28 มีนาคม 2567

CBAM: การปรับตัวและเตรียมความพร้อมของไทย มุ่งสู่โอกาสทางธุรกิจ

CBAM: Adaptation and Preparation of Thailand for Business Opportunities

วิทยากร
  • รศ.ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์
  • ดร. จิตติ มังคละศิริ
  • นางสาววรพักตร์ ฐิตะดิลก
  • นายชาลี ขันศิริ
  • นางสาวพวงพันธ์ ศรีทอง
  • นายสมศักดิ์ พิฆเนศวร

 

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) หรือภาวะโลกร้อน (global warming) ก่อให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างในระดับโลก ส่งผลให้สภาพอากาศและสมดุลทางธรรมชาติแปรปรวน และในหลายกรณีเป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิต จึงเป็นประเด็นที่สร้างความกังวลและถือเป็นหนึ่งความท้าทายอันยิ่งใหญ่ของโลกในปัจจุบัน  ประชาคมโลกจึงให้ความสำคัญ เกิดความตื่นตัว และมุ่งมั่นในการบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนมีเป้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน กลไกสำคัญอย่างหนึ่งคือการที่ประเทศต่าง ๆ ได้สร้างความร่วมมือและออกมาตรการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

สหภาพยุโรป (EU) ได้ออกมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Cross Border Adjustment Mechanism: CBAM) ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการ carbon pricing scheme ของแผนการปฏิบัติรูปสีเขียว (European Green Deal) ภายใต้ร่างกฎหมาย Fit for 55 Package ที่ส่งเสริมการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติแก่ประเทศภาคีสมาชิก มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) มีเป้าหมายร่วมกันลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงถึงร้อยละ 55 ในปี พ.ศ. 2573 และเพื่อบรรลุเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี พ.ศ. 2593 ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะเป็นการจัดเก็บเงินสำหรับสินค้านำเข้าที่มีการปล่อยคาร์บอนสูง โดยอุตสาหกรรมเป้าหมายของ CBAM ในระยะแรกครอบคลุมกลุ่มอุตสาหกรรม ทั้งหมด 6 กลุ่ม ประกอบด้วย ซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า ไฮโดรเจน และอะลูมิเนียม

สำหรับประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้เตรียมความพร้อม เพื่อรองรับมาตรการ CBAM โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบในระยะแรก ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายของประเทศไทยในหลายส่วน ได้แก่ การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ผลิตและผู้ส่งออก การจัดทำและทวนสอบข้อมูลค่า CBAM และการจัดทำฐานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรม และเพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถปรับกระบวนการผลิตหรือรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับมาตรฐานโลกได้อย่างยั่งยืนต่อไป

กำหนดการสัมมนา
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 09.10 น. กล่าวเปิดสัมมนา

โดย รศ.ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

ดำเนินรายการโดย ดร. จิตติ มังคละศิริ

09.10 – 09.30 น. ผลกระทบจากมาตรการ CBAM ต่อการส่งออกสินค้าไปสหภาพยุโรป

โดย นางสาววรพักตร์ ฐิตะดิลก ผู้อำนวยการกองนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าสินค้าอุตสาหกรรม
และธุรกิจบริการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

09.30 – 10.00 น. การสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันจากมาตรการ CBAM

โดย นายชาลี ขันศิริ ผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

10.00 – 10.30 น. ขั้นตอนการจัดทำและทวนสอบ CBAM

โดย นางสาวพวงพันธ์ ศรีทอง ผู้จัดการ สำนักรับรองธุรกิจคาร์บอนต่ำ
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

10.30 – 10.45 น. พัก 15 นาที
10.45 – 11.15 น. มุมมองและการเตรียมความพร้อมของภาคอุตสาหกรรมต่อมาตรการ CBAM 

โดย นายสมศักดิ์ พิฆเนศวร รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

11.15 – 11.30 น. ทิศทางการพัฒนาฐานข้อมูลและค่ากลาง CBAM ของประเทศ

โดย ดร.จิตติ มังคละศิริ
หัวหน้าทีมวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิต และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและการค้า
สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

11.30 – 12.00 น. ถาม – ตอบ

 

หมายเหตุ : กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ติดต่อสอบถามข้อมูล

0 2564 7000 ต่อ 6456 (เสาวลักษณ์)

saowalak@nstda.or.th

0 2564 6500 ต่อ 4680 (พีระพงษ์)

peerapp@mtec.or.th

เกี่ยวกับวิทยากร
รศ.ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ดร. จิตติ มังคละศิริ
นางสาววรพักตร์ ฐิตะดิลก
ผู้อำนวยการกองนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าสินค้าอุตสาหกรรม และธุรกิจบริการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
นายชาลี ขันศิริ
ผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
นางสาวพวงพันธ์ ศรีทอง
ผู้จัดการ สำนักรับรองธุรกิจคาร์บอนต่ำ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
นายสมศักดิ์ พิฆเนศวร
รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

หัวข้อสัมมนาอื่น ๆ