ผลการค้นหา :

นายกฯ พร้อมผลักดัน “Soft Power” ไทย สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ Creative Economy อยู่ในโมเดลเศรษฐกิจ BCG แล้ว มั่นใจคนไทยมีฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ระดับโลก
นายกฯ พร้อมผลักดัน "Soft Power" ไทย สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ Creative Economy อยู่ในโมเดลเศรษฐกิจ BCG แล้ว มั่นใจคนไทยมีฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ระดับโลก เช่น MV ลิซ่า นำงานหัตถศิลป์ไทยโชว์ทั่วโลก
เมื่อวันที่ 13 ก.ย.2564 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีความชื่นชมและภูมิใจนักออกแบบไทยสามารถนำวิจิตรศิลป์ของไทยในแขนงต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ร่วมกับอุตสาหกรรมบันเทิงสมัยใหม่ ตรงกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของรัฐบาล ซึ่งส่วนหนึ่งคือการผลักดัน "Soft Power" ไทย เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์
รัฐบาลเร่งเดินหน้าส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยใน 15 สาขา คือ 1) งานฝีมือและหัตถกรรม 2) ดนตรี 3) ศิลปะการแสดง 4) ทัศนศิลป์ 5) ภาพยนตร์ 6) การแพร่ภาพและกระจายเสียง 7) การพิมพ์ 8) ซอฟต์แวร์ 9) การโฆษณา 10) การออกแบบ 11) การให้บริการด้านสถาปัตยกรรม 12) แฟชั่น 13) อาหารไทย 14) การแพทย์แผนไทย 15) การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ขณะเดียวกันก็ผลักดันวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ 5 F ได้แก่ 1. อาหาร (Food) 2.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) 3.ผ้าไทยและการออกแบบแฟชั่น (Fashion) 4.มวยไทย (Fighting) และ 5.การอนุรักษ์และขับเคลื่อน เทศกาล ประเพณีสู่ระดับโลก (Festival) เชื่อว่ายังจะเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมส่งออกสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจหลังยุคโควิด -19 ที่สำคัญของไทยด้วย
นายธนกรฯ กล่าวว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้กำหนดโมเดล BCG ที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจด้วย "ปัญญา” "สร้างสรรค์" มีความมั่นใจว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทยจะประสบความสำเร็จ เนื่องจากไทยมีจุดเด่นและความพร้อมด้านทุนวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่สะสมอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งศิลปหัตถกรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว ชุมชนที่มี "อัตลักษณ์" ของตนเอง นำมาผนวกกับความคิดสร้างสรรค์และงานฝีมือของคนไทย ก่อให้เกิดมูลค่าเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี ล่าสุด จากกระแสความชื่นชม MV ของศิลปินลิซ่า ที่มีการสอดแทรกงานหัตถศิลป์ และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของไทย มียอดผู้ชมกว่า 100 ล้านวิวแล้ว เชี่อว่าจะสร้างความมั่นใจให้กับอุตสาหกรรมบันเทิงและออกแบบแฟชั่นไทย ในการนำทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอด เป็นสินค้า/บริการ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้ ไทยมีตลาดประเทศเพื่อนบ้านและในภูมิภาครองรับอยู่แล้ว
"ท่านนายกรัฐมนตรีชื่นชมความสำเร็จของศิลปินไทย ทุกสาขาศิลปะ ดนตรี ภาพยนต์ ออกแบบดีไซน์ รวมถึงบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง สะท้อนให้เห็นถึงความเอาจริงเอาจัง มุ่งมั่น ทุ่มเทฝึกฝนอย่างหนัก จนประสบความสำเร็จ เชื่อว่าจะช่วยจุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนไทยและผู้อยู่ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย ในการนำศิลปวัฒนธรรมไทยมาสร้างสรรค์เป็น soft power เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและให้เป็นที่รู้จักและเผยแพร่ในระดับโลก" นายธนกรฯ กล่าว
ที่มาข้อมูล : https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/45753
BCG

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน มิถุนายน 2564
วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน มิถุนายน 2564
วัคซีน
วัคซีน คือ การให้สารที่เตรียมขึ้นจากเชื้อหรือสารประกอบของเชื้อเข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายผลิแอนติบอดีฆ่าเชื้อโรค และสามารถจดจำได้ว่าเป็นสารก่อโรคซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะจดจำคุณสมบัติการแอนติเจน ทำให้ร่างกายสามารถกำจัดแอนติเจนได้รวดเร็วขึ้นหากได้รับอีกในภายหลัง
การพัฒนาและการขออนุมัติการใช้วัคซีน
การออกใบอนุญาตการใช้วัคซีนอย่างเป็นทางการ เป็นกระบวนการที่ใช้เวลานานอาจถึง 10 ปี หรือนานกว่านั้น โดย Food and Drug Administration หรือ (FDA) กำหนดให้วัคซีนต้องผ่านการทดลองทางคลินิกกับอาสาสมัครในมนุษย์ 3 ขั้นตอนก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้ใช้ในประชาชนทั่วไป
ขั้นที่ 1 (Phase 1): ทดสอบในอาสาสมัครเพียง 20 – 100 คน ใช้เวลาไม่กี่เดือน เพื่อประเมินความปลอดภัยขั้นพื้นฐานและระบุปฏิกิริยาที่พบ
ขั้นที่ 2 (Phase 2): ทดสอบในกลุ่มอาสาสมัครขนาดใหญ่ จำนวนหลายร้อยคน ระยะเวลาหลายเดือนถึงสองปี เพื่อรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพ เพื่อกำหนดองค์ประกอบของวัคซีน จำนวนครั้งที่ควรได้รับวัคซีน และรายละเอียดของปฏิกิริยาทั่วไปที่เกิดขึ้น
ขั้นที่ 3 (Phase 3): หากผลการทดสอบขั้น 2 ไม่เกิดปัญหาสุขภาพใด จึงจะดำเนินการทดสอบในขั้นที่ 3 โดยขยายกลุ่มอาสาสมัครจำนวนหลายพันถึงหลายหมื่นคน การทดลองเหล่านี้จะใช้เวลาหลายปี เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มที่ได้รับวัคซีนกับกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน
หากผลการทดลองทางคลินิกแสดงให้เห็นว่าวัคซีนมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ผู้ผลิตจะต้องยื่นคำขออนุญาต Biologics License Application (BLA) ต่อ FDA ฉลากบนผลิตภัณฑ์ โรงงานและขั้นตอนการผลิต เมื่อผ่านกระบวนการพิจารณาแล้ว วัคซีนนั้นจะได้รับอนุญาตให้ใช้กับประชากรทั่วไปได้
การอนุญาตการใช้ในกรณีฉุกเฉิน Emergency Use Authorization : EUA
การอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน (EUA) เป็นการใช้มาตรการทางการแพทย์ รวมถึงการใช้วัคซีนกรณีฉุกเฉิน หมายถึงการอนุญาตให้ใช้ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ยังไม่ผ่านการรับรองทางการในกรณีฉุกเฉินเพื่อวินิจฉัย บำบัด หรือป้องกันโรคร้ายแรงหรือคุกคามถึงชีวิต โดยที่ผ่านมา การอนุญาตให้มีการใช้กรณีฉุกเฉิน ได้แก่ โรคแอนแทรกซ์ อีโบลา เอนเทอโรไวรัส (enterovirus) ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H7N9 และกลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจในตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome – MERS) จะต้องมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า
- เกิดภาวะที่ร้ายแรงหรือเป็นอันตรายถึงชีวิต
-หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของวัคซีนหรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ต้องมีความน่าเชื่อถือ ว่าผลิตภัณฑ์นี้สามารถใช้ในการวินิฉัย บำบัด บรรเทา หรือป้องกันภาวะที่ร้ายแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
-มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น FDA จะพิจารณาผลประโยชน์และศักยภาพของผลิตภัณฑ์ กับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากหลักฐานและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่
-ไม่มีทางเลือกอื่น : ยังไม่มีวัคซีนหรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ใด ๆ ในปัจจุบัน เพื่อให้เป็นทางเลือกอื่น
สำหรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด -19 FDA ได้อธิบายเงื่อนไขโดยเชิงประสิทธิภาพต้องสามารถลดการติดเชื้อโควิดได้อย่างน้อย 50% ในเชิงความปลอดภัย ต้องมีการเก็บข้อมูลอย่างละเอียดอย่างน้อย 2 เดือน
วัคซีนป้องกันโควิด – 19
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ในปัจจุบัน มีทั้งที่ฉีดเข็มเดียว และที่จำเป็นต้องฉีด 2 เข็ม สำหรับวัคซีนที่ต้องฉีด 2 เข็มนั้น เข็มแรกเป็นการแนะนำให้ร่างกายเรารู้จักแอนติเจน หรือโปรตีนของแปลกปลอมที่กระตุ้นให้ร่างกายผลิตแอนติบอดีในระบบภูมิคุ้มกันเป็นครั้งแรก นักวิทยาศาสตร์เรียกกระบวนการนี้ว่า priming the immune response เข็มที่ 2 ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นเพื่อให้แน่ใจว่าระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเราจะมีพัฒนาการตอบสนองของหน่วยความจำเพื่อต่อสู้กับไวรัสเมื่อพบกันอีกครั้ง วัคซีนป้องกันโควิด-19 ในปัจจุบัน เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ฉีดห่างกันประมาณ 21-28 วัน (3-4 สัปดาห์) หรือบางประเภท 42 วัน หรืออาจถึง 12 สัปดาห์ วัคซีนที่ใช้ในปัจจุบัน Pfizer/BioNTech, Moderna, AstraZeneca, Johnson & Johnson, Sinovac และ Sputnik V เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่พัฒนาและนำมาใช้ป้องกันเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 โดยแบ่งประเภทของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตามเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตวัคซีน
ประเภทของวัคซีนป้องกันโควิด – 19
เทคนิค mRNA (mRNA Technology)
เทคโนโลยี mRNA ที่ใช้ในการผลิตวัคซีน เป็นการใช้กรดนิวคลีอิกที่เป็นส่วนหนึ่งของสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส โดยขั้นแรก DNA จะถูกเปลี่ยนเป็น RNA ที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวเพื่อสร้างโปรตีนเฉพาะที่ส่งชุดคำสั่งเฉพาะไปยังเซลล์ของเรา ให้สร้างโปรตีนที่เราต้องการให้ระบบภูมิคุ้มกันของเรารับรู้และตอบสนอง
การใช้ไวรัสเป็นพาหะ (viral vector vaccine)
โดยใช้หลักการฝากสารพันธุกรรมของเชื้อ SARS-CoV-2 เข้าไปในไวรัสพาหะชนิดอื่น ๆ เช่น Adenovirus เพื่อนำเข้าไปในร่างกายมนุษย์ ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส ได้แก่ วัคซีนบริษัท AstraZeneca ของอังกฤษ Johnson & Johnson ของสหรัฐฯ และ Sputnik V ของรัสเซีย ข้อดีของวัคซีนกลุ่มนี้ คือ เป็นวัคซีนที่เลียนแบบการติดเชื้อตามธรรมชาติ ผลิตได้ง่าย เร็ว ราคาไม่สูง ข้อด้อย คือ ยังไม่มีประสบการณ์ใช้ในวงกว้าง และในผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสที่ใช้เป็นพาหะมาก่อน วัคซีนอาจกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ไม่ดีมากนัก
วัคซีนของ AstraZeneca หรือ AZD1222 ที่คิดค้นโดยบริษัท AstraZeneca ร่วมกับ University of Oxford ใช้ไวรัส Adenovirus ของลิงชิมแปนซี เป็นไวรัสพาหะ จาการศึกษาวิจัยพบว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพเฉลี่ย 70% โดยให้วัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 4 สัปดาห์ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การเก็บรักษาเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศา (อย่างน้อย 6 เดือน) ปัจจุบัน รัฐบาลไทยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนนี้จาก University of Oxford
วัคซีน Janssen หรือ AD26.COV2.5 ที่ผลิตโดยบริษัทยา Johnson & Johnson (J&J) ใช้ Adenovirus 26 เป็นไวรัสพาหะ วัคซีนนี้เป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิดเดียวที่ฉีดเพียง 1 เข็ม สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีแล้ว มีประสิทธิภาพ 66% ในการป้องกันโควิด-19 แบบที่มีอาการ และมีประสิทธิภาพ 85% ในการป้องกันการเจ็บป่วยที่รุนแรง
วัคซีน Sputnik V ค้นคว้าและพัฒนาโดยสถาบันวิจัย Gamaleya รัสเซีย ที่ใช้ชื่อเดียวกับดาวเทียมดวงแรกของโลกที่รัสเซียส่งขึ้นไปในอวกาศ Sputnik V ใช้ Adenovirus 5 สำหรับวัคซีนเข็มที่ 1 และ Adenovirus 26 สำหรับวัคซีนเข็มที่ 2 โดยฉีดห่างกัน 3 สัปดาห์ สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียสได้นาน 2 เดือน วัคซีนมีประสิทธิภาพสูง 92% กับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิมของจีน และสายพันธุ์ Alpha (สายพันธุ์อังกฤษ) อัลฟาซึ่งระบาดในวงกว้าง และสร้างภูมิคุ้มกันได้ประมาณ 90% สำหรับสายพันธุ์ Delta (พันธุ์อินเดีย) แต่ไม่ได้ผลดีนักในสายพันธุ์ Beta (พันธุ์แอฟริกาใต้)
วัคซีนเชื้อตาย (inactivated vaccine)
ผลิตโดยการใช้ไวรัส SARA-CoV-2 ที่ถูกทำให้อ่อนแรงหรือตายแล้ว ได้แก่ วัคซีน CoronaVac และวัคซีน Sinopharm ของจีน ข้อดี คือ ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่มีมานาน แต่ข้อจำกัด คือ ราคาวัคซีนค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องเพาะเลี้ยงเชื้อในห้องปฏิบัติการที่มีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสูง (Biosafety level 3)
วัคซีน CoronaVac เป็นของบริษัท SinoVac Life Sciences ใช้เชื้อตายสายพันธุ์ CZ02 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 อยู่ที่ 51-84% อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดที่ทำให้วัคซีนนี้ ถูกลดความน่าเชื่อถือลงไปมากคือมีศักยภาพในการป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้ต่ำ และมีอัตราการลดระดับของภูมิต้านทานรวดเร็ว
วัคซีน Sinopharm หรือ BBIBP-CorV พัฒนาโดยสถาบัน Beijing Bio-Institute of Biological Products ใช้เชื้อตายสายพันธุ์ WIV04 (สายพันธุ์อู่ฮั่น) และ HB02 (สายพันธุ์ปักกิ่ง) พบว่า มีประสิทธิภาพโดยรวม 79% สามารถป้องกันอาการรุนแรงได้ 100% โดยให้วัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 3-4 สัปดาห์
วัคซีนแบบใช้โปรตีน (protein-based vaccine)
Pfizer
ชื่อวัคซีน : BNT162b2P
บริษัทผู้ผลิต : Pfizer, สหรัฐอเมริการ และ BioNtech เยอรมัน
เทคโนโลยีการผลิต : mRNA
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกัน 3 สัปดาห์
อายุที่ฉีดได้ : 12 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวด บวมแดงบริเวณจุดที่ฉีด หนาวสั่น ปวดหัว ร่างกายอ่อนเพลีย
ราคาต่อโดส : 570-607 บาท
Moderna
ชื่อวัคซีน : mRNA-1273
บริษัทผู้ผลิต : Moderna, สหรัฐอเมริกา
เทคโนโลยีการผลิต : mRNA
ประสิทธิภาพการป้องกัน : 94.1%
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกัน 4 สัปดาห์
อายุที่ฉีดได้ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวด บวมแดงบริเวณจุดที่ฉีด หนาวสั่น ปวดหัว ร่างกายอ่อนเพลีย
ราคาต่อโดส : 450-750 บาท
Johnson & Johnson
ชื่อวัคซีน : JNJ-78436735
บริษัทผู้ผลิต : Janseen Phamaceutical Companies of Johnson & Johnson, สหรัฐอเมริกา
เทคโนโลยีการผลิต : Viral Vector
จำนวนโดส : 1 โดส
อายุที่ฉีดได้ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวดบริเวณจุดที่ฉีด ปวดหัว มีไข้ ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้
AstraZeneca
ชื่อวัคซีน : AZD1222, ChAdOx1 nCoV-19
บริษัทผู้ผลิต : Oxford University และ AstrzZeneca อังกฤษ
เทคโนโลยีการผลิต : Viral Vector
ประสิทธิภาพการป้องกัน : 70.4%-82.4%
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกัน 4-12 สัปดาห์
อายุที่ฉีดได้ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวดบริเวณจุดที่ฉีด หนาวสั่น ปวดหัว มีไข้ ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้
ราคาต่อโดส : 300-314 บาท
S-Putnik V
ชื่อวัคซีน : Spuntnik V
บริษัทผู้ผลิต : Gamaleya Research Institute of Epidemiology and Microbiology, รัสเซีย
เทคโนโลยีการผลิต : Viral Vector
ประสิทธิภาพการป้องกัน : 91.1%-91.5%
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกัน 3 สัปดาห์
อายุที่ฉีดได้ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวด/บวม/แดงบริเวณจุดที่ฉีด ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ผื่นขึ้น ร่างกายอ่อนเพลีย
ราคาต่อโดส : 311-405 บาท
SINOVAC
ชื่อวัคซีน : CoronaVac
บริษัทผู้ผลิต : Sinovac Biotech Ltd., จีน
เทคโนโลยีการผลิต : Inactivated virus
ประสิทธิภาพการป้องกัน : 49.6%-50.7%
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกัน 2 สัปดาห์
อายุที่ฉีดได้ : 18 – 60 ปี
ผลข้างเคียง : ปวดบริเวณจุดที่ฉีด ปวดหัว อาการชาคล้ายอัมพาต
ราคาต่อโดส : 427 - 934 บาท
SINOPHARM
ชื่อวัคซีน : BBIBP-CorV
บริษัทผู้ผลิต : Sinopharm’s Beijing Institute of Biological Products, จีน
เทคโนโลยีการผลิต : Inactivated virus
ประสิทธิภาพการป้องกัน : 79.3%
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกัน 3 - 4 สัปดาห์
อายุที่ฉีดได้ : 18 – 60 ปี
ผลข้างเคียง : ปวด/บวม/แดงบริเวณจุดที่ฉีด ปวดหัว มีไข้ ผื่นขึ้น ปวดกล้ามเนื้อ
ราคาต่อโดส : 934 – 1,123 บาท
NOVAVAX
ชื่อวัคซีน : NVX-CoV2373
บริษัทผู้ผลิต : Novava, สหรัฐอเมริกา
เทคโนโลยีการผลิต : Protein-based vaccine
ประสิทธิภาพการป้องกัน : 96%
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกัน 3 สัปดาห์
อายุที่ฉีดได้ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวด/บวม/แดงบริเวณจุดที่ฉีด ปวดหัว มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ
ราคาต่อโดส : คาดว่าราคาจะอยู่ที่ราว 16 เหรียญสหรัฐฯ ต่อโดส หรือประมาณ 530 บาท
โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ และประสิทธิภาพการป้องกันของวัคซีน
เดลตาพลัส (Delta Plus) และ แลมบ์ดา (Lambda)
เดลตาพลัส (Delta Plus)
เดลตาพลัสมีลักษณะคล้ายสายพันธุ์เดลตา แต่มีการกลายพันธุ์เพิ่มที่เรียกว่า K417N ที่โปรตีนหนาม ที่ช่วยให้เชื้อไวรัสสามารถยึดเกาะกับเซลล์ที่ติดเชื้อได้ดีขึ้น และทนทานต่อการรักษาด้วยแอนติบอดีชนิดโมโนโคลน (monoclonal antibody therapy) ซึ่งเป็นการให้แอนติบอดีทางเส้นเลือดเพื่อฆ่าไวรัส ปัจจุบันพบเดลตาพลัสใน 9 ประเทศคือ สหรัฐฯ อังกฤษ โปรตุเกส สวิสเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น โปแลนด์ รัสเซีย และจีน แต่ทั้งนี้ นักไวรัสวิทยาระบุว่ายังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่สนับสนุนข้อมลดังกล่าว และ WHO ก็ยังไม่ได้จัดให้เดลตาพลัสอยู่ในกลุ่มเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวลหรือน่าจับตามองแต่อย่างใด
แลมบ์ดา (Lambda)
สำหรับสายพันธุ์แลมบ์ดา (Lambda) WHO จัดให้อยู่ในกลุ่มเชื้อกลายพันธุ์ที่น่าจับตามอง และเริ่มมีการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น ตรวจพบครั้งแรกเดือนสิงหาคม 2563 ในเปรู สูงถึง 81% รวมทั้งประเทศชิลี เม็กซิโกและอาร์เจนตินาอีกด้วย
ไวรัสสายพันธุ์นี้มียีนกลายพันธุ์ซับซ้อนหลายตำแหน่ง เมื่อเทียบกับพันธุกรรมของไวรัสโควิดดั้งเดิมที่พบครั้งแรกที่นครอู่ฮั่น พบการกลายพันธุ์ถึง 7 จุดบนโปรตีนที่เป็นส่วนหนามของไวรัส ทำให้กลายเป็นสายพันธุ์ที่มีศักยภาพสูงที่จะให้เกิดการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กของสหรัฐฯ เผยแพร่ผลการศึกษาโดยระบุว่าสายพันธุ์นี้มีความสามารถในการต้านทานแอนติบอดีจากวัคซีนสูงกว่าไวรัส SARS-CoV-2 แบบดั้งเดิม 3.3 เท่า และเมื่อทดลองใช้วัคซีนป้องกันโควิดชนิด mRNA (Pfizer และ Moderna) กับไวรัสสายพันธุ์แลมบ์ดา ผลปรากฏว่าไวรัสมีความสามารถต้านทานแอนติบอดีจากวัคซีนต่ำลงกว่าเดิม โดยอยู่ในเกณฑ์ที่วัคซีน mRNA ซึ่งใช้กันอยู่ทั่วไป จะสามารถรับมือไวรัสกลายพันธุ์ชนิดนี้ได้
ประสิทธิภาพการป้องกันของวัคซีน
วัคซีนตัวไหนมีประสิทธิภาพดีกว่ากัน
เปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพเป็นเพียงตัวเลขที่บอกผลการทดสอบระยะที่ 3 ในอาสาสมัครว่า วัคซีนแต่ละประเภทให้ผลการทดสอบอย่างไรในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งวัคซีนแต่ละตัว ทำการศึกษาทดสอบในปัจจัยที่แตกต่างกัน ทดลองในอาสาสมัครกลุ่มต่างกัน จำนวนอาสาสมัครและทดสอบในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน เช่น
- Pfizer ทดสอบในอาสาสมัครจำนวนมากกว่า 43,000 คน ในสหรัฐฯ เยอรมนี ตุรกี แอฟริกาใต้ บราซิล และอาร์เจนตินา
- Moderna ทดสอบในอาสาสมัครจำนวนกว่า 30,000 คน ในสหรัฐฯ
- AstraZeneca ทดสอบในอาสาสมัครจำนวน 32,000 คน ในอังกฤษ บราซิล แอฟริกา อินเดีย ฮ่องกง อาร์เจนตินา ชิลี โคลอมเบีย เปรู สหรัฐฯ และรัสเซีย
- Sinovac ทดสอบในอาสาสมัครจำนวน 30,000 คน ในบราซิล ชิลี อินโดนีเซีย ตุรกี จีน ฮ่องกง และฟิลิปปินส์
การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 นั้น คือ การป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย ทั้งไม่มีอาการ อาการไม่รุนแรง อาการรุนแรง การเข้ารักษาในโรงพยาบาล หรือเสียชีวิต วัตถุประสงค์หลักของการฉีดวัคซีน หมายถึง การป้องกันการเกิดอาการรุนแรง และการเสียชีวิต
สถานการณ์ความเคลื่อนไหวด้านเศรษฐกิจและการฟื้นฟู
องค์กรเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ได้คาดการณ์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2564 ไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยให้เหตุผลว่าตัวแปรสำคัญนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ ที่ผลักดันโดยประธานาธิบดี โจ ไบเดน ช่วยให้โลกฟื้นตัวจากวิกฤตเร็วขึ้น มีผลให้การเติบโตของ GDP โลกเพิ่มขึ้น 1% ในปี 2564 เห็นได้จากที่ผู้คนกลับมาลงทุนมากขึ้น ธนาคาร และสายการบิน เริ่มกลับมา
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2021/ost-sci-review-jun2021.pdf
นานาสาระน่ารู้

ห้ามพลาด! นี่คือทักษะที่คนหนุ่มสาวต้องมี ถ้าอยากทำงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Jobs) ในอนาคต
ตำแหน่งงานในภาคเกษตรกรรม สถาปัตยกรรม วิทยาศาสตร์ ฯลฯ ต้องการทักษะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่คนหนุ่มสาวเกือบครึ่งกลับรู้สึกว่าตนเองไม่มีทักษะที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานเหล่านี้ ขณะที่ในรายงาน Future of Jobs ของ World Economic Forum ประจำปี 2563 นายจ้างคาดการณ์ว่าพนักงาน 4 ใน 10 คนจะต้องได้รับการปรับทักษะใหม่ ดังนั้นการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดในการเลือกอาชีพที่ Go Green ในวันนี้ อาจทำให้คนหนุ่มสาวทั่วโลกประสบความสำเร็จในหน้าท่ี่การงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในวันข้างหน้า
กระนั้นสำหรับเยาวชน การตัดสินใจดังกล่าวอาจเป็นเรื่องยาก เนื่องจากงานสีเขียว (Green Jobs) ในทุกวันนี้ยังไม่มีตัวอย่างให้เห็นมากนัก ดังนั้นโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติจึงเข้ามาช่วยเหลือด้วยการนำเสนอ Global Environment Outlook ฉบับที่ 6 (GEO-6) ซึ่งเป็นคู่มือดิจิทัลเกี่ยวกับการเลือกอาชีพที่ยั่งยืน และทักษะที่จำเป็นต่อการเติบโตในหน้าที่การงานในอุตสาหกรรมสีเขียว
อ่านบทความทั้งหมดได้ที่ https://www.salika.co/2021/09/13/green-jobs-skill-set-for-youth/
BCG

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน พฤษภาคม 2564
วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน พฤษภาคม 2564
กีฏวิทยา Entomology ศาสตร์ว่าด้วยแมลง
กีฏวิทยา (Entomology) เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งของสัตววิทยา (Zoology) โดยศึกษารายละเอียดของแมลงโดยตรง ดังนั้นกีฏวิทยาถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure Science) และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) แบ่งการศึกษาออกเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้ :
กีฏวิทยาบริสุทธิ์
ศึกษาเกี่ยวกับแมลงโดยตรงแบ่งเป็นวิชาต่าง ๆ ดังนี้
- Insect Morphology ศึกษาเกี่ยวกับรูปร่าง สัณฐานวิทยาของแมลง
- Insect Physiology ศึกษาเกี่ยวกับระบบสรีรวิทยาของแมลง
- Immature Insect ศึกษาเกี่ยวกับตัวอ่อนของแมลง
- Insect Anatomy ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างภายในของแมลง
- Insect Taxonomy ศึกษาเกี่ยวกับการจำแนกชนิดของแมลง
กีฏวิทยาประยุกต์
ศึกษาเกี่ยวกับแมลงที่มีประโยชน์ในด้านมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนี้
- Medical and Veterinary Entomology ศึกษาเกี่ยวกับแมลงที่ใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์และสัตวแพทย์
- Insect Pest of Horticulture ศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช และแมลงที่ช่วยในการกำจัดศัตรูพืช
- Forest Entomology ศึกษาเกี่ยวกับแมลงที่เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ของป่า
- Apiculture ศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะเลี้ยงผึ้งชนิดต่าง ๆ โรคของผึ้ง และศัตรูของผึ้ง เพื่อนำไปพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ
- Insect Transmission of Plant Disease ศึกษาเกี่ยวกับแมลงที่เป็นพาหะ ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ในพืช
นักกีฏวิทยา
มีหน้าที่ศึกษาค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับแมลง การเจริญเติบโต โครงสร้าง กระบวนการและระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงงชีวิตของแมลง และความสัมพันธ์ระหว่างแมลงกับชีวิตพืชและสัตว์ ช่วยควบคุม แก้ไขปัญหา ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูทางการเกษตร เช่น แมลงศัตรู ธัญพืช พืชไร่ นา พืชสวน ไม้ยืนต้น ป่าไม้ แมลงทำลายผลผลิตในโรงเก็บ และแมลงพาหะนำโรคมาสู่พืช ดำเนินการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาในการควบคุมหรือกำจัดแมลงในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายและป้องกันการแพร่ระบาดของแมลงที่เป็นอันตรายในพื้นที่ทำการเกษตร
อีกหน้าที่หนึ่งคือการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีและหลักการในการระบุและให้ชื่อแมลง แหล่งที่อยู่อาศัย วงจรชีวิตของแมลงแล้วจำทำระบบฐานข้อมูลหมวดหมู่ การวางรูปแบบ การวิเคราะห์ชนิดและการวินิฉัยลำดับอนุกรมวิธานแมลง ให้ความรู้แก่ประชาชน รวมถึงกฎหมายห้ามจับและป้องกันการลักลอบจับแมลงอนุรักษ์ แมลงสวยงามหายาก เช่น แมลงอนุรักษ์ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) หรือไซเตส (CITES) และเป็นที่รู้จักในชื่อ อนุสัญญากรุงวอชิงตัน (Washington Convention) ซึ่งมีถิ่นที่อยู่อาศัยในประเทศไทย 13 ชนิด คือ ด้วงกว่างดาว ด้วงคีมยีราฟ ด้วงดินขอบทองแดง ด้วงดินปีกแผ่น ผีเสื้อกลางคืนค้างคาว ผีเสื้อกลางคืนหางยาว ผีเสื้อไกเซอร์ ผีเสื้อถุงทอง ผีเสื้อนางพญา ผีเสื้อภูฐาน ผีเสื้อรักแร้ขาว ผีเสื้อหางดาบน้ำตาลไหม้ ผีเสื้อหางติ่งสะพายเขียว
ประโยชน์และโทษของแมลง
ประโยชน์ของแมลง
- ช่วยในการผสมละอองเกสรให้พืช พืชไร่ พืชสวน พืชผัก ตลอดจนหญ้าแมลงที่ช่วยผสมละอองเกสร และแมลงที่สำคัญในการผสมละอองเกสรคือ ผึ้ง ผีเสื้อ แมลงภู่ และแมลงวัน เป็นต้น
- ผลผลิตจากแมลงนำมาทำประโยชน์ในทางการค้า เช่น ผ้าไหม เส้นไหม ได้มาจากผีเสื้อหนอนไหม ผีเสื้อยักษ์ ครั่งได้มาจากแมลงครั่งซึ่งเป็นเพลี้ยหอยชนิดหนึ่ง น้ำผึ้ง ไขผึ้ง นมผึ้ง (Royal Jelly) เกสรผึ้ง (Pollen grain) ได้จากผึ้ง และสีย้อม (Chocineal Dye) ได้มาจากเพลี้ยหอย (Cochineal Insect) เป็นต้น
- ช่วยในการกำจัดแมลงศัตรูพืชและวัชพืช โดยการเป็นแมลงห้ำ (Predator) และแมลงเบียน (Parasite) ตัวอย่างแมลงตัวห้ำ ได้แก่ แมลงปอ แมลงช้าง แมลงวันหัวบุบ ตั๊กแตนตำข้าว คอยจับสัตว์ตัวเล็กๆ เช่น ยุง แมลงหวี่ และเพลี้ย ส่วนแมลงตัวเบียน เช่น ต่อเบียน แตนเบียน แมลงวันกันขน แตนหางธง และต่อขุดรู จะทำลายผีเสื้อ ด้วง ได้ในระยะไข่ ระยะหนอน ระยะดักแด้ แมลงตัวห้ำ แมลงตัวเบียน มีความสำคัญเพราะช่วยลดประชากรของแมลงศัตรูพืช ไม่มีวิธีป้องกันกำจัดใดได้ดีเท่ากับแมลงปราบกันเอง
- นำมาใช้ประโยชน์ในการศึกษาด้านพันธุกรรม และทางด้านการแพทย์ เช่น แมลงหวี่ Drosophila melanogaster นำมาศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การเพิ่มลดของประชากร เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และแสงสว่าง มักนิยมใช้จำนวนประชากรของแมลงเป็นตัวบ่งบอกสภาพของสิ่งแวดล้อมในการ ศึกษามลภาวะ
- แมลงบางชนิดโดยเฉพาะ ผีเสื้อ และด้วง จะมีสีสันสวยงามทำให้ผู้พบเห็นเกิดความรู้สึกเป็นสุขจิตใจเบิกบาน แจ่มใส และสดชื่น
โทษของแมลง
- ความเสียหายที่เกิดกับพืชผล แมลงส่วนใหญ่สามารถทำลายพืชทุกชนิด และผลของการทำลายทำให้ผลผลิตลดลงกระทั่งทำให้พืชตายได้ เช่น
1. โดยการกัดกิน ใบ กิ่งก้าน ตาดอก ยอด ลำต้น ราก และผลของพืช ได้แต่ ตั๊กแตนกัดกินข้าว และข้าวโพด ด้วงปีกแข็งกัดกินใบข้าวโพด องุ่น ส้ม บางชนิดกินรวงข้าว ข้าวฟ่าง และหนอนของต่อ แตน บางชนิดกัดกิน ใบพืช เช่น ต่อฟันเลื่อยจะกัดกินใบสน
2. โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ยอด ลำต้น ราก และผล ได้แก่ มวนชนิดต่าง ๆ เพลี้ยอ่อน จักจั่น ฯ มวนเขียวข้าว มักจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบต้น และรวงของข้าว ข้าวฟ่าง
3. ทำให้เกิดปุ่มปม ตามต้น ยอด และใบพืช เช่น เพลี้ยไก่ฟ้ายอดชะอมทำให้เกิดปุ่มปม ที่ยอดอ่อนเรียกว่า ชะอมไข่ บั่วข้าวทำให้เกิดปมที่ต้นข้าวแล้วเป็นหลอดคล้ายใบหอม เป็นเหตุให้ข้าวไม่ออกรวง
4. ทำให้เกิดเชื้อโรคชนิดใหม่ ได้แก่ โรคราสนิม มีแมลงช่วยผสมข้าม ทำให้เกิดเชื้อโรคใหม่ ๆ ทำให้พืชเกิดโรคได้ แมลงที่ช่วยผสมเกสรดอกไม้ทำให้สปอร์ของเชื้อราจากที่หนึ่งไปผสมกับอีกที่หนึ่งได้
- เป็นพาหะนำโรคมาสู่คนและสัตว์ เช่น ยุงก้นปล่องเป็นพาหะโรค ไข้มาลาเรีย ยุงลายเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก และยุงรำคาญเป็นพาหะของโรคไข้สมองอักเสบ และโรคเท้าช้าง
- ทำให้รู้สึกขยะแขยง เมื่อแมลงไต่ตอมตามผิวหนัง ได้แก่ หนอนผีเสื้อที่อยู่ตามต้นไม้ หมัดที่ดูดกินเลือดคนและสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ
- โดยเหตุบังเอิญแมลงอาจเข้าตา หู จมูก หรือเข้าคอ เกิดการอักเสบ ได้แก่ แมลงวันตอมตา และแมลงที่บินเข้าหาแสงไฟยามค่ำคืน อาจเป็นเหตุให้เกิดโรค มายเอียซีส (Myiasis) ในกรณีที่บังเอิญตัวหนอนแมลงนั้นเข้าไปยังส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
แมลงกับการพัฒนาโลกทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ยารักษาโรค
ยาปฏิชีวนะในสมองแมลงสาบฆ่าเชื้อ MRSA และ E. coli Bacteria
ยาปฏิชีวนะในสมองแมลงสาบอาจนำไปสู่ยาฆ่าแบคทีเรียชนิดใหม่ นักวิจัยค้นพบโมเลกุลต้านเชื้อแบคทีเรียที่ผลิตตามธรรมชาติในแมลงสาบ โมเลกุลเหล่านี้พบในสมองของแมลงสาบสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียร้ายแรง เช่น MRSA และ E. Coli การทดลองพบว่ายาปฏิชีวนะในสมองของแมลงสาบมีประสิทธิภาพและไม่เป็นพิษต่อมนุษย์
มดป่าอเมริกาใต้บรรเทาอาการข้ออักเสบ
Dr. Roy D. Altman และทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยไมอามีได้วิจัยเกี่ยวกับประโยชน์ของพิษมดสำหรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ในกลุ่มผู้ป่วยได้รับการฉีดสารสกัดจากพิษที่เจือจาง ผู้ที่ได้รับอนุพันธ์ของพิษแสดงให้เห็นจำนวนและความรุนแรงของข้อต่อที่อักเสบลดลงอย่างมากและแสดงให้เห็นว่ามีอิสระในการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่มีผู้ป่วยรายใดมีอากาแพ้พิษและไม่มีอาการข้างเคียงแม้แต่น้อย
“Spanish Fly” แมลงวันสเปน หรือ ด้วงน้ำมันสีเขียว ช่วยเรื่องติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและต่อสู้กับมะเร็ง
แมลงวันสเปน (Spanish Fly) เป็นแมลงปีกแข็งสีเขียวมรกตสายพันธุ์ที่ชื่อ “Blister Beetle” มีสารที่เรียกกันว่า แคนธาริดิน (Cantharidin) เมื่อนำไปเจือจางเพื่อการใช้ยาสามารถช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อนเกี่ยวกับการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะแมลงสัตว์กัดต่อย ปัญหาเกี่ยวกับไต และแผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก นักวิจัยค้นพบว่าแคนธาริดินทำปฏิกิริยากับสารพันธุกรรมของเซลล์ที่ไม่เป็นมิตร ดังนั้นจึงอาจมีประโยชน์ในการรักษามะเร็งเนื้องอกที่ทนต่อรังสีและเคมีบำบัดได้มากที่สุด
การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี
ร่างกายของต่อหัวเสือสามารถเก็บเกี่ยวพลังงานแสงอาทิตย์ได้
ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ (Tel Aviv University) ได้แสดงให้เห็นว่าต่อหัวเสือสามารถเก็บเกี่ยวพลังงานแสงอาทิตย์และเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ เปลือกของแมลงสีน้ำตาลและสีเหลือ หรือ โครงกระดูกภายนอกสามารถเก็บเกี่ยวพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยสารเคมีในเม็ดสีเหลืองที่ช่องท้องของต่อ
ขวดน้ำแรงบันดาลใจจากด้วง
ด้วงดำแห่งทะเลทรายนามิเบีย (Stenocara gracllipes) เป็นยอดนักประหยัด ใช้น้ำทุกหยดซึ่งหายากยิ่งในทะเลทรายอย่างรู้คุณค่า ทุก ๆ เช้าขณะหมอกลงจัด ด้วงดำจะออกเดินเพื่อเก็บน้ำค้างลงบนลำตัว งานออกแบบจากธรรมชาตินี้นักประดิษฐ์ชาวเกาหลีใต้ Pak Kitae จากมหาวิทยาลัย Seoul National University of Technology พลิกแพลงเป็นอุปกรณ์กักเก็บน้ำค้าง ไม่ต้องใช้พลังงาน
Dew Bank Bottle เป็นภาชนะที่มีรูปแบบทรงโดมที่มีผิวมีความลื่นสูง ทำให้หยดน้ำไหลไปเก็บด้านในโดยไม่ระเหยออก เหมาะสำหรับพื้นที่ทุรกันดาร ได้รับรางวัล Idea Design Awards ปี 2010
แนวคิดฟาร์มแนวตั้งจากแมลงปอ
การออกแบบแนวคิดล่าสุดจาก Vincent Callebaut Architects ตั้งอยู่ทางฝั่งใต้ของเกาะ Roosevelt ในนิวยอร์ก เป็นแนวคิดฟาร์มแนวตั้ง 128 ชั้นจัดเรียงไว้รอบอาคารสูง 700 เมตร ห่อด้วยกระจกขนาดใหญ่และเรือนกระจกเหล็กที่เชื่อมโยงกัน รูปทรงการออกแบบรองรับน้ำหนักของอาคารได้รับแรงบันดาลใจจากโครงกระดูกภายนอกของปีกแมลงปอที่มาจากตระกูล “Odonate Anisoptera”
หุ่นยนต์ที่ถูกสร้างจากแรงบันดาลใจจากฝูงมด The R-One
จากการศึกษาโดยนักฟิสิกส์และวิศวกร มดสามารถยกน้ำหนักตัวเองได้ 10-50 เท่า สามารถว่ายน้ำและที่น่าทึ่งในการประสานงานซึ่งกันและกัน
James McLurkin จาก MIT ได้สร้างหุ่นยนต์ที่มีพฤติกรรมเหมือนมด น้ำหนักประมาณสิบเอ็ดออนซ์และเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 นิ้วและสูง 2 นิ้ว หุ่นยนต์มีขนาดเล็กภายในที่ทำให้หุ่นยนต์สื่อสารกันได้คล้ายกับฝูงมด หุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นมีเป้าหมายในการสำรวจค้นหาและช่วยเหลือการกู้คืน การทำแผนที่ และการเฝ้าระวัง สามารถใช้จัดการทุกอย่างตั้งแต่การค้นหาผู้รอดชีวิตหลังจากเกิดแผ่นดินไหวไปจนถึงการสำรวจพื้นผิวของดาวอังคาร
เมื่อแมลงแปลงเป็นอาหารมนุษย์
วัฒนธรรมการกินแมลง
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization) ให้การยอมรับว่าแมลงเป็นอาหารทางเลือกใหม่ตั้งแต่ ค.ศ. 2013 และได้ทำรายชื่อแมลงที่สามารถรับประทานได้กว่า 2,200 ชนิด FAO ยังได้รายงานเพื่อชี้ชัดว่าการกินแมลงเป็นทางออกใหม่ที่สามารถช่วยให้ประชากรโลกหลุดพ้นจากวิกฤตอาหารเพราะแมลงเป็นแหล่งอาหารที่มีไขมันต่ำ โปรตีนและไฟเบอร์สูง
การกินแมลงในประเทศต่าง ๆ
ทวีปเอเชีย
ญี่ปุ่น มีวัฒนธรรมการนำแมลงมาปรุงเป็นอาหาร เช่น การรับประทาน “แตน” ซึ่งชาวญี่ปุ่นนิยมนำตัวอ่อนของแตนมารับประทานทั้งแบบดิบและแบบสุก โดยแบบสุกจะนำไปปรุงกับขิง ซีอิ๊ว และ (เหล้า) มิริน ส่วนอินโดนีเซียนิยมทาน Botok Tawon หรือห่อหมกตัวอ่อนผึ้ง เกาหลีมี Beondegi หรือดักแด้ทอด
ส่วนประเทศอื่น ๆ ในเอเชียนิยมรับประทานแมลงเช่นกัน จีน กัมพูชา ลาว เวียดนาม และไทย ซึ่งแมลงกินได้ที่พบในประเทศไทยมีมากกว่า 50 ชนิด เช่น แมลงดานา แมลงตับเต่า แมลงกุดจี่ แมลงทับ จิ้งหรีด แมลงกระชอน ตั๊กแตนปาทังก้า แมลงเม่า มดแดง ผึ้ง ต่อ แตน ดักแด้ไหม และหนอนไผ่ เป็นต้น ซึ่งการศึกษาพบว่าแมลงเหล่านี้มีปริมาณโปรตีนใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์
ทวีปอเมริกา
เม็กซิโก สินค้าที่นักท่องเที่ยวนิยมซื้อกลับบ้าน เหล้าเตกีล่าดองหนอน ซึ่งเป็นหนอนราคาแพง คือ หนอนแดง (red worms) เป็นหนอนที่อยู่บริเวณต้นอากาเว พืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีทรงพุ่มแผ่เป็นวงกว้าง
ทวีปแอฟริกา
ปลวกเป็นแมลงนิยมในพื้นที่แถบตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกา วิธีปรุง คือ เอาไปต้มแล้วคั่วกับเกลือ ส่วนประเทศบูร์กินาฟาโซ อาหารประจำฤดูฝนคือ หนอนต้นเชีย (shea caterpillars) นำมาตุ๋นหรือเอามาทอด นอกจากนี้ด้วงมะพร้าวเป็นอาหารในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
แมลง อาหารยุคใหม่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
แมลงมีแร่ธาตุและสารอาหารที่จำเป็นกับร่างกายมนุษย์เป็นจำนวนมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์และโปรตีนชนิดอื่น ๆ ทั้งยังมีปริมาณไขมันน้อยกว่า
ไทยมุ่งเป็นศูนย์กลางผลิตแมลง ส่งออกทั่วโลก
เพื่อให้สอดรับแนวทางขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization) ประกาศให้แมลงเป็นแหล่งอาหารในอนาคตของโลก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตแมลง “ฮับแมลงโลก” รับเทรนด์อุตสาหกรรมอาหารใหม่ (Novel Food) เพื่อเจาะตลาดโลกกว่า 3 พันล้านบาท กำหนดนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงจิ้งหรีดให้แก่เกษตรกรเพื่อสร้างรายได้ ตลาดแมลงของไทยสามารถส่งออกได้ทั้งแบบเป็นตัวและแปรรูป โดยฟาร์มส่วนใหญ่จะส่งขายแมลงแบบเป็นตัว แมลงที่เกษตรกรไทยนิยมเพาะเลี้ยง เช่น จิ้งหรีด ตั๊กแตน แมงป่อง ดักแด้ ด้วง มด ฯลฯ ปัจจุบันมีการทำธุรกิจแมลงส่งออก เช่น แมลงบรรจุในถุงฟลอยด์ แป้งโปรตีนจากแมลง แมลงบรรจุกระป๋อง ขนมในรูปแบบแมลงเคลือบช็อคโกแล็ต ลูกอมแมลง แมลงอบแห้งขายส่ง ฯลฯ
ข่าวแมลงในสหรัฐฯ ที่น่าสนใจ
ยุงดัดแปลงพันธุกรรมตัวแรกที่ปล่อยในสหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกา ได้ทำการดัดแปลงพันธุกรรมยุงเพื่อยับยั้งการแพร่ขยายพันธุ์ยุงตัวอื่นและลดการระบาดโรค และได้ปล่อยในเกาะ Florida Keys การปล่อยยุงดัดแปลงพันธุกรรมกว่า 750 ล้านตัว ในปี 2021 และ 2022 ยุงที่พัฒนานี้มีชื่อว่า OX5034 ซึ่งที่ถูกนำมาปล่อยจะเป็นยุงตัวผู้ ไม่กัดมนุษย์โดยพันธุกรรมจะส่งต่อไปให้ลูกของมันในอนาคต ลดการเพิ่มประชากรยุง ลดอัตราการแพร่เชื้อโรคต่าง ๆ ได้ทำการทดลองแล้วใน Cayman Islands, Panama และ Brazil ความสำเร็จลดประชากรยุงได้จำนวนมากภายในไม่กี่เดือน
จะเกิดอะไรขึ้นหากแมลงหายไป?
1.ห่วงโซ่อาหารล่มสลาย
ผลกระทบคือ แมลงคือสัตว์ในห่วงโซ่อาหารที่นก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และปลา กินเป็นอาหาร หากแมลงหายไป สัตว์เหล่านี้จะขาดอาหาร และสัตว์ใหญ่ที่อาศัยกินสัตว์ในห่วงโซ่อาหารต่อมาต้องล้มตายเป็นทอด ๆ ตัวอย่างการศึกษาที่เปอร์โตริโก พบว่า เมื่อแมลงหายไป ปริมาณนกและกบหายไปร้อยละ 50-65 นกท้องถิ่นเปอร์โตริกัน โทดี (Puerto Rican tody) หายไปร้อยละ 90
2.ขาดผู้ผลิตอาหารให้กับมนุษย์
ร้อยละ 80 ของการผสมเกสรของพืชทั่วโลกเกิดขึ้นโดยผึ้ง พืชจำพวกธัญญาหารได้รับการผสมเกสรทางลม แต่พืช เช่น ผลไม้ ถั่ว ผักต่าง ๆ รวมถึงโกโก้ และกาแฟ เป็นผลงานของผึ้ง แต่ถิ่นที่อยู่ของผึ้งกำลังหายไป และถูกซ้ำเติมด้วยสารเคมีฆ่าแมลง
แมลงเป็นผู้สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน เปลี่ยนธาตุอาหารอินทรียวัตถุทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ กระบวนการผลิตอาหารกำลังล่มสลายด้วยการใช้สารเคมี จนกระทั่งแมลงระบบนิเวศตามธรรมชาติไม่สามารถฟื้นตัวได้ทัน เมื่อไม่มีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ ก็ไม่มีอาหาร ไม่มีแหล่งน้ำที่สะอาด ดินที่เหมาะกับการเพาะปลูก หรือแม้อากาศดี ๆ สำหรับหายใจ
เราช่วยแมลงยังไงได้บ้าง?
1.ร่วมกันแบบการใช้สารเคมีอันตรายหลักในการทำเกษตร อาทิเช่น พาคาควอต คลอร์ไพริฟอส ไกลโฟเสท สารเคมีอันตรายเหล่านี้ ท้ายที่สุดส่งผลต่อคนเช่นกัน
2. ลดการบริโภคเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีกระบวนการทำลายป่าไม้ และปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ เพื่อเป็นอาหารสัตว์ เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง เป็นการทำลายถิ่นที่อยู่ของแมลง ใช้สารเคมีมหาศาล ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ และทางอากาศ (จากการเผาวัสดุการเกษตรในที่โล่ง)
3. อุดหนุนและสนับสนุนอาหารที่ผลิตขึ้นด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรมเชิงนิเวศ เป็นวิถีเกษตรแบบดั้งเดิมโดยไม่ใช้สารเคมี และอิงวิถีธรรมชาติ ไม่เน้นการผลิตเพื่อปริมาณและอุตสาหกรรม จะเลี่ยงการปลูกพืชเชิงเดี่ยวและส่งเสริมความหลากหลายเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของน้ำและดิน ซึ่งเอื้อกับการผสมเกสรของแมลง และมีกระบวนการควบคุมโรคและศัตรูพืชตามธรรมชาติ สุขภาพของคนปลูกและคนกินก็ดีด้วย
การวาดภาพทางวิทยาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร กับอาจารย์วิชัย มะลิกุล
การวาดภาพทางกีฏวิทยาให้ประโยชน์ทางด้านศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ศิลป์จะนำมามาช่วยวิทย์ การอธิบายด้วยภาพที่เจาะจงเจาะลึกในเนื้อหา มีส่วนช่วยให้เห็นความชัดเจน ยากที่จะอธิบายด้วยอักษร
อาจารย์วิชัย มะลิกุล เป็นนักวาดภาพวิทยาศาสตร์ของภาควิชากีฏวิทยา สถาบันสมิทโซเนียน ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐฯ ภาพที่สร้างชื่อมากที่สุด คือ ภาพวาดสีน้ำรูปผีเสื้อ ได้รับรางวัลภาพวาดดีเด่นจากงานประชุมการติดต่อสื่อสารทางด้านชีววิทยา ระดับโลก (World Congress of Biocommunications) เมื่อปี 2547 อาจารย์วิชัยฯ ได้ทำคุณประโยชน์เผยแพร่วิชากีฏวิทยาไม่ว่าแมลงที่เป็นพาหะนำโรคแมลงศัตรูพืชหรือความสวยงามของผีเสื้อ ภาพวาดมีความเหมือนละเอียดอ่อน สีสันสวยงาม ประโยชน์ในด้านวิชาการและความสวยงามด้านศิลปะธรรมชาติอย่างแท้จริง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2021/ost-sci-review-may2021.pdf
นานาสาระน่ารู้

ก.ทรัพย์ เร่งกระตุ้นส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตและการบริโภคสินค้า
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเร่งกระตุ้นส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยปีนี้มีเกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการ 37 รายการ เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตและการบริโภคสินค้า
นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าวว่า นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เร่งขับเคลื่อนการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566-2570) “พลิกโฉมประเทศไทยสู่...เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน” และ Model เศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) หรือการผสมผสานการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green) ที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นวาระแห่งชาติ เบื้องต้นจะเน้นส่งเสริมสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต้องเกิดการปฏิบัติได้จริงให้ไปดำเนินการศึกษาข้อมูลตลอดกลยุทธ์แนวทางการส่งเสริมการตลาดเพื่อกระตุ้นให้เกิดตลาดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ทั้งนี้ ในปีนี้มีเกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการทั้งสิ้น 37 รายการ มีจำนวนสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในฐานข้อมูลสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่เว็บไซต์ http://gp.pcd.go.th ปี 2564 เป็นข้อมูลเมื่อเดือนสิงหาคม 2564 จำนวน 1,329 รายการ แบ่งเป็นฉลากเขียว 475 รายการ ตะกร้าเขียว 155 รายการ โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 364 รายการ ผลิตภัณฑ์ผ้าคูลโหมด 41 รายการ ฉลากลดโลกร้อน 294 รายการ รวมเป็น 735 บริษัทหรือเครื่องหมายการค้า
อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าวย้ำว่า การขับเคลื่อนการบริโภคสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินการผ่านหลายช่องทาง ทั้งบูรณาการการทำงานร่วมกับกรมบัญชีกลางในการยกร่างกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 หมวดที่ 7/2 พัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความมั่นใจการจัดซื้อจัดจ้างฯ การผลักดันให้เกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของ คพ. อยู่ในเกณฑ์การพิจารณาอื่นๆ เช่น เกณฑ์การพิจารณาสำนักงานสีเขียว (Green office) โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Hotel) ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง การขอความร่วมมือให้หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยงานในกำกับของรัฐ สถาบันการศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมการจัดซื้อสินค้าและจัดจ้างบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต การบริโภคสินค้า และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้าง
BCG

ดร.เอนก โชว์ 12 ผลงาน “12 เดือน 12 ดี” ผลงานของ อว.
วันที่ 9 ก.ย. ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แถลงข่าว “12 เดือน 12 ดี” ผลงานของ อว. ในรอบปีงบประมาณ 2564 ว่า ผลงานทั้ง 12 เรื่องของ อว. มีทั้งเรื่องการสร้างผลประโยชน์ในระยะสั้น หรือเฉพาะหน้าเพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วน และสร้างผลประโยชน์ระยะกลางและระยะยาวให้กับประเทศ โดยในระยะสั้นที่ อว.ดำเนินการ
อาทิ โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศหรือ U2T ที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานจากวิกฤติโควิด-19 เป็นการจ้างงานของรัฐบาลที่ทำได้อย่างรวดเร็วที่สุด ทำให้คน 6 หมื่นคนที่เป็นลูกหลานชาวบ้านได้มีงานทำกระจายไป 3 พันตำบลทั่วประเทศและเป็นครั้งแรกที่เอามหาวิทยาลัยกว่า 76 แห่งลงสู่ตำบลเพื่อทำงานร่วมกับชุมชน ก่อให้เกิดเงินหมุนเวียนในชุมชนหลายร้อยล้านบาท ล่าสุดกำลังขออนุมัติโครงการ U2T ในระยะที่ 2 อีก 4 พันกว่าตำบลเพื่อจ้างงานอีกกว่า 1.2 แสนคน ใช้งบประมาณ 2 หมื่นกว่าล้านบาท
รมว.อว.กล่าวต่อว่า เรื่องต่อมาคือ รพ.สนามสู้ภัยโควิด ที่เป็นกองหนุนในยามวิกฤติ อว.เปิด รพ.สนาม 60 กว่าแห่งทั่วประเทศเกือบครบทุกจังหวัดโดยใช้เครือข่ายมหาวิทยาลัย รับคนไข้มาแล้ว 6-7 หมื่นคน การสร้าง รพ.สนาม เป็นการผันตัวเองอย่างรวดเร็วของ อว.ในยามวิกฤต แสดงให้ประชาชนเห็นว่ามหาวิทยาลัยลงจากหอคอยงาช้าง หน่วยงานวิจัยออกจากป้อมปราการ เพื่อมาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนต่อสู้ในยามวิกฤติ ต่อมาคือ การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด โดย อว. ได้เปิดศูนย์ฉีดวัคซีนในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล 14 จุดและต่างจังหวัด 76 จุด ซึ่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนไปแล้วกว่า 7 แสนโดส นอกจากนี้ ยังมีโครงการ อว.พารอด เป็นโครงการที่ดึงจิตอาสาและอาสาสมัครมาช่วยผู้ป่วยโควิดทรี่กักตัวอยู่บ้านหรือในชุมชน โดยการโทรศัพท์ไปให้กำลังใจและคำปรึกษาพร้อมส่งกล่องยาสมุนไพรและอุปกรณ์จำเป็นไปให้ โดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชนมาร่วมบริจาคสิ่งของจนเกิดเป็นพลังขับเคลื่อนทางสังคม
ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีโครงการ BCG โมเดลเศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาลที่ อว.ร่วมขับเคลื่อน ซึ่งจะเป็นผลประโยชน์ของประเทศในระยะกลางและระยะยาวเพื่อนำไปสู่ประเทศอุตสาหกรรม 4.0 และนำไปประเทศไทยไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจแบบทำน้อยได้มาก ไม่ใช่ทำมากได้น้อยเหมือนเดิมอีกต่อไป ขณะเดียวกันมีโครงการธัชชาหรือวิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย เพื่อทำให้เห็นว่า อว.ไม่ได้มีแค่วิทยาศาสตร์ เทคโลยีและนวัตกรรม แต่ยังมีเรื่องของสังคมศาสตร์ฯ ด้วยเพื่อสร้างความสมดุลให้กับทุกศาสตร์ ผลงานสำคัญคือการทำเรื่องสุวรรณภูมิศึกษา เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ประเทศไทยย้อนหลังไป 2,500 – 3,000 ปี เพื่อแสดงให้โลกเห็นว่าคนไทยมีอารยธรรมและยังช่วยส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้
“ที่สำคัญยังมีผลงานเรื่องการวิจัยความยากจนเพื่อแก้ปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้า โดยการทำวิจัยใน 10 จังหวัดที่ยากจนที่สุดของประเทศไทยจนได้ตัวเลขคนจนจริงๆ มากว่า 4 แสนคน เพื่อจัดทำเป็นบิ๊กดาต้านำไปสู่การแก้ปัญหาความยากจนที่ตรงจุดและแม่นยำ พร้อมมีการติดตามประเมินผลจนกว่าจะหายจนอีกด้วย” รมว.อว.กล่าวและว่า ยังมีเรื่องของการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการโดยไม่ต้องส่งงานวิจัยหรือตำราก็ได้ โดยมีคุณสมบัติ อาทิ ทำงานรับใช้สังคมและท้องถิ่น ทำงานสร้างสรรค์หรือด้านศิลปะ มีการสอนที่เป็นเลิศ เป็นต้น การลดค่าเทอมเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาและผู้ปกครองในช่วงเป็นการแบ่งเบาภาระที่เป็นรูปธรรมอีกผลงานหนึ่งของ อว.
ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวด้วยว่า ขณะที่ การยกเลิกการกำหนดระยะเวลาสำเร็จการศึกษา เรียนไม่จบไม่ต้องถูกรีไทร์ เป็นอีกเรื่องที่เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนไปด้วยพร้อมกับทำงานไปด้วย ผลงานต่อมาคือเรื่องของ TSC โครงการสำรวจอวกาศที่ใหญ่ที่สุดของไทย เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ และสุดท้ายคือการเปิดหลักสูตร WINS ที่เป็นการนำผู้บริหารระดับสูงของ อว.มาอบรมและทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างความรักสามัคคี พร้อมช่วยสร้างและพัฒนางานที่เป็นประโยชน์ให้กับประเทศ
“ยืนยันว่า อว.ทำงานดี เร็ว คล่องและประสานการทำงานร่วมกันได้อย่างไม่ติดขัด ขอย้ำว่าความสำเร็จทั้งหมดนี้ ผมไม่ได้ทำคนเดียว แต่เป็นผลงานจากความร่วมมือทั้งทีมการเมือง ทีมผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของ อว.ทกคน” รมว.อว.ระบุ
BCG
ข่าวประชาสัมพันธ์

นายกฯ ร่วมประชุม GMS ครั้งที่ 7 เร่งยกระดับความร่วมมือ เพื่อขับเคลื่อน GMS สู่ “การบูรณาการ รุ่งเรือง ยั่งยืน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”
นายกฯ ร่วมประชุม GMS ครั้งที่ 7 เร่งยกระดับความร่วมมือ เพื่อขับเคลื่อน GMS สู่ “การบูรณาการ รุ่งเรือง ยั่งยืน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”
วันนี้ (9 กันยายน 2564) เวลา 09.00 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ร่วมประชุมและกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมระดับสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศ ครั้งที่ 7 (The 7th Greater Mekong Subregion Summit) ซึ่งราชอาณาจักรกัมพูชาร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ผ่านระบบวีดิทัศน์แบบถ่ายทอดสด ภายใต้หัวข้อหลัก “GMS: พลิกฟื้นความแข็งแกร่งเพื่อเผชิญหน้ากับความท้าทายในทศวรรษใหม่” (GMS: Renewed Strength to Face the Challenges of the New Decade) โดยมีผู้นำประเทศสมาชิกฯ และองค์การระหว่างประเทศร่วมกล่าวถ้อยแถลงด้วย ดังนี้ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย ซึ่งภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมฯ นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยสาระสำคัญของถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวยินดีที่ได้เข้าร่วมการประชุมฯ พร้อมทั้งชื่นชมความพยายามของประเทศสมาชิกในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเต็มความสามารถ ผ่านการผสานความร่วมมือของทุกภาคส่วนอย่างเข้มแข็ง เพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูอย่างรอบด้านและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับประชาชนใน GMS โดยการประชุมฯ ในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ร่วมกันทบทวนการดำเนินงานในระยะที่ผ่านมา และแสวงหาความร่วมมือที่สร้างสรรค์ โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีเห็นควรร่วมกันยกระดับความร่วมมือเพื่อสานต่อความสำเร็จของ 3C ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของแผนงานความร่วมมือ GMS ดังนี้
1) Connectivity เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมอย่างไร้รอยต่อทั้งภายในอนุภูมิภาคและสู่ภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งไทยกำลังพัฒนาโครงข่ายคมนาคมให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศ รวมทั้งเชื่อมโยงระหว่างเมืองกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ตามแผนการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR Map) และแผนพัฒนาสะพานเศรษฐกิจ (Land Bridge) ทางภาคใต้ ซึ่งจะเป็นช่องทางส่งออกและนำเข้าสินค้าแห่งใหม่ของ GMS และสามารถต่อยอดความเชื่อมโยงไปยังประเทศสมาชิกภายใต้แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ขณะเดียวกัน ไทยมีความพร้อมในการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเข้ากับเส้นทางจากจีน และ สปป.ลาว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าและขยายห่วงโซ่มูลค่าในอนุภูมิภาค นอกจากนี้ ไทยยังได้ให้ความช่วยเหลือเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานแก่ประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 และ 6 รวมถึงการสร้างสะพานมิตรภาพไทย-กัมพูชา เชื่อมโยงบ้านหนองเอี่ยนกับสตึงบท ซึ่งจะส่งเสริมให้ GMS มีความเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อที่แท้จริง
สำหรับความเชื่อมโยงด้านกฎระเบียบไทยส่งเสริมให้ประเทศสมาชิก GMS และ ADB เร่งผลักดันการดำเนินการตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (CBTA) สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งเร่งหารือเพื่อผลักดันกฎระเบียบที่เป็นหนึ่งเดียว เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามพรมแดนอย่างมีประสิทธิภาพ
2) Competitiveness มุ่งสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ภาคธุรกิจทุกระดับปรับตัวเพื่อให้อนุภูมิภาค GMS มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น โดยไทยให้ความสำคัญกับการเยียวยาควบคู่ไปกับการสร้างศักยภาพของ MSMEs การส่งเสริม E-Commerce และมุ่งใช้ประโยชน์จากข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ ไทยได้พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 ควบคู่ไปกับการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ ผ่านการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เพื่อเพิ่มโอกาสการเชื่อมโยงของห่วงโซ่มูลค่าทั้งภายในและนอกอนุภูมิภาค
3) Community เร่งส่งเสริมอนุภูมิภาค GMS ให้เป็นประชาคมที่ครอบคลุม ยั่งยืน และมีอนาคตร่วมกัน โดยเฉพาะการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับอนุภูมิภาคจากโรคระบาดหรือโรคอุบัติใหม่ โดยไทยได้จัดทำแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 พ.ศ. 2564-2565 ซึ่งจะช่วยเกื้อกูลการดำเนินงานในระดับอนุภูมิภาค GMS อีกทางหนึ่ง พร้อมทั้งสนับสนุนความร่วมมือด้านสาธารณสุขที่มุ่งเน้นดูแลสุขภาพและสุขอนามัยแบบองค์รวม และร่วมกันขับเคลื่อนความร่วมมือชายแดน GMS ปลอดภัย ผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ตลอดจนการเพิ่มพูนความร่วมมือเพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดต่อในระดับภูมิภาค นอกจากนี้ การเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาที่เน้นการสร้างความสมดุลของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งไทยได้กำหนดให้การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) เป็นวาระแห่งชาติด้วย
นายกรัฐมนตรีขอบคุณ ADB และหุ้นส่วนการพัฒนาอื่น ๆ ทั้งภาคธุรกิจและภาคประชาชน ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนา GMS มาโดยตลอด พร้อมหวังว่าผลการประชุมในวันนี้จะนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมและประสบความสำเร็จ เพื่อสร้าง “อนุภูมิภาค GMS ที่มีการบูรณาการ รุ่งเรือง ยั่งยืน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”
ในการประชุมฯ นี้ ผู้นำประเทศสมาชิกฯ ได้ร่วมกันรับรองเอกสารผลลัพธ์ 3 ฉบับ ประกอบด้วย (1) ร่างปฏิญญาร่วมระดับผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ 7 (2) ร่างกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พ.ศ. 2573 และ (3) ร่างเอกสารแผนการฟื้นฟูและตอบสนองต่อผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พ.ศ. 2564-2566
BCG

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน เมษายน 2564
วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน เมษายน 2564
บทบาทใหม่ของภาคเอกชนในอวกาศ
National Aeronautics and space Administration หรือ NSDA ที่ประสบความสำเร็จในโครงการต่าง ๆ มากมาย แต่ปัจจุบันบริษัทเอกชนอย่าง SpaceX, Blue Origin, Boeing บริษัทเอกชนเริ่มมีบทบาทเป็นด้านอวกาศมากขึ้น
การปิดฉากกระสวยอวกาศของสหรัฐฯ
การส่งนักบินขึ้นไปในอวกาศ ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ค่าใช้จ่ายมหาศาลและการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ความท้าทายของการส่งน้ำหนักบรรทุกไปยังวงโคจรรอบโลก คือน้ำหนัก ความสูง และความเร็ว ส่วนที่ยากที่สุดของการส่งจรวดคือ จรวดนั้นเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ด้วยการทิ้งมวลบางส่วนเอาไว้เบื้องหลัง ดังนั้น เราจะต้องแบกเชื้อเพลิงที่จะขับดันขึ้นไปด้วย ด้วยความท้าทายและค่าใช้จ่ายที่สูงในการบรรทุกน้ำหนัก จึงทำให้การนำกลับมาใช้ใหม่เป็นเรื่องที่แพง จรวดในยุคแรก ๆ นั้นจึงเป็นการออกแบบแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งเป็นการฟุ่มเฟือยมาก ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาโครงการกระสวยอวกาศในช่วงปี 2523 ก็ไม่ได้ถูกอย่างที่คิด หากเทียบค่าใช้จ่ายการส่งกระสวยอวกาศขึ้นไปหนึ่งครั้งจะใช้เงินประมาณ 450 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่จรวด Soyuz ของรัสเซียมีค่าใช้จ่ายประมาณ 80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อหัว องค์การ NASA จึงยกเลิกโครงการกระสวยอวกาศ และมาใช้บริการของจรวด Soyuz ของรัสเซียในการส่งนักบินอวกาศไปยังสถานีอวกาศนานาชาติตั้งแต่ปี 2554 แทน
เปิดฉากความยิ่งใหญ่ของภาคเอกชน
ความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เริ่มต้นจากการแข่งขันระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจ คือ สหรัฐฯ และสหภาพโซเวียต เงินจำนวนมหาศาลที่สหรัฐฯ ลงทุนไป ความสิ้นเปลืองนี้ เป็นเหตุให้ NASA ถูกตัดงบประมาณและต้องยุติหลายโครงการลงในเวลาต่อมา แต่ทั้งนี้ NASA ยังคงส่งนักบินอวกาศและศึกษาเรื่อยมา ตั้งแต่ปี 2554 โดยเอกชนธุรกิจ ไม่จำกัดอยู่แค่หน่วยงานรัฐบาล จึงเกิดเป็นโครงการ Commercial Crew Program (CCP) โดย NASA ให้เงินทุนสนับสนุนให้เอกชนสร้างยานอวกาศและจรวด สร้างตลาดให้เกิดการแข่งขันโดยใช้นวัตกรรม รายได้ และผลประโยชน์ ให้เกิดการพัฒนาในระยะยาว
กลับสู่ดวงจันทร์ เพื่อการเดินทางใหม่...สู่ดาวอังคาร
Walked on the Moon --
“That’s one small step for man, one giant leap for mankind.”
จากประวัติศาสตร์ในปี 2512 นีล อาร์มสตรอง นักบินอวกาศชาวสหรัฐฯ ได้เดินทางไปเหยียบดวงจันทร์สำเร็จ และหลังจากนั้นมีนักบินอวกาศอีก 11 คน ได้มีโอกาสเดินทางไปเหยียบดวงจันทร์ โดยคนสุดท้ายที่ไปเหยียบดวงจันทร์เมื่อปี 2515 หรือเมื่อ 49 ปีที่แล้ว
ในปี 2560 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ลงนามใน Space Policy Directive 1 เพื่อเรียกร้องให้ NASA ส่งมนุษย์กลับไปยังดวงจันทร์อีกครั้ง ซึ่ง NASA เชื่อว่า การสำรวจดวงจันทร์ครั้งล่าสุดนี้จะช่วยให้สหรัฐฯ สร้างสถานะเชิงกลยุทธ์ในอวกาศ และขยายความร่วมมือระหว่างประเทศในอนาคต
โครงการ Artemis Land first woman, next man on the moon
หลังจากการประกาศ Space Policy Directive 1 เมื่อเดือนธันวาคม 2560 ทำให้เกิดโครงการ Artemis (อาร์ทีมิส เป็นชื่อเทพเจ้ากรีกเทพีแห่งดวงจันทร์ ที่มีพี่ชายฝาแฝดชื่อ เทพเจ้า Apollo (อพอลโล) ซึ่งเป็นชื่อโครงการที่ NASA เคยใช้ในการพานักบินอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์) ซึ่งโครงการนี้จะพานักบินอวกาศหญิงคนแรกและนักบินอวกาศชายไปเหยียบ ณ ขั้วใต้ของดวงจันทร์ในปี 2567 ด้วยยาน Orion MPCV (Orion Multi-Purpose Crew Vehicle) ไปกับจรวด SLS (Space Launch System) ของ NASA โดยได้รับความร่วมมือจากองค์การอวกาศต่างประเทศ เช่น ESA และบริษัทเอกชน โครงการ Artemis ยังรวมถึง การตั้งฐานแบบถาวร (Artemis Base Camp) เพื่อปูทางในการการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจ เพื่อพามนุษยชาติไปดาวอังคารก่อนปี 2573
การปูทางเพื่อเดินทางต่อไปยังดาวอังคาร
การดำเนินการของ NASA ในโครงการ Artemis คือ การสร้างฐานที่ขั้วใต้ของดวงจันทร์ หรือ Artemis Base Camp ที่จะใช้ในสำรวจดวงจันทร์ เก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมถึง การศึกษาการอาศัยอยู่ของมนุษย์ระยะเวลากว่า 2 เดือน โดยใน Artemis Base Camp ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ (1) Lunar Terrain Vehicle (LTV) สำหรับให้นักบินอวกาศขับไปมาเพื่อสำรวจ (2) Habitable Mobility Platform หรือคล้าย ๆ รถบ้านที่ใช้วิ่งบนดวงจันทร์ สำหรับการปฏิบัติภารกิจนอก Artemis Base Camp ที่อยู่นอกฐานไกลออกไปตั้งแต่ 10 กิโลเมตรขึ้นไป และส่วนสุดท้าย คือ (3) Foundation Surface Habitat ที่เป็นฐานหลัก ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เช่น โมดูล การสื่อสาร โมดูลพลังงาน โมดูลป้องกันรังสี Launch pad ระบบกำจัดของเสีย และระบบเก็บของ
ดาวอังคารพิเศษอย่างไร ทำไมนานาประเทศถึงต้องการศึกษา???
ดาวอังคาร (Mars) ดาวเคราะห์ที่อยู่ถัดจากโลก หรือที่รู้จักในชื่อ ดาวแดง เนื่องจากมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิว ทำให้ดาวมีสีแดงเรื่อนั้น เป็นดาวเคราะห์ที่นักวิทยาศาสตร์และองค์กรทางด้านอวกาศนานาประเทศให้ความสนใจ
การสำรวจดาวอังคารมีเป้าหมายกว้าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ 4 ข้อ คือ
เป้าหมาย 1: ศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตเคยเกิดขึ้นบนดาวอังคารหรือไม่
เป้าหมาย 2: ศึกษาลักษณะภูมิอากาศของดาวอังคาร
เป้าหมาย 3: ศึกษาลักษณะทางธรณีวิทยาของดาวอังคาร
เป้าหมาย 4: เตรียมพร้อมสำหรับการสำรวจดาวอังคารของมนุษย์
กองทัพอวกาศสหรัฐฯ UNITED STATES SPACE FORCE
กองทัพอวกาศสหรัฐฯ หรือ U.S. Space Force (USSF) เป็นกองทัพเหล่าที่ 6 ของสหรัฐฯ ต่อจากกองทัพบก (Army) นาวิกโยธิน (Marine Corps) กองทัพเรือ (Navy) กองทัพอากาศ (Air Force) และหน่วยยามชายฝั่ง (Coast Guard) ที่เริ่มบังคับใช้ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562
ความจำเป็นที่ต้องมีกองทัพอวกาศ
การดำเนินชีวิตประจำวันของคนเราส่วนใหญ่ในทุกวันนี้ ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติงานในอวกาศ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ GPS หรือการใช้อินเตอร์เน็ต ยังรวมไปถึงการใช้งานทางการทหารเพื่อรักษามั่นคงของประเทศ กองทัพอวกาศสหรัฐฯ นี้ มีหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ ในห้วงอวกาศที่ดำเนินกิจกรรมอวกาศในทางสันติ ขัดขวางการรุกราน และปฏิบัติการทางอวกาศในรูปแบบต่าง ๆ ของสหรัฐฯ จากข้อมูลในเดือนมกราคม 2564 สหรัฐฯ มีดาวเทียมอยู่ในอวกาศภายนอก (Outer Space) จำนวน 1,897 ดวง ถือว่ามีจำนวนมากที่สุดในโลกเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนดาวเทียมทั้งหมดทั่วโลก (รัสเซียมีดาวเทียม 176 ดวง จีนมีดาวเทียม 412 ดวง และประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกมีดาวเทียม 887 ดวง)
ขยะอวกาศ
ขยะอวกาศ คืออะไรก็ได้มนุษย์สร้างขึ้นและไม่ได้ใช้งาน ที่ยังโคจรรอบ ๆ โลก เช่น ดาวเทียมเก่า ท่อนจรวดนำส่งหรือชิ้นส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ถูกทิ้งหรือหลุดลอยออกไปจากยาน หรือชิ้นส่วนยานพาหนะที่ระเบิดหรือชนกัน จำนวนขยะอวกาศในวงโคจรที่เพิ่มขึ้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อดาวเทียมที่ยังใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน และทำหการบนิในอวกาศอันตรายมากขึ้น ขยะอวกาศยังเป็นภัยต่อมนุษยชาติ ภัยที่ไม่สามารถมองเห็น และไม่สามารถบอกได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด เมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2564 ชิ้นส่วนของจรวด Long March B5 ของจีน ได้วิ่งกลับเข้ามายังโลกพุ่งลงยังมหาสมุทรอินเดีย โดยไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ
Space Tourism เทรนด์ใหม่ของการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวอวกาศ เป็นอุตสาหกรรมเกิดใหม่ที่บริษัทเอกชนขนาดใหญ่อย่าง Virgin Galactic, Blue Origin และ SpaceX เข้ามาลงทุน ซึ่งคาดการณ์ว่าการท่องเที่ยวในอวกาศทั้ง suborbital และ orbital รวมกันจะมีมูลค่าถึง 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573
Zero G Flight
เริ่มต้นที่เที่ยวบินจำลองแบบยังไม่ออกไปอวกาศจริง แต่ให้รู้สึกใกล้เคียงกับอวกาศที่สุด สัมผัสได้ถึงสภาวะไร้น้ำหนัก (Zero Gravity หรือ Microgravity) ด้วยเครื่องบิน Boeing 727 บินในลักษณะพาราโบลา คือ บินขึ้นสูงในระดับหนึ่ง แล้วดิ่งลงมา ทำให้ผู้โดยสารสามารถรู้สึกได้ถึงสภาวะไร้น้ำหนักประมาณ 20 วินาที สำหรับแต่ละเที่ยวบินจะบินขึ้นลงในลักษณะพาราโบลา 15 ครั้ง การบินแบบไร้น้ำหนักนี้ให้บริการสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการประสบการณ์ใหม่ หรือสำหรับการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเที่ยวบิน Zero G Flight ราคาอยู่ที่ประมาณ 7,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือราว 219,000 บาท
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2021/ost-sci-review-april2021.pdf
นานาสาระน่ารู้

“เอนก”สั่ง“อว.ส่วนหน้า”ใช้”บีซีจีโมเดล”สร้างมูลค่าเพิ่มให้ประเทศ ใช้กลไกมหาวิทยาลัยขับเคลื่อนร่วมกับทุกจังหวัด
ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลประกาศให้ “โมเดลเศรษฐกิจบีซีจี” หรือการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model) เป็น “วาระแห่งชาติ” ที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่เป้าหมายของการเป็นประเทศที่มีรายได้สูงและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาเสริมสร้างจุดแข็งของประเทศ ล่าสุด ตนได้ประชุมกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานของ อว. ทั่วประเทศ และได้สั่งการให้ “อว.ส่วนหน้า” ที่เป็นหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของ อว. ในส่วนภูมิภาคในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัด โดยมีเครือข่ายมหาวิทยาลัยเป็นตัวขับเคลื่อนการทำงานในพื้นที่ร่วมกับทุกจังหวัดทั่วประเทศ ให้มีเป้าหมายหลักในการดำเนินงานในปี 2565 คือ มุ่งเน้นการนำ “บีซีจี โมเดล” มาขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เชิงพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม โดยการใช้ทรัพยากรทีมีอยู่อย่างคุ้มค่า แม้กระทั่งของเหลือใช้ก็สามารถนำมาทำให้เกิดมูลค่าได้ โดยเฉพาะธุรกิจด้านการเกษตรและอาหาร ที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทย ซึ่งถ้านำบีซีจีโมเดล มาใช้ได้ทั้งหมดก็จะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ให้กับประเทศได้ โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก
รมว.อว.กล่าวต่อว่า ในขณะเดียวกันหน่วยงานวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอีกกว่า 20 หน่วยงานใน อว. ก็จะต้องเข้ามารวมพลังในการขับเคลื่อน บีซีจีโมเดล ไปพร้อมๆ กัน โดย บีซีจีโมเดล จะถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของการดำเนินงานของกระทรวง อว. เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนไปทั้งองคาพยพ นำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจประเทศอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
BCG

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน มีนาคม 2564
วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน มีนาคม 2564
Foresight คืออะไร และอะไรที่ไม่ใช่ Foresight
Foresight หรือ Foresight Study คือ การอธิบาย วิเคราะห์ และคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต หรือเพื่อออกแบบอนาคตที่อยากให้เกิดขึ้น
1. การมองอนาคต (Foresight) เป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ความคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) ประกอบกับความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และจินตนาการ (Imagination)
2. เครื่องมือการมองอนาคตในปัจจุบันเป็น “กระบวนการตัดสินใจร่วมกัน (Participatory Deliberative Process ของ stakeholder ทั้งหมด รวมถึง Document Research ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้ จะถูกนำผลการวิจัยไประดมความคิดเห็นเชิงลึกมากขึ้น
3. เครื่องมือการมองอนาคตมุ่งเน้น “การเปลี่ยนแปลงที่จริงจัง และมีความยั่งยืน (Transformation)” ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้งด้าน สังคมศาสตร์ มานุษยวิทยา และนโยบายสาธารณะ Foresight จึงมีความ Multidisciplinary Approach มากกว่าวิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์โดยเฉพาะ
4. การมองอนาคตไม่ได้จำกัดเพียงการวิเคราะห์และคาดการณ์อนาคต แต่รวมไปถึงการออกแบบอนาคต ซึ่งอนาคต (Futures)
5. การมองอนาคตเป็นกระบวนการที่มีหลายขั้นตอน (Multiple Steps) ใช้เวลายาวนานและมีลักษณะการทวนซ้ำ (iteration)
ความแตกต่างระหว่าง Forecast และ Foresight
ความแตกต่างระหว่าง การมองอนาคต (Foresight) และการพยากรณ์ (Forecasting) คือ การพยากรณ์ (Forecasting) เป็นการวาดเส้นทางการไปสู่เป้าประสงค์ที่คาดการณ์ไว้เพียงเส้นทางเดียวจากปัจจุบันและสิ่งที่คาดว่าจะเป็นอนาคต ขณะที่ การมองอนาคต (Foresight) เป็นการวาดเส้นทางการไปสู่เป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ไปในหลายเส้นทาง
ความสำคัญของ Foresight Study ในปัจจุบัน
วิทยาการการจัดการข้อมูลที่มีการรวบรวมในระบบ Meta Data และ Big Data มีความก้าวหน้าไปมาก ทำให้การบันทึก และประมวลชุดข้อมูล (ด้านเวลา ด้านพื้นที่ สถานที่ และตัวแปรต่าง ๆ) สามารถนำมารวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ และนำมาใช้โดยเฉพาะการนำข้อมูลจากอดีตถึงปัจจุบัน มาวิเคราะห์คาดการณ์อนาคต เพื่อหาแนวโน้มสิ่งที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้สามารถจัดทำนโยบาย และแผนงานมาเตรียมรองรับ ปรับตัว ดังนั้น Foresight Study จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่รัฐบาลของประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา นำมาใช้ในการสร้างภาพจำลองของอนาคตและการวางแผนกลยุทธ์ระยะยาวของหลายองค์กร
หน่วยงานของรัฐบาลกลางในสหรัฐฯ และการใช้การมองการณ์ไกล
1.สำนักงานความรับผิดชอบของรัฐบาล (Government Accountability Office)
2.หน่วยข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency)
3.หน่วยรักษาการณ์ชายฝั่ง กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (Coast Guard Department of Homeland Security)
6 มิติ ของภาพอนาคต ความเปลี่ยนแปลงหลังวิกฤต COVID-19 ที่อาจเกิดขึ้นได้
จากแนวโน้มสถานการณ์การแก้ปัญหาโควิด-19 ในประเทศไทย หลายท่านอาจสงสัยว่า “ถ้าวิกฤต
โควิด-19 สิ้นสุดลงประเทศไทยจะเดินหน้าอย่างไร? วิถีชีวิตใหม่จะเป็นอย่างไร? สังคมไทยจะเดินหน้าไปในทิศทางไหน? เศรษฐกิจไทยจะเปลี่ยนไปอย่างไร? 6 มิติ ของภาพอนาคต ความเปลี่ยนแปลงหลังวิกฤต COVID-19 ที่อาจเกิดขึ้น มีภาพอนาคตอะไรบ้าง
มิติที่ 1 ภาพใหม่ของระบบสาธารณสุขและโรงพยาบาล
- ความต้องการใช้งานระบบรักษาจากทางไกล (Telemedicine)
- การรักษาและตรวจสุขภาพด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Treatment)
- ทรัพยากรด้านระบบสาธารณสุขถูกนำไปใช้ในประเด็นวิกฤติมากขึ้น
มิติที่ 2 การเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยสูญเสียรายได้จากนักศึกษา เกิดการแข่งขันในตลาดออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น
- แนวโน้มการเรียนจากทางไกลที่เพิ่มขึ้น (Remote Classes)
- ปัจจัยการเลือกเรียนมหาวิทยาลัยของนักศึกษาที่เปลี่ยนไป
มิติที่ 3 การโยกย้ายห่วงโซ่การผลิตโลก Shift of Global Value Chain, GVC
- การจัดการความเสี่ยงต่อสถานการณ์วิกฤติ และการกีดกันทางการค้ารูปแบบใหม่
- การเปลี่ยนแปลงรูปแบบห่วงโซ่การผลิต ความร่วมมือและการใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากร
- การปรับตัวของห่วงโซ่มูลค่า เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการผลิต
มิติที่ 4 สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน China-US New Trade War
- การเผชิญหน้ากันระหว่างจีน - สหรัฐฯ จากปัญหาโควิด-19
- เกมการเมืองและการให้ร้าย
- เกิดข้อพิพาทระหว่างประเทศด้านการแข่งขันและการแย่งชิงทรัพยากร
- การเติบโตของประเทศจีน ในขณะที่สหรัฐฯ ยังไม่ฟื้นตัว
มิติที่ 5 ความเชื่อทางศาสนาหลังการระบาด Post-Pandemic Theological Value
- การต่อต้านจีนและนิการชีอะฮ์ของคนมุสลิม
- การต่อต้านความเชื่อแบบพหุเทวนิยม (Polytheism)
- ความเชื่อในวันสิ้นโลกและการพิพากษาจากพระเจ้ามากขึ้นจนนำไปสู่การก่อการร้าย
- ความเคร่งทางศาสนาที่ถูกผ่อนปรน อาทิ งานศพทางไกล
มิติที่ 6 การเปลี่ยนผ่านจากดิจิทัลสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ From Digital to Biotechnology
- เทคโนโลยีเครือข่ายและการเชื่อมต่อกลายเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการแข่งขัน
- บริษัทเทคโนโลยีกลายเป็นหัวใจหลักในการสนับสนุนทางการแพทย์มากกว่ารัฐบาล
- การนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์กลายเป็นประเด็นที่สังคมตระหนักและให้ความสำคัญ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2021/ost-sci-review-mar2021.pdf
นานาสาระน่ารู้

ESG และ BCG MODEL เชื่อมโยงกับกับความยั่งยืนของธุรกิจอย่างไร ?
ข้อมูลจาก : เว็บไซต์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ปัจจุบันธุรกิจมีความเสี่ยงจากความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน ฝุ่นพิษ มลภาวะจากขยะ รวมถึงผลกระทบจากปัญหาสังคม ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน และปัญหาสิทธิมนุษยชน
ดังนั้น ธุรกิจจึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่ดีและสร้างความสมดุลให้ “เศรษฐกิจสามารถเติบโตไปควบคู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน” โดยมีรากฐานทำธุรกิจที่ใช้หลักคิดเศรษฐกิจพอเพียง ที่ตั้งอยู่บนความไม่ประมาท ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ใช้ความรู้และคุณธรรม เพื่อให้ธุรกิจเกิดการพึ่งพาตัวเองได้ และแบ่งปันไปถึงสังคม
ต่อยอดสู่เป้าหมาย BCG Model ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย เน้นเศรษฐกิจที่นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาต่อยอดจุดแข็งของธุรกิจไทย นั่นก็คือ การนำคุณค่าจากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมมาแปลงหรือเพิ่มเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ เป็นการนำผลผลิตทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ มาปรับเปลี่ยนระบบการผลิตและการบริโภคที่นำไปสู่กระบวนการที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อรักษาความสมดุลและตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน
อ่านบทความทั้งหมดได้ที่ : ESG และ BCG MODEL เชื่อมโยงกับกับความยั่งยืนของธุรกิจอย่างไร ?
BCG

ตอนที่ 5 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย
รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ
นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย
https://www.youtube.com/watch?v=7HYRNGvZPrcเผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย คุณสุริยกมล มณฑา และคณะ คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ ดร.ปิติ อ่ำพายัพ และคณะ ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ดร.อัญชลี มโนนุกุล ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ และคณะ ดร.ชัญญา พุทธิขันธ์ ดร.อรประไพ คชนันทน์ และ ดร.อัญชลี ทัศนาขจร
30 ปี สวทช.
คลัง VDO