเป็นคนที่เกิดในยุคดิจิทัล โดยการที่บริษัทหรือองค์กรจะกลายเป็น Digital native บริษัทหรือองค์กรนั้นต้องขับเคลื่อนด้วยลูกค้าและกำลังแรงงานที่ชาญฉลาด เรียนรู้และปรับจากความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง คิดค้นสิ่งใหม่ๆ ที่มีความสำคัญ กระตุ้นการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ กระตุ้นรายได้ใหม่ และ กระตุ้นความจงรักภักดีของลูกค้า ด้วยการใช้เทคโนโลยีและข้อมูล

จากการสำรวจข้อมูลของบริษัทในประเทศไทยพบว่า ประมาณ 36.8% มีการบูรณาการหรือดำเนินการเกี่ยวกับ digital transformation อย่างต่อเนื่องภายในองค์กรในส่วนของการดำเนินงานและการบริการลูกค้า และ มีเพียง 10.5% มีกลยุทธ์ในการใช้ digital transformation เพื่อแปลงเปลี่ยนตลาดและลูกค้าด้วยการสร้างโมเดลธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่

การแปลง digital transformation สู่ ไอทีฟังก์ชั่น เกี่ยวข้องกับ 4 ส่วน คือ องค์กร ความสามารถหลัก การสร้างรายได้ และการจัดการความเสี่ยง

  • องค์กร คือ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร เช่น การจัดการการเปลี่ยนแปลง KPIs
  • ความสามารถหลัก คือ ความสามารถในการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วและง่ายดาย และ ความสามารถในการปรับขนาดให้ใหญ่ขึ้น เช่น ระบบอัจฉริยะ
  • การสร้างรายได้ คือ การขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาและช่องทางการจำหน่าย เช่น การสร้างรายได้จากข้อมูล หรือ วิศวกรซอฟต์แวร์ระดับองค์กร
  • การจัดการความเสี่ยง คือ เปิดทางธรรมมาภิบาลและความยืดหยุ่น เช่น ความไว้เนื้อเชื่อใจในโลกดิจิทัล หรือ digital trust

อนาคตของการทำงาน กับ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในไอทีคือสิ่งสำคัญ

  • วัฒนธรรม การมีส่วนร่วมและการมีกำลังของพนักงานที่สอดคล้องกับทักษะดิจิทัลใหม่
  • พื้นที่ การเชื่อมต่อและการป้องกันสิ่งแวดล้อมของการทำงาน อิสรภาพของเวลาและสถานที่
  • การร่วมมือกันระหว่างคนและเทคโนโลยี

การสร้างความสามารถหลักทางไอทีเพื่อความสามารถในการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วและง่ายดายและการเพิ่มขนาดหรือสเกลของธุรกิจ แบ่งเป็น 3 ระดับ

  • ระดับที่ 1 เทคโนโลยีใหม่และโมเดลการส่งมอบ ระดับแรกเป็นการเข้าถึง IT เช่น Cloud Mobile Social Big data
  • ระดับที่ 2 แพลตฟอร์มและชุมชน เช่น AI IoT Blockchain Natural interfaces
  • ระดับที่ 3 ระบบที่ทำงานโดยอิสระ เช่น Quantum computing BioDigital integration Exponential AI

มีการคาดการณ์ว่า 60% ของ CIO จะประยุกต์ข้อมูลและ AI สู่กระบวนการดำเนินงาน เครื่องมือ และขั้นตอนไอที ในปี 2021

การสร้างแพลตฟอร์มที่ทั้งเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วและง่ายดาย และ สามารถปรับขนาดได้ เน้นเรื่อง

  • กลยุทธ์ Cloud-based API เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข้ามระบบนิเวศ ecosystem
  • Agile application architectures บน Platform-as-a-Service (PaaS)
  • เทคโนโลยีสร้างประสบการณ์ใหม่แก่ลูกค้า
  • Digital trust ผ่านอัตลักษณ์ และ การจัดการช่องโหว่และภัยคุกคามในบริการทั้งหมด
  • Intelligent core บนการจัดการข้อมูล AI และ Machine learning

องค์กรแห่งอนาคต คือองค์กรที่เจริญเติบโตด้วยวัฒนธรรมแบบ digital native แข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพด้วย ecosystem การสร้างรายได้จากการเข้าอกเข้าใจและการแสดงความสามารถในการนำโมเดลการทำงานเข้ากับความต้องการที่ซับซ้อนของลูกค้า ทั้งหมดทำได้โดย กำลังแรงงานที่ชาญฉลาด การเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วและง่ายดาย โดยพนักงานทุกๆ คน ที่ปรับปรุงการดำเนิงนงานตลอดเวลา

ที่มาข้อมูลเรียบเรียงจาก: 

“The CIO’s digital determination playbook” โดย Mr.Jun Fwu Chin (Research Director, IDC Asia/Pacific)  ในงาน IDC CIO Summit 2019 จัดโดย บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล ดาต้า คอร์ปอเรชั่น (International Data Group – IDC) เมื่อ วันที่ 15 พ.ค. 2562 ณ Conrad Bangkok โดย งาน IDC CIO Summit 2019 จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและผลลัพธ์การดำเนินงานของหน่วยงาน และ การปรับตัวของหน่วยงานต่อเรื่องดังกล่าว ให้กับผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 

19 พ.ค. 2562
0
แชร์หน้านี้: