ผลการค้นหา :

Tacit knowledge คืออะไร
Tacit knowledge เป็นเรื่องส่วนบุคคลมาก ยากที่จะทำให้เป็นทางการ ตัวอย่างของ tacit knowledge เช่น ความเข้าใจลึกซึ้ง การหยั่งรู้ที่เกิดขึ้นในใจ และการรู้สึกล่วงหน้า โดยความรู้ประเภทนี้จะสะท้อนออกมาในเช่น การกระทำ แนวคิด ความเชื่อมั่น เป็นเรื่องยากที่จะสื่อสาร tacit knowledge
องค์กรต้องสนับสนุนความรู้ที่พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมและความรู้นี้จะทำให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร ดังนั้น tacit knowledge ต้องการสิ่งที่มาสนับสนุนเพื่อเติบโตขยายเช่น วัฒนธรรม เครือข่ายทางสังคม ความไว้วางใจระหว่างพนักงาน
การศึกษาชี้ให้เห็นว่า 80% ของความรู้องค์กรเป็น tacit และที่เหลือ 20% เป็น explicit knowledge ดังนั้น tacit knowledge และกระบวนการในการจัดการความรู้ประเภทนี้ มีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้
ที่มา: Tacit Knowledge. Retrieved July 23, 2019, from http://www.allkm.com/km-basics/tacit-knowledge.php
การจัดการความรู้ (KM)

แนวทางการเผยแพร่ผลงานวิชาการ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดทำแนวทางการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการอันได้แก่ บทความวิชาการ บทความสั้น เอกสารประชุมวิชาการ เพื่อให้บุคลากรในสายวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม ของ สวทช. และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบหลักการมีชื่อผู้นิพนธ์ (Authorship) ที่เป็นไปตามหลักสากลและสอดคล้องกับจริยธรรมการวิจัย สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาความเหมาะสมของผู้มีชื่อในผลงานทางวิชาการ เป็นแนวปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และการมีส่วนร่วมในผลงานวิจัย อีกทั้งยังเป็นแนวทางการป้องกันข้อร้องเรียนด้านการประพฤติมิชอบทางการวิจัยในอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้วิจัย ในการสร้างความน่าเชื่อถือและการยอมรับในผลงานทางวิชาการ
แนวทางนี้อ้างอิงแนวทางมาตรฐานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งผู้วิจัยสามารถยึดเป็นแนวปฏิบัติในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำไปปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสมตามบริบทของการเผยแพร่งานวิจัยของตน ตลอดจนอาจปรับใช้หลักการมีชื่อในผลงานประเภทอื่นๆ ได้ตามความเหมาะสม
Download เอกสาร
สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ : หลักสูตร การมีชื่อในเอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ
เอกสารเผยแพร่

คู่มือการบันทึกข้อมูลงานวิจัย
คู่มือการบันทึกข้อมูลงานวิจัยนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวการบันทึกข้อมูลวิจัยที่ดีสำหรับผู้วิจัย ประกอบด้วยหลักการและเหตุผล ความสำคัญของการบันทึกข้อมูลงานวิจัย รูปแบบของการบันทึก แนวทางการบันทึก และคำแนะนำต่าง ๆ ในคู่มือได้กล่าวถึงรูปแบบการบันทึกข้อมูลวิจัย 2 รูปแบบ คือ สมุดบันทึกมาตรฐาน และสมุดบันทึกแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้หลักการบันทึกในคู่มือส่วนใหญ่เป็นการบันทึกในสมุดบันทึกมาตรฐานเป็นหลัก โดยแนวทางที่จัดทำขึ้น อ้างอิงแนวทางและคำแนะนำในการบันทึกข้อมูลวิจัยของศูนย์วิจัยแห่งชาติ สวทช. และมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ พร้อมทั้งยกตัวอย่างการบันทึกข้อมูลงานวิจัยโดยอ้างอิงจากภายใน สวทช. และมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ
อย่างไรก็ตามคู่มือนี้ไม่ได้มีผลบังคับให้ผู้วิจัยทุกท่านต้องปฏิบัติตาม แต่เพื่อให้เป็นแนวทางการบันทึกข้อมูลงานวิจัย เพื่อให้สามารถใช้เป็นหลักฐานการดำเนินงาน หลักฐานทางกฎหมาย และป้องกันข้อกล่าวหาการประพฤติมิชอบทางการวิจัย เพื่อประโยชน์แก่ผู้วิจัย ตลอดจนความน่าเชื่อถือของผลงานวิจัยและหน่วยงาน
Download คู่มือ
สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ : การบันทึกข้อมูลงานวิจัย
เอกสารเผยแพร่

ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ แตกต่างกันอย่างไร
ข้อมูล (data): ผลที่ได้จากกระบวนการจัดเป็นข้อมูล นอกจากนี้สารสนเทศ (information) ที่ไม่ได้ผ่านการประมวลถือว่าเป็นข้อมูล ภายในตาราง excel เก็บข้อมูลไม่ใช่สารสนเทศ อีกตัวอย่างตัวเลขของการขายของบริษัทที่อยู่ในแผ่นตารางคือข้อมูล ถ้ามีการจัดประเภทข้อมูลอาจทำให้ได้ผลที่เป็นประโยชน์ออกมา
สารสนเทศ: ข้อมูลที่ผ่านการประมวลคือสารสนเทศ ไม่จัดเป็นสารสนเทศถ้าไม่ได้ผล (ข้อสรุป) ออกมาจากข้อมูล ตัวอย่างเช่น ตัวเลขการขายที่เก็บในแผ่นตารางโดยตัวเองไม่สามารถให้ข้อสรุปแต่เมื่อผ่านการสังเกตหรือใช้เครื่องมือทางสถิติทำให้รู้ว่าพื้นที่ทางเหนือมีการขายที่ดีกว่าพื้นที่ทางใต้ สิ่งนี้เป็นสารสนเทศที่ได้จากข้อมูลการขาย
ความรู้ (knowledge): วิวัฒนาการต่อจากสารสนเทศและข้อมูลคือความรู้ เมื่อประยุกต์ใช้ประสบการณ์ การพิจารณากับสารสนเทศจะทำให้ได้ความรู้ออกมา ความรู้เป็นผลที่เกิดจากการเรียนรู้ ตัวอย่างเช่น จากข้อมูลการขายสามารถสรุปได้ว่าต้องการมากขึ้นความพยายามในการตลาดหรือการเลื่อนตำแหน่งในพื้นที่ทางใต้กว่าพื้นที่ทางเหนือเพื่อเพิ่มการขายในพื้นที่ทางใต้ ความรู้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ tacit knowledge (ความรู้ฝังในตัวคน) และ explicit knowledge (ความรู้ที่ชัดแจ้ง)
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
"ความดันเลือดของผู้ป่วย" จัดเป็นข้อมูล และ "จากการตรวจสอบความดันเลือดของผู้ป่วยพบว่าผู้ป่วยมีความดันเลือดสูง" จัดเป็นสารสนเทศ "ข้อสรุปต่างๆ ที่ได้จากการอ่านความดันเลือด" ถือว่าเป็นสารสนเทศ
ที่มา: Data Information and Knowledge. Retrieved July 19, 2019, from http://www.allkm.com/km-basics/data.php
การจัดการความรู้ (KM)

กลุ่มวิชาของวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กลุ่มวิชาของวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ได้แก่ (1) สาขาคณิตศาสตร์ (2) สาขาเคมี (3) สาขาชีววิทยา (4) สาขาฟิสิกส์ (5) สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ (6) สาขาระบบโลกศาสตร์ (7) สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (8) สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (9) สาขาพฤกษศาสตร์ (10) สาขาสัตววิทยา (11) สาขาพันธุศาสตร์ (12) สาขาดาราศาสตร์ (13) สาขาสถิติศาสตร์ (14) สาขาชีวเคมี (15) สาขาจุลชีววิทยา (16) สาขาชีววิทยาระดับโมเลกุล (17) สาขาธรณีวิทยา (18) สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล (19) สาขาวาริชศาสตร์ (20) สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ (1) สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (2) สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (3) สาขาชีวเคมีทางการแพทย์ (4) สาขานิติวิทยาศาสตร์ (5) สาขาปรสิตวิทยา (6) สาขาวิทยาภูมิคุ้มกัน (7) สาขาสรีรวิทยา (8) สาขาพิษวิทยา (9) สาขากายวิภาคศาสตร์ (10) สาขาพยาธิวิทยา (11) สาขารังสีวิทยา (12) สาขาสาธารณสุขศาสตร์ (13) สาขาการระบาดวิทยา (14) สาขาโภชนศาสตร์ (15) สาขาอายุรศาสตร์เขตร้อน (16) สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง (17) สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม (18) สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร ได้แก่ (1) สาขาเกษตรศาสตร์ (2) สาขาปฐพีวิทยา (3) สาขาพืชศาสตร์ (4) สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (5) สาขากีฏวิทยาทางการเกษตร (6) สาขาสัตวบาลและสัตวศาสตร์ (7) สาขาประมง (8) สาขาวนศาสตร์ (9) สาขาโรคพืชวิทยา (10) สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มวิชาสหวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ (1) สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร (2) สาขาอุตสาหกรรมเคมี (3) สาขาอิเล็กทรอนิกส์ (4) สาขาภูมิสารสนเทศ (5) สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ (6) สาขาเทคโนโลยีพลังงาน (7) สาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (8) สาขาเทคโนโลยีการสื่อสาร (9) สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (10) สาขาเทคโนโลยีวัสดุ (11) สาขาเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (12) สาขาเทคโนโลยีการจัดการ (13) สาขานาโนเทคโนโลยี (14) สาขาเทคโนโลยีอุณหภาพ (15) สาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง (16) สาขาวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ (17) สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
ที่มา:
ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การกําหนดกลุ่มวิชาของวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2558
ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การกำหนดกลุ่มวิชาของวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบบัที่ 2) พ.ศ. 2562
การจัดการความรู้ (KM)

วิธี Update Drupal เวอร์ชัน 8.x.x ไปเวอร์ชัน 8.7.x
การใช้งาน CMS ไม่ว่าจะเป็น Drupal Joomla หรือ Wordpress จะมีเวอร์ชันออกมาใหม่เรื่อยๆ จะออกมาเพื่อแก้ bug โปรแกรมหรือเพื่อความปลอดภัยก็ตาม เราต้องคอย Update เวอร์ชันให้ทันสมัยอยู่เสมอ วิธี Update Drupal 1. ก่อน update เว็บไซต์ ให้ backup ข้อมูลก่อน ทั้ง database เเละไฟล์ข้อมูลเว็บไซต์2. ที่ไฟล์ข้อมูลเว็บไซต์เปิดไฟล์ settings.php (/sites/default/settings.php) $settings[update_free_access] = FALSE แก้ไขคำว่า FALSE เป็น TRUE คลิก Save ไฟล์3. ปรับเว็บไซต์ให้เป็น Maintenance mode (Configuration -> Maintenance mode คลิกให้เป็นเครื่องหมายถูก และคลิก save configuration)4. ที่ห้องเว็บไซต์ ลบไฟล์และโฟลเดอร์ ให้เหลือแค่ modules profile sites และ theme 5. Download Drupal เวอร์ชั่นล่าสุด https://www.drupal.org/project/drupal และ Extract ไฟล์6. Copy โฟลเดอร์ core vendor และไฟล์ต่างๆ มาใส่ที่ห้องเว็บไซต์ 7. ที่ช่องพิมพ์ url ให้พิมพ์ update.php ต่อท้ายชื่อเว็บไซต์(http://www.example.com/update.php) คลิก continue ระบบจะ update และรายงานผล8. ปรับเว็บไซต์ให้เป็น Online mode (Configuration -> Maintenance mode คลิกเอาเครื่องหมายถูกออก และคลิก save configuration)9. เปิดไฟล์ settings.php (/sites/default/settings.php) $settings[update_free_access] = TRUE แก้ไขคำว่า TRUE เป็น FALSE คลิก Save ไฟล์10. ดูผลการ Update (Report -> available updates)
นานาสาระน่ารู้

OER แนวทางปฏิบัติและแบบฝึกหัด: วิธีการสร้าง Open Educational Resources
OER แนวทางปฏิบัติและแบบฝึกหัด: วิธีการสร้าง Open Educational Resources ปัจจุบัน Open Educational Resources (OER) เริ่มเป็นที่ยอมรับในมหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่งเพิ่มมากขึ้น จากการศึกษาที่มีการตีพิมพ์เมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่ามหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาจำนวนมากได้ให้การสนับสนุนครูอาจารย์ในสังกัด ให้มีการเปลี่ยนจากตำราที่เป็นสิ่งพิมพ์รูปเล่มเป็น Open Educational Resources ซึ่งจากผลการสำรวจการใช้คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยปี 2018 ระบุว่า ร้อยละ 64 ของมหาวิทยาลัย เปิดเผยว่ามีการสนับสนุนให้บุคลากรใช้ Open Educational Resources ในหลักสูตรมากขึ้น เมื่อเทียบกับผลการสำรวจในปี 2014 ที่พบเพียงร้อยละ 34 เท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ 52 ของมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนครูอาจารย์หากมีการสร้างสื่อการเรียนการสอนใน OER ของตนเองด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ข้อเสนอในการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยแล้ว ยังมีแบบฝึกหัดและแหล่งข้อมูลออนไลน์อื่น ๆ จำนวนมากที่สามารถนำมาใช้ในการสร้าง Open Educational Resources รวมถึงโครงการ OER และศูนย์ข้อมูล OER ต่าง ๆ อีกด้วย โดยมีการรวบรวมหลักสูตรและแนวทางการเรียนรู้ด้วยตนเองไว้ให้บริการ เช่น Ruhr University Bochum ได้เสนอหลักสูตรที่เรียนด้วยตนเองอย่าง “Introduction to open educational resources” (OER) ซึ่งครอบคลุมถึงวิธีการค้นหา OER และวิธีการสร้างด้วยตนเอง โดยหลักสูตรจะใช้เวลาประมาณ 120 - 160 นาที โดยรวมถึงแบบฝึกหัด แบบทดสอบด้วยตนเองและเกมมิฟิเคชั่น (gamification) Algonquin Colleges ได้เสนอหลักสูตรประมวลความรู้ หรือหลักสูตรวัดความรู้สำหรับทุกคนที่สนใจความเคลื่อนไหวของ OER หัวข้อหลักคือ: ลิขสิทธิ์ แนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศเมื่อค้นหาและใช้งาน OER (copyright, best practices when searching, and using OER) ในตอนท้ายของหลักสูตรนั้น ผู้เข้าร่วมจะได้รับเชิญให้สร้างแหล่งข้อมูลแบบเปิดเพื่อเรียนรู้หรือสอนด้วยตัวของพวกเขาเองอีกด้วย Penn State University Libraries มีข้อมูลสำหรับครูอาจารย์ที่พัฒนา MOOCs หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนา MOOCs โดยเฉพาะ ซึ่งในส่วนนี้ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการใช้งาน Open Educational Resources The University of the Witwatersrand Johannesburg ได้นำเสนอ LibGuide ซึ่งประกอบด้วยแนวทางการปฏิบัติ เครื่องมือ และเนื้อหาหลักสูตรสำหรับ OER รวมถึงสิ่งอื่น ๆ อีกที่เกี่ยวข้อง Fort Hays State University ได้นำเสนอภาพรวมของ open educational resources โดยสังเขป ซึ่งมีข้อมูลครอบคลุมรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง และจัดทำข้อกำหนดแนวทางปฏิบัติ Forsyth Library OER Research Guide พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับการทำวิจัย OER ไว้ให้ศึกษา College Libraries Ontario ได้มี The Learning Portal ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือสำหรับการใช้งาน OER ที่มีคำอธิบายเกี่ยวกับวิธีการค้นหา การใช้งานและการสร้าง Open educational resources ไว้อย่างชัดเจน รัฐแซกซันและ University Library Dresden (Sächsische Landesbibliothek — Staats- und Universitätsbibliothek Dresden, SLUB) มีการนำเสนอ “introduction to open educational materials” เป็นภาษาเยอรมัน มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่ให้บริการข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับ OER เช่น Reynolds Community College Libraries มีการจัดทำ Research Guide Open Educational Resources Bridgewater State University Maxwell Library Prince George’s Community College University of Pittsburgh Library System นอกจากมหาวิทยาลัยแล้ว ยังมีแหล่ง OER information centre ที่รวมสื่อการเรียนรู้แบบเปิด ไว้ให้บริการ เช่น OER information centre (OERinfo) ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่ OERinfo นำเสนอคือ แนวทางในการสร้าง OER ซึ่งจะแสดงรายการทรัพยากรจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น การเสนอ OER Canvas ซึ่งเป็นแม่แบบ (template) สำหรับเริ่มต้นร่างโครงการ OER และแผ่นพับประชาสัมพันธ์ที่นำเสนอความรู้เกี่ยวกับ OER เป็นภาษาเยอรมัน Open Education Austria ได้จัดทำแนวทางการปฏิบัติในการสร้าง Open educational resources ข้อมูลและแบบฝึกหัดภาคปฏิบัติสำหรับผู้สอนในมหาวิทยาลัย 2 (A Guideline for creating open educational resources – information and practical exercises for university tutors2) ซึ่งเป็นภาษาเยอรมัน OERinForm ได้รวบรวมสื่อวิดีโอการเรียนการสอนบน YouTube ไว้จำนวนมาก และยังสามารถหาข้อมูล สื่ออื่น ๆ และ e-learning centres สำหรับครูอาจารย์และบุคคลทั่วไปที่สนใจเพิ่มเติมได้ โดยมีการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัย รายการลิงก์ที่เกี่ยวข้อง แม่แบบสำหรับการพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับ OER ของมหาวิทยาลัย รวมถึงแนวทางการสร้าง OER ทั้งนี้ คู่มือการใช้งาน OER ในมหาวิทยาลัยและอินโฟกราฟิกสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับ OER ในมหาวิทยาลัยและกระบวนการทำงานกับ OER บางหัวข้อที่พร้อมให้บริการดาวน์โหลด และนอกเหนือจากสื่อวัสดุและการดาวน์โหลดอื่น ๆ ซึ่งคู่มือการศึกษาแบบเปิดประกอบด้วยข้อมูลที่ช่วย OER ในทางปฏิบัติ ยังมีข้อมูลในการสร้างและพัฒนา OER ซอฟต์แวร์ที่มีประโยชน์ การเผยแพร่ OER เครื่องมือสำหรับการสร้างและการผสมผสาน OER ซึ่งสามารถค้นหาวิดีโอที่เป็น Open educational resources จำนวนมากผ่านทาง YouTube อีกด้วย ที่มา: Birgit Fingerle. (2018). OER Guidelines and Tutorials: How to Create Open Educational Resources. Retrieved June 25, 2019, from https://www.zbw-mediatalk.eu/2018/11/oer-guidelines-and-tutorials-how-to-create-open-educational-resources/
นานาสาระน่ารู้

รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 9 เดือนกันยายน 2561
ข่าวกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 9 กันยายน 2561 งานวิจัยเพื่อการพัฒนาตามนโยบายประเทศไทย 4.01 เชิงอรรถ : ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมภายใต้โมเดลประเทศไทย 4.0การศึกษาชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมภาคอุตสาหกรรมไทยรองรับการเชื่อมโยงในภูมิภาคด้วยเศรษฐกิจดิจิตอลระยะที่ 1 (สศอ.,2559) และระยะที่ 2 (สศอ.,2560) โดยวัตถุประสงค์หลักของโครงการทั้ง 2 ระยะนี้เพื่อจัดทำข้อเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยทั้งในระดับภาพรวมและอุตสาหกรรมรายสาขา สำหรับการศึกษานี้จะมุ่งเน้นในส่วนของการวิเคราะห์นโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยนบริบบทของเศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งประกบด้วย 1 โดยนัยยะของเศรษฐกิจดิจตอลต่อการพัฒนาอุตสาหรรม 2 โดยนับของโมเดลประเทศไทย 4.0 3 เป้าหมายการพัฒนาและอุตสาหกรรมเป้าหมายและ 4 การนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า องค์กรธุรกิจในยุคดิจิตอลคือองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยการวิเคราะห์ข้ดมูลแล้วนำไปสร้างสรรค์คุณค่า การยกระดับองค์กรอุตสาหกรรมไทยเพื่อแปลงสภาพไปสู่องค์กรธุรกิจในยุคดิจิตอลรวมถึงการพัฒนาไปสู่อุตาหกรรม4.0 นั้นประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ 1 การจัดการข้อมูลดิจิตอลและการสร้างคุณคา และ 2 การพัฒนารับเครือข่ายและความเชื่อมโยง ส่วยนัยของโมเดลประเทศไทย 4.0 นั้น การกำหนดอุตสหกรรมเป้าหมายนั้นเป็นนโยบายจากบนลงล่างไม่สอดคล้องกับบริบทอุตสาหกรรมเป็นนโยบายจากบนลงล่างไม่สอดคล้องกับบริบทอุตสาหกรรมปัจจุบันที่เป็นเครือข่ายโซ่คุณค่า ดังนั้น การกำหนดยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมไทยควรมุ่งเน้นที่ Theme ของการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต 2 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเป็นนโยบายที่ช่วยส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กเพิ่มการสร้างสรรค์ทางด้านนวัตกรรมและขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจหรือไม่ ประเทศไทยมีอุทยานวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจโดยใช้องค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมของประเทศ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการเป็นนโยบายที่ช่วยสนับสนุนให้วิสาหกิจเจริญเติบโตและมีการพัฒนาโดยการเข้าไปช่วยเพิ่มการสร้างสรรค์ทางด้านนวัตกรรม อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเป็นนโยบายที่ช่วยเพิ่มการสร้างสรรค์นวัตกรรมและขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับวิสาหกิจ โดยให้การสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาการวิจัยและการเชื่อมโยงกับสถาบันองค์ความรู้ต่างๆ ซึ่งจะทำให้วิสาหกิจสามาถแข่งขันในตลาดได้ และช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโต3 สมรรถนะของภาคอุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัยจะช่วยเพิ่มผลลัพธ์จากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรมได้อย่างไร? การค้นพบจากการทบทวนอย่างเป็นระบบการศึกษาสมรรถนะในความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม จะทำให้ทราบว่ามีสมรรถนะใดบ้างที่ควรส่งเสริมและนำมาใช้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลลัพธ์จากความร่วมมือฯ ตลอดจนสามารถนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างสำเร็จ นอกจากนี้ งานวิจัยชิ้นนี้ยังนำเสนอการนำผลการวิจัยไปใช้ในเชิงนโยบายรวมถึงแนวทางในการทำวิจัยในอนาคตอีกด้วยรางวัลโนเบลสาขาสรีศาสตร์หรือการแพทย์ ประจำปี ค.ศ. 2018คณะกรรมการรางวัลโนเบลได้ประกาศมอบรางวัลโนเบลสาขาสรีศาสตร์หรือการแพทย์ ประจำปี ค.ศ. 2018 ให้แก่ศาสตราจารย์ เจมส์ พี.อัลลิสัน จากศูนย์มะเร็งเอ็ม.ดี.แอนเดอร์สัน มหาวิทยาลัยเท็กซัส สหรัฐอเมริกา และศาสตราจารย์ ทาซูกุ ฮอนโจ ผู้เชี่ยวชาญระบบภูมิคุ้มกันวิทยาจากมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น จากผลงานการค้นพบวิธีการรักษาโรคมะเร็ง ด้วยการควบคุมตัวยับยั้งของระบบภูมิคุ้มกัน โรคมะเร็งกับการรักษาในอดีตโรคมะเร็ง คือ โรคของเซลล์ที่มีการเจริญเติบโตอย่างผิดปกติที่สามารถบุกรุก ทำลายอวัยวะและเนื้อเยื่อที่ดี ระบบภูมิคุ้นกันของร่างกาย โดยปกติเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันจะไม่ทำลายเซลล์ของร่างกายเนื่องจากมีความสามารถในการจดจำเซลล์ของร่างกายได้ จึงสามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ โดยมีทีเซลล์ ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีบทบาทสำคัญในระบบป้องกันของร่างกายการรักษาโรคมะเร็งในอดีต รักษาโดยการผ่าตัด การฉายรังสี เคมีบำบัด และการใช้ฮอร์โมน ซึ่งพบว่าไม่สามารถใช้ในการบำบัดรักษามะเร็งบางชนิดได้ผล ซึ่งเข้าทำลายทั้งเซลล์มะเร็งรวมไปถึงเซลล์ปกติด้วยการค้นพบตัวยับยั้งระบบภูมิคุ้มกันในปี ค.ศ.1990 ศาสตราจารย์อัลลิสัน ได้ค้นพบโปรตีน CTLA-4 เป็นตัวยับยั้งการทำงานของทีเซลล์ ซึ่งควบคุมโดยโปรตีน 2 ชนิดคือตัวยับยั้งและตัวเร่ง ต่อมาในปี ค.ศ. 1997 ศาสตราจารย์อัลลิสัน ได้พัฒนาแอนติบอดีเข้าไปจับกับโปรตีน CTLA-4 จากการทดลองทีเซลล์สามารถเข้าโจมตีเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นการพัฒนาวิธีการรักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังจากนักวิจัยค้นพบตัวยับยั้งทีเซลล์ มีการคิดค้นแอนติบอดีที่ต่อต้านการทำงานของตัวยับยั้งเหล่านั้น และนำมาทดลองปรากฏว่ายับยั้งการทำงานของโปรตีนในการรักษาโรคมะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งไต มะเร็งปอด การพัฒนาสู่ยารักษาโรค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ได้อนุมัติให้ใช้แอนติบอดีต้านโปรตีนเป็นยารักษามะเร็งผิวหนัง มีชื่อยาทางการค้าว่า “เยอร์วอย” (Yervoy) โรคมะเร็งเป็นปัญหาด้านสุขภาพของมนุษยชาติมากกว่า 100 ปี ที่นักวิทยาศาสตร์ได้มีความพยายามที่จะใช้ประโยชน์จากระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง กระทรวงอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรมของประเทศฝรั่งเศสดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ เลขาธิการ สวทน. เข้าพบผู้แทนของกระทรวงอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรมของประเทศฝรั่งเศส (Ministry of Higher Education, Research and Innovation, MESRI) เพื่อศึกษาดูงาน เรียนรู้รูปแบบการทำงาน อุปสรรค ความท้าทายในการดำเนินงาน และนำมาถอดบทเรียนเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ซึ่งการดูงานดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการวางแนวทางและรูปแบบการทำงานของหน่วยงานภายใต้กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ที่กำลังจะถูกจัดตั้งขึ้นในเร็วๆ นี้ วิวัฒนาการของการดำเนินงานของ MESRIในปีค.ศ. 2004/2005 มีการจัดตั้งสำนักงานเพื่อการวิจัยแห่งชาติ เพื่อเป็นสถาบันที่ให้ทุนสำหรับการวิจัยและการจัดตั้งคลัสเตอร์ต่างๆ ในปีค.ศ.2009 มีการจัดตั้งภาคีการวิจัย เพื่อที่จะเพิ่มความสามารถของการวิจัย ผลิตผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตและทางการแพทย์ในปีค.ศ.2010 ดำเนินโครงการลงทุนสำหรับโครงการในอนาคตครั้งที่ 1 เป็นจำนวนเงิน 29.7 พันล้านยูโร ในปีค.ศ.2013/2014 ดำเนินโครงการลงทุนสำหรับโครงการในอนาคตครั้งที่ 2 เป็นจำนวนเงิน 5.3 พันล้ายูโร รวมถึงออกกฎหมายสำหรับอุดมศึกษาและการวิจัย และการจัดตั้งคลัสเตอร์ด้านอุดมศึกษาและห้องปฏิบัติการวิจัยที่มีคุณภาพชั้นนำระดับสากล ในปีค.ศ. 2015-2016 ดำเนินโครงการการลงทุนสำหรับโครงการในอนาคตครั้งที่ 3 เป็นจำนวนเงิน 5.9 พันล้านยูโร รวมถึงการออกยุทธศาสตร์ชาติด้านการวิจัย การพัฒนาระบบอุดมศึกษาแห่งชาติ และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานการวิจัย นโยบายสนับสนุนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมฝรั่งเศสได้กำหนดนโยบายหลัก ประกอบด้วย 1. การสนับสนุน Triangle of Knowledge ซึ่งคือ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการวิจัย การศึกษา และนวัตกรรม 2. เพิ่มประสิทธิภาพในการสนับสนุนการเชื่อมโยงของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการทำวิจัย เช่น การสร้างคลัสเตอร์ตามภูมิศาสตร์หรือสาขาความเชี่ยวชาญ 3. การลงทุนใน Blue Sky Research ซึ่งเป็นการวิจัยที่ไม่สามาถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ทันทีแต่อาจนำไปสู่แง่คิดทางทฤษฎีและการสร้างการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากห้องปฏิบัติการสู่ตลาด ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติของฝรั่งเศสเป็นสถาบันวิจัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศฝรั่งเศสและเป็นองค์กรทางด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่ใหญ่ในยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์คือ ทำการประเมินและดำเนินงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ชั้นสูงใหม่ๆ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ ทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ พัฒนา ประยุกต์ใช้ และต่อยอดผลการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือการอบรมด้านการวิจัย เข้าร่วมในกระบวนการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศประจำชาติ และในระดับนานาชาติ และนำผลลัพธ์ไปต่อยอดสู่นโยบายระดับชาติสถาบันวิจัยของรัฐแห่งอื่นๆ ในประเทศฝรั่งเศส ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ MESRI สถาบันวิจัยของรัฐ ได้แก่ Inserm ,Inra, Inria,CEA โดยสถาบันจะทำสัญญากับรัฐบาลเป็นเวลา 4 ปี ในการับการสนับสนุน แต่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายปีด้วยการผ่านการประเมินและยอมรับจากคณะกรรมการ ซึ่งจะประเมินจากเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และผลที่ได้รับหลังจากการนำเสนอเป็นปีต่อปี โดยเงินที่ได้รับร้อยละ 80 เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเงินเดือนพนักงาน ส่วนอีกร้อยละ 20 เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20190624-newsletter-brussels-v9-sep61.pdf
นานาสาระน่ารู้

รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2561
ข่าวกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 8 สิงหาคม 2561 โครงการความร่วมมือ InTBIR เพื่อพัฒนาการรักษาภาวะบาดเจ็บทางสมองที่มาของโครงการ หลักการและเหตุผลของการจัดตั้งเริ่มจากมีผู้ป่วยภาวะบาดเจ็บทางสมองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยสาเหตุหลักของภาวะบาดเจ็บทางสมองคือ อุบัติเหตุบนท้องถนน หล่นจากที่สูง และได้รับแรงกระแทกขณะเล่นกีฬา รูปแบบการทำงาน โครงการความร่วมมือ InTBIR มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อหลักคือ 1.การศึกษาโดยใช้การรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตุการใช้วิธีการรักษาแล้วนำผลการรักษามาเปรียบเทียบเพื่อดูประสิทธิภาพของการรักษา 2.รวบรวมและแบ่งปันข้อมูล เนื่องจากแต่ละประเทศมีประเด็นกฎหมายและจริยธรรมในการส่งต่อข้อมูลระหว่างประเทศ3.ต่อยอดการศึกษา ปัจจุบันโครงการความร่วมมือ InTBIR มีองค์กรที่เข้าร่วมสมาชิก 5 องค์กร ได้แก่ คณะกรรมาธิการยุโรป สถาบันวิจัยสุขภาพของแคนาดา สถาบันสุขภาพแห่งชาตของสหรัฐอเมริกา กระทรวงกลาโหมสหรัฐ และองค์กรการกุศล One Mine การประชุมคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 21 ความเป็นมาและภาพรวม คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา เป็นคณะกรรมาธิการเฉพาะด้านของสหประชาชาติ ภายใต้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม มีหน้าที่ให้คำปรึกษาระดับสูงและข้อเสนอแนะแก่สมัชชาใหญ่ เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติว่าด้วยเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายในระบบสหประชาชาติ โดยเฉพาะบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 43 ประเทศ ประเทศไทยได้เข้าร่วมการประชุมสมัยที่ 18 เป็นสมัยแรก เมื่อวันที่ 4-8 พฤษภาคม 2558 สำหรับการประชุมสมัยที่ 21 หัวข้อหลักคือ1.บทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างมีนัยสำคัญภายในปี ค.ศ.2030 2.การสร้างขีดความสามารถด้านดิจิทัลเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีอยู่และอุบัติใหม่ โดยมุ่งเน้นมิติด้านเพศและด้านเยาวชนบทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสนับสนุนสังคมที่ยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกัน“บทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสนับสนุนสังคมที่ยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกัน” โดยหัวข้อว่า “จากโลกสู่ท้องถิ่น : การสนับสนุนสังคมที่ยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกันในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท” ความก้าวหน้าในการอนุวัตและติดตามผลลัพธ์การประชุม World Summit on the Information Societyวิวัฒนาการของเทคโนโลยีดิจิทัลมีนัยต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วนต้นทุนที่ลดลงของ hard drive storage ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ ได้แก่ วิทยาการหุ่นยนต์ (Robotics) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things หรือ IoT) การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud computing) การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data analytics) การพิมพ์สามมิติ (3D printing) การสร้างขีดความสามารถด้านดิจิทัลเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีอยู่และอุบัติใหม่โดยมุ่งเน้นมิติด้านเพศและด้านเยาวชนทักษะดิจิทัลแบ่งเป็น 4 ระดับ คือการรับเทคโนโลยี (adoption) ระดับที่สองคือการใช้งานขั้นพื้นฐาน (basic use) ระดับที่สามคือการใช้งานเชิงสร้างสรรค์และการดัดแปลงเทคโนโลยี (creative use and adaptation of technologies) และระดับสูงสุดคือการสร้างสรรค์เทคโนโลยีสมัยใหม่ (creation of new technologies) การทบทวนนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมกรอบการดำเนินงานใหม่คือ “นวัตกรรมมีส่วนมาน้อยแค่ไหนในการจัดการปัญหาท้าทายหลักๆ ของสังคม?” กรอบการดำเนินงานใหม่ควรปรับลักษณะเฉพาะให้เป็นภาพสะท้อนเชิงยุทธศาสตร์ที่วางแนวการทบทวนตามความยั่งยืน มีทิศทางแน่นอน ขยายการมีส่วนร่วมให้กว้างขวางขึ้น คำนึงถึงแนวทางใหม่ๆ ของการสร้างนวัตกรรม และให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เชิงนโยบาย บทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างมีนัยสำคัญภายในปี ค.ศ.2030สำหรับรัฐบาลประเทศสมาชิก : เพิ่มการสนับสนุนกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนทั้งในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และเกษตรกรรม สำหรับประชาคมนานาชาติ : อำนวยความสะดวกกิจกรรมวิจัยร่วมระดับนานาชาติและระดับภูมิภาครวมถึงการพยากรณ์แนวโน้ม และการใช้แนวทางแบบองค์รวม ระหว่าง น้ำ อาหาร พลังงาน และสิ่งแวดล้อม ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20190619-newsletter-brussels-v8-aug61.pdf
นานาสาระน่ารู้

รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 7 เดือนกรกฎาคม 2561
ข่าวกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 7 กรกฎาคม 2561 โครงการความร่วมมือ JPND: ความหวังในการจัดการโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทโครงการความร่วมมือ JPND เป็นโครงการวิจัยระดับโลกที่ใหญ่ที่สุดในการศึกษาโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท โดยมุ่งกระตุ้นให้เกิดการลงทุนร่วมระหว่างประเทศเพื่อนำมามาใช้เป็นงบสนับสนุนงานวิจัยในการศึกษาหาสาเหนุและพัฒนาวิธีการรักษาโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท เพื่อที่จะสามารถให้การรักษาได้อย่างเฉพาะเจาะจงได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ หลักการและเหตุผลเริ่มมาจากสถานการณ์ที่ยุโรปกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยโรคที่พบมากและส่งผลต่อสุขภาพคือโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์และพาร์คินสันซึ่งเป็นโรคที่รักษาให้หายได้ยาก โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลจัดการ เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์ทำให้เกิดการถดถอยทางความจำ ความคิดและทักษะอื่น อย่างต่อเนื่อง ความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามอายุ โดยระยะเวลาเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2-10 ปี ในระยะสุดท้ายของโรค ผู้ป่าวยจะไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม สื่อสาร หรือทำกิจวัตรประจำวันของดนได้ จึงต้องการดูแลเป็นพิเศษอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดภาระต่อผู้ดูแลและสังคมโดยรวม รูปแบบการทำงาน กรอบการทำงานแบ่งออกเป็นส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนดังนี้ 1 ปรับปรุบความเข้าทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทให้ดีมากยิ่งขึ้น2 พัฒนาเครื่องมืทางการแพทย์เพื่อให้แพทย์สามาถใช้ในการวินิฉัยตรวจหาโรค และรักษาโรคได้ดีมากยิ่งขึ้น3 พัฒนาโครงสร้างการให้การดูแลและบริการทางสังคมเพื่อช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย โครงการได้กำหนดเป้าของการทำงานไว้ 4 เป้าหมายดังนี้ 1 พัฒนาวิธีการรักษาใหม่ๆ และกำหนดกลยุทธ์ในการป้องกันการเกิดโรค2 ปรับปรุงการให้การบริการและการดูแลทางสุขภาพและทางสังคม 3 สร้างความตระหนักและช่วยให้เกิดการยอมรับต่อผู้ป่วยเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท4 ช่วยบรรเทาภาระทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากโรคชนิดนี้ ขอบเขตการทำงานJPND มุ่งเน้นการทำงาน 3 ด้านหลักดังนี้ 1 การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 2 การศึกษาทางการแพทย์3 งานบริการทางสังคม ไขความลับกล้องโทรทัศน์วิทยุกล้องโทรทรรศน์วิทยุอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ศึกษาคลื่นวิทยุคือ กล้องโทรทรรศน์วิทยุ หลักการทำงานเช่นเดียวกับสถานีรับ-ส่งสัญญาณดาวเทียม แต่กล้องโ?รทรรศน์วิทยุตรวจวัดสัญญาณที่มีความเข้มต่ำมาก มีระบบขับเคลื่อนแม่นยำสูง สามารถติดตามเทหวัตถุท้องฟ้าอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนานหลายชั่วโมง การเพิ่มประสิทธิภาพทำได้โดยเพิ่มขนาดจานรับสัญญาณ เรียกว่า เครือข่ายการแทรกสอดระยะไกล (Very Long Baseline Interferometer: VLBI) ส่งผลให้มีประสิทธิภาพเสมือนกับกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่มีขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุทั้งหมด กล้องโทรทรรศน์วิทยุในประเทศไทยประเทศไทยตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค เหตุน้ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) จึงได้กำหนดแผนติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 40 เมตร และเส้นผ่านศูนย์กลาง 13 เมตร สำหรับกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติของประเทศไทย ประเทศไทยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เมตรกับ บริษัทเอ็ทีเมคคาทรอนิกส์ จำกัด ตั้งอยู่ที่เมืองไมนซ์ สหพันสาธารณรัฐเยอรมนี ในอนาคตประเทศไทยยังมีแผนติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 13 เมตร และขยายเครือข่ายสถานีเชื่อมสัญญาณไปอีก 3 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี กาญจนบุรี และสงขลา ส่งผลให้มีประสิทธิภาพเสมือนกับกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประทศและเชื่อมต่อกับเครือข่าย VLBI ประโยชน์ที่จะได้รับจากการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุเครือข่ายแทรกสอดระยะไกลยีออเดติกส์ของโลก เป็นประโยชน์ต่อกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ในการสร้างและเชื่อมโยงโครงข่ายหมุดหลักฐาน ให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เนื่องจากวิจัยดาราศาสตร์และฟิสิกส์ระดับรากฐานจำเป็นสำหรับงานวิจัยทางวิศวกรรมจึงเปิดโอกาสให้เทคโนโลยีขั้นสูงได้รับการพัฒนา หลายสาขา เช่น วิศวกรรม โทรคมนาคม อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ เกิดเป็นจุดเริ่มต้นในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและความร่วมมือด้านเทคนิคขั้นสูง อาทิ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และภาคอุตสาหกรรม ประโยชน์ด้านอื่นๆ ของดาราศาสตร์วิทยุการศึกษาด้านยีออเดซี่ : ใช้ในการวิจัยชั้นบรรยากาศและธรณีวิทยา เช่น เครือข่ายการแทรกสอดระยะไกล เป็นวิธีวัดตำแหน่งเปลือกโลก ข้อมูลที่ได้เป็นประโยชน์ในการสำรวจและศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเปลือกโลก และการเกิดแผ่นดินไหว การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์บรรยากาศ : คลื่นวิทยุจากเทหวัตถุ โดยโมเลกุลในชั้นบรรยากาศ เช่น น้ำ ออกซิเจน และไนโตรเจน ส่งเสริมการศึกษาและวิจัยด้านการทำฝนหลวง และวางแผนจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและป่าไม้ แนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยแนวคิดที่ 1 : พืชดัดแปลงพันธุกรรมผลิตภัณฑ์พืชดัดแปลงพันธุกรรมภายใต้ชื่อสินค้า “Beauty Leaves” เป็นพืชที่ผลิตโปรตีนที่ช่วยลดการเกิดริ้วรอยก่อนวัย ช่วยให้ผู้บริโภคที่ใช้สารจากพืชดังกล่าวบำรุงผิวหน้ามีผิวหน้าที่ชุ่มชื่นยิ่งขึ้น ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอย ชะลอความแก่ของผิวหน้า แนวคิดนี้มีองค์ความรู้มาจาการผลิตโปรตีนช่วยลดการเกิดริ้วรอยสกัดมาจากเซลล์มนุษย์ จากนั้นจะถูกขนถ่ายด้วยแบคทีเรียเข้าสู่เซลล์พืชต้นแบบ ปลูกง่ายในประเทศไทย แนวคิดที่ 2: เครื่องพิมพ์พลาสเตอร์ปิดแผลแนวคิดเริ่มต้นมาจากพลาสเตอร์ปิดแผลมีขนาดไม่พอดีกับขนาดแผล ดังนั้นหากเราสร้างพลาสเตอร์ยาสำหรับปิดแผลซึ่งมีขนาดพอดีกับขนาดบาดแผลขึ้นมาใช้ได้เอง จะสะดวกอย่างยิ่ง การทำงานเริ่มจากสแกนบาดแผลแล้วใช้โปรแกรมคำนวณหาขนาดบาดแผลที่เล็กที่สุด เครื่องพิมพ์สามมิติจะทำการสร้างพลาสเตอร์แล้วพิมพ์ออกมา ซึ่งสามารถพิมพ์ได้ขนาดที่เหมาะสมกับขนาดของบาดแผลและพิมพ์ได้ครั้งละหลายชิ้น แนวคิดที่ 3 : แว่นตาอัจฉริยะ แว่นตาเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ผู้มีปัญหาทางด้านสายตามักสวมใส่เป็นประจำ แต่ราคาแพง ไม่คงทน การใช้งานจำกัด แว่นตาอัจฉริยะถูกคิดขึ้นมาเพื่อลดปัญหาเหล่านั้น สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือได้ และสือสารโดยตรงกับสมองได้ โดยแว่นตาอัจฉริยะถูกพัฒนามาจากเลนส์น้ำมีต้นทุนการผลิตที่ถูก และสามารถควบคุมได้เพื่อปรับระยะโฟกัสของเลนส์โดยอัตโนมัติ การอ่านและบันทึกคลื่นสมองจาก EEG และ High speed brain computer interfacing technologies ในการสั่งงานการทำงานของแว่นตา สัญญาณภาพที่เห็นไม่ชัดเจนจากสมองจะควบคุมระยะโฟกัสของเลนส์จนสมองรับรู้สัญญาณภาพที่ชัดเจน ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20190624-newsletter-brussels-v7-July61.pdf
นานาสาระน่ารู้

รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2561
ข่าวกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 6 มิถุนายน 2561 งานประชุม Brussels Tech Summit 2018 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2560 อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ได้เข้าร่วมงาน “Brussels Tech Summit” ณ กรุง บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ซึ่งปีนี้มาในธีมธุรกิจอัจฉริยะ หรือ Intelligent Enterprises เช่น ระบบดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ โดยภายในงานประชุมมีการนำเสนอแนวโน้มทางเทคโนโลยีที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้ 1 สังคมแห่งปัญญาประดิษฐ์ (Citizen AI) โดยมีการใช้ปัญญาประดิษฐ์มาเป็นแรงงานแทนมนุษย์ จึงจำเป็นต้องตระหนักถึงผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ด้วย เช่น รถยนต์อัตโนมัติเมื่อหลายปีก่อนเราพัฒนาเพื่อให้เกิดการใช้งานที่ปลอดภัยแต่มาในปัจจุบันได้พัฒนาระบบรถยนต์โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าไปด้วย กล่าวคือ ระบบคอมพิวเตอร์ในรถที่เชื่อมต่อกับระบบ Cloud สามารถคำนวณระยะทางและการตัดสินใจในการขับรถและมีปฎิกิริยากับสิ่งแวดล้อม เหตุการณ์ไหนควรตัดสินใจอย่างไร และจะเกิดผลกระทบตามมาอย่างไร ซึ่งเป็นประโยชน์ช่วยลดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนน2 โลกเสมือนผสานโลกจริง (Extended Reality) ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบเสมือนจริง หรือเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality หรือ VR) เป็นเทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อจำลองสภาพแวดล้อมต่างๆด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้จำลองเพียงภาพและเสียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประสาทสัมผัสอื่นด้วย อีกหนึ่งเทคโนโลยีคือ ความเป็นจริงเสริมหรือความเป็นจริงแต่งเติม (Augmented Reality หรือ AR) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นำภาพเสมือนที่เป็นรูปแบบ 3 มิติ จำลองเข้าสู่โลกจริงผ่านกล้องและการประมวลผลที่จะนำวัตถุมาทับซ้อนเข้าเป็นภาพเดียวกัน การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของ Virtual Reality และ Augmented Reality นำมาพัฒนาธุรกิจ เช่น การใช้เทคโนโลยี Virtual Reality มาใช้ในการสมัครงาน โดยผู้สมัครสามารถดูบรรยากาสการทำงานจริงๆ ซึงถือว่าเป็นการประหยัดเวลากทั้งฝ่ายผู้สม้ครและนายจ้าง ส่วนในภาคเอกชน บริษัท Uniqlo ได้นำเทคโนโลยี Augmented Reality มาประยุกต์ใช้กับการส่องกระจกดูเสื้อผ้าผ่าน QR-Code ซี่งลูกค้าจะได้ลองชุดเสมือนจริงผ่านกระจกเงา 3 คุณภาพของข้อมูล (data veracity) คือ คุณภาพหรือความแม่นยำของข้อมูลที่มาจากแหล่งต่างๆ ซึ่งต้องมาทำการจัดระเบียบและวิเคราะห์ข้อมูลมีความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด 4 ธุรกิจที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Frictionless Business) องค์กรธุรกิจต้องอาศัยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีในการขับเคลื่อนการเติบโตอย่างต่อเนื่อง การผลักดันให้เกิดองค์กรอัจฉริยะจึงต้องเริ่มจากการออกแบบองค์กรแบบใหม่ เช่น บริษัทขายที่ตระหนักถึงแนวโน้มของผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ ได้มีการพัฒนาโซลูชั่นให้ลูกค้าสามารถรู้ต้นทางของผลไม้ที่จะซื้อว่าปลูกมาจากไหน เมื่อไหร่ ซึ่งเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถตรวจสอบที่มาได้ในเวลาไม่กี่วินาที 5 ระบบคิดที่เชื่อมต่อกัน (Internet of Thinking) การเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ และความเป็นจริงเสมือนการสร้างสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ให้เกิดขึ้นนอกจากต้องอาศัยบุคลากรและทักษะความเชี่ยวชาญใหม่ๆ แล้ว ยังจำเป็นต้องทำให้โครงสร้างทางเทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีความทันสมัยขึ้นด้วย ในอดีตอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) หมายถึงทุกอย่างในอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อกัน แต่เมื่อมาถึงยุค Internet of Thinking นักพัฒนาต่างก็พยายามที่จะพัฒนาเทคโนโลยี และการใช้งานบนพื้นฐานใหม่ คือ การกระจายความคิดใหม่ๆ ออกไป ปัจจัยหลักต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร : สิ่งที่ควรรู้ในการต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ปัจจัยหลักที่มีผลต่ออนาคตของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารมีอยู่ 2 ประการคือ ตลาดและระบบการผลิต แบ่งเป็น 2 ปัจจัยย่อยได้แก่ 1) การพัฒนาระหว่างประเทศ และ 2) ผู้บริโภค สำหรับปัจจัยทางระบบการผลิตถูกแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัยย่อยได้แก่ 1) ความสามารถในการผลิต 2) ความสามารถในการทำกำไร และ 3) ความยั่งยืนปัจจัยการพัฒนาระหว่างประเทศ ประชากรทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยคาดการณ์ว่าจะเพิ่มไปถึง 11.2 พันล้านคนทั่วโลก ซึ่งหมายความว่าความต้องการด้านอาหารก็จะเพิ่มขึ้นด้วยซึ่งเราจำเป็นต้องเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้ ปัจจัยทางด้านผู้บริโภค อาหารมีความสัมพันธ์และเปลี่ยนแปลงไปตามระดับพัฒนาและ GDP ของประเทศ เช่น ประเทศที่ด้อยพัฒนาซึ่งมีค่า GDP ต่ำมากๆ ประชากรจะนิยมเลือกรับประทานอาหารที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน เช่น ธัญพืช ข้าว และ ถั่ว แต่สำหรับประเทศพัฒนาและมีค่า GDP สูง เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ประเทศในทวีปยุโรป จะเลือกรับประทานอาหารที่มีความซับซ้อน คุณภาพ มีความหลากหลาย มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต เช่น อาหารปลอดสารพิษ อาหารออร์แกนิก อาหารเพื่อส่งเสริมหรืออาหารฟังก์ชัน และอาหารเพื่อรักษาโรค ปัจจัยด้านความสามารถในการผลิต ปัจจุบันความสามารถการผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการในการใช้ทรัพยากร เช่น ที่ดิน น้ำ แรงงาน และพลังงาน โดยสิ่งที่เราต้องการคือเทคโนโลยี เพื่อมากระตุ้นให้ความสามารถในการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อจัดการการมีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด แต่การใช้ทรัพยากรไม่จำกัด เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความสามารถการผลิตคือ Big data ซึ่งจะมีข้อมูลในส่วนของผู้บริโภค ข้อมูลการซื้อขายสินค้า ข้อมูลที่ใช้ใน social media และข้อมูลที่เชื่อมโยงกับอุปกรณ์ โดยข้อมูลเหล่านี้นำมาพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต เพิ่มระดับคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร สร้างนวัตกรรมอาหารใหม่ๆ สุดท้ายนำไปสู่การพัฒนาสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ปัจจัยด้านความสามารถในการทำกำไรปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดในการทำกำไรก็คือราคา แต่ปัจจุบันราคาสินค้าอาหารและการเกษตรมีความผันผวนเป็นอย่างมาก หมายความว่าวันนี้ผู้ผลิตอาจจะได้กำไร แต่พรุ่งนี้อาจจะขาดทุน ดังนั้นการจัดการกับความผันผวนของราคาเป็นสิ่งจำเป็น ปัจจัยด้านความยั่งยืน ความยั่งยืนเป็นประเด็นสำคัญทั้งวาระทางการเมืองและการพาณิชย์ในทุกห่วงโซ่การผลิตการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้ครอบคลุม 3 มิติ ดังนี้ คือ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม การพัฒนาด้านเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศเยอรมนีความสำคัญของเศรษฐกิจชีวภาพในประเทศเยอรมนีเศรษฐกิจชีวภาพในประเทศเยอรมนีครอบคลุมทั้งภาคการผลิตและบริการที่มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น พืช สัตว์ จุลินทรีย์ รวมถึงวัตถุดิบจากภาคการเกษตร ป่าไม้ ประมง ของเสียชีวภาพต่างๆ ชีวมวลที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมชีวภาพที่สำคัญประกอบด้วย 1 ไม้ ชีวมวลจากภาคเกษตร ประกอบด้วยพืชสำหรับผลิตไบโอดีเซล ได้แก่ เรพซีด ปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือ และละหุ่ง 2 พืชสำหรับผลิตเอทานอล ได้แก่ ข้าวโพด ช้าวสาลี อ้อย หัวบีท และฟาง และ3 พืนที่นำมาผลิตก๊าซชีวภาพ ได้แก่ ต้นข้าวโพด หญ้า หัวบีท และเศษของพืชต่างรวมถึงของเสียจากภาคอุสาหกรรม นโยบายเศรษฐกิจชีวภาพของเยอรมนีเยอรมนีมีการจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เช่น ยุทธศาสตร์วิจัย “National Research Strategy Bioeconomy 2030” เพื่อใช้เป็นกรอบการวิจัยและพัฒนาด้านเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศ แผนการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน “German Resource Efficiency Programme” แผนการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน “Energy Concept for and Environmentally Sound, Reliable and Affordable Energy Supply” และ แผนที่นำทางการพัฒนาอุตสาหกรรมโรงกลั่นชีวภาพของประเทศ “Biorefineries Roadmap” เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการประสานงานในระดับนโยบาย และมีการจัดการและสื่อสารข้อมูสู่สังคม รวมถึงมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างกระทรวงเพื่อผลักดันเศรษฐกิจชีวภาพ กลยุทธ์พัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพเทคโนโลยีชีวภาพ มีบทบาทอย่างมากในแผน National Research Strategy Bioeconomy 2030 โดยกำหนดเป้าหมายชีวภาพให้ประเทศเป็นศูนย์กลางการวิจัยและนวัตกรรมเศรษฐกิจชีวภาพของโลก " A Leading Research and innovation center in bioeconomy” พัฒนาและกระตุ้นการเติบโตของผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพ โดยส่งเสริ่มการวิจัยและพัฒนา ใน5 เรื่องหลัก ได้แก่ 1) การสร้างความมั่นคงด้านอาหาร 2) การผลิตอาหารที่ปลอดภัยและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ 3) การเพาะปลูกและทำการเกษตรอย่างยั่งยืน 4) การพัฒนาพลังงานจากชีวมวล 5) การใช้ทรัพยากรหมุนเวียนในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ระบบการวิจัยของเยอรมนีการเตรียมความพร้มด้านเทคโนโลยีเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เป็นการรวมตัวของ 4 หน่วยงานวิจัย มุ่นเน้นสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ 4 สาขา ได้แก่ อาหารและอาหารสัตว์ เชื้อเพลิงชีวภาพ วัสดุชีวภาพ และ เคมีชีวภาพ หน่วยงานวิจัยหลักด้านเศรษฐกิจชีวภาพหน่วยงานวิจัยหลักด้านเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศเยอรมนีคือ German Bioeconomy Council ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 17 ท่านมาจากหลายสาขา หน้าที่ของหน่วยงานนี้คือ 1 สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับการก้าวสู่เศรษฐกิจชีวภาพบนฐานความรู้2 กำหนดกรอบ/ปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพ3 พัฒนาระบบการฝึกอบรมและการสร้างผู้เชี่ยวชาญเพื่อรองรับเศรษฐกิจชีวภาพ4 การสื่อสารกับกลุ่มต่างๆ ของสังคม ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20190620-newsletter-brussels-v6-june61.pdf
นานาสาระน่ารู้

รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2561
ข่าวกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 5 พฤษภาคม 2561 การประชุมวิชาการนักเรียนไทยในทวีปยุโรป (TSAC2018) ครั้งที่ 7 ประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 18-20 พ.ค.61 สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์ได้ร่วมกับสำนักงาน ก.พ. จัดประชุมวิชาการนักเรียนไทยในทวีปยุโรป (TSAC2018) ครั้งที่ 7 ประจำปี 2561 ในหัวข้อ “การมุ่งเน้นนำความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์” ภายใต้แนวคิด “Bridging Academic Research and Practical Impleicatain : knowledge creation and transferring”พร้อมทั้งบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ : ทิศทางและนโยบายกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการพัฒนาประเทศไทยโดยการใช้นวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง (middle-income trap) งานประชุมวิชาการนักเรียนไทยในทวีปยุโรปจัดครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2555 โดยสมาคมนักเรียนไทยในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ และมีการจัดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีหมุนเวียนไปตามประเทศต่างๆ เป้าหมายเพื่อเป็นเวทีให้นักเรียนไทยได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในงานวิจัย ประสบการณ์จากการเรียน และการใช้ชีวิตในต่างประเทศ สิ่งสำคัญอีกประการของการประชุมคือ การสร้างเครือข่ายนักเรียนและนักวิจัยในทวีปยุโรป โดยการประชุมวิชาการนักเรียนไทยในทวีปยุโรปครั้งที่ 7 จัดขึ้น ณ ประเทศเบลเยียม เนื่องจากได้ให้ความสำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยเพื่อนำไปสู่การใช้งานจริง โดยมีการจัดตั้งหน่วยงานและความช่วยเหลือในการจัดตั้ง บริษัท Startup และ Spin-off ผู้เข้าร่วมประกอบด้วยนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาและทำวิจัยในทวีปยุโรประดับปริญญาโท-เอก จำนวน 62 คน Fraunhofer Institute Center Schloss Birlinghoven (IZB) สถาบันฟรอนโฮเฟอร์ IZB เป็นศูนย์วิจัยด้านสารสนเทศและคณิตศาสตร์ประยุกต์ที่ใหญ่ที่สุดในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมณี เพื่อวิจัยถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมและสังคม 1. Fraunhofer-Institute for Algorithms and Scientific Computing (SCAI) ดำเนินการวิจัยในด้านการจำลองทางคอมพิวเตอร์เพื่อใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต รวมถึงการออกแบบและเพิ่มประสิทธิภาพของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม และทำการคำนวณผ่านการใช้คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computer) นอกจากนี้ยังมีฝ่ายชีวสารสนเทศ (Bioinformatics) ที่มุ่งเน้นพัฒนาวิธีการเพื่อใช้สำหรับการสกัดข้อมูลและเคมีสารสารสนเทศ2. Fraunhofer Institute for Applied Information Technology (FIT) จะดำเนินการวิจัยในรูปแบบบูรณาการระหว่างสาขา โดยจะบูรณาการความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์3. Fraunhofer Institute for Intelligent Analysis and Information Systems (IAIS) พัฒนานวัตกรรมในการวิเคราะห์และสร้างข้อมูล โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสาขาการทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) ซึ่งเป็นกระบวนการใช้ข้อมูลจำนวนมากเพื่อค้นหารูปแบบและความสัมพันธ์ และสาขาธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence, BI) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำหรับการรวบรวมข้อมูล จัดเก็บ วิเคราะห์ และการเข้าถึงข้อมูลนำมาพัฒนาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ บริการและกระบวนการผลิต 4. Fraunhofer Institute for Secure Information Technology (SIT) ดูแลเรื่องการจัดการความปลอดภัยของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานวิจัยที่มุ่งเน้นของสถาบันฟรอนโฮเฟอร์ IZB1 ระบบกริดและการคำนวณแบบกลุ่มก้อนเมฆ (Grid and Cloud Computing) โดยจะต่อยอดการใช้เทคโนโลยีเว็บไซต์ไปยังการบริการอื่นๆ ในสาขาเทคโนโลยีเว็บไซต์2 การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) เป็นกระบวนการที่ใช้ข้อมูลจำนวนมากเพื่อค้นหารูปแบบและความสัมพันธ์ แล้วสกัดพร้อมแปลผลข้อมูลออกมา3 การออกแบบระบบโต้ตอบระหว่างเครื่องจักรกับมนุษย์ (Man-machine interaction, MMI) ข้อมูลสถานภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม (วทน.) ของประเทศออสเตรียประเทศออสเตรียมีจุดแข็งด้านพลังงานสะอาดและพลังงานทดแทน นวัตกรรมด้านการคมนาคมโดยเฉพาะขนส่งระบบราง ชีววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีด้านการแพทย์และเภสัชศาสตร์ชีวภาพฯ ประเทศออสเตรีย มี 3 กระทรวงที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ประกอบด้วย 1 กระทรวงวิทยาศาสตร์ วิจัย และเศรษฐกิจ เป็นกระทรวงที่สร้างแนวทางให้กับบริษัทและภาคเอกชน ผ่านการสนับสนุนด้านการวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม มีพันธกิจหลักในด้านวิทยาศาสตร์และการศึกษาระดับอุดมศึกษา การวิจัย การวางนโยบายเศรษฐกิจและการพัฒนานวัตกรรม นโยบายการค้าระหว่างประเทศ2 กระทรวงขนส่ง นวัตกรรม และเทคโนโลยี เป็นกระทรวงที่สร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมนวัตกรรม รับผิดชอบ 3 ด้านหลักๆ ได้แก่ ด้านคมนาคม ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี และด้านโทรคมนาคม 3 กระทรวงเกษตร ป่าไม้ สิ่งแวดล้อมและการจัดการน้ำ ทำหน้าที่ในการดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร การดูแลป่าไม้และสิ่งแวดล้อม โดยมีพันธกิจหลัก 6 อย่างคือ - การผลักดันการใช้พลังงานทดแทนในกิจการและคาร์บอนไดออกไซด์ - การนำนวัตกรรมด้านต่างๆ มาใช้เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม- การให้ความรู้ต่อผู้บริโภคในการเลือกซื้อและตัดสินใจในการซื้อสินค้า- การปลูกจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อการใช้ทรัพยากร น้ำ ป่าไม้ อากาศ - ส่งเสริมกิจกรรมการเกษตรและกสิกรรมในชนบทเพื่อเป็นฐานความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน- การจัดการอุทกภัย เช่น น้ำท่วม ระบุความเสี่ยงด้านอุทกภัยและตำแหน่งที่เกิด นโยบายและมาตรการป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดอุทกภัยความร่วมมือด้าน วทน. ระหว่างประเทศไทยและประเทศออสเตรีย ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระหว่างประเทศไทยและประเทศออสเตรียดำเนินการผ่าน องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพ.) และ Natural History Museum Vienna โดยรูปแบบของความร่วมมือมีทั้งการจัดแสดงผลงานวิจัย และแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักวิจัย ปัญหาการนำเข้าขยะพลาสติกจากยุโรปเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อปี 2560 ช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม สหราชอาณาจักรได้ส่งออกขยะพลาสติกมายังประเทศไทยเป็นจำนวน 51,000 กิโลกรัม แต่ในช่วงเดียวกันของปี 2561 พบว่าขยะพลาสติกถูกส่งมาสูงขึ้นเป็น 5,473,440 กิโลกรัม นอกจากนี้มีรายงานการนำเข้าขยะพลาสติกโดยไม่ถูกกฎหมาย มีสารเคมีปนเปื้อน มีกลิ่นเหม็น รวมถึงมีโลหะปะปน การพิจารณาการออกกฎระเบียบห้ามนำเข้าขยะพลาสติกของประเทศไทยโดยปกติการนำเข้าจะต้องทำการขออนุญาต ผู้ประกอบการต้องยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์ขอนำเข้าเศษพลาสติก พร้อมเอกสารหลักฐานไปยังสำนักควบคุมวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20190617-newsletter-brussels-v5-may61.pdf
นานาสาระน่ารู้