ผลการค้นหา :

หน้าที่ของหมวกนิรภัย และการเลือกใช้หมวกนิรภัย
ทีมรณรงค์สวมหมวกนิรภัย นำความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของหมวกนิรภัย และการเลือกใช้หมวกนิรภัยมาฝากค่ะ
เรามาร่วมรณรงค์สวมหมวกนิรภัยตามสโลแกน “สวย หล่อ สมาร์ต ปลอดภัย ง่ายๆ แค่สวมหมวกนิรภัย” กันนะคะ
NSTDA Infographic

วิทย์ปริทัศน์ OHESI SCIENCE REVIEW ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม 2565
วิทย์ปริทัศน์ OHESI SCIENCE REVIEW
ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม 2565
Metaverse คืออะไร?
Metaverse มาจากคำว่า Meta กับ Verse รวมกันความหมายว่าเป็น “จักรวาลที่อยู่เหนือจินตนาการ” หรือศัพท์บัญญัติคำไทยว่า “จักรวาลนฤมิต” Metaverse เป็นอะไรก็ได้ที่เกิดจากเทคโนโลยีและช่วยเชื่อมต่อผู้คนให้สามารถสื่อสารและทำกิจกรรมกันได้ อย่างไรก็ตาม Metaverse ยังเป็นแนวคิดในอุดมคติ ภาพรวมของ Metaverse ใกล้เคียงกับเครือข่ายอินเทอรเน็ต (World Wide web) กลายเป็นรูปแบบ 3 มิติ มีการไหลเวียนการส่งต่อธุรกิจ ข้อมูล และเครือมือการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง และสามารถใช้งานพร้อมกันเหมือนการจำลองโลกทางกายภาพให้โลกคู่ขนานรูปแบบดิจิทัล
Metaverse จะเกี่ยวข้องอะไรกับเทคโนโลยีบ้าง?
Metaverse ไม่ใช่เพียงโลกเสมือนจริง (Virtual Reality) ที่เปิดให้คนสื่อสารเพียงคนเดียวแต่ได้เชื่อมต่อผู้คนระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงไปสู่โลกดิจิทัล โดยอาศัยการใช้เทคโนโลยีหลายประเภท เพื่อทำกิจกรรมได้พร้อมกัน คำศัพท์ที่ปรากฏดังต่อไปนี้มีส่วนประกอบสร้าง Metaverse ให้สมจริงและจับต้องได้มากขึ้น
Assisted Reality เทคโนโลยีผู้ช่วยอำนวยความสะดวกให้สามารถดูหน้าจอและโต้ตอบกับหน้าจอโดยไม่ต้องใช้มือ (hands-free) ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้คือ แว่นตาอัจฉริยะ ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายให้ผู้ใช้สื่อสารและสั่งการผ่านเสียงก็จะได้ข้อมูลขึ้นสู่สายตาทันที
Augmented Reality (AR) คือการนำโลกเสมือนเข้ามาผนวกกับโลกแห่งความเป็นจริงซึ่งใช้ได้บนอุปกรณ์ทั่วไปเช่น มือถือ ไอแพด หรือแท็บเล็ต ผู้ใช้งานจะเห็นเป็นภาพสามมิติที่ลอยอยู่เหนือวัตถุหรือสภาพแวดล้อมในโลกจริง ในวงการธุรกิจเริ่มมีการใช้ AR เข้ามาผสานกับการขายสินค้าบ้าง ให้เห็นชัดๆ ว่าสินค้าที่เลือกดูเป็นอย่างไร แบบไม่ต้องไปเดินเลือกถึงหน้าร้าน เช่น IKEA แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ได้ทำแอปพลิเคชันเพื่อให้ลูกค้าได้ทดลองนำรูปเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากเทคโนโลยี AR ไปทดลองวางในห้องตนเองได้
Meatspace คำที่ใช้เรียกโลกทางกายภาพหรือโลกที่เราใช้ชีวิตอยู่เป็นส่วนใหญ่
Multiverse หรือ จักรวาลโลกคู่ขนานใช้เรียกแพลตฟอร์ม หรือ Community ในโลกดิจิทัลที่ทำงานอิสระจากกันและกัน เช่น Facebook, Minecraft, Instagram, Roblox, Fortnite, Discord โดยตามทฤษฎีแล้ว Metaverse สามารถถึง Multiverse เหล่านี้มาทำงานอยู่ในที่เดียวได้
NFT หรือ Non-Fungible Tokens เสมือนเครื่องยืนยันว่าใครสามารถครอบครอง ซื้อ หรือ ขาย และสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ใดก็ตามที่ปรากฎอยู่ในโลกดิจิทัลเท่านั้น โดยมีเทคโนโลยีบล็อกเชนคอยกำกับความเป็นเจ้าของและป้องกันการขโมยตัวอย่าง NFT ได้แก่ ผลงานศิลปะ บัตรกีฬา ของสะสม โดย NFT สามารถซื้อขายได้โดยสกุลเงินดิจิทัล Cryptocurrency
Virtual Reality หรือ ประสบการณ์เสมือนจริง เป็นการใช้อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงผู้ใช้งานกับโลกดิจิทัล
Metaverse มีประโยชน์อย่างไร?
Metaverse สามารถช่วยจำลองให้เราไปอยู่ในสถานที่ต่างๆ ได้ โดยอาศัยการเชื่อมต่อผ่านรูปแบบต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต, อุปกรณ์, สมาร์ทโฟน, แอปพลิเคชัน และซอฟต์แวร์ แม้ว้าช่วงแรก Metaverse นำมาใช้ในเกมออนไลน์ แต่ภายหลังเริ่มมีการเข้าไปลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีเพื่อสร้างแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย
นอกจากนี้ Metaverse 5G ยังพูดถึงอย่างมาก เนื่องจากเทคโนโลยี 5G คือพื้นฐานสำคัญที่ช่วยเพิ่มความเร็วของอินเทอร์เน็ต และการถ่ายโอนข้อมูลความเร็วสูง กลายเป็นยุค “Internet of Things” นำไปสู่การพัฒนาและใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น
A.ด้านแพทย์
1. เครือโรงพยาบาลสินแพทย์ผนึกกำลัง Meta Med และ Metaverse Thailand ปฏิรูปวงการแพทย์ โดยเปิดตัวศูนย์การแพทย์ทางเลือกใหม่แห่งแรกในประเทศไทย เพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าบนโลกดิจิทัล ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Move life beyond” ให้คำปรึกษาทางการแพทย์, ห้องแล็บ (Lab), Imagine Center, ร้านขายยา สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ป่วยตอบโจทย์ความสะดวกสบายที่ให้บริการด้านการแพทย์ครบวงจร เช่น การติดตามผู้ป่วย การบริหารจัดการ ทรัพยากรของโรงพยาบาล การจัดส่งยา และอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยในช่วงแรกจะเปิด Telemedicine Plus ให้คำปรึกษาผ่าน Metaverse ในอนาคตคนไข้จะสามารถเข้ารักษาในสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด รวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูงสุด
2. เทคโนโลยีนี้ยังนำมาใช้รักษาสภาวะป่วยทางจิตใจหลังกระทบกระเทือนใจอย่างรุนแรงหรือ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) ของกลุ่มทหารที่ผ่านศึกสงครามมาบำบัด มีการศึกษาพบว่า วิธีบำบัดลักษณะนี้ช่วยบรรเทาอาการ PTSD ได้อย่างมีประสิทธิผล
B.ด้านวิศวกรรม
วิศวกร นักออกแบบ และสถาปนิกที่ต้องการทำงานร่วมกันได้ประโยชน์จาก metaverse เทคโนโลยี Augmented และ Virtual Reality มีประโยชน์การเปลี่ยนผ่านจากการทำงานในสำนักงานแบบเดิม วิศวกรใช้ VR และ AR เพื่อติดต่อลูกค้า แสดงแบบจำลองระยะไกล และไม่ต้องเดินทาง และมีค่ามากกว่าการโทรด้วย Zoom
C.ด้านอีคอมเมิร์ซ
ห้างสรรพสินค้าต้องปรับตัวตามสถานการณ์ เร่งพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อดึงดูดผู้บริโภค บนแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือ Virtual Mall
ในญี่ปุ่น ห้างสรรพสินค้าอิชิตันเปิดตัวในรูปแบบ “ห้างเสมือนจริง” จำลองจากห้างอิเซตันที่ชินจุกุ กรุงโตเกียว มีพนักงานให้บริการประจำร้านสามารถพิมพ์แชทคุยกับพนักงานได้ สิงคโปร์จัดทำโครงการ ‘IMM Virtual Mall’ ขึ้นบนระบบออนไลน์ของ Shopee เชื่อมกับร้านค้าในห้างสรรพสินค้า IMM ที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายไม่ต้องออกไปเจอผู้คนในช่วงโควิด-19
ส่วนในไทย มีความร่วมมือกันของ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด, บริษัท ซิตี้มอลล์ กรุ๊ป จำกัด (ดิ เอ็มโพเรียม) บริษัท ทวีไดเร็ค จำกัด (มหาชน) พัฒนาภาคการค้าปลีกเกิดแพลตฟอร์ม V-Avenue by AIS 5G ซึ่งถือเป็น Virtual Mall แห่งแรกของไทย โดยเชื่อมต่อโดยตรงกับมาเก็ตเพลสออนไลน์ให้สัมผัสการช้อปปิ้งที่แตกต่าง
D.ด้านการลงทุน
ปัจจุบันมีการทำธุรกรรมบนโลกเสมือนเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมใช้บริการแบบ non-face to face โดยผนวกแนวคิดการให้บริการทางการเงินบนโลกเสมือน (virtual financial services) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขององค์กร เช่น บริษัท NH Investment & Securities ในเกาหลีจะเปิดตัว metaverse platform โดยมี virtual space เพื่อให้ลูกค้าใช้งานได้ทั้งร่วมสัมมนา หรือธุรกิจธนาคาร KB Kookmin Bank ได้สร้าง Virtual Financial Town เพื่อให้บริการผ่าน avatar และ VDO chat เสมือนไปธนาคารจริง
Metaverse กับสินทรัพย์ดิจิทัล
สินทรัพย์ดิจิทัล เป็นกลไกสำคัญทางเศรษฐกิจใน metaverse ในโลกเสมือน งานศิลปะ ตัวละคร avatar หรือ item เกมต่างๆ ซึ่งมีเทคโนโลยีบล็อกเชนช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรม เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ นอกจากนี้ คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลยังเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการใน metaverse ด้วย
E.ด้านการท่องเที่ยว
“Metaverse Seoul” เมืองเสมือนจริงแห่งแรกของโลก รัฐบาลทุ่มทุนสร้างกว่าร้อยล้านบาท เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ‘วิสัยทัศน์โซล 2030’ (Seoul Vision 2030) ภายใต้แนวคิด “Future Emotional City” จุดประสงค์คือการสร้างระบบนิเวศเสมือนจริง ด้านเศรษฐกิจ การลงทุน วัฒนธรรม การบริการพลเมือง การท่องเที่ยว ที่แตกต่างคือ คนในเมืองสามารถเข้าถึงบริการจากภาครัฐได้ง่ายขึ้น แสดงข้อคิดเห็นต่อการทำงานของรัฐบาลได้โดยตรง นอกจากนี้ Metaverse Seoul เปิดมิติใหม่ทางด้านการท่องเที่ยวด้วยการบริการในรูปแบบ Virtual Tourist Zone ยกสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังในกรุงโซล จัตุรัสควางฮวามุน (Gwanghwamun Square) พระราชวังถ็อกซูกุง (Deoksugung Palace) และแหล่งช็อปปิ้งใหญ่และเก่า ตลาดนัมแดมุน (Numdaemun Market) จะมีการเปิดตัวเป็นทางการในต้นปี 2566
โทษและผลกระทบของ Metaverse
อย่างไรก็ตาม ‘โลกเสมือน’ หรือ ‘Metaverse’ ไม่ได้มีแต่ข้อดี แต่ยังให้โทษและสร้างผลกระทบหลายๆ ด้านด้วยเช่น
1.อาชญากรรมไซเบอร์
อาชญากรรมไซเบอร์เป็นปัญหาร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับอินเทอร์เน็ตตั้งแต่มีมา แม้รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ใช้เงินหลายล้านดอลลาร์ต่อสู้ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก metaverse เป็นแนวคิดใหม่ จึงยังไม่มีระดับความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่ง ทำให้เสี่ยงต่อกิจกรรมผิดกฎหมายทุกประเภท เช่น การฉ้อโกง การฟอกเงิน การแสวงประโยชน์จากเด็ก สินค้าผิดกฎหมาย การค้าบริการ และการโจมตีทางไซเบอร์ ทั้งรัฐบาลยังไม่มีอำนาจมากพอที่จะต่อสู้และต่อต้านอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต
2. ปัญหาการเสพติด
การเสพติดโลกเสมือน เนื่องจากดำดิ่งสู่โลกเสมือนจริง โดยผู้ใช้เด็กและวัยรุ่นเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุด โดยบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าสู่ metaverse จะก่อให้เกิดอันตรายต่อพัฒนาการ ยิ่งไปกว่านั้นการใช้ชีวิตจริงยากต่อการแยกความแตกต่างระหว่างโลกแห่งความจริงและโลกเสมือน เป็นการท้าทายที่ยิ่งใหญ่ในการสร้างสมดุลให้วัยรุ่นและผู้ใหญ่ให้มีเวลาเพียงพอ ในขณะที่พยายามป้องกันพฤติกรรมเสพติด
3. ปัญหาสุขภาพจิต
การศึกษาทางจิตวิทยาระบุว่าการหมกมุ่นกับโลกดิจิทัลนี้และการแยกตัวออกจากโลกความเป็นจริงจะเพิ่มโอกาสการหย่าร้างจากความเป็นจริงอย่างถาวรและนำไปสู่อาการใกล้เคียงกับโรคจิตได้อาการซึมเศร้า เป็นความเสี่ยงสำหรับผู้เข้าร่วม metaverse และพบว่าดีกว่าชีวิตจริง ทำให้ความมั่นใจและความนับถือตนเองลดลงอาจทำให้ผู้ใช้เกิดภาวะซึมเศร้าขั้นรุนแรง
4. ปัญหาสุขภาพกาย
สำนักข่าว BBC รายงานว่า ‘นักพัฒนาซอฟต์แวร์และจักษุแพทย์มีความกังวลต่อการใช้แว่น VR ระยะยาว อาจทำให้เกิดอาการตาล้า (Eye Strain) และพบว่า มีอาการปวดตา ระคายเคือง ตาแห้ง ปวดศีรษะ เวียนหัว คลื่นไส้ บางรายมีอาการคล้ายโรคบกพร่องทางการอ่าน (Dyslexia)’ นอกจากนี้ การท่องโลกเสมือนร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว ติดแว่น VR และเก้าอี้เป็นเวลานาน นำไปสู่โรคอ้วน ออฟฟิศซินโดรม และส่งผลกระทบร่างกายอีกนับไม่ถ้วน
เปิดตัวอภิมหาโปรเจคระดับโลก Metaverse “Tranclucia”
ดร.ชวัลวัฒน์ อริยวรารมย์ ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท ทีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล (ประเทศไทย) (T&B Media Global ) บริษัท Entertainment รายใหญ่ที่มีความรู้ ความชำนาญด้านการสร้างสรรค์ ล่าสุดได้นำบริษัทที่พัฒนาด้านเทคโนโลยีเข้าซื้อหุ้นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา (NASDAQ) ทุ่มสร้างอาณาจักรโลกเสมือน (Metaverse) “Translucia” ซึ่งเป็นโลกเสมือนสุดจินตนาการรายแรกของไทย โดย Metaverse Translucia จะเพิ่มมูลค่าให้กับสังคมและโลกธุรกิจ โดยนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีชั้นสูง มาผสมผสานกับจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างประสบการณ์ในรูปแบบใหม่
อาชีพอนาคตไกลในยุค Metaverse
1.วิศวกรซอฟต์แวร์ AR/VR
งานด้าน Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) กำลังมาแรง บริษัทต้องการวิศวกรซอฟต์แวร์ที่มีทักษะ AR/VR เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มการประมวลผล ซอฟต์แวร์ และแอปพลิเคชันต่างๆ
2.ผู้จัดการผลิตภัณฑ์
ตำแหน่งนี้เป็นผู้เชื่อมโยงระหว่างลูกค้าและองค์กร คอยดูแลรักษาฐานลูกค้า เพราะสินค้าและบริการเป็นปัจจัยสำคัญของธุรกิจ จึงเป็นหน้าที่สำคัญที่จะต้องวิเคราะห์แนวโน้ม ประเมินสถานการณ์ จับกระแสเทรนด์และความต้องการของผู้บริโภค ต้องรู้ว่าเทคโนโลยีไหนเหมาะที่จะมาใช้กับสินค้าและบริการขององค์กรมากที่สุด มีบริษัทที่เปิดรับเช่น Snap, Google และ Oculus
3.นักออกแบบเกม 3 มิติ
แพลตฟอร์มที่ใช้สร้างวิดีโอเกม ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการสร้างเกมกำลังมุ่งสู่ศิลปินมากขึ้นเมื่อเทียบกับจำนวนนักเทคโนโลยี โดยนักออกแบบเกมใน metaverse จะต้องรับผิดชอบในการออกแบบ สร้างต้นแบบ และสร้างประสบการณ์การเล่นเกม 3 มิติที่ดึงดูดผู้เล่นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทำให้การเล่นเกมถูกต้องตามกฎหมาย ปัจจุบัน เงินเดือนเฉลี่ยสำหรับนักออกแบบเกม 3 มิติในสหรัฐฯ คือ 78,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2022/ost-sci-review-jan2022.pdf
คลังความรู้
นานาสาระน่ารู้

“Aqua-IoT” นวัตกรรมดูแลสัตว์น้ำเพื่อเกษตรกรไทย
For English-version news, please visit : https://www.nstda.or.th/en/news/news-years-2022/aqua-iot-innovation-for-aquaculture-4-0.html
อุตสาหกรรมสัตว์น้ำเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจของประเทศไทย อย่างไรก็ตามการที่อุตสาหกรรมนี้จะเติบโตอย่างยั่งยืนได้จำเป็นต้องอาศัยความเข้มแข็งในการผลิต ทั้งความเชี่ยวชาญของเกษตรกร รวมไปถึงการพัฒนายกระดับเทคโนโลยีการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำให้สอดรับกับยุคเกษตร 4.0 เพื่อให้ไทยพร้อมรับความท้าทายและโอกาสในการแข่งขันในระดับโลกมากยิ่งขึ้น
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมยกระดับอุตสาหกรรมสัตว์น้ำไทยอย่างยั่งยืน ผ่านการพัฒนาระบบติดตามแจ้งเตือนสภาพบ่อเพาะเลี้ยงทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพด้วยเทคโนโลยี IoT หรือเรียกในที่นี้ว่า “Aqua IoT”
[caption id="attachment_38269" align="aligncenter" width="700"] ดร.ศุภนิจ พรธีระภัทร นักวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล (DAT) เนคเทค สวทช.[/caption]
ดร.ศุภนิจ พรธีระภัทร นักวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล (DAT) เนคเทค สวทช. กล่าวว่า หลังจากเกิดปัญหาโรคระบาดในสัตว์น้ำครั้งใหญ่ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมหาศาลต่อเกษตรกรและภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศในปี 2553 เนคเทคได้นำความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมาร่วมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร ผ่านโครงการพัฒนา ‘ระบบและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับสัตว์น้ำ (GII)’ ซึ่งนักวิจัยได้พัฒนาอุปกรณ์เฝ้าระวังความเสี่ยงในการเพาะเลี้ยงต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และในปี 2563 ได้ขยายผลสู่ ‘โครงการยกระดับผู้ประกอบการสัตว์น้ำด้วยระบบตรวจสอบสภาพบ่อเพาะเลี้ยงทั้งกายภาพ เคมี และชีวภาพ ด้วยเทคโนโลยี IoT (Aqua-IoT) ในพื้นที่ภาคตะวันออก’ ซึ่งดำเนินงานเสร็จสิ้นแล้วเมื่อช่วงปีที่ผ่านมา
จุดแข็งสำคัญของเทคโนโลยี Aqua-IoT ที่เนคเทคและศูนย์วิจัยแห่งชาติภายใต้ สวทช. ร่วมกันพัฒนาขึ้น คือการรวบรวมข้อมูลจากอุปกรณ์เฝ้าระวังความเสี่ยงในการเพาะเลี้ยง ทั้งจากสภาพน้ำ อากาศ รวมถึงสารเคมีและจุลินทรีย์ ไว้ในฐานข้อมูล (Dashboard) เดียว เพื่อให้เกษตรกรเห็นถึงความเชื่อมโยงของข้อมูล วิเคราะห์ผลง่าย และแก้ปัญหาได้ตรงจุดอย่างทันกาล
ดร.ศุภนิจ อธิบายว่า ภายในชุดเทคโนโลยี Aqua-IoT ประกอบด้วยเทคโนโลยีหลัก 4 อย่าง เทคโนโลยีแรกคือระบบตรวจวัดสภาพน้ำและอากาศ ระบบตรวจวัดสภาพน้ำจะตรวจวัดอุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด-ด่าง และค่าออกซิเจนละลายในน้ำ ส่วนระบบตรวจวัดสภาพอากาศจะตรวจวัดทิศทางและความเร็วลม ปริมาณแสง และปริมาณน้ำฝน ซึ่งข้อมูลภาพรวมจากระบบนี้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการคำนวณการเปิด-ปิดระบบตีน้ำและปริมาณอาหารที่เหมาะสม
[caption id="attachment_38264" align="aligncenter" width="700"] ระบบตรวจวัดสภาพน้ำและอากาศ[/caption]
“เทคโนโลยีที่สองคือระบบกล้องตรวจจุลชีวะขนาดเล็กในน้ำ สำหรับตรวจสอบการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำในวัยอนุบาลและปรสิต เทคโนโลยีที่สามคือระบบอ่านค่าสารเคมีแทนการดูด้วยตาสำหรับตรวจสอบคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยง ใช้แปลผลการตรวจจากชุดตรวจสารเคมี ได้แก่ ไนไตรต์ แอมโมเนีย คลอรีน ฟอสเฟต และค่ากรด-ด่าง เพื่อลดความผิดพลาดในการแปลผลด้วยวิธีปกติ ซึ่งใช้การเทียบสีที่ปรากฏบนชุดตรวจด้วยตาเปล่า เทคโนโลยีหลักสุดท้ายคือระบบตรวจรูปแบบของจุลินทรีย์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับตรวจสอบจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์และโทษ เพื่อนำข้อมูลไปปรับปริมาณจุลินทรีย์ในบ่อให้เหมาะสม โดยทีมวิจัยได้ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. นำชุดตรวจเชื้อก่อโรคทั้งในกุ้งและปลามาบูรณาการนำผลการตรวจเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลออนไลน์แบบอัตโนมัติด้วย เพื่อให้เกษตรกรตรวจสอบข้อมูลจากทุกอุปกรณ์และชุดตรวจได้ง่ายจากทุกที่ทุกเวลา ผ่านเว็บเบราว์เซอร์และระบบแจ้งเตือนทุกเช้า-เย็น ทางไลน์แชตบอต”
[caption id="attachment_38265" align="aligncenter" width="700"] ระบบกล้องตรวจจุลชีวะขนาดเล็กในน้ำ[/caption]
[caption id="attachment_38266" align="aligncenter" width="700"] ระบบอ่านค่าสารเคมีแทนการดูด้วยตาสำหรับตรวจสอบคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยง[/caption]
[caption id="attachment_38275" align="aligncenter" width="700"] ระบบตรวจรูปแบบของจุลินทรีย์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ[/caption]
[caption id="attachment_38274" align="aligncenter" width="700"] ชุดตรวจโรคกุ้ง[/caption]
ปัจจุบันทีมวิจัยได้ถ่ายทอดชุดเทคโนโลยี Aqua-IoT ให้แก่บริษัทเอกชนเรียบร้อยแล้ว ค่าใช้จ่ายในการลงทุนระบบ Aqua-IoT อยู่ที่ประมาณ 200,000 บาทต่อบ่อ ซึ่งหากเทียบกับผลกำไรที่ได้จากการเพาะเลี้ยง การลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและอาหารสัตว์ รวมถึงการลดความเสี่ยงในการสูญเสียผลผลิตจากการติดเชื้อหรือความไม่สมดุลในระบบเพาะเลี้ยง ถือว่าคุ้มค่าสูง และคืนทุนได้ตั้งแต่รอบการผลิตแรก
ดร.ศุภนิจ เสริมว่า นอกจากความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีแล้ว ทีมวิจัยและผู้รับถ่ายทอดเทคโนโลยียังให้ความสำคัญเรื่องการขยายผลสู่การใช้งานจริง โดยในปี 2563 ได้ร่วมกันนำร่องถ่ายทอดองค์ความรู้ ตลอดจนสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการใช้ประโยชน์อุปกรณ์อย่างคุ้มค่า ให้แก่เกษตรกรในภาคตะวันออก ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานทีมงานได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยแนะนำการทำงาน และร่วมแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกษตรกรต้องเผชิญ เพื่อให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งมากพอที่จะยกระดับการทำเกษตรของตนเองได้อย่างยั่งยืน
การได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดทำให้นักวิจัยได้ทราบถึงปัญหาและความต้องการของเกษตรกรมากยิ่งขึ้น ข้อมูลเชิงลึกเหล่านั้นนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ความต้องการอย่างแท้จริง ตัวอย่างเทคโนโลยีที่นักวิจัยกำลังพัฒนา เช่น เครื่องนับจำนวนลูกกุ้งแบบอัตโนมัติเพื่อควบคุมความหนาแน่นของกุ้งในบ่อเลี้ยง เครื่องยกยอเพื่อคำนวณปริมาณกุ้งในบ่อแบบอัตโนมัติสำหรับคำนวณปริมาณอาหารให้เหมาะสม ลดการสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ และรักษาคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยง
ดร.ศุภนิจ ทิ้งท้ายว่า สิ่งที่ทีมวิจัยอยากสื่อสารไปยังเกษตรกร คือ อยากให้ทุกคนกล้าใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการยกระดับการทำเกษตรของตน และกล้าที่จะคิดว่าปัจจุบันยังขาดเทคโนโลยีอะไรที่จะช่วยให้การทำการเกษตรของตนมีประสิทธิภาพขึ้นได้ เพราะนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรรายอื่นๆ ด้วย การที่เกษตรกรทุกคนเลี้ยงได้รอดทุกบ่อ ทุกฤดูการผลิต ถือเป็นความหวังสูงสุดในการนำพาประเทศไทยหวนคืนสู่การเป็นผู้ส่งออกสัตว์น้ำอันดับต้นของโลกอีกครั้ง
นอกจากเสียงบอกเล่าด้วยพลังแห่งความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีของนักวิจัย เกษตรกรผู้มีประสบการณ์การใช้งาน Aqua-IoT ได้สะท้อนถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีนี้เอาไว้อย่างน่าประทับใจเช่นกัน
[caption id="attachment_38268" align="aligncenter" width="700"] คุณอุดร ส่งเสริม เจ้าของวศินฟาร์ม จังหวัดระยอง[/caption]
คุณอุดร ส่งเสริม เจ้าของวศินฟาร์ม จังหวัดระยอง เล่าว่า ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดที่สุดในการนำ Aqua-IoT มาใช้ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งของตน คือ การประหยัดเวลาในการทำงาน ไม่ต้องคอยเฝ้าระวังที่หน้าบ่ออยู่ตลอดเหมือนแต่ก่อน แม้ตอนนี้จะเริ่มต้นลงทุนที่ 1 บ่อ แต่ข้อมูลจากบ่อหนึ่งก็สามารถนำไปปรับใช้กับบ่ออื่นๆ รวมถึงกับฟาร์มอื่นที่อยู่ในละแวกเดียวกันได้ โดยเฉพาะเรื่องอุณหภูมิของน้ำซึ่งส่งผลโดยตรงต่อค่าออกซิเจนละลายน้ำ ทำให้จากที่เคยต้องเปิดเครื่องตีน้ำเต็มกำลัง เหลือเปิดเฉพาะช่วงที่ค่าออกซิเจนลดลงเท่านั้น ทำให้ประหยัดค่าไฟลงได้มาก นอกจากนี้การที่เราทราบถึงค่าความผิดปกติของสารเคมีในน้ำหรือการระบาดของโรคอย่างรวดเร็วตั้งแต่เริ่ม จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการยับยั้งความเสียหาย เพราะหากสัตว์น้ำตายยกบ่อ สิ่งที่เสียไปไม่ใช่แค่ต้นทุนที่ลงไป แต่ยังสูญเสียกำไร เวลา และโอกาสทางการตลาดอีกด้วย
Aqua-IoT เทคโนโลยีเพื่อเสริมความเข้มแข็งในการทำอุตสาหกรรมสัตว์น้ำให้แก่เกษตรกรไทย ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความ “Aqua-IoT” นวัตกรรมอัจฉริยะเพื่อฟาร์มสัตว์น้ำ
BCG
ข่าวประชาสัมพันธ์
บทความ
ผลงานวิจัยเด่น

ไดอารี่ สวทช. 2023
Download ไดอารี่ สวทช. 2023 Full 60 MB , บีบอัด 29 MB
เอกสารเผยแพร่

วารสารข่าวด้านการอุดมศึกษาและวิทยาศาสตร์จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 4 เดือน เมษายน 2565
วารสารข่าวด้านการอุดมศึกษาและวิทยาศาสตร์จากกรุงบรัสเซลส์
ฉบับที่ 4 เดือน เมษายน 2565
โรงงานต้นแบบต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี่แบบอเนกประสงค์: ไบโอเบส เอเชีย ไพล็อท แพลนท์ (BBAPP)
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 บริษัท ไบโอเบส ยุโรป ไพล็อท แพลนท์ (BBEPP) ประเทศเบลเยียมและ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประเทศไทย ได้ประกาศเปิดตัวบริษัท ไบโอเบส เอเชีย ไพล็อท แพลนท์ (BBAPP) ซึ่งเป็นโรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี่แบบอเนกประสงค์ (multipurpose biorefinery pilot plant) สร้างขึ้นในพื้นที่ “ไบโอโพลิส (Biopolis)” เมืองนวัตกรรมชีวภาพที่รองรับการทำวิจัยขยายผลซึ่งเป็นแพลทฟอร์มนวัตกรรมตั้งอยู่ที่นวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ประเทศไทย
โดยที่ผ่านมา สำนักงานที่ปรึกษาด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้ประสานและเข้าร่วมประชุมระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หน่วยงานภายใต้ สวทช. และบริษัท BBEPP ประเทศเบลเยียม ซึ่งมีประสบการณ์ในการให้บริการโรงงานต้นแบบประเภท Multi-purpose เพื่อแสดงเจตจำนงการร่วมกันจัดตั้งโรงงานต้นแบบไบโอเบสเอเชีย (Bio Base Asia Pilot Plant) ที่จะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านโรงงาน
ข้อมูลภูมิหลัง
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 ให้มีการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) : โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นวาระแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป และให้คณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) พิจารณากำหนดและดำเนินแผนงาน/โครงการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG 2564-2570 โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โดยการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางไบโอรีไฟเนอรีแห่งอาเซียนภายในปี 2570 เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของ BCG Model สาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery) เป็นการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและชีวมวลด้วยกระบวนการทางกายภาพ เคมี และ/หรือชีวภาพ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพ (Bio-based products) เช่น วัสดุชีวภาพ เคมีชีวภาพ พลาสติกชีวภาพ ส่วนประกอบเชิงหน้าที่ในผลิตภัณฑ์อาหาร และผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากจุลินทรีย์ที่ให้คุณสมบัติพิเศษ (synthetic biology) สำหรับนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม ผลิตภัณฑ์เพื่อการเกษตร เป้าหมายโดยมีการเชื่อมโยงโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการสนับสนุนการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในภาคเอกชน หลักสำคัญของอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี คือการให้ความสำคัญกับระบบการผลิตที่ยั่งยืนซึ่งเกิดจากการนำวัตถุดิบที่เป็นทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ (renewable resources) ใช้กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติ และปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาน้อยกว่าการผลิตจากปิโตรเลียม อุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีเป็นอุตสาหกรรมที่จะลดช่องว่างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมและการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจระยะยาว
ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืนในประเทศไทยภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG รัฐบาลไทยได้อนุมัติการลงทุนเพื่อที่จะจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery) ณ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation: EECi) ตั้งอยู่ที่ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ทั้งนี้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (MHESI) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยสำคัญของประเทศ ได้รับมอบหมายให้ร่วมกันกำกับดูแลการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานโรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรีแบบอเนกประสงค์ (multipurpose biorefinery infrastructure) โครงสร้างแห่งนี้ประกอบไปด้วยโรงงานต้นแบบ GMP (Good Manufacturing Practice) และ Non-GMP ถือเป็นแห่งแรกในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการวิจัยและพัฒนาในระดับขยายขนาดกระบวนการหรือผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากระดับห้องปฏิบัติการสู่ระดับนำร่องสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของเทคโนโลยีฐานชีวภาพ แต่ยังมีการคาดหวังไว้ว่าอุตสาหกรรมฐานชีวภาพที่มีมูลค่าสูงจะช่วยผลักดันการเจริญเติบโตเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน
ความร่วมมือระหว่างบริษัท BBEPP ประเทศเบลเยียมและ สวทช.
จากการประสานงานของสำนักงานที่ปรึกษาประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ ผู้บริหารของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ สวทช. ได้เข้าเยี่ยมชมและเรียนรู้การทำงาน รวมถึงได้พูดคุยกับผู้บริหารของบริษัท BBEPP ประเทศเบลเยียม จำนวนหลายครั้ง ต่อมาสำนักงานฯ ได้ประสานลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding on Collaboration for Establishing the Bio Base Asia Pilot Plant in Thailand) ระหว่าง 2 หน่วยงาน ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 ร่วมกัน ภายใต้ข้อตกลงนำไปสู่ร่วมกันจัดตั้งบริษัทร่วมทุนที่ไม่แสวงหาผลกำไร (not-for-profit) ภายใต้ชื่อ บริษัท ไบโอเบส เอเชีย ไพล็อท แพลนท์ (Bio Base Asia Pilot Plant-BBAPP) ระหว่าง สวทช. และ BBEPP ในรูปแบบการร่วมทุน (joint venture) ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนทั้งในส่วนเงินและเทคโนโลยีเพื่อจะใช้ประโยชน์จากจุดแข็งและความเชี่ยวชาญ ข้อได้เปรียบของ BBAPP เกิดจากการรวมพันธมิตรแต่และฝ่ายทั้งเงินทุน องค์ความรู้ และความพร้อมด้านบุคลากร ช่วยให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีระดับโลก ทำให้ BBAPP เป็นผู้นำในธุรกิจประเภทเดียวกันในภูมิภาคอาเซียน
ทำความรู้จักกับบริษัท BBEPP
บริษัท Bio Base Europe Pilot Plant (BBEPP) ประเทศเบลเยี่ยม เป็นบริษัทที่ให้บริการการพัฒนาเทคโนโลยีไบโอไฟเนอรี มามากกว่า 10 ปี มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการบริหารจัดการ
บริษัท BBEPP ให้บริการด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เช่น พลาสติกชีวภาพ ชีววัสดุ และพลังงานชีวภาพ เป็นต้น และถ่ายโอนผลลัพธ์ไปสู่ระดับอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อาหารเสริม ฯลฯ
BEPP ให้บริการในรูปแบบ Open Innovation projects ใน 2 รูปแบบ ได้แก่
1. Bilateral Collaboration เป็นการทำสัญญาระหว่าง BBEPP กับภาคเอกชน แหล่งทุนมาจากภาคเอกชน และทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดขึ้นเป็นของเอกชน ตอบโจทย์ความต้องการเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม
2. Consortia-based Collaboration แหล่งทุนมาจากการระดมทุนของกลุ่ม Consortium โดยที่ BBEPP สนับสนุนบางส่วน องค์ความรู้ที่ได้เป็นรูปแบบ Open Innovation ตอบโจทย์ Inclusive Growth ยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตของกลุ่ม Consortium ให้สูงขึ้น
โรงงานต้นแบบไบโอเบสเอเชีย (Bio Base Asia Pilot Plant, BBAPP)
โรงงานต้นแบบไบโอเบสเอเชีย (Bio Base Asia Pilot Plant, BBAPP) เป็นโรงงานต้นแบบแห่งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน วัตถุประสงค์เพื่อรองรับการวิจัยและพัฒนาจากภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนในและต่างประเทศ ระดับขยายขนาดกระบวนการหรือผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากห้องปฏิบัติการสู่ระดับนำร่อง ต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์
บริษัท BBAPP ประกอบด้วยโรงงานต้นแบบในแบบ GMP (Good Manufacturing Practice) และ Non-GMP เป็นแห่งแรกในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน จะสนับสนุนอุตสาหกรรมชีวเคมี วัสดุชีวภาพ และผลิตภัณฑ์ชีวภาพอื่นๆ โรงงานต้นแบบ GMP จะสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหาร อาหารสัตว์ เครื่องสำอาง และโภชนเภสัชภัณฑ์ (nutraceuticals)
ซึ่งโรงงานต้นแบบนี้จะให้บริการครอบคลุมตั้งแต่การให้คำปรึกษาในเรื่องของการพัฒนากระบวนการ การบริการขยายขนาดการผลิต และการผลิตตามความต้องการของลูกค้า (custom manufacturing) ทั้งนี้ คาดว่ากลุ่มลูกค้าจะมีทั้งสถาบันวิจัยของรัฐและเอกชนในประเทศและต่างประเทศ โดย สวทช. จะช่วยสนับสนุนฐานลูกค้าและเครือข่ายภายในประเทศและภูมิภาคอาเซียน ขณะนี้บริษัท BBAPP อยู่ในระหว่างก่อสร้างและจะเปิดดำเนินการในปี 2567
ภาพรวมสถานะและความก้าวหน้าของประเทศออสเตรีย ในด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
ผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรมของออสเตรีย
ในทุกๆ ปี คณะกรรมาธิการยุโรปจะจัดทำ Innovation Scoreboard เพื่อเป็นตัวชี้วัดถึงผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรม (Innovation Performance) ได้มาจากการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบของประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรป โดยประเมินถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของระบบนวัตกรรมในแต่ละประเทศพร้อมระบุประเด็นที่แต่ละประเทศควรให้ความสนใจและพัฒนา สำหรับรายงานผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรมประจำปี ค.ศ. 2021 (European Innovation Scoreboard 2021) ในภาพรวมสหภาพยุโรปได้กำลังพัฒนาสู่การเป็นผู้นำทางนวัตกรรมของโลก แต่การพัฒนายังประสบปัญหาการลงทุนจากภาคธุรกิจที่ต่ำ และกฎระเบียบข้อบังคับส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการจัดลำดับประเทศนวัตกรรมในยุโรป ปี 2021 ประเทศออสเตรีย ถูกจัดให้อยู่อันดับที่ 8 โดยถือเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับสูง (Strong innovators)
หน่วยงานภาครัฐด้าน อววน.
ประเทศออสเตรีย หรือสาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria) แบ่งออกเป็น 9 รัฐ โดยรัฐบาลกลางของออสเตรียมีกระทรวง 13 กระทรวง ซึ่งพบว่ามี 3 กระทรวงมีหน้าที่และกิจกรรมด้าน อววน. คือ
1. กระทรวงการกสิกรรม ป่าไม้ สิ่งแวดล้อม และการจัดการน้ำ (Federal Ministry of Agriculture, Forestry, Environment and Water Management)
2. กระทรวงวิทยาศาสตร์ การวิจัย และเศรษฐกิจ (Federal Ministry of Science, Research and Economy) และ
3. กระทรวงคมนาคม นวัตกรรม และเทคโนโลยี (Federal Ministry of Transport, Innovation and Technology)
1.กระทรวงการกสิกรรม ป่าไม้ สิ่งแวดล้อม และการจัดการน้ำ (Federal Ministry of Agriculture, Forestry, Environment and water Management, BMLFUW)
กระทรวง BMLFUW หน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการกสิกรรม ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม เป้าหมายทำให้ออสเตรียมีความน่าอยู่ มีอากาศสะอาด น้ำที่บริสุทธิ์ สภาพสิ่งแวดล้อมปลอดภัย อาหารมีคุณภาพสูงราคาย่อมเยา
โครงการที่น่าสนใจของ BMLFUW ได้แก่
1.โครงการ Green Care เป็นโครงการร่วมกับหอการค้ากสิกรรมของออสเตรีย จุดประสงค์ในการให้ความดูแลด้านสังคมให้กับประชาชนที่อยู่ในภาคเกษตรกรรมและกสิกรรมในเขตชนบท เช่น การให้ความรู้และฝึกสอนแรงงานในภาคกสิกรรม ให้ความรู้ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการช่วยเหลือแรงงานกสิกรรมผู้สูงอายุ
2. โครงการ Initiative Agriculture 2020 เป็นการวางยุทธศาสตร์ในด้านเกษตรกรรมและป่าไม้ ในด้านการพัฒนาเกษตรกรรม การพัฒนาชนบท การวางแผนธุรกิจและการศึกษา การควบคุมสินค้า ลดขั้นตอนและใช้พลังงานทดแทน
3. โครงการ Export Initiative ดูแลด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์เกษตรในออสเตรีย เพื่อส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตร อาหาร และเครื่องดื่มของออสเตรียไปสู่ตลาดในประเทศยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก
หน้าที่ที่สำคัญอีกหน้าที่คือการป้องการอุทกภัย ช่วงที่ผ่านมาประสบปัญหาน้ำท่วมรุนแรงหลายครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายรุนแรงอีก รัฐบาลจึงระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อสรุปข้อแนะนำในการจัดการความเสี่ยงด้านน้ำท่วมอย่างบูรณาการ เช่น การจัดการแก้มลิง การจัดการอุทกภัย และประชาสัมพันธ์ในเขตพื้นที่เสี่ยง
2. กระทรวงวิทยาศาสตร์ การวิจัย และเศรษฐกิจ (Federal Ministry of Science, Research and Economy) หรือ BMWFW
กระทรวง BMWFW ทำหน้าที่วางโครงสร้างธุรกิจต่างๆ และส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศในระดับนานาชาติสำหรับการทำธุรกิจ โดยผ่านการดำเนินการด้านการวิจัย การสร้างเทคโนโลยี และนวัตกรรม กระทรวงมีพันธกิจหลักในด้านวิทยาศาสตร์และการศึกษา ระดับอุดมศึกษา การวิจัย การวางนโยบายเศรษฐกิจและการพัฒนานวัตกรรมนโยบาย การค้าระหว่างประเทศ สนับสนุนกิจการสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และด้านพลังงานเหมืองแร่
- ด้านวิทยาศาสตร์และการศึกษาระดับอุดมศึกษา : BMWFW ทำหน้าที่ดูแลมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัย และช่วยหาทุนและเงินการวิจัยและส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของสถาบัน
- การวิจัย : กระทรวงสนับสนุงานด้านวิจัย ความร่วมมือในระดับนานาชาติ ทั้งระหว่างประเทศ เพื่อช่วยให้พัฒนาความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ อย่างยั่งยืน
- การวางนโยบายเศรษฐกิจและการพัฒนานวัตกรรม : เป้าหมายคือการสร้างความเข้มแข็ง ความน่าลงทุนทางธุรกิจ ผ่านการลงทุนด้านการวิจัย การพัฒนา และนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัยของประเทศ
- นโยบายการค้าระหว่างประเทศ : ปัจจุบันออสเตรียเป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกของโลก ภารกิจด้านการค้าระหว่างประเทศมุ่งสร้างความเข้มแข็งในด้านการส่งออก ให้มีความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เพิ่มความสามารถในการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ โดยร่วมดำเนินการกับหอการค้าออสเตรีย (WKO)
- สนับสนุนกิจการและบริษัทต่างๆ : เพื่อมุ่งผลักดันโครงสร้างทางการค้าและเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อการลงทุน ส่งเสริมการลงทุน และยังออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้งาน หรือ apprenticeships ช่วยส่งเสริมเยาวชนในการฝึกฝนเรียนรู้งานเพื่ออนาคตด้วย
- การท่องเที่ยว : ออสเตรียได้รับการประเมินในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวเป็นอันดับที่สองในสหภาพยุโรป นโยบายท่องเที่ยวเน้นไปที่ เทือกเขาแอลป์ แม่น้ำดานูป และเมืองวัฒนธรรมต่างๆ รวมพิพิธภัณฑ์และสวนสัตว์
- ด้านพลังงานและเหมืองแร่ : นโยบายด้านพลังงานโดยผลักดันให้มีการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น
3. กระทรวงคมนาคม นวัตกรรม และเทคโนโลยี (Federal Ministry of Transport, Innovation and Technology) หรือ BMVIT
ภารกิจคือการสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สามด้านหลักคือ ด้านคมนาคม ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี และด้านโทรคมนาคม
- ด้านคมนาคม : กระทรวงดูแลการคมนาคม เช่น ทางอากาศ เคเบิลคาร์ ทางถนน ทางราง ระบบขนส่งมวลชน การเดินเท้า ทางจักรยาน และทางคูคลองต่างๆ
- ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี : นโยบายนวัตกรรมและเทคโนโลยี เช่น การบิน ทรัพยากรมนุษย์ คมนาคม การกำหนดนโยบาย การพัฒนาที่ยั่งยืน เทคโนโลยีอวกาศ
- ด้านโทรคมนาคม : นโยบายด้านโทรคมนาคมในออสเตรียและความเชื่อมโยงระหว่างประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรป มีความสำคัญมาก เพราะอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2022/20220915-newsletter-brussels-no04-apr65.pdf
นานาสาระน่ารู้

ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน ประจำปี 2565 โดย IMD (2022 IMD World Competitiveness Ranking)
ในปี 2565 IMD ได้จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของ 63 ประเทศทั่วโลก และได้เผยแพร่ใน IMD World Competitiveness Yearbook 2022 โดยมีผลการจัดอันดับดังนี้
ตารางผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 5 อันดับแรกและประเทศไทย ปี 2564-2565 โดย IMD
ประเทศ
เดนมาร์ก
สวิตเซอร์แลนด์
สิงคโปร์
สวีเดน
ฮ่องกง
ไทย
ปี
2565
2564
2565
2564
2565
2564
2565
2564
2565
2564
2565
2564
อันดับรวม
1
3
2
1
3
5
4
2
5
7
33
28
1. สมรรถนะทางเศรษฐกิจ
13
17
30
7
2
1
21
16
15
30
34
21
1.1 เศรษฐกิจในประเทศ
18
12
7
4
1
15
15
10
21
32
51
41
1.2 การค้าระหว่างประเทศ
13
10
12
15
1
1
27
17
4
2
37
21
1.3 การลงทุนระหว่างประเทศ
17
24
52
12
5
3
14
17
3
7
33
32
1.4 การจ้างงาน
25
22
27
15
3
18
42
30
39
40
4
3
1.5 ระดับราคา
41
42
59
58
54
57
39
41
63
63
31
37
2. ประสิทธิภาพของภาครัฐ
6
7
1
2
4
5
9
9
2
1
31
20
2.1 ฐานะการคลัง
4
5
3
1
6
12
9
7
2
9
29
14
2.2 นโยบายภาษี
57
56
12
12
11
8
55
58
2
2
7
4
2.3 กรอบการบริหารด้านสถาบัน
2
5
1
1
6
7
4
3
10
11
41
36
2.4 กฎหมายด้านธุรกิจ
3
2
7
10
2
3
4
4
1
1
38
30
2.5 กรอบการบริหารด้านสังคม
2
3
6
5
22
17
5
4
33
34
44
43
3. ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ
1
1
4
5
9
9
2
2
7
3
30
21
3.1 ผลิตภาพและประสิทธิภาพ
1
1
2
4
9
14
4
3
6
9
47
40
3.2 ตลาดแรงงาน
11
14
5
6
12
4
4
5
20
8
13
10
3.3 การเงิน
7
7
1
1
11
13
3
6
5
3
27
24
3.4 การบริหารจัดการ
1
1
8
9
14
14
3
3
4
2
22
22
3.5 ทัศนคติและค่านิยม
3
6
14
13
12
9
2
4
16
8
25
20
4. โครงสร้างพื้นฐาน
2
3
1
1
12
11
3
2
14
16
44
43
4.1 สาธารณูปโภคพื้นฐาน
4
3
5
5
43
20
9
10
11
7
22
24
4.2 โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี
3
6
6
8
1
1
5
3
7
7
34
37
4.3 โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์
10
11
4
3
16
17
7
7
23
23
38
38
4.4 สุขภาพและสิ่งแวดล้อม
4
4
1
3
25
25
2
1
18
21
51
49
4.5 การศึกษา
4
3
1
1
6
7
5
4
13
8
53
56
เดนมาร์กได้อันดับ 1 ในปีนี้ ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 2 อันดับ รองลงมาคือ สวิตเซอร์แลนด์ มีอันดับลดลงจากปีที่แล้ว 1 อันดับ ถัดมาเป็นสิงคโปร์ ซึ่งปีนี้ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 2 อันดับ อันดับ 4 คือ สวีเดน ตกลงมาจากปีที่แล้ว 2 อันดับ ส่วนอันดับ 5 คือ ฮ่องกง เลื่อนอันดับดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 2 อันดับ ปีนี้ไทยได้อันดับ 33 ลดลงจากปีที่แล้ว 5 อันดับ ได้อันดับ 28 ในปีที่แล้ว
เดนมาร์กได้อันดับ 1 ในปีนี้ เลื่อนอันดับขึ้นกว่าปีก่อน 2 อันดับ เกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 3 ปัจจัย จากทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 4 อันดับ มีอันดับ 13 ในปีนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้หลายปีมีอันดับอยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ มีอันดับ 6 ในปีนี้ 3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ ส่วนอีก 1 ปัจจัย คือ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ได้อันดับ 1 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเป็นหลักเกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศ จากทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย ถึง 7 อันดับ จากอันดับ 24 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 17 ในปีนี้ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ เลื่อนอันดับขึ้น เนื่องจากการเลื่อนอันดับขึ้นของ 3 ปัจจัยย่อย จากทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยฐานะการคลัง ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน และปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสังคม โดยเฉพาะปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน มีอันดับเลื่อนขึ้น 3 อันดับ จากอันดับ 5 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 2 ปัจจัยย่อย (มีทั้งหมด 5 ปัจจัยย่อย) ได้แก่ ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี และปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี เลื่อนอันดับขึ้น 3 อันดับ เป็นอันดับ 3 ในปีนี้ ส่วนปีที่แล้วได้อันดับ 6 ปัจจัยย่อยที่มีอันดับอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ ปัจจัยย่อยระดับราคาภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ และปัจจัยย่อยนโยบายภาษีภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ มีอันดับ 42 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 41 และมีอันดับ 56 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 57 ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยนโยบายภาษีมีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว
สวิตเซอร์แลนด์ มีอันดับลดลงจากปีที่แล้ว 1 อันดับ เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจถึง 23 อันดับ จากอันดับ 7 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 30 ในปีนี้ ซึ่งทำให้ในปีนี้มีอันดับอยู่ในระดับปานกลางเหมือนหลายปีที่ผ่านมา ส่วนอีก 3 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ มีอันดับ 1 ในปีนี้ 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 1 อันดับ เป็นอันดับ 4 ในปีนี้ 3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน ครองอันดับ 1 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเลื่อนอันดับลง คือ ปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศ และปัจจัยย่อยการจ้างงาน ที่มีการเลื่อนอันดับลงถึง 40 และ 12 อันดับ จากอันดับ 12 และ 15 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 52 และ 27 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศมีอันดับต่ำในปีนี้ ภายใต้ปัจจัยเดียวกันปัจจัยย่อยระดับราคามีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ปีที่แล้วได้อันดับ 58 ในขณะที่ปีนี้ได้อันดับ 59
สิงคโปร์ ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 2 อันดับ มีอันดับ 3 ในปีนี้ เนื่องมาจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ 1 อันดับ จากอันดับ 5 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 4 ในปีนี้ ส่วนอีก 3 ปัจจัยที่เหลือ คือ 1. ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับลง 1 อันดับ เป็นอันดับ 2 ในปีนี้ 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ มีอันดับ 9 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว 3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เลื่อนอันดับลง 1 อันดับ มีอันดับ 12 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่สำคัญที่ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐเลื่อนอันดับขึ้น คือ ปัจจัยย่อยฐานะการคลัง ที่เลื่อนอันดับขึ้น 6 อันดับ เป็นอันดับ 6 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่มีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว คือ ปัจจัยย่อยระดับราคาภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับ 57 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 54 ส่วนปัจจัยย่อยสาธารณูปโภคพื้นฐานภายใต้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับต่ำในปีนี้ อยู่ที่อันดับ 43
สวีเดน ตกลงมาจากปีที่แล้ว 2 อันดับ ได้อันดับ 4 ในปีนี้ เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจและปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน 5 และ 1 อันดับ จากอันดับ 16 และ 2 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 21 และ 3 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจยังคงครองอันดับในระดับปานกลางเหมือนหลายปีที่ผ่านมา ส่วนปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐและปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ยังคงครองอันดับ 9 และ 2 ทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว ตามลำดับ ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเลื่อนอันดับลง คือ ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศ และปัจจัยย่อยการจ้างงาน ที่เลื่อนอันดับลง 5 และถึง 12 อันดับ จากอันดับ 10 และ 30 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 15 และ 42 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยการจ้างงานมีอันดับต่ำในปีนี้ ภายใต้ปัจจัยเดียวกันปัจจัยย่อยระดับราคามีอันดับต่ำทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว ปีนี้มีอันดับ 39 ปีที่แล้วมีอันดับ 41 ปัจจัยย่อยที่มีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว คือ ปัจจัยย่อยนโยบายภาษีภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ มีอันดับ 58 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 55 ในขณะที่การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเกิดจากการเลื่อนอันดับลงของ 3 ปัจจัยย่อยเล็กน้อย ได้แก่ ปัจจัยย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และปัจจัยย่อยการศึกษา
ฮ่องกงได้อันดับ 5 ในปีนี้ เลื่อนอันดับดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว 2 อันดับ เกิดจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ และปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน โดยปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับขึ้น 15 อันดับ เป็นอันดับ 15 ในปีนี้ ซึ่งยังคงครองอันดับในระดับปานกลางเหมือน 2 ปีที่ผ่านมา ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับดีขึ้น 2 อันดับ จากอันดับ 16 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 14 ในปีนี้ ทำให้ในปีนี้ได้อันดับในระดับปานกลางเหมือนหลายปีที่ผ่านมา ส่วนอีก 2 ปัจจัยที่เหลือ คือ ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ และปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ มีอันดับลดลง 1 และ 4 อันดับ ได้อันดับ 1 และ 3 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้ได้อันดับ 2 และ 7 ตามลำดับ ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเลื่อนอันดับขึ้น คือ ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศ ที่มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 11 อันดับ จากอันดับ 32 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 21 ในปีนี้ การเลื่อนอันดับดีขึ้นของปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 3 อันดับ จากอันดับ 21 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 18 ในปีนี้ ส่งผลให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจัยย่อยที่มีอันดับอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ ปัจจัยย่อยการจ้างงาน และปัจจัยย่อยระดับราคา ทั้งสองอยู่ภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับ 40 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 39 และมีอันดับ 63 ทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยระดับราคามีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว
สำหรับไทยปีนี้ได้อันดับ 33 ลดลงจากปีที่แล้ว 5 อันดับ ได้อันดับ 28 ในปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับลงของ 4 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เลื่อนอันดับลง 13 อันดับ เป็นอันดับ 34 ในปีนี้ 2. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ เลื่อนอันดับลง 11 อันดับ มีอันดับ 31 ในปีนี้ 3. ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ มีอันดับลดลง 9 อันดับ เป็นอันดับ 30 ในปีนี้ 4. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับเลื่อนลง 1 อันดับ มีอันดับ 44 ในปีนี้ ทำให้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานยังคงครองอันดับค่อนไปทางที่ไม่ดีไว้ในปีนี้เหมือนหลายปีที่ผ่านมา ในขณะที่ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจยังคงรักษาอันดับดีปานกลางไว้ในปีนี้เหมือน 2 ปีที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้มีอันดับค่อนไปในทางที่ดี ส่วนปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐและปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจยังคงรักษาอันดับดีปานกลางไว้ในปีนี้เหมือนที่ผ่านมาหลายปี การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจเกิดจากการเลื่อนอันดับลงของ 2 ปัจจัยย่อยเป็นหลัก คือ ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศ และปัจจัยย่อยการค้าระหว่างประเทศ ที่มีอันดับเลื่อนลงถึง 10 และ 16 อันดับ จากอันดับ 41 และ 21 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 51 และ 37 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยเศรษฐกิจในประเทศมีอันดับค่อนไปทางที่ไม่ดีในปีที่แล้วและมีอันดับไม่ดีในปีนี้ และทำให้ปัจจัยย่อยการค้าระหว่างประเทศมีอันดับเลื่อนลงมากที่สุดในบรรดาปัจจัยย่อยทั้งหมด ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐเลื่อนอันดับลง คือ ปัจจัยย่อยฐานะการคลัง ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบัน และปัจจัยย่อยกฎหมายด้านธุรกิจ ที่เลื่อนอันดับลงถึง 15, 5 และถึง 8 อันดับ เป็นอันดับ 29, 41 และ 38 ในปีนี้ ส่วนปีที่แล้วมีอันดับ 14, 36 และ 30 ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสถาบันมีอันดับค่อนไปทางที่ไม่ดีในปีนี้ ภายใต้ปัจจัยเดียวกันปัจจัยย่อยกรอบการบริหารด้านสังคมมีอันดับค่อนไปทางที่ไม่ดีทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว ปีนี้มีอันดับ 44 ปีที่แล้วมีอันดับ 43 ปัจจัยย่อยที่สำคัญที่ทำให้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจเลื่อนอันดับลง คือ ปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพ และปัจจัยย่อยทัศนคติและค่านิยม ที่เลื่อนอันดับลงถึง 7 และ 5 อันดับ จากอันดับ 40 และ 20 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 47 และ 25 ในปีนี้ ตามลำดับ ทำให้ปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพมีอันดับค่อนไปทางที่ไม่ดีทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว การเลื่อนอันดับลงของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเกิดจากการเลื่อนอันดับลงของปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 2 อันดับ จากอันดับ 49 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 51 ในปีนี้ ทำให้ปัจจัยย่อยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมีอันดับค่อนไปทางที่ไม่ดีในปีที่แล้วและมีอันดับไม่ดีในปีนี้ คงเป็นข่าวดีสำหรับปัจจัยย่อยการศึกษาซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยเดียวกัน ที่ก่อนหน้านี้หลายปีมีอันดับต่ำสุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดมีอันดับเลื่อนขึ้น 3 อันดับ จากอันดับ 56 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 53 ในปีนี้ ในบรรดาปัจจัยย่อยทั้งหมดปัจจัยย่อยระดับราคาภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับเลื่อนขึ้นมากที่สุด โดยมีอันดับเลื่อนขึ้น 6 อันดับ จากอันดับ 37 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 31 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่มีอันดับดีมากทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ได้แก่ 1. ปัจจัยย่อยการจ้างงานภายใต้ปัจจัยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ มีอันดับ 3 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 4 2. ปัจจัยย่อยนโยบายภาษีภายใต้ปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ มีอันดับ 4 ในปีที่แล้ว ในขณะที่ปีนี้มีอันดับ 7
สำหรับไทยต้องพัฒนาอีกหลายด้าน เนื่องจากในปีนี้ไทยมีอันดับลดลง 5 อันดับ โดยเฉพาะด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษา ซึ่งทั้งสองด้านมีอันดับต่ำมากที่สุดเป็นอันดับ 2 และอันดับ 1 ตามลำดับ ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว เพื่อให้ในปีหน้าไทยจะมีอันดับรวมดีขึ้นมาก
นานาสาระน่ารู้

สวมหมวกนิรภัย 100%
ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กำหนดให้พื้นที่ทุกส่วนราชการเป็นพื้นที่สวมหมวกนิรภัย 100%
เรามาร่วมรณรงค์สวมหมวกนิรภัยตามสโลแกน “สวย หล่อ สมาร์ต ปลอดภัย ง่ายๆ แค่สวมหมวกนิรภัย” กันนะคะ
NSTDA Infographic

อร่อยสมจริง! ‘กินใจ (GIN Zhai)’ เนื้อไก่จากโปรตีนพืช
ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากโปรตีนพืชคือหนึ่งในนวัตกรรมอาหารที่มาแรงในช่วงปีนี้ และคาดว่ามูลค่าตลาดโลกจะเติบโตถึง 3 แสนล้านบาทภายในปี 2568 เพราะนอกจากจะเป็นโปรตีนทางเลือกที่ตอบโจทย์การดูแลสุขภาพและการรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ปัจจุบันเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำยังทำให้นักวิจัยสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีความสมจริงทั้งเนื้อสัมผัสและรสชาติในราคาที่ย่อมเยาได้อีกด้วย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับบริษัทเอกชนผู้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีเปิดตัวผลิตภัณฑ์ “เนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant-based Chick)” ที่พร้อมวางจำหน่ายให้ประชาชนได้ลิ้มลองรสชาติแล้ว
[caption id="attachment_36851" align="aligncenter" width="700"] ดร.จุลเทพ ขจรไชยกุล ผู้อำนวยการ เอ็มเทค สวทช.[/caption]
ดร.จุลเทพ ขจรไชยกุล ผู้อำนวยการ เอ็มเทค สวทช. กล่าวว่า เอ็มเทคให้ความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องการนำความเชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์มาใช้ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน หนึ่งในภารกิจสำคัญคือการพัฒนานวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพที่สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ อาทิ ผลิตภัณฑ์อาหารเคี้ยว กลืน และย่อยง่ายสำหรับผู้สูงอายุ ผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกเพื่อสุขภาพ และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากโปรตีนพืช ซึ่งล่าสุดเอ็มเทคได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเนื้อไก่จากโปรตีนพืช หรือ ‘Ve-Chick’ ให้แก่ผู้ประกอบการแล้ว 3 ราย รายแรกคือ โรงงานรับจ้างผลิต (OEM) อาหารทางเลือก รายที่สองคือ บริษัทกรีน สพูนส์ จำกัด บริษัทสตาร์ตอัปด้านอาหารเพื่อสุขภาพที่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในปีหน้า และล่าสุดรายที่สามคือ บริษัทบี ไอ จี เนเชอรัล กรีน จำกัด ที่พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์แบรนด์ ‘GIN Zhai (กินใจ)’ ให้ผู้บริโภคได้ทดลองรับประทานโปรตีนจากพืชแล้วในวันนี้
จุดแข็งสำคัญที่ทำให้เทคโนโลยีการผลิตเนื้อไก่จากโปรตีนพืชหรือ ‘Ve-Chick’ เป็นที่หมายตาของผู้ประกอบการตั้งแต่การเปิดตัวเทคโนโลยีในช่วงต้นปี 2564 คือ ‘เทคนิคการจัดเรียงโครงสร้างให้ได้ลักษณะเส้นใยคล้ายกับเนื้อจริง’
[caption id="attachment_36852" align="aligncenter" width="700"] ดร.กมลวรรณ อิศราคาร นักวิจัยทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร เอ็มเทค สวทช.[/caption]
ดร.กมลวรรณ อิศราคาร นักวิจัยทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร เอ็มเทค สวทช. อธิบายว่า ทีมวิจัยได้นำความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบโครงสร้างอาหารมาผสานเข้ากับความรู้ด้านคุณสมบัติของโปรตีนจากถั่วเหลือง เพื่อออกแบบ ‘การจัดเรียงโครงสร้างของอาหารให้ออกมามีลักษณะเป็นเส้นใย’ จนได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสัมผัสและรสคล้ายเนื้อไก่จริง โดยผลิตภัณฑ์หลัก 2 ชนิดที่ทีมพัฒนา คือ ผลิตภัณฑ์ Precook เนื้อไก่ขึ้นรูปที่ผ่านการปรุงรสเป็นเมนูอาหารแช่แข็งต่างๆ และผลิตภัณฑ์ Premix ที่ผู้บริโภคสามารถนำผงวัตถุดิบมาตีผสมกับน้ำและน้ำมันเพื่อขึ้นรูปเป็นชิ้นเนื้อไก่ได้ตามปริมาณที่ต้องการในแต่ละวัน อีกทั้งผลิตภัณฑ์รูปแบบนี้ยังมีจุดแข็งคือผง Premix (ผลิตภัณฑ์ก่อนผสม) เก็บรักษาได้นานเป็นปีโดยไม่ต้องแช่แข็ง ทำให้ผู้ผลิตอาหาร อาทิ ร้านอาหาร หรือผู้ให้บริการแคเทอริง สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน พื้นที่จัดเก็บ และการทิ้งอาหารที่มากเกินความต้องการได้เป็นอย่างดี
“ผลิตภัณฑ์ Ve-Chick เป็นโปรตีนทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ปลอดภัยจากฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต ไม่มีคอเลสเตอรอล และปราศจากกลูเตน (เฉพาะผลิตภัณฑ์ Premix) ที่สำคัญวัตถุดิบตั้งต้นส่วนใหญ่มีการผลิตภายในประเทศ ทำให้การผลิตด้วยเทคโนโลยีนี้มีราคาย่อมเยา” ดร.กมลวรรณ กล่าวเสริม
[caption id="attachment_36850" align="aligncenter" width="700"] Ve-Chick เมนูไก่ย่าง[/caption]
[caption id="attachment_36848" align="aligncenter" width="700"] Ve-Chick เมนูแกงกะหรี่ไก่ทอด[/caption]
วันนี้เนื้อไก่จากโปรตีนพืช ‘Ve-Chick’ โดยนักวิจัยเอ็มเทคจะอร่อยยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อบริษัทบี ไอ จี เนเชอรัล กรีน จำกัด ผู้ผลิตแบรนด์ GIN Zhai (กินใจ) ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อนำเอาความเชี่ยวชาญด้านการผลิตและจำหน่ายอาหารเจมารังสรรค์เป็นเมนูอาหารต่างๆ ให้นักชิมได้ลิ้มลอง
[caption id="attachment_36853" align="aligncenter" width="700"] ธนินท์รัฐ เมธีวัชรรัตน์ กรรมการ บริษัทบี ไอ จี เนเชอรัล กรีน จำกัด[/caption]
ธนินท์รัฐ เมธีวัชรรัตน์ กรรมการ บริษัทบี ไอ จี เนเชอรัล กรีน จำกัด เล่าว่า บริษัทมีประสบการณ์ด้านการผลิตและจำหน่ายอาหารเจมากว่า 20 ปี จึงมีความมั่นใจในด้านการรังสรรค์เมนูอาหารต่างๆ ให้ถูกใจผู้บริโภค เมื่อเอ็มเทคเปิดตัว ‘Ve-Chick’ บริษัทจึงไม่รอช้าคว้าโอกาสในการขยายตลาดอาหารเจทันที
“ที่ผ่านมาภาพลักษณ์ของอาหารเจอาจไม่ได้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพนัก เพราะภาพที่ใครหลายคนนึกถึงมักเป็นผัดผักน้ำมันเยิ้ม หรือผัดหมี่ที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบปริมาณมาก แต่ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่จากโปรตีนพืช เหมาะกับผู้รักการลิ้มรสอาหารอร่อยและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ เป็นอาหารทางเลือกเมนูใหม่ให้ผู้คนหันมาเปิดใจรับประทานอาหารเจมากยิ่งขึ้น ในวันนี้บริษัทพร้อมเปิดตัว 2 ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่จากโปรตีนพืช คือ ‘กินใจ แพลนต์เจ พรีคุก (GIN Zhai Plant J - PreCook)’ ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่จากโปรตีนพืชที่ขึ้นรูปเป็นชิ้นเนื้อรูปแบบต่างๆ เช่น น่องไก่ ชิ้นเนื้อไก่ พร้อมให้ผู้บริโภคนำไปปรุงอาหาร และผลิตภัณฑ์ ‘กินใจ แพลนต์เจ พรีมิกซ์ (GIN Zhai Plant J – PreMix)’ ผลิตภัณฑ์รูปแบบผงสำหรับนำไปขึ้นรูปเป็นชิ้นเนื้อด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้บริโภคปรุงแต่งรสชาติ เติมสารอาหาร และขึ้นรูปเป็นชิ้นเนื้อได้ตามต้องการ ช่วยเพิ่มสีสันในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น ผู้ที่สนใจสามารถสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ GIN Zhai Plant J เพื่อลิ้มลองรสชาติความอร่อยได้แล้วผ่าน 7-11 Delivery App ราคาเริ่มต้นเพียง 59 บาทเท่านั้น”
[caption id="attachment_36849" align="aligncenter" width="700"] กินใจ แพลนต์เจ พรีคุก (GIN Zhai Plant J - PreCook)[/caption]
นอกจาก 2 ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้ว บริษัทยังได้เปิดตัวแฟรนไชส์ ‘GIN Zhai’ คีออสจำหน่ายอาหารจาก GIN Zhai Plant J และ GIN Zhai จากพืชในรูปแบบพร้อมรับประทาน เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงอาหารเพื่อสุขภาพได้ง่ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้บริษัทคาดว่าจะสามารถเปิดคีออสจำนวน 100 สาขา ภายใน 1 ปีหลังจากนี้ และตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะมียอดขายผลิตภัณฑ์กินใจ แพลนต์เจ ทั้ง PreMix และ PreCook 200 ล้านบาท ภายในปี 2567
[caption id="attachment_36855" align="aligncenter" width="500"] GIN Zhai เมนูน่องไก่ทอดเจ จิ้มแจ่ว ข้าวเหนียว[/caption]
[caption id="attachment_36854" align="aligncenter" width="500"] GIN Zhai เมนูเต้าหู้ทอด[/caption]
ธนินท์รัฐ เสริมว่า เป้าหมายของบริษัทไม่เพียงต้องการให้คนไทยมีสุขภาพดีจากการบริโภคอาหารที่มีคุณภาพเท่านั้น แต่ยังมีเป้าหมายยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยด้วย บริษัทจึงลงพื้นที่สำรวจการเพาะปลูกในประเทศ คัดเลือกเกษตรกรที่เพาะปลูกได้มาตรฐาน สามารถควบคุมคุณภาพวัตถุดิบได้เป็นอย่างดี เพื่อทำสัญญารับซื้อในราคาที่เหมาะสมโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ทำให้เกษตรกรผู้ผลิตวัตถุดิบให้แก่บริษัทวางใจได้ว่าจะไม่ต้องทิ้งผลผลิต และไม่ต้องสู้รบกับราคาจำหน่ายที่ตกต่ำในแต่ละปี
“อยากให้ผู้บริโภคได้ลองพิสูจน์ว่าอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพแบรนด์ ‘GIN Zhai’ อร่อยสมจริงตามคำโฆษณาหรือไม่ครับ” คำทิ้งท้ายของธนินท์รัฐ
ปัจจุบันบริษัทบี ไอ จี เนเชอรัล กรีน จำกัด เปิดรับผู้ลงทุนแฟรนไซส์ร้าน Gin Zhai ทั้งผู้ที่มีทำเลที่ตั้งร้านอยู่แล้ว หรือต้องการให้บริษัทเสนอทำเลให้ รวมถึงรับจัดอาหารแบรนด์ GIN Zhai สำหรับงานเลี้ยงด้วย ติดต่อได้ที่ Facebook: Gin Zhai-กินใจ, Line: @ginzhai หรือโทรศัพท์ 09 4885 9228 และสำหรับผู้ที่ต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต ‘Ve-Chick’ หรือขอรับบริการการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพติดต่อสอบถามได้ที่เอ็มเทค สวทช. โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4788 หรือ E-mail: chanitw@mtec.or.th
เรียบเรียงโดย : ภัทรา สัปปินันทน์ ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช.
อาร์ตเวิร์คโดย : ภัทรา สัปปินันทน์
ภาพประกอบโดย : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ และเอ็มเทค สวทช.
BCG
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์
บทความ
ผลงาน
ผลงานวิจัยเด่น

วิธีการตรวจสอบการใช้ WI-FI FREE ที่ปลอดภัยสำหรับคุณ
WI-FI ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการท่องโลกอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้งาน Smart Device และ Computer ที่ชอบการเชื่อมต่อแบบไร้สาย ยิ่งเร็วยิ่งแรงยิ่งตอบโจทย์การใช้งานในยุค 5G ที่กำลังก้าวผ่านอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญ ถ้าใช้งานฟรี จะเป็นที่ถูกตาต้องใจกับผู้ที่เข้าถึงได้อย่างไม่มีขีดจำกัด และนั่นคือประเด็นสำคัญสำหรับบทความนี้ เพราะหลายท่านเมื่อเข้าสู่พื้นที่สาธารณะ จำเป็นต้องใช้งานระบบ internet ผ่านเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือซึ่งมีการคิดค่าบริการตามการใช้งานและ package ที่กำหนดไว้ การมี WI-FI ที่เข้าถึงและใช้งานได้ฟรี จึงเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายและสงวนความเร็วอินเทอร์เน็ตไว้ใช้ยามจำเป็นได้อย่างดี จากประเด็นดังกล่าว จึงเป็นเหตุผลชั้นดีที่ อาชญากรทาง cyber หรือผู้ไม่ประสงค์ดี สามารถใช้ช่องว่างตรงนี้ สร้าง WI-FI ฟรี เพื่อให้เราตกเป็นเหยื่อได้โดยแยบยล ในรูปแบบ FAKE FREE WI-FI
FAKE FREE WI-FI คือการจัดทำ WI-FI ที่เกิดจากเหล่าผู้ไม่ประสงค์ดี โดยจัดทำด้วยการปล่อย WI-FI หรือ Hot Spot จากเครื่องของตนเองในสถานที่ที่ให้บริการ FREE WI-FI แบบสาธารณะที่น่าเชื่อถือ และใช้สิ่งที่เปรียบเสมือนเหยื่อล่อให้ผู้สนใจเข้ามา connect เช่น
การตั้งชื่อให้สอดคล้องหรือใกล้เคียงกับสถานที่หรือชื่อ WI-FI ที่มีอยู่ เช่น ชื่อ WIFI ร้านกาแฟร้านหนึ่ง สมมติชื่อ coffeecup มีการให้บริการ FREE WI-FI ในร้านชื่อ coffeecup-wifi โดยให้ผู้ใช้งานนำรหัสที่ได้จากใบเสร็จไปทำการ login เพื่อใช้งาน ผู้ไม่ประสงค์ดีจะทำการสร้างชื่อของ WI-FI ให้สอดคล้องหรือใกล้เคียง เช่น coffeecup-wifi-free , @coffeecup-free-connect หรือที่นิยมมากที่สุดคือใส่ . หน้าชื่อ WIFI ปลอมที่ตั้งให้เหมือนจริง เช่น .coffeecup-wifi ซึ่งใกล้เคียงกับ coffeecup-wifi มากๆ ทำให้ผู้หลงเชื่อทำการ connect แล้วอาจจะถูกถาม เบอร์โทรศัพท์ หรือทำการ Redirect เปลี่ยนหน้าระบบให้ไปติดตั้งโปรแกรมบางอย่าง , ดึงข้อมูลรหัสผ่าน จากการใช้งานของคุณได้ทันที
การตั้งชื่อเชิญชวนหรือจงใจ ยกตัวอย่างต่อเนื่องจากด้านบน เช่น ชื่อจริงคือ coffeecup-wifi ผู้ไม่ประสงค์ดีจะเปลี่ยนให้เป็น freecoffee-here , free-wifi-1-hour , unlimited-wifi-for-shop เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งจะเร่งเร้าให้ผู้ใช้งานเกิดความต้องการอยากเข้าถึง โดยไม่สนใจความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
การจงใจตั้งชื่อจริงเพื่อให้ผู้ใช้เลือกผิด โดยผู้ไม่ประสงค์ดีจะเจตนาใช้ชื่อเดียวกับ Official FREE WI-FI ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบอย่างมากทั้งผู้ใช้งานและผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง ซึ่งจุดนี้ ทางผู้ดูแลสถานที่ , ผู้ให้บริการ ควรตรวจสอบอยู่เสมอ
การป้องกันตนเองจากการใช้ FREE-WI-FI ในที่สาธารณะ
ตรวจสอบการใช้งานและชื่อของ WI-FI ให้ถูกต้องก่อนการ connect เสมอ
หากไม่จำเป็น อย่าใช้งาน App หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ การเงิน , สุขภาพ หรือข้อมูลสำคัญที่มีความเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรม
อย่าเปิด Auto Connect สำหรับการใช้งาน WI-FI ในที่สาธารณะ เพราะอาจเป็นการละเลยการตรวจสอบการใช้งานของคุณได้
หากเป็นไปได้ "ใช้อินเทอร์เน็ตของตนเองจากเครือข่ายมือถือ" ปลอดภัยกว่าการใช้ WI-FI สาธารณะที่คุณอาจมีความเสี่ยงหากไม่ทำการตรวจสอบอย่างรอบคอบ
บทสรุป ที่กล่าวมาขั้นต้นเป็นแนวทางการป้องกันตนเองของเราให้ห่างไกลจากการถูกจารกรรมข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะการใช้ WI-FI ที่มีความจำเป็นต่อการจัดการสื่อข้อมูลที่เราสนใจอย่างหลากหลาย โดยในความเป็นจริงแล้วนั้น การโจมตีส่วนของ WI-FI ของผู้ไม่ประสงค์ดี สามารถทำได้มากกว่าที่ทางผู้เขียนได้กล่าวมาอีกมากมายหลายแบบ บทความนี้จึงอยากขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงการป้องกันตนเองในยุคดิจิทัล และสามารถส่งผ่านความปลอดภัยสู่คนที่คุณรักด้วยการส่งต่อข้อมูลดีๆ ในด้านความปลอดภัยนี้ไปด้วยกันครับ
นานาสาระน่ารู้

วิธีตรวจสอบการให้สิทธิ์ App ในมือถือ เพื่อความปลอดภัยของเรา
เคยสงสัยกันหรือไม่ครับว่า เรามักจะได้รับเบอร์แปลกๆ หรือข้อมูลแปลกๆ จากคนที่ไม่รู้จัก ส่งข้อความ sms หรือโทรมายังเบอร์ของเราโดยตรง ทั้งๆ ที่ไม่ใช่เพื่อนหรือมีความจำเป็นที่ต้องติดต่อสื่อสารกัน หลายคนก็อาจเพ่งเล็งไปในเรื่องของการเปิดเผยข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เราได้เคยสมัครไว้ เช่น ตามแหล่งข้อมูลราชการ ธนาคาร บริษัท ห้างร้าน หรือ ร้านค้า เป็นต้น ซึ่งก็เป็นส่วนที่เราได้เข้าใจในมุมมองผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงและตั้งข้อสันนิษฐานดังกล่าวไว้ ซึ่งอาจจะไม่ใช่เรื่องจริงก็ได้ใช่ไหมครับ เนื่องจากปัจจุบันหลายผู้ให้บริการ โดยเฉพาะภาคส่วนราชการ หรือภาคส่วนทางธุรกิจ ต่างก็ต้องดำเนินการตาม พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และต้องเคารพในการป้องกันข้อมูลของผู้ใช้งานเป็นที่ตั้ง เนื่องจากมีความผิดในด้านกฏหมายมาเกี่ยวข้อง สำหรับบทความนี้ ทางผู้เขียนอยากจะชวนทุกท่านนำข้อสงสัยดังกล่าวมาตั้งคำถามใกล้ตัวว่า "App ในมือถือของเรา ปลอดภัยพอ และตั้งค่าการให้สิทธิ์ที่ปลอดภัยต่อชีวิต ดีพอหรือยัง ?"
เคยไหมครับ พอลง App บางอย่าง กลับพบว่า ถูกเบอร์ลึกลับโทรมาเสนออะไรมากมายหลายเบอร์ นั่นคือประเด็นหนึ่งที่หลายท่านอาจไม่เคยตั้งข้อสังเกต หลาย App เมื่อติดตั้ง มีการสอบถาม Permission การขออนุญาตการเข้าถึง โดยเฉพาะการขออนุญาตเข้าถึง Contact หรือรายชื่อผู้ติดต่อ เมื่อคุณกด Allow อนุญาตไปแล้ว หมายความว่า "ข้อมูล Contact ทั้งหมดของคุณ สามารถถูกเข้าถึงได้บน App เรียบร้อยแล้ว" และข้อมูลของคุณ ผู้ติดต่อ เบอร์โทรต่างๆ ของคุณจะถูกเข้าถึงได้ทันที นั่นคือเหตุผลสำคัญว่า นี่อาจเป็นส่วนหนึ่งที่คุณถูกนำข้อมูลไปใช้โดยการยินยอมของคุณเองเรียบร้อยแล้ว
ดังนั้น เราควรมาตรวจสอบ และจัดการสิทธิ์ของ App ผ่านเมนู Permission ของเครื่องโทรศัพท์มือถือของคุณกันครับ โดยบทความนี้จะนำเสนอส่วนของโทรศัพท์มือถือระบบ Android เป็นตัวอย่างครับ ดังนี้
1. เข้าสู่เมนู setting แล้วพิมพ์ค้นหาคำว่า Permissions เพื่อการเข้าสู่เมนูการตั้งค่าจัดการสิทธิ์ของระบบ
2. เข้าสู่เมนู Permissions
3. ระบบจะแสดงส่วนของการอนุญาตของ App ในระบบกับจำนวน App ที่มี อย่างภาพที่แสดงนี้ คุณจะพบว่า มีการให้สิทธิ์การเข้าถึง Contact มากถึง 11 App จาก 56 App ที่ถูกติดตั้ง และหากพิจารณาดีๆ คุณจะพบว่า "มีส่วนการขออนุญาตการเข้าถึงไฟล์ของระบบ การเข้าถึงกล้อง และอื่นๆ ที่คุณควรตั้งข้อสังเกตว่า.....บาง App ทำไมต้องขออนุญาตเข้าถึง ทั้งๆ ที่ App นั้นไม่จำเป็นต้องใช้งานส่วนนั้น ? "
4. เข้าสู่เมนู Contacts คุณจะพบรายชื่อของ App ที่เรียกใช้งาน Contact ของคุณ ตรวจสอบให้แน่ใจครับว่า App แปลกๆ ที่คุณติดตั้ง มีการใช้งาน Contact หรือขอใช้งานส่วนอื่นๆ นอกเหนือความจำเป็นของ App หรือไม่
5. ยกตัวอย่างสมมติเป็น Line App ให้เลือกที่ไอคอนของ App ที่ปรากฏในข้อ 4 แล้วทำการเลือกอนุญาต Allow หรือ ไม่อนุญาต Don't Allow เพื่อให้การจัดการสิทธิ์นั้น เป็นไปตามที่คุณพิจารณาครับ
บทสรุป บางครั้งการติดตั้ง App ลงบนเครื่องโทรศัพท์ของผู้ใช้งานอาจเป็นช่องทางการถูกเปิดเผยข้อมูลอย่างดีจาก App ที่ไม่ได้มาตรฐานหรือถูกติดตั้งมาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ การพิจารณาใช้งาน App จึงเป็นปัจจัยใกล้ตัวสำคัญที่จะทำให้คุณสามารถป้องกันการถูกจารกรรมข้อมูลได้ อย่าลืมตรวจสอบการเข้าถึงต่างๆ จาก App และการอนุญาตของคุณอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตในยุคดิจิทัลที่เราต้องรู้เท่าทันและมีภูมิคุ้มกันทาง Cyber อยู่ในระดับที่สามารถป้องกันตัวเองได้ครับ
นานาสาระน่ารู้

วารสารข่าวด้านการอุดมศึกษาและวิทยาศาสตร์จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 3 เดือน มีนาคม 2565
วารสารข่าวด้านการอุดมศึกษาและวิทยาศาสตร์จากกรุงบรัสเซลส์
ฉบับที่ 3 เดือน มีนาคม 2565
งานสามัคคีวิชาการและอาชีพครั้งที่ 14 ณ กรุงลอนดอน
สามัคคีสมาคมได้จัดงานสามัคคีวิชาการและอาชีพขึ้นทุกปี เพื่อสร้างเสริมเครือข่ายทางวิชาการระหว่างนักศึกษา เป็นโอกาสแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางวิชาการทั้งในสหราชอาณาจักรและภูมิภาคยุโรป โดยปีแรกงานมีเพียงประชุมวิชาการและการประกวดบทคัดย่องานวิจัยเท่านั้น แต่ปี พ.ศ. 2564 ได้ปรับรูปแบบงานเป็นออนไลน์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรคระบาดของโรคโควิด-19 และให้นักเรียนไทยนอกสหราชอาณาจักรเข้าร่วมได้
งานปีนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “The Remake of Thailand” กล่าวถึง อุปสรรคและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 โดยมีวัตถุประสงค์การจัดงาน คือ
1. เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างนักศึกษาในสาขาที่แตกต่างกันเพื่อประโยชน์ของสังคมไทย
2. ส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถบูรณาการงานวิจัยของตนเข้ากับประเด็นปัญหาในปัจจุบันในประเทศไทย และนำมาสู่การใช้งานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
3. สร้างเสริมโอกาสในอาชีพและการทำงานแก่นักศึกษาไทย
กิจกรรมภายในงาน
งาน Samaggi Abstract Competition ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานครั้งที่ 14 ได้เปิดรับผลงานบทคัดย่อทางออนไลน์ การแข่งจันรอบสุดท้ายแต่ละสาขาประกอบด้วยการนำเสอนงานวิจัยผ่านวิดีโอ 10 นาที ต่อด้วยตอบคำถามสดอีก 10 นาที โดยมีทั้งหมด 6 สาขาวิชาดังนี้ ชีววิทยาและวิทยาศาสตร์การแพทย์ การวิเคราะห์ทางสังคม และมนุษยศาสตร์และศิลปะและวิศวกรรมและเทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์และธุรกิจศึกษา คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพ ผลการจัดงาน มีผู้ส่งบทคัดย่อทั้งหมด 104 ราย โดยมี 18 รายผ่านเข้ารอบนำเสนอหลัก (Oral Presentation) และอีก 14 รายเข้าร่วมรอบนำเสนอ E-Poster โดยผู้ชนะสามอันดับแรกในแต่ละสาขาจะได้รับรางวัลมูลค่ารวม 300 100 และ 50 ปอนด์สเตอร์ลิงตามลำดับ
งานประชุมวิชาการของนักเรียนไทยในฝรั่งเศสประจำปี 2565
เมื่อวันที่ 8-9 เมษายน 2565 สมาคมนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเสศ ได้จัดงานประชุมวิชาการประจำปี 2565 หัวข้อ “จุดประกายความคิดเชื่อมติดภูมิปัญญา นำพาสู่อนาคต สดใสด้วยนวัตกรรม” ณ กรุงปารีส โดยสำนักงานที่ปรึกษาด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้หการสนับสนุนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของนักเรียนไทยในภูมิภาคยุโรป
ที่มาของการประชุม
ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่นักเรียนไทยนิยมเดินทางไปศึกษาต่อโดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐบาลไทย ปัจจุบันมีนักเรียนไทยกระจายอยู่ในมหาวิทยาลัยชั้นนำในสาขาต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศส รวมถึงด้านธุรกิจ นักเรียนไทยกลุ่มนี้จะกลายเป็นกำลังสำคัญมีส่วนร่วมในการสนับสนุนและขับเคลื่อนประเทศไทย ผ่านการถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีทั้งทางตรงและทางอ้อม
งานประชุมวิชาการประจำปี 2565 ภายใต้หัวข้อ “จุดประกายความคิด เชื่อมติดภูมิปัญญา นำพาสู่อนาคต สดใสด้วยนวัตกรรม” นั้นมีที่มีจากความต้องการให้นักเรียนไทยในฝรั่งเศสจัดประกายความรู้ในตัวเองเพื่อขจัดความมืดบอดทางวิชาการเป็นลำดับแรก จากนั้นจุดประกายเพื่อสร้างและส่งต่อความรู้และแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น โดยร่วมมือกันสร้างและส่งต่อความรู้ทางวิชาการและการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ส่งประกายแสงสว่างทางความคิดไปยังคนรุ่นใหม่ๆ
องค์ประกอบของผู้เข้าร่วมงาน
ผู้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการฯ มีจำนวนทั้งหมด 38 ท่าน แบ่งออกเป็นกรรมการสมาคมฯ 10 ท่าน วิทยากร 8 ท่าน พิธีกรรับเชิญ 1 ท่าน กรรมการการเลือกตั้ง 2 ท่าน และผู้สมัครเข้าร่วมงานอื่นๆ 17 ท่าน ในจำนวนผู้เข้าร่วมงาน 17 ท่าน มีผู้เข้าร่วมงานที่มีสถานภาพเป็นนักเรียนทุนจากแหล่งทุนนอกประเทศไทยจำนวน 6 ท่าน นักเรียนทุนจากหน่วยงานรัฐบาลไทยทั้งหมด 6 ท่าน ซึ่งในจำนวนนี้แบ่งออกเป็นทุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 1 ท่าน ทุนจากกองทัพบก 2 ท่าน ทุนจากมหาวิทยาลัยรัฐบาล 1 ท่าน และทุนจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 2 ท่าน ผู้เข้าร่วมงานที่มีสถานภาพเป็นนักเรียนทุนส่วนตัว 3 ท่าน และผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วจำนวน 2 ท่าน คิดเป็นร้อยละ ผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยนักเรียนทุนจากแหล่งทุนนอกประเทศไทยร้อยละ 356.29 นักเรียนทุนจากหน่วยงานรัฐบาลไทยร้อยละ 35.29 นักเรียนทุนส่วนตัวร้อยละ 17.65 และผู้ที่สำเร็จการศึกษาร้อยละ 11.77
รูปแบบของงานประชุม
งานประชุมวิชาการประจำปี 2565 แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ
1. กิจกรรมทางวิชาการ (Academic Storytelling)
2. กิจกรรมเพื่อสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ (Networking)
รูปแบบของงานจัดในแบบ Storytelling โดยมีวิทยากร (speaker) จำนวน 9 ท่าน โดยเน้นการถ่ายทอดเข้าใจง่าย มีตัวอย่างชัดเจน ภายในระยะเวลาสั้น (ประมาณ 15-20 นาที) เพื่อสร้างความเข้าใจข้ามศาสตร์ โดยสามารถให้ผู้ฟังไม่มีความรู้พื้นฐานในเรื่องที่วิทยากรศึกษาวิจัยเข้าใจได้ง่าย และสามารถนำไปใช้ และมีผลตอบรับ (feedback) ได้ทันทีผ่านช่วงถาม-ตอบในช่วงท้ายของการบรรยาย อันเป็นทักษะการเล่าเรื่อง (storytelling) ที่จำเป็นสำหรับการทำงานและสร้างสรรค์ผลงานวิชาการในปัจจุบัน การนำเสนอหัวข้อหลากหลาย ครอบคลุมเรื่องภาษาศาสตร์ อุตสาหกรรมยา การป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์ อุตสาหกรรมเคมี และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ส่วนที่สอง เป็นกิจกรรมสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ (networking) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมมีความรู้จักคุ้นเคยกัน และสร้างเสริมความสัมพันธ์ในทางวิชาการต่อไปภายหลังการประชุม
สรุปสาระสำคัญของการบรรยายวิชาการ (Academic Storytelling) ในหัวข้อต่างๆ
1. “การใช้ประโยชน์ข้อมูลจากอวกาศ (Space-based Information” โดย นายปรเมศวร์ ธุวะคำ
ปัจจุบัน “ข้อมูลจากอวกาศ” เช่น ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการติดตามและบริหารงานหลายด้าน ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น การเกษตรกรรม การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความมั่นคง ข้อมูลจากอวกาศเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สามารถใช้ประกอบการตัดสินใจ และวางแผนกิจกรรมต่างๆ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ การใช้ประโยชน์ข้อมูลจากอวกาศของไทย
2. “อวกาศยุคใหม่ (new space) และความท้าทายของผู้เล่นใหม่ในอุตสาหกรรมอวกาศ” โดย นางสาวนภสร จงจิตตานนท์
ปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการอุตสาหกรรมอวกาศ จากเดิมที่รัฐเป็นผู้ผูกขาดอุตสาหกรรมอวกาศ กลายเป็นเอกชนที่เป็น “ผู้เล่นใหม่” ทั้งด้านการสร้างดาวเทียมและจรวด ทำให้ต้นทุนการขนส่งขึ้นสู่อวกาศลดลง ส่งผลให้เกิด Business model ใหม่ๆ เป็นการลดกำแพงและเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับผู้เล่นหน้าใหม่ในการเข้ามามีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมอวกาศได้มากขึ้น
3. “การฟอกเขียว (greenwashing) ส่งผลต่อโลกและผู้บริโภคอย่างไร” โดย นางสาววนารี อังคณาพาณิช
ปัจจุบันมีสินค้าที่อ้างว่าไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม แต่แท้จริงอาจเป็นการ “ฟอกเขียว” เพื่อให้ภาพลักษณ์ของสินค้าดูดี ทั้งที่ยังมีกระบวนการการใช้สารเคมีที่ทำลายสิ่งแวดล้อมที่ผู้บริโภคไม่ทราบ จึงจำเป็นต้องสร้างความตระหนักรู้ว่าการฟอกเขียวคืออะไร มีที่มาอย่างไร ส่งผลกระทบต่อเราและโลกอย่างไร และเราในฐานะผู้บริโภคสามารถทำอย่างไรได้บ้างเพื่อไม่ให้ถูกหลอกจากการฟอกเขียว
4. “งานวิจัยขึ้นหิ้งมีจริงหรือ ? : นวัตกรรมใน cold chain Logistic” โดย นายธนเทพ เหลืองทองคำ
การทำวิจัยมีจุดประสงค์หลักคือค้นหาคำตอบของปัญหาต่างๆ และนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆ แต่ยังมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ถูกมองว่าเป็น “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง ทว่า ถ้าเข้าใจงานวิจัยนั้นๆ อย่างถ่องแท้ ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้หรือต่อยอดได้ทั้งสิ้น โดยยกตัวอย่างการทำวิจัยในเรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่างๆ สามารถนำมาต่อยอดในงานวิจัยเรื่องห่วงโซ่ความเย็นที่สามารถลดการเน่าเสียของผลิตภัณฑ์และสามารถเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ประกอบการ ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม
5. “The Charm of malfunction : ศิลปะในความสวยงามที่มีที่ติ” โดย นางสาวพิชญา คูวัฒนาถาวร
งานศิลปะเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา แม้กระทั่งในห้องแคบๆ ตลอดระยะเวลาการล็อกดาวน์ตามมาตรการของรัฐบาลฝรั่งเศสในการป้องกันโรคโควิด-19 The Charn of malfunction เป็นงานศิลปะที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาสิ่งที่ไม่สมบูรณ์ ผุพัง หรือไม่สามารถทำงานได้แล้วที่ยังมีแง่มุมของความสวยงามอยู่
6. “นวนิยายไบเซ็กชวลร่วมสมัย : จากความกำกวมสู่ความหลากหลายและครอบคลุมทางเพศ” โดย นายปริวรรต์ สุขวิชัย
สังคมร่วมสมัย ชุมชนความหลากหลายทางเพศได้รับสิทธิ ความเท่าเทียม และความเข้าใจจากสังคมมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ผ่านการต่อสู้เรียกร้องยาวนาน ภาพแทนกลุ่มคนหลากหลายทางเพศที่มีมากขึ้นในสื่อต่างๆ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มคนเหล่านี้ส่วนมากคือกลุ่มรักร่วมเพศ ในขณะที่เพศหลากหลายอื่นๆ ถูกเบียดขับไปยังชายขอบและได้รับการกล่าวถึงน้อยกว่ามาก หนึ่งในนั้นคือกลุ่มไบเซ็กชวลหรือรักร่วมสองเพศ อาจเป็นผลมากจากการประกอบสร้างทฤษฎีและวาทกรรมทางเพศที่ตั้งอยู่บน “ฐานคิดแบบทวิภาค” หรือคู่ตรงข้ามระหว่างรักต่างเพศและรักร่วมเพศที่กลุ่มนักเคลื่อนไหวเพศหลากหลายยุคแรกใช้เพื่อเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียม ไบเซ็กชวลเป็นกลุ่มเพศชายขอบนี้ซึ่งเป็นผลมาจากความกำกวมของอัตลักษณ์ดังกล่าวที่ควบรวมรักต่างเพศและรักร่วมเพศเอาไว้ในปัจเจกเดียว ความกำกวมนี้จึงทำให้ไบเซ็กชวลถูกเลี่ยงในการประกอบสร้างทฤษฎีและวาทกรรมทางเพศแบบคู่ตรงข้ามที่ต้องการความชัดเจนเพื่อที่จะพัฒนาองค์ความรู้ทางเพศในกลุ่มตน
7. “ตั๋วร่วม เป็นไปได้หรือไม่ในประเทศไทย” โดย นางสาววิภาดา บุญเลิศ
กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีระบบขนส่งสาธารณะมากมาย แต่ปัญหาสำคัญของการใช้งานระบบขนส่งเหล่านี้คือ “ขาดการร่วมกันของระบบ” ซึ่งการขาดการร่วมกันในระบบ ไม่ได้ส่งผลแค่เพียงความสะดวกของการเดินทาง แต่ยังส่งผลต่อภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนอย่างหนัก เพราะการขาดตั๋วร่วม จึงส่งผลให้การเกิดค่าโดยสารร่วมยากขึ้น ซึ่งปัญหาสำคัญเกิดจากสัญญาสัมปทาน ที่กำหนดค่าโดยสาร รวมถึงการกำหนดระบบการบริหารจัดการของรถไฟฟ้า และการขาดหน่วยงานผู้กำกับดูแลการขนส่งทางราง
8. “Lost skill ใน ศตวรรษที่ 21 vs การเรียนการสอบบนฐาน Studio-based Learning” โดย นายพชรพล ศรีสนธิ
ปัจจุบันเกิดปัญหาและอุปสรรคกับตัวนักเรียนและครูผู้สอนในระหว่างการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และส่งผลกระทบต่อทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของเด็ก วิทยากรได้บรรยายถึงแนวการเรียนการสอนแบบ Studio-based learning และ Experiential learning เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอนแบบ Studio-based learning วิทยากรสรุปว่า การศึกษาไทยมีอนาคตแน่นอนถ้าครูและบุคลากรทางการศึกษามองเห็นอนาคต ปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกกำลังเปลี่ยนไป นักเรียนเช่นกัน ซึ่งเป็นข้อดีที่ครูจะเอาทักษะพิเศษของเด็กยุคนี้ มาเจียระไน ผ่านการจัดการเรียนการสอนที่เปิดกว้างและทำให้นักเรียนค้นพบตัวเองและเข้าใจชีวิตจริง
9. “รัฐธรรมนูญและปัญหาโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรมของสังคมไทย” โดย นายสิรวิชญ์ ทีวะกุล
ไม่ว่าเรื่องใดที่มีปัญหาในเชิงโครงสร้างและการพัฒนา ท้ายที่สุดก็จะวนมาที่ปัญหาทางรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายพื้นฐานที่สุดซึ่งวางบทบาทระหว่างรัฐและเอกชน และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน เราจึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงรัฐธรรมนูญและปัญหาทางรัฐธรรมนูญ เพื่อนำไปสู่แก้ไขปัญหาโครงสร้างพื้นฐานและนวันกรรม
ผลลัพธ์ของการจัดประชุม
การนำเสนองานของวิทยากรและนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศสในหลากหลายสาขาย่อย ทั้งสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สายวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี รวมทั้งกิจกรรม My Work in 180 seconds ทำให้นักเรียนไทยได้แลกเปลี่ยนความรู้แบ่งปันประสบการณ์แนวคิดและวิธีการศึกษาวิจัยผ่านการแสดงความคิดเห็นและถาม-ตอบ เพื่อเป็นแนวทางนำกลับไปประยุกต์ใช้ในการทำงานอย่างเหมาะสม
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2022/20220915-newsletter-brussels-no03-mar65.pdf
นานาสาระน่ารู้

แนวทางการป้องกันอีเมล outlook ของคุณให้ปลอดภัย
หากคุณเป็นผู้ที่ใช้อีเมลในการจัดการธุรกรรมออนไลน์อยู่เสมอ การรักษาความปลอดภัยของ Account ของคุณถือเป็นเรื่องจำเป็นสูงสุดต่อการปรับตัวและรับมือกับอาชกรทาง cyber จากทั่วโลกที่มีคุณเป็นเป้าหมายและพยายามจารกรรมข้อมูลของคุณอยู่เสมอ บทความนี้จะขอแนะนำการป้องกันอีเมล account ของ outlook ที่คุณสามารถจัดการได้เอง และควรตรวจสอบความปลอดภัยอยู่เสมอ เมื่อคุณเข้าสู่ microsoft account ผ่าน url: https://account.microsoft.com/ และทำการใส่รหัสผ่านของคุณจนสำเร็จ ให้คุณเลือกที่เมนู security คุณจะพบกับส่วนของ Security Basics ที่เป็นส่วนสำคัญสำหรับการดำเนินการ โดยบทความก่อนนั้นผู้เขียนได้นำเสนอการตรวจสอบ Sign-in Activity ที่ตรวจสอบการเข้าถึง account ของคุณที่ห้ามละเลย สำหรับบทความนี้จะขอเชิญชวนให้คุณดำเนินการเลือก Advance Security Options เพื่อการบริหารจัดการ Account ของคุณให้มีความปลอดภัยสูงสุด
เมื่อคุณเลือกในเมนูดังกล่าว จะพบกับการจัดการด้านข้อมูลและความปลอดภัย โดยผู้เขียนขอยกตัวอย่างรายการปรับแต่ง ดังภาพ
การปรับแต่งดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้
Enter Password เป็นการตรวจสอบ Sign-in Activity ที่คุณควรปรับแต่ง password ให้ไม่คาดเดาได้ง่ายและไม่ควรเป็นข้อมูลสาธารณะ
Email a code เป็นส่วนของการบันทึกอีเมลสำรองเพื่อการแสดงรายละเอียดต่างๆ สามารถใช้ gmail ในการสมัครส่วนนี้ได้ และควรดำเนินการให้เป็นอีเมลของคุณ เนื่องจากมี hacker หลายที่สามารถทำการแนบอีเมลของตนแทนที่อีเมลของผู้ใช้ที่เว้นว่างไว้ ทำให้การขอปรับรหัสผ่านหรือการยืนยันตัวตนสามารถส่งผ่านไปสู่อีเมลของแฮคเกอร์ได้จากส่วนนี้
Text a Code คือการบันทึกหมายเลขโทรศัพท์ของคุณสู่ระบบ แนะนำว่าควรทำเป็นอันดับแรก เป็นการรับรหัสผ่านที่ผูกกับเบอร์โทรศัพท์ของคุณที่สามารถยืนยันตัวตนในการแก้ปัญหาถูกละเมิด account ได้ในอนาคต
Send Sign-in notification คือการส่งข้อมูลการ login เข้าสู่ sig-in activity ของระบบซึ่งจำเป้นต้องดำเนินการเปิดใช้งานเพื่อรู้เท่าทัน Hacker และสามารถนำมาใช้ในการประกอบสำนวนการแสดงยืนยัน account ของผู้ใช้ต่อส่วนที่ร้องขอได้
Enter a code from an authenticator app เป็นส่วนของการเปิดใช้งาน authenticator app ที่สามารถป้องกันการจารกรรมข้อมูลได้ดี โดยคุณสามารถเปิดใช้งาน app แล้วนำเข้าสู่ระบบในหัวข้อนี้ได้ทันที
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับวิธีป้องกัน outlook account ของคุณ ที่สามารถบริหารจัดการได้ด้วยตนเอง ต้องขออภัยที่ไม่ได้นำเสนอในแต่ละหัวข้อแบบ How to เนื่องจากการดำเนินการต่างๆ จะปรับเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลาที่มีการอัพเดทระบบ การจัดการด้วยตัวคุณเองจึงสำคัญที่สุดในแต่ละหัวข้อที่ได้กล่าวมาครับ สุดท้ายนี้ทางผู้เขียนหวังว่า บทความนี้จะสร้างเสริมความปลอดภัยให้กับ account ของคุณมากยิ่งขึ้นครับ
นานาสาระน่ารู้