ผลการค้นหา :

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ 2564
วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ 2564
ย้อนอดีตอารยธรรมเก่าแก่ในเม็กซิโก
ศูนย์กลางความเจริญและยิ่งใหญ่ในอดีต ที่เรียกว่า Mesoamerica ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตสหรัฐเม็กซิโก ดังปรากฎให้เห็นร่องรอยอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไม่แพ้อารยธรรมของอาณาจักรในเขตเอเชียและยุโรป
อารยธรรมโบราณในเม็กซิโก มีความซับซ้อนและแทรกไปด้วยวิทยาศาสตร์และวิทยาการที่ล้ำสมัย ในยุคแรกวัฒนธรรมหลักจาก 4 ชาติ ได้แก่ โอลเม็ก (Olmec), มายา (Maya), แอชเท็ก (Aztec) และอินคา (Inca) สามชนเผ่าแรกอาศัยอยู่ในเม็กซิโก ในแต่ละช่วงเวลา มีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่ก่อให้เกิดผลงานในด้านศิลปะ วรรณกรรม และวิทยาศาสตร์ ที่ยังคงเหลือซากปรักหักพัง แทรกไปด้วยความลี้ลับว่า เป็นผลงานของมนุษย์หรือไม่ โดยพื้นที่เหล่านี้ได้รับการจดทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกจากองค์การ UNESCO
Timeline ของแต่ละชนเผ่าในเม็กซิโก
- Pre-classic ช่วงก่อนคริสตศักราช 1200 ปี จนถึง ค.ศ. 400 เป็นยุครุ่งเรืองของอารยธรรมของชาวโอลเม็ก มีถิ่นอาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มเขตร้อนทางตอนใต้ของเม็กซิโกตอนกลาง พื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มมีเนินเขาเตี้ย ๆ สันเขา และภูเขาไฟ
ชาวโอลเม็กมีการสร้างรูปแกะสลักหินหยกและมีประติมากรรมแกะสลักที่เรียกว่า Colossal heads เป็นการแกะสลักหินรูหัวขนาดใหญ่ถึง 8 ฟุต และมีพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ซับซ้อน โอลเม็กถือเป็นอารยธรรมแม่ของทุกวัฒนธรรมใน Mesoamerica (ส่วนของเม็กซิโกและอเมริกากลาง) แต่กลับเป็นอารยธรรมที่คนรู้จักน้อยที่สุด
- ยุค Classic หรือช่วย ปี ค.ศ. 250 - ค.ศ. 950 เป็นยุคที่ปกครองโดยชาวมายัน มีศูนย์กลางอยู่ในที่ราบลุ่มเขตร้อนราบลุ่มเขตร้อนทางตะวันออกเฉียงใต้ของเม็กซิโก (บริเวณคาบสมุทรยูคาตาน) กัวเตมาลา ทางตอนเหนือของฮอนดูรัส และพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเอลซัลวาดอร์ ชาวมายันมีการเรียนรู้อักษรอียิปต์ งานศิลปะเป็นลักษณะภาพเขียน จิตกรรมฝาผนัง/หิน และไม้แกะสลัก สร้างมหาวิหารที่ยิ่งใหญ่ Chichén Itzá ชาวมายันเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ขั้นสูง มีการคิดค้นปฏิทินที่แม่นยำ
- Post-classic หรือช่วงปี ค.ศ. 1300 – 1521 เป็นยุครุ่งเรืองของชาวแอชเท็ก มีถิ่นอาศัยในหุบเขาทางตอนกลางและตอนใต้ของเม็กซิโก
ประติมากรรมของชาวแอชเท็ก เป็นการแกะสลักขนาดใหญ่ รูปแกะสลักคล้ายบล็อกที่ใช้เป็นเหมือนเสาตั้ง รวมถึงการสร้างสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ในรูปแบบของการสร้างมหาอำนาจ แสดงความยิ่งใหญ่ สถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ของชาวแอชเท็กที่เป็นที่รู้จักคือ Teotihuacán หรือมหาปิระมิดพระอาทิตย์ และพระจันทร์ นอกจากนั้น ยังมีการใช้รูปทรงเรขาคณิตในการวาดภาพและจิตรกรรม
เม็กซิโก จึงเป็นประเทศที่น่าศึกษา ค้นคว้า วิจัย ในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ผนวกกับวัฒนธรรมที่มีความแปลกและความก้าวหน้าในกาลก่อน
ชาวมายันนักศาสตร์และศิลป์ดึกดำบรรพ์
อารยธรรมของชาวมายัน เป็นอารยธรรมที่รุ่งโรจน์ที่สุดในทวีปอเมริกา ในแถบคาบสมุทรยูคาตาน
การคำนวณทางคณิตศาสตร์
ระบบตัวเลขของชาวมายันมาจากการใช้สัญลักษณ์ง่าย ๆ ที่ทำให้สามารถบวก ลบ คูณ หาร ได้โดยใช้สัญลักษณ์เพียง 3 แบบเท่านั้น นอกจากคิดค้น ระบบคณิตศาสตร์พื้นฐานแล้ว ชาวมายันยังได้เรียกได้ว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีการพัฒนาการคำนวณทางคณิตศาสตร์ขั้นสูงและอาศัยการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติจากตาเปล่า ทำให้สามารถคำนวณปฏิทินที่ความแม่นยำมากอย่างไม่น่าเชื่ออีกด้วย
การศึกษาด้านดาราศาสตร์
สร้างระบบปฏิทินที่มีความซับซ้อน มีการคำนวณปีสุริยคติที่แม่นยำและค่ามีตัวเลขที่ใกล้เคียงกับการคำนวณในปัจจุบันอย่างน่าอัศจรรย์ หนึ่งในนั้นเรียกว่า ปฏิทินแบบ Haab ซึ่งเป็นปฏิทินที่มีจำนวนวันในหนึ่งปีเท่ากับตัวเลขที่เราใช้กันในปัจจุบันคือ 365 วัน โดยชาวมายันคำนวณว่า หนึ่งปีสุริยคติของพวกเขามีจำนวนวันทั้งหมด 365.2422 วัน (ระยะเวลานานกว่า 365 วันเล็กน้อย) ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับที่นักวิชาการร่วมสมัยคำนวณไว้ที่ 365.24219 วัน รวมถึง การคำนวณความยาวของเดือนจันทรคติอยู่ที่ 29.5308 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับการประมาณในปัจจุบันที่ 29.53059 วัน เป็นอย่างมากทีเดียว
การใช้ยาหลอนประสาท (Hallucinogenic Drugs)
การใช้ยาหลอนประสาทของชาวมายัน เพื่อประกอบพิธีกรรมเพื่อบูชาเทพเจ้า โดยในพิธีกรรมจะมีการดื่มเครื่องดื่มหรือกินพืชที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการมึนเมา เกิดภาพหลอน ชาวมายันเชื่อว่าทำให้สามารถติดต่อกับโลกแห่งจิตวิญญาณและสามารถเห็นในสิ่งที่ปกติเราไม่สามารถเห็นได้ เครื่องดื่มและพืชที่ว่านี้มีหลายอย่าง เช่น บัลเช่ (balché) เครื่องดื่มที่ได้จากการชงเปลือกไม้ Lonchocarpus longistylus ผสมกับน้ำผึ้ง ฯ
ในปัจจุบัน พืชบางประเภทนำมาใช้ทางการแพทย์ เพื่อรักษาอาการหดหู่ซึมเศร้าอย่างรุนแรง (major depressive disorder-MDD/clinical depression) และมีรายงานในวารสารทางการแพทย์ JAMA Psychiatry ในปี 2559 กล่าวถึงการใช้เห็ดมหัศจรรย์ในการบรรเทาอาการหดหู่และวิตกกังวลในคนป่วยที่เป็นมะเร็งในขั้นรุนแรง ซึ่งในปัจจุบัน ยาหลอนประสาท จากสิ่งที่เป็นสารต้องห้ามผิดกฎหมายในหลายประเทศ ได้มีผลงานวิจัย ยืนยันว่า มีสรรพคุณในการบำบัดโรคได้หลากหลาย โดยเฉพาะสารที่ได้จากพืชประเภทกัญชา
ลูกบอลยางพารา
ต้นยางพารา เป็นพืชท้องถิ่นในแถบอเมริกากลาง ชาวมายันเป็นชนกลุ่มแรกที่รู้จักกรีดยางนำมาใช้ประโยชน์ ก่อนชาวยุโรป หรือ Charles Goodyear นักเคมีชาวอเมริกัน จะพัฒนาผลิตภัณฑ์จากยางพารา
หลักฐานจากบันทึกของชาวสเปน ภาพสลักบนผนัง และขั้นบันไดของวิหารอุปกรณ์เครื่องไม้ได้ค้นพบ รวมถึง สนามแข่งบอลหนัง พบว่า ชาวมายันผสมน้ำยางและสารจากพืชอื่น ๆ ทำให้เกิดความยืดหยุ่นและนำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ ภาชนะ รองเท้า รวมถึงลูกบอล โดยลูกบอลในสมัยชาวมายันทำมาจากยางตันทั้งก้อนขนาดและน้ำหนักแตกต่างไปในแต่ละศตวรรษ
ช็อคโกแลต
ช็อคโกแลตมีจุดกำเนิดมาในยุคชาวมายัน จากการศึกษาของนักโบราณคดี พบสาร Theobromine หลงเหลือบนถ้วยโบราณ ซึ่งเป็นสารที่ได้จากเมล็ดโกโก้ อีกทั้งภาพวาดของชาวมายัน วาดภาพกลุ่มชนชั้นสูงกำลังดื่มโกโก้และภาพเทพเจ้า เรียกได้ว่า เป็นของบวงสรวงถวายพระเจ้าเลยทีเดียว
ต้นโกโก้เป็นพืชท้องถิ่นมีการเพาะปลูกของชนเผ่ามายา โดยแกะเมล็ดออก แล้วนำเมล็ดไปหมัก เมื่อหมักได้ที่แล้ว คั่วเมล็ดโกโก้ให้หอม ฝัดให้เปลือกของเมล็ดโกโก้หลุด และบด จะได้เครื่องดื่มที่เรียกว่า “คาเคา (kakaw)” หรือโกโก้ในปัจจุบัน ในสมัยนั้น ชาวมายันผสมผงโกโก้ พริกไทย และข้าวโพดคั่วเพื่อผสมเป็นเครื่องดื่มสำหรับใช้ในงานพิธีต่าง ๆ
ศิลปะ
งานศิลปะของชาวมายันได้รับการยกย่องในด้านการใช้เทคนิคด้านวิศวกรรม และสถาปัตยกรรม ผสมผสานกับงานศิลปะที่เป็นแบบเฉพาะ เช่น การใช้ไม้ หยก หินออบซิเตียน (หินอัคนีเนื้อละเอียด สีดำ เป็นมันวาว) และดินเผา งานแกะสลักหิน งานประติมากรรม อาทิในเขตโบราณสถาน Palenque และ Yaxchilan ของเม็กซิโก
ระบบการเขียน
ชาวมายันได้คิดค้นรูปแบบการเขียนที่เรียกว่า glyphs ซึ่งเป็นภาพสัญลักษณ์ ใช้อธิบายหรือแทนคำ มีการใช้ภาพสัญลักษณ์ ประมาณ 700 สัญลักษณ์ ชาวมายันเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และความสำเร็จของชนเผ่าผ่านภาพสัญลักษณ์บนเสา กำแพง หรือบนแผ่นหินขนาดใหญ่ รวมทั้ง เรื่องราวการดำเนินชีวิตประจำวัน ปัจจุบันภาษามายาได้มีการแปลและทำความเข้าใจแล้ว ประมาณ 75%
สหรัฐเม็กซิโก ยุคร่วมสมัยกับนวัตกรรมเปลี่ยนโลกที่เกิดจากเม็กซิโก
การล่มสลายของอาณาจักรเอซเท็ก เม็กซิโกตกอยู่ในฐานะรัฐอาณานิคมของสเปน 300 ปี (ปี 2064 – 2364 สมัยอยุธยาตอนกลาง ถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น) ในช่วงนั้น เม็กซิโก ได้รับอิทธิพลจากยุโรปจนเกิดสงครามประกาศเอกราชที่กินเวลายาวนานถึง 10 ปี และในปี 2364 (สมัยรัชกาลที่ 2) เม็กซิโกได้รับเอกราช ผ่านรูปแบบจักรวรรดิที่มีจักรพรรดิ และสหพันธรัฐที่มีประธานาธิบดี จนกระทั่ง ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1940 – 1980 เป็นช่วงที่เม็กซิโกมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงเวลานี้ “มหัศจรรย์เม็กซิโก” (EI Milagro Mexicano) ยุคนี้เม็กซิโกได้เป็นประเทศที่คิดค้นนวัตกรรมหลายด้าน เช่น
โทรทัศน์สี
โทรทัศน์สีเครื่องแรก สร้างโดยนาย Guillermo González Camarena ชาวเม็กซิกัน ได้คิดค้นอุปกรณ์ Chromoscopic Adapter ซึ่งเป็นระบบส่งสัญญาณในโทรทัศน์สีในยุคแรก ๆ และได้จดสิทธิบัตรอย่างเป็นทางการในเวลาต่อมา
ยาเม็ดคุมกำเนิด (Oral Contraceptives)
การปฏิวัติการคุมกำเนิดเกิดขึ้นในช่วงคริสตทศวรรษที่ 1960 โดย Luis Miramontes นักเคมีชาวเม็กซิกัน ร่ามคิดค้นการสังเคราะห์ส่วนผสมสำคัญที่ใช้ในยาเม็ดคุมกำเนิดที่เรียกว่า progestin norethindrone โดยได้จดสิทธิบัตร จึงถือได้ว่า ยาเม็ดคุมกำเนิดเม็ดแรกของโลกเกิดที่ประเทศนี้
น้ำหมึกทนทาน (Indelible Ink)
นาย Filiberto VázquezDávila นักวิศวกรชีวเคมีชาวเม็กซิกัน ได้คิดค้นหมึกพิเศษที่จะซึมอยู่ในผิวหนังและไม่สามารถลบออกได้ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง โดยไม่เป็นพิษต่อร่างกาย ซึ่งต่อมา หมึกนี้ได้มีการนำมาใช้ในการทำหลักฐานบนมนุษย์ เพื่อป้องกันการทำผิด และการทุจริต โดยเฉพาะการใช้ประทับนิ้วมือของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาใช้สิทธิ์แล้ว และนำไปใช้ในการเข้าร่วมกิจกรรมคอนเสิร์ต ละคร กาลเล่น หรือสวนสนุก
เทคนิคการล้างอักษรที่พ่นตามกำแพง (Anti-Graffti Paint)
National Autonomous University of Mexico (UNAM) มหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของเม็กซิโก ได้มีการคิดค้นทางนาโนเทคโนโลยีพัฒนาสีพิเศษ Deletum 3000 ที่ได้รับการชนานนามว่าเป็นสีป้องกัน Graffiti Paint โดยย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ก้าวหน้าในยุคใหม่ของเม็กซิโก
เม็กซิโก ได้ร่วมทำความตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือฉบับใหม่กับสหรัฐฯ และแคนาดา มุ่งเน้นการค้าเสรีระหว่าง 3 ประเทศ แต่ได้มีการปรับและเพิ่มกฎระเบียบ เช่น กฎหมายแรงงาน ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเข้าถึงตลาดได้มากขึ้น การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการค้าดิจิทัล อย่างไรก็ตาม เม็กซิโกยังประสบปัญหาเช่นประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย คือ ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ช่องว่างรายได้ และการกระจายการพัฒนาที่ไม่สมดุล
เทคโนโลยีด้านการสำรวจระยะไกลวิธีใหม่ในค้นพบหลักฐานทางโบราณคดี
เม็กซิโกมีแหล่งโบราณคดีกว่า 29,000 แห่ง มีหลายแหล่งที่องค์การ UNESCO จดทะเบียนให้เป็นมรดกโลก การค้นหาและศึกษาแหล่งโบราณคดี ช่วยให้เราเข้าใจต้นกำเนิด วิวัฒนาการ และรูปแบบสังคมของมนุษยชาติในอดีต เทคโนโลยีที่ใช้ค้นหาแหล่งโบราณคดีในปัจจุบันเรียกว่า Light Detection and Ranging หรือ LIDAR
การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ/การเกษตร
สถาบัน Technological Institute of Higher Studies of Monterrey (ITESM) เป็นสถาบันเทคโนโลยีชีวภาพที่ได้รวมโครงการวิจัยในสาขาต่าง ๆ เช่น สารเคมี เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร ชีววิทยา และวิศวกรรม ชีวการแพทย์ ในรัฐ Morelos มีมหาวิทยาลัย National Autonomous University of Mexico (UNAM) เป็นผู้นำกลุ่มการศึกษาวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพที่เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาโมเลกุลของพืชเวชศาสตร์โมเลกุลและเทคโนโลยีชีวภาพอีกทั้งมีศูนย์ Center for Genomic Sciences
การพัฒนาเทคโนโลยีการแจ้งเตือนภัยแผ่นดินไหว
ศูนย์ Center for Seismic instrumentation and Registry (Centro de Instrumentación y Registro Sísmico: CIRES) ได้พัฒนา Earthquake early warning system (EEW) หรือระบบเตือนภัยแผ่นดินไหวล่วงหน้า เป็นระบบเตือนภัยล่วงหน้าระบบแรกของโลก
การพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ และอากาศยาน
ยานยนต์
เม็กซิโกเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์อันดับที่ 5 ของโลก รัฐบาลให้ความสำคัญกับการค้นคว้าและวิจัยเพื่อผลิตชิ้นส่วนที่มีมูลค่าเพิ่มและนวัตกรรมสูงให้แก่อุตสาหกรรมการผลิตสินค้า Original Equipment Manufacturer (OEM) และวางแผนเปิดโรงงานผลิรถยนต์ OEM เต็มรูปแบบในปี 2565
อากาศยาน
อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน การบิน และอวกาศ เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่เม็กซิโกมีบทบาทสำคัญในตลาดโลก ปัจจุบันมีการดำเนินการครบวงจร การผลิต การบำรุงรักษา ซ่อมแซม ภาคธุรกิจและการศึกษา เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ
เม็กซิโก แดนสวรรค์แห่ง IT ในอนาคต
การพัฒนาหลายสาขา การลงทุนทางเทคโนโลยีจากบริษัทต่างประเทศและการผลักดันภายในประเทศ เม็กซิโกมีบทบาทสำคัญในเชิงของเทคโนโลยี ใน 3 เมืองหลัก ได้แก่ กัวดาลาฮารา (Guadalajara) มอนเตร์เรย์ (Monterrey) และเม็กซิโกซิตี้ (Mexico City) และมหาวิทยาลัยชั้นนำ University of the Americas Puebla (UDLAP), Tecnológico de Monterrey, University of Guadalajara (UdeG)
PIIT – Science Park แห่ง Meso America
search and Technological Innovation Park of Monterrey หรือ Parque de Investigación e Innovación Tecnológica de Monterrey (PITT) อุทยานวิทยาศาสตร์ของเม็กซิโก เมืองมอนเตอร์เรย์ PIIT รวมเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของโครงการ Boosting the Economy and Society of knowledge โดยการเปลี่ยนอุตสาหกรรมจากการผลิตเป็นอุตสาหกรรมบนพื้นฐานของความรู้ พัฒนาเศรษฐกิจ ผ่านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งเน้นทางด้านนาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ อิเล็กทรอนิกส์เชิงกล (Mechatronics) และการผลิตขั้นสูง เทคโนโลยีสารสนเทศที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน (Sustainable housing) สุขภาพ พลังงานสะอาด และวัสดุขั้นสูง
อ่านเพิมเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2021/ost-sci-review-feb2021.pdf
นานาสาระน่ารู้

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เรื่องมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียม สำหรับบริษัทที่เปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สม. 18/2564
มาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปีสำหรับบริษัทที่เปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 25 มีนาคม 2564
Download เอกสารประกาศ
BCG

ไอแทป สวทช. หนุนผู้ประกอบการก่อสร้างต่อยอดธุรกิจพัฒนาระบบฟาร์มเกษตรในอาคาร ‘ปลูกได้ทุกฤดูกาล เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม’ ตอบโจทย์ BCG
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี โปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) สนับสนุนด้านวิชาการและเทคโนโลยีนวัตกรรมให้กับธุรกิจก่อสร้างต่อยอดธุรกิจพัฒนาระบบฟาร์มเกษตรในอาคาร (Plant Factory) มาใช้กับการปลูกพืชออร์แกนิคในห้องพักอพาร์ตเมนต์ใจกลางกรุงเทพฯ โดยสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญโปรแกรม ITAP จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ถ่ายทอดเทคโนโลยีและให้คำปรึกษาจนเป็นผลสำเร็จ
โดย บริษัท ลอฟท์ บิวเดอร์ จำกัด ได้ขอรับการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากโปรแกรม ITAP สวทช. ในการเริ่มพัฒนาธุรกิจการเกษตรในอนาคตด้วยการพัฒนาระบบฟาร์มเกษตรในอาคาร (Plant Factory) แบบอินทรีย์ ด้วยการนำเทคโนโลยีและระบบควบคุมสภาวะการเพาะปลูกที่ทันสมัย เช่น แสง อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ น้ำ และสารอาหารพืชแบบอัจฉริยะ เพื่อให้บริษัทสามารถปลูกพืชผักผลไม้เมืองหนาวในเมืองที่มีคุณภาพได้ตลอดทั้งปี ได้นำเทคโนโลยีระบบฟาร์มเกษตรในอาคาร มาใช้กับการปลูกผักและผลไม้ออร์แกนิคในห้องพักอพาร์ตเมนต์ ทำให้ได้ต้นแบบห้องที่ปลูกผักและผลไม้ออร์แกนิคชนิดต่าง ๆ เช่น ผักเคล สตรอว์เบอร์รี และสมุนไพรเมืองหนาว เป็นต้น พร้อมเป็นสถานที่ดูงานของบริษัทต่างๆ ที่สนใจจะทำระบบฟาร์มเกษตรในอาคารได้ศึกษาต้นแบบ เพราะผักและผลไม้ออร์แกนิคที่ปลูกเป็นพืชที่มีมูลค่าสูงในตลาด ราคาแพง และการลงทุนของเทคโนโลยีนี้เกษตรกรหรือผู้สนใจสามารถลงทุนได้
ดร.นันทิยา วิริยบัณฑร ผู้อำนวยการโปรแกรม ITAP สวทช. กล่าวว่า สวทช. หน่วยงานวิจัยและพัฒนา รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย มีเป้าหมายในการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG “เพิ่มคุณภาพชีวิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ต่อยอดจุดแข็งของประเทศในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ประกอบด้วย Bioeconomy (ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ) สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากร Circular Economy (ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน) และ Green Economy (ระบบเศรษฐกิจสีเขียว) ที่มุ่งเน้นแก้ปัญหามลพิษเพื่อลดผลกระทบต่อโลก ด้วยการใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน
สำหรับบริษัท ลอฟท์ บิวเดอร์ จำกัด ได้ขอรับการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากโปรแกรม ITAP สวทช. ในการเริ่มพัฒนาธุรกิจการเกษตรในอนาคตด้วยการพัฒนาระบบฟาร์มเกษตรในอาคาร (Plant Factory) แบบอินทรีย์ ด้วยการนำเทคโนโลยีฟาร์มเกษตรอัจฉริยะมาปรับใช้ในการปลูกพืชระบบปิดในอาคาร ด้วยระบบควบคุมสภาวะการเพาะปลูกที่ทันสมัย เช่น แสง อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ น้ำ และสารอาหารพืชแบบอัจฉริยะ เพื่อให้บริษัทสามารถปลูกพืชผักผลไม้เมืองหนาวในเมืองที่มีคุณภาพได้ตลอดทั้งปี ถือเป็นนวัตกรรมการปลูกผักผลไม้อินทรีย์ที่ตอบโจทย์สังคมเมืองและเป็นต้นแบบการพัฒนาเกษตรยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี โปรแกรม ITAP สวทช. ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและถ่ายทอดงานวิจัยที่ตอบโจทย์การพัฒนาเกษตรกรรมสู่ความยั่งยืน นอกจากนี้ยังสนับสนุนผู้ประกอบการด้านโรงเรือนอัจฉริยะในหลากหลายรูปแบบเพื่อหนุนผู้ประกอบการและเกษตรกรพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันและยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าการเกษตร รวมถึงนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศตามแผนโมเดลเศรษฐกิจ BCG
ด้าน รองศาสตราจารย์วันชัย แหลมหลักสกุล ผู้เชี่ยวชาญ และหัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมระบบไซเบอร์-กายภาพทางการผลิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ผู้เชี่ยวชาญในโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากโปรแกรม ITAP สวทช. กล่าวว่า ได้นำความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในระบบฟาร์มเกษตรในอาคาร มาร่วมพัฒนาธุรกิจเกษตรในอนาคตของบริษัท ลอฟท์ บิวเดอร์ จำกัด ด้วยการพัฒนาระบบฟาร์มเกษตรในอาคาร โดยทำโรงงานปลูกพืชระบบปิด Plant Factory ที่ควบคุมสภาพแวดล้อมได้ ทั้งการให้น้ำ แสง อุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม นอกจากจะช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีแล้ว ยังสามารถปลูกพืชนอกฤดูกาลได้
“การวิจัยนี้ได้พัฒนาระบบฟาร์มเกษตรในอาคารที่ควบคุมสภาวะการเพาะปลูก ได้แก่ แสง อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ลม คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำและสารอาหารพืช ด้วยระบบอัตโนมัติประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีดิจิทัล โดยตั้งค่าการทำงานผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งสามารถปรับตั้ง แก้ไข ควบคุมการทำงานผ่านสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตจากนอกสถานที่ได้ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และในขณะเดียวกันก็ปลดปล่อยของเสียสู่สภาพแวดล้อมน้อยที่สุด
โดยเทคโนโลยีระบบฟาร์มเกษตรของบริษัทฯ สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมด้วยระบบอัตโนมัติ เช่น อุณหภูมิ แสงเทียม (LED) เพื่อการสังเคราะห์แสงของพืช ซึ่งกระบวนการสังเคราะห์แสงนี้จะผ่านแสงจากหลอดไฟ LED ที่มีการควบคุมความเข้มของแสง คลื่นความถี่และระยะเวลาของแสงในแต่ละช่วงการปลูก เพื่อให้มีความคล้ายคลึงกับการสังเคราะห์แสงจากดวงอาทิตย์ทั้งนี้การใช้แสง LED จะช่วยลดระยะเวลาการปลูกลงได้ครึ่งหนึ่งของระยะเวลาการเติบโต อีกทั้งยังมีการควบคุมลมและความชื้นในอากาศ หากความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำกว่ากำหนด ระบบจะเชื่อมต่อกับระบบพ่นละอองน้ำแบบพิเศษเพื่อปรับความชื้นสัมพัทธ์ให้อยู่ในช่วงที่กำหนด ซึ่งโดยภาพรวมระบบจะควบคุมพารามิเตอร์ เพื่อให้เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด”
ด้าน นายพีรพงษ์ ตันตยาคม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลอฟท์ บิวเดอร์ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบการ กล่าวว่า เนื่องจากบริษัทดำเนินธุรกิจก่อสร้างเป็นหลัก และมีแนวคิดที่ต้องการปลูกพืชผักและผลไม้เมืองหนาวของต่างประเทศแบบออร์แกนิคไว้กินเอง แต่ด้วยพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นดินที่มีจำกัดเนื่องจากอยู่ในกรุงเทพฯ อีกทั้งปัญหาด้านแมลงศัตรูพืช สภาพดินฟ้าอากาศ และฤดูกาล แต่มีห้องว่างในอพาร์ตเมนต์จึงได้นำแนวคิดนี้ไปขอรับการสนับสนุนจากโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) สวทช.โดยมีรองศาสตราจารย์วันชัย แหลมหลักสกุล จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือเป็นผู้เชี่ยวชาญและได้ดำเนินโครงการจากการทดลองปลูกผักสลัดได้สำเร็จ นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำให้ทดลองปลูกสตรอว์เบอร์รีสายพันธุ์ต่างประเทศ ผักเมืองหนาว เช่น ผักเคล เซเลอรี่ สวิสชาร์ด พาสเลย์ และสมุนไพรต่างประเทศ รวมถึงดอกไม้กินได้ เป็นต้น
“ผลที่ได้รับจากการนำระบบฟาร์มเกษตรในอาคารมาใช้คือ นวัตกรรมการปลูกผักผลไม้อินทรีย์ในอาคารในพื้นที่จำกัดที่กรุงเทพฯ และยังสามารถปลูกให้ผลผลิตตลอดทั้งปี ไม่มีฤดูกาล มีคุณภาพทางกายภาพ ทางเคมีของผลผลิต สะอาด ปลอดภัย ปราศจากสารเคมีและยาปราบศัตรูพืช ซึ่งแตกต่างจากการปลูกโดยทั่วไปที่จะออกผลผลิตตามฤดูกาลและต้องใช้น้ำและสารเคมีและยาปราบศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังลดต้นทุนด้านการขนส่งเนื่องจากปลูกใกล้แหล่งจัดจำหน่ายให้กับผู้บริโภค ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดตั้งเป็นศูนย์สาธิตระบบฟาร์มเกษตรในอาคาร เมื่อดำเนินการโครงการแล้วเสร็จ เพื่อสาธิตระบบฟาร์มเกษตรในอาคารให้กับลูกค้าของบริษัทฯ และผู้สนใจในการนำระบบฟาร์มเกษตรในอาคารไปใช้ในธุรกิจ ร้านอาหาร และบ้านอยู่อาศัย
จากในสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดโรคระบาดโควิด-19 ผู้บริโภคต้องทำงานที่บ้าน (Work From Home) มากขึ้น บริษัทฯ ได้จัดจำหน่ายพืชผักแบบออร์แกนิคที่ปลูกได้จากฟาร์มเกษตรในอาคารได้แก่ ผักเคล และสมุนไพรต่างประเทศ เช่น โรสแมรี่ ไทม์ ออริกาโน โหระพาอิตาเลี่ยน ซึ่งทำการตลาดภายใต้แบรนด์ "Kale Factory" ผ่านหลายช่องทางที่ทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้น ทั้งผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Facebook, LINE และผ่านแพลตฟอร์มบริการส่งด่วน เช่น LINE MAN, Robinhood และ AOW”
นายพีรพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ดีเทคโนโลยีการปลูกแห่งอนาคตนี้ ถือเป็นทางเลือกหนึ่งของการปลูกพืชที่ต้องการความปลอดภัยสูง จึงควรเป็นพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง เช่น พืชผักผลไม้เมืองหนาว สมุนไพร หรือยารักษาโรค โดยใช้เทคโนโลยีการปลูกพืชในอาคารที่มีการควบคุมสภาวะการเพาะปลูก ทำให้สามารถทำการเกษตรได้ทุกเวลา ไม่มีฤดูกาล มีคุณภาพทางกายภาพ-ทางเคมีของผลสะอาดและปลอดภัยตามที่ต้องการ
ผู้ประกอบการที่สนใจเทคโนโลยีระบบฟาร์มเกษตรในอาคาร สามารถขอรับบริการได้ที่ โปรแกรม ITAP สวทช. โทร 0 2- 564 -7000 ต่อ 1301 หรืออีเมล panita@nstda.or.th
BCG
ข่าวประชาสัมพันธ์

ตอนที่ 4 รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย
รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ
นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย
https://www.youtube.com/watch?v=kzhUVkEsjasเผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ดร.ณัฏฐพร พิมพะ และคณะ ดร.นุวงศ์ ชลคุป คุณฉวีวรรณ คงแก้ว และคณะ ดร.สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ และคณะ ดร.วรรณวิมล ศักดิ์เสมอพรหม และคณะ ศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร และคณะ คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ และ นพ.ปรีดา มาลาสิทธิ์
30 ปี สวทช.
คลัง VDO

2 กระทรวงผนึกกำลัง ใช้ประโยชน์จาก Big DATA จัดการท่องเที่ยวอุทยานธรณี หนุนเศรษฐกิจฐานรากให้ยั่งยืน
วันที่ 26 สิงหาคม 2564 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และ กรมทรัพยากรธรณี (ทธ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การสร้างเครือข่ายการวิจัยและพัฒนา เพื่อขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสนับสนุนหน่วยงานในยุคดิจิทัลและ BCG Model” ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting เพื่อเดินหน้านำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) สู่การอนุรักษ์ ป้องกัน และจัดการแหล่งเรียนรู้ สร้างมูลค่าและประโยชน์ของงานทางด้านธรณีวิทยา ธรณีพิบัติภัย และอุทยานธรณี สอดรับโมเดลเศรษฐกิจใหม่สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน BCG Economy model รวมทั้งสอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนกรมทรัพยากรธรณี สู่การเป็นองค์กรดิจิทัลในอนาคต
ดร.สมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจเกี่ยวกับการสงวน การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการบริหารจัดการด้านธรณีวิทยา ทรัพยากรธรณี ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม และธรณีพิบัติภัย โดยการสำรวจ ตรวจสอบ และวิจัยสภาพธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี การประเมินศักยภาพแหล่งทรัพยากรธรณี การกำหนดและกำกับ ดูแลเขตพื้นที่สงวน อนุรักษ์ ทรัพยากรธรณี และพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อการพัฒนาทรัพยากรธรณี คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องสู่สาธารณชน จึงร่วมมือกับกลุ่มเครือข่ายพันธมิตรทางวิชาการ อาทิ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ เครือข่ายธรณีพิบัติภัย เครือข่ายอุทยานธรณี เครือข่ายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ทางวิชาการด้านธรณีวิทยาสู่ชุมชนและหน่วยงานในท้องถิ่น สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น เพื่อยกระดับการสร้างการรับรู้สู่สาธารณชน กรมทรัพยากรธรณีจึงได้สนับสนุนและขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมและการแปรรูปทางดิจิทัล (Digital Transformation & Innovation : DTI) ในงานด้านธรณีวิทยา ที่สอดคล้องกับแนวคิดวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ในปัจจุบัน โดยร่วมมือกับเนคเทคขับเคลื่อนการวิจัย พัฒนา สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม แลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้และประสบการณ์ พร้อมสร้างเครือข่ายความร่วมมือร่วมกัน จากจุดแข็งและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านธรณีวิทยา บูรณาการกับความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มในมิติต่างๆ ของเนคเทค ที่เป็นองค์กรวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อสร้างนวัตกรรมผลงานและเชื่อมโยงข้อมูลที่มีประสิทธิภาพให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ควบคู่กับการพัฒนาโครงการต่างๆ ร่วมกันในอนาคต
สำหรับนวัตกรรมและการแปรรูปทางดิจิทัล (Digital Transformation & Innovation : DTI) ที่เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้เกิดงานวิจัย นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ของกรมทรัพยากรธรณี ได้แก่ DTI สำหรับงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ งานด้านพิพิธภัณฑ์ งานด้านธรณีพิบัติภัย งานด้านสำรวจธรณีฟิสิกส์ งานด้านอุทยานธรณี และถ้ำวิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ธรณีวิทยา ที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับเครือข่ายการวิจัยและพัฒนา และสร้างระบบการใช้เทคโนโลยีในการวิจัยและพัฒนาให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน
ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. กล่าวถึงความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์ม และผลงานวิจัย ในความร่วมมือนี้ โดยนำ “นวนุรักษ์” (https://www.navanurak.in.th) แพลตฟอร์มบริหารจัดการและให้บริการข้อมูลวัฒนธรรม สร้างฐานข้อมูลและความหลากหลายทางชีวภาพอัตลักษณ์ชุมชนและพื้นที่อุทยานธรณี และ“Museum pool”แพลตฟอร์มบริหารจัดการเนื้อหาการนำชมมาใช้ในส่วนฐานข้อมูลการจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ทั้ง 7 แห่ง ของ ทธ. นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาใช้ในอุทยานธรณี (Geopark) เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนเพื่อบริหารการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่อุทยานธรณี ยกระดับพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูล เพื่อใช้ในการประเมินซ้ำในระดับประเทศและระดับโลก โดยใช้องค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ การประสานเชื่อมโยงนักวิจัย กับเครือข่ายให้เกิดการทำงานร่วมกัน ศึกษาวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูล จ.สตูล ในระบบนิเวศถ้ำ (ถ้ำเลสเตโกดอน ถ้ำอุไรทอง และถ้ำทะลุ) ทะเลและชายฝั่ง และความหลากหลายทางวัฒนธรรม พบพืช สัตว์ จุลินทรีย์และเห็ดรา รวมทั้งสิ้น 802 ชนิด นำข้อมูลเข้านวนุรักษ์แพลตฟอร์มดิจิทัล จำนวน 3,163 รายการ (ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ 2,076 รายการ และข้อมูลวัฒนธรรม 1,088 รายการ) และยังได้นำข้อมูลไปอบรมไกด์ท้องถิ่นในพื้นที่ จัดทำคู่มือการอนุรักษ์หญ้าทะเลหอสี่หลัง คู่มือเล่าเรื่องอย่างง่ายสิ่งมีชีวิตเด่น ป้ายประชาสัมพันธ์พร้อม QR Code คลิปวีดิโอเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเอกสาร Biodiversity in Satun UNESCO Global Geopark และได้แต่งตั้งคณะทำงานความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูลโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ในการบริหารจัดการท่องเที่ยวสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ เนคเทค สวทช. ได้นำงานวิจัยและพัฒนามาประยุกต์ใช้ในกระบวนการวิธีประเมินความเสี่ยงจากภัยพิบัติดินถล่มและหินหล่นด้วยการประยุกต์ใช้ไอซีที เช่น การติดตั้งระบบเครือข่ายเซนเซอร์ไร้สายในพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม การวิเคราะห์ข้อมูล point clouds เพื่อระบุเหตุการณ์หินหล่น และการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อระบุพื้นที่เกิดดินถล่ม
โครงการความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงาน จะเป็นประโยชน์ต่อภาคประชาชน เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ทางด้านทรัพยากรธรณี เครือข่ายการวิจัยด้านธรณีพิบัติภัย เครือข่ายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับงานด้านธรณีวิทยา ธรณีพิบัติภัย อุทยานธรณี และแหล่งธรณีวิทยา รวมทั้งสามารถนำเทคโนโลยีด้านธรณีวิทยาไปประยุกต์ใช้ เพื่อตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของภาคประชาชนในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการบูรณาการความร่วมมือในการใช้เครื่องมือที่เกิดขึ้น จากงานวิจัยและองค์ความรู้ด้านในการสงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการด้านธรณีวิทยา ทรัพยากรธรณี ซากดึกดําบรรพ์ ธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม และธรณีพิบัติภัย ให้เกิดประโยชน์ให้เกิดมิติต่าง ๆ รวมถึงสนับสนุน โมเดลเศรษฐกิจใหม่สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน BCG Economy Model ให้เกิดประโยชน์ตั้งแต่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และ เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เน้นการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย ที่อยู่กับชุมชน เกษตรกร ด้วยการอนุรักษ์ รู้จักการใช้ประโยชน์เพิ่มพูน และฟื้นฟูไปพร้อม ๆ กัน โดยการร่วมมือกันของภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัย
BCG
ข่าวประชาสัมพันธ์

รายงานสถานการณ์การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ในประเทศไทย ปี 2564
โครงการ "จัดทำรายงานสถานการณ์การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนในประเทศไทย ปี 2564"
จัดทำโดย มูลนิธิเพื่อส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนแห่งเอเชียแปซิฟิก (Thai SCP Network)
Download
BCG

บทความต่างประเทศ Design in Thailand : the designers turning nature into innovative materials
บทความต่างประเทศ กล่าวถึง การออกแบบไทย ทั้งการออกแบบเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตาม "Bio-Circular-Green-Design"
Link : Design in Thailand: the designers turning nature into innovative materials
BCG

อย. เผยความคืบหน้าการใช้ rPET เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม
นายแพทย์วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ขณะนี้ อย. ได้ดำเนินการทบทวนประกาศกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับการนำพลาสติกรีไซเคิลกลับมาผลิตเป็นภาชนะบรรจุอาหาร ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งได้มีการหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกำหนดชนิดของพลาสติกรีไซเคิลที่จะอนุญาตให้ใช้ผลิตเป็นภาชนะบรรจุอาหาร คือ พลาสติกพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene terephthalate; PET)
นอกจากนี้ อย. ยังได้ร่วมมือกับสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ในการศึกษาวิจัยแนวทางการประเมินความปลอดภัยพลาสติกรีไซเคิลของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งสำรวจพฤติกรรมการนำขวดบรรจุอาหารและเครื่องดื่มไปใช้ซ้ำ เพื่อนำมาพิจารณากำหนด (ร่าง) หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและแนวทางการประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการรีไซเคิลสำหรับประเทศไทย เพื่อประกอบการพิจารณาความปลอดภัยและการอนุญาตภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล และได้จัดทำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติก ควบคู่ ไปด้วย
ทั้งนี้ อย. จะนำรายละเอียดของ (ร่าง) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข รวมถึงแนวทางการประเมินฯ ที่ปรับแก้ไขเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความคิดเห็นในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2564 นี้ เพื่อรวบรวมความคิดเห็นต่าง ๆ เสนอต่อคณะอนุกรรมการวิชาการด้านภาชนะบรรจุอาหารพิจารณาต่อไป เพื่อให้สามารถกำหนดหลักเกณฑ์และกฎหมายที่ผู้ประกอบการสามารถปฏิบัติได้บนพื้นฐานการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค และการอนุญาตให้ใช้พลาสติกรีไซเคิลที่มีมาตรฐานและมีความปลอดภัยเป็นภาชนะบรรจุอาหารยังเป็นการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และเป็นไปตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ที่มาข้อมูล : https://www.fda.moph.go.th/Shared Documents/News/ปีงบประมาณ 2564/ข่าวแจก 158 ปีงบประมาณ 2564/ข่าว rPET.pdf
BCG

ทักษะที่ผู้จัดการความรู้ต้องการมากที่สุด
APQC (American Productivity and Quality Center) ได้ระบุ 16 ความสามารถหลักสำหรับทีม KM (knowledge management, การจัดการความรู้) ได้ถูกแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
- การจัดการโครงการและโปรแกรม
- Consulting and customer centricity
- การสื่อสารและการจูงใจ
- การจัดการข้อมูล, เทคโนโลยี และความคล่องข้อมูล
การสแกนอย่างเร็วของกลุ่มเหล่านี้แสดงความหลากหลายของทักษะที่ถูกต้องการเพื่อประสบผลสำเร็จ KMers ต้องรู้วิธีที่จะปรึกษาและสื่อสารกับผู้ถือผลประโยชน์ร่วม, วางแผนและจัดการโครงการขนาดใหญ่ และแปลผลข้อมูลและเทคโนโลยีดีพอที่จะเลือกเครื่องมือและตรวจสอบการประยุกต์ใช้ ทั้งหมดนี้สามารถรู้สึกเหมือนคำสั่งที่มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับทีมที่มีข้อจำกัดเรื่องแหล่งทรัพยากรและขนาดเล็ก ร่วมมือกับกลุ่ม เช่น IT และ HR สามารถช่วยทีมที่มีขนาดเล็กแก้ปัญหา
ทักษะ KM สำหรับพื้นที่ทางธุรกิจที่พัฒนาอย่างเร็ว
อย่างชัดเจน โปรมแกรม KM ต้องการเพิ่มส่วนผสมของทักษะคน, กระบวนการ และเทคโนโลยี แต่เมื่อถามผู้ตอบการสำรวจล่าสุดทักษะไหนสำคัญที่สุดเพื่อช่วยทีม KM ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ผู้ตอบหลายคนมุ่งไปที่ประเด็นของการสื่อสาร, การจูงใจ และความคล่องข้อมูล
ความต้องการสำหรับทักษะคนไม่ใหม่ใน KM แต่ก้าวปัจจุบันของการเปลี่ยนแปลงกำลังต้องการ KMers กลายเป็น change agent ที่เชี่ยวชาญและมีทักษะที่เกี่ยวข้อง เช่น active listening, การสื่อสาร, การฝึกหัด, การเล่าเรื่อง (storytelling) และ facilitation
ในเวลาเดียวกัน ความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของข้อมูลธุรกิจและโปรแกรมวิเคราะห์กำลังทำให้ KM upskill ในเรื่องเหล่านี้ บางความพยายามเหล่านี้ถูกออกแบบเพื่อช่วยกลุ่มธุรกิจลูกค้าเปลี่ยนข้อมูลเป็นความรู้
ที่มา: Lauren Trees (March 02, 2020). The Skills Knowledge Managers Need Most. Retrieved August 18, 2021, from https://www.apqc.org/blog/skills-knowledge-managers-need-most
การจัดการความรู้ (KM)

มีหลายเหตุผลในการทำ benchmark
ทำไมบริษัททำ benchmark
Benchmarking ช่วยองค์กรปรับปรุงให้ดีขึ้นโดยให้รายละเอียดที่ต้องการเพื่อระบุอย่างมีประสิทธิภาพระดับการพัฒนาของการปฏิบัติและกระบวนการทางธุรกิจซึ่งขับเคลื่อนองค์กร
ใครเพื่อที่จะ benchmark ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะระบุ คำตอบที่ง่ายคือ ระบุองค์กรในอุตสาหกรรมเดียวกัน ทำไมไม่ มีการปฏิบัติที่เหมือนกัน ดังนั้นมาดูกัน ทำในหนทางเดียวกันใช่ไหมและถ้าไม่เป็นหนทางที่ดีกว่าใช่ไหม ทำเพื่อการเปรียบเทียบที่ง่าย แต่อย่าลืมเหตุผลทำไมองค์กรทำ benchmark เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น องค์กรต้องการเรียนรู้หนทางที่ดีกว่า เร็วกว่า และฉลาดกว่าเพื่อทำงาน ดังนั้นค้นหาองค์กรอื่นซึ่งทำในสิ่งที่เหมือนกันไม่มีค่า ต้องการ fresh eyes
จากการศึกษา benchmarking เมื่อเร็ว ๆ นี้ องค์กรที่ให้การสนับสนุนสงสัยเมื่อดูเหมือนว่าองค์กรที่ไม่เกี่ยวข้องถูกแนะนำเป็นผู้ร่วมศึกษา เรียนรู้อะไร ไม่ได้ทำเกี่ยวข้องกับที่ทำ อย่างแน่นอน ไม่รู้สึกสนใจในผลิตภัณฑ์ สนใจในวิธี นี้เป็นที่ที่การเรียนรู้ที่แท้จริงเกิดขึ้น เมื่อกระบวนการระดับสูงเหมือนกัน แต่วิธีแตกต่าง
เมื่อระบุเกณฑ์ benchmarking ระบุองค์กรซึ่งปฏิบัติกระบวนการที่เหมือนกันโดยไม่คำนึงถึงอุตสาหกรรม คำศัพท์เฉพาะอาจไม่เหมือนกันแต่บทเรียนที่สามารถเรียนรู้ล้ำค่า นี้เป็นพลังที่แท้จริงของ benchmarking
ที่มา: Matt Zacher (April 24, 2020). The Many Reasons to Benchmark. Retrieved August 18, 2021, from https://www.apqc.org/blog/many-reasons-benchmark
การจัดการความรู้ (KM)

เคล็ดลับเพื่ออธิบาย KM (knowledge management, การจัดการความรู้) คืออะไรและทำไมพนักงานควรทำ KM
มากกว่าครึ่งหนึ่งของโปรแกรม KM ที่ APQC (American Productivity and Quality Center) สำรวจรับรู้ความสำคัญของการสื่อสาร ในโปรแกรมเหล่านั้นมีแผนการสื่อสารที่เป็นทางการและสมาชิกในทีมได้รับมอบหมายให้จัดการแผนดังกล่าว แม้แต่ด้วยการลงทุนเหล่านี้ ทีมต่อสู้อย่างต่อเนื่อง น้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้เชี่ยวชาญ KM รายงานว่าองค์กรมีประสิทธิภาพในการทำให้พนักงานตระหนักวิธี KM ที่มีให้และเหตุผลสำหรับการมีส่วนร่วม
การปรับปรุงให้ดีขึ้นวิธีที่ทีม KM สื่อสาร
งานวิจัยของ APQC ชี้บางส่วนผสมสำหรับความสำเร็จ ข้อความเป็นสิ่งจูงใจมากที่สุดเมื่อได้รับการปรับให้เข้ากับผู้ฟังที่มีศักยภาพแต่ละคนและส่งออกโดยผู้นำหรือแหล่งที่น่าเชื่อถือ จะพูดอะไรเกี่ยวกับการเข้าใจการตลาด ต้องเข้าใจอะไรทำให้บางคนทำหน้าที่ได้ดีและต่อมาถ้าสามารถ เชื่อม KM กับสิ่งกระตุ้นภายในเหล่านั้น
ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคอาวุโสไม่สามารถจินตนาการวิธีที่จะทำให้การแบ่งปันความรู้เข้าไปในแผนการ สามารถแสดงวิธีทำเป็นเอกสารบางอย่างที่รู้ หรือสอนให้คนอื่น ๆ สามารถลดปริมาณงาน ข้อความอาจเน้นความจริงว่าถ้ามีส่วนร่วมใน community forum กำลังตอบคำถามเดียวกันที่ตอบโดย email แล้ว แต่ยังสร้างการบันทึกที่เข้าถึงได้ซึ่งผู้เสาะหาความรู้ในอนาคตสามารถใช้ประโยชน์ การสื่อสารดีกว่าเป็นการกีฬาของทีม ดังนั้นทำให้ผู้นำไปใช้และผู้มีความกระตือรือร้นมีส่วนร่วม สามารถช่วยกระจายคำ
ที่มา: Lauren Trees (May 19, 2019). 10 Tips to Explain What KM Is and Why Employees Should Do It. Retrieved August 22, 2021, from https://www.apqc.org/blog/10-tips-explain-what-km-and-why-employees-should-do-it
การจัดการความรู้ (KM)

สุริยะ เผยผู้ประกอบการอุตฯไบโอ เดินหน้าลงทุนเฉียด 1.5 แสนล้านบาท เพิ่มประเภทโรงงาน เสริมมาตรการสร้างแรงจูงใจ สนับสนุนอุตสาหกรรมไบโอกระตุ้น GDP
สุริยะ เผยผู้ประกอบการอุตฯไบโอ เดินหน้าลงทุนเฉียด 1.5 แสนล้านบาท เพิ่มประเภทโรงงาน เสริมมาตรการสร้างแรงจูงใจ สนับสนุนอุตสาหกรรมไบโอกระตุ้น GDP ตั้งเป้าหมาย ไทยเป็นไบโอฮับอาเซียน
กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบความก้าวหน้ามาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของไทย เร่งขับเคลื่อน Bio economy สอดรับ BCG Model เอกชนลงทุนกว่า 149,000 ล้านบาท หวังกระตุ้น GDP และหนุนไทยเป็นไบโอฮับอาเซียน ด้านสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รับไม้ต่อเร่งหารือกระทรวงการคลัง ขยายเวลามาตรการกระตุ้นใช้พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Green Tax Expense) ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล 1.25 เท่า จูงใจ ห้างร้านใช้ไบโอพลาสติกทดแทนปีละไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 10 (more…)
BCG