หน้าแรก Generative AI เอไอแบบรู้สร้าง
Generative AI เอไอแบบรู้สร้าง
2 พ.ย. 2565
0
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์
บทความ

Generative AI เอไอแบบรู้สร้าง

 

Generative AI เอไอแบบรู้สร้าง

ปัจจุบัน AI หรือปัญญาประดิษฐ์ก้าวหน้ามากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความพร้อมของข้อมูล Big Data ที่มีอยู่มากมาย ไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา จึงนำมาใช้ฝึก AI ให้ทำงานในด้านต่างๆ และนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย

ในบรรดาเทคโนโลยีที่นำ AI ไปใช้นั้น มีเทคโนโลยีหนึ่งที่น่าสนใจและกำลังมาแรงมาก นั่นคือ Generative AI ที่ใช้ AI สร้างข้อมูลที่ไม่มีอยู่จริง โดยสอน AI ให้เรียนรู้จากแบบจำลองของข้อมูลสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่จริง

 

Generative AI เอไอแบบรู้สร้าง

 

Generative AI เอไอแบบรู้สร้าง

 

หนึ่งในเทคนิคการสร้างแบบจำลองที่นิยมนำมาใช้นั้น คือ แกน (GAN, Generative Adversarial Networks) ใช้สร้างภาพใบหน้าที่สมจริง มีความละเอียดสูง นำไปใช้สร้าง Virtual Influencer ที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง เพื่อทำหน้าที่เป็นนักร้อง ผู้ประกาศข่าว หรือไอดอลได้

 

Generative AI เอไอแบบรู้สร้าง

 

Generative AI มีประโยชน์และใช้งานหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มความละเอียดภาพให้อยู่ในระดับ Super–Resolution ช่วยแปลงภาพถ่ายให้คมชัดมากขึ้น แปลงภาพในเวลากลางวันให้กลายเป็นภาพตอนกลางคืน แปลงภาพขาวดำให้เป็นภาพสี หรือแม้แต่แปลงภาพแบบไม่ต้องมีคู่ตัวอย่างให้ AI เรียนรู้ก่อน เช่น การแปลงม้าเป็นม้าลาย

 

Generative AI เอไอแบบรู้สร้าง

 

ตัวอย่างการใช้ประโยชน์ Generative AI ที่มาแรงในตอนนี้คือ AI ชื่อ Midjourney ที่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปเข้าไปใช้ AI สร้างภาพ โดยใส่เพียง “คำสำคัญที่ต้องการ” AI จะเชื่อมโยงข้อมูล 2 รูปแบบที่แตกต่างกันคือ “ข้อมูลภาพ” และ “ข้อมูลตัวอักษร” เข้าด้วยกัน

ในอนาคต AI อาจช่วยทำหน้าที่เป็น Encoder หรือ Decoder แปลงตัวอักษรให้เป็นภาพ หรือแปลงภาพให้เป็นตัวอักษรได้ ซึ่งน่าจะประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายขึ้นอีก

 

Generative AI เอไอแบบรู้สร้าง

 

ในประเทศไทย เนคเทค สวทช. ทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ Generative AI มาอย่างต่อเนื่อง เช่น

  • VAJA ที่เป็นระบบการสังเคราะห์เสียงจากข้อความภาษาไทย
  • Automatic Image Caption Generation In Thai เพื่อสร้างคำบรรยายภาพที่เป็นภาษาไทยอย่างอัตโนมัติ
  • Z-Size Ladies ที่เป็นระบบการจำลองรูปร่างแบบ 3 มิติ สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ระยะ 2-40 สัปดาห์

 

มหาวิทยาลัยต่างๆ ก็มีงานวิจัยด้าน Generative AI กันอย่างกว้างขวาง เช่น

  • VISTEC กำลังศึกษากระบวนการคอมพิวเตอร์กราฟิกที่ใช้จำลองการขยับใบหน้าของคนอย่างสมจริง
  • SIIT ใช้เทคนิค GAN ในการสร้างภาพที่ปกติต้องทำในห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่เท่านั้น
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใช้ GAN เรียนรู้สไตล์ฟอนต์ภาษาอังกฤษ เพื่อประยุกต์ใช้สร้างฟอนต์ภาษาไทยใหม่ๆ
  • นักศึกษาในบางสถาบันที่ศึกษาการใช้เทคนิค GAN ในการจำลองราคาหุ้น เพื่อทำการซื้อขายหรือตรวจจับการปั่นหุ้น

แม้แต่ Chatbot ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน ก็นำ Generative AI มาใช้เพื่อเพิ่มความสมจริงในบทสนทนาเช่นกัน

แชร์หน้านี้: