หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ ทิศทางของการจัดเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอ (DNA Data Storage)
ทิศทางของการจัดเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอ (DNA Data Storage)
10 มิ.ย. 2562
0
นานาสาระน่ารู้

ปัจจุบันความต้องการของการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัลกำลังมีมากกว่าความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล และความสัมพันธ์นี้ขยายมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีข้อมูลดิจิทัลเกิดขึ้นมากมายมหาศาล โดยในปี 2025 มนุษย์ได้รับการคาดหมายว่าจะผลิตข้อมูล 160 เซตตะไบต์ต่อปี ทำให้การจัดเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอได้รับความสนใจแทนการจัดเก็บข้อมูลแบบเก่า (เช่น ซีดี ดีวีดี ฮาร์ดดิสก์ แฟลชไดร์ฟ) เนื่องจากมีความหนาแน่นในการจัดเก็บสูงกว่า (ต้องการดีเอ็นเอเพียง 1 กรัม สำหรับเก็บข้อมูล 40 เซตตะไบต์) และคงสภาพเดิมด้วยมีครึ่งชีวิตมากกว่า 500 ปี

ความสนใจในการจัดเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอเริ่มตั้งแต่ปี 1988 โดยเก็บข้อมูล 0.000004 เมกะไบต์ ถึงอย่างไรก็ตามเพียงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2018 มีการเก็บข้อมูล 400 เมกะไบต์ อุปสรรคสำคัญต่อความก้าวหน้าของการจัดเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอคือค่าใช้จ่ายที่สูงมากของการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ เนื่องจากเทคโนโลยีการสังเคราะห์ดีเอ็นเอไม่ได้รับการพัฒนามากพอในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา ใช้วิธีการที่ใช้เคมีอินทรีย์ (phosphoramidite) ขณะนี้มีหลายบริษัทเกิดใหม่และสถาบันการศึกษากำลังพัฒนาเทคโนโลยีการสังเคราะห์ดีเอ็นเอโดยใช้เอนไซม์ ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการสังเคราะห์ดีเอ็นเอลดลงอย่างมาก โดยคาดว่าในปี 2020 เทคโนโลยีนี้จะออกสู่ตลาด ทำให้ค่าใช้จ่ายในการสังเคราะห์ดีเอ็นเอลดลงอย่างมากในปี 2021 และปีต่อๆ มา โดยปี 2025 จะมีค่าใช้จ่ายในการสังเคราะห์ดีเอ็นเออยู่ที่ 0.00001 ดอลลาร์ต่อคู่เบส ซึ่งจะเท่ากับการเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอด้วยค่าใช้จ่ายประมาณ 42 ดอลลาร์ต่อเมกะไบต์ และในปี 2030 ค่าใช้จ่ายในการสังเคราะห์ดีเอ็นเอจะลดลงเป็น 0.0000001 ดอลลาร์ต่อคู่เบส ซึ่งเท่ากับค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอประมาณ 1 ดอลลาร์ต่อเมกะไบต์

นอกจากเทคโนโลยีในการสังเคราะห์ดีเอ็นเอมีผลต่อค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอ ยังมีการพัฒนาในเทคโนโลยีอื่นอีกที่มีผล ได้แก่ 1. การเพิ่มความหนาแน่นในการจัดเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอ (DNA Fountain technique, DNA modification techniques) 2. การทำให้การเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอมีประสิทธิภาพมากขึ้น (บริษัท Helixworks ใช้เพียงเบส A กับ T ในการเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอ  บริษัท Catalog ใช้ดีเอ็นเอสายสั้น (20-30 เบส) หลายสายเพื่อเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอ โดยตั้งเป้าไว้ว่าในปี 2019 จะเก็บข้อมูล 1 เทราไบต์ต่อวันในดีเอ็นเอด้วยค่าใช้จ่ายประมาณ 2 พันดอลลาร์ เพื่อบรรลุเป้าหมายเมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีแผนที่จะสร้างอุปกรณ์เก็บข้อมูลในดีเอ็นเอเป็นครั้งแรกในโลกโดยจะพัฒนาเสร็จต้นปี 2019) 3. ทำให้การอ่านดีเอ็นเอเร็วขึ้น (ทำให้การหาลำดับเบสของดีเอ็นเอเร็วขึ้น) 4. พัฒนาวิธีดึงข้อมูลที่เก็บในดีเอ็นเอกลับคืนแบบเข้าถึงแบบสุ่ม (การพัฒนาซอฟต์แวร์ปฏิบัติการกับการพัฒนาอุปกรณ์อ่านดีเอ็นเอ)

ที่มา: Potomac Institute for Policy Studies (September 2018). The Future of DNA Data Storage. Retrieved June 3, 2019, from http://www.potomacinstitute.org/images/studies/Future_of_DNA_Data_Storage.pdf

10 มิ.ย. 2562
0
แชร์หน้านี้: