NFT กับความเสี่ยงในสินทรัพย์ดิจิทัล

หมายเหตุ : บทความนี้ไม่ใช่การแนะนำการลงทุน เป็นการสะท้อนสินทรัพย์ดิจทัล NFT จากข้อมูล เพื่อการนำเสนอข้อเท็จจริงต่อผู้อ่าน

กระแส NFT ในปี 2021 – 2022 เป็นสิ่งที่ใหม่และสร้างมูลค่าได้อย่างเป็นที่กล่าวถึงทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีการตื่นตัวของการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ในตลาด Crypto Currency โดยการซื้อขาย NFT มีเรื่องราวหลากหลายจากวงการเกมส์  วงการศิลปะ วงการศิลปิน ที่สร้างผลงานแล้วนำมาเข้าสู่การขายผ่าน NFT เป็นตัน โดยในบทความนี้ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างผลงานที่ชื่อว่า Crypto Punk ซึ่งเป็นผลงานรูปภาพ NFT ที่มีชื่อเสียงทั่วโลก มีราคาซื้อขายที่สูง  ซึ่งมีลักษณะดังภาพ

      ภาพดังกล่าวจัดทำเป็นไฟล์ดิจิทัล ผ่านการลงทะเบียนจัดทำเป็น NFT และเสนอขายผ่านระบบเว็บไซต์ Cryptopunk โดยแต่ละภาพ แต่ละแบบ มีมูลค่าสูงมากในปี 2021 – 2022 เช่น Cryptopunk รหัส 5822  สามารถขายได้ถึง 135 ล้านดอลล่าร์  ซึ่งไม่มีใครเคยคาดคิดว่าภาพดิจิทัลภาพเดียวทำไมถึงมีราคาแสนแพงขนาดนี้  และนั่นจึงทำให้คนทั่วโลกเริ่มสนใจ NFT อย่างกว้างขวาง และมีผู้เข้าร่วมทั้งสร้างสรรค์ผลงานและการร่วมซื้อขายทั่วโลก  และหลังจากนั้นไม่นาน ภาพด้านล่างนี้ก็เกิดขึ้นครับ

จากภาพด้านบน คุณผู้อ่านอาจตกใจกับราคาที่เกิดขึ้นกับ Cryptopunk รหัส 5822  ที่เคยซื้อขายกันหลักร้อยล้านดอลล่าร์จากปี 2021  พบว่าปลายปี  2022 ห่างไปเพียงแค่ 1 ปี มูลค่ากลับตกไปเหลือเพียง 36,049 ดอลล่าร์   ซึ่งนั่นทำให้เกิดความNFTสูญเสียทางมูลค่าอย่างมหาศาล  ทำให้เกิดบทเรียนและคำถามว่าแล้วการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล มีความเสี่ยงหรือไม่?  ทางผู้เขียนขออนุญาตไม่ลงลึกในคำตอบ แต่จะขออนุญาตสรุปแนวทางความเข้าใจในกระบวนการ NFT ดังภาพ ที่สำคัญ คุณควรเข้าใจการลงทุนในตลาดนั้นๆ ก่อนการลงทุนเสมอ

โดยสรุป บทความนี้ให้คุณเห็นความไม่แน่นอนของวงการ NFT และแนวทางการลงทุนที่คุณเอง เป็นผู้ตัดสินใจ ไม่มีอะไรผิดถูกนะครับ การวางแผนคือสิ่งที่ดีที่สุด และไม่ควรลงทุนอะไรหากคุณไม่เข้าใจในกติกาหรือตลาดนั้นๆ เพราะความเสี่ยงที่จะไม่ประสบความสำเร็จสูงมากครับ พบกันใหม่ในบทความหน้านะครับ

NFT มีมูลค่าได้อย่างไร ?

หลายท่านสงสัยว่า NFT มีมูลค่าได้อย่างไร ?
 ในบทความนี้ขออธิบายแนวทางการเกิดมูลค่าจากพื้นฐานชีวิตและหลักการตลาดง่ายๆ โดยภาพนี้ครับ

จากภาพ และข้อความดังกล่าว คุณจะเข้าใจได้ว่า การที่ภาพวาดโมนาลิซา มีราคา เกิดจากองค์ประกอบ ได้แก่

  • ศิลปิน  คือเรื่องราวของผู้สร้างที่ถูกบันทึก เล่าขาน ผ่านกาลเวลา และมีส่วนที่สร้างผลกระทบวงกว้างต่อโลก
  • ความสวยงาม  เป็นที่ประจักษ์และถูกพิสูจน์แล้วจากสายตาผู้ชมทั่วโลก
  • ระยะเวลา ของผลงานและการรักษาให้คงคุณค่าในปัจจุบัน
  • เรื่องราว  เป็นเรื่องราวของศิลปินและเรื่องราวของผลงานที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบันแต่ก็ยังคงเป็นเสน่ห์อยู่เสมอ
  • Rare คือความหายากและมีชิ้นเดียวของโลก ทำให้มีราคาสูงและประเมินค่ามิได้

จากหัวข้อดังกล่าว คุณผู้อ่านเริ่มพิจารณาเห็นข้อสำคัญหลักๆ ที่ทำให้เกิดมูลค่าหรือยังครับ ทีนี้เรามาลองพิจารณาในมุม NFT บ้าง ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?


จากภาพด้านบน เป็นงานของศิลปินไทยที่วาดภาพดิจิทัลแล้วจัดทำเป็น NFT ขายในระบบผ่าน Block Chain โดยภาพดังกล่าวมีเรื่องราวที่แฝงไปด้วยศัพท์ทาง Crypto Currency เช่น ปลาวาฬ หมายถึง ผู้ที่ถือ Bitcoin มากกว่า 100 BTC ในตลาดโลก และข้อมูลเหรียญ Crypto ต่างๆ  โดยศิลปินดังกล่าวนำเสนอผ่าน X (หรือ Twitter) สร้าง Story ทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง สามารถสร้างรายได้และมีการประมูลขายได้ดังภาพ

เมื่อมาพิจารณาดูในระบบ Block Chain ผ่าน Etherscan ซึ่งเป็นส่วนของธุรกรรม จะพบว่า มีการซื้อขายจริง และส่งถึงกันแบบเปิดเผยตามกระเป๋าเงิน crypto wallet ที่แสดงผลตาม Transcation detail  จริง จนทำให้เกิดกระแส ศิลปิน NFT ดิจิทัลขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว สิ่งที่ทำให้ภาพเกิดมูลค่า ก็ยังคงสอดคล้องกับองค์ประกอบที่คล้ายกันกับตัวอย่างที่ได้นำเสนอ  ซึ่งทำให้เกิดมูลค่าเกิดขึ้นจริง และมีการส่งผ่าน NFT สู่กันได้จริง

ดังนั้น โดยสรุปแล้ว ตัวอย่างผลงานที่ผู้เขียนได้นำเสนอมาครั้งนี้ คุณผู้อ่านจะพบองค์ประกอบของการมีมูลค่า การสร้างคุณค่า และแนวทางของการเกิดมูลค่าของสินทรัพย์ NFT ที่สอดคล้องกับกลไกตลาด จึงเป็นที่มาของคำตอบจากคำถามที่ว่า NFT มีค่าได้อย่างไร ?   ติดตามความรู้ด้าน NFT  และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องได้ในตอนต่อไปครับ

NFT คืออะไร ?

NFT คือ สินทรัพย์ดิจิทัล ย่อมาจาก  Non-Fungible Token ที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว ถูกบันทึกผู้ผลิตและเจ้าของผ่าน Smart Contract ที่ทำให้เกิดการระบุเจ้าของ (ทั้งแบบเปิดเผยและไม่เปิดเผยตัวตน)  มีความนิยมและมีมูลค่าการตลาดสูงมากในช่วงปี 2020 – 2021  ปัจจุบันตั้งแต่ปี 2022 จนถึง 2023  มูลค่าการตลาดมีความผันผวน แต่ยังคงมีโอกาสในเชิงธุรกิจจากนักลงทุนทุกภาคส่วน  สำหรับบทความนี้ขอแนะนำส่วนเริ่มของกระแส NFT และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่า อะไรคือ NFT และทำไมจึงเกิดกระแสในโลกปัจจุบัน

กระแสจากเทคโนโลยีและการประมูล
NFT เป็นกระแสเมื่อมีการใช้งาน Block Chain และการซื้อขายเหรียญหรือ Token ของ Crypto Currency ในระยะแรก จนพัฒนามาเป็นการสร้าง Token ของ NFT ที่มุ่งเน้นให้ผู้ซื้อขายสามารถระบุตัวตนของผู้ครอบครอง Token ไว้ใน Block Chain ได้ สามารถแลกเปลี่ยน Token กันได้ พร้อมทั้งมีการระบุผู้ครอบครองในรายต่างๆ ไว้อย่างครบถ้วนพร้อมราคาซื้อขายใน Block chain ดังกล่าวด้วยเช่นกัน โดยส่วนที่ทำให้เกิดกระแสสำคัญของ NFT ว่ากันว่าเกิดจากการซื้อขายประมูลภาพ Collage Digital ของ Mike Winkelmann

         

โดยภาพดังกล่าวเป็นไฟล์ดิจิทัลขนาดใหญ่ ที่ถูกร้อยเรียงการฝึกหัดวาดภาพดิจิทัลวันละ 1 ภาพของคุณ Mike เป็นจำนวนทั้งสิ้น 5 พันวัน (กว่า 13 ปี)   ซึ่งเป็นศิลปินและนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ เขาทำให้ทุกคนเห็นว่าภาพทุกภาพมีพัฒนาการ มีความตั้งใจ สามารถทำการประมูลผ่านระบบ Block chain แลtขายได้เป็นจำนวนเงินกว่า 1,900 ล้านบาท โดยการซื้อขายทำได้ทั่วโลกและจ่ายเงินเป็นเงินสกุล ETH  ซึ่งเป็นเหรียญใน Crypto Currency ที่สามารถโอนจ่ายได้อย่างรวดเร็วและเสียค่าธรรมเนียมน้อยนิด  ทำให้เกิดมิติการเปรียบเทียบในส่วนของ ราคา ธุรกรรม ความสะดวก และ Story ที่ซึ้งกินใจ นั่นคือสิ่งที่สำคัญที่ทำให้เกิดกระแส NFT ควบคู่กับ Crypto Currency ซึ่งเป็นที่เชื่อถือในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ในตอนหน้า ผู้เขียนจะพาคุณไปรู้จักกับ NFT ให้ชัดขึ้นในมุมเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและกระบวนการที่สำคัญสำหรับการเป็น NFT Creator หรือผู้สร้าง / ผู้ขาย สินทรัพย์ดิจิทัลต่อไป
หมายเหตุ : บทความนี้ไม่ใช่การชี้นำการลงทุน เป็นเพียงการนำเสนอมุมมองทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น และบทวิเคราะห์ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านเท่านั้น

วิธีการตรวจสอบการใช้ WI-FI FREE ที่ปลอดภัยสำหรับคุณ

          WI-FI ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการท่องโลกอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้งาน Smart Device และ Computer ที่ชอบการเชื่อมต่อแบบไร้สาย ยิ่งเร็วยิ่งแรงยิ่งตอบโจทย์การใช้งานในยุค 5G ที่กำลังก้าวผ่านอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญ ถ้าใช้งานฟรี จะเป็นที่ถูกตาต้องใจกับผู้ที่เข้าถึงได้อย่างไม่มีขีดจำกัด และนั่นคือประเด็นสำคัญสำหรับบทความนี้ เพราะหลายท่านเมื่อเข้าสู่พื้นที่สาธารณะ จำเป็นต้องใช้งานระบบ internet ผ่านเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือซึ่งมีการคิดค่าบริการตามการใช้งานและ package ที่กำหนดไว้ การมี WI-FI ที่เข้าถึงและใช้งานได้ฟรี จึงเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายและสงวนความเร็วอินเทอร์เน็ตไว้ใช้ยามจำเป็นได้อย่างดี จากประเด็นดังกล่าว จึงเป็นเหตุผลชั้นดีที่ อาชญากรทาง cyber หรือผู้ไม่ประสงค์ดี สามารถใช้ช่องว่างตรงนี้ สร้าง WI-FI ฟรี เพื่อให้เราตกเป็นเหยื่อได้โดยแยบยล ในรูปแบบ FAKE FREE WI-FI

       FAKE FREE WI-FI  คือการจัดทำ WI-FI ที่เกิดจากเหล่าผู้ไม่ประสงค์ดี  โดยจัดทำด้วยการปล่อย WI-FI หรือ Hot Spot จากเครื่องของตนเองในสถานที่ที่ให้บริการ FREE WI-FI แบบสาธารณะที่น่าเชื่อถือ และใช้สิ่งที่เปรียบเสมือนเหยื่อล่อให้ผู้สนใจเข้ามา connect เช่น 

  1.  การตั้งชื่อให้สอดคล้องหรือใกล้เคียงกับสถานที่หรือชื่อ WI-FI ที่มีอยู่ เช่น  ชื่อ WIFI ร้านกาแฟร้านหนึ่ง สมมติชื่อ coffeecup  มีการให้บริการ FREE WI-FI  ในร้านชื่อ coffeecup-wifi  โดยให้ผู้ใช้งานนำรหัสที่ได้จากใบเสร็จไปทำการ login เพื่อใช้งาน ผู้ไม่ประสงค์ดีจะทำการสร้างชื่อของ WI-FI ให้สอดคล้องหรือใกล้เคียง เช่น coffeecup-wifi-free  , @coffeecup-free-connect  หรือที่นิยมมากที่สุดคือใส่ . หน้าชื่อ WIFI ปลอมที่ตั้งให้เหมือนจริง เช่น  .coffeecup-wifi ซึ่งใกล้เคียงกับ coffeecup-wifi มากๆ  ทำให้ผู้หลงเชื่อทำการ connect แล้วอาจจะถูกถาม เบอร์โทรศัพท์ หรือทำการ Redirect เปลี่ยนหน้าระบบให้ไปติดตั้งโปรแกรมบางอย่าง , ดึงข้อมูลรหัสผ่าน จากการใช้งานของคุณได้ทันที
  2. การตั้งชื่อเชิญชวนหรือจงใจ  ยกตัวอย่างต่อเนื่องจากด้านบน เช่น ชื่อจริงคือ coffeecup-wifi ผู้ไม่ประสงค์ดีจะเปลี่ยนให้เป็น freecoffee-here , free-wifi-1-hour , unlimited-wifi-for-shop  เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งจะเร่งเร้าให้ผู้ใช้งานเกิดความต้องการอยากเข้าถึง โดยไม่สนใจความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
  3. การจงใจตั้งชื่อจริงเพื่อให้ผู้ใช้เลือกผิด  โดยผู้ไม่ประสงค์ดีจะเจตนาใช้ชื่อเดียวกับ Official FREE WI-FI  ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบอย่างมากทั้งผู้ใช้งานและผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง ซึ่งจุดนี้ ทางผู้ดูแลสถานที่ , ผู้ให้บริการ ควรตรวจสอบอยู่เสมอ

      การป้องกันตนเองจากการใช้ FREE-WI-FI ในที่สาธารณะ

  1.  ตรวจสอบการใช้งานและชื่อของ WI-FI ให้ถูกต้องก่อนการ connect เสมอ
  2. หากไม่จำเป็น อย่าใช้งาน App หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ การเงิน , สุขภาพ หรือข้อมูลสำคัญที่มีความเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรม
  3. อย่าเปิด Auto Connect สำหรับการใช้งาน WI-FI ในที่สาธารณะ เพราะอาจเป็นการละเลยการตรวจสอบการใช้งานของคุณได้
  4. หากเป็นไปได้ “ใช้อินเทอร์เน็ตของตนเองจากเครือข่ายมือถือ” ปลอดภัยกว่าการใช้ WI-FI สาธารณะที่คุณอาจมีความเสี่ยงหากไม่ทำการตรวจสอบอย่างรอบคอบ
    บทสรุป  ที่กล่าวมาขั้นต้นเป็นแนวทางการป้องกันตนเองของเราให้ห่างไกลจากการถูกจารกรรมข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะการใช้ WI-FI ที่มีความจำเป็นต่อการจัดการสื่อข้อมูลที่เราสนใจอย่างหลากหลาย  โดยในความเป็นจริงแล้วนั้น การโจมตีส่วนของ WI-FI ของผู้ไม่ประสงค์ดี สามารถทำได้มากกว่าที่ทางผู้เขียนได้กล่าวมาอีกมากมายหลายแบบ  บทความนี้จึงอยากขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงการป้องกันตนเองในยุคดิจิทัล และสามารถส่งผ่านความปลอดภัยสู่คนที่คุณรักด้วยการส่งต่อข้อมูลดีๆ ในด้านความปลอดภัยนี้ไปด้วยกันครับ

วิธีตรวจสอบการให้สิทธิ์ App ในมือถือ เพื่อความปลอดภัยของเรา

    เคยสงสัยกันหรือไม่ครับว่า เรามักจะได้รับเบอร์แปลกๆ หรือข้อมูลแปลกๆ จากคนที่ไม่รู้จัก ส่งข้อความ sms  หรือโทรมายังเบอร์ของเราโดยตรง ทั้งๆ ที่ไม่ใช่เพื่อนหรือมีความจำเป็นที่ต้องติดต่อสื่อสารกัน  หลายคนก็อาจเพ่งเล็งไปในเรื่องของการเปิดเผยข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เราได้เคยสมัครไว้ เช่น ตามแหล่งข้อมูลราชการ ธนาคาร บริษัท ห้างร้าน หรือ ร้านค้า เป็นต้น ซึ่งก็เป็นส่วนที่เราได้เข้าใจในมุมมองผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงและตั้งข้อสันนิษฐานดังกล่าวไว้ ซึ่งอาจจะไม่ใช่เรื่องจริงก็ได้ใช่ไหมครับ เนื่องจากปัจจุบันหลายผู้ให้บริการ โดยเฉพาะภาคส่วนราชการ หรือภาคส่วนทางธุรกิจ ต่างก็ต้องดำเนินการตาม พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และต้องเคารพในการป้องกันข้อมูลของผู้ใช้งานเป็นที่ตั้ง เนื่องจากมีความผิดในด้านกฏหมายมาเกี่ยวข้อง  สำหรับบทความนี้ ทางผู้เขียนอยากจะชวนทุกท่านนำข้อสงสัยดังกล่าวมาตั้งคำถามใกล้ตัวว่า “App ในมือถือของเรา ปลอดภัยพอ และตั้งค่าการให้สิทธิ์ที่ปลอดภัยต่อชีวิต ดีพอหรือยัง ?”    
     เคยไหมครับ พอลง App บางอย่าง กลับพบว่า ถูกเบอร์ลึกลับโทรมาเสนออะไรมากมายหลายเบอร์  นั่นคือประเด็นหนึ่งที่หลายท่านอาจไม่เคยตั้งข้อสังเกต หลาย App เมื่อติดตั้ง มีการสอบถาม Permission การขออนุญาตการเข้าถึง โดยเฉพาะการขออนุญาตเข้าถึง Contact หรือรายชื่อผู้ติดต่อ  เมื่อคุณกด Allow อนุญาตไปแล้ว หมายความว่า “ข้อมูล Contact ทั้งหมดของคุณ สามารถถูกเข้าถึงได้บน App เรียบร้อยแล้ว”  และข้อมูลของคุณ ผู้ติดต่อ เบอร์โทรต่างๆ ของคุณจะถูกเข้าถึงได้ทันที  นั่นคือเหตุผลสำคัญว่า นี่อาจเป็นส่วนหนึ่งที่คุณถูกนำข้อมูลไปใช้โดยการยินยอมของคุณเองเรียบร้อยแล้ว
      ดังนั้น เราควรมาตรวจสอบ และจัดการสิทธิ์ของ App ผ่านเมนู Permission ของเครื่องโทรศัพท์มือถือของคุณกันครับ โดยบทความนี้จะนำเสนอส่วนของโทรศัพท์มือถือระบบ Android เป็นตัวอย่างครับ ดังนี้

1.  เข้าสู่เมนู setting แล้วพิมพ์ค้นหาคำว่า Permissions เพื่อการเข้าสู่เมนูการตั้งค่าจัดการสิทธิ์ของระบบ

2.  เข้าสู่เมนู Permissions

3. ระบบจะแสดงส่วนของการอนุญาตของ App ในระบบกับจำนวน App ที่มี อย่างภาพที่แสดงนี้ คุณจะพบว่า มีการให้สิทธิ์การเข้าถึง Contact มากถึง 11 App จาก 56 App ที่ถูกติดตั้ง  และหากพิจารณาดีๆ คุณจะพบว่า “มีส่วนการขออนุญาตการเข้าถึงไฟล์ของระบบ การเข้าถึงกล้อง และอื่นๆ ที่คุณควรตั้งข้อสังเกตว่า…..บาง App ทำไมต้องขออนุญาตเข้าถึง ทั้งๆ ที่ App นั้นไม่จำเป็นต้องใช้งานส่วนนั้น ? ” 

4. เข้าสู่เมนู Contacts คุณจะพบรายชื่อของ App ที่เรียกใช้งาน Contact ของคุณ ตรวจสอบให้แน่ใจครับว่า App แปลกๆ ที่คุณติดตั้ง มีการใช้งาน Contact หรือขอใช้งานส่วนอื่นๆ นอกเหนือความจำเป็นของ App หรือไม่

5. ยกตัวอย่างสมมติเป็น Line App ให้เลือกที่ไอคอนของ App ที่ปรากฏในข้อ 4 แล้วทำการเลือกอนุญาต Allow หรือ ไม่อนุญาต Don’t Allow เพื่อให้การจัดการสิทธิ์นั้น เป็นไปตามที่คุณพิจารณาครับ

      บทสรุป   บางครั้งการติดตั้ง App ลงบนเครื่องโทรศัพท์ของผู้ใช้งานอาจเป็นช่องทางการถูกเปิดเผยข้อมูลอย่างดีจาก App ที่ไม่ได้มาตรฐานหรือถูกติดตั้งมาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ  การพิจารณาใช้งาน App จึงเป็นปัจจัยใกล้ตัวสำคัญที่จะทำให้คุณสามารถป้องกันการถูกจารกรรมข้อมูลได้ อย่าลืมตรวจสอบการเข้าถึงต่างๆ จาก App และการอนุญาตของคุณอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตในยุคดิจิทัลที่เราต้องรู้เท่าทันและมีภูมิคุ้มกันทาง Cyber อยู่ในระดับที่สามารถป้องกันตัวเองได้ครับ

แนวทางการป้องกันอีเมล outlook ของคุณให้ปลอดภัย

       หากคุณเป็นผู้ที่ใช้อีเมลในการจัดการธุรกรรมออนไลน์อยู่เสมอ การรักษาความปลอดภัยของ Account ของคุณถือเป็นเรื่องจำเป็นสูงสุดต่อการปรับตัวและรับมือกับอาชกรทาง cyber จากทั่วโลกที่มีคุณเป็นเป้าหมายและพยายามจารกรรมข้อมูลของคุณอยู่เสมอ บทความนี้จะขอแนะนำการป้องกันอีเมล account ของ outlook ที่คุณสามารถจัดการได้เอง และควรตรวจสอบความปลอดภัยอยู่เสมอ

       เมื่อคุณเข้าสู่ microsoft account ผ่าน url:  https://account.microsoft.com/  และทำการใส่รหัสผ่านของคุณจนสำเร็จ ให้คุณเลือกที่เมนู security คุณจะพบกับส่วนของ Security Basics ที่เป็นส่วนสำคัญสำหรับการดำเนินการ โดยบทความก่อนนั้นผู้เขียนได้นำเสนอการตรวจสอบ Sign-in Activity ที่ตรวจสอบการเข้าถึง account ของคุณที่ห้ามละเลย สำหรับบทความนี้จะขอเชิญชวนให้คุณดำเนินการเลือก Advance Security Options เพื่อการบริหารจัดการ Account ของคุณให้มีความปลอดภัยสูงสุด

เมื่อคุณเลือกในเมนูดังกล่าว จะพบกับการจัดการด้านข้อมูลและความปลอดภัย โดยผู้เขียนขอยกตัวอย่างรายการปรับแต่ง ดังภาพ

การปรับแต่งดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้

  • Enter Password  เป็นการตรวจสอบ Sign-in Activity ที่คุณควรปรับแต่ง password ให้ไม่คาดเดาได้ง่ายและไม่ควรเป็นข้อมูลสาธารณะ
  • Email a code เป็นส่วนของการบันทึกอีเมลสำรองเพื่อการแสดงรายละเอียดต่างๆ สามารถใช้ gmail ในการสมัครส่วนนี้ได้ และควรดำเนินการให้เป็นอีเมลของคุณ เนื่องจากมี hacker หลายที่สามารถทำการแนบอีเมลของตนแทนที่อีเมลของผู้ใช้ที่เว้นว่างไว้ ทำให้การขอปรับรหัสผ่านหรือการยืนยันตัวตนสามารถส่งผ่านไปสู่อีเมลของแฮคเกอร์ได้จากส่วนนี้
  • Text a Code  คือการบันทึกหมายเลขโทรศัพท์ของคุณสู่ระบบ แนะนำว่าควรทำเป็นอันดับแรก เป็นการรับรหัสผ่านที่ผูกกับเบอร์โทรศัพท์ของคุณที่สามารถยืนยันตัวตนในการแก้ปัญหาถูกละเมิด account ได้ในอนาคต
  • Send Sign-in notification  คือการส่งข้อมูลการ login เข้าสู่ sig-in activity ของระบบซึ่งจำเป้นต้องดำเนินการเปิดใช้งานเพื่อรู้เท่าทัน Hacker และสามารถนำมาใช้ในการประกอบสำนวนการแสดงยืนยัน account ของผู้ใช้ต่อส่วนที่ร้องขอได้
  • Enter a code from an authenticator app เป็นส่วนของการเปิดใช้งาน authenticator app ที่สามารถป้องกันการจารกรรมข้อมูลได้ดี โดยคุณสามารถเปิดใช้งาน app แล้วนำเข้าสู่ระบบในหัวข้อนี้ได้ทันที

        เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับวิธีป้องกัน outlook account ของคุณ ที่สามารถบริหารจัดการได้ด้วยตนเอง ต้องขออภัยที่ไม่ได้นำเสนอในแต่ละหัวข้อแบบ How to  เนื่องจากการดำเนินการต่างๆ จะปรับเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลาที่มีการอัพเดทระบบ  การจัดการด้วยตัวคุณเองจึงสำคัญที่สุดในแต่ละหัวข้อที่ได้กล่าวมาครับ สุดท้ายนี้ทางผู้เขียนหวังว่า บทความนี้จะสร้างเสริมความปลอดภัยให้กับ account ของคุณมากยิ่งขึ้นครับ

การตรวจสอบว่าคุณโดนลงชื่อใช้อีเมล outlook โดยผู้อื่นหรือไม่ ?

             คุณรู้หรือไม่ว่า การใช้งานอีเมลของคุณนั้นกำลังโดนพยายามเจาะการเข้าถึงรหัสผ่านอยู่ในทุกเวลา โดยที่คุณไม่รู้ตัว หรืออาจจะเสียข้อมูล account ไปโดยถาวร
“รู้ตรวจสอบก่อน  รู้ป้องกันก่อน  ดีกว่าการแก้ปัญหาในภายหลัง”

บทความนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการตรวจสอบกันว่าจะตรวจสอบอย่างไรในด้านการใช้งาน outlook อีเมล รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาในการจัดการความปลอดภัยของบัญชีอีเมลของคุณ

สำหรับผู้ใช้งาน outlook.com คุณควรหมั่นตรวจสอบ Sign-in Activity อยู่เสมอ ซึ่งส่วนนี้จะเป็นส่วนที่แสดงรายการเข้าถึงระบบของอีเมลทั้งหมดของคุณ สามารถเข้าถึงได้ผ่าน url   https://account.microsoft.com/ และใส่ข้อมูลรหัสผ่านของคุณให้เรียบร้อย  แล้วเข้าสู่ส่วนของเมนู security คุณจะพบกับหน้าจอแสดงการใช้งานด้าน Security Basics ซึ่งมีความสำคัญมากในการรักษา account ของคุณ

ลำดับถัดมา ให้เลือก Sign-in activity คุณจะพบว่า หน้าจอ Recent Activity ปรากฏขึ้น ซึ่งพิจารณาแล้วไม่เห็นมีอะไรน่าแปลกใจใช่ไหมครับ แต่หากพิจารณาดีๆ แล้วนั้น คุณจะพบว่า คอลัมน์สุดท้าย มีนานาประเทศ กำลังพยายามเข้าสู่อีเมลของคุณ !!  มีทั้ง india Colombia แถมยังใช้เวลาห่างกันไม่กี่ชั่วโมงหรือกี่นาที แบบนี้ดูน่าตกใจหรือไม่ ?

เมื่อคุณ Click ในแต่ละข้อมูลที่แปลกๆ เหล่านั้น คุณจะพบรายการกิจกรรมที่น่าตกใจ เช่นภาพด้านล่าง มีการพยายามเข้าถึงอีเมลดังกล่าวจากประเทศอินเดีย มีการพยายาม Sync Account ผ่าน IP ที่ปกปิดตัวตน และการพยายามดักข้อมูลของคุณจากปลายทางต่างๆ ที่เหล่า Hacker พยายามโจมตีหรือดักจัดการข้อมูลของคุณอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ดูแล้วอาจไกลตัวสำหรับคุณ แต่เป็นเรื่องที่อันตรายใกล้ตัวมากสำหรับคุณเช่นกันครับ

มีหลายคนที่เสีย Account ของอีเมลให้กับเหล่า Hacker แล้วสูญเสียทั้งข้อมูล Social Account , ข้อมูลความลับส่วนบุคคล หรืออาจจะมีผลถึงความปลอดภัยในการใช้ชีวิตที่ยากจะคาดเดาได้ ดังนั้น ในบทความนี้จึงอยากเชิญชวนผู้อ่านทุกท่านตรวจสอบกิจกรรมการเข้าถึงดังกล่าว แล้วมาดำเนินการป้องกันครับ

       แนวทางการป้องกันเบื้องต้น

       บทความนี้จะขอแนะนำการป้องกันเบื้องต้นที่คุณสามารถทำได้เองง่ายๆ  โดยทำได้ดังนี้ครับ

  1. เปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยๆ โดยควรเป็นรหัสผ่านที่มีตัวเลขผสมตัวอักษรและอักขระพิเศษ
  2. อย่าตั้งรหัสผ่านเป็นชื่อที่คาดเดาง่าย เช่น ชื่อเพลง ชื่อหนัง หรือชื่อเล่น
  3. ตั้งค่าความปลอดภัยแบบ 2 ชั้น หรือ 2FA  หรือแจ้งเตือนเมื่อต้องเข้าสู่ระบบผ่านเบอร์โทรศัพท์ (มีในบทความถัดไป)
  4. อย่าเข้าเว็บไซต์ที่เสนอการ click แปลกๆ หรือส่ง link มาเพื่อให้เปิดเผยข้อมูลอีเมล เพื่อรับรางวัลบางอย่าง
  5. อย่า save password ในเว็บไซต์สาธารณะหรือเครื่องสาธารณะ
  6. สำหรับการตั้งค่า Outlook แบบ advance สามารถเลือกที่ link secure your account ที่ปรากฏในระบบเพื่อพิจารณาแนวทางการป้องกันของคุณได้อย่างหลากหลาย

หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้แนวทางการตรวจสอบและป้องกันระบบเบื้องต้นเพื่อความปลอดภัยของคุณในปัจจุบันและอนาคต สำหรับการป้องกันอีเมลหรือ account ในระดับขั้นสูง ทางผู้เขียนจะได้นำเสนอในบทความต่อไป เพื่อการป้องกันตนเองจากการบุกรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพที่มากขึ้นครับ ขอให้คุณปลอดภัยจากการถูกคุกคามทาง cyber จากผู้ไม่ประสงค์ดี อย่าลืมนะครับ ป้องกันไว้ก่อน ดีกว่าการแก้ป้ญหาที่อาจจะมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงครับ

การใช้รูปฟรีบน Pixabay ใช้แบบไหนถึงจะฟรี ?

มีคำถามมาตลอดกับเว็บไซต์ที่ให้ใช้รูปฟรี ว่าฟรีจริงหรือไม่อย่างไร โดยเฉพาะเว็บไซตฺ์  Pixabay.com  ในวันนี้ทางผู้เขียนจึงขอ Shortcut มาให้เห็นความแตกต่างการใช้ภาพฟรีแบบไม่มีเงื่อนไขและมีเงื่อนไข ต่างกันอย่างไร ด้วยภาพสองภาพนี้คัรบ

  1. ใช้งานได้ฟรีแบบไม่มีลิขสิทธิ์   หมายถึง คุณนำไปใช้งานได้ฟรีทั้งทำวีดีโอ ภาพนิ่ง หรืออื่นๆ ได้จริงครับ แต่ !! ห้ามนำไปไว้ในเว็บไซต์เพื่อปล่อยฟรีต่อ เพราะเป็นการละเมิดจากเจ้าของที่ส่วนมาก มักจะห้ามให้คุณนำไปปล่อยให้ download ต่อ  ข้อนี้สำคัญมากครับ  งานภาพหรือสื่อที่ให้ใช้ฟรีส่วนมาก จะถูกกำหนดแบบนี้ครับ “สำหรับใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ฟรี ไม่มีลักษณะที่ต้องการ”ผู้เขียนเคยนำภาพลักษณะนี้ประมาณ 10-20 ภาพไปทำสไลด์นำเสนอใน youtube ก็พบว่าไม่มีการถูกร้องเรียนด้านลิขสิทธิ์แต่อย่างใด จึงมั่นใจได้ในระดับหนึ่งครับ  แต่ !!!  หากเป็นงานในระดับองค์กรหรือระดับที่มีความเสี่ยงที่จะโดนฟ้องร้องสูงอันเนื่องมาจากมีมูลค่าสูงในการจัดทำงานนั้น คุณควร check ให้แน่ใจว่า ผู้สร้างสรรค์ผลงาน มี profile จริงและเป็นเจ้าของภาพนี้จริงแล้วจึงค่อยนำมาใช้งานนะครับ เนื่องจากมีบ่อยครั้งที่นักสร้างสรรค์ผู้ให้ภาพฟรีเล่านี้ เป็นนัก copy มาจากของฟรีที่อื่น แล้วอวตารมาสร้างตัวตนในเว็บอื่นๆ ครับ (ซับซ้อนแต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง)
  2. ใช้งานได้ฟรีแต่ต้องตามแบบที่ผู้สร้างกำหนดเท่านั้น  เช่นภาพ นักเรียน นี้ครับเป็นของคุณ sasin ที่ให้ใช้ฟรีและสวยงามมากครับ แต่ต้องเป็นการใช้งาน ด้านบทความข่าวเท่านั้น !!หากคุณนำไปใช้เพื่อการพาณิชย์  เช่น เอาไปทำปกหนังสือ เอาไปทำภาพขายเชิงพาณิชย์ ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการใช้งานที่เกี่ยวข้อง ก็อาจจะไม่ตรงกับเงื่อนไขของผู้ให้ใช้งานได้ครับ ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของเจ้าของผลงานว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป  โดยภาพประกอบของคุณ sasin นี้เรานำมาไว้เพื่อเป็นภาพประกอบของบทความข่าวนานาสาระน่ารู้ จึงเข้ากับเงื่อนไขในการนำเสนอนี้ได้ครับ
  3. การใช้ฟรีแบบเงื่อนไขอื่นๆ   ยังมีอีกหลากหลายการใช้งานที่มีคำว่าฟรีครับ เช่น ใช้งานได้แต่ต้องให้เครดิตและใส่ link ให้เครดิตด้วย เป็นต้น

ดังนั้น การจะนำภาพที่บอกว่า ฟรี จากเว็บไซต์ที่บอกว่าให้ใช้ฟรี คุณควรศึกษาว่า ฟรี อย่างไร ด้วยเงื่อนไขอะไร ก่อนการตัดสินใจนำไปใช้นะครับ เนื่องจากเมื่อใช้ไปแล้วอาจมีผลกับการใช้งานได้ จึงขอฝากไว้เป็นข้อมูลให้กับทุกท่านเพื่อพิจารณาและเลือกใช้งานได้อย่างถูกต้องครับ

การรับมือการยั่วยุทาง message จากมิจฉาชีพ

คุณจะรู้สึกอย่างไร เมื่ออยู่ดีๆ Facebook Messenger ของคุณ ปรากฏ Message จากผู้ที่ไม่รู้จักด้วยคำพูดลักษณะนี้?

เบื้องต้น ร้อยละ 80 มักจะโทรกลับไปเพื่อสอบถาม เพราะคนที่อยู่ในรายชื่อที่ถูกแอบอ้างมักจะเป็นเพื่อนของคุณที่อยู่ใน Facebook และมีสถานะเป็นพี่น้อง เพื่อน แฟน เป็นต้น   เมื่อคุณพลาดโทรไป คุณมักจะพบการกล่าวอ้างปลายทางว่าเป็นตำรวจ เป็นผู้มีอิทธิพล หรือเป็นอะไรต่างๆ นาๆ ที่คุณก็ไม่อยากรู้ แต่คุณอยากรู้ว่า ทำไมคุณถึงโดนติดต่อและชื่อไปปรากฏได้อย่างไร ทีนี้ก็จะเข้าทางมิจฉาชีพครับ เพราะจะมีขบวนการต่างๆ นาๆ ที่จะหว่านล้อมให้คุณ งง และอาจจะเผลออยากปิดคดี โดยโอนเงินหลักพัน หลักหมื่นแบบไม่รู้ตัว   (เพราะมิจฉาชีพรู้ข้อมูลคุณเองมากกว่าตัวคุณหรือมีกระบวนการบางอย่างที่ทำให้คุณกลัว)  รู้ตัวอีกทีคุณก็เสียเงินไปแล้วครับ และเบอร์นี้ก็หายสาปสูญไปจากชีวิตคุณพร้อม Facebook Account นี้   ดังนั้น บทความนี้จึงอยากมาสร้างทางออกให้กับคุณ เมื่อเจอเหตุการณ์แบบนี้  คุณควรทำแบบนี้ครับ

  1.  อย่าติดต่อหรือ click link ไปยังต้นตอของ message ให้ติดต่อคนที่ถูกกล่าวอ้างก่อน ถ้าคนนั้นสำคัญกับคุณ เพื่อยืนยันข้อมูลนั้น
  2. ถ้าไม่เกี่ยวกับคุณใดๆ โดยสิ้นเชิง ให้ Block แล้วไม่ต้องสนใจนะครับ เพราะนี่คือมิจฉาชีพที่กำลังหาเหยื่อแบบหว่านแห
  3. คุณควรตั้งค่าความปลอดภัยของบัญชี facebook ของคุณ โดยไม่ให้ Add เพื่อนแบบอัตโนมัติ เนื่องจากมิจฉาชีพจะรู้ข้อมูลคุณได้ก่อน และจะศึกษาเพื่อหาวิธีการแยบยลจากข้อมูลที่คุณเปิดเผย
  4. อย่าเปิดเผยข้อมูลทางด้านการเงินหรือข้อมูลที่มีความเสี่ยงกับการเข้าถึงตัวคุณได้ เพราะจะเป็นเป้าหมายที่ดีต่อไปของมิจฉาชีพครับ
  5. อย่าวางใจ Message ที่เข้ามาครับ เพราะแม้จะเป็น account จริงจากเพื่อนของคุณ แต่ก็อาจจะถูกสวมรอยบัญชีการใช้งานได้ คุณต้องตรวจสอบโดยตรงจากคนเหล่านั้น

ฟังดูเหมือนจะไม่ยากใช่ไหมครับ มุมมองของมิจฉาชีพในปัจจุบันล้ำไปมาก ใช้เทคโนโลยีเพื่อการล่าเหยื่อได้ง่ายมากขึ้นจากการเข้าถึงข้อมูลของเหยื่อที่เผยแพร่ด้วยเหยื่อเอง ดังนั้น บทความนี้จึงอยากจะนำเสนอกรณีศึกษาและแนวทางในการป้องกันปัญหานี้ครับ เพื่อให้คุณรู้เท่าทันและไม่ตกเป็นเหยื่อกับอาชกรดิจิทัลครับ ขอให้คุณปลอดภัยและมีความสุขครับ

 

สอนลูกให้รู้เท่าทันการโกงในโลกออนไลน์ยุคดิจิทัล

หลายเดือนก่อนผู้เขียนได้รับข่าวจากเพื่อนว่า ลูกชายอายุ 14 ปีถูกโกงเงินจากการเล่นเกมส์ ผ่านการซื้อขาย ID game  ออนไลน์  (id game คือชื่อและรหัสผ่านของเกมส์นั้นซึ่งมีระดับสูง ผู้เล่นหน้าใหม่ชอบซื้อเพื่อทำให้เก่งขึ้นแบบทางลัด)  ซึ่งลูกชายต้องจ่ายเงินไปก่อนเพื่อแลกกับการให้รหัสผ่านของ ID นั้น สุดท้ายเมื่อโอนเงินออนไลน์ไป พบว่า ไม่สามารถติดต่อกับผู้ขายได้อีกเลย !!! ใช่ครับ ถูกโกงจากมิจฉาชีพแล้ว  ทีนี้พ่อแม่ก็เพิ่งจะมารู้ สอบถามว่าควรทำอย่างไร ในเบื้องต้นทุกคนก็ทราบครับว่าควรแจ้งความดำเนินคดี (ไม่ใช่ลงบันทึกประจำวัน) แล้วไปติดต่อธนาคารเพื่อขออาญัติบัญชี และไม่ให้ผู้ร้ายทำธุรกรรมใดๆ ได้อีก  แต่ผลสุดท้าย คดีนี้ก็ยังไม่คืบหน้า เพราะ “มิจฉาชีพ ทำกันเป็นขบวนการ” ดังนั้น บทความนี้ ผู้เขียนจึงอยากสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้อ่านทุกท่าน ตรวจตราบุตรหลานหรือคนที่คุณรักว่า จะป้องกันอย่างไรไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ ถึงแม้จะไม่ได้เป็นวิธีการที่ดีและปลอดภัยที่สุด  แต่ก็ไม่เสียหายหากจะลองพิจารณากันดูครับ วิธีการมีดังนี้

  1. ห้ามให้บัตรเครดิตหรือบัญชีใดๆ ของคุณหรือคนที่คุณรักไว้ในเกมส์หรือระบบนั้นๆ เพราะง่ายต่อการถูกจารกรรมหรือใช้จ่ายจากการอยากได้สิ่งของในเกมส์นั้นๆ
  2.  เข้าใจ ใส่ใจ กับคนสำคัญของคุณว่า เล่นเกมส์หรืออยู่ในบริบทเสี่ยงใดบ้างกับเกมส์นั้นๆ  โดยสอบถามหรือศึกษากิจกรรมการเล่นของคนที่คุณรัก
  3. คุณต้องทำการบ้านศึกษาว่า เกมส์เหล่านั้น มีช่องทางแชท หรืออื่นๆ ที่นำพาไปสู่การต้องจ่ายเงินซื้อ item หรือของในเกมส์หรือไม่ด้วย
  4. หาเวลาเปิดใจลองเล่นกับเขา ฟังคนสำคัญคุณพูดเรื่องเกมส์เหล่านั้น แล้วสร้างกติกาเรื่องเวลา เพื่อรับรู้กันและกัน ดึงเวลาจากเกมส์ให้น้อยลง อย่าใช้อารมณ์หรือแสดงความโกรธต่อกัน
  5. เกมส์ที่ต้องจ่ายเงินส่วนใหญ่เป็นเกมส์ที่ต้องซื้อ ITEM หรือ SKIN ต่างๆ ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีกิจกรรมแจกฟรี คุณควรให้แรงเสริมในการให้เขาเล่นแบบไม่ต้องเสียเงินว่าท้าทายกว่ามาก
  6. ให้ความเข้าใจในเรื่องการโกงออนไลน์ หาข่าวสารหรือข้อมูลให้ได้รับทราบร่วมกัน โดยพูดคุยกันตอนที่ไม่เล่นเกมส์ จะทำให้คนที่คุณรักรับฟังได้ดีกว่าพูดตอนเล่นเกมส์
  7. เกมส์ไม่ใช่เรื่องผิด การแบ่งเวลา การเข้าใจ การสร้างความรับรู้ร่วมกันทั้งการเล่น การทำกิจกรรม เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ชีวิตเกิดความสมดุลย์
  8. ให้เวลากับคนที่คุณรักให้มากขึ้น เขาจะลดเวลาจากเกมส์มาคุยกับคุณมากขึ้น โดยที่คุณต้องไม่ใช้อารมณ์เป็นตัวตั้ง ให้ใช้สัมผัส กอด และความรักเป็นสัมผัสนำ

เมื่อคุณอ่านทั้ง 8 ข้อนี้แล้ว คุณอาจหัวเราะในใจว่าเป็นเรื่องตลกที่ไม่มีอะไรมารองรับทฤษฏีของการป้องกันการโกงให้เกิดขึ้นได้  แต่แท้จริงแล้ว ความสำคัญคือการใส่ใจคนที่เรารัก สื่อสารกันให้มาก  แบ่งเวลากันให้ได้ ด้วยการป้องกันที่มาจากรักของคุณและคนที่คุณรัก นี่คือสิ่งสำคัญที่สุดครับที่ทางผู้เขียนอยากอธิบายให้เริ่มทำกันก่อน ดีกว่ามาแก้ปัญหาทีหลัง  และหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับการดำเนินชีวิตในยุคดิจิทัลนี้ของคุณต่อไปครับ