จังหวะเวลาการพัฒนาของ สวทช. ในบริบทโลก
จังหวะเวลาการพัฒนาของ สวทช. ในบริบทโลก
(NSTDA Development Timeline in The World Context)

ช่วงทศวรรษที่ 1 ของ สวทช. (พ.ศ. 2534–2542) ในทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองระดับโลก เกิดการล่มสลายของสหภาพโซเวียต, วิกฤตต้มยำกุ้ง, ไข้หวัดนก และ Y2K, มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ระดับโลกมากมาย เช่น การกำเนิดขึ้นของเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW), สมาร์ตโฟน, บลูทูธ, USB และ QR Code รวมทั้งคอมพิวเตอร์ Deep Blue และแกะโคลนนิ่งดอลลี่, เกิดบริษัทรุ่นแรกๆ ซิลิคอนแวลลีย์ ทั้ง Yahoo!, Amazon และ Google มีโครงการระดับนานาชาติสำคัญคือ โครงการจีโนม โดยประเทศไทยเข้าร่วมโครงการจีโนมข้าว ขณะสหรัฐและรัสเซียและอีกหลายชาติร่วมมือกันสร้างสถานีอวกาศนานาชาติที่ยังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

สำหรับประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย นอกจากการถือกำเนิดของ สวทช. แล้ว ยังมีหน่วยงานอื่น ๆ อีกมากมายเกิดขึ้นด้วย เช่น สกว., Internet Thailand, สซ., สบทร., อพวช. ฯลฯ ไทยมีดาวเทียมดวงแรก (ดาวเทียมไทยคม), สวทช. เริ่มมีผลงานที่สร้างผลกระทบสูงทางเศรษฐกิจและเข้าถึงคนจำนวนมาก เช่น เทคโนโลยีตรวจโรคกุ้ง, พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ Lexitron, BRT และแหนมไบโอเทค ฯลฯ, มีแผนสร้างกำลังคนผ่านการให้ทุนและการสร้างความร่วมมือทำวิจัยทั้ง JSTP และ TGIST และมีการตั้งหน่วยงานย่อยใน สวทช. เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรม เช่น Software Park, TMEC, PTEC, ThaiCERT, DNATEC 

Establishment พ.ศ. 2534-2540

Previous
Next

Acceleration พ.ศ. 2541-2546

Previous
Next

Networking พ.ศ. 2547-2552

Previous
Next

Commercialization พ.ศ. 2553-2558

Previous
Next

Beyond Limits พ.ศ. 2559-2564

Previous
Next