หน้าแรก ค้นหา
ผลการค้นหา :
อธิบดี ณัฐพล ดันงานวิจัยไทยขึ้นห้าง ตอบโจทย์ S-Curve ด้าน ‘เวสเทิร์น’ ย้ำเชื่อมั่นโลจิสติกส์ระบบ ASRS ของคนไทย
For English-version news, please visit : Thai-made ASRS offers a cost-effective solution to SMEs (เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565) ที่ห้องประชุมอาคารคลังสินค้า 11 ชั้น 2 บริษัท อจิลิตี้ จำกัด ถนนร่มเกล้า  เขตลาดกระบัง กทม. ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะประธาน Spearhead ด้านเศรษฐกิจ ในประเด็นแผนงานวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติและแผนงานระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะ เผย Spearhead ดันงานวิจัย “ระบบอาคารคลังสินค้าอัจฉริยะและระบบอัตโนมัติ Auto Storage and Retrieval System : ASRS” สำเร็จ สร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่นให้กับ บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มาใช้ระบบ ASRS จากฝีมือคนไทย โดยระบบดังกล่าวช่วยลดต้นทุน ลดข้อผิดพลาด และเพิ่มประสิทธิภาพให้สามารถบริหารจัดการคลังสินค้าและวัตถุดิบ รวมทั้งลดการนำเข้าระบบ ASRS จากต่างประเทศ ซึ่งคาดการณ์ว่า ภายใน 5 ปี จะมีมูลค่าความต้องการระบบ ASRS เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท ต่อปี ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามที่ได้รับแต่งตั้งจาก พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้เป็นประธาน Spearhead ด้านเศรษฐกิจ ในประเด็นแผนงานวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และแผนงานระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะ โดยเน้นดำเนินการปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ตลอดจนผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ รวมถึงนโยบายของ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ได้สั่งการให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เร่งขับเคลื่อนและผลักดันอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) รวมถึงแก้ปัญหาด้านต้นทุนด้านโลจิสติกส์ที่ส่งผลแก่ผู้ประกอบการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) จึงได้นำนโยบาย DIPROM CARE เข้ามาช่วยดำเนินการโดยการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของคนไทยมาปรับใช้กับโลจิสติกส์อุตสาหกรรม สามารถลดข้อผิดพลาดและลดพื้นที่ในการจัดเก็บ เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการคลังสินค้าและวัตถุดิบ ด้วยการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนภายใต้การนำของ Spearhead ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนางานวิจัย “ระบบอาคารคลังสินค้าอัจฉริยะและระบบอัตโนมัติ Auto Storage and Retrieval System : ASRS” เพื่อสร้างโอกาสสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้สามารถนำระบบ ASRS มาใช้งานได้ ภายใต้งบประมาณและสถานที่ที่จำกัด ซึ่งระบบ ASRS เป็นการนำวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาประยุกต์ใช้กับระบบอาคารคลังสินค้าอย่างครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบอุปกรณ์และเครื่องจักรสำหรับระบบอัตโนมัติ ได้แก่ เครนยกสินค้าในแนวสูง ชั้นวางสินค้า (Stacker Crane) ชั้นวางสินค้า (Storage Rack) และโปรแกรมบริหารงานคลังสินค้า (Warehouse Management System) ที่คนไทยพัฒนาขึ้นเองภายในประเทศ ช่วยยกระดับระบบโลจิสติกส์ในประเทศไทย ซึ่งระบบ ASRS เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และมีต้นทุนต่ำสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ นอกจากนี้ ยังเป็นการเปิดโอกาสในการพัฒนา System Integrator ที่เป็นผู้ประกอบการคนไทยได้ร่วมพลิกอุตสาหกรรม Automated Warehouse ของประเทศ และสามารถพัฒนาก้าวสู่การเป็นผู้นำในการส่งออกเทคโนโลยีระบบ ASRS สู่อาเซียนในอนาคต นอกจากนี้ ระบบ ASRS ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในด้านการแข่งขัน ทั้งในด้านต้นทุน และประสิทธิภาพ ในการผลิตให้กับผู้ประกอบการ พร้อมเร่งผลักดันให้นวัตกรรมทางด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ประสบความสำเร็จ เรียกได้ว่า เป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ขึ้นห้าง สามารถขายและทำกำไรได้จริง ใช้งานได้ดีเยี่ยม ทำได้โดยนักวิจัยไทยในประเทศไทย พิสูจน์แล้วว่าช่วยลดต้นทุนถึงจุดคุ้มทุนเร็ว โดยที่ผ่านมา ทางคณะวิจัย และ บริษัท แม่น้ำเมคคานิกา จำกัด ได้นำผลงานจากโครงการฯ ไปขยายผลทางธุรกิจกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายแล้ว อย่างน้อย 3 ราย และหนึ่งในนั้น คือ บริษัท ดีเอสวี โซลูชั่นส์ จำกัด และยังคงมุ่งมั่นที่จะต่อยอดปรับปรุงระบบจากเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมที่จะขยายผลเปิดให้บริการต่อภาคอุตสาหกรรมไทยที่กำลังเผชิญกับความท้าทายรอบด้านในการลดต้นทุน เพิ่มผลิตภาพในส่วนของห่วงโซ่อุปทานในสถานประกอบการ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด  มีความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในการใช้ระบบ ASRS จากฝีมือคนไทย ดร.สัมพันธ์ ศิลปนาฎ รองประธาน บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ใช้ระบบASRS จากทีมนักวิจัยคนไทยที่ได้ทุนจาก Spearhead ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยี 4.0 ที่จะมาช่วยพัฒนากระบวนการบริหารจัดการคลังสินค้าในทุก ๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นการลดความผิดพลาด ลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ลดการใช้พลังงาน ซึ่งถือเป็นระบบที่ตอบโจทย์แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมได้อย่างลงตัวอีกด้วย โอกาสนี้ Mr.Sam Loke กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีเอสวี โซลูชั่นส์ จำกัด รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) รศ.ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และคุณรุ่งรัตน์ ศิริรัตนาพานิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แม่น้ำเมคคานิกา จำกัด ร่วมด้วยคณะผู้วิจัย เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME ได้เยี่ยมชมผลงานระบบ ASRSเนื่องจากระบบ ASRS ส่วนใหญ่ที่มีในปัจจุบัน เน้นเฉพาะโครงการที่มีงบลงทุนสูง และยังใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่เป็น SME โดยระบบ ASRS ที่ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้โครงการฯ นี้ มีทั้งแบบ Low Rise ความสูงน้อยกว่า 12 เมตร เหมาะสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก งบลงทุนต่ำ และแบบ High Rise ความสูง 23 เมตร เหมาะกับผู้ประกอบการที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ มีการเติบโตสูง ซึ่งการพัฒนา “ระบบ ASRS” นี้ จะสามารถช่วยลดการนำเข้าระบบจากต่างประเทศได้ คาดการณ์ว่า ภายใน 5 ปี จะมีมูลค่าความต้องการระบบ ASRS เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10,000      ล้านบาทต่อปี   ///////////////////////////////  
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
มูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับ สวทช. /ม.แม่โจ้ ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “ด้านการวิจัยและพัฒนา การเก็บรักษาทรัพยากรเชื้อพันธุกรรมพืชระยะยาว”
For English-version news, please visit : NSTDA, the Chaipattana Foundation and Maejo University sign agreement on long-term preservation of plant genetic resources ณ มูลนิธิชัยพัฒนา : (20 มิ.ย. 2565) ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ดร.ลดาวัลย์ กระแสร์ชล รองผู้อำานวยการสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ ร.ศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “ด้านการวิจัยและพัฒนา การเก็บรักษาทรัพยากรเชื้อพันธุกรรมพืชระยะยาว” เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน รวมถึงการวิจัยและพัฒนาการเก็บรักษาในแบบระยะยาว นำข้อมูลที่มีค่าของทรัพยากรเหล่านี้พัฒนาต่อยอดเป็นระบบสารสนเทศในการสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากข้อมูลทรัพยากรชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยยังสามารถรักษาสมดุลในการใช้ทรัพยากรตามแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจ BCG “เพิ่มคุณภาพชีวิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ต่อยอดจุดแข็งของประเทศในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ดังนี้ Bioeconomy (ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ) สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากร Circular Economy (ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน) และ Green Economy (ระบบเศรษฐกิจสีเขียว) ด้วยการใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวว่า สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์นายกกิตติมศักดิ์และองค์ ประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา พระราชทานพระราชานุมัติให้มูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดำเนิน “โครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาการเก็บรักษา ทรัพยากรเชื้อพันธุกรรมพืชระยะยาว เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกัน อนุรักษ์ทรัพยากรเชื้อพันธุกรรมพืช รวมถึงการวิจัยและพัฒนาการเก็บรักษาแบบระยะยาว  ซึ่งทั้ง 3 หน่วยงาน ได้ร่วมลงนามในครั้งนี้ เพื่อนำเมล็ดพันธุ์ของศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ มูลนิธิชัยพัฒนา ที่ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาเป็นพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนพันธุ์แล้ว รวมถึงเมล็ดพ่อแม่พันธุ์พืชผักของ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ได้รวบรวมไว้เพื่อการรักษาพันธุกรรมพืช เข้าเก็บรักษาในธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) โดยมี แผนที่จะดำเนินงานวิจัยการเก็บรักษาแบบระยะยาวต่อไป โดยเมล็ดพันธุ์ที่จะทำการเก็บรักษาในครั้งนี้มีจำนวน 1,533 สายพันธุ์ แบ่งเป็น 9 ประเภท ประกอบด้วย พันธุ์พืช ใหม่ที่ได้การรับรองพันธุ์ จํานวน 20 สายพันธุ์ พืชตระกูลถั่ว จํานวน 163 สายพันธุ์ ตระกูลพริกและมะเขือ จํานวน 163 สายพันธุ์ ตระกูลแตง จำนวน 841 สายพันธุ์ ตระกูลกะหล่ำปลี จำนวน 41 สายพันธุ์ ตระกูลผักชี จำนวน 7 สายพันธุ์ ตระกูลกระเจี๊ยบเขียว จำนวน 211 สายพันธุ์ ตระกูลผักโขม จำนวน 31 สายพันธุ์ และดอกไม้ จำนวน 56 สายพันธุ์ ดร.ลดาวัลย์ กระแสร์ชล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. พร้อมส่งเสริมด้านการพัฒนากำลังคน และโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำไปสู่การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งภารกิจหนึ่งของ สวทช. คือการพัฒนาและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน ทางด้านกลุ่มวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของประเทศช่วยเสริมฐานความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศไทย ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ หรือ National Biobank of Thailand (NBT) เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานของ สวทช. โดยมีบทบาทหลักในการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ชั้นนำสนับสนุนกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพอันมีค่าของประเทศ โดย NBT มีคลังจัดเก็บทรัพยากรชีวภาพแบบระยะยาวที่เป็นฐานที่สำคัญของเศรษฐกิจ BCG และเตรียมพร้อมรับมือเมื่อเกิดภาวะวิกฤตของการสูญเสียทรัพยากรชีวภาพอย่างถาวรในธรรมชาติ นอกจากนี้ NBT ยังเป็นแหล่งอ้างอิงของข้อมูลทรัพยากรชีวภาพที่น่าเชื่อถือพร้อมกับการนำเอาข้อมูลระดับจีโนม และสารสนเทศอื่น ๆ ที่เกิดจากการวิจัยบนทรัพยากรชีวภาพเหล่านี้มาพัฒนาต่อยอดให้เกิดเป็นระบบสารสนเทศเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจและสร้างองค์ความรู้ใหม่ในวงการวิจัย กิจกรรมของ NBT สนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน องค์กรในประเทศ และนานาชาติ ผลักดันให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก โดยที่ยังสามารถเก็บรักษาหรืออนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพไว้ได้อย่างยั่งยืน ด้าน ร.ศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนา จัดตั้ง “ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืช ให้เกษตรกรได้มีพืช สายพันธุ์ที่ดี ทนทานต่อโรคและแมลง ได้ผลผลิตที่ดี ซึ่งศูนย์ฯ ได้รวบรวมและพัฒนาพันธุ์พืชพื้นบ้าน เก็บรักษาพันธุ์พืชผักพื้นบ้าน เพื่อให้เกษตรกรปลูกสำหรับบริโภคในครัวเรือน จำหน่าย หรือเก็บไว้ทำพันธุ์ต่อไป นอกจากนี้ ยังเก็บเป็นเมล็ดพันธุ์พระราชทานแก่ราษฎรและโดยเฉพาะราษฎรที่ประสบภัยพิบัติ การลงนามร่วมกันในครั้งนี้ เป็นการนำเมล็ดพันธุ์ของศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ มูลนิธิชัยพัฒนา ที่ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาเป็นพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนพันธุ์แล้ว รวมถึงเมล็ดพ่อแม่พันธุ์พืชผักของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ได้รวบรวมไว้เพื่อการรักษาพันธุกรรมพืช เข้าเก็บรักษาในธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เพื่อดำเนินงานวิจัยการเก็บรักษาแบบระยะยาวต่อไป การนำเมล็ดพันธุ์พืชที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เข้าเก็บรักษาในธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ครั้งนี้ จะเป็นอีกก้าวของนวัตกรรมด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ครอบคลุมการเก็บรักษาและการเก็บข้อมูลเมล็ดพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถคงความมีชีวิตของพันธุกรรมพืชไว้ได้ยาวนาน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการปกป้องทรัพยากรชีวภาพของประเทศเพื่อที่จะสามารถนำไปพัฒนาในด้านอื่นๆ อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้เกิดความยั่งยืนสืบไป
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
สวทช. เสริมทักษะ พัฒนา AI เปิดกิจกรรมแข่งขันหุ่นยนต์ ไร้การบังคับอัจฉริยะ RoboInnovator Challenge 2022 By Software Park Thailand  17-19 มิ.ย. นี้
ลานกิจกรรม ชั้น 2 ศูนย์การค้าเซียร์ รังสิต : (17 มิ.ย. 2565) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand: SWP) ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) เปิดโครงการ “การแข่งขันหุ่นยนต์ ไร้การบังคับอัจฉริยะ RoboInnovator Challenge 2022 By Software Park Thailand เพื่อชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” ระหว่างวันที่ 17- 19 มิถุนายน 2565 ณ ลานกิจกรรม ชั้น2 ศูนย์การค้าเซียร์ รังสิต และ Live (สด) ผ่านhttps://www.facebook.com/RoboInnovator ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม (วท.กห.) และเป็นการสร้างกระแสในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้าน AI ครั้งยิ่งใหญ่อีกด้วย พลโท สมเกียรติ สัมพันธ์ เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม (วท.กห.) กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันตั้งแต่ครั้งแรก เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่าการแข่งขันนี้เป็นการท้าทายความสามารถด้านปัญญาประดิษฐ์อย่างแท้จริง เพราะการที่จะสร้างหุ่นยนต์ให้มีความสามารถ (Self Driving Car) ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ได้อย่างปลอดภัย ไม่ชนสิ่งกีดขวาง ต้องใช้หลายๆ วิชามาประยุกต์ร่วมกัน และยังต้องมีภารกิจในการส่งพัสดุให้ถูกต้องตามโจทย์อีกด้วย เป็นการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้กิจกรรมการแข่งขันเป็นเครื่องกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการค้นคว้าหาความรู้ ทดลองฝึกปฏิบัติเพื่อให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาและประยุกต์ทักษะต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์ได้นั้น นับเป็นการพัฒนาประเทศได้อีกทางหนึ่ง วท.กห. ยังเน้นกิจกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย พลโท สมเกียรติ กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าในความปกติใหม่ หรือ  New Normal หุ่นยนต์และเทคโนโลยี คือสิ่งที่จะเข้ามารองรับกับทุกกิจกรรมการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเครื่องตรวจจับอุณหภูมิแบบสแกนใบหน้า ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ หรือจะเป็นการเข้า-ออกสถานที่ต่างๆ ต้อง scan แอปพลิเคชันเป็น e-pass เพื่อให้สามารถนับจำนวนได้อย่างชัดเจน ไม่ให้ประชากรหนาแน่นเกินไปตามมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม ยังมี หุ่นยนต์ต่าง ๆ ว่าจะเป็นหุ่นยนต์ทำความสะอาด ทั้งภายนอกและภายในตัวอาคาร อาจจะสามารถเดินลาดตระเวนอย่างอัตโนมัติไปตามมุมต่างๆ ของห้างเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อย และรักษาความปลอดภัยได้อีกด้วย ดังนั้น เราไม่สามารถปฏิเสธความสามารถของหุ่นยนต์ในปัจจุบันนี้ได้เลย จะเห็นได้ว่าหุ่นยนต์แทบจะเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานในการพัฒนาสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อรองรับความต้องการในปัจจุบัน ดังนั้น หากบุคลากรของเรามีทักษะความสามารถในด้านนี้อย่างกว้างขวาง จะเป็นการต่อยอดในการช่วยพัฒนาประเทศของเราได้อย่างก้าวกระโดดต่อไป นายณัฐพล นุตคำแหง รองผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย กล่าวว่า การแข่งขัน “การแข่งขันหุ่นยนต์ ไร้การบังคับอัจฉริยะ RoboInnovator Challenge 2022 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สองในการจัดการแข่งขัน โดยมีผู้สนับสนุนการแข่งขันหลักคือ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม (วท.กห.) เป็นการสร้างกระแสในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้าน AI ครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งในปีนี้ มีผู้สนใจสมัครจากผู้แข่งขันทั่วประเทศ ทั้งจากระดับมัธยมศึกษา มหาวิทยลัย และอาชีวศึกษา อีกทั้งหน่วยงานจากภาครัฐ เอกชนรวม กว่า 63 ทีม 238 คน จากทั่วประเทศ และมีกิจกรรม Pitching Online เพื่อนำเสนอเทคนิคการจัดทำหุ่นยนต์นี้ไปเมื่อวันอังคารที่ 14 มิถุนายน 2565 โดยได้รับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ดร.จาตุวัฒน์ ราชเรืองระบิน นักวิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการขนส่ง (ITM) ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ (RMT) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) นาวาอากาศเอก กิจเปรม เวศย์ไกรศรี นักวิจัยอาวุโส พันเอก หญิง ณัชชา ไชยศรี นักวิจัยอาวุโส กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม (วท.กห.)  ผศ.ดร.เกรียงไกร ทัศนวิภาส ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และ อาจารย์จิรัฏฐ์ แจ่มสว่าง ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สวทช. และ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) กล่าวว่า “การแข่งขันหุ่นยนต์   ไร้การบังคับอัจฉริยะ RoboInnovator Challenge 2022 ที่เป็นการแข่งขันเพื่อเฟ้นหาความสามารถพิเศษ หรือ Talent ที่โดดเด่นด้าน Programming ให้หุ่นยนต์มีความสามารถ Navigate ตัวเองได้อย่างปลอดภัย ไม่ชนสิ่งกีดขวาง อีกทั้ง ยังต้องส่งพัสดุให้ถูกต้องตรงตามที่โจทย์กำหนด ซึ่งเป็นการบูรณการศาสตร์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน นับเป็นการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ โดยผ่านการทดลองปฏิบัติจริง ตลอดจนการประยุกต์ใช้ทักษะทั้งหมดนี้ให้สามารถแก้ปัญหาตามโจทย์ได้ เป็นอีกแขนงงานหนึ่งที่ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน หรือ SMC มุ่งมั่นสนับสนุน นอกจากนี้ SMC ยังได้ออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ การจัดฝึกอบรมสัมมนาให้กับผู้สนใจและผู้ที่เกี่ยวข้องในงานด้านอุตสาหกรรม ได้เข้ามาเติมเต็มความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ อาทิ Machine Learning, IoT, IIoT, Industrial Automation เพื่อการนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรม ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน ตลอดจนกิจกรรมวิจัยเพื่อการสร้างนวัตกรรม โดย SMC ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย เพื่อมุ่งไปสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 และส่งแรงขับเคลื่อนถึงการเป็นประเทศเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม จะเห็นได้ว่าประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลายใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้เป็นพลังปัจจัยหนึ่ง ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน ดังนั้น ประเทศไทยต้องเร่งการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเป็นระบบในหลายด้าน ทั้งการพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และการสร้างความเชื่อมโยงกับภาคการผลิตและบริการ ภาคสังคม ภาคชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้สังคมไทยได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เพื่อก้าวสู่มิติใหม่ของการพัฒนาโดยใช้สติปัญญาและฐานความรู้เป็นปัจจัยนำ เพื่อให้สอดรับกับยุคที่เต็มไปด้วยการแข่งขันและการปรับตัวเข้าสู่โลกเทคโนโลยี ดร.พนิดา กล่าว    
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
สวทช. ขอเชิญทุกท่านมาเรียนรู้วิธีการนำเสนอ และเทคนิคการสื่อสารในแบบฉบับมือโปร
เคยไหม? มีไอเดียนวัตกรรมแต่ไม่รู้จะสื่อสารกับคนอื่นให้เข้าใจเราได้อย่างไร คุณจะไม่กังวลอีกต่อไป เราขอเชิญทุกท่านมาเรียนรู้วิธีการนำเสนอ และเทคนิคการสื่อสารในแบบฉบับมือโปรในระยะเวลาสั้นๆ แต่ผลลัพธ์ระยะยาวๆกันไปเลย -- Professional Pitching Techniques -- สอนโดยผู้เชี่ยวชาญในวงการสตาร์ทอัพ คุณพชร ยงจิระนนท์ (Managing Director at SpeakPro) ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของสตาร์ทอัพในเวทีใหญ่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่จะมาร่วมแชร์เทคนิคดีๆ เกี่ยวกับการสื่อสารอย่างมืออาชีพ และการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเทคนิคและทักษะที่ไม่เหมือนใคร เช่น การวางตำแหน่ง ภาษากาย และการใช้โทนเสียง ที่จะทำให้การนำเสนอของเราน่าดึงดูด และน่าจดจำมากยิ่งขึ้น งานนี้จะจัดขึ้นใน วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2565 เวลา 13:30 - 16:00 น. ที่ NEXT Creator Space @ทรู ดิจิตัล พาร์ค (ใกล้กับ BTS ปุณณวิถี) สมัครเลย งานนี้คือคำตอบของคุณแน่นอน! ที่ https://startupcave.org/events/5 รับจำนวนจำกัด สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 20 มิ.ย. 65 หรือจนกว่าสิทธิ์จะเต็ม  
ปฏิทินกิจกรรม
 
สวทช. เชิญชวนสมัครเข้าร่วมโครงการสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โคมไฟลูกบาศก์ จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
สวทช. โดย บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท XYZPrinting (ประเทศไทย) จำกัด ขอเชิญชวนโรงเรียนที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โคมไฟลูกบาศก์ จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งเป็นชุดสื่อการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ลงมือปฏิบัติและเน้นให้นักเรียนได้ฝึกคิดอย่างเป็นระบบ ลงมือวางแผน และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ✅ สื่อการเรียนรู้นี้เหมาะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น ✅ สิ่งที่โรงเรียนจะได้รับ 1.ชุดสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โคมไฟลูกบาศก์ จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ โรงเรียนละ 1 ชุด 2.บทเรียนออนไลน์ ที่สามารถเข้าศึกษาได้ไม่จำกัด เวลา สถานที่ ✅ วิธีสมัคร Scan QR code ในโปสเตอร์ หรือ คลิก link : https://www.nectec.or.th/stidb/training/6294648eab417 📢 หมดเขตการรับสมัครภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2565 นี้ 🚩 📢 แจ้งผลการพิจารณาส่งมอบชุดสื่อฯ วันที่ 15 กรกฎาคม 2565 ทางเว็บไซต์ https://www.nstda.or.th/ssh ✅ ส่งผลงานชิงรางวัล สำหรับโรงเรียนที่ส่งผลงานการใช้สื่อการสอนมาให้ สวทช. และผ่านการคัดเลือก ผู้ชนะจะได้รับรางวัลเครื่องพิมพ์ 3 มิติ จำนวนเครื่อง 14 เครื่อง (โรงเรียนละ 1 เครื่อง) 📢 แจ้งเกณฑ์การคัดเลือกและผลการตัดสินรางวัลเร็วๆ นี้ ทางเว็บไซต์ https://www.nstda.or.th/ssh =========================================== ✍️สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ปรมาภรณ์ จูฑะจันทร์ 📧 e-mail : poramaporn@nstda.or.th ☎ โทรศัพท์ 0 2529 7100 ต่อ 77226  
ปฏิทินกิจกรรม
 
เอกชนญี่ปุ่น จัดตั้งสำนักงานแห่งใหม่ที่ EECi มุ่งรองรับลูกค้าอุตสาหกรรมเคมีและฐานชีวภาพ
For English-version news, please visit : Sumitomo Heavy Industries plans to set up an office at EECi 16 มิถุนายน 2565 ณ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก วังจันทร์วัลเล่ย์ จ.ระยอง: บริษัท ซูมิโตโม เฮฟวี่ อินดัสทรีส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ลงนามร่วมกับ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation, EECi) เพื่อเช่าพื้นที่ใน EECi จ.ระยอง จัดตั้งสำนักงานแห่งใหม่ เพื่อนำเทคโนโลยี Mixing Reactors และอุปกรณ์ทางด้านกระบวนการผลิตอื่น ๆ มาให้บริการกับลูกค้าในจังหวัดระยอง ซึ่งเป็นฐานลูกค้าที่สำคัญด้านอุตสาหกรรมเคมีและเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพในอนาคตตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของประเทศ โดยมี ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดร. รวีภัทร์ ผุดผ่อง ผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมืออุตสาหกรรมสมัยใหม่ สวทช. นายชิเกรุ ทาจิมะ ประธานบริษัท ซูมิโตโม เฮฟวี่ อินดัสทรีส์ โปรเซสอีควิปเมนท์ จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น) และ นายอากิระ โยโกตะ ประธานบริษัทซูมิโตโม เฮฟวี่ อินดัสทรีส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ร่วมลงนาม นายอากิระ โยโกตะ ประธานบริษัทซูมิโตโม เฮฟวี่ อินดัสทรีส์ (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า สำนักงานแห่งใหม่ของบริษัทที่ EECi แห่งนี้จะเป็นห้องปฏิบัติการแห่งแรกของบริษัทที่ จังหวัดระยอง เพื่อให้บริการกับลูกค้าด้านอุตสาหกรรมเคมีในปัจจุบันและอุตสาหกรรมชีวภาพที่จะมีขึ้นในอนาคต รวมทั้งให้ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมงานวิจัยภาคการศึกษาแก่มหาวิทยาลัยในประเทศไทยอีกด้วย ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้อำนวยการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) กล่าวว่า บริษัทซูมิโตโม เฮฟวี่ อินดัสทรีส์ (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นพันธมิตรจากเอกชนญี่ปุ่นรายแรกที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ EECi ที่นอกจากจะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมเคมีที่มีอยู่เดิมแล้วยังจะเป็นส่วนที่สำคัญที่จะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพในอนาคตให้บรรลุผลสำเร็จตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของประเทศด้วย สำนักงานแห่งใหม่ของบริษัทซูมิโตโม เฮฟวี่ อินดัสทรีส์ (ไทยแลนด์) จำกัด แห่งนี้จัดตั้งเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าตั้งแต่การให้คำปรึกษา การสาธิตและนำเสนอเทคโนโลยี Mixing และอุปกรณ์เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตอื่น ๆ อีกทั้งยังรองรับการทดลอง ปรับแต่ง และการทดสอบกระบวนการผลิตในระดับนำร่อง (pilot test) ซึ่งบริษัทได้ร่วมวิจัยกับภาคเอกชนและภาคการศึกษาทางด้านการพัฒนากระบวนการเคมีและกระบวนการชีวภาพ โดยมีแผนเปิดให้บริการในปลายปี 2565 นี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศนวัตกรรมของ EECi ในการรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพของประเทศต่อไป
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
สวทช. – บ.ซัมมิท สานต่อความร่วมมือมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีชิ้นส่วนยานยนต์
สวทช. ร่วมกับ บริษัท ซัมมิท อาร์แอนด์ดี เซ็นเตอร์ จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการสานต่อ "โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์" หลังมีความร่วมมือกันมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปี มีเป้าหมายในการผลักดันอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง ลดการนำเข้าหรือพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ผ่านศักยภาพด้านการวิจัยพัฒนายานยนต์ของนักวิจัยไทย เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยต่อไป.
คลิปสั้นทันเหตุการณ์
 
“ผึ้งหยาดอำพันภูจอง” และ “ผึ้งบุษราคัมภูจอง” ผึ้งหายาก 2 ชนิดใหม่ของโลก
For English-version news, please visit : New bee species discovered at Phu Chong Na Yoi National Park   นักวิจัย มรภ.อุบลฯ ค้นพบผึ้งสองชนิดใหม่ของโลก คือ “ผึ้งหยาดอำพันภูจอง” และ “ผึ้งบุษราคัมภูจอง” ระหว่างการสำรวจอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี ภายใต้โครงการวิจัย “ท่องเที่ยวเมืองรอง อุบลราชธานี เที่ยวได้ทั้งปี : ท่องเที่ยวธรรมชาติ วัฒนธรรม และสร้างฐานเศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน” ตามยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งสนับสนุนโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)   [caption id="attachment_33087" align="aligncenter" width="700"] ผู้บริหารและทีมนักวิจัย มรภ.อุบลราชธานี และทีมวิจัย สวทช.[/caption]   ดร.ประพันธ์ ไตรยสุทธิ์ สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี กล่าวว่า ทีมวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ร่วมกับทีมวิจัยจากห้องปฏิบัติการผึ้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินโครงการวิจัยฯ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของพืช สัตว์ ผลิตภัณฑ์ชุมชน วัฒนธรรม และนำไปสู่การค้นพบผึ้งชนิดใหม่ของโลกทั้ง 2 ชนิด   [caption id="attachment_33091" align="aligncenter" width="700"] ผึ้งหยาดอำพันภูจอง (Phujong resin bee) ภาพโดยภากร นลินรชตกัณฑ์[/caption]   [caption id="attachment_33092" align="aligncenter" width="700"] ผลึกตรงปากทางเข้ารังผึ้งหยาดอำพันภูจอง ภาพโดยภากร นลินรชตกัณฑ์[/caption]   “ผึ้งหยาดอำพันภูจอง (Phujong resin bee) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Anthidiellum (Ranthidiellum) phujongensis n. sp. เป็นผึ้งเฉพาะถิ่นในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย เป็นกลุ่มผึ้งหายากที่เคยมีการค้นพบก่อนหน้านี้เพียง 4 ชนิดในโลกเท่านั้น และค้นพบเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การค้นพบครั้งนี้มีรายงานข้อมูลลักษณะของเพศผู้และเพศเมีย รวมถึงข้อมูลทางชีววิทยาของรังที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด โดยลักษณะที่โดดเด่นคือ ทำรังบริเวณหน้าผาดิน เก็บยางไม้บริสุทธิ์มาสร้างปากทางเข้ารัง เมื่อโดนแสงอาทิตย์สะท้อนแสงประกายจะมีสีเหลืองสวยงาม เป็นลักษณะเฉพาะที่มีความงดงามอย่างยิ่ง จนเป็นที่มาของชื่อ “ผึ้งหยาดอำพันภูจอง” เป็นการตั้งชื่อเพื่อให้เกียรติสถานที่ที่พบและลักษณะเด่นเฉพาะที่งดงามของตัวผึ้ง   [caption id="attachment_33090" align="aligncenter" width="700"] ผึ้งบุษราคัมภูจอง (Topaz cuckoo bee) ภาพโดยภากร นลินรชตกัณฑ์[/caption]   ส่วนผึ้งบุษราคัมภูจอง (Topaz cuckoo bee) เป็นผึ้งปรสิตชนิดใหม่ของโลก พบในรังของผึ้งหยาดอำพันภูจอง ผึ้งชนิดนี้จะแอบวางไข่ในรังของผึ้งหยาดอำพันและแย่งอาหารของลูกผึ้งหยาดอำพันกิน ปัจจุบันยังค้นพบเฉพาะในผืนป่าของอุทยานแห่งชาติภูจองนายอยในประเทศไทยเท่านั้น ผึ้งชนิดนี้ได้รับเกียรติตั้งชื่อโดย คุณรังสิมา ตัณฑเลขา ผู้อำนวยการโปรแกรมอาวุโส ฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ สวทช. โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stelis flavofuscinular n. sp. จากลักษณะพิเศษที่มีสีเหลืองเข้ม สลับลายดำบริเวณลำตัว ทำให้นึกถึงความสวยงามของบุษราคัม และเป็นเรื่องราวของผึ้งที่นำไปต่อยอดสร้างงานหัตศิลป์นำเสนอผ่านผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างรายได้ สร้างอาชีพ สร้างเศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน” ดร.ประพันธ์ กล่าวว่า ผึ้งสองชนิดนี้มีความสำคัญต่อระบบนิเวศในฐานะผู้ผสมเกสรที่สำคัญ สร้างความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศของพรรณไม้ในป่า และการค้นพบผึ้งหายากทั้งสองชนิดนี้แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์และความสำคัญของผืนป่าแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี ควรค่าแก่การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์ ทั้งนี้คณะผู้วิจัยได้ประสานความร่วมมือกับอุทยานแห่งชาติภูจองนายอยดำเนินการเพิ่มพื้นที่การสร้างหน้าผาดินธรรมชาติบริเวณใกล้กับลำห้วย เพื่อเพิ่มโอกาสและสถานที่ในการสร้างรังและขยายพันธุ์ของผึ้งกลุ่มนี้ “นอกจากนี้ยังจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้เรื่องราวของผึ้ง ทั้งความสำคัญ ความงดงาม รวมถึงข้อมูลทางชีววิทยาที่ช่วยให้ประชาชนได้ตระหนัก และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ขณะเดียวกันยังส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ใช้ผึ้งเป็นแรงบันดาลใจสร้างมูลค่าผ่านงานศิลปะ ทำเป็นของฝาก ของที่ระลึก ซึ่งจะสร้างให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน”     นางรังสิมา ตัณฑเลขา ผู้อำนวยการโปรแกรมอาวุโส ฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ สวทช. กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็น 1 ใน 7 มหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดสรรทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สวทช. เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวมีส่วนร่วมกับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึงและสร้างความสุขในชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และเป้าหมายการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ที่เป็นวาระแห่งชาติ “สวทช. โดยฝ่ายสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ ได้สนับสนุนการวิจัยให้กับคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ภายใต้โครงการวิจัย “ท่องเที่ยวเมืองรอง อุบลราชธานี เที่ยวได้ทั้งปี: ท่องเที่ยวธรรมชาติ วัฒนธรรม และสร้างฐานเศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน” เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของพืช สัตว์ ผลิตภัณฑ์ชุมชน วัฒนธรรม แหล่งศาสนสถานต่างๆ ในแง่ของการอนุรักษ์บนซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า ‘นวนุรักษ์’ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มจัดเก็บข้อมูลทางวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้ชุมชนหรือหน่วยงานจัดเก็บข้อมูลได้ด้วยตัวเองและเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยอนุรักษ์ให้ข้อมูลวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพท้องถิ่นคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน” นางรังสิมา กล่าวต่อว่า สำหรับการค้นพบผึ้งสองชนิดใหม่ของโลก “ผึ้งหยาดอำพันภูจอง” และ “ผึ้งบุษราคัมภูจอง” ทีมวิจัยได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ Zookeys เรียบร้อยแล้ว และรวบรวมไว้ในฐานข้อมูลผึ้งในประเทศไทยที่ สวทช. สนับสนุนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินการจัดทำ นอกจากนี้ชุมชนยังได้นำลักษณะเฉพาะของผึ้งหยาดอำพันภูจองและผึ้งบุษราคัมภูจอง ไปสร้างงานศิลปะส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน อาทิ ผ้าทอมือ เครื่องจักสาน เสื่อกก ตามความถนัดของชุมชน นับเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ BCG model อีกทางหนึ่ง ประกอบกับช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลให้มีแรงงานย้ายถิ่นออกจากกรุงเทพฯ รวมถึงคนรุ่นใหม่ หรือบัณฑิตจบใหม่ที่มีความรู้และทักษะทางเทคโนโลยีย้ายคืนสู่ถิ่นฐานภูมิลำเนาของตน ในพื้นที่หมู่บ้านใกล้กับอุทยานฯ ทำให้แรงงานคืนถิ่นเหล่านี้มีโอกาสในการสร้างงานสร้างอาชีพในถิ่นฐานของตนเองอีกครั้ง ซึ่งเป็นโอกาสอันดีในการสร้างอาชีพและเศรษฐกิจฐานรากให้แก่ชุมชน  
ข่าว
 
บทความ
 
เปิดนวัตกรรมเด่นด้านสุขภาพและการแพทย์ ตอบโจทย์โมเดลเศรษฐกิจ BCG
สวทช. แถลงความคืบหน้าผลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพและการแพทย์ ตอบโจทย์ #BCG มิติการพึ่งพาตนเองและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม พร้อมนำเสนอตัวอย่าง 3 นวัตกรรมเด่นด้านการแพทย์ที่มีบทบาทและถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ประกอบด้วย ระบบแพทย์ทางไกล A-MED Telehealth , หมวกควบคุมแรงดันบวกและลบ nSPHERE และ อุปกรณ์ช่วยฝึกเดิน Space Walker   โดยทั้ง 3 ผลงานเป็นเพียงบางส่วนของความสำเร็จ ตามนโยบายโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้ประเทศไทยก้าวกระโดดในการพัฒนาด้านการแพทย์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนคนไทย.  
คลิปสั้นทันเหตุการณ์
 
สวทช. จับมือ SUMMIT สานต่อความร่วมมือวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการออกแบบ และผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ยกระดับมาตรฐานการผลิต ลดการนำเข้า และพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
For English-version news, please visit : NSTDA and Summit Auto Body Industry renew commitment to bring research and innovation to car part production วันที่ 13 มิถุนายน 2565 : ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมด้วย ดร.ฐิตาภา สมิตินนท์ รองผู้อำนวยการ สวทช. ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. คุณกรกฤช จุฬางกูร ประธานบริหาร บริษัท ซัมมิท อาร์แอนดี เซ็นเตอร์ จำกัด และคุณอุณรุธ ปรารมภ์ ผู้อำนวยการ สายงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท ซัมมิท อาร์แอนดี เซ็นเตอร์ จำกัด ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ บริษัท ซัมมิท อาร์แอนด์ดี เซ็นเตอร์ จำกัด ในโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. ในฐานะหน่วยงานขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาของประเทศ โดยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) มาช่วยตอบโจทย์ความต้องการของประเทศในหลายมิติ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งไทยเป็นประเทศที่มีฐานการผลิตรถยนต์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ด้วยจุดแข็งในหลายๆ ด้าน ทั้งความพร้อมและศักยภาพของผู้ประกอบการ ความได้เปรียบในเรื่องของแรงงาน ตลอดจนนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนต่างๆ ของภาครัฐ ล้วนเป็นปัจจัยเสริมให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตมาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยช่วงเวลานี้อุตสาหกรรมยานยนต์อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ หรือยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จำเป็นต้องพัฒนาขีดความสามารถทางด้านวิศวกรรม ตัวอย่างเช่น การพัฒนาการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนกลุ่มน้ำหนักเบา หรือ Light Weight ด้วยวัสดุทดแทนต่างๆ  / เทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงด้านการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สมัยใหม่ /และการพัฒนาเทคโนโลยีอัตโนมัติในส่วนของการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ “ความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่าง สวทช. และ บริษัท ซัมมิท อาร์แอนด์ ดี เซ็นเตอร์ จำกัด เป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีและถือเป็นหนึ่งความสำเร็จของโครงการที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐและเอกชนได้ร่วมกันผลักดันอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง ลดการนำเข้าหรือพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ผ่านศักยภาพด้านการวิจัยพัฒนายานยนต์ของนักวิจัยไทย ทั้งด้านเทคโนโลยีการออกแบบและกระบวนการผลิตโดยมุ่งหวังที่จะส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย” คุณกรกฤช จุฬางกูร ประธานบริหาร บริษัทซัมมิท อาร์แอนดี เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทซัมมิท อาร์แอนดี เซ็นเตอร์ จำกัด เป็นบริษัทในกลุ่ม บริษัท ซัมมิท โอโต บอดี้ อินดัสตรี จำกัด ซึ่งมีบริษัทในเครือ 20 กว่าบริษัท โดยเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ปั้มขึ้นรูปโลหะส่งมอบให้กับผู้ประกอบรถยนต์ทุกยี่ห้อที่มีฐานการผลิตในประเทศไทย ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ถือว่าอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ หรือ ยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง  บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จึงจำเป็นต้องพัฒนาความสามารถทางด้านวิศวกรรมที่ใช้ในการออกแบบยานยนต์ ด้านวัสดุศาสตร์ ด้านเทคโนโลยีการผลิตและการทดสอบ ซึ่งบริษัทได้รับความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ 2555 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลาถึง 10 ปี โดยมีความร่วมมือด้านงานวิจัยหลายโครงการที่ช่วยสร้างมูลค่าผลกระทบให้แก่บริษัทได้จำนวนมาก เช่น โครงการร่วมวิจัย จำนวน 11 โครงการ ซึ่งได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว 9 โครงการ อยู่ระหว่างดำเนินการวิจัยอีก 2 โครงการ โดยมีงบประมาณการลงทุนด้านการวิจัยกว่า 4.3 ล้านบาท โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งบริษัทได้ผ่านการรับรองโครงการจาก สวทช. ในปี 2554 จนถึงปัจจุบัน จำนวน 26 โครงการ งบประมาณรวม 202 ล้านบาท โครงการพัฒนาชิ้นงานกลุ่มมีน้ำหนักเบา (Light Weight) ชิ้นงาน Stay Side Step หรือ ขายึดจับบันไดข้าง ซึ่งบริษัทได้ทำวิจัยร่วมกับศูนย์เอ็มเทค สวทช. ในการผลิตชิ้นงานต้นแบบที่สามารถช่วยลดน้ำหนักชิ้นงานลงได้ถึง 24% ซึ่งเกินความคาดหวังที่บริษัทตั้งไว้ลดลง 20% คุณกรกฤช กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือด้านการวิจัยนี้ ถือเป็นหนึ่งในแรงกำลังสำคัญที่ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพด้านการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของบริษัท เพิ่มความสามารถด้านการแข่งขันทำให้บริษัทได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าให้ออกแบบ และผลิตชิ้นส่วนใหม่ๆ เพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้ ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. กล่าวว่า ความร่วมมือในโครงการต่างๆ ระหว่าง สวทช. กับ บริษัท ซัมมิท อาร์แอนดี เซ็นเตอร์ จำกัด ภายใต้การดำเนินการวิจัยและพัฒนากับทีมวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) และศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ (RMT) สวทช. ที่ผ่านมามีโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน จำนวน 7 โครงการ ซึ่งได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วจำนวน 5 โครงการ ได้แก่ การศึกษาสมบัติของวัสดุและตัวแปรในกระบวนการรีดขึ้นรูปเหล็กแผ่นด้วยเทคนิคการจำลองไฟไนต์ เอลิเมนต์เพื่อขึ้นรูปชิ้นส่วนยานยนต์ การพัฒนาระเบียบวิธีเชิงปฏิบัติสำหรับการออกแบบและปรับแต่งแม่พิมพ์ ในการปั๊มขึ้นรูปเหล็กแผ่นความแข็งแรงสูงมุ่งเน้นเพื่อลดการเกิดปัญหาการดีดตัวกลับ เหล็ก 780 Mpa. การปรับปรุงการออกแบบโครงสร้างแม่พิมพ์เพื่อแก้ปัญหาการโก่งตัวของโครงสร้างแม่พิมพ์ การประยุกต์ใช้ Design Guideline และ Simulation Technique ในการออกแบบชุดลูกรีดสำหรับกระบวนการรีดขึ้นรูปชิ้นส่วนยานยนต์ โครงการเตรียมความพร้อมและพัฒนาความสามารถในการออกแบบและผลิตชิ้นส่วน STAY SIDE STEP สำหรับรถกระบะด้วยวัสดุทดแทน ทั้งนี้ ยังมีโครงการวิจัยที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ การศึกษากระบวนการเชื่อมแบบ Laser Welding และโครงการพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์จากพลาสติกที่เสริมแรงด้วยเส้นใยคาร์บอนและจากความร่วมมือกันครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสร้างองค์ความรู้ ช่วยยกระดับศักยภาพในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ช่วยให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยก้าวไกลได้ต่อไปภายใต้ความเป็นคนไทย เป็นบริษัทของคนไทย สร้างความเติบโตให้กับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยได้อย่างยั่งยืนต่อไป ดร.ฐิตาภา สมิตินนท์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.กล่าวว่า นอกจากโครงการวิจัยภายใต้ความร่วมมือกับเอ็มเทค สวทช.แล้ว ยังมีความร่วมมือผ่านกลไกการสนับสนุนจากศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี โดยโครงการไอแทปจำนวน 7 โครงการ และบริษัทฯ ได้ยื่นขอรับรองโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่อ สวทช. ตั้งแต่ปี 2554-ปัจจุบัน และผ่านการพิจารณาแล้ว 26 โครงการ โดยบริษัทฯ สามารถนำไปยื่นลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลตามระเบียบของกรมสรรพากรได้
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
สวทช. ชวนเยาวชนร่วมประกวดคลิป “BCG Happy Story – เรื่องนี้ดีต่อใจ” ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 300,000 บาท
  ปัจจุบันรัฐบาลเห็นชอบให้โมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (BCG Economy Model) เป็นวาระแห่งชาติ โมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง ด้วยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาต่อยอดความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมที่เป็นจุดแข็งของประเทศให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยคำนึงถึงการรักษาสมดุลของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อสร้างการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG แก่ประชาชนทั่วไป กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้จัดการแข่งขัน “โครงการประกวดคลิปวิดีโอ BCG Happy Story: เรื่องนี้ดีต่อใจ” โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึง 10 ก.ค. 2565   [caption id="attachment_32924" align="aligncenter" width="500"] กุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช.[/caption]   กุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า โครงการประกวดคลิปวิดีโอ BCG Happy Story: เรื่องนี้ดีต่อใจ” เปิดรับสมัครนักเรียน นิสิต นักศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาถึงปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ที่มีความรู้ความสามารถในการผลิตสื่อมาร่วมสร้างสรรค์คลิปวิดีโอสำหรับสื่อสารประเด็นเกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในรูปแบบที่สร้างสรรค์ เข้าใจง่าย และน่าสนใจ โดยไม่จำกัดเนื้อหาและเทคนิคในการผลิตสื่อ เพื่อใช้เผยแพร่สร้างการรับรู้เกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG แก่เยาวชน คนรุ่นใหม่ และประชาชนทั่วไป “นักเรียน นิสิต และนักศึกษาที่สนใจ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการพร้อมส่งแนวคิดเนื้อหาและรูปแบบของสื่อที่จะนำเสนอได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 10 ก.ค. 2565 โดยในรอบแรกคณะกรรมการจะคัดเลือกทีมที่มีข้อเสนอน่าสนใจมากที่สุด 20 ทีม เพื่อสนับสนุนเงินทุนจำนวน 10,000 บาท สำหรับผลิตสื่อจริงเพื่อใช้แข่งขันในรอบชิงชนะเลิศซึ่งจะจัดขึ้นภายในเดือนสิงหาคม โดยจะมีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านโมเดลเศรษฐกิจ BCG และการผลิตสื่อสมัยใหม่ของประเทศเป็นผู้ตัดสินผลการแข่งขัน ทั้งนี้ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท พร้อมโล่รางวัล นอกจากนี้ยังมีรางวัลอันดับรองลงมาอีก 5 รางวัล และรางวัล Popular Vote ที่เปิดให้ประชาชนร่วมโหวตคะแนนให้กับสื่อที่โดนใจมากที่สุด รวมเงินสนับสนุนและรางวัลมากกว่า 300,000 บาท” ติดตามรายละเอียดข้อมูลและวิธีการสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ “BCG Happy Story: เรื่องนี้ดีต่อใจ” ได้ที่เว็บไซต์  หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ bcghappystory@nstda.or.th  
ข่าว
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
บทความ
 
โครงการประกวดคลิปวิดีโอ BCG Happy Story: เรื่องนี้ดีต่อใจ
โมเดลเศรษฐกิจ BCG คือ โมเดลเศรษฐกิจใหม่ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ เครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยในปี 2564-2570 โดยโมเดลนี้จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ไปพร้อมกัน ผ่านการนำข้อได้เปรียบด้านความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม มายกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม โดยในระยะแรกมุ่งเน้น 4 สาขายุทธศาสตร์ ได้แก่ เกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ และการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นฐานเศรษฐกิจหลักของประเทศ มีสัดส่วนใน GDP ถึงร้อยละ 21 และเกี่ยวข้องกับอาชีพและการจ้างงานของคนในประเทศมากกว่า 16.5 ล้านคน ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงาน การกระจายรายได้สู่ประชาชนทั่วประเทศตั้งแต่ระดับฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างทั่วถึงบนฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน https://www.youtube.com/watch?v=HKVrXRyPxikในการนี้เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ให้แก่เยาวชน คนรุ่นใหม่ และประชาชนทั่วไป กระตุ้นให้เกิดการนำโมเดลเศรษฐกิจ BCG ไปประยุกต์ใช้ในการยกระดับความสามารถในการแข่งขัน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และหน่วยงานพันธมิตรจึงได้จัด “โครงการประกวดคลิปวิดีโอ BCG Happy Story: เรื่องนี้ดีต่อใจ” ขึ้น เพื่อให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาถึงปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ที่มีความรู้ความสามารถในการผลิตสื่อได้ร่วมสร้างสรรค์คลิปวิดีโอความยาว 30-60 วินาที (ไม่จำกัดเทคนิคการผลิต) สำหรับสื่อสารประเด็นเกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG (ไม่จำกัดขอบเขตเนื้อหา) ในรูปแบบที่สร้างสรรค์ เข้าใจง่าย และน่าสนใจ เพื่อใช้ในการสื่อสารสร้างการรับรู้ไปยังกลุ่มเป้าหมายต่อไป ภาพรวมการแข่งขัน นักเรียน นิสิต และนักศึกษา ระดับมัธยมศึกษาถึงปริญญาตรีหรือเทียบเท่าที่สนใจ สมัครเข้าร่วมโครงการพร้อมส่งแนวคิดเนื้อหาและรูปแบบของสื่อที่จะนำเสนอ และ Storyboard หรือคลิปดราฟต์งาน ได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 10 ก.ค. 2565 คลิกเพื่อดาวน์โหลดใบสมัคร ในรอบแรกคณะกรรมการจะคัดเลือกทีมที่มีข้อเสนอน่าสนใจมากที่สุด 20 ทีม เพื่อสนับสนุนเงินทุนจำนวน 10,000 บาท สำหรับผลิตสื่อจริงความยาว 30-60 วินาที เพื่อใช้แข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศจะจัดขึ้นภายในเดือนสิงหาคม โดยมีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านโมเดลเศรษฐกิจ BCG และการผลิตสื่อสมัยใหม่ของประเทศเป็นผู้ตัดสินผลการแข่งขัน และจะมีการจัดการแข่งขัน Popular Vote เพื่อเปิดให้ประชาชนร่วมโหวตคะแนนให้กับสื่อที่โดนใจมากที่สุด ผลงานที่ชนะจะมีการนำไปใช้เผยแพร่เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวโมเดลเศรษฐกิจ BCG แก่เยาวชน คนรุ่นใหม่ และประชาชนทั่วไป ผ่านช่องทางการสื่อสารสมัยใหม่ ชิงเงินรางวัลพร้อมโล่และประกาศนียบัตร รางวัลชนะเลิศ50,000 บาท พร้อมโล่รางวัล รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง30,000 บาท พร้อมโล่รางวัล รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง20,000 บาท พร้อมโล่รางวัล รางวัลชมเชย (3 รางวัล)10,000 บาท พร้อมโล่รางวัล รางวัล Popular Vote15,000 บาท พร้อมโล่รางวัล กำหนดการการแข่งขัน15 มิ.ย. - 10 ก.ค.รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมเปิดให้จัดส่งแนวคิดของสื่อที่จะผลิต (Concept paper) และ Storyboard หรือคลิปดราฟต์งาน ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 10 ก.ค. 2565 คลิกเพื่อดาวน์โหลดใบสมัครนับถอยหลังปิดรับสมัคร Days Hours Minutes Seconds ปิดรับสมัคร 21 ก.ค.แจ้งผลการผ่านเข้ารอบ 20 ทีมสุดท้าย พร้อมข้อเสนอแนะในการพัฒนาสื่อและมอบงบประมาณในการผลิตสื่อ 10,000 บาท 21 ก.ค. - 11 ส.ค.ผู้เข้าแข่งขันดำเนินการผลิตสื่อให้เสร็จสมบูรณ์แล้วจัดส่งผลงานภายในวันที่ 11 ส.ค. 2565นับถอยหลังการจัดส่งผลงานรอบชิงชนะเลิศ Days Hours Minutes Seconds หมดเขตจัดส่งผลงาน 15-18 ส.ค.จัดการแข่งขัน Popular Vote ผ่านทางFacebook: BCG in Thailandนับถอยหลังการแข่งขัน Popular Vote Days Hours Minutes Seconds หมดเวลาลงคะแนน 20 ส.ค.งานประกาศผลรางวัล ถ่ายทอดสดทาง Facebook: BCG in Thailandหมายเหตุ: กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม รายละเอียดเกี่ยวกับการแข่งขันเงื่อนไขในการสมัครเข้าร่วมเป็นนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาถึงระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า สามารถสมัครได้ทั้งแบบบุคคลและทีม ไม่จำกัดจำนวนสมาชิกในทีม ประเภทของสื่อที่จะส่งเข้าร่วมแข่งขันคลิปวิดีโอความยาว 30-60 วินาที เพื่อสร้างการรับรู้หรือความตระหนักถึงความสำคัญของโมเดลเศรษฐกิจ BCG ไม่จำกัดเนื้อหาและเทคนิคการผลิตสื่อ (อาทิ Film Production, 2D&3D Animation,  Motion Graphic) สิ่งที่ผู้เข้าแข่งขันจะต้องส่งเพื่อสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเอกสารอธิบายแนวคิดของสื่อที่จะผลิต เนื้อหาที่จะถ่ายทอด และเทคนิคที่จะใช้ในการผลิตสื่อ (Concept paper) ความยาวไม่เกิน 1 หน้า A4 หรือ 600 คำ พร้อม Storyboard หรือคลิปดราฟต์งาน โดยจัดส่งพร้อมการสมัครเข้าร่วมกิจกรรม คลิกเพื่อดาวน์โหลดใบสมัคร เกณฑ์การตัดสินสัดส่วนการให้คะแนน เนื้อหาร้อยละ 40 ความคิดสร้างสรรค์ร้อยละ 30เทคนิค ความสวยงาม ความละเอียดและประณีตร้อยละ 30 การสนับสนุนในการผลิตสื่อหลังจากผ่านเข้ารอบ 20 ทีมสุดท้ายโครงการจะให้คำแนะนำในการพัฒนางานต่อ พร้อมสนับสนุนเงินทุนในการพัฒนางาน 10,000 บาท โดยแบ่งจ่ายเป็น 2 งวด งวดแรก 5,000 บาท หลังจากผ่านเข้ารอบ และงวดที่สอง 5,000 บาท หลังจากจัดส่งงานเพื่อแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ สิ่งที่ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบ 20 ทีมสุดท้าย จะต้องจัดส่งให้กับโครงการคลิปผลงานความยาว 30-60 วินาที ความละเอียด Full HD (1,920x1,080 pixels) โดยจัดส่งงานในรูปแบบลิงก์ YouTube แบบ Unlisted และอัปโหลดไฟล์วิดีโอนามสกุล MP4 เข้า Cloud Storage เช่น Google Drive (จะต้องจัดส่งทั้ง 2 รูปแบบ ภายในวันที่ 11 ส.ค. 2565 และเปิดให้ดาวน์โหลดได้จนถึงวันที่ 23 ก.ย. 2565)ชื่อคลิปผลงาน พร้อมคำโปรยแนะนำคลิปความยาวไม่เกิน 200 คำคลิปนำเสนอผลงานงานผลงานสำหรับให้คณะกรรมการพิจารณา ความยาวไม่เกิน 3 นาที (1 คลิป)หากไม่จัดส่งผลงานตามข้อเสนอเพื่อรับทุนพัฒนาสื่อ และตามเงื่อนไขที่ระบุข้างต้นภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้เข้าแข่งขันจะต้องคืนเงินสนับสนุนให้แก่โครงการ เงื่อนไขในการผลิตสื่อผลงานจะต้องไม่เคยได้รับรางวัลจากโครงการอื่น ไม่คัดลอกหรือใช้สื่อที่ติดลิขสิทธิ์ประกอบในผลงาน ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์การใช้งานโปรแกรม หากตรวจพบการกระทำที่ผิดกฎหมายผู้พัฒนาจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นในทุกกรณี และผลการตัดสินจะถือเป็นโมฆะผลงานเป็นของผู้พัฒนา โดยอนุญาตให้ สวทช. และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง เผยแพร่ผลงานและพัฒนาต่อยอดผลงานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ประกาศนียบัตรผู้ที่ผ่านเข้ารอบ 20 ทีมสุดท้าย จะได้รับประกาศนียบัตรในงานประกาศผลรางวัล(หรือภายหลังงานประกาศผลรางวัล) การเข้าร่วมงานประกาศผลรางวัลผู้ที่ผ่านเข้ารอบ 20 ทีมสุดท้าย จะต้องเข้าร่วมหรือส่งตัวแทนเข้าร่วมงานประกาศผลรางวัล (หากไม่ได้อาศัยอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑลสามารถเข้าร่วมทางออนไลน์ได้) หากไม่สามารถมาเข้าร่วมได้จะต้องแจ้งเหตุผลที่เหมาะสมแก่คณะทำงานล่วงหน้าก่อนการจัดงานอย่างน้อย 3 วัน ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจ BCGรายละเอียดเพิ่มเติม : โมเดลเศรษฐกิจ BCG โลโก้สำหรับใช้ประกอบในคลิปหรืองานนำเสนอ : คลิกเพื่อดาวน์โหลด สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่E-mail: bcghappystory@nstda.or.thFacebook Inbox: BCG in Thailand
BCG
 
ข่าว
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
บทความ