หน้าแรก โครงการประกวดคลิปวิดีโอ BCG Happy Story: เรื่องนี้ดีต่อใจ
โครงการประกวดคลิปวิดีโอ BCG Happy Story: เรื่องนี้ดีต่อใจ
14 มิ.ย. 2565
0
BCG
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์
บทความ

โมเดลเศรษฐกิจ BCG คือ โมเดลเศรษฐกิจใหม่ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ เครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยในปี 2564-2570 โดยโมเดลนี้จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ไปพร้อมกัน ผ่านการนำข้อได้เปรียบด้านความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม มายกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม โดยในระยะแรกมุ่งเน้น 4 สาขายุทธศาสตร์ ได้แก่ เกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ และการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นฐานเศรษฐกิจหลักของประเทศ มีสัดส่วนใน GDP ถึงร้อยละ 21 และเกี่ยวข้องกับอาชีพและการจ้างงานของคนในประเทศมากกว่า 16.5 ล้านคน ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงาน การกระจายรายได้สู่ประชาชนทั่วประเทศตั้งแต่ระดับฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างทั่วถึงบนฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

ในการนี้เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ให้แก่เยาวชน คนรุ่นใหม่ และประชาชนทั่วไป กระตุ้นให้เกิดการนำโมเดลเศรษฐกิจ BCG ไปประยุกต์ใช้ในการยกระดับความสามารถในการแข่งขัน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และหน่วยงานพันธมิตรจึงได้จัด “โครงการประกวดคลิปวิดีโอ BCG Happy Story: เรื่องนี้ดีต่อใจ” ขึ้น เพื่อให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาถึงปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ที่มีความรู้ความสามารถในการผลิตสื่อได้ร่วมสร้างสรรค์คลิปวิดีโอความยาว 30-60 วินาที (ไม่จำกัดเทคนิคการผลิต) สำหรับสื่อสารประเด็นเกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG (ไม่จำกัดขอบเขตเนื้อหา) ในรูปแบบที่สร้างสรรค์ เข้าใจง่าย และน่าสนใจ เพื่อใช้ในการสื่อสารสร้างการรับรู้ไปยังกลุ่มเป้าหมายต่อไป

ภาพรวมการแข่งขัน

นักเรียน นิสิต และนักศึกษา ระดับมัธยมศึกษาถึงปริญญาตรีหรือเทียบเท่าที่สนใจ สมัครเข้าร่วมโครงการพร้อมส่งแนวคิดเนื้อหาและรูปแบบของสื่อที่จะนำเสนอ และ Storyboard หรือคลิปดราฟต์งาน ได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 10 ก.ค. 2565 คลิกเพื่อดาวน์โหลดใบสมัคร

ในรอบแรกคณะกรรมการจะคัดเลือกทีมที่มีข้อเสนอน่าสนใจมากที่สุด 20 ทีม เพื่อสนับสนุนเงินทุนจำนวน 10,000 บาท สำหรับผลิตสื่อจริงความยาว 30-60 วินาที เพื่อใช้แข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ

การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศจะจัดขึ้นภายในเดือนสิงหาคม โดยมีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านโมเดลเศรษฐกิจ BCG และการผลิตสื่อสมัยใหม่ของประเทศเป็นผู้ตัดสินผลการแข่งขัน และจะมีการจัดการแข่งขัน Popular Vote เพื่อเปิดให้ประชาชนร่วมโหวตคะแนนให้กับสื่อที่โดนใจมากที่สุด

ผลงานที่ชนะจะมีการนำไปใช้เผยแพร่เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวโมเดลเศรษฐกิจ BCG แก่เยาวชน คนรุ่นใหม่ และประชาชนทั่วไป ผ่านช่องทางการสื่อสารสมัยใหม่

ชิงเงินรางวัลพร้อมโล่และประกาศนียบัตร

รางวัลชนะเลิศ

50,000 บาท พร้อมโล่รางวัล

รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง

30,000 บาท พร้อมโล่รางวัล

รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง

20,000 บาท พร้อมโล่รางวัล

รางวัลชมเชย (3 รางวัล)

10,000 บาท พร้อมโล่รางวัล

รางวัล Popular Vote

15,000 บาท พร้อมโล่รางวัล

กำหนดการการแข่งขัน

15 มิ.ย. – 10 ก.ค.

รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมเปิดให้จัดส่งแนวคิดของสื่อที่จะผลิต (Concept paper) และ Storyboard หรือคลิปดราฟต์งาน ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 10 ก.ค. 2565 คลิกเพื่อดาวน์โหลดใบสมัคร

นับถอยหลังปิดรับสมัคร

Days
Hours
Minutes
Seconds
ปิดรับสมัคร

21 ก.ค.

แจ้งผลการผ่านเข้ารอบ 20 ทีมสุดท้าย พร้อมข้อเสนอแนะในการพัฒนาสื่อ
และมอบงบประมาณในการผลิตสื่อ 10,000 บาท

21 ก.ค. – 11 ส.ค.

ผู้เข้าแข่งขันดำเนินการผลิตสื่อให้เสร็จสมบูรณ์
แล้วจัดส่งผลงานภายในวันที่ 11 ส.ค. 2565

นับถอยหลังการจัดส่งผลงานรอบชิงชนะเลิศ

Days
Hours
Minutes
Seconds
หมดเขตจัดส่งผลงาน

15-18 ส.ค.

จัดการแข่งขัน Popular Vote ผ่านทาง
Facebook: BCG in Thailand

นับถอยหลังการแข่งขัน Popular Vote

Days
Hours
Minutes
Seconds
หมดเวลาลงคะแนน

20 ส.ค.

งานประกาศผลรางวัล ถ่ายทอดสดทาง Facebook: BCG in Thailand

หมายเหตุ: กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

รายละเอียดเกี่ยวกับการแข่งขัน

เงื่อนไขในการสมัครเข้าร่วม

เป็นนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาถึงระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า สามารถสมัครได้ทั้งแบบบุคคลและทีม ไม่จำกัดจำนวนสมาชิกในทีม

ประเภทของสื่อที่จะส่งเข้าร่วมแข่งขัน

คลิปวิดีโอความยาว 30-60 วินาที เพื่อสร้างการรับรู้หรือความตระหนักถึงความสำคัญของโมเดลเศรษฐกิจ BCG ไม่จำกัดเนื้อหาและเทคนิคการผลิตสื่อ (อาทิ Film Production, 2D&3D Animation,  Motion Graphic)

สิ่งที่ผู้เข้าแข่งขันจะต้องส่งเพื่อสมัครเข้าร่วมกิจกรรม

เอกสารอธิบายแนวคิดของสื่อที่จะผลิต เนื้อหาที่จะถ่ายทอด และเทคนิคที่จะใช้ในการผลิตสื่อ (Concept paper) ความยาวไม่เกิน 1 หน้า A4 หรือ 600 คำ พร้อม Storyboard หรือคลิปดราฟต์งาน โดยจัดส่งพร้อมการสมัครเข้าร่วมกิจกรรม คลิกเพื่อดาวน์โหลดใบสมัคร

เกณฑ์การตัดสิน

สัดส่วนการให้คะแนน เนื้อหาร้อยละ 40 ความคิดสร้างสรรค์ร้อยละ 30
เทคนิค ความสวยงาม ความละเอียดและประณีตร้อยละ 30

การสนับสนุนในการผลิตสื่อหลังจากผ่านเข้ารอบ 20 ทีมสุดท้าย

โครงการจะให้คำแนะนำในการพัฒนางานต่อ พร้อมสนับสนุนเงินทุนในการพัฒนางาน 10,000 บาท โดยแบ่งจ่ายเป็น 2 งวด งวดแรก 5,000 บาท หลังจากผ่านเข้ารอบ และงวดที่สอง 5,000 บาท หลังจากจัดส่งงานเพื่อแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ

สิ่งที่ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบ 20 ทีมสุดท้าย จะต้องจัดส่งให้กับโครงการ

  • คลิปผลงานความยาว 30-60 วินาที ความละเอียด Full HD (1,920×1,080 pixels) โดยจัดส่งงานในรูปแบบลิงก์ YouTube แบบ Unlisted และอัปโหลดไฟล์วิดีโอนามสกุล MP4 เข้า Cloud Storage เช่น Google Drive (จะต้องจัดส่งทั้ง 2 รูปแบบ ภายในวันที่ 11 ส.ค. 2565 และเปิดให้ดาวน์โหลดได้จนถึงวันที่ 23 ก.ย. 2565)
  • ชื่อคลิปผลงาน พร้อมคำโปรยแนะนำคลิปความยาวไม่เกิน 200 คำ
  • คลิปนำเสนอผลงานงานผลงานสำหรับให้คณะกรรมการพิจารณา ความยาวไม่เกิน 3 นาที (1 คลิป)
  • หากไม่จัดส่งผลงานตามข้อเสนอเพื่อรับทุนพัฒนาสื่อ และตามเงื่อนไขที่ระบุข้างต้นภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้เข้าแข่งขันจะต้องคืนเงินสนับสนุนให้แก่โครงการ

เงื่อนไขในการผลิตสื่อ

  • ผลงานจะต้องไม่เคยได้รับรางวัลจากโครงการอื่น ไม่คัดลอกหรือใช้สื่อที่ติดลิขสิทธิ์ประกอบในผลงาน ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์การใช้งานโปรแกรม หากตรวจพบการกระทำที่ผิดกฎหมายผู้พัฒนาจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นในทุกกรณี และผลการตัดสินจะถือเป็นโมฆะ
  • ผลงานเป็นของผู้พัฒนา โดยอนุญาตให้ สวทช. และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง เผยแพร่ผลงานและพัฒนาต่อยอดผลงานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ประกาศนียบัตร

ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ 20 ทีมสุดท้าย จะได้รับประกาศนียบัตรในงานประกาศผลรางวัล
(หรือภายหลังงานประกาศผลรางวัล)

การเข้าร่วมงานประกาศผลรางวัล

ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ 20 ทีมสุดท้าย จะต้องเข้าร่วมหรือส่งตัวแทนเข้าร่วมงานประกาศผลรางวัล (หากไม่ได้อาศัยอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑลสามารถเข้าร่วมทางออนไลน์ได้) หากไม่สามารถมาเข้าร่วมได้จะต้องแจ้งเหตุผลที่เหมาะสมแก่คณะทำงานล่วงหน้าก่อนการจัดงานอย่างน้อย 3 วัน

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG

รายละเอียดเพิ่มเติม : โมเดลเศรษฐกิจ BCG 
โลโก้สำหรับใช้ประกอบในคลิปหรืองานนำเสนอ : คลิกเพื่อดาวน์โหลด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
E-mail: bcghappystory@nstda.or.th
Facebook Inbox: BCG in Thailand

BCG Economy Model
แชร์หน้านี้: