ผลการค้นหา :

อวท. เปิดบ้านต้อนรับคณะพาณิชย์จังหวัดปทุมธานี ผนึกกำลังความร่วมมือ ช่วยส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ กระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น
27 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา : น.สพ.สนัด วงศ์ทวีทอง รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (อวท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)ให้การต้อนรับ นายนิมิตร ฆังคะจิตร พาณิชย์จังหวัดปทุมธานี พร้อมคณะ ร่วมหารือกับ นางสาวกัลยารัตน์ รัตนะจิตร ผู้อำนวยการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี นางศศิธร เทศน์อรรถภาคย์ ผู้จัดการงานสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และนางสาวจิดาภา ยมมะนา ผู้จัดการศูนย์บริการลูกค้า เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การบูรณาการความร่วมมือและผนึกกำลังของทั้งสองหน่วยงาน เพื่อช่วยส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีให้มีความเข้มแข็ง เจริญเติบโต และสร้างศักยภาพให้กับเศรษฐกิจของจังหวัดได้อย่างยั่งยืนต่อไป ซึ่งกิจกรรมการส่งเสริมจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ ในพื้นที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์

อว. ปล่อยคาราวานขนสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้ สวทช. ร่วมส่งเครื่องกรองน้ำด้วยนาโนเทคโนโลยี บรรเทาขาดแคลนน้ำสะอาด
วันที่ 3 ธันวาคม 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์ปฏิบัติการสถานการณ์น้ำท่วม “อว. เพื่อประชาชน” นำโดย นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวง อว. นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. นายวันนี นนท์ศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. และ ผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวง อว. พร้อมด้วย ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมปล่อยรถคาราวานลำเลียงสิ่งของที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวง อว. เพื่อส่งมอบแก่พี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าวว่า จากสถานการณ์วิกฤตน้ำท่วมในพื้นที่ทางภาคใต้ของประเทศไทย กระทรวง อว. ได้สั่งการไปยัง อว.ส่วนหน้า ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่เร่งช่วยเหลือนิสิต นักศึกษา และบุคลากรที่ได้รับผลกระทบ อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่และวิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นต้น จัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาและประชาชนในพื้นที่ เปิดศูนย์ช่วยเหลือนักศึกษา เปิดครัวกลาง เปิดรับบริจาคเงินและสิ่งของใช้จำเป็น รวมทั้งจัดหน่วยจิตอาสานักศึกษาและบุคลากรลงพื้นที่แจกจ่ายอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งของอุปโภค บริโภค ยารักษาโรค เครื่องมือ อุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน เป็นต้น
“กระทรวง อว. เร่งระดมความช่วยเหลือจากทุกสรรพกำลังเพื่อส่งตรงถึงมือพี่น้องในพื้นที่ และขอยืนยันว่า กระทรวง อว. พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา และบรรเทาผลกระทบให้แก่พี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนโดยเร็วที่สุด” นางสาวศุภมาส กล่าว
ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. ได้ติดตามสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้อย่างใกล้ชิด และมีความห่วงใยผู้ประสบภัยที่มีความต้องการใช้น้ำที่สะอาด จึงได้ส่งนวัตกรรมที่พัฒนาโดยนักวิจัย สวทช. ไปช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบอุทกภัย ได้แก่
เครื่องกรองน้ำด้วยนาโนเทคโนโลยีร่วมกับระบบรีเวิร์สออสโมซิส 1 ชุด ประกอบด้วย 4 ไส้กรอง (เครื่องกรองน้ำด้วยนาโน ไส้กรองเกล็ดคาร์บอนที่ดัดแปรพื้นผิว ไส้กรองเรซิน และไส้กรอง Sediment) พร้อมระบบรีเวิร์สออสโมซิส ที่สามารถกรองน้ำได้สะอาด ฆ่าเชื้อโรคที่มาจากน้ำได้อย่างปลอดภัย
นอกจากนี้เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 สวทช. ได้สนับสนุนปัจจัยให้ชมรมนราสันติ จ.นราธิวาส จัดทำอาหารกล่องและน้ำท่วม นำไปมอบให้กับผู้อุทกภัยที่ติดอยู่ภายในบ้านไม่สามารถจัดหาน้ำท่วมและอาหารได้
ทั้งนี้ หากผู้ใดประสงค์จะร่วมสนับสนุนปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือในครั้งนี้ สามารถติดต่อนำสิ่งของมาร่วมบริจาคได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการสถานการณ์น้ำท่วม “อว.เพื่อประชาชน ” อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวง อว. โทรศัพท์ Call center 1313
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์

“ศุภมาส” แถลงผลงาน ตอกย้ำวิสัยทัศน์ “เรียนดี มีความสุข มีรายได้” พร้อมชู “วิจัย นวัตกรรมดี ตอบโจทย์ ตรงความต้องการ”
เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (รมว.อว.) ได้แถลงผลงานที่ผ่านมาตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค โดยนำเสนอผลงานในรูปแบบที่แปลกใหม่และน่าสนใจ เรียกได้ว่าเป็น "นวัตกรรมแห่งการนำเสนอ" โดยถ่ายทอดผลงานผ่านละครเวทีสร้างสรรค์ ภายใต้ชื่อ "เชื่อมต่ออนาคตไทย สู่ปีแห่งความสำเร็จกับกระทรวง อว." แสดงให้เห็นผลงานของกระทรวง อว. ที่สามารถเข้าถึงประชาชน สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นางสาวศุภมาสฯ รมว.อว. กล่าวว่า เมื่อครั้งที่ตนได้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ในรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ตนได้วางนโยบายหลักด้านการอุดมศึกษา “เรียนดี มีความสุข มีรายได้” มุ่งเป้าหมายการลดภาระของนักศึกษา ผู้ปกครอง และอาจารย์ผู้สอน สำหรับด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ได้เน้นนโยบาย “วิจัย นวัตกรรมดี ตอบโจทย์ ตรงความต้องการ” โดยให้ภาคเอกชนมีบทบาทนำ และภาครัฐทำหน้าที่สนับสนุน
ในช่วงที่ผ่านมา กระทรวง อว. มุ่งมั่นขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุคเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม โดยเชื่อว่าการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม คือรากฐานสำคัญที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในการทำให้ “อว. เป็นกระทรวงเศรษฐกิจ” ที่ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศผ่านการวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยี สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ สร้างความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
กระทรวง อว. ได้ผลักดันโครงการสำคัญหลายโครงการที่มุ่งเน้นการสร้างโอกาสใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น โครงการ “อว. for EV” ที่มุ่งพัฒนางานวิจัยด้านยานยนต์ไฟฟ้า ตั้งแต่การออกแบบและพัฒนาประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ไปจนถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน เพื่อสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทยให้แข็งแกร่ง พร้อมขอความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศให้เปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าให้มากที่สุด
ในส่วนของโครงการ “อว. for AI” กระทรวง อว. ได้ผลักดันการพัฒนาการศึกษาและบุคลากรด้าน AI อย่างเข้มข้น โดยตั้งเป้าหมายให้นิสิต นักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศมีความรู้พื้นฐานด้าน AI ภายในชั้นปีที่ 2 พร้อมมุ่งเพิ่มทักษะด้าน AI ให้นักศึกษาสามารถสร้าง AI ได้ ใช้ AI เป็น โดยนำ AI มาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำด้าน AI ในอาเซียน
นอกจากนี้ยังมีนโยบาย “อว. for Ignite Thailand” ที่ตั้งเป้าผลิตบุคลากรในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า และ AI โดยจัดตั้ง 5 หลักสูตรแซนด์บ็อกซ์เพื่อสร้าง "New Growth Engine" ในประเทศ ได้แก่ หลักสูตรวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ วิศวกรรมไซเบอร์ วิทยาการ
ชีวการแพทย์ขั้นสูง และวิศวกรรมระบบราง เป็นต้น
ในด้านการปฏิรูปอุดมศึกษา กระทรวง อว. มุ่งเน้นแนวคิด “2 ลด 2 เพิ่ม” คือ ลดภาระ-ลดเหลื่อมล้ำ-เพิ่มทักษะ-เพิ่มโอกาส เพื่อให้การศึกษาเข้าถึงได้และมีคุณภาพ ผ่านมาตรการ Free TCAS และ Free TGAT ที่สำคัญ อว. ได้พัฒนาสถาบันอุดมศึกษาให้ตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ผ่านระบบสะสมหน่วยกิต (Credit Bank) ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนสามารถสะสมหน่วยกิตจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และนำมาเทียบโอนเพื่อสำเร็จการศึกษา รวมไปถึง Skill Mapping (แผนที่ทักษะ) Skill Transcript (บันทึกทักษะ) และ Coop+ (สหกิจศึกษาพลัส) ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาและประชาชนสามารถเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะใหม่ๆ เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคต
นอกจากนี้ กระทรวง อว. ยังให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และสร้างความตระหนักด้านการวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยีในสังคมวงกว้าง ผ่านการจัดกิจกรรม "อว.แฟร์ Sci Power for Future Thailand" ทั้งในกรุงเทพฯ และ 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนได้สัมผัสและเรียนรู้กับนวัตกรรมแห่งอนาคต และงาน “One Stop Open House 2024” ที่รวมสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศไว้ในที่เดียว เพื่อให้ข้อมูลการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาแก่เยาวชนและผู้ปกครอง ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังสถาบันอุดมศึกษาหลายๆแห่ง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลการเข้าศึกษาต่อ ทั้งสองงานนี้ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลามจากนิสิต นักศึกษา ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไปอย่างมาก
สำหรับปีต่อไป กระทรวง อว. จะสานต่อนโยบายเดิมให้ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
โดยมี 12 เรื่องที่จะทำทั้งในด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ ววน. ได้แก่
1) การปฏิรูปอุดมศึกษาด้วยเทคโนโลยี AI ผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาก้าวสู่การเป็น AI University รองรับยุค Education 6.0 ด้วยการนำ AI และ Metaverse มาช่วยในการเรียนการสอนแบบ Immersive Education
2) การเพิ่มโอกาสในการเข้าทำงานของบัณฑิตจบใหม่ จัดให้มีการรวมผู้ประกอบการมาพบกับบัณฑิตในงาน Job Fair ภายในต้นปีหน้า
3) การเพิ่มประสิทธิภาพของกำลังคนตามความต้องการของอุตสาหกรรม ให้มหาวิทยาลัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรมพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน
4) การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการพิจารณาการขอตำแหน่งทางวิชาการ จัดให้มีระบบการตรวจสอบสถานะผ่านออนไลน์ และปรับปรุงกระบวนการพิจารณาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5) โรงเรียนสาธิตอินเตอร์ สนับสนุนให้มีโรงเรียนสาธิตอินเตอร์ในสาธิตที่มีความพร้อม
6) กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา ผลักดันกฎหมายจัดตั้งกองทุนเพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม
7) อุตสาหกรรมการศึกษาของประเทศไทย ผลักดันไทยให้เป็น Education Hub โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำจากต่างประเทศ
8) อว. เป็นกระทรวงเศรษฐกิจ ใช้ ววน. เพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ สนับสนุนอุตสาหกรรมใหม่ และผลักดันวาระสำคัญเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศ โดยมีผลตอบแทนในทางเศรษฐกิจและสังคม (SROI) ไม่น้อยกว่า 5 เท่า และสามารถเพิ่ม GDP ของประเทศได้ไม่น้อยกว่า 1.5% จากการลงทุนด้าน ววน.
9) การนำ ววน. ไปแก้ปัญหาสำคัญของประเทศ นำ ววน. ไปช่วยตอบโจทย์สำคัญของประเทศ อาทิ น้ำแล้ง ภัยพิบัติ PM2.5 ความมั่นคงด้านพลังงาน เป็นต้น
10) การนำ Science Park ไปสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและผู้ประกอบการ SMEs Startup ในท้องถิ่น
11) การสนับสนุนเทคโนโลยีขั้นแนวหน้าของประเทศ (Frontier Technology)
12) การปฏิรูประบบ ววน. อย่างต่อเนื่อง เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดสรรงบประมาณจากกองทุน ววน. การปรับระบบหน่วยบริหารจัดการทุน (PMU) การเพิ่มประสิทธิภาพระบบติดตามและประเมินผล การจัดทำแผนด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นต้น
นางสาวศุภมาสฯ รมว.อว. ได้เน้นย้ำว่า กระทรวง อว. จะยังคงมุ่งมั่นขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย ด้วยการใช้วิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญ พร้อมผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและการศึกษาในระดับภูมิภาคและระดับโลก
"ดิฉันเชื่อว่า ความโปร่งใสในการทำงาน และการให้ข้อมูลที่ครบถ้วน จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และสร้างพลังในการพัฒนาประเทศร่วมกัน" นางสาวศุภมาสฯ รมว.อว. กล่าวทิ้งท้าย
สวทช.วิจัยตอบโจทย์ประเทศ 5 ด้านสำคัญ
ด้าน ศาสตราจารย์ ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำคณะผู้บริหารสวทช.และผู้บริหารศูนย์วิจัยแห่งชาติ เข้าร่วมแถลงข่าว ประกอบด้วย ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการ เนคเทค ผศ.ดร.เชาวรีย์ อรรถลังรอง ผู้อำนวยการ ไบโอเทค รศ.ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ ผู้อำนวยการ เอ็มเทค ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล ผู้อำนวยการ เอ็นเทค นางศันสนีย์ ฮวบสมบูรณ์ รองผู้อำนวยการ นาโนเทค ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการ สวทช. ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รองผู้อำนวยการ สวทช. และดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. เข้าร่วมงานแถลงข่าว
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้กำกับของกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม (อว.) มุ่งมั่นนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปสู่การใช้งานจริง เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย ด้วยแผนกลยุทธ์การวิจัย: S&T Implementation for Sustainable Thailand หรือ กลยุทธ์ STIST โดยใช้ความเชี่ยวชาญในการวิจัยของทีมนักวิจัยทั้ง 5 ศูนย์วิจัยแห่งชาติ ตอบโจทย์สังคมและประเทศชาติ 5 ด้านสำคัญ ได้แก่
ด้านดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ พัฒนาแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชัน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยศูนย์เนคเทค สวทช. พัฒนาแอป Traffy Fondue แก้ปัญหาชีวิตในเมืองอย่างต่อเนื่อง, Thai School Lunch เพื่อให้เด็กไทยได้รับโภชนาการที่ดี แอปฯ ‘รู้ทัน’ ที่ช่วยติดตามการระบาดของไข้เลือดออก รวมถึงแพลตฟอร์ม AI for Thai ที่คนใช้มากกว่าล้านครั้งต่อเดือน
ด้านสุขภาพและการแพทย์ ด้วยชุดตรวจโรคที่แม่นยำ รวดเร็ว เข้าถึงง่าย เพื่อการรักษาโรคแบบตรงจุด โดยศูนย์นาโนเทค สวทช. มีชุดตรวจโรคไต, ชุดตรวจโลหะปนเปื้อนในน้ำ และยังมีชุดตรวจโรคพืชและสัตว์หลากหลายชนิดที่พร้อมใช้งาน เพื่อความปลอดภัยของทุกคน
ด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน มุ่งสู่พลังงานสะอาด ลดการปล่อยมลพิษ ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง และพลังงานทดแทน โดยศูนย์เอ็นเทค สวทช. ใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญออกแบบแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบสับเปลี่ยนได้, พัฒนาขั้วแบตเตอรี่ ผลิตไฮโดรเจนและ Supercapacitor จากขยะการเกษตร นอกจากนี้ยังมีรถมินิบัสไฟฟ้าขับขี่อัตโนมัติ และน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ
ด้านอาหารและการเกษตร เพิ่มผลผลิต ยกระดับคุณภาพ ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ และนวัตกรรมการเกษตรอัจฉริยะ โดยศูนย์ไบโอเทค สวทช. ใช้องค์ความรู้ทำงานด้านจีโนม ถอดรหัสพันธุกรรมในมนุษย์เพื่อการแพทย์แม่นยำ พัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์และพันธุ์พืช เช่น ข้าว เพื่อความมั่นคง ยั่งยืน ด้วย Molecular Breeding, Gene Editing สนับสนุนอุตสาหกรรมด้วย FoodSERP นี่คือเทคโนโลยีชีวภาพเพื่ออนาคต
ด้านอุตสาหกรรม สร้างความเข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การก้าวเข้าสู่วงการ Semiconductor และระบบราง โดยศูนย์เอ็มเทค สวทช. ใช้องค์ความรู้ด้านวิศวกรรมและวัสดุ เพื่อส่งเสริมงานด้านคมนาคมระบบราง เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมแห่งอนาคตของประเทศไทย
ทั้งนี้ สวทช. ภายใต้กระทรวง อว. พร้อมเดินหน้าด้วยกลยุทธ์ STIST นำพาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สู่การใช้ประโยชน์จริง เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับประเทศไทย
นอกจากนี้กระทรวง อว. จัดทำ Factsheet ที่รวบรวมวิสัยทัศน์และผลงานสำคัญของหน่วยงานในสังกัด เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็ว โดยสามารถสแกน QR code เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์

สวทช. รับรางวัลเกียรติยศประเภทหน่วยงาน จากสัตวแพทยสมาคมฯ ในงานประชุม ICVS2024
(28 พฤศจิกายน 2567): ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาและเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นผู้แทนองค์กร เข้ารับรางวัลเกียรติยศประเภทหน่วยงาน ประจำปี 2567 ในพิธีประกาศเกียรติคุณ " สัตวแพทย์ตัวอย่าง ประจำปี 2567 และมอบรางวัลเกียรติยศ ประจำปี 2567 " ในการจัดการประชุม วิชาการนานาชาติ ทางสัตวแพทย์และการเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 46 "The 46" Intemational Conference on Veterinary Science" (ICVS 2024) ซึ่งจัดโดยสัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชปถัมภ์ ระหว่างวันที่ 28- 29 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้อง Balroom 3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์

“การสร้างสื่อวิดีโอ Infographic เพื่อการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพด้วย Application Canva” (Create efficient video presentations with Canva) รุ่นที่ 3
ลงทะเบียนก่อนเต็ม รับจำนวนจำกัด!!!
สวทช. ขอเรียนเชิญเข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตร
“การสร้างสื่อวิดีโอ Infographic เพื่อการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพด้วย Application Canva” (Create efficient video presentations with Canva) รุ่นที่ 3
.
Key Highlights
หลักสูตรนี้จะให้ทฤษฎีและการปฏิบัติที่จำเป็นในการสร้างสื่อวิดีโอ Infographic โดยใช้ Canva เพื่อนำเสนอข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพและน่าสนใจ
ผู้เรียนจะได้เรียนรู้การใช้งานเครื่องมือต่างๆ ใน Canva เพื่อสร้างสื่อวิดีโอ Infographic ที่มีคุณภาพสูง
ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เทคนิคและกลยุทธ์ในการนำเสนอและการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบของสื่อวิดีโอ Infographic ที่น่าสนใจและมีความน่าเชื่อถือ
.
วันที่ 22 - 23 มกราคม 256ค เวลา 09.00 - 16.00 น.
ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
.
ค่าลงทะเบียน ท่านละ 9,900 บาท (หน่วยงานภาครัฐ 9,252.34 บาท)
ลงทะเบียนได้ที่ลิงก์ https://www.career4future.com/vinfo
ลงทะเบียน https://www.career4future.com/cfa/index.php?crsgen=9895
.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 08 5289 2669 (คุณยุภา)
E-Mail : E-mail : bas@nstda.or.th
...
ทำความรู้จัก สวทช. เพิ่มเติมได้ที่
Website: https://www.nstda.or.th
YouTube: https://www.youtube.com/@nstda
LinkedIn: https://www.linkedin.com/company/nstda/
Instagram: https://www.instagram.com/nstdathailand/
Twitter: https://twitter.com/nstdathailand
LINE OA: https://lin.ee/5LjT9Ny
TikTok: https://www.tiktok.com/@nstdathailand
ปฏิทินกิจกรรม

เปิดโลก AI การแพทย์! สวทช.จัดงานบรรยายพิเศษ ร่วมมือสิงคโปร์ พัฒนาเทคโนโลยีสุขภาพล้ำยุค
เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ฝ่ายพัฒนาบุคลากรวิจัย สำนักงานกลาง โดยโครงการทุนการศึกษา NSTDA-SINGA ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สวทช.และเครือข่ายหน่วยงานวิจัยและมหาวิทยาลัยพันธมิตร ในประเทศสิงคโปร์ ได้จัดงานบรรยายหัวข้อ "Transforming Healthcare with Computer Vision & AI: A Deep Dive into MVAIT, LKCMedicine & NTU" ณ ห้องปทุมมา อาคารเนคเทค สวทช. โดยได้รับเกียรติจาก Asst. Prof. Yeo Si Yong จาก Lee Kong Chian School of Medicine (LKCMedicine), Nanyang Technological University (NTU) ประเทศสิงคโปร์ เป็นวิทยากรบรรยาย โดยมีนางจันทร์ธิรา มงคลวัย ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายพัฒนาบุคลากรวิจัย ผู้แทน รองผู้อำนวยการสายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา สวทช. ได้กล่าวต้อนรับและเปิดงานอย่างเป็นทางการ โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นโอกาสสำคัญในการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Computer Vision ในการพัฒนาการดูแลสุขภาพให้ก้าวล้ำยิ่งขึ้น
Asst. Prof. Yeo Si Yong ได้นำเสนองานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยี AI ในห้องปฏิบัติการ LKCMedicine เช่น Deformable models, computational modelling, Large Foundation Models (LFMs), Large Language Models (LLMs) และ Vision-Language Models (VLMs) ซึ่งมีเป้าหมายในการเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยโรค ปรับปรุงผลการรักษา และพัฒนาการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน โดยงานวิจัยเหล่านี้เกิดจากความร่วมมือระหว่าง Lee Kong Chian School of Medicine, Nanyang Technological University (NTU), National University of Singapore (NUS) และ Agency for Science, Technology and Research (A*STAR) โดยใช้เทคโนโลยี Computer Vision, Generative Adversarial Networks (GANs) และ Neural Radiance Fields (NeRFs) ในการสร้างภาพและวิเคราะห์โครงสร้างทางการแพทย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัยและการรักษา
นอกจากนี้นักศึกษาในห้องปฏิบัติการ LKCMedicine ได้นำเสนอผลงานวิจัยของตนเอง ได้แก่ Miss Chen Yucheng นักศึกษาปริญญาเอกได้นำเสนอหัวข้อ "Medical Report Generation" โดยเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ในการสร้างรายงานทางการแพทย์แบบมืออาชีพโดยอัตโนมัติจากข้อมูลภาพที่ป้อนเข้าสู่ระบบอย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ, Mr. Shi Yufei นักศึกษาปริญญาเอก ได้นำเสนอหัวข้อ "ColonNeRF: High-Fidelity Neural Reconstruction of Long Colonoscopy" ซึ่งเน้นการสร้างภาพ 3 มิติของลำไส้ใหญ่ด้วย Neural Reconstruction ที่มีความละเอียดสูง และ Mr. Kritsanavis Chongsrid นักศึกษาปริญญาเอก ได้นำเสนอหัวข้อ "Deep-Learning-Based System for Medical Imaging Data Analysis in Surgical Planning and Guidance" ซึ่งเป็นการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์แบบลึกในการวิเคราะห์ข้อมูลภาพทางการแพทย์เพื่อการวางแผนและการนำทางในหัตถการ
Mr. Kritsanavis ยังได้กล่าวถึงโอกาสในการศึกษาต่อและทำวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ AI และ Computer Vision ที่ Lee Kong Chian School of Medicine (LKCMedicine) ของ Nanyang Technological University (NTU) ประเทศสิงคโปร์ โดยมีทุนการศึกษาระดับปริญญาเอก SINGA (Singapore International Graduate Award) สำหรับนักศึกษานานาชาติที่สนใจศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ซึ่งเป็นทุนเต็มจำนวนและไม่มีภาระผูกพัน นอกจากนี้ นักศึกษาชาวไทยยังสามารถสมัครทุนปริญญาเอก NSTDA-SINGA ซึ่งเป็นทุนเต็มจำนวนและไม่มีภาระผูกพันเช่นเดียวกัน โดยเป็นช่องทางพิเศษสำหรับนักศึกษาชาวไทย อีกทั้งยังมีทุนการศึกษาระดับปริญญาเอกอื่น ๆ ได้แก่ NTU Research Scholarship, Nanyang President’s Graduate Scholarship (NPGS) และ HRH-NTU Scholarship ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีในการร่วมงานกับทีมวิจัยและศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่สิงคโปร์
Asst. Prof. Yeo Si Yong ยังกล่าวว่านอกจากการเดินทางมาบรรยายพิเศษแล้วนั้น ยังได้รับโอกาสที่ดีจาก สวทช.ในการเข้าร่วมหารือกับกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) ได้แก่ ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS) และเข้าเยี่ยมชมศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง (ThaiSC) สวทช.เพื่อสร้างความร่วมมือในส่วนงานวิจัยต่อไป
ในช่วงท้ายของงานได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสอบถามในช่วง Q&A เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI และ Computer Vision ในการแพทย์ รวมถึงการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีมวิจัยที่ Lee Kong Chian School of Medicine (LKCMedicine), Nanyang Technological University (NTU) โดยบรรยากาศของงานเต็มไปด้วยความสนใจจากผู้เข้าร่วม
ทั้งนี้โครงการทุน NSTDA-SINGA กำลังเปิดรับสมัครทุนศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ประจำปี 2568 เพื่อศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำของสิงคโปร์ ได้แก่ NTU, NUS, SUTD, SMU, SIT หรือทำวิจัยร่วมกับ A*STAR โดยเปิดรับสมัครถึงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดรายละเอียดโครงการและใบสมัครได้ที่https://shorturl.at/5zrVc หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณวารี อัชชะกุลวิสุทธิ์ และคุณสุรางค์ศรี ศรีวงศา อีเมล: NSTDA_SINGA@nstda.or.th
ข่าวประชาสัมพันธ์

เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย คว้ารางวัล ASOCIO Awards 2024 สะท้อนบทบาทผู้นำภาครัฐในการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล
(เมื่อเร็ว ๆ นี้) ดร.ภัทราวดี พลอยกิติกูล ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย เปิดเผยว่า เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand) ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รับรางวัล ASOCIO Awards 2024 สาขา Emerging Digital Solutions & Ecosystem Award in Public Sector ในงานประชุม The Asian-Oceanian Computing Industry Organization (ASOCIO) Digital Summit 2024 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-8 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรม ANA Intercontinental กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยมีสมาชิกองค์กรชั้นนำภาครัฐและเอกชนจาก 24 ประเทศเข้าร่วม
รางวัลนี้ยืนยันถึงความสำเร็จของเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทยในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบนิเวศดิจิทัล (Digital Ecosystem) และสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และดิจิทัลของประเทศให้ก้าวสู่เวทีระดับสากล โดยมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมและสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อยกระดับศักยภาพของประเทศในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
“รางวัลนี้เป็นผลสำเร็จที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเราตลอด 27 ปีที่ผ่านมา ในฐานะหน่วยงานรัฐที่สนับสนุนระบบนิเวศดิจิทัล ผ่านการพัฒนาบุคลากร และสนับสนุนผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และดิจิทัล ร่วมขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ เราพร้อมเป็นส่วนสำคัญ เพื่อร่วมสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม” ดร.ภัทราวดี กล่าว
สนับสนุนธุรกิจดิจิทัลด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ครบครัน
เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทยมีความพร้อมในการสนับสนุนผู้ประกอบการเทคโนโลยีดิจิทัลด้วยบริการที่ครอบคลุมทุกด้าน ได้แก่:
• พื้นที่สำนักงานพร้อมโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลทันสมัย: รองรับการทำงานขององค์กรทุกขนาดในบรรยากาศที่เอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรม
• การเชื่อมโยงกับเครือข่ายพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ: เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการขยายธุรกิจและเข้าถึงตลาดใหม่
• โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและการสนับสนุนด้านนวัตกรรม: เช่น การฝึกอบรมเชิงลึก กิจกรรมสัมมนาเพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ และกิจกรรมสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ
ติดต่อเรา
เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทยเปิดรับ ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ/เช่าพื้นที่สำนักงาน/หรือ ใช้บริการสนับสนุนต่างๆ เพื่อร่วมกันสร้างอนาคตดิจิทัลของประเทศไทย
งานบริหารพื้นที่และสนับสนุนธุรกิจ
โทร: 02-583-9992
อีเมล: fms@swpark.or.th
LINE Official: @softwarepark
เว็บไซต์: https://swpark.or.th/
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์

อว. จัดงานมหกรรมการศึกษาครั้งใหญ่ One Stop Open House 2024 สวทช. ขน 3 โครงการทุนการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปิดรับสมัครในงาน
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน “One Stop Open House 2024” งานมหกรรมการศึกษาที่รวมมหาวิทยาลัยจากทั่วประเทศไว้ในที่เดียว ภายใต้แนวคิด “อนาคตของคุณเริ่มต้นที่นี่: การศึกษายุคใหม่เพื่ออาชีพในฝัน” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (Hall 1-2) โดยมี ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมด้วย ดร.พัชร์ลิตา ฉัตรวริศพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เข้าร่วมในพิธีเปิดงาน
นางสาวศุภมาส กล่าวว่า โลกในยุคดิจิทัลและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การศึกษาไม่ใช่แค่การเรียนรู้ในห้องเรียนอีกต่อไป แต่เป็นการเตรียมเยาวชนให้พร้อมรับมือกับอาชีพใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในอนาคต งาน One Stop Open House 2024 นี้ไม่ได้เป็นเพียงนิทรรศการการศึกษา แต่เป็นพื้นที่ที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ และมอบโอกาสให้เยาวชนไทยได้ค้นพบตัวเอง เข้าใจเส้นทางการศึกษา และเตรียมตัวเข้าสู่โลกการทำงานได้อย่างมั่นใจ
“งาน One Stop Open House 2024 จัดขึ้นเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของอนาคตที่ทุกคนออกแบบได้ด้วยตัวเอง ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ แต่ยังเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสและเชื่อมโยงทุกความฝันเข้ากับความเป็นจริง” นางสาวศุภมาส กล่าว
สำหรับไฮไลต์สำคัญของงาน One Stop Open House 2024 ประกอบด้วย 1. โซนคำปรึกษาและแนะแนวอาชีพ พบกับผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยชั้นนำกว่า 70 แห่งทั่วประเทศ ให้คำปรึกษาเฉพาะบุคคลแบบครบวงจร พร้อมสัมผัสชีวิตมหาวิทยาลัยเสมือนจริงผ่านเทคโนโลยี Virtual Reality 2. โซนทุนการศึกษา ข้อมูลทุนการศึกษาจากหลากหลายแหล่ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ครอบคลุมทุนจากภาครัฐและเอกชน 3. AI Faculty Matching & Career Path Guidance ระบบ AI อัจฉริยะ ช่วยวิเคราะห์ความสนใจและทักษะของผู้เข้าร่วม เพื่อแนะนำมหาวิทยาลัย คณะ และอาชีพที่เหมาะสม 4. กิจกรรมสัมมนาและเวิร์กช็อปพิเศษ หัวข้อครอบคลุมตั้งแต่การวางแผนเส้นทางอาชีพ การ Upskill และ Reskill ทักษะในยุคดิจิทัล และการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้นำในอนาคต 5. 9D Cinema และห้อง Interactive ประสบการณ์โลกเสมือนจริงที่พาคุณสำรวจตั้งแต่อวกาศจนถึงใต้ทะเล 6. มินิคอนเสิร์ตจากศิลปินดัง การแสดงสดจากศิลปินยอดนิยม เช่น ATLAS, PAPERPLANE, Diamond Laz1 และ PROXIE ที่มาร่วมสร้างแรงบันดาลใจ
ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. ได้มีส่วนร่วมในงาน One Stop Open House 2024 โดยนำ 3 โครงการทุนการศึกษาไปจัดแสดงในโซนทุนการศึกษา เพื่อให้คำแนะนำแก่นักเรียนนักศึกษาหรือผู้ที่สนใจ ดังนี้
1.โครงการ Thailand Advanced Institute of Science and Technology - Institute of science Tokyo (TAIST- Science Tokyo) ซึ่ง สวทช. ร่วมกับ Institute of Science Tokyo ประเทศญี่ปุ่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ขั้นสูง ระดับปริญญาโท หลักสูตรนานาชาติ รวมถึงหลักสูตรประกาศนียบัตรระบบขนส่งทางราง ซึ่งร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล โดยโครงการ TAIST-Science Tokyo (เดิมชื่อ TAIST-Tokyo Tech) เริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน และในปี 2565 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ให้การสนับสนุนทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาบุคลากรวิจัยและวิศวกรรมทักษะสูงตามความต้องการของประเทศ
2.โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (Junior Science Talent Project - JSTP) ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาได้เปิดโลกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผ่านกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ กิจกรรมฝึกทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กิจกรรมการทดลองด้านวิทยาศาสตร์ การบรรยายพิเศษ และกิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานที่ พร้อมสร้างสรรค์ผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์และสิ่งประดิษฐ์ รับทุนทำโครงงานวิทยาศาสตร์จำนวน 10,000 บาท/โครงงาน โดยมีนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด และมีโอกาสได้รับคัดเลือกเพื่อรับทุนการศึกษา และทุนวิจัยจนจบปริญญาเอก โดยไม่ผูกพันการรับทุน ซึ่งปัจจุบัน JSTP อยู่ระหว่างเปิดรับสมัครรุ่นที่ 28 ประจำปี 2568 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2567 – 20 มกราคม 2568
3.โครงการสนับสนุนนักเรียนทุนรัฐบาลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มบุคลากรวิจัยที่มีศักยภาพสูงให้แก่หน่วยงานวิจัย มหาวิทยาลัย และหน่วยงานอื่นๆ ของภาครัฐ ที่ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตลอดจนผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมมเป้าหมายหลัก (S-Curve) เพื่อรองรับโครงการขนาดใหญ่ เช่น BCG EECi เป็นต้น และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมในเวทีโลก
ประเภททุนที่จัดสรร
1. ทุนมัธยมศึกษาตอนปลาย (ต่างประเทศ)
เป็นทุนที่สอบแข่งขันบุคคลเพื่อไปศึกษาในระดับปริญญาตรี-โท-เอก ซึ่งในปีนี้ เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อรับทุนจำนวน 29 ทุน
2. ทุนบุคคลทั่วไประดับปริญญา(ต่างประเทศ) เป็นทุนที่สอบแข่งขันบุคคลเพื่อไปศึกษาในระดับปริญญาโท ,ปริญญาโท-เอก และปริญญาเอก ซึ่งกำลังจะเปิดรับสมัคร ในเดือนธันวาคม 2567 นี้ จำนวน 95 ทุน
3. ทุนพัฒนาบุคลากรภาครัฐ (ต่างประเทศและในประเทศ)
เป็นทุนที่จัดสรรให้แก่หน่วยงานของรัฐเพื่อคัดเลือกบุคลากรในสังกัดให้รับทุนเพื่อไปศึกษาในระดับปริญญาโท ,ปริญญาโท-เอก หรือปริญญาเอก ในปีนี้มีจำนวนทุนที่จัดสรร จำนวน 89 ทุน เป็นทุนต่างประเทศ 68 ทุน และทุนในประเทศ 21 ทุน
นอกจากนี้ ภายในงาน One Stop Open House 2024 ยังเพิ่มมิติที่ตอบโจทย์ผู้เข้าร่วมมากขึ้น ด้วยข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรใหม่ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เน้นด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ความยั่งยืน และการเตรียมพร้อมสำหรับตลาดแรงงานในอนาคต รวมถึงเครื่องจำลองอาชีพที่จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถทดลองใช้ชีวิตในบทบาทต่าง ๆ ได้อย่างสมจริง และเพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับนักเรียนและผู้ปกครองทั่วประเทศ สำหรับน้อง ๆ และผู้ปกครองที่อยู่ต่างจังหวัดหรือไม่สะดวกเดินทางมายังสถานที่จัดงาน สามารถรับคำปรึกษาแบบตัวต่อตัวได้ผ่าน Line Official: @OpenhousebyMHESI โดยทีมงานมืออาชีพ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับเส้นทางการศึกษา การเลือกคณะ และการวางแผนอาชีพในอนาคตได้อย่างละเอียด
ขอเชิญชวนนักเรียน ผู้ปกครอง และผู้สนใจเข้าร่วมงาน “One Stop Open House 2024” ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ Hall 1-2 ตั้งแต่เวลา 9.00-19.00 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.mhesi.go.th และเฟซบุ๊ก www.facebook.com/MHESIThailand หรือ Line Official @OpenHousebyMhesi
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์

รถจักรยานยนต์รับจ้างพลังงานไฟฟ้า … สู่สังคมที่ยั่งยืน
เนื่องในโอกาสที่องค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนดให้วันที่ 26 พฤศจิกายน เป็น "วันขนส่งยั่งยืนโลก" World Sustainable Transport Day กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สวทช. ผนึกหน่วยงานพันธมิตรจัดงาน “รถจักรยานยนต์รับจ้างพลังงานไฟฟ้าสู่สังคมที่ยั่งยืน” เพื่อร่วมกันแถลงความมุ่งมั่นในการผลักดันโครงการรถจักรยานยนต์รับจ้างพลังงานไฟฟ้า มีเป้าหมายให้เกิดการต่อยอดพัฒนาในด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับการขยายผลการใช้งานรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในวงกว้างต่อไป
คลิปสั้นทันเหตุการณ์

เปิดประตูสู่อวกาศ ! JAXA ชวนเด็กไทยเสนอการทดลองในอวกาศ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ แจ็กซา (JAXA) ประเทศญี่ปุ่น และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) จัดทำโครงการ “Asian Try Zero-G 2025” ชวนเยาวชนไทยส่ง “แนวคิดการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำเพื่อทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ” ร่วมแข่งขันกับเยาวชนจากประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 12 มกราคม 2568
[caption id="attachment_63463" align="aligncenter" width="1200"] ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการ สวทช.[/caption]
ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า สวทช. ร่วมกับ JAXA ดำเนินโครงการ Asian Try Zero-G 2025 เปิดรับไอเดียการทดลองวิทยาศาสตร์จากเยาวชนไทย เพื่อทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำบนสถานีอวกาศนานาชาติ ทั้งนี้คณะกรรมการของ สวทช. จะคัดเลือกไอเดียการทดลองที่น่าสนใจจำนวน 3 การทดลอง ในฐานะตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันกับประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ ออสเตรเลีย, บังคลาเทศ, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไต้หวัน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จากนั้น JAXA จะคัดเลือกไอเดียการทดลองรอบสุดท้ายไม่เกิน 6 การทดลอง เพื่อให้นักบินอวกาศอวกาศญี่ปุ่นทดลองจริงในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ บนโมดูลห้องปฏิบัติการคิโบ (Kibo Module) สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station)
[caption id="attachment_63464" align="aligncenter" width="1920"] ภาพการทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติโดย นายซาโตชิ ฟุรุคาวะ นักบินอวกาศญี่ปุ่นของ JAXAเครดิตภาพ : JAXA/NASA[/caption]
“โครงการ Asian Try Zero-G 2025 เปิดรับสมัครเยาวชนทั้งรูปแบบรายบุคคลหรือกลุ่มไม่เกิน 3 คน โดยปีนี้เปิดให้เสนอ “ไอเดียการทดลองทางฟิสิกส์ (Physics Experiments)” ผู้สมัครต้องส่งไอเดียการทดลองทางฟิสิกส์อย่างง่ายที่ทำได้ด้วยอุปกรณ์ที่มีอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งข้อเสนอการทดลองต้องมีสมมติฐาน หลักการ และคาดการณ์ผลการทดลอง ที่สำคัญขั้นตอนการทดลองต้องมีความเรียบง่ายและทำให้เสร็จสิ้นได้ภายใน 10 นาที นับเป็นโอกาสที่ดีของเยาวชนไทยที่จะได้ลองคิดไอเดียการทดลองที่แปลกใหม่ในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ ซึ่งจะเป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนางานวิจัยด้านเทคโนโลยีอวกาศในอนาคต ยิ่งไปกว่านั้น เยาวชนผู้ได้รับการคัดเลือกยังมีโอกาสเดินทางไปศูนย์อวกาศสึกุบะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อชมการทดลองทางวิทยาศาสตร์จากไอเดียของตนเองแบบเรียลไทม์ และสัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษ คือพูดคุยกับนักบินอวกาศญี่ปุ่นตัวจริงเสียงจริงที่ถ่ายทอดสดมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ รวมทั้งยังได้ร่วมกิจกรรมด้านอวกาศกับเยาวชนจากทั่วโลก”
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถส่งใบสมัครเป็นภาษาอังกฤษมาภายในวันที่ 12 มกราคม 2568 โดยติดตามรายละเอียดข้อมูลและวิธีการสมัครเข้าร่วมโครงการ Asian Try Zero-G 2025 ได้ที่ Website: โครงการ Asian Try Zero-G 2025 และ Facebook: NSTDA Space Education
ข่าวประชาสัมพันธ์

กระทงจากเส้นใยเห็ดรา “ไมซีเลียม” ผสานประเพณี..สู่การอนุรักษ์ป่า
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ความร่วมมือโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.แม่สอด จ.ตาก เปิดตัวนวัตกรรม Seeding-Rebirth กระทงจากเส้นใยเห็ดรา “ไมซีเลียม” พัฒนาโดยนักวิจัยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และนักวิจัยสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยความร่วมมือกับหลายหน่วยงานพันธมิตร นำเมล็ดพันธุ์พืชสำหรับปลูกป่าฝังลงในกระทง พร้อมนำไปร่วมในงานประเพณี “ลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง จังหวัดตาก ประจำปี 2567” เมื่อคืนวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา
โดยหลังจากประเพณีลอยกระทง “กระทงจากเส้นใยเห็ดรา" (Seeding-Rebirth) จะถูกเก็บกลับมาใช้ประโยชน์ต่อในโครงการอนุรักษ์ป่า ซึ่งกระทงสามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ส่วนเมล็ดพันธุ์ที่ฝังอยู่ในกระทงจะเจริญเติบโตเป็นต้นไม้เพื่อการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าต่อไป.
คลิปสั้นทันเหตุการณ์

สวทช. นำ สำนักงบประมาณ ติดตามโครงการการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าว สร้างรายได้เสริมพืชหลังนา-และยกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จ.สุรินทร์
(21 พฤศจิกายน 2567) นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ดร.มีชัย เซี่ยงหลิว นักวิจัยทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) นำคณะนักวิเคราะห์จากสำนักงบประมาณ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิต พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ในโครงการการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้: วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีบ้านโนนทองหลาง จ.สุรินทร์
นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. ได้ดำเนินงานในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ตั้งแต่ปี 2562 โดยมีเป้าหมายในการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยียกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อให้เกษตรกรในเขตพื้นที่มีความมั่นคงด้านอาหาร เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ต่อมาในปี 2567 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานในพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยเทคโนโลยีข้าวสายพันธุ์ใหม่ ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์ GAP Seed และทำให้ชุมชนสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพไว้ใช้เองในชุมชน ตลอดจนยกระดับรายได้เสริมให้กับเกษตรกรหลังฤดูการทำนา กลุ่มเป้าหมายจำนวน 11 กลุ่ม ซึ่งอยู่ในพื้นที่ อำเภอท่าตูม อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ข้าวหอมมะลิคุณภาพดีบ้านโนนทองหลาง
วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีบ้านโนนทองหลาง ตั้งอยู่ที่ 32 หมู่ 12 ตำบลชุมพลบุรี อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ จัดตั้งกลุ่มเมื่อปี 2560 โดยมีนายวสุรัตน์ สร้อยจิต เป็นประธานกลุ่มวัตถุประสงค์ในการรวมกลุ่ม เพื่อจำหน่ายข้าวสารในนามกลุ่มมีอำนาจในการต่อรองซื้อขายสินค้า เพิ่มโอกาสการเข้าถึงองค์ความรู้จากหน่วยงานต่าง ๆ และเพื่อขอรับการสนับสนุนโครงการจากหน่วยงานภาครัฐ ปัจจุบันกลุ่มฯ มีสมาชิกจำนวน 66 คน สมาชิกส่วนใหญ่ทำนาเป็นอาชีพหลัก และเลี้ยงโคเป็นอาชีพเสริมพื้นที่ทำนา 1,472 ไร่ พันธุ์ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่ปลูกพันธุ์ กข15 ผลผลิตเฉลี่ย 500 กิโลกรัมต่อไร่ และปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 จำนวน 20 ไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 2,100 บาทต่อไร่ เดิมกลุ่มได้รับมาตรฐานการผลิตข้าวในระบบเกษตรปลอดภัย (GAP) และระบบเกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) ปัจจุบันกลุ่มฯ ผลิตข้าวแบบเกษตรปลอดภัยและไม่ได้ขอรับรองมาตรฐานใด ๆ เนื่องจากตลาดในการจำหน่ายข้าวสารไม่ได้กำหนดความต้องการเรื่องมาตรฐาน ที่ผ่านมาปัญหาของกลุ่มคือ ขาดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีไว้ใช้เอง ต้นทุนการผลิตสูง กลุ่มมีความต้องการเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ และต้องการมีรายได้เสริมหลังฤดูการทำนา สวทช. ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานในพื้นที่ ดำเนินการ การยกระดับประสิทธิภาพการผลิตข้าวหอมมะลิ 105 ของเกษตรกรให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน ดังนี้
การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้เรื่องการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีไว้ใช้เอง เพื่อลดต้นทุนการผลิต ผลักดันในเกิดแปลงเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวน 3 แปลง เพื่อเป็นแปลงต้นแบบให้สมาชิกกลุ่มได้เรียนรู้ ตามกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยการปักดำกล้าต้นเดียว การตัดพันธุ์ปน จำนวน 5 ระยะ (ระยะกล้า ระยะแตกกอ ระยะออกดอก ระยะโน้มรวง และระยะสุกแก่) รวมทั้งการบริหารจัดการ
หลังการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ข้าว
ทดสอบปลูกข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่พัฒนาโดย สวทช. จำนวน 6 สายพันธุ์ ดังนี้ กลุ่มพันธุ์ข้าวหอมนุ่มพรีเมี่ยม ได้แก่
สายพันธุ์หอมสยาม 2 ปรับปรุงฐานพันธุกรรมขาวดอกมะลิ 105 (ผลผลิตสูง) กลุ่มพันธุ์ข้าวสีโภชนาการสูง ได้แก่
สายพันธุ์แดงจรูญ นิลละมุน ไรซ์เบอร์รี่ 2 และกลุ่มพันธุ์ข้าวเหนียวเพื่ออุตสาหกรรมข้าวเม่า ได้แก่ สายพันธุ์ธัญสิรินต้นเตี้ย ข้าวเหนียวดำ เพื่อนำไปทดสอบศักยภาพและเสถียรภาพในการให้ผลผลิตของข้าวสายพันธุ์ใหม่ ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้
ผลจากแปลงเรียนรู้การทดสอบพันธุ์ข้าว พบว่าข้าวทั้ง 6 สายพันธุ์ใหม่ สามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่
ทุ่งกุลาร้องไห้ทั้งจังหวัดสุรินทร์และมหาสารคาม พันธุ์ข้าวที่นำไปทดลองปลูกเป็นที่พอใจของเกษตรกรโดยเฉพาะ
พันธุ์หอมสยาม2 เนื่องด้วยข้าวแตกกอดี รวงใหญ่และยาว ให้ผลผลิตสูง คาดการณ์ว่าจะได้ผลผลิตสูงในฤดูกาลทำนาปี 2567 และเกษตรกรมีแผนจะขยายผลในการเพิ่มปริมาณการปลูกข้าวสายพันธุ์นี้ในฤดูกาลหน้า
ไลน์บอทวินิจฉัยโรคข้าว ช่วยให้เกษตรกรสามารถจัดการโรคข้าวที่พบได้ทันท่วงที ด้วยการทำงานของระบบที่ใช้
การวิเคราะห์ภาพถ่ายและปัญญาประดิษฐ์ (AI) ใช้ระยะเวลาในการวินิจฉัยประมาณ 5-7 วินาที ทำงานผ่านไลน์บอท (LINE Bot) พร้อมให้คำแนะนำการจัดการ เพื่อลดความเสียหายจากการทำลายของโรคข้าว สามารถวินิจฉัยโรคข้าวได้ 10 โรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทยผ่านภาพถ่าย ได้แก่ 1) โรคใบขีดสีน้ำตาล 2) โรคขอบใบแห้ง 3) โรคไหม้ 4) โรคใบขีดโปร่งแสง 5) โรคใบจุดสีน้ำตาล 6) โรคดอกกระถิน 7) โรคไหม้คอรวง 8) โรคเมล็ดด่าง 9) โรคใบวงสีน้ำตาล 10) โรคใบหงิก สวทช. ได้จัดตั้งกลุ่มไลน์บอทวินิจฉัยโรคข้าวของอำเภอชุมพลบุรี เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้เทคโนโลยีฯ ซึ่งเป็นตัวช่วยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้เกษตรกรวินิฉัยโรคข้าวได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น สามารถป้องกันโรคได้ทันท่วงที อีกทั้งในไลน์กลุ่มได้เชิญเจ้าหน้าที่หน่วยงานในพื้นที่ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านโรคแมลงคอยให้คำแนะนำ
พัฒนาศักยภาพผู้ตรวจสอบแปลงนา ผลักดันให้เกิดเกษตรกรผู้ตรวจสอบแปลงนา 3 รายต่อกลุ่ม ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นผู้ตรวจสอบแปลงนาให้สอดคล้องกับการตรวจประเมินระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว GAP Seed โดยมีศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ
จุลินทรีย์เพื่อยับยั้งโรคพืช และการจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร หัวเชื้อจุลินทร์ ประกอบด้วย เชื้อราไตรโคเดอมาร์ (Trichoderma sp.) ร่วมกับ กลุ่มแบคทีเรียบาซิลลัส (Bacillus sp.) ที่มีอัตราความเข้มข้นจุลินทรีย์ไม่น้อยกว่า 109 CFU/mL ของจุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ มีความสามารถในการจัดการโรคจากเชื้อราและแบคทีเรียได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งช่วยลดระยะเวลาในการย่อยสลายเศษวัสดุอินทรีย์ได้เร็วขึ้น 40 % และจะได้ธาตุอาหารพืช อีกทั้งสามารถช่วยป้องกันโรคพืชได้ สวทช. สนับสนุน หัวเชื้อจำนวน 5 แกลลอน ๆ ละ 5 ลิตรต่อแปลงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
แอปพลิเคชัน CStock และชุดวิเคราะห์ดินแบบพกพาสำหรับการจัดการดินและปุ๋ยเพื่อการปลูกพืช เป็นเครื่องมือสำหรับแนะนำการใส่ปุ๋ยให้กับเกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ พืชสวน และไม้ผล สามารถระบุค่าวัดผลของดินเพื่อคำนวนปุ๋ยที่เหมาะสมด้วยตนเอง ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี เมื่อใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินสามารถลดปริมาณการใส่ปุ๋ยที่มากเกินความจำเป็น ร่วมทั้งช่วยลดต้นทุนการผลิตปุ๋ย สวทช. ดำเนินการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินให้กับสมาชิกกลุ่มฯ
โดยการนำผลการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน มาคำนวนผ่านแอปพลิเคชัน CStock ได้ผลแนะนำการใส่ปุ๋ยแบบอินทรีย์ และเคมี
ยกระดับให้เกษตรกรมีรายได้เสริมในการผลิตพืชหลังนา
สวทช. ได้ร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ในเรื่องการส่งเสริมการปลูกถั่วเขียว สายพันธุ์ KUML เบอร์ 4 จุดเด่นของสายพันธุ์ เมล็ดใหญ่ สุกแก่พร้อมกัน อายุเก็บเกี่ยว 65-70 วัน ต้านทานโรคใบจุด และโรคราแป้ง ปรับปรุงและพัฒนาโดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้รับทุนวิจัยจาก สวทช. เพื่อขยายผลสู่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มฯ ได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML เบอร์ 4 จำนวน 65 กิโลกรัม และปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมสำหรับถั่วเขียว จำนวน 13 ถุง
จากการทดลองปลูกของเกษตรกร จำนวน 10 ราย พื้นที่ปลูก 11 ไร่ ได้ผลผลิตรวมทั้งหมด จำนวน 161 กิโลกรัม นำมาบริหารจัดการ ดังนี้ 1) คืนเมล็ดพันธุ์ให้กลุ่มฯ จำนวน 46 กิโลกรัม 2) เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง จำนวน 75 กิโลกรัม รวมเมล็ดที่เก็บไว้ใช้เองทั้งหมด จำนวน 121 กิโลกรัม จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ในราคา 60 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ลดต้นทุนการซื้อเมล็ดพันธุ์ สำหรับปลูกในฤดูกาลถัดไปได้ 7,260 บาท 3) จำหน่ายผลผลิต จำนวน 40 กิโลกรัมๆละ 40 บาท ทำให้มีรายได้เพิ่มจากการขายผลผลิต 1,600 บาท มีต้นทุนการผลิตต่อไร่เฉลี่ย 400 บาท (ต้นทุนการผลิต 11 ไร่ 4,400 บาท)
ยกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้
สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ยังได้ทำโครงการยกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยร่วมมือกับสำนักงานปศุสัตว์ทั้ง 5 จังหวัดทุ่งกุลาร้องไห้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มุ่งเน้นการพัฒนาสายพันธุ์ลูกผสมโคเนื้อให้สอดคล้องตามความต้องการของตลาด การพัฒนาด้านอาหารสัตว์เพื่อลดต้นทุนให้เกษตรกร การพัฒนามาตรฐานฟาร์ม และเพิ่มมูลค่าโคเนื้อ โดยมีผลการดำเนินงานภาพรวม 4 ด้าน ได้แก่
การพัฒนาสายพันธุ์โคเนื้อและการดูแลโคเนื้อ สวทช. ร่วมกับ ปศุสัตว์จังหวัดทั้ง 5 จังหวัด และหน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพอุบลราชธานี ได้พัฒนานักผสมเทียมชุมชุน 24 คน เพื่อเป็นนวัตกรให้รู้ด้านผสมเทียมและพัฒนาสายพันธุ์โคแก่เครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่ และได้ดำเนินการสำรวจและคัดเลือกแม่พันธุ์โคเนื้อเพื่อทำการเหนี่ยวนำการตกไข่และผสมเทียม การพัฒนาสายพันธุ์โคเนื้อเน้นสายพันธุ์ตามแผนงานและยุทธศาสตร์จังหวัดเป็นหลัก โคเนื้อแม่พันธุ์ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์โคเนื้อโดยการผสมเทียมและผสมพันธุ์จากพ่อพันธ์คุณภาพตามมาตรฐานของกรมปศุสัตว์และเป็นที่ยอมรับในกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ ตรงตามความต้องการของเกษตรกรและตลาด 616 ตัว ผสมติดผลิตลูกโคเนื้อ 391 ตัว ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์บราห์มัน บีฟมาสเตอร์ ชาร์โรเล่ส์ แองกัส และวากิว ตามลำดับ
อาหารโค ได้พัฒนาต้นแบบแปลงพืชอาหารสัตว์รวมจำนวน 20 ไร่ พื้นที่แปลงสาธิตฯ 5 แห่งใน 5 จังหวัด พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ โดยพันธุ์พืชอาหารสัตว์ที่ปลูก ได้แก่ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 หญ้าเนเปียร์จิ้นเฉ่า หญ้าหวานอิสราเอล หญ้าแพงโกลา และหญ้าไนล์ ต้นแบบแปลงหญ้าอาหารสัตว์ทั้ง 5 แห่ง ได้แก่ จ.ศรีสะเกษ 3 ไร่จังหวัดสุรินทร์ 6 ไร่ จ.ยโสธร 2 ไร่ จ.มหาสารคาม 6 ไร่ และ จ.ร้อยเอ็ด 3 ไร่ ทั้งนี้จากผลการจัดทำต้นแบบแปลงพืชอาหารสัตว์ เป็นแหล่งเรียนรู้การปลูกพันธุ์พืชอาหารสัตว์ ทำให้เกษตรกรเลือกชนิดพันธุ์ที่เหมาะสมนำไปปลูกในพื้นที่ของตนเองประมาณ 420 ไร่ ใช้เป็นแหล่งอาหารใช้เลี้ยงโคเนื้อในฟาร์มของตนเอง
การพัฒนาทักษะเกษตรกร เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการตามแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยี 3 กลุ่มเทคโนโลยี ประกอบด้วยหลักสูตรการอบรม ได้แก่ 1) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อพันธุ์ดี พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ (ผสมเทียม) 2) การปลูกพืชอาหารสัตว์และการเลือกใช้ผลพลอยได้ทางการเกษตรเพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงโคเนื้อ การจัดทำแปลงสาธิตปลูกพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่เป้าหมาย และ 3) การพัฒนามาตรฐานฟาร์ม GFM และการใช้หัวชื้อจุลินทรีย์ดับกลิ่นในฟาร์มโคเนื้อพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ รวมจำนวนเกษตรที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 1,987 คน นักผสมเทียมชุมชน จำนวน 24 คน ที่สามารถให้บริการผสมเทียมและดูแลสุขภาพสัตว์เบื้องต้นในพื้นที่
ต้นแบบฟาร์มโคเนื้อที่ได้มาตรฐาน Good Farming Management (GFM) ดำเนินการพัฒนายกระดับมาตรฐานฟาร์มโคเนื้อเพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์ม GFM โดยปศุสัตว์จังหวัดได้ให้การรับรองมาตรฐานฟาร์ม GFM แล้ว 5 ฟาร์ม ได้แก่ ศรีสะเกษ ยโสธร ร้อยเอ็ด สุรินทร์ และมหาสารคาม โดยฟาร์มต้นแบบจะเป็นแหล่งเรียนรู้ ขยายผลตามยุทธศาสตร์ของกรมปศุสัตว์ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาไปสู่มาตรฐานฟาร์มที่สูงขึ้น เป็นที่ยอมรับในการซื้อขายโคที่จะได้ราคาสูงกว่าการเลี้ยงในฟาร์มทั่วไป อีกทั้งยังเป็นการช่วยควบคุมและป้องกันโรคระบาด
เยี่ยมชมกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ อำเภอชุมพลบุรี จ.สุรินทร์
สำหรับการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ นำร่องกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ อำเภอชุมพลบุรี คลอบคลุม ตำบลชุมพลบุรี ตำบลเมืองบัว และ ตำบลหนองเรือ สท. ได้ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เกษตรกร โดยมีปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
การพัฒนาสายพันธุ์โคเนื้อและการดูแลโคเนื้อ มีโคเนื้อแม่พันธุ์ได้รับการผสมเทียมและผสมพันธุ์จากพ่อพันธุ์ที่โตไว ตรงตามความต้องการของตลาด 185 ตัว ผสมติดผลิตลูกโคเนื้อ 131 ตัว ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์บราห์มัน และ บีฟมาสเตอร์ คิดเป็นผลสำเร็จ 70% โดยตลาดโคเนื้อในพื้นที่ ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุนคุณภาพสุรินทร์วากิว (สลักได) ผลิตโคขุนคุณภาพ มีความต้องการ 600 ตัวต่อปี แต่ผลิตได้ 288 ตัวต่อปี (ขาดอีก 312 ตัวต่อปี)
การผลิตอาหารโค สท. ได้ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกพืชอาหารสัตว์และการเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การจัดทำแปลงสาธิตปลูกพืชอาหารสัตว์ และระบบบริหารจัดการน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาเซลล์) โดยร่วมกับเทศบาลตำบลนาหนองไผ่ จัดทำแปลงสาธิตปลูกพืชอาหารสัตว์ ในพื้นที่ ทุ่งดอกรัก ตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี จำนวน 6 ไร่ และแปลงของเกษตรกรประมาณ 17 ไร่ รวมพื้นที่ปลูกพืชอาหารสัตว์ทั้งหมด 23 ไร่ พืชอาหารสัตว์ที่ปลูกได้แก่ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 หญ้าเนเปียร์จิ้นเฉ่า หญ้าหวานอิสราเอล หญ้าแพงโกลา และหญ้าไนล์ มีการดำเนินการระบบบริหารจัดการน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาเซลล์) ในพื้นที่ปลูกพืชอาหารสัตว์
การพัฒนาทักษะเกษตรกร เกษตรกรได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการตามแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยี 3 กลุ่มเทคโนโลยี เกษตรได้รับความรู้ 355 คน เป็นนักผสมเทียมชุมชน จำนวน 4 คน สามารถให้บริการผสมเทียมและดูแลสุขภาพสัตว์เบื้องต้นในพื้นที่
ต้นแบบฟาร์มโคเนื้อที่ได้มาตรฐาน Good Farming Management (GFM) ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการยกระดับมาตรฐานฟาร์มโคเนื้อและการพัฒนามาตรฐานฟาร์ม GFM โคเนื้อให้เกษตรกร มีการสำรวจความพร้อมและศักยภาพของฟาร์ม โดยคัดเลือก นครฟาร์ม เป็นฟาร์มโคเนื้อของ นายนคร ชารีพร บ้านเลขที่ 86 หมู่ 13 ตำบลเมืองบัว อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ เป็นฟาร์มต้นแบบ มีการนำเทคโนโลยีเชื้อจุลินทรีย์ช่วยลดกลิ่นไปใช้ในฟาร์มและการจัดการฟาร์มตามข้อกำหนดมาตรฐานฟาร์มของปศุสัตว์จังหวัด และได้รับรองมาตรฐานฟาร์มเรียบร้อยแล้ว
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์