หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 7 เดือนกรกฎาคม 2561
รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 7 เดือนกรกฎาคม 2561
11 ก.ค. 2562
0
นานาสาระน่ารู้

ข่าวกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 7 กรกฎาคม 2561

โครงการความร่วมมือ JPND: ความหวังในการจัดการโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท

โครงการความร่วมมือ JPND เป็นโครงการวิจัยระดับโลกที่ใหญ่ที่สุดในการศึกษาโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท โดยมุ่งกระตุ้นให้เกิดการลงทุนร่วมระหว่างประเทศเพื่อนำมามาใช้เป็นงบสนับสนุนงานวิจัยในการศึกษาหาสาเหนุและพัฒนาวิธีการรักษาโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท เพื่อที่จะสามารถให้การรักษาได้อย่างเฉพาะเจาะจงได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ

หลักการและเหตุผล
เริ่มมาจากสถานการณ์ที่ยุโรปกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยโรคที่พบมากและส่งผลต่อสุขภาพคือโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์และพาร์คินสันซึ่งเป็นโรคที่รักษาให้หายได้ยาก โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลจัดการ เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์ทำให้เกิดการถดถอยทางความจำ ความคิดและทักษะอื่น อย่างต่อเนื่อง ความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามอายุ โดยระยะเวลาเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2-10 ปี ในระยะสุดท้ายของโรค ผู้ป่าวยจะไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม สื่อสาร หรือทำกิจวัตรประจำวันของดนได้ จึงต้องการดูแลเป็นพิเศษอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดภาระต่อผู้ดูแลและสังคมโดยรวม

รูปแบบการทำงาน
กรอบการทำงานแบ่งออกเป็นส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนดังนี้
1 ปรับปรุบความเข้าทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทให้ดีมากยิ่งขึ้น
2 พัฒนาเครื่องมืทางการแพทย์เพื่อให้แพทย์สามาถใช้ในการวินิฉัยตรวจหาโรค และรักษาโรคได้ดีมากยิ่งขึ้น
3 พัฒนาโครงสร้างการให้การดูแลและบริการทางสังคมเพื่อช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย
โครงการได้กำหนดเป้าของการทำงานไว้ 4 เป้าหมายดังนี้
1 พัฒนาวิธีการรักษาใหม่ๆ และกำหนดกลยุทธ์ในการป้องกันการเกิดโรค
2 ปรับปรุงการให้การบริการและการดูแลทางสุขภาพและทางสังคม
3 สร้างความตระหนักและช่วยให้เกิดการยอมรับต่อผู้ป่วยเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท
4 ช่วยบรรเทาภาระทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากโรคชนิดนี้
ขอบเขตการทำงาน
JPND มุ่งเน้นการทำงาน 3 ด้านหลักดังนี้
1 การวิจัยทางวิทยาศาสตร์
2 การศึกษาทางการแพทย์
3 งานบริการทางสังคม
ไขความลับกล้องโทรทัศน์วิทยุ

กล้องโทรทรรศน์วิทยุ
อุปกรณ์สำคัญที่ใช้ศึกษาคลื่นวิทยุคือ กล้องโทรทรรศน์วิทยุ หลักการทำงานเช่นเดียวกับสถานีรับ-ส่งสัญญาณดาวเทียม แต่กล้องโ?รทรรศน์วิทยุตรวจวัดสัญญาณที่มีความเข้มต่ำมาก มีระบบขับเคลื่อนแม่นยำสูง สามารถติดตามเทหวัตถุท้องฟ้าอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนานหลายชั่วโมง การเพิ่มประสิทธิภาพทำได้โดยเพิ่มขนาดจานรับสัญญาณ เรียกว่า เครือข่ายการแทรกสอดระยะไกล (Very Long Baseline Interferometer: VLBI) ส่งผลให้มีประสิทธิภาพเสมือนกับกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่มีขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุทั้งหมด

กล้องโทรทรรศน์วิทยุในประเทศไทย

ประเทศไทยตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค เหตุน้ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) จึงได้กำหนดแผนติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 40 เมตร และเส้นผ่านศูนย์กลาง 13 เมตร สำหรับกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติของประเทศไทย ประเทศไทยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เมตรกับ บริษัทเอ็ทีเมคคาทรอนิกส์ จำกัด ตั้งอยู่ที่เมืองไมนซ์ สหพันสาธารณรัฐเยอรมนี ในอนาคตประเทศไทยยังมีแผนติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 13 เมตร และขยายเครือข่ายสถานีเชื่อมสัญญาณไปอีก 3 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี กาญจนบุรี และสงขลา ส่งผลให้มีประสิทธิภาพเสมือนกับกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประทศและเชื่อมต่อกับเครือข่าย VLBI
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุ
เครือข่ายแทรกสอดระยะไกลยีออเดติกส์ของโลก เป็นประโยชน์ต่อกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย  ในการสร้างและเชื่อมโยงโครงข่ายหมุดหลักฐาน ให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เนื่องจากวิจัยดาราศาสตร์และฟิสิกส์ระดับรากฐานจำเป็นสำหรับงานวิจัยทางวิศวกรรมจึงเปิดโอกาสให้เทคโนโลยีขั้นสูงได้รับการพัฒนา หลายสาขา เช่น วิศวกรรม โทรคมนาคม อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ เกิดเป็นจุดเริ่มต้นในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและความร่วมมือด้านเทคนิคขั้นสูง อาทิ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และภาคอุตสาหกรรม
ประโยชน์ด้านอื่นๆ ของดาราศาสตร์วิทยุ
การศึกษาด้านยีออเดซี่ : ใช้ในการวิจัยชั้นบรรยากาศและธรณีวิทยา เช่น เครือข่ายการแทรกสอดระยะไกล เป็นวิธีวัดตำแหน่งเปลือกโลก ข้อมูลที่ได้เป็นประโยชน์ในการสำรวจและศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเปลือกโลก และการเกิดแผ่นดินไหว
การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์บรรยากาศ : คลื่นวิทยุจากเทหวัตถุ โดยโมเลกุลในชั้นบรรยากาศ เช่น น้ำ ออกซิเจน และไนโตรเจน ส่งเสริมการศึกษาและวิจัยด้านการทำฝนหลวง และวางแผนจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและป่าไม้
แนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย
แนวคิดที่ 1 : พืชดัดแปลงพันธุกรรม
ผลิตภัณฑ์พืชดัดแปลงพันธุกรรมภายใต้ชื่อสินค้า “Beauty Leaves” เป็นพืชที่ผลิตโปรตีนที่ช่วยลดการเกิดริ้วรอยก่อนวัย ช่วยให้ผู้บริโภคที่ใช้สารจากพืชดังกล่าวบำรุงผิวหน้ามีผิวหน้าที่ชุ่มชื่นยิ่งขึ้น ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอย ชะลอความแก่ของผิวหน้า  แนวคิดนี้มีองค์ความรู้มาจาการผลิตโปรตีนช่วยลดการเกิดริ้วรอยสกัดมาจากเซลล์มนุษย์ จากนั้นจะถูกขนถ่ายด้วยแบคทีเรียเข้าสู่เซลล์พืชต้นแบบ ปลูกง่ายในประเทศไทย
แนวคิดที่ 2: เครื่องพิมพ์พลาสเตอร์ปิดแผล
แนวคิดเริ่มต้นมาจากพลาสเตอร์ปิดแผลมีขนาดไม่พอดีกับขนาดแผล ดังนั้นหากเราสร้างพลาสเตอร์ยาสำหรับปิดแผลซึ่งมีขนาดพอดีกับขนาดบาดแผลขึ้นมาใช้ได้เอง จะสะดวกอย่างยิ่ง การทำงานเริ่มจากสแกนบาดแผลแล้วใช้โปรแกรมคำนวณหาขนาดบาดแผลที่เล็กที่สุด เครื่องพิมพ์สามมิติจะทำการสร้างพลาสเตอร์แล้วพิมพ์ออกมา ซึ่งสามารถพิมพ์ได้ขนาดที่เหมาะสมกับขนาดของบาดแผลและพิมพ์ได้ครั้งละหลายชิ้น
แนวคิดที่ 3 : แว่นตาอัจฉริยะ
แว่นตาเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ผู้มีปัญหาทางด้านสายตามักสวมใส่เป็นประจำ แต่ราคาแพง ไม่คงทน การใช้งานจำกัด แว่นตาอัจฉริยะถูกคิดขึ้นมาเพื่อลดปัญหาเหล่านั้น สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือได้ และสือสารโดยตรงกับสมองได้ โดยแว่นตาอัจฉริยะถูกพัฒนามาจากเลนส์น้ำมีต้นทุนการผลิตที่ถูก และสามารถควบคุมได้เพื่อปรับระยะโฟกัสของเลนส์โดยอัตโนมัติ การอ่านและบันทึกคลื่นสมองจาก EEG และ High speed brain computer interfacing technologies ในการสั่งงานการทำงานของแว่นตา สัญญาณภาพที่เห็นไม่ชัดเจนจากสมองจะควบคุมระยะโฟกัสของเลนส์จนสมองรับรู้สัญญาณภาพที่ชัดเจน

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่  https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20190624-newsletter-brussels-v7-July61.pdf

11 ก.ค. 2562
0
แชร์หน้านี้: