หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน มีนาคม 2564
วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน มีนาคม 2564
7 ก.ย. 2564
0
นานาสาระน่ารู้

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน มีนาคม 2564

Foresight คืออะไร และอะไรที่ไม่ใช่ Foresight

Foresight หรือ Foresight Study คือ การอธิบาย วิเคราะห์ และคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต หรือเพื่อออกแบบอนาคตที่อยากให้เกิดขึ้น
1. การมองอนาคต (Foresight) เป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ความคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) ประกอบกับความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และจินตนาการ (Imagination)
2. เครื่องมือการมองอนาคตในปัจจุบันเป็น “กระบวนการตัดสินใจร่วมกัน (Participatory Deliberative Process ของ stakeholder ทั้งหมด รวมถึง Document Research ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้ จะถูกนำผลการวิจัยไประดมความคิดเห็นเชิงลึกมากขึ้น
3. เครื่องมือการมองอนาคตมุ่งเน้น “การเปลี่ยนแปลงที่จริงจัง และมีความยั่งยืน (Transformation)” ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้งด้าน สังคมศาสตร์ มานุษยวิทยา และนโยบายสาธารณะ Foresight จึงมีความ Multidisciplinary Approach มากกว่าวิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์โดยเฉพาะ
4. การมองอนาคตไม่ได้จำกัดเพียงการวิเคราะห์และคาดการณ์อนาคต แต่รวมไปถึงการออกแบบอนาคต ซึ่งอนาคต (Futures)
5. การมองอนาคตเป็นกระบวนการที่มีหลายขั้นตอน (Multiple Steps) ใช้เวลายาวนานและมีลักษณะการทวนซ้ำ (iteration)

ความแตกต่างระหว่าง Forecast และ Foresight

          ความแตกต่างระหว่าง การมองอนาคต (Foresight) และการพยากรณ์ (Forecasting) คือ การพยากรณ์ (Forecasting) เป็นการวาดเส้นทางการไปสู่เป้าประสงค์ที่คาดการณ์ไว้เพียงเส้นทางเดียวจากปัจจุบันและสิ่งที่คาดว่าจะเป็นอนาคต ขณะที่ การมองอนาคต (Foresight) เป็นการวาดเส้นทางการไปสู่เป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ไปในหลายเส้นทาง

ความสำคัญของ Foresight Study ในปัจจุบัน

วิทยาการการจัดการข้อมูลที่มีการรวบรวมในระบบ Meta Data และ Big Data มีความก้าวหน้าไปมาก ทำให้การบันทึก และประมวลชุดข้อมูล (ด้านเวลา ด้านพื้นที่ สถานที่ และตัวแปรต่าง ๆ) สามารถนำมารวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ และนำมาใช้โดยเฉพาะการนำข้อมูลจากอดีตถึงปัจจุบัน มาวิเคราะห์คาดการณ์อนาคต เพื่อหาแนวโน้มสิ่งที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้สามารถจัดทำนโยบาย และแผนงานมาเตรียมรองรับ ปรับตัว ดังนั้น Foresight Study จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่รัฐบาลของประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา นำมาใช้ในการสร้างภาพจำลองของอนาคตและการวางแผนกลยุทธ์ระยะยาวของหลายองค์กร

หน่วยงานของรัฐบาลกลางในสหรัฐฯ และการใช้การมองการณ์ไกล

1.สำนักงานความรับผิดชอบของรัฐบาล (Government Accountability Office)
2.หน่วยข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency)
3.หน่วยรักษาการณ์ชายฝั่ง กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (Coast Guard Department of Homeland Security)

6 มิติ ของภาพอนาคต ความเปลี่ยนแปลงหลังวิกฤต COVID-19 ที่อาจเกิดขึ้นได้

          จากแนวโน้มสถานการณ์การแก้ปัญหาโควิด-19 ในประเทศไทย หลายท่านอาจสงสัยว่า “ถ้าวิกฤต
โควิด-19 สิ้นสุดลงประเทศไทยจะเดินหน้าอย่างไร? วิถีชีวิตใหม่จะเป็นอย่างไร? สังคมไทยจะเดินหน้าไปในทิศทางไหน? เศรษฐกิจไทยจะเปลี่ยนไปอย่างไร? 6 มิติ ของภาพอนาคต ความเปลี่ยนแปลงหลังวิกฤต COVID-19 ที่อาจเกิดขึ้น มีภาพอนาคตอะไรบ้าง
มิติที่ 1 ภาพใหม่ของระบบสาธารณสุขและโรงพยาบาล
– ความต้องการใช้งานระบบรักษาจากทางไกล (Telemedicine)
– การรักษาและตรวจสุขภาพด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Treatment)
– ทรัพยากรด้านระบบสาธารณสุขถูกนำไปใช้ในประเด็นวิกฤติมากขึ้น

มิติที่ 2 การเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัย
– มหาวิทยาลัยสูญเสียรายได้จากนักศึกษา เกิดการแข่งขันในตลาดออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น
– แนวโน้มการเรียนจากทางไกลที่เพิ่มขึ้น (Remote Classes)
– ปัจจัยการเลือกเรียนมหาวิทยาลัยของนักศึกษาที่เปลี่ยนไป

มิติที่ 3 การโยกย้ายห่วงโซ่การผลิตโลก Shift of Global Value Chain, GVC
– การจัดการความเสี่ยงต่อสถานการณ์วิกฤติ และการกีดกันทางการค้ารูปแบบใหม่
– การเปลี่ยนแปลงรูปแบบห่วงโซ่การผลิต ความร่วมมือและการใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากร
– การปรับตัวของห่วงโซ่มูลค่า เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการผลิต

มิติที่ 4 สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน China-US New Trade War
– การเผชิญหน้ากันระหว่างจีน – สหรัฐฯ จากปัญหาโควิด-19
– เกมการเมืองและการให้ร้าย
– เกิดข้อพิพาทระหว่างประเทศด้านการแข่งขันและการแย่งชิงทรัพยากร
– การเติบโตของประเทศจีน ในขณะที่สหรัฐฯ ยังไม่ฟื้นตัว

มิติที่ 5 ความเชื่อทางศาสนาหลังการระบาด Post-Pandemic Theological Value
– การต่อต้านจีนและนิการชีอะฮ์ของคนมุสลิม
– การต่อต้านความเชื่อแบบพหุเทวนิยม (Polytheism)
– ความเชื่อในวันสิ้นโลกและการพิพากษาจากพระเจ้ามากขึ้นจนนำไปสู่การก่อการร้าย
– ความเคร่งทางศาสนาที่ถูกผ่อนปรน อาทิ งานศพทางไกล

มิติที่ 6 การเปลี่ยนผ่านจากดิจิทัลสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ From Digital to Biotechnology
– เทคโนโลยีเครือข่ายและการเชื่อมต่อกลายเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการแข่งขัน
– บริษัทเทคโนโลยีกลายเป็นหัวใจหลักในการสนับสนุนทางการแพทย์มากกว่ารัฐบาล
– การนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์กลายเป็นประเด็นที่สังคมตระหนักและให้ความสำคัญ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2021/ost-sci-review-mar2021.pdf

 

7 ก.ย. 2564
0
แชร์หน้านี้: