หน้าแรก ค้นหา
ผลการค้นหา :
ตอนที่ 7 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย
รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย https://www.youtube.com/watch?v=oUjSO20sxdM เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย ดร.สุภาวดี นาเมืองรักษ์ ดร.ปิติ อ่ำพายัพ คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ ดร.สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ และคณะ ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ และคณะ ดร.ดนุ พรหมมินทร์ และคณะ และ ดร.อัญชลี มโนนุกุล
30 ปี สวทช.
 
คลัง VDO
 
30th Anniversary Story of NSTDA: สวทช. พัฒนาเทคโนโลยียกระดับอุตสาหกรรมการผลิตอ้อยและน้ำตาลสู่การทำน้อยแต่ได้มาก
  อุตสาหกรรมการผลิตอ้อยเพื่อการแปรรูปเป็นน้ำตาลของประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันระดับโลก เนื่องจากมีข้อได้เปรียบเรื่องต้นทุนการผลิตอ้อยต่ำ และยังมีทำเลที่ตั้งของประเทศอยู่ในภูมิภาคที่มีความต้องการบริโภคน้ำตาลสูง ทำให้ต้นทุนการส่งออกถูกกว่าผู้ผลิตในทวีปอื่น ส่งผลให้ไทยมีสถิติการส่งออกน้ำตาลเป็นอันดับต้นของโลก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิตอ้อยและน้ำตาลจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ ด้วยการทำวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยี ทั้งการพัฒนาสายพันธุ์อ้อย การทำเกษตรสมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำ และการพัฒนาชุดตรวจเพื่อควบคุมคุณภาพการผลิตน้ำตาลระดับอุตสาหกรรม ฯลฯ   พัฒนาสายพันธุ์อ้อยความหวานสูง เพื่อความคุ้มค่าสูงสุดในการลงทุน อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกและเก็บเกี่ยวได้เพียงปีละครั้ง เพื่อให้การเพาะปลูกอ้อยในแต่ละรอบการผลิตเกิดประโยชน์สูงสุด สวทช. ได้วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์อ้อยที่ให้ความหวานสูง แปรรูปเป็นน้ำตาลได้มาก เพื่อช่วยเพิ่มผลกำไรให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ สวทช. โดยศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (NOC) นำเทคโนโลยี Marker Assisted Selection หรือ MAS ที่มีประสิทธิภาพในการคัดเลือกพันธุ์สูง มาใช้ในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยที่เหมาะสมให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ ทำให้ระยะเวลาในการคัดเลือกพันธุ์จาก 10-12 ปี ตามวิธีมาตรฐาน ลดลงเหลือเพียง 6 ปี และมีความแม่นยำในการคัดเลือกที่สูงกว่ามาก โดย NOC ยังได้ร่วมกับ บริษัทมิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด ดำเนิน “โครงการปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล” เพื่อศึกษาและค้นหาเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับความหวานในอ้อยสำหรับใช้คัดเลือกพันธุ์อ้อยลูกผสม โดยได้ค้นพบเครื่องหมายโมเลกุล 3 เครื่องหมาย ที่มีศักยภาพสัมพันธ์กับความหวาน คือ SEM358, ILP10 และ ILP82 นำไปสู่การพัฒนา “ชุดไพรเมอร์เครื่องหมายดีเอ็นเอที่มีความจำเพาะต่อเครื่องหมายยีนในวิถีเมแทบอลิซึมของน้ำตาลในอ้อย” และ “กระบวนการคัดเลือกสายพันธุ์อ้อยที่มีพันธุกรรมหวานโดยใช้ชุดไพรเมอร์เครื่องหมายดีเอ็นเอดังกล่าว” ในการปรับปรุงพันธุ์อ้อย ซึ่งได้จดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผลการวิจัยดังกล่าวทำให้คณะวิจัยสามารถพัฒนาพันธุ์อ้อยที่มีศักยภาพจำนวน 9 สายพันธุ์ และมี 2 สายพันธุ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนพันธุ์แล้ว คือ ภูเขียว 2 (14-1-772) และภูเขียว 3 (14-1-188) ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2563 มีการนำอ้อยทั้ง 9 สายพันธุ์ ไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่แล้ว 550 ไร่ และจะมีการขยายผลเป็น 5,500 ไร่ ในปี พ.ศ. 2564 นอกจากนี้ในการทำโครงการฯ ทีมวิจัยยังได้ฐานข้อมูล Transcriptome ของอ้อย ซึ่งประกอบด้วยยีนมากกว่า 46,000 transcripts ที่ไม่เพียงนำไปใช้พัฒนาเครื่องหมายโมเลกุล แต่ฐานข้อมูลนี้ยังมีความสำคัญอย่างมากในการค้นหายีนใหม่ๆ ในโครงการวิจัยในอนาคต เช่น การค้นหายีนที่เกี่ยวข้องกับผลผลิตทางชีวมวล (biomass productivity), การแตกกอ, การตอบสนองต่อภาวะแล้ง เป็นต้น ที่สำคัญในกระบวนการวิจัยยังได้พัฒนาโปรแกรมวิเคราะห์และประมวลภาพ Gel electrophoresis และแปลงข้อมูล Genotype profile เป็นข้อมูลดิจิทัลที่สามารถนำไปวิเคราะห์ทางสถิติได้ง่าย ซึ่งจดสิทธิบัตรแล้วในชื่อ “การวิเคราะห์แถบภาพของอิเล็กโทรโฟรีซิสเจลด้วยเทคนิคการประมวลภาพ”   รายละเอียดเพิ่มเติม : การค้นหาจีโนมอ้อยความหวานสูง (https://bit.ly/2SrBywd หน้า 36-39)     ก้าวสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ ด้วยเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำ (Precision farming) ในปี พ.ศ. 2562 สวทช. ดำเนินงานยกระดับการปลูกอ้อยของไทยสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ โดยร่วมมือกับพันธมิตรนำเทคโนโลยีต่างๆ อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) Internet of Things (IoTs) และเทคโนโลยีการวิเคราะห์และประมวลผล ฯลฯ มาพัฒนาให้การทำการเกษตรมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูง (Precision farming) ตัวอย่างโครงการแรก คือ ความร่วมมือในการ “พลิกโฉมการทำไร่อ้อยสู่ระบบเกษตรแม่นยำ” สวทช. โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับไอบีเอ็ม และกลุ่มมิตรผล พัฒนาแดชบอร์ดอัจฉริยะและแอปพลิเคชันบนมือถือ เพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสุขภาพอ้อยให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต โดยได้นำเทคโนโลยีชั้นนำของโลกมาใช้ในการรวบรวมข้อมูลบิ๊กเดต้า (Big data) วิเคราะห์ และประมวลผล ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลประเมินการปลูกและการจัดการความเสี่ยงแบบจำเพาะเจาะจงกับพื้นที่ได้สะดวกและทันต่อสถานการณ์ อีกทั้งยังมีข้อมูลสำหรับวางแผนการพัฒนาประสิทธิภาพการเพาะปลูกในรอบต่อไป ด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยีนี้จะทำให้เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนการทำการเกษตรแบบเดิมสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ได้รวดเร็วขึ้น อีกตัวอย่างโครงการหนึ่ง คือ “การพัฒนาเทคโนโลยีประเมินผลผลิตอ้อย (Field Practice Solutions หรือ FPS)” สวทช. ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และบริษัทเอกชนได้แก่ บริษัท HG Robotics จำกัด บริษัท Global crop จำกัด บริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลบ้านไร่ จำกัด บริษัทน้ำตาลสระบุรี จำกัด และบริษัทเกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ ซอฟต์แวร์ภาพถ่ายดาวเทียม และ AI มาพัฒนาเป็นเทคโนโลยีสำหรับวิเคราะห์การเติบโตของอ้อยในพื้นที่เพาะปลูก โรคพืช ค่าความหวาน และระยะการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม โดยเทคโนโลยีนี้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลไร่อ้อยได้รวดเร็วและมีความแม่นยำสูง   รายละเอียดเพิ่มเติม 1) สวทช. ผนึกสถาบันวิจัยไอบีเอ็ม จับมือนำ AI พลิกโฉมการทำไร่อ้อยร่วมกับกลุ่มมิตรผล (https://bit.ly/3AbR8xb) 2) ม.ขอนแก่นร่วมหน่วยงานรัฐ-เอกชน เปิดตัว AI โดรนวัดความหวาน ประเมินผลผลิตไร่อ้อย (https://bit.ly/3AbRfc5)   ชุดตรวจเดกซ์แทรน ป้องกันการปนเปื้อนในกระบวนการผลิตน้ำตาล เดกซ์แทรน (Dextran) คือ สายพอลิเมอร์ของกลูโคสที่เกิดจากการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในน้ำอ้อย ซึ่งส่งผลเสียต่อกระบวนการผลิตน้ำตาลเป็นอย่างมาก เนื่องจากทำให้เกิดการสูญเสียปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายของโรงงาน โดยพบว่าหากมีการปนเปื้อนของเดกซ์แทรน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำอ้อย จะสูญเสียน้ำตาลถึง 1.123 กิโลกรัมต่อตันอ้อย ส่งผลกระทบต่อรายได้ของโรงงาน และยังต่อเนื่องไปถึงรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยตลอดจนเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ผู้ผลิตน้ำตาลจำเป็นต้องตรวจการปนเปื้อนของเดกซ์แทรนในน้ำอ้อยอยู่เสมอ เพื่อกำจัดเดกซ์แทรนที่ตรวจพบก่อนนำน้ำอ้อยเข้าสู่กระบวนการผลิต ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) โดยทีมนักวิจัยห้องปฏิบัติการวินิจฉัยระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซนเซอร์ระดับนาโน พัฒนา “ชุดตรวจเดกซ์แทรน (Dextran) ปนเปื้อนในกระบวนการผลิตน้ำตาล” โดยใช้หลักการ Competitive immunoassay ทำให้สามารถวิเคราะห์ปริมาณเดกซ์แทรนได้รวดเร็ว มีค่าคัตออฟของชุดตรวจที่ 1,000 ppm/brix มีความไว ความจำเพาะ และความถูกต้องในการตรวจวัดมากกว่าร้อยละ 90 การใช้งานชุดตรวจทำได้ง่าย พนักงานสามารถตรวจสอบและอ่านผลการตรวจได้จากแถบสีที่แสดงบนชุดตรวจโดยไม่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ผล ปัจจุบันนาโนเทคได้ส่งมอบชุดตรวจให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำตาลเพื่อใช้ควบคุมคุณภาพการผลิตของโรงงานแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 สามารถช่วยลดการสูญเสียในกระบวนการผลิตและสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจกว่า 100 ล้านบาทต่อปี   รายละเอียดเพิ่มเติม : ชุดตรวจเดกซ์แทรน (Dextran) ปนเปื้อนในการผลิตน้ำตาล (https://bit.ly/2SrBywd หน้า 40-43)         ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ สวทช. พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยให้มีความพร้อมในการแข่งขันระดับโลกอยู่เสมอ เป็นการยกระดับประสิทธิภาพการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำเพื่อความคุ้มค่าสูงสุดในการลงทุน สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (BCG Economy Model) ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ มุ่งใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียกระดับการทำการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ สร้างมูลค่าเพิ่ม และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า หากสนใจเทคโนโลยีการเกษตรอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถติดตามได้ที่ “หนังสือ 3 ทศวรรษ สวทช. กับการขับเคลื่อนประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล่มเกษตรและอาหาร” ที่เว็บไซต์ https://bit.ly/2SrBywd  
BCG
 
ข่าว
 
บทความ
 
วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 4 เดือน เมษายน 2564
ภาพรวมสถานะและความก้าวหน้าของสมาพันธรัฐสวิสในด้านการอุดมศึกษา วิจัย พัฒนา และนวัตกรรม การเป็นผู้นำด้านการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม ในทุก ๆ ปี คณะกรรมาธิการยุโรปจะจัดทำ Innovation Scoreboard เพื่อเป็นตัวชี้วัดถึงผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรม (Innovation Performance) ได้มาจากการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบของประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรป โดยจะมีการประเมินถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของระบบนวัตกรรมในแต่ละประเทศพร้อมทั้งระบุถึงประเด็นที่แต่ละประเทศควรให้ความสนใจและพัฒนา โดยรายงานผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรมของสหภาพยุโรปประจำปี ค.ศ. 2020 (European Innovation Scoreboard 2020) สมาพันธรัฐสวิส หรือ สวิตเซอร์แลนด์ ได้ถูกจัดอันดับให้เป็น ผู้นำนวัตกรรม (Innovation leaders) ในยุโรป เช่นเดียวกับประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ และ ลักเซมเบิร์ก ซึ่งมีค่าผลลัพธ์ศักยภาพด้านนวัตกรรมสูงกว่าค่าเฉลี่ยด้านนวัตกรรมของสหภาพยุโรปประมาณร้อยละ 20 จุดแข็งด้านนวัตกรรมของสวิตเซอร์แลนด์คือ ทรัพยากรบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญ รวมถึงแรงงานข้ามชาติที่มีทักษะการทำงานสูง ระบบการวิจัย และการลงทุนและสนับสนุนของบริษัทเอกชนต่อการพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรม โดยได้รับการสนับสนุนด้านการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมจากรัฐบาลทั้งระดับรัฐบาลกลางและระดับท้องถิ่น  สิทธิบัตร เป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จด้านพัฒนานวัตกรรม ในปี ค.ศ. 2019 ได้มีการขึ้นทะเบียนจดสิทธิบัตรสูงถึง 8,249 ฉบับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากปีก่อนหน้า โดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกแห่งสหประชาชาติ (World Intellectual Property Organization, WIPO) ได้จัดให้สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศอันดับหนึ่งในด้านนวัตกรรม สถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงระดับโลกของสวิตเซอร์แลนด์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริค หรือ ETHZ เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นสูงทางด้านวิทยาศาสตร์ จัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีอันดับอยู่ใน 5 อันดับแรกของยุโรป และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีอันดับอยู่ใน 10 อันดับแรกของโลก ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาเคมี คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ รวมถึงสาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เช่น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยมีบุคลากรของมหาวิทยาลัยได้รับรางวัลโนเบลจากสาขาต่าง ๆ รวม 21 ท่าน สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในโลซาน หรือ EPFL เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นสูงทางด้านวิทยาศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญในด้านวิทยาศาสตร์ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และการจัดการทางเทคโนโลยี EPFL ยังมีการจัดตั้งอุทยานนวัตกรรม หรือ EPFL Innovation Park เพื่อให้บริการแก่บริษัทในการใช้ห้องปฏิบัติการวิจัย และเป็นสถานที่ในการสร้างความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจเริ่มต้น (start-up) และองค์กรขนาดใหญ่ หน่วยงานด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่น่าสนใจในสวิตเซอร์แลนด์           สภาวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป (CERN) สภาวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป หรือเซิร์น (ตามชื่อย่อในภาษาฝรั่งเศสของ Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire, CERN) เกิดจากความร่วมมือของ 12 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ และยูโกสลาเวีย ปัจจุบันเซิร์นมีจำนวนสมาชิกรวม 23 ประเทศ พันธกิจของสถาบันเซิร์น พันธกิจหลักของสถาบันเซิร์น แบ่งหลัก ๆ ได้เป็น 3 ด้านดังนี้ งานวิจัยด้านฟิสิกส์พื้นฐาน : ค้นคว้าความรู้พื้นฐานตั้งแต่เริ่มกำเนิดของเอกภพ โดยใช้เครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ (เส้นรอบวง 27 กิโลเมตร) เร่งอนุภาคให้มาชนกันในระดับพลังงานสูง และศึกษาประกฎการณ์ที่เกิดขึ้น การสนับสนุนการศึกษา : สถาบันเซิร์นสนับสนุนการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร มุ่งเน้นไปที่กลุ่มครูและนักเรียนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โครงการอบรมครูช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับฟิสิกส์อนุภาค อีกทั้งยังจัดหลักสูตรสำหรับนักเรียนมัธยม มีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจวิทยาศาสตร์ พัฒนาทักษาของนักเรียนในเทคโนโลยีขั้นสูง และเพื่อเป็นแนวทางสำหรับนักเรียนผู้สนใจจะมีอาชีพทางวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรม นวัตกรรมจากสถาบันเซิร์น - จอสัมผัส : เมื่อ ค.ศ. 1972 ได้ประดิษฐ์จอสัมผัสแบบความจุไฟฟ้า (capacitive) ขึ้นใช้สำหรับระบบควบคุมเครื่องเร่งอนุภาคเอสพีเอส โดยเป็นต้นแบบของจอสัมผัสชนิดที่ใช้บนโทรศัพท์ smart phone ในปัจจุบัน - World wide web (www): เมื่อ ค.ศ. 1990 ได้กำหนดแนวคิดพื้นฐานของ world wide web ได้แก่ html http และ URL เพื่อแสดงข้อมูลจากหลายแหล่งด้วย Hyper text ตามความต้องการของนักวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ - CERN-MEDICIS: ได้พัฒนาโครงการผลิตไอโซโทปกัมมันตรังสี เพื่อใช้ในการวิจัยทางการแพทย์ - เครื่องเร่งอนุภาคเพื่อการแพทย์: ศึกษาการใช้อนุภาค เครื่องเร่งอนุภาค และ เครื่องตรวจวัดอนุภาคเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ยุคใหม่ เช่น การใช้ปฏิสสารในการทำลายเซลล์มะเร็ง - Medipix: ได้พัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้วัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยเฉพาะย่านความถี่รังสีเอกซ์ที่มีความละเอียดสูงและสามารถแสดงเป็นภาพสีได้ แหล่งบ่มเพาะวิสาหกิจเริ่มต้น           ปัจจุบันมีการก่อตั้งวิสาหกิจเริ่มต้นประมาณ 300 บริษัทต่อปี ซึ่งมีความโดดเด่นด้านเทคโนโลยีหลากหลายสาขา เช่น เทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการแพทย์ และเทคโนโลยีการเงิน เป็นต้น ปัจจัยของความสำเร็จคือ การได้รับการสนับสนุนจากโครงการของภาครัฐและภาคเอกชน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญในการวิจัยและพัฒนาการประยุกต์ใช้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์ เช่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในโลซาน (EPFL) ในการต่อยอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ ตัวอย่างวิสาหกิจเริ่มต้นในเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ ของสวิตเซอร์แลนด์ เทคโนโลยีโดรน บริษัท Flyability สร้างโดรน รุ่น ELIOS2 ซึ่งมีโครงถักห่อหุ้มตัวโดรน ช่วยให้ทนต่อการชนกระแทกและเข้าไปในสถานที่ที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยไม่เกิดความเสียหาย ปัจจุบันมีการนำโดรนไปใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงโรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลายแห่งทั่วโลก บริษัท Wingtra ผลิตโดรนสำหรับถ่ายภาพความละเอียดสูง นำไปใช้งานโดยเฉพาะสำหรับพื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ หรือในเหมืองแร่ เพื่อจะตรวจสอบงานก่อสร้างหรืองานขุดเจาะจากด้านบนได้อย่างละเอียดและแม่นยำมากขึ้น เทคโนโลยีการแพทย์ บริษัท Lunaphore เป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์อัตโนมัติสำหรับวินิจฉัยเนื้อเยื่อของมนุษย์ โดยใช้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่ปรับปรุงความเร็วและความแม่นยำของการตรวจสอบวินิจฉัย เช่น การวิเคราะห์เนื้องอก นอกจากนี้บริษัท Ava ได้พัฒนาสายรัดข้อมือซึ่งสามารถระบุวันไข่ตกของผู้หญิงได้อย่างแม่นยำ อุปกรณ์ดังกล่าวจะเก็บรวบรวมข้อมูลตัวแปรทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิ ของร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ และ ระยะเวลานอนหลับ เทคโนโลยีการเกษตร บริษัท CombaGroup ได้พัฒนาระบบและเทคโนโลยีการปลูกผักสลัดที่มีการเก็บเกี่ยวแบบสดใหม่ พร้อมบรรจุในบรรจุภัณฑ์และพร้อมบริโภค ด้วยการใช้ระบบการปลูกพืชในโรงเรือนประกอบด้วย 1) การปลูกพืชในอากาศ 2) การจัดสรรพื้นที่ และ 3) การควบคุมสภาพอากาศ ทำให้ปลูกผักปลอดสารพิษได้ตลอดปี และลดการใช้น้ำและพื้นที่เพาะปลูกได้ร้อยละ 90 รวมทั้งลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่าครึ่งของการปลูกผักแบบเดิม และยังลดภาระด้านสิ่งแวดล้อมของระบบผลิตอาหาร โดยเฉพาะการลดขั้นตอนการขนส่ง ลดปริมาณของเสียที่เกิดจากการเกษตรและน้ำเสีย การปลูกผักด้วยระบบดังกล่าวช่วยให้ผักอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไร้ความตึงเครียด ทำให้ผักมีความสดใหม่ มีรสชาติอร่อย และเก็บรักษาได้นานยิ่งขึ้น เทคโนโลยีการเดินทางขนส่ง บริษัท Bestmile ได้พัฒนาโปรแกรมเพื่อประสานการเคลื่อนที่ของยานพาหนะที่มีหรือไม่มีคนขับ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถช่วยติดตามยานพาหนะทุกคันได้ทุกขณะและตอบสนองต่ออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ความสัมพันธ์ด้าน อวทน. ระหว่างประเทศไทยและประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศไทยได้มีความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันเซิร์นมาอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลากว่า 20 ปี เกิดขึ้นด้วยพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีพระราชดำริและทรงเล็งเห็นว่า หากนักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับเซิร์น ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงชั้นนำระดับโลก จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยเป็นอันมาก ผลจากการติดต่อกับสถาบันเซิร์นของประเทศไทยในแง่หนึ่งคือ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่เกิดจากการถ่ายทอดความรู้ และสร้างแรงกระตุ้นให้กับวงการวิจัยของประเทศไทยเป็นการสร้างความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมของไทยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล การจัดทำโครงการ National e-Science Infrastructure Consortium: เป็นการร่วมมือระหว่าง 5 หน่วยงานของประเทศไทย ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการคำนวณสมรรถนะสูง ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบจัดเก็บข้อมูล เครือข่ายคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูล เพื่อรองรับการวิจัยด้าน e-Science ในสาขาฟิสิกส์ อนุภาคพลังงานสูง และสาขาอื่น ๆ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบริหารทรัพยากรน้ำ พลังงานและสิ่งแวดล้อม ข้อมูลขนาดใหญ่ จักรวาลวิทยา ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ และการวิจัยผลกระทบของอวกาศที่มีต่อโลก โดยโครงการนี้มีการทำงานร่วมกับโครงการ WLCG : Worldwide LHC Computing Grid ของสถาบันเซิร์น โครงการความร่วมมือ ALICE-Collaboration: อลิซ (A Large Ion Collider Experiment, ALICE) เป็น 1 ใน 7 หัววัดหลักที่ใช้วัดอนุภาคมูลฐานจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นหลังการชนของไอออนหนัก ซึ่งถูกติดตั้งบริเวณ เครื่องเร่งอนุภาคฮาดรอนขนาดใหญ่ (Large Hadron Collider, LHC) ณ สถาบันเซิร์น ซึ่งการสร้างหัววัดเหล่านี้ต้องใช้เทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูงที่มีความซับซ้อน โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ โดยศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ และ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้มีส่วนร่วมในการวิจัยออกแบบและพัฒนาระบบติดตามทางเดินของอนุภาค (Inner Tracking System, ITS) ร่วมกับนักวิจัยชั้นนำจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการอลิซสามารถนำมาต่อยอดงานวิจัยในการสร้างหัววัดซิลิคอนเพื่อมาใช้ประโยชน์ในวงการทางการแพทย์และอุตสาหกรรม เช่น การทำเครื่องสร้างภาพในรักษามะเร็งด้วยโปรตอน (Proton Computed tomography) และติดตามทางเดินของอนุภาคโปรตอนในการรักษามะเร็งด้วยโปรตอน เทคโนโลยีเตาเชื่อมโลหะต่างชนิดแบบไร้ตะเข็บในภาวะสุญญากาศ (Vacuum Brazing Technology): เทคโนโลยีนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยทีมวิศวกรของ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ข้อดีของการเชื่อมประสานด้วยเทคนิคคือโลหะที่เชื่อมจะเกิดการบิดตัวน้อย ทำให้ควบคุมความแม่นยำในการเชื่อมได้ดี ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากการนำเข้าถึง 18 ล้านบาท สามารถพัฒนาต่อยอดได้กับหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเครื่องมือตัด อุตสาหกรรมการอบชุบโลหะอุตสาหกรรมระบบปรับอากาศ และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา เครื่องเร่งอนุภาคแนวตรงเพื่ออาบรังสีผลไม้: สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนได้ริเริ่มพัฒนาออกแบบและสร้างเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเพื่อผลิตรังสีเอกซ์สำหรับการปลอดเชื้อผักผลไม้สดเพื่อช่วยยืดอายุ ผักผลไม้หลังการเก็บเกี่ยวไว้ได้นาน โดยไม่ทำให้สี เนื้อสัมผัส รสชาติ และคุณสมบัติทางโภชนาการของผลผลิตเปลี่ยนแปลง โครงการจัดส่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไปศึกษางานที่สถาบันเซิร์น: เป็นโครงการคัดเลือกนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อไปศึกษาดูงานที่สถาบันเซิร์นครั้งละหนึ่งสัปดาห์ เริ่มโครงการเมื่อ ค.ศ. 2013 เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานที่สถาบันเซิร์น และ สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนในการศึกษาต่อด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมแล้ว 7 รุ่น แบ่งเป็นนักเรียน 82 คน และครูฟิสิกส์ ผู้ควบคุมนักเรียน 13 คน การประชุมหารือแนวทางการสร้างความร่วมมือ ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนระหว่างไทยและสหภาพยุโรป นโยบายด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ปัจจุบันทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ลดน้อยและเสื่อมโทรม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัญหาเหล่านี้เป็นแรงกดดันให้ทุกประเทศต้องปรับเปลี่ยนระบบการผลิตและบริโภคให้มีความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อนำมาซึ่งการมีสุขภาพที่แข็งแรง และอายุยืนยาว หลายประเทศกำหนดนโยบายขับเคลื่อนความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย “เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy)” เป็นการลงทุนสร้างเศรษฐกิจของการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมผ่านการใช้ทรัพยากรชีวภาพ เช่น พืช สัตว์ จุลินทรีย์ รวมถึงวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ของเสียและน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ฟาร์มปศุสัตว์ และชุมชน พัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูง ก่อให้เกิดความก้าวหน้าและนวัตกรรมในมิติใหม่ ๆ ที่ส่งผลต่อการปฏิรูปภาคการเกษตร อาหาร สาธารณสุขและการแพทย์ พลังงาน อุตสาหกรรมเคมี ภาคสังคม และภาคเศรษฐกิจของโลก กล่าวได้ว่า เศรษฐกิจชีวภาพ ช่วยยกระดับเศรษฐกิจและสังคมให้เดินเข้าสู่ถนนสายความยั่งยืนได้อีกด้วย การจัดการขยะพลาสติก “ยุทธศาสตร์พลาสติก (European Plastics Strategy)” มุ่งปรับเปลี่ยนวิธีการออกแบบ การใช้การผลิตและการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์พลาสติกในสหภาพยุโรป เน้นการออกแบบที่ดีขึ้น การเพี่มอัตราการรีไซเคิลพลาสติก การสนับสนุนการรีไซเคิล และการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ เป็นการเสริมสร้างอุตสาหกรรมพลาสติกในสหภาพยุโรปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ทันสมัย มีคาร์บอนต่ำ ในประเทศไทย มีแผนงานการจัดการขยะพลาสติกสำหรับปี 2561-2573 จัดทำโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายในการรีไซเคิลขยะพลาสติกเป้าหมายให้ได้ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 โดยมีแผนออกมาตรการเพิ่มเติม เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว รวมถึงมาตรการลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง การนำหลักการด้านการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้ในกระบวนการผลิต ตลอดจนมาตรการจัดการพลาสติกหลังการบริโภค ซึ่งมีความสอดคล้องกับนโยบายด้านขยะพลาสติกของสหภาพยุโรป ความร่วมมือระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจชีวภาพ ประเทศไทยได้เข้าร่วม กลไกการสนับสนุนเศรษฐกิจชีวภาพผ่านโครงการร Horizon Europe เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมแบบเปิด (Helix Model) ระหว่างสถาบันการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และภาครัฐ และเพื่อพัฒนาทักษะให้แรงงานมีศักยภาพเหมาะสมในเศรษฐกิจสีเขียว นอกจากนี้ยังมีการเจรจาความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้าน (Partnership and Cooperation Agreement: PCA) ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป เป็นก้าวสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหภาพยุโรป และช่วยสร้างกรอบความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่ายที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.thaiscience.eu/uploads/journal_20210604134612-pdf.pdf    
นานาสาระน่ารู้
 
ตอนที่ 6 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย
รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย https://www.youtube.com/watch?v=xiqJPOQKa18เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์ ดร.วรล อินทะสันตา และคณะ ดร.ธีรพงศ์ ยะทา และคณะ ดร.อรประไพ คชนันทน์ และคณะ คุณฉวีวรรณ คงแก้ว และคณะ ดร.ดนุ พรหมมินทร์ และคณะ คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ และ ดร.จินตมัย สุวรรณประทีป และคณะ
30 ปี สวทช.
 
คลัง VDO
 
วธ.ยกย่องชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย เชียงราย สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี”เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัด สร้างรายได้สู่ชุมชน
วธ.ยกย่องชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย เชียงราย สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัด สร้างรายได้สู่ชุมชน ฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศหลังโควิด-19 วันเสาร์ที่ 18 กันยายน 2564 นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมพร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) ลงพื้นที่ให้กำลังใจผู้นำชุมชนพลัง“บวร” และชาวชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย ต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย ซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนที่กระทรวงวัฒนธรรม ประกาศให้เป็น 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี”เป็นชุมชนที่มีศักยภาพและมีความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ โดยผู้นำชุมชนพลัง“บวร” และชาวชุมชนคุณธรรมฯได้ให้การต้อนรับ (more…)
BCG
 
นายกรัฐมนตรี พร้อมผลักดันส่งเสริมวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ 5 F เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมผลักดันส่งเสริมวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ 5 F เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ภูมิใจนักออกแบบไทยนำวิจิตรศิลป์ของไทยในแขนงต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ร่วมกับอุตสาหกรรมบันเทิงสมัยใหม่ ซึ่งถือว่าตรงกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของรัฐบาล โดยส่วนหนึ่งคือการผลักดัน "Soft Power" ไทยในแขนงต่างๆกว่า 15 สาขา (more…)
BCG
 
วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 3 เดือน มีนาคม 2564
สหภาพยุโรปเสนอแผนกลยุทธ์ ประจำปี ค.ศ. 2021 – 2024 ของกรอบโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพยุโรปฉบับที่ 9 หรือ โครงการ Horizon Europe ในปี ค.ศ. 2021 นี้ เป็นปีแรกที่จะเริ่มมีการดำเนินการภายใต้กรอบโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพยุโรปฉบับที่ 9 หรือ Horizon Europe ซึ่งจะกำหนดแนวทางและเป้าหมายของงานวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมในยุโรปรวมถึงการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและประเทศนอกสมาชิกฯ ในระยะเวลา 4 ปี นับจากปัจจุบัน ซึ่งในปี ค.ศ. 2019 ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม และประชาชนทั่วไป ผ่านแบบสอบถามออนไลน์และงานประชุมสัมมนา นำมาใช้ในการออกแบบและกำหนดแผนกลยุทธ์ กลยุทธ์เป้าหมาย 4 ประการ ภายใต้กรอบโครงการ Horizon Europe สหภาพยุโรปได้กำหนดกลยุทธ์เป้าหมายไว้ 4 ประการ ดังนี้ - การส่งเสริมนโยบาย open strategic autonomy ซึ่งเป็นการลดการพึ่งพาเทคโนโลยีของสหภาพยุโรปต่อประเทศอื่น ๆ เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีอุบัติใหม่ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว รวมไปถึงการพัฒนาของภาคส่วนต่าง ๆ และห่วงโซ่อุปทานในยุโรป คาดว่าการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดังกล่าวจะช่วยเร่งกระบวนการสังคมดิจิทัลและเศรษฐกิจสีเขียวได้อย่างเต็มรูปแบบ - ฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในยุโรป และส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เพื่อรักษาระดับความมั่นคงทางอาหารและสร้างสังคมไร้มลพิษให้แก่ประชาชน - ขับเคลื่อนสหภาพยุโรปสู่การเป็นสังคมดิจิทัล สังคมเศรษฐกิจหมุนเวียน สังคมเศรษฐกิจแบบยั่งยืน และสังคมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์แห่งแรกของโลก กลุ่มเทคโนโลยีเป้าหมาย กรอบโครงการ Horizon Europe ที่คณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอ ประกอบด้วยองค์ประกอบขั้นพื้นฐานสามเสาคือ - ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ (Excellent Science) - ความท้าทายระดับโลกและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในยุโรป (Global Challenges and European Industrial Competitiveness) และ - นวัตกรรมแห่งยุโรป (Innovative Europe) กลยุทธ์เป้าหมาย 4 ประการจะถูกนำไปปฏิบัติและดำเนินการผ่านการพัฒนากลุ่มเทคโนโลยีเป้าหมาย 6 คลัสเตอร์ มีดังนี้ สุขภาพ วัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการมีส่วนร่วมของสังคม ความมั่นคงของพลเมืองเพื่อสังคม ดิจิทัล อุตสาหกรรม และอวกาศ สภาพภูมิอากาศ พลังงาน และการขนส่ง อาหาร เศรษฐกิจชีวภาพ ทรัพยากรธรรมชาติ เกษตรกรรม และสิ่งแวดล้อม  แผนการสร้างพันธมิตรด้านการวิจัยและนวัตกรรมในยุโรป สหภาพยุโรปได้กำหนดสาขาหลักในการสร้างพันธมิตรด้านการวิจัยและนวัตกรรมในยุโรปไว้ 10 สาขาดังนี้ การสร้างความร่วมมือด้านสุขภาพระดับโลก นวัตกรรมสุขภาพ เทคโนโลยีดิจิทัล เศรษฐกิจฐานชีวภาพแบบหมุนเวียน พลังงานไฮโดรเจนสะอาด อุตสาหกรรมการบินไร้มลพิษ เทคโนโลยีด้านระบบรถไฟ เทคโนโลยีน่านฟ้า เครือข่ายและการบริการอัจฉริยะ มาตรวิทยา รูปแบบการสร้างพันธมิตรด้านการวิจัยและนวัตกรรมในยุโรป แผนการสร้างพันธมิตรด้านการวิจัยและนวัตกรรมในยุโรปได้กำหนดรูปแบบของการสร้างความร่วมมือเป็น 3 ประเภท ได้แก่ Co-programmed European Partnerships Co-funded European Partnerships Institutionalized European Partnerships แผนการสร้างความร่วมมือกับประเทศนอกสมาชิกภายใต้โครงการ Horizon Europe แผนการดำเนินการจะมุ่งเน้นการเชื่อมโยงภารกิจและการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาในระดับประเทศ ภูมิภาคและของโลก เช่น นโยบาย Green Deal การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมและเศรษฐกิจดิจิทัล และเสริมสร้างศักยภาพให้ยุโรปสามารถปรับตัวและตอบสนองต่อสถานการณ์ได้ดีขึ้น สรุปได้เป็น 4 แนวทางหลัก ๆ ดังนี้ ความร่วมมือด้านการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรม การแลกเปลี่ยนบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญ และส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้าและการวิจัยพื้นฐาน การเข้าร่วมของสหภาพยุโรปและการเป็นผู้นำในโครงการความร่วมมือแบบพหุภาคี การหารือด้านนโยบายกับประเทศนอกสมาชิกฯ และภูมิภาคอื่น ๆ การหารือทวิภาคีระหว่างสหภาพยุโรปและอาเซียน ในประเด็นเทคโนโลยีสีเขียวและแผนที่นวัตรกรรม โครงการ GreenTech มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ข้อ คือ 1) การหารือความร่วมมือด้านเทคโนโลยีระหว่างผู้พัฒนานวัตกรรมในยุโรปและอาเซียน 2) การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยียั่งยืนระหว่างสองภูมิภาค 3) การมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมขีดความสามารถ การถ่ายทอดเทคโนโลยีสีเขียว การถ่ายทอดเทคโนโลยีสีเขียวจากยุโรปไปยังอาเซียนจะต้องตอบโจทย์ในประเด็นต่อไปนี้ ระบุและกำหนดเทคโนลีสีเขียวที่สำคัญตอบโจทย์ต่อความต้องการและความสำคัญเร่งด่วนของประเทศสมาชิกอาเซียน และสามารถช่วยจัดการกับปัญหาในภูมิภาคได้ วิเคราะห์ความเป็นไปได้พร้อมส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสีเขียวจากยุโรปไปแก้ไขในภูมิภาคอาเซียนได้อย่างประสบผลสำเร็จ ระบุและกำหนดเทคโนโลยีสีเขียวที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ในเมือง พื้นที่ชนบท เขตอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคส่วนพลังงาน และภาคการขนส่ง พัฒนากลยุทธ์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อช่วยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) ส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาระดับเทคโนโลยีสีเขียวของบริษัทต่าง ๆ ในชุมชน และสามารถนำเทคโนโลยีสีเขียวเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลสำเร็จ ตัวอย่างมาตรการและกิจกรรมภายใต้นโยบาย Green Deal ของสหภาพยุโรป ในการประชุมมีการนำเสนอถึงวิสัยทัศน์ของแผนนโยบาย Green Deal ซึ่งมุ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุโรปสู่อนาคตที่ยั่งยืน ผ่านการส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์การบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี ค.ศ. 2030 และ 2050 การจัดหาพลังงานสะอาดที่มีราคาย่อมเยา ความมั่นคงทางพลังงาน การขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน การพัฒนาประสิทธิภาพทางพลังงานและทรัพยากร การเปลี่ยนถ่ายสู่สังคมไร้มลพิษ การรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ยุทธศาสตร์พลาสติก “ยุทธศาสตร์พลาสติก (European Plastics Strategy)” โดยมุ่งปรับเปลี่ยนวิธีการออกแบบ การใช้ การผลิตและการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์พลาสติกในสหภาพยุโรป เน้นการออกแบบที่ดีขึ้น การเพิ่มอัตราการรีไซเคิลพลาสติก การสนับสนุนการรีไซเคิล และการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างอุตสาหกรรมพลาสติกในสหภาพยุโรปให้มีความยืดหยุ่นและมีศักยภาพในการแข่งขัน ปัจจุบันประเทศไทยมี แผนงานการจัดการขยะพลาสติกสำหรับปี 2561-2573 จัดทำโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายในการรีไซเคิลขยะพลาสติกเป้าหมายให้ได้ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว รวมถึงมาตรการลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง การนำหลักการด้านการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้ในกระบวนการการผลิต ตลอดจนมาตรการจัดการขยะพลาสติกหลังการบริโภค ซึ่งมีความสอดคล้องกับนโยบายด้านขยะพลาสติดของสหภาพยุโรป อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.thaiscience.eu/uploads/journal_20210416074155-pdf.pdf    
นานาสาระน่ารู้
 
ยูเนสโก ประกาศให้ดอยหลวงเชียงดาว จ.เชียงใหม่ ของไทย เป็นพื้นที่ชีวมณฑล แห่งที่ 5 พร้อมเตรียมเดินหน้าพัฒนากลไกการท่องเที่ยวในพื้นที่ด้วยรูปแบบคนอยู่กับป่าอย่างสมดุล
คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศให้ดอยหลวงเชียงดาว จ.เชียงใหม่ ของประเทศไทย เป็นพื้นที่ชีวมณฑล แห่งที่ 5 พร้อมเตรียมเดินหน้าพัฒนากลไกการท่องเที่ยวในพื้นที่ด้วยรูปแบบคนอยู่กับป่าอย่างสมดุล              นายวราวุธ ศิลปะอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ที่ประชุมสภาประสานงานระหว่างชาติว่าด้วยโครงการด้านมนุษย์และชีวมณฑล (MAB-ICC) ครั้งที่ 33 โดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา ณ เมืองอาบูจา สาธารณรัฐไนจีเรีย ได้ประกาศรับรองพื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยหลวงเชียงดาว จ.เชียงใหม่ ของประเทศไทยเป็นพื้นที่ชีวมณฑล แห่งที่ 5 ของประเทศไทยและเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายพื้นที่สงวนชีวมณฑลโลก เนื่องจากพื้นที่ดอยหลวงเชียงดาวเป็นต้นแบบการทำงานที่ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง BCG Economy การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม แนวคิด เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆในระดับประเทศและสากลที่เป็นประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่และจังหวัดเชียงใหม่  โดยเฉพาะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆพัฒนากลไกในพื้นที่ด้วยรูปแบบคนอยู่กับป่าอย่างสมดุล ทั้งนี้ ดอยหลวงเชียงดาวมีความโดดเด่นด้านสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ที่เชื่อมโยงกับสังคมพืชในเทือกเขาหิมาลัยทางตอนใต้ของจีน ภูมิประเทศเขาหินปูน ภูมิปัญญาเหมืองฝาย ตัวอย่างกลไกการจ่ายแทนคุณระบบนิเวศในพื้นที่บ้านปางมะโอ พื้นที่แกนกลางที่ได้รับการดูแลโดยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวมากว่า 40 ปี และศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ ด้วยการจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่เข้มข้น โดยเฉพาะเส้นทางศึกษาธรรมชาติยอดดอยหลวงเชียงดาว รวมถึง ยังเป็นแหล่งอาศัยที่ปลอดภัยของสัตว์ป่าสงวน เช่น กวางผา เลียงผา , สัตว์ป่าคุ้มครองอีกหลายชนิด และมีความเป็นไปได้สูงที่จะค้นพบพืชและสัตว์ชนิดพันธุ์ใหม่ของโลกได้และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น วัฒนธรรมของชาวไทยใหญ่ ม้ง มูเซอ ลีซอ ปกากะญอ และวัฒนธรรมล้านนาสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ แล้วยังมีความโดดเด่นการจัดการพื้นที่คุ้มครองเพื่ออนุรักษ์สัตว์ป่า โดยเฉพาะการอนุรักษ์กวางผาในถิ่นที่อยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวย้ำว่า การจัดการเชิงพื้นที่ดอยหลวงเชียงดาวรวม 536,931 ไร่ เป็นการกำหนดเขตเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการที่ยั่งยืน โดยไม่กระทบกับการบังคับใช้กฎหมายและการปกครองที่มีอยู่ โดยพื้นที่แกนกลางและพื้นที่กันชนจัดการโดยใช้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มีคณะกรรมการที่ปรึกษาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว ส่วนพื้นที่รอบนอกการบริหารจัดการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของส่วนราชการภูมิภาคและท้องถิ่น คาดว่า จะเกิดประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่น ทั้งการถ่ายทอดความรู้ด้านธรรมชาติและวัฒนธรรม , การส่งเสริมการพัฒนาการให้บริการที่เป็นมืออาชีพด้านการท่องเที่ยวและการศึกษาธรรมชาติ , การเพิ่มช่องทางการตลาดของสินค้า ผลิตภัณฑ์ และการบริการที่ผลิตในพื้นที่นำเสนอด้วยการควบคุมคุณภาพของสินค้าภายใต้การเป็นแหล่งสงวนชีวมณฑล , การรักษาสภาพแวดล้อมที่ดี และความอุดมสมบูรณ์ไว้ให้ประชาชน
BCG
 
ฟื้นฟู “ป่าชายเลน” สร้างเศรษฐกิจฐานราก ลดก๊าซเรือนกระจก
  ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าชายเลนมากเป็นอันดับ 5 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ไม่เพียงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในฐานะแหล่งอาหาร ยา พลังงาน และการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนโดยรอบ แต่ยังเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่สำคัญเพื่อลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย นักวิชาการมีการประเมินตัวเลขมูลค่าทางเศรษฐกิจไว้ว่า หากมีการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมดราว 1.73 ล้านไร่ทั้งทางตรงและทางอ้อม จะมีมูลค่าสูงถึงกว่า 6 หมื่นล้านบาทต่อปี เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญและการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนอย่างยั่งยืน ฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) จัดการเสวนาเรื่อง “ป่าชายเลนคุณค่าต่อประเทศไทยและโลก” โดยมีผู้แทนจากส่วนงานต่างๆ มาร่วมสะท้อนทิศทางการดำเนินงานทั้งในแง่มุมการเพิ่มปริมาณพื้นที่ป่า การสร้างมูลค่าเพิ่ม การอนุรักษ์ การสร้างแหล่งเรียนรู้ และการสร้างเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนพัฒนาตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจ BCG (BCG Economy Model)     “ป่าชายเลน” แหล่งอาหารและดูดซับก๊าซเรือนกระจก ศ. ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาความหลากหลายทางชีวภาพ ได้กล่าวเปิดการเสวนาด้วยการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของป่าชายเลนและสถานการณ์ภาพรวมว่า ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่เชื่อมต่อระหว่างผืนดินกับน้ำทะเลในเขตร้อนและกึ่งร้อนของโลก ประเทศไทยมีแนวป่าชายเลนเกิดขึ้นทั้ง 2 ฝั่งของประเทศ ฝั่งอ่าวไทยตั้งแต่จันทบุรีไปถึงปัตตานีมีความยาวของพื้นที่ประมาณ 2,000 กิโลเมตร และฝั่งอันดามันจากจังหวัดระนองถึงจังหวัดสตูลมีความยาวมากกว่า 1,000 กิโลเมตร   [caption id="attachment_25861" align="aligncenter" width="700"] ศ. ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาความหลากหลายทางชีวภาพ[/caption]   “คุณค่าของป่าชายเลนไทย ไม่เพียงเป็นบ้านขนาดใหญ่สำหรับอนุบาลสัตว์น้ำชายฝั่งเท่านั้น แต่ยังเป็นโรงครัวที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นกำแพงกันภัยธรรมชาติให้แก่คนชายฝั่ง โดยเฉพาะตอนเกิดเหตุการณ์สึนามิเมื่อปี 2547 อย่างไรก็ตามหากย้อนไปประมาณช่วง 30-60 ปีที่ผ่านมา น่าเสียดายว่าป่าชายเลนไทยเคยถูกรุกรานอย่างหนักเพื่อประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจจนพื้นที่ป่าหายไปกว่าครึ่ง แต่ด้วยประชาชนเริ่มมีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของป่าชายเลนมากขึ้น จึงทำให้มีการฟื้นคืนป่าชายเลนเพิ่มขึ้นมาในช่วงระยะหลัง นอกจากนี้ประเทศไทยยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรอีกกว่า 90 ประเทศ ในการเชื่อมโยงพื้นที่ป่าชายเลนของแต่ละประเทศให้เป็นป่าชายเลนของโลกในนามสมาคมป่าชายเลนนานาชาติ (International Society for Mangrove Ecosystem หรือ ISME) ซึ่งจะมีบทบาทหน้าที่ในการร่วมฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลน และการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิชาการโดยผู้เชี่ยวชาญแต่ละแขนงอีกด้วย”     เมื่อประชาคมโลกเกิดการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของป่าชายเลน ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยได้มีการดำเนินงานพัฒนาป่าชายเลนตามเป้าหมายหลายด้าน ทั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) และการดำเนินงานตามเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อหยุดหรือชะลอปัญหาภาวะโลกร้อนให้ได้มากที่สุด ซึ่งประเทศไทยมีเป้าหมายที่ต้องบรรลุ คือ การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20 ภายในปี 2573   ป่าชายเลน ความหวังไทยลดการปล่อย CO2 จากปัญหาภาวะโลกร้อนและการแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศอันเนื่องมาจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศที่มากเกินไป ได้นำมาสู่ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่หลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยต้องหาทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งการปลูกป่าโดยเฉพาะป่าชายเลนถือเป็นความหวังสำคัญในการนำมาใช้แลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต หรือใช้ในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเองจากการปลูกป่าในพื้นที่รัฐดูแล   [caption id="attachment_25859" align="aligncenter" width="500"] นางพูลศรี วันธงไชย ผู้อำนวยการส่วนวิจัยทรัพยากรป่าชายเลน กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ทช.[/caption]   นางพูลศรี วันธงไชย ผู้อำนวยการส่วนวิจัยทรัพยากรป่าชายเลน กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ทช. เล่าถึงแผนงานนโยบายด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูและระเบียบการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตของพืชป่าชายเลนว่า หนึ่งในแผนงานที่ ทช. กำลังดำเนินงานคือการทำให้เกิดการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนอย่างยั่งยืน โดยกรมได้ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. และหน่วยงานพันธมิตร สร้างกลไกเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภารกิจนี้ คือการปลูกป่าชายเลนเพื่อคาร์บอนเครดิต เพราะมีข้อมูลการวิจัยจากต่างประเทศรายงานว่าป่าชายเลนสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าป่าชนิดอื่น 2-4 เท่า โดยจะกักเก็บคาร์บอนไว้ในมวลชีวภาพที่อยู่ในลำต้น ราก ซากไม้ตาย และที่สำคัญคือการกักเก็บอยู่ในดิน     “การดำเนินงานปลูกป่าชายเลนของภาคเอกชนเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นคาร์บอนเครดิตจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ภายใต้ระเบียบ ทช. ว่าด้วยการปลูกและบำรุงป่าชายเลนสำหรับองค์กรหรือบุคคลภายนอก พ.ศ. 2564 ซึ่งดำเนินการร่วมกัน 3 ฝ่าย มีหน้าที่แตกต่างกันไป โดยองค์กรหรือบุคคลภายนอกจะเป็นผู้ปลูกและออกค่าใช้จ่ายต่างๆ ทช. จะเป็นผู้กำกับดูแล และอบก. มีหน้าที่ขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิต ซึ่งการปลูกป่าจะต้องดูแลอย่างน้อย 6 ปี หลังครบ 6 ปี ผู้พัฒนาโครงการฯ ต้องมีการเสนอแผนนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนโดยรอบได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการฟื้นคืนหรือเพิ่มปริมาณผืนป่า และมีการส่งเสริมอาชีพให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในชุมชน ส่วนการปลูกป่าเพื่อคาร์บอนเครดิต จะต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี โดยผู้พัฒนาโครงการฯ ได้คาร์บอนเครดิต 90% ทาง ทช. ได้ 10% และเป็นโครงการฯ ที่เกิดขึ้นหลังวันที่ 24 เมษายน 2564 ตามเงื่อนไขข้อตกลงกับทาง ทช. เท่านั้น ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของ ทช. ส่วนระเบียบและขั้นตอนขึ้นทะเบียนและการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตสามารถติดตามรายละเอียดได้ในเว็บไซต์ของ อบก. ซึ่งจะมีกระบวนการคิดคาร์บอนเครดิตเป็นแบบภาคสมัครใจ และสามารถนำไปใช้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ อาทิ การใช้หักลบจำนวนการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระบบขององค์กร หรือใช้จำหน่ายเป็นเครดิต เป็นต้น”   ป่าชายเลนหล่อเลี้ยงชุมชน เชื่อมโยงเศรษฐกิจฐานราก แม้คุณค่าของป่าชายเลนและเงื่อนไขในการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตจะเป็นแรงจูงใจให้ประชาชน ภาคเอกชน และหน่วยงานรัฐเข้ามาช่วยกันฟื้นฟูเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มมากขึ้น แต่มิติสำคัญที่จะนำมาซึ่งการดูแลอนุรักษ์ป่าชายเลนไว้ได้อย่างยั่งยืน คือ การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน และการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้มีรายได้จากการใช้ประโยชน์ป่าชายเลน   [caption id="attachment_25856" align="aligncenter" width="700"] นายไชยภูมิ สิทธิวัง ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลน กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ทช.[/caption]   นายไชยภูมิ สิทธิวัง ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลน กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ทช. เล่าถึงการทำงานที่ผ่านมาว่า ทช. ได้ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรและชุมชนโดยรอบป่าชายเลนในการดำเนินงานส่งเสริมการเติบโตเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนจากฐานทรัพยากรป่าชายเลนในท้องถิ่น ทั้งการศึกษารวบรวมองค์ความรู้ การเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการพัฒนาต่อยอดเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน ทั้งทางด้านสัตว์น้ำเศรษฐกิจ พืชอาหาร พืชสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากพืชป่าชายเลน รวมถึงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในป่าชายเลน เช่น การนำพืชป่าชายเลนกว่า 20 ชนิด มาทำเป็นอาหารกว่า 70 เมนู การใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรกว่า 30 ชนิด การทำประมงชายฝั่งแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใช้ไม้ป่าชายเลนผลิตเป็นถ่านหุงต้มคุณภาพสูง และการผลิตไม้ป่าชายเลนเพื่อเป็นไม้ดอกไม้ประดับหรือไม้ให้ร่มเงาที่มีราคาสูง เป็นต้น ถือได้ว่าป่าชายเลนเป็นแหล่งสร้างงานสร้างรายได้หล่อเลี้ยงคนในพื้นที่     อย่างไรก็ตามด้านองค์ความรู้ในการใช้ประโยชน์จากพืชป่าชายเลนตอนนี้ยังขาดผู้เชี่ยวชาญจากแขนงต่างๆ มาร่วมบูรณาการนำเอาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาช่วยยกระดับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ทรัพยากรที่ชุมชนมีเป็นต้นทุน รวมถึงการสร้างเครือข่ายการกระจายสินค้าและช่องทางการตลาดให้แก่ผลิตภัณฑ์จากป่าชายเลน เพื่อให้เศรษฐกิจฐานรากมีการเติบโตอย่างมั่นคง เป็นไปตามเป้าหมายการดำเนินงานของ ทช.   เทคโนโลยีจีโนมิกส์อนุรักษ์พันธุ์ไม้ป่าชายเลนเสี่ยงสูญพันธุ์ ปฏิเสธไม่ได้ว่าท่ามกลางความพยายามฟื้นฟูป่าชายเลน ยังคงมีการบุกรุกเข้าใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่งผลให้ป่าชายเลนที่เป็นป่าธรรมชาติลดลง พันธุ์ไม้ชายเลนหลายชนิด โดยเฉพาะชนิดที่กระจายพันธุ์ได้น้อย และพบเฉพาะถิ่นเริ่มหายากและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์   [caption id="attachment_25862" align="aligncenter" width="500"] ดร.สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง ผู้อำนวยการศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (NOC) สวทช.[/caption]   ดร.สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง ผู้อำนวยการศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (NOC) สวทช. เล่าถึงความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับ ทช. ในการดำเนินงานอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของป่าชายเลนไทยว่า ปัจจุบัน สวทช. โดย NOC ได้นำเทคโนโลยีจีโนมิกส์มาใช้ในการศึกษาถอดรหัสพันธุกรรมของพืชป่าชายเลนไทย เพื่อทำความเข้าใจถึงการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural selection) รวมถึงการปรับตัวในระดับพันธุกรรมของพืชแต่ละชนิดเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นยังได้มีการวิเคราะห์จีโนมพืชป่าชายเลนที่กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในปัจจุบัน ดังปรากฏใน IUCN Red List เช่น พังกาถั่วขาว (Bruguiera hainesii) ที่อยู่ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ (Critically Endangered หรือ CR) มีเหลืออยู่ในประเทศไทยไม่ถึง 100 ต้น     “นักอนุกรมวิธานได้วิเคราะห์ลักษณะต่างๆ ของพังกาถั่วขาวไว้ว่า มีลักษณะผสมกันระหว่างพังกาหัวสุมดอกแดง และถั่วขาว ผลการศึกษาทางพันธุศาสตร์พบว่าขนาดจีโนมของพังกาถั่วขาวใหญ่กว่าตัวพ่อแม่ และมีจำนวนยีนมากกว่าเกือบ 2 เท่า โดยพบหลักฐานว่าบางโครโมโซมในพังกาถั่วขาวนั้นมาจากถั่วขาว และบางโครโมโซมนั้นมาจากพังกาหัวสุมดอกแดง ขณะนี้ทีมวิจัยกำลังศึกษาความหลากหลายทางธรรมชาติของพืชกลุ่มถั่วนี้ ทั้งนี้องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยด้วยเทคโนโลยีจีโนมิกส์ จะมีการนำมาขยายผลด้านงานอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของป่าชายเลนไทยต่อไปในอนาคต”   สวนพฤกษศาสตร์ป่าชายเลนฯ ร.๙ แหล่งเรียนรู้สู่ความยั่งยืน ประเด็นสุดท้ายที่มีการนำมาพูดคุยในการเสวนาครั้งนี้คือการจัดสรรพื้นที่สร้างความตระหนักรู้แก่ประชากรไทยและประชากรโลกถึงความสำคัญของป่าชายเลน ด้วยการสร้างแหล่งเรียนรู้ระดับสากล สวนพฤกษศาสตร์ป่าชายเลนนานาชาติ ร.๙ สวนพฤกษศาสตร์ป่าชายเลนแห่งแรกของโลก   [caption id="attachment_25857" align="aligncenter" width="700"] นายชาตรี มากนวล ผู้อำนวยการสวนพฤกษศาสตร์ป่าชายเลนนานาชาติ ร.๙ ทช.           [/caption]   นายชาตรี มากนวล ผู้อำนวยการสวนพฤกษศาสตร์ป่าชายเลนนานาชาติ ร.๙ ทช. เล่าถึงความเป็นมาของสวนพฤกษศาสตร์ป่าชายเลนนานาชาติ ร.๙ จังหวัดจันทบุรีแห่งนี้ว่า มีการสร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยสวนแห่งนี้จะเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตที่รวบรวมองค์ความรู้และพรรณไม้ป่าชายเลนจากพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกมาจัดแสดง เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสถานที่พักผ่อนทางธรรมชาติให้แก่คนไทยและต่างชาติ โดยสวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ อาคารนิทรรศการให้ความรู้ โรงเรือนจัดแสดงพันธุ์ไม้ป่าชายเลนทั้งของไทยและต่างประเทศ และทางเดินศึกษาธรรมชาติที่มีทางเดินชมเรือนยอดไม้ป่าชายเลน หอชมวิว และเส้นทางปั่นจักรยาน ซึ่งคาดว่าอาคารนิทรรศการให้ความรู้จะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี พ.ศ. 2565 ก่อนจะทยอยเปิดส่วนอื่นๆ ต่อไป     ทั้งหมดนี้คือทิศทางการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ป่าชายเลนไทย เพื่อรักษาฐานทุนทางทรัพยากรให้คงความสมบูรณ์ และก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากตามโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (BCG Economy Model) ซึ่งเป็นวาระของชาติ ที่มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการคุ้มครอง ป้องกัน ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศ ให้เกิดการสร้างรายได้ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน   เรียบเรียงโดย : ภัทรา สัปปินันทน์ ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช. อาร์ตเวิร์คโดย : ภัทรา สัปปินันทน์
BCG
 
ข่าว
 
บทความ
 
สภานโยบายการอุดมศึกษาฯ เคาะแผนด้านการอุดมศึกษา และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี 66-70 เสนอเพิ่มความท้าทายช่วยขยับไทยก้าวสู่ประเทศพัฒนาแล้วในปี 2570
สภานโยบายการอุดมศึกษาฯ เคาะแผนด้านการอุดมศึกษา และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี 66-70 เสนอเพิ่มความท้าทายช่วยขยับไทยก้าวสู่ประเทศพัฒนาแล้วในปี 2570 พร้อมเห็นชอบข้อเสนอเตรียมแยกตัวหน่วยงานบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน เป็นองค์การมหาชนเชื่อช่วยพัฒนาและสร้างศักยภาพด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เติบโตและเข้มแข็ง เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สนอว.) จัดการประชุม ครั้งที่ 3/2564 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ ตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (ดร.วิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) (ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์) เป็นรองประธาน พร้อมด้วยรัฐมนตรี ผู้บริหารจากกระทรวงฯ หน่วยงานต่างๆ และผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วม ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงระเบียบวาระแห่งชาติการพัฒนาเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy (BCG) ว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับระเบียบวาระแห่งชาติ บีซีจี โมเดล เป็นอย่างมาก และยังยกให้เป็นหัวข้อในการประชุม APEC ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในปีหน้า ซึ่งกระทรวง อว. เป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลเรื่องนี้ โดยมีความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามลำดับ ทั้งการพัฒนาประเทศสู่ Carbon Neutrality ตามโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี รวมถึงการสื่อสารให้เกิดการรับรู้เกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี อ่านข่าวทั้งหมดได้ที่ https://www.thailandplus.tv/archives/374161
BCG
 
นายกฯ เดินหน้าพลิกโฉมประเทศสั่งเดินหน้าส่งเสริมแนวทาง BCG-นวัตกรรมท้องถิ่น
เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ที่มาภาพ: www.thaigov.go.th/ นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ว่า การพลิกโฉมประเทศ ถือเป็นวิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรี จึงขอให้ส่วนราชการดำเนินการให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อเดินหน้าลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ขณะเดียวกันจะต้องช่วยกันส่งเสริมสินค้าใหม่ๆ เพื่อการส่งออกตามแนวทางเศรษฐกิจตามโมเดล BCG Model (Bio-Circular-Green Economy) รวมทั้งให้ความสำคัญนวัตกรรมท้องถิ่นให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 13 อ่านข่าวต่อได้ที่ : https://www.infoquest.co.th/2021/126034
BCG
 
วธ.เปิดมิติใหม่ตามนโยบาย BCG – Soft Power ของรัฐบาล ยกชุมชนยลวิถีบุรีรัมย์เชื่อม “นครชัยบุรินทร์” หนุนการท่องเที่ยวท้องถิ่น
วธ.เปิดมิติใหม่ตามนโยบาย BCG - Soft Power ของรัฐบาล ยกชุมชนยลวิถีบุรีรัมย์เชื่อม “นครชัยบุรินทร์” หนุนการท่องเที่ยวท้องถิ่น นำมิติวัฒนธรรมช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศหลังโควิดคลี่คลาย เตรียมขยายไปยังกลุ่มจังหวัดอื่นๆต่อไป นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ตามที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมีนโยบายขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG ที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจด้วย "ปัญญา” "สร้างสรรค์" เพื่อสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทยให้ประสบความสำเร็จ เนื่องจากไทยมีจุดเด่นและความพร้อมด้านทุนวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่สะสมอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งศิลปหัตถกรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว ชุมชนที่มี "อัตลักษณ์" ของตนเอง นำมาผนวกกับความคิดสร้างสรรค์และงานฝีมือของคนไทย ก่อให้เกิดมูลค่าเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี และผลักดัน "Soft Power" ไทยด้วยการนำทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอดสร้างสรรค์สินค้าและบริการ (Creative Culture) เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง ซึ่งในเรื่องนี้เป็นหนึ่งในนโยบายหลักของ วธ. ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่าง วธ. ได้นำร่องส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยเชื่อมโยงเส้นทางในกลุ่มจังหวัด “นครชัยบุรินทร์” บูรณาการของจังหวัดในภาคอีสานตอนใต้ 4 จังหวัด ประกอบด้วยนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ เพื่อส่งเสริมให้เป็นเขตอุตสาหกรรมและเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่มีทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อไปว่า ล่าสุด วธ. ได้คัดเลือกชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วย พลัง บวร ที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวทุกมิติตามโครงการ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” โดย 1 ใน 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ คือ ชุมชนคุณธรรมฯบ้านโคกเมือง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถสร้างความพร้อมด้านการท่องเที่ยว นำทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอดเป็นสินค้า บริการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นตัวอย่างให้ชุมชนอื่นได้ โดยมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และวิถีวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น ปราสาทเมืองต่ำ ปราสาทเขาปลายบัค กุฏิฤาษีและสามารถเชื่อมโยงไปยังอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อีกทั้งจังหวัดบุรีรัมย์มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอื่นๆ นับว่ามีศักยภาพในการนำศิลปวัฒนธรรมไทยมาสร้างสรรค์ เป็น soft power เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและให้เป็นที่รู้จักและเผยแพร่ในระดับโลก โดยมีตัวอย่างเช่น MV เพลง “LALISA” ของลลิษา มโนบาลหรือลิซ่า นักร้องสายเลือดไทยและหนึ่งในสมาชิกวง BLACKPINK เกาหลีใต้ที่มีชื่อเสียงระดับโลกได้มีฉากส่วนหนึ่งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ทำให้เป็นที่รู้จักและแพร่หลายสู่ระดับโลก ทั้งนี้ วธ.จะขยายการพัฒนาต่อยอดงานท่องเที่ยววัฒนธรรมตามโมเดลข้างต้นไปยังกลุ่มจังหวัดอื่นๆ และ 9 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ต่อไป ประกอบด้วย 1.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านโนนบุรี จ.กาฬสินธุ์ 2.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย จ.เชียงราย 3.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านสามช่องเหนือ จ.พังงา 4.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดศรีดอนคำ จ.แพร่ 5.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านผาบ่อง จ.แม่ฮ่องสอน 6.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านเก่าริมน้ำประแส จ.ระยอง 7.ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านท่ามะโอ จ.ลำปาง 8.ชุมชนคุณธรรมฯ วัดบางใบไม้ จ.สุราษฎร์ธานีและ9.ชุมชนคุณธรรมฯ เมืองลับแล จ.อุตรดิตถ์ โดยวธ. อยู่ระหว่างจัดทำ Mobile Application “เที่ยวเท่ๆ เสน่ห์เมืองไทย” ทั้งในระบบ iOS และ Android ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่รวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวที่โดดเด่น ร้านอาหาร สินค้าทางวัฒนธรรม และที่พัก ฯลฯ จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศพร้อมจัดทำเป็นเส้นทางท่องเที่ยวแต่ละจังหวัด ถือเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือ ของ วธ. กับกระทรวงต่างๆ หน่วยงานรัฐ เอกชน ภาคธุรกิจ สมาคมและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบันเทิง จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคธุรกิจในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล และวธ. นำมิติวัฒนธรรมไปช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) คลี่คลาย ที่มาข้อมูล : https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/45839
BCG