หน้าแรก ค้นหา
ผลการค้นหา :
สวทช. ร่วมเวที Advanced Engineering Workshop ครั้งที่ 6 ขับเคลื่อนวิศวกรรมขั้นสูงสู่อนาคตเทคโนโลยีไทย
(20 – 21 มีนาคม 2568) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำโดย ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รองผู้อำนวยการ สวทช.  พร้อมด้วยนักวิจัย วิศวกร และบุคลากรจาก สวทช. ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง นำเสนอ และแสดงผลงานทางวิศวกรรมขั้นสูง ที่การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูง ครั้งที่ 6 (6th Advanced Engineering Workshop) ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จ.นครราชสีมา ซึ่งในปีนี้ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เป็นเจ้าภาพ รวมผู้เชี่ยวชาญจาก 10 หน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ร่วมแบ่งปันประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมขั้นสูงจากแต่ละหน่วยงาน สู่การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของประเทศ ภายในงานมีการบรรยายพิเศษเจาะลึกเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและเครื่องเร่งอนุภาค การพัฒนา Atomic Mass Spectrometer (AMS) การพัฒนาอุปกรณ์วิทยาศาสตร์เพื่อรองรับเทคโนโลยีอวกาศ การพัฒนาโครงการ Tokamak Thailand จากนักวิจัยชั้นนำของประเทศ รวมถึงการนำเสนอความก้าวหน้าในการพัฒนา Scanning Electron Microscope (SEM) ร่วมกัน จากงานประชุมครั้งที่ผ่านมา อันได้แก่ ความก้าวหน้าและการออกแบบระบบควบคุม SEM, การพัฒนาระบบผลิตลำอิเล็กตรอนสำหรับโครงการร่วมพัฒนา SEM, การพัฒนา Secondary Electron Detector และวงจรอินเทอร์เฟส สำหรับ SEM, การพัฒนา Image Processing และ User Interface สำหรับโปรแกรมอ่านภาพในโครงการร่วมพัฒนา SEM และ การออกแบบ Vacuum Chamber และ โครงสร้างของเครื่อง SEM และได้รับเกียรติจากผู้บริหารจากทั้ง 4 หน่วยงาน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ดร.หาญณรงค์ ฉ่ำทรัพย์ รองผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ร่วมเวทีการอภิปรายในหัวข้อ “โครงการความร่วมมือด้าน Advanced Engineering ในอนาคต” นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมยังได้ทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างเข้มข้น ได้แก่ เครื่องเร่งอนุภาคสำหรับเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น การทดลองเพื่อประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอน ระบบสุญญากาศ เทคโนโลยีการเคลือบฟิล์มบาง ระบบแม่เหล็กสำหรับเครื่องเร่งอนุภาค ระบบความเย็นยิ่งยวด ปฏิบัติการด้านการเชื่อมและควบคุมคุณภาพ และการศึกษาพลศาสตร์ของไหลแม่เหล็กของพลาสมาในเครื่องโทคาแมก เป็นต้น และได้เยี่ยมชมการดำเนินงานของสถาบันฯ เช่น การพัฒนาปั๊มสุญญากาศระดับยิ่งยวดชนิดไอออน ห้องปฏิบัติการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาค ห้องพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ทัศนศาสตร์ เป็นต้น การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูง ครั้งที่ 6 (6th Advanced Engineering Workshop) จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของ 4 พันธมิตรเครือข่ายวิทยาศาสตร์ ได้แก่ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน), สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน), สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน), และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยครั้งนี้ยังมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ และอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 รวมกว่า 500 คน
ข่าว
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
สวทช. โดยเนคเทค โชว์ Pathumma LLM: เทคโนโลยี AI ที่เข้าใจบริบทและวัฒนธรรมไทย สู่การพัฒนาและการใช้งานที่หลากหลาย
          (21 มีนาคม  2568 ) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดกิจกรรม NSTDA x Press Interviews เรื่อง Pathumma LLM: เทคโนโลยี AI ที่เข้าใจบริบทและวัฒนธรรมไทย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ศราวุธ คงยัง นักวิจัยกลุ่มนวัตกรรมการผลิตยั่งยืน และทีมวิจัยเนคเทค สวทช. ซึ่ง "Pathumma LLM" (ปทุมมา แอลแอลเอ็ม) เป็นการสร้างเทคโนโลยีเอไอ สัญชาติไทย ที่มี 3 ความสามารถหลัก ได้แก่ Text LLM สำหรับประมวลผลภาษาไทย  Vision LLM สำหรับวิเคราะห์และเข้าใจภาพ และ Audio LLM สำหรับจดจำและตอบสนองต่อเสียงภาษาไทย ที่สำคัญระบบถูกพัฒนาแบบ Open Source เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน และขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยี AI ของไทย โดยเปิดให้ภาคส่วนต่าง ๆ ที่สนใจเข้ารับชมเทคโนโลยีดังกล่าวและร่วมแลกเปลี่ยนกับทีมวิจัยได้ฟรี ในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 20 หรือ NAC2025 วันที่ 26-28 มีนาคมนี้ ที่ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ดร.ศราวุธ คงยัง นักวิจัยกลุ่มนวัตกรรมการผลิตยั่งยืน เนคเทค สวทช. เปิดเผยว่า ในยุคของการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว "Pathumma LLM" (ปทุมมา แอลแอลเอ็ม) ถือเป็นก้าวสำคัญที่ประเทศไทยได้นำเสนอเทคโนโลยี AI สัญชาติไทย เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนระบบบริการ AI โดยเฉพาะในบริบทของประเทศไทยที่มีความเฉพาะตัวทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรม โดยจุดเด่นของ Pathumma LLM เป็นโมเดล AI ที่พัฒนาให้รองรับการประมวลผลข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความ (Text LLM), เสียง (Audio LLM) และภาพ (Vision LLM) เพื่อการใช้งานที่ครอบคลุมและหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผลคำถามและคำสั่งจากข้อความ การแปลงเสียงเป็นข้อความ และการวิเคราะห์ภาพ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายด้าน เช่น การให้บริการแชตบอตในภาครัฐหรือเอกชน การถอดความจากเสียงในการประชุม หรือการสร้างคำบรรยายภาพในงานวิจัย โดยล่าสุดหน่วยงานรัฐอย่างรัฐสภา นำไปใช้ประโยชน์แล้ว เพื่อให้บริการข้อมูลกับประชาชนที่ขอใช้บริการต่าง ๆ ทั้งการสรุปประชุมสำคัญของสภา สรุป (ร่าง) กฎหมายต่าง ๆ ที่ผ่านสภา เป็นต้น นอกจากนี้ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับการพัฒนา Pathumma LLM คือ จะช่วยให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี AI ที่มีความแม่นยำและสอดคล้องกับการใช้ภาษาไทยและบริบทของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการสอบถามข้อมูลหรือการสืบค้นข้อมูลในแอปพลิเคชันต่าง ๆ รวมถึงการใช้งานในองค์กรภาครัฐที่ต้องการปกปิดข้อมูล เช่น ธนาคาร หรือสถานพยาบาล ดร.ศราวุธ  กล่าวต่อว่า สำหรับทิศทางในอนาคต ทีมวิจัยมีแผนที่จะพัฒนาโมเดลพื้นฐาน (Foundation Model) ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยคาดว่าจะเริ่มใช้งานได้ในปี 2568 นี้  ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการรองรับข้อมูลและทำให้ Pathumma LLM มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในการให้บริการแก่ภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะพัฒนาให้ Pathumma LLM กลายเป็น "Agentic AI" ผู้ช่วย AI อัจฉริยะ ที่สามารถคิด วิเคราะห์ และตัดสินใจได้อย่างอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและบริการให้กับผู้ใช้ในอนาคต ผู้ที่สนใจทดลองใช้งาน Pathumma LLM เวอร์ชัน 1.0 ทั้งในรูปแบบ APP, API และ Model เข้าใช้งานได้ที่ https://aiforthai.in.th/pathumma-llm/ “Pathumma LLM ไม่เพียงแค่เป็นเทคโนโลยีที่สร้างสรรค์และพัฒนาโดยคนไทย แต่ยังเป็นเครื่องมือที่จะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาในหลากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะในภาครัฐและเอกชนที่ต้องการระบบบริการที่มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของประเทศไทย และยังให้ความสำคัญกับความปลอดภัย และเพื่อประโยชน์ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยี AI ของสังคมไทย เกิดประโยชน์ทั้งภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐบาล และประชาชนทั่วไป” ดร.ศราวุธ กล่าว ทั้งนี้ทีมวิจัยขอเชิญชวนประชาชนและภาคส่วนต่างๆ ที่สนใจเข้าร่วมสัมผัสเทคโนโลยีดังกล่าวและร่วมแลกเปลี่ยนกับทีมวิจัยได้ฟรี ในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 20 หรือ NAC2025 วันที่ 26-28 มีนาคมนี้ โดย ในวันที่ 28 มีนาคม จะมีการสัมมนา เรื่องศักยภาพ Thai LLM และความท้าทายของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เวลา 13.00-16.00 น. ที่ห้อง SD-601 อาคาร 12 (สราญวิทย์) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย คลองหลวง จ.ปทุมธานี ลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ www.nstda.or.th/nac/ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2564 8000
ข่าว
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
คณะผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน ติมอร์-เลสเต และสาธารณรัฐเกาหลี เยือน สวทช.
เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2568 คณะผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน ติมอร์-เลสเต และสาธารณรัฐเกาหลี เยือน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี เพื่อศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยคณะผู้แทนได้รับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับภารกิจและผลงานของ สวทช. พร้อมทั้งเยี่ยมชม ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. (NCTC) และ ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมด้วยบริการด้านการทดสอบและวิเคราะห์ที่มีมาตรฐานระดับสากล  ถือเป็นโอกาสในการแสดงศักยภาพงานวิจัยที่สนับสนุนภาคอุตสาหกรรม และยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์และสร้างความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียน ติมอร์-เลสเต และสาธารณรัฐเกาหลี การเยือนครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม ASEAN-ROK Retreat Meeting ภายใต้กรอบคณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งเป็นการประชุมระดมสมองเพื่อจัดทำข้อเสนอการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างอาเซียนและเกาหลี สอดรับกับแผนกลยุทธด้านการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานงานวิจัยของอาเซียน (ASEAN Regional Research Infrastructure Strategy) ที่ สวทช. กำลังผลักดันและมีแผนเสนอขออนุมัติในเดือนมิถุนายน 2568 อีกด้วย  
ข่าว
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
“วราวุธ” เผย พม. ปั้นผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ ตั้งเป้าขยายผลดูแลผู้สูงอายุเปราะบางหลักล้านคนทั่วประเทศ สวทช. หนุนระบบ “นิรันดร์” บริหารจัดการ-บริบาลผู้สูงอายุ ในชุมชน
(วันที่ 20 มีนาคม 2568) ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ บางพลัด กรุงเทพฯ:  นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานพิธีมอบประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ (บสส.) รุ่นที่ 2 ประจำปี 2568 จำนวน 311 คน และผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุที่มีผลงานโดดเด่น ปี 2567 จำนวน 5 คน พร้อมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ และบุคลากรกรมกิจการผู้สูงอายุ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศ. นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กับ กรมกิจการผู้สูงอายุ โดย นายธนสุนทร สว่างสาลี อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวง พม. ทั้งนี้ภายในงานมีการรับมอบ ป้ายสนับสนุนการพัฒนาระบบการปฏิบัติงานสำหรับผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิ์ผู้สูงอายุ “Nirun for community” จาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ดร.พัชร์ลิตา ฉัตรวริศพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. ซึ่งระบบ “นิรันดร์” เป็นระบบ Software บริหารจัดการสถานดูแลผู้สูงอายุ ออกแบบมาเพื่อใช้ในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อสนับสนุนโครงการบริบาลสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน ที่ช่วยผู้บริบาลในการประเมินผู้สูงอายุ แนะนำกิจกรรมที่ผู้บริการต้องทำ บันทึกการลงไปทำงาน นำไปสู่การสรุปผลการทำงานของผู้บริบาล และสรุปผลสุขภาพผู้สูงอายุในโครงการได้ ซึ่งข้อมูลนี้จะช่วยให้ผู้บริหารของกระทรวง พม. ได้ใช้กำหนดยุทธศาสตร์ของการดูแลผู้สูงอายุ และยังตอบโจทย์ มิติลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ในเรื่องแพลตฟอร์มสนับสนุนการเข้าถึงสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (AI-C) ตามกลยุทธ์การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน (S&T Implementation for Sustainable Thailand) ของ สวทช. ในโอกาสนี้ทางกระทรวง พม. ยังรับมอบซิมการ์ดอินเทอร์เน็ตฟรี จากบริษัท บางกอก เทลลิ้ง จำกัด เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและดูแลผู้สูงอายุผ่านระบบออนไลน์ในพื้นที่ทั่วประเทศ นายวราวุธ กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตประชากร และปัจจุบันก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ โดยมีผู้สูงอายุร้อยละ 20.69 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด ที่มีผู้สูงอายุร้อยละ 28 ในปี 2576 เนื่องจากประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับอัตราการเกิดใหม่ของประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานที่ลดลง ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศในหลายด้าน อาทิ เสถียรภาพด้านการเงินการคลังของประเทศ การจัดการระบบสวัสดิการเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ประเทศมีรายได้ในการจัดเก็บภาษีลดลง ในขณะที่ มีแนวโน้มสูงขึ้นที่ผู้สูงอายุจะอาศัยอยู่ลำพังคนเดียว ถูกทอดทิ้ง ขาดผู้ดูแล และผู้สูงอายุวัยต้นจะต้องดูแลผู้สูงอายุวัยปลาย กล่าวคือ ผู้สูงอายุกลุ่มเปราะบางจะต้องดูแลกันเอง ซึ่งเป็นผลมาจากรูปแบบครอบครัวที่เปลี่ยนแปลงไป นายวราวุธ กล่าวว่า กระทรวง พม. ได้กำหนดยุทธศาสตร์สำคัญในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน (Infrastructure) เพื่อเป็นการปกป้อง คุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุในชุมชน ตาม “โครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน” ผ่านการปฏิบัติงานของผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ (Wellbeing and Life Protector) ทำหน้าที่ช่วยเหลือ ดูแล คุ้มครองพิทักษ์สิทธิ และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่ครอบคลุม 5 มิติ ได้แก่ มิติด้านสังคม สุขภาพ เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม และเทคโนโลยี เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตให้กับผู้สูงอายุ รวมถึงรองรับเป้าหมายสำคัญของประเด็นหลักในการขับเคลื่อนทศวรรษแห่งการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะที่ดี  ในกรอบของสหประชาชาติ (UN Decade of Healthy Ageing) โดยเฉพาะการจัดบริการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ และการเข้าถึงการดูแลระยะยาวในผู้สูงอายุ สำหรับปี 2567 กระทรวง พม. โดย กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) ได้นำร่องโครงการดังกล่าวใน 19 พื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พิษณุโลก สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ลพบุรี สิงห์บุรี สกลนคร อุบลราชธานี สงขลา ปัตตานี ทำให้สร้างผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุที่มีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุครอบคลุมทั้ง 5 มิติ ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ ระยะเวลา 240 ชั่วโมง จำนวน 35 คน และปี 2568 มีการต่อยอดขยายผลครอบคลุมทั่วประเทศ 156 พื้นที่ 76 จังหวัด ทำให้มีผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ 311 คน ส่งผลให้มีผู้สูงอายุได้รับการดูแลและคุ้มครองทางสังคม จำนวน  34,200 คน โดยที่ผ่านมามีการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมถึงการฝึกงานตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม - 10 มีนาคม 2568 อีกทั้งมีการเตรียมความพร้อมก่อนการปฏิบัติงานจริงในวันที่ 1 เมษายน 2568 เป็นต้นไป ซึ่งกระทรวง พม. โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) กระทรวง พม. ได้จัดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศ ติดอาวุธ ทำงานร่วมกับเครือข่าย และการใช้ระบบการปฏิบัติงานสำหรับผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ "Nirun for Community" ระหว่างวันที่ 18 – 19 มีนาคม 2568 สำหรับแผนระยะยาว 3 ปี กระทรวง พม. จะผลักดันให้เกิดระบบการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ ด้วยผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุครอบคลุมทั่วทุกเทศบาล 2,472 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 5,300 แห่ง รวม 7,772 แห่ง ๆ ละ 4 คน รวม 31,088 คน ส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและคุ้มครองทางสังคม จำนวนทั้งสิ้น 3,108,800 คน อย่างไรก็ตามขอขอบคุณคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่สนับสนุนนวัตกรรมให้บริการผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ทั้ง 12 แห่ง และพัฒนาระบบการปฏิบัติงานสำหรับผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ “Nirun for community” และบริษัท บางกอก เทลลิ้ง จํากัด ที่ได้สนับสนุนซิมการ์ดอินเทอร์เน็ตฟรี แบบไม่จำกัดปริมาณ (Unlimited Data) เป็นเวลา 4 เดือน “นอกจากนี้ในอนาคต กระทรวง พม. จะมีการบูรณาการใช้แนวคิดของธนาคารเวลาของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เข้ามาผนวกกับโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน ของ กระทรวง พม. เพื่อให้ทุกนาที ทุกชั่วโมงที่ผู้บริบาลทำงานสามารถเก็บเข้ากับธนาคารเวลาไว้ และในอนาคตหากผู้บริบาลแก่ตัวลงและที่ต้องการ ผู้มาดูแลตนเองบ้าง สามารถเบิกเวลาทำงานจากธนาคารเวลาได้ เพื่อให้ทุกชั่วโมง ทุกนาทีที่ทำงานดูแลคนอื่นไว้ สามารถนำมาใช้ดูแลตนเองได้บ้าง ซึ่งแนวคิดนี้นำร่องใช้จริงแล้วบางพื้นที่ในประเทศไทย อีกทั้งจะเป็นการจูงใจให้ผู้บริบาลเข้ามาดูแลผู้สูงอายุกันมากขึ้นจากที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์แล้ว ซึ่งมีประชากรสูงอายุ 14 ล้านคน” นายวราวุธ กล่าวทิ้งท้าย  
ข่าว
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
มทร.ธัญบุรี จับมือ สวทช. ลงนามร่วมพัฒนาเทคโนโลยีด้านยานยนต์ไฟฟ้า และพัฒนาบุคลากร ขับเคลื่อน อว. For EV
(วันที่ 20 มีนาคม 2568) ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีด้านยานยนต์ไฟฟ้าและพัฒนาบุคลากร ซึ่งเป็นก้าวสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมี ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สวทช.  ผศ.ณัชติพงศ์ อูทอง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นประธานลงนามความร่วมมือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมดำเนินการตามนโยบาย อว. For EV ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกันพัฒนาบุคลากรของประเทศด้านเทคโนโลยีด้านยานยนต์ไฟฟ้า และร่วมนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่แต่ละฝ่ายมีหรือร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อความเข้มแข็งหรือต่อยอดให้กับอุตสาหกรรมในประเทศต่อไป ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล ผู้อำนวยการ ENTEC สวทช. กล่าวว่า การพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน เนื่องจากยานยนต์ไฟฟ้าไม่เพียงแต่ช่วยลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล แต่ยังช่วยลดมลพิษทางอากาศและเสียง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน การลงนามครั้งนี้แสดงถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและลดก๊าซเรือนกระจก ในมิติเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในโครงการเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า ตามกลยุทธ์ การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน (S&T Implementation for Sustainable Thailand) ของ สวทช. ซึ่งสอดคล้องตามนโยบาย "อว. For EV" ของกระทรวง อว. มีเป้าหมายทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในเอเชียแปซิฟิก โดยประกอบด้วย 3 แผนงานหลัก: EV-HRD: พัฒนาทักษะกำลังคน 150,000 คนใน 5 ปี EV-Transformation: เปลี่ยนหน่วยงานในสังกัด อว. ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างน้อยร้อยละ 30 ภายใน 5 ปี และEV-Innovation: สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าเพื่อยกระดับผู้ประกอบการ ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาบุคลากรเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้โครงการยานยนต์ไฟฟ้าประสบความสำเร็จ เรามุ่งสนับสนุนการศึกษาและการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อเสริมทักษะและความรู้ในการพัฒนาและนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในอุตสาหกรรม ผศ.ณัชติพงศ์ อูทอง รองอธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด เราเน้นพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะและความรู้ รองรับความต้องการของอุตสาหกรรมและสังคม การลงนามบันทึกข้อตกลงในวันนี้ยืนยันถึงความร่วมมือในการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยเรามีทีมงานวิจัยที่เชี่ยวชาญและการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองตลาดแรงงาน ซึ่งเรามีมุ่งมั่นพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์ไฟฟ้า พร้อมจัดการฝึกอบรมเพื่อกระตุ้นการเติบโตและพัฒนาอุตสาหกรรมนี้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ข่าว
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
สวทช. เสริมแกร่งผู้ประกอบการ ปั้นหลักสูตรปรับตัวสู่การผลิตในยุคดิจิทัล
เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2568 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย กลุ่มแพลตฟอร์มสนับสนุนอุตสาหกรรม 4.0 ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร จัดอบรมหลักสูตร "Digital Manufacturing Advisor" (DMA) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทยให้สามารถปรับตัวเข้าสู่การผลิตในยุคดิจิทัล ณ ห้อง SD601 อาคารสราญวิทย์ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี เร่งผลักดันอุตสาหกรรมไทยสู่ยุคดิจิทัล ดร.รวีภัทร์ ผุดผ่อง ผู้อำนวยการกลุ่มแพลตฟอร์มสนับสนุนอุตสาหกรรม 4.0 สวทช. กล่าวต้อนรับและเปิดกิจกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ภาคการผลิตจำเป็นต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วนเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ จากข้อมูลการสำรวจของ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ปี 2561 พบว่า กว่า 60-70% ของโรงงานอุตสาหกรรมไทยยังอยู่ในระดับ Industry 2.0 และมีเพียง 2% ที่เข้าสู่ Industry 4.0 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการเร่งผลักดันการเปลี่ยนผ่านของภาคอุตสาหกรรมไทยไปสู่ ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ดร.รวีภัทร์ กล่าวเสริมว่า เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทย สวทช. ได้จัดตั้งกลุ่มแพลตฟอร์มสนับสนุนอุตสาหกรรม 4.0 (NSTDA Core Business Thailand i4.0 Platform Group) เพื่อให้บริการด้าน Digital Transformation โดยใช้ ดัชนีชี้วัดความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 ของไทย (Thailand i4.0 Index) เป็นเครื่องมือหลักในการประเมินศักยภาพของภาคอุตสาหกรรม และกำหนดแนวทางพัฒนา หนึ่งในแนวทางสำคัญคือการพัฒนาบุคลากร "ที่ปรึกษาด้านการผลิตดิจิทัล" (Digital Manufacturing Advisor: DMA) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในสายการผลิต มีบทบาทสำคัญในการให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับแนวทางดำเนินงานและเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับแต่ละอุตสาหกรรม หลักสูตร DMA: ปั้นที่ปรึกษาด้านการผลิตดิจิทัล ที่ปรึกษา DMA จะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการวางแผนการลงทุนและปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งต้องอาศัยทักษะขั้นสูง (Digital Skills) หลักสูตรดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า สอดคล้องกับเงินทุนและเป้าหมายทางธุรกิจของแต่ละองค์กร ทั้งนี้แนวทางดังกล่าวยังสอดคล้องกับดัชนีชี้วัดความพร้อมสู่อุตสาหกรรม 4.0 ของไทย (Thailand i4.0 Index) นอกจากการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญแล้ว กิจกรรมในหลักสูตรยังเน้นการสร้างเครือข่ายระหว่างที่ปรึกษาและภาคอุตสาหกรรม เพื่อร่วมกันผลักดันและยกระดับอุตสาหกรรมไทยไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างเป็นระบบ หลักสูตรอบรมเข้มข้น ครอบคลุมทุกมิติของอุตสาหกรรม 4.0 หลักสูตร DMA จัดขึ้นเป็นระยะเวลา 16 วัน (ระหว่างวันที่ 14 มีนาคม – 15 สิงหาคม 2568) โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานพันธมิตรหลายแห่ง และนักวิจัย สวทช. ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีพร้อมได้ลงมือปฏิบัติจริง ครอบคลุมเนื้อหาหลากหลายด้าน ในหลักสูตรนี้มีวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญจากภาคการศึกษา ภาคเอกชน และหน่วยงานสนับสนุนอุตสาหกรรม อาทิ ผศ.ดร.เดี่ยว กุลพิรักษ์ ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่าย Digital Transformation มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ทีมวิทยากรจาก สวทช. นำโดย ดร.รวีภัทร์ ผุดผ่อง ผู้อำนวยการกลุ่มแพลตฟอร์มสนับสนุนอุตสาหกรรม 4.0 พร้อมด้วย ดร.ธนกร ตันธนวัฒน์ นักวิจัยทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ และคุณชัยวุฒิ สีทา นักวิชาการอาวุโส กลุ่มแพลตฟอร์มสนับสนุนอุตสาหกรรม 0 ทีมวิทยากรจาก EXIM Bank และ บสย. (บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม) ทีมผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรม สมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) สมาคมสมาคมการจัดการระบบคลังสินค้าไทย (TIA) และสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย (ThaiSubcon) เนื้อหาการอบรมครอบคลุมประเด็นสำคัญ ได้แก่: ✅ Digital Transformation และการประเมินความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 ✅ กลยุทธ์ Transform และการวางแผนดำเนินโครงการ ✅ สถาปัตยกรรมการสื่อสารข้อมูลและความปลอดภัยทางไซเบอร์ ✅ การจัดการทรัพยากรในองค์กรด้วย ERP และระบบการผลิต MES ✅ การออกแบบระบบเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ (OT) ✅ การวางแผนการเงินและมาตรการส่งเสริมการลงทุน นอกจากนี้ หลักสูตรยังเน้น กิจกรรมเวิร์กชอปภายในสถานประกอบการ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับธุรกิจของตนเองได้จริง ก้าวสำคัญสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน หลักสูตร DMA ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 70 ท่าน ทั้ง ผู้ประกอบการภาคการผลิต อาจารย์จากสถาบันการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท System Integrator (SI) ซึ่งเป็นกลุ่มบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาบุคลากรที่ปรึกษาด้านการผลิตดิจิทัล ถือเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมไทย ให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในระยะยาว
ข่าว
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
นาโนเทค สวทช. ใช้ AI พัฒนาเครื่องตรวจชนิดไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำ
  ไมโครพลาสติกกำลังเป็นภัยเงียบที่คุกคามต่อสุขภาวะของสิ่งมีชีวิตบนโลกอย่างไม่รู้ตัว เพราะพลาสติกชิ้นเล็กจิ๋วที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตรเหล่านี้ สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ผ่านทางการบริโภคอาหารและน้ำดื่ม รวมถึงการสูดดมอนุภาคในอากาศ ก่อนหน้านี้มีการเผยแพร่ข้อมูลว่า มนุษย์อาจบริโภคไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายในปริมาณ 5 กรัมต่อสัปดาห์ หรือเทียบเท่ากับบัตรเครดิต 1 ใบ อีกทั้งล่าสุดผลวิจัยหลายชิ้นตรวจพบ “ไมโครพลาสติกในร่างกายมนุษย์” ปริมาณมาก ทั้งในอุจจาระ เลือด เนื้อเยื่อสมอง หรือแม้แต่รกเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ในระยะยาว ด้วยเหตุนี้ ทั่วโลกต่างพยายามเร่งศึกษาวิจัยไมโครพลาสติกอย่างจริงจัง เช่น การจำแนกชนิดไมโครพลาสติกเพื่อหาทางลดปริมาณการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้พัฒนาเครื่องตรวจวัดและระบุไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำ ซึ่งมีขนาดเล็ก พกพาได้ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)  ในการประมวลผล เพื่อให้ได้ผลตรวจที่ถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว   [caption id="attachment_66889" align="aligncenter" width="700"] ดร.อัศวพงษ์ ทรัพย์พัฒน์ นักวิจัย กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและกระบวนการนาโน นาโนเทค สวทช.[/caption]   ดร.อัศวพงษ์ ทรัพย์พัฒน์ นักวิจัย กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและกระบวนการนาโน นาโนเทค สวทช. กล่าวว่า “ไมโครพลาสติก” เกิดจากเม็ดพลาสติกตั้งต้น (primary microplastics) เช่น เม็ดบีดส์ที่ใช้ในการผลิตและสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทพอลิเอทิลีน (polyethylene: PE), พอลิโพรพิลีน (polypropylene: PP), พอลิสไตรีน (polystyrene: PS) หรือเกิดจากการย่อยสลายของขยะพลาสติกที่ถูกทับถมเป็นเวลานาน และมีการปนเปื้อนสะสมอยู่ในแม่น้ำ ทะเล และมหาสมุทร ทำให้สัตว์น้ำกินเข้าไปและเกิดการส่งต่อในห่วงโซ่อาหาร ปัจจุบันการศึกษาเรื่องไมโครพลาสติกยังไม่แพร่หลายมากนัก เนื่องจากวิธีวิเคราะห์ชนิดไมโครพลาสติกต้องใช้เครื่องมือขนาดใหญ่ เช่น Fourier Transform Infrared Spectroscopy (FTIR) ที่ต้องติดตั้งในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ที่สำคัญต้องนำเข้าจากต่างประเทศ มีราคาแพงหลายล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์สูงถึง 1,000 บาทต่อตัวอย่าง “ทีมวิจัยนาโนเทคนำทีมโดย ดร.จันทร์เพ็ญ ครุวรรณ์ หัวหน้าโครงการ ได้พัฒนาเครื่องตรวจวัดและระบุไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำ มีขนาดเล็ก พกพาง่าย วิธีการใช้งานเพียงนำตัวอย่างไมโครพลาสติกมาย้อมสีด้วย “สีย้อมฟลูออเรสเซนต์-กราฟีนแบบใหม่” ซึ่งสามารถย้อมไมโครพลาสติกและช่วยให้ติดสีมากขึ้นถึง 4 เท่า จากนั้นนำเข้าเครื่องวัดฯ แสงยูวีจะกระตุ้นไมโครพลาสติกให้เกิดการเรืองแสงเป็นเฉดสีตามชนิดพลาสติก เนื่องจากพลาสติกแต่ละชนิดมีความเป็นขั้วต่างกัน (polarity) ทำให้เห็นสีย้อมต่างกันจึงใช้สีระบุชนิดไมโครพลาสติกได้”   [caption id="attachment_66886" align="aligncenter" width="700"] ไมโครพลาสติกชนิด PE, PET, PS และ PVC[/caption] [caption id="attachment_66885" align="aligncenter" width="700"] ไมโครพลาสติกชนิด PE, PET, PS และ PVC ที่ผ่านการย้อมสีแล้ว[/caption]   สำหรับขั้นตอนการวิเคราะห์ผล ทีมวิจัยนำเทคโนโลยีแมชีนเลิร์นนิง (Machine Learning) มาสร้างการเรียนรู้ในการจำแนกภาพ (image classification) อัตโนมัติ ทำให้เครื่องวัดฯ ระบุชนิดและปริมาณของไมโครพลาสติกได้อย่างแม่นยำ เช่น พลาสติกชนิด PE, PP, PET, PS และ PVC และที่สำคัญใช้เวลาประมวลผลเพียง 1 นาที   [caption id="attachment_66884" align="aligncenter" width="700"] เครื่องตรวจวัดและระบุไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำ[/caption] [caption id="attachment_66883" align="aligncenter" width="700"] เครื่องตรวจวัดและระบุไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำ[/caption]   นักวิจัยนาโนเทค สวทช. กล่าวว่า จุดเด่นของเครื่องตรวจวัดและระบุไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำ คือ มีขนาดเล็ก เหมาะต่อการตรวจวัดเชิงรุกในพื้นที่ ทำให้ทราบถึงแหล่งขยะพลาสติกที่เป็นต้นตอของไมโครพลาสติกได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญคือเป็นเทคโนโลยีที่ประดิษฐ์ได้เองในประเทศ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งแหล่งน้ำจืด น้ำทะเล และน้ำกร่อย “เครื่องตรวจวัดและระบุไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำที่พกพาได้สะดวก ตรวจง่าย และมีต้นทุนต่ำ จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ตรวจตัวอย่างได้เพิ่มขึ้นและรวดเร็ว ทำให้ทราบว่าไมโครพลาสติกที่พบในแต่ละพื้นที่มีต้นตอมาจากพลาสติกชนิดไหน เช่น ขวดน้ำที่ทำจากพลาสติก PET แก้วน้ำที่ทำจากพลาสติก PP หรือ PS ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนลดปริมาณขยะพลาสติกที่เป็นสาเหตุของการเกิดไมโครพลาสติกได้มากขึ้น ช่วยเพิ่มการเฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัยและคุณภาพน้ำ รวมถึงลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตได้อย่างยั่งยืน”     ปัจจุบันนวัตกรรมเครื่องตรวจวัดและระบุไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำได้ยื่นจดสิทธิบัตร และนำไปสาธิตใช้งานที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน จังหวัดภูเก็ต รวมทั้งเปิดให้ผู้สนใจรับถ่ายทอดเทคโนโลยีและนำไปใช้ประโยชน์ในการตรวจวัดคุณภาพน้ำ หรือใช้ในกระบวนการควบคุมปริมาณไมโครพลาสติกในพื้นที่ต่าง ๆ   [caption id="attachment_66888" align="aligncenter" width="700"] ภาพบรรยากาศการลงพื้นที่[/caption] [caption id="attachment_66887" align="aligncenter" width="700"] ไมโครพลาสติกจากตัวอย่างน้ำทะเล จ.ภูเก็ต[/caption]   ผู้ที่สนใจสามารถติดตามนวัตกรรม เครื่องตรวจวัดและระบุไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำ ได้ในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 20 (NAC2025) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-28 มีนาคม 2568 ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ภายในงานยังมีงานสัมมนาวิชาการที่น่าสนใจถึง 40 หัวข้อ และมีนิทรรศการที่จัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมจาก สวทช. และหน่วยงานพันธมิตรกว่า 100 บูท ดูรายละเอียดและลงทะเบียนร่วมงานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายที่ www.nstda.or.th/nac/  หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2564 8000 เรียบเรียงโดย วัชราภรณ์ สนทนา ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช. อาร์ตเวิร์กโดย ฉัตรทิพย์ สุริยะ ฝ่ายผลิตสื่อสมัยใหม่ สวทช. อินโฟกราฟิกโดย ภัทรา สัปปินันทน์ ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช.
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
นานาสาระน่ารู้
 
บทความ
 
ผลงานวิจัยเด่น
 
Next-Gen Thai Automotive & Parts เจาะลึกการปรับตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กับเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนยุคใหม่
🚗⚡ NEXT-GEN THAI AUTOMOTIVE & PARTS ⚡🚗 งานสัมมนาใหญ่แห่งปี! เจาะลึกการปรับตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กับเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนยุคใหม่ 📅 วันที่: 2 เมษายน 2025 🕘 เวลา: 09:00-15:30 น. 📍 สถานที่: ห้อง SAPPHIRE 203 ชั้น 2 IMPACT FORUM 🎟 ลงทะเบียนฟรี! (รับเพียง 150 ท่านเท่านั้น) 🔹 พบกับ Highlight Sessions เชื่อมโยงอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยกับเทคโนโลยีใหม่ 🔹 แนวทางสนับสนุนผู้ประกอบการ ผ่านโครงการ ITAP, NIA, UPP 🔹 How to Catch the Train: ไทยจะก้าวทันยานยนต์สมัยใหม่ได้อย่างไร? 📌 ลงทะเบียนได้ที่: https://forms.office.com/r/u5CpiCYh8y?origin=QRCode&qrcodeorigin=presentation 📞 สอบถามเพิ่มเติม: EV_TECE@nstda.or.th หรือโทร 02-564-7000 ต่อ 7167 #EVThailand #AutomotiveInnovation #MotorShow2025 #NextGenAutomotive
ปฏิทินกิจกรรม
 
สวทช. โดยนาโนเทค – สอวช. จับมือเดินหน้าแผนที่นำทางนาโนเทคโนโลยี ขับเคลื่อน วทน.ไทย
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ลงนามความร่วมมือโครงการจัดทำ “แผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนานาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย พ.ศ. 2569 – 2573” ส่งเสริมการขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ของประเทศ และสร้างเครือข่ายด้านนาโนเทคโนโลยี นำร่อง 4 ประเด็นมุ่งเน้น คือ การแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง, พลังงานสีเขียวและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, เกษตรอาหารเพื่อความยั่งยืน และความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยี (Nanosafety) ตั้งเป้ายกระดับผลงานวิจัยสู่การใช้งานจริงในทุกภาคส่วน ศาสตราจารย์ ดร. นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) กล่าวว่า นาโนเทคโนโลยี เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในโครงการจัดทำแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนานาโนเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทย ระหว่าง สวทช. โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ และสอวช. ในวันนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดี ในการทบทวนแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนานาโนเทคโนโลยีของประเทศให้สอดรับกับเป้าหมายและบริบทของระบบ ววน. ในปัจจุบัน ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศ “สำหรับประเทศไทย นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ ระบบ ววน. และใช้เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ในปี 2569 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กว่า 160,000 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ ได้รวมการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุค เชื่อมั่นว่า แผนที่นำทางฉบับนี้ จะเป็นกุญแจสำคัญในการนำพาประเทศไทยไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอย่างแท้จริง และเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมให้ก้าวหน้าเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม” ศาสตราจารย์ ดร. นพ. สิริฤกษ์กล่าว ดร. อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ประเทศไทยได้มีการจัดทำแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนานาโนเทคโนโลยี รวมทั้งสิ้น 3 ฉบับ โดยแผนฯ ฉบับที่ 3 ได้สิ้นสุดลงใน ปี พ.ศ. 2564 ซึ่งดำเนินการจัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) หรือ สอวช. ในปัจจุบัน ร่วมกับศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร ดังนั้น เพื่อให้การวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมด้านนาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย สอดรับกับนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติ ตลอดจนพันธกิจของภาคอุดมศึกษา และสถาบันวิจัย รวมทั้งตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม จึงมีความจำเป็นในการทบทวนทิศทางการวิจัยพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีให้ชัดเจนและทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป “โครงการจัดทำแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนานาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย พ.ศ. 2569 – 2573” มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ ได้แก่ จัดทำแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนานาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย (Thailand Nanotechnology Roadmap) ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2569 – พ.ศ.2573) เพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และเพื่อสร้างเครือข่ายการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมด้านนาโนเทคโนโลยีของประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยงานด้านการวิจัย สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน และภาครัฐ ที่จะช่วยต่อยอดและยกระดับผลงานวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีสู่การใช้ประโยชน์ได้จริงในทุกภาคส่วน “นาโนเทคโนโลยีเป็นเทคโนโลยีแห่งการผลิตในอนาคต และมีศักยภาพในมิติของการเติบโตทางการตลาด แผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนานาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย พ.ศ. 2569 – 2573 ที่จะเกิดขึ้นนี้ คาดหวังว่า จะมีบทบาทสำคัญ สามารถประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย โดยเฉพาะใน 3 อุตสาหกรรมนำร่อง คือ การแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง, พลังงานสีเขียวและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเกษตรอาหารเพื่อความยั่งยืน พร้อมยกระดับผลงานวิจัยสู่การใช้งานจริงในทุกภาคส่วน” ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทค สวทช. เผย ดร. สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวว่า สอวช. มีวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวหน้าอย่างสมดุล พร้อมรับพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก ด้วยนโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ทันสมัยและเป็นรูปธรรม ด้วยบทบาทในการศึกษาวิจัยและจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนา ด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อส่งต่อให้หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมนำไปปฏิบัติ โดยนาโนเทคโนโลยีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศในหลายมิติ “นาโนเทคโนโลยีมีศักยภาพที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ไม่ว่าจะเป็นด้าน Future Food, Semiconductor หรือยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการวิจัยและพัฒนาที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero Green-House-Gas Emissions ซึ่ง สอวช. ยินดีอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกับศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ในการจัดทำแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนานาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย เพื่อให้เกิดการบูรณาการและใช้ประโยชน์จากการวิจัยและพัฒนา ในภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมร่วมกันขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดผลในทางปฏิบัติ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในระดับโลก และช่วยให้ประเทศไทยก้าวพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางได้อย่างยั่งยืน” ดร. สุรชัยชี้
ข่าว
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
ถอดรหัสชีวิต: พลิกโฉมอนาคตสุขภาพด้วย AI และจีโนม
มนุษย์อายุยืนยาวได้ด้วย AI จริงหรือ ? ชวนสัมผัสพลังของ AI และข้อมูลจีโนม ที่จะมาพลิกโฉมวงการสุขภาพและการแพทย์ที่งาน NAC2025 . ขอเชิญร่วมสัมมนา "ถอดรหัสชีวิต: พลิกโฉมอนาคตสุขภาพด้วย AI และจีโนม" ที่จะเปิดประตูสู่แนวคิด สุขภาพเฉพาะบุคคล (Precision Health) ร่วมค้นพบว่าข้อมูลจีโนม (Genomic Data) จะเป็นกุญแจสำคัญในการวางแผนสุขภาพได้อย่างไร พบกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI และจีโนมิกส์ ร่วมกับความเชี่ยวชาญของบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อสร้างแผนการดูแลสุขภาพที่แม่นยำ, มีประสิทธิภาพ, และเหมาะสมกับคุณ ร่วมเจาะลึกเทรนด์การใช้ AI ในการดูแลสุขภาพและการแพทย์แม่นยำ การบริหารจัดการข้อมูล Big Data และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึง เสวนาธุรกิจบริการการแพทย์จีโนมิกส์และการบูรณาการเทคโนโลยี AI โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและเอกชน . Key Highlights AI in Clinical and Genomic Diagnostics: AI เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ AI and Cancer: นวัตกรรม AI กับมะเร็ง AI and Pharmacogenomics (PGx): AI กับการเลือกใช้ยา ธุรกิจบริการการแพทย์จีโนมิกส์และการบูรณาการเทคโนโลยี AI เพื่อยกระดับการให้บริการ . พบกัน 28 มี.ค. 68 | 09:00-12:00 น. ห้อง CC –309 Auditorium อาคาร 14 (CC) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี . ลงทะเบียน https://www.nstda.or.th/nac/2025/seminar/nac-21/ . NAC2025 ยังมีหัวข้อสัมมนา นิทรรศการ Open House ที่เจาะลึกเรื่องราว AI ในหลากหลายมิติรอคุณอยู่ เข้าไปดูรายละเอียดและลงทะเบียนได้เลยที่ https://www.nstda.or.th/nac/ . อย่าพลาดโอกาส... ที่จะได้เจาะลึกเรื่องราวการพัฒนาเทคโนโลยีและ AI ที่ใกล้ตัวคุณกว่าที่คิด ในงาน NAC2025 วันที่ 26 - 28 มีนาคม นี้ . #NAC2025 #AIforSustainableFuture #ขับเคลื่อนไทยด้วยAI #SustainableThailand #NSTDA #สวทช
ปฏิทินกิจกรรม
 
เกษตรกรยโสธรปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ พลิกนาทิ้งว่าง สร้าง ‘รายได้หลักหมื่น’
  ‘จังหวัดยโสธร’ คือหนึ่งใน 5 จังหวัด ที่มีพื้นที่อยู่ใน ‘ทุ่งกุลาร้องไห้’ ดินแดนที่เลื่องชื่อเรื่องร้อนแล้ง แต่กลับเป็นแหล่งผลิต ‘ข้าวหอมมะลิ’ ที่ดีที่สุดของประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่จึงมีอาชีพหลักคือ ‘การทำนา’ โดยเฉพาะ ‘นาอินทรีย์’ ซึ่งเดิมทีหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวแล้ว หากไม่ปล่อยที่นาว่างไว้ เกษตรกรมักจะปลูกพืชตระกูลถั่ว ได้แก่ ถั่วพร้า และปอเทือง เพื่อเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน แต่ในระยะหลังการปลูกพืชตระกูลถั่วเริ่มลดลง เพราะขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดีและผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ต่ำ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมส่งเสริมการเกษตร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และภาคเอกชน โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อดำเนิน “โครงการขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต” เพื่อสนับสนุนเกษตรกรปลูกถั่วเขียวเป็นพืชหลังนา ผ่านการทำงานเชื่อมกับสำนักงานเกษตรจังหวัด ทั้งสิ้น 32 จังหวัด ที่กรมส่งเสริมการเกษตรมีนโยบายส่งเสริมเรื่องการปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นพืชหลังนา โดยโครงการปักธงนำร่องที่ ‘จังหวัดยโสธร’ ซึ่งสอดคล้องนโยบายขับเคลื่อน “ยโสธรเมืองเกษตรอินทรีย์ เมืองแห่งวิถีอีสาน” อีกทั้งยังมีการบรรจุถั่วเขียวเป็น 1 ใน 10 ชนิดสินค้าสำคัญของจังหวัด   ‘ถั่วเขียว KUML’ พืชหลังนาอินทรีย์ตามมาตรฐาน EU ปัจจุบันการรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์ของสหภาพยุโรป (EU) ได้เพิ่มข้อกำหนดใหม่ที่ใช้ในปี 2567 ได้ระบุไว้ว่า “การปลูกพืชล้มลุกต้องมีการปลูกพืชหมุนเวียนที่เป็นพืชตระกูลถั่วในแต่ละปี ส่วนพืชยืนต้นและการปลูกพืชในโรงเรือน ต้องปลูกพืชสดระยะสั้นและพืชตระกูลถั่ว รวมทั้งเพิ่มความหลากหลายของพืช (For annual crop, multiannual crop rotation is required with leguminous crops. For perennial crop and greenhouses, shot-term green manure crop and legume as well as the use of plant diversity is required)” โดยให้กลุ่มผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ต้องปลูกพืชตระกูลถั่วหลังการเก็บเกี่ยวข้าวในสัดส่วน 5% ของพื้นที่เพาะปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ จึงถูกจับตาในฐานะ ‘พืชหลังนาที่มีความสำคัญ’ สำหรับใช้บำรุงดินและสร้างรายได้เพิ่ม ทำให้เกษตรกรมีความสนใจที่จะรับความรู้และเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวแบบครบวงจรให้ได้คุณภาพ รวมถึงผลิตและจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวไว้ใช้เอง เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด และยังสามารถบำรุงดิน ได้รายได้เสริมจากการจำหน่ายผลผลิต และลดต้นทุนการซื้อเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวสายพันธุ์ดี ที่ตลาดมีความต้องการสูง เกิดความยั่งยืนในการผลิตทั้งระบบ   [caption id="attachment_66845" align="aligncenter" width="700"] กฤษณ์ เสาประธาน ประธานสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทา จำกัด จังหวัดยโสธร[/caption]   กฤษณ์ เสาประธาน ประธานสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทา จำกัด ตำบลสามัคคี อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร เล่าว่า สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทาฯ มีสมาชิกมากกว่า 170 ครอบครัว สมาชิกส่วนใหญ่ปลูกข้าวอินทรีย์ และมีพื้นที่ทำนามากถึง 2,000 ไร่ ผลผลิตข้าวของกลุ่มได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในระดับสากล 2 มาตรฐาน คือ IFOAM และ EU “ตามมาตรฐานของ EU หลังทำนาเสร็จ เกษตรกรต้องไถกลบตอซัง ห้ามเผา และต้องปลูกพืชตระกูลถั่ว 5% ของพื้นที่การทำนา ที่ผ่านมาเกษตรกรจะปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว โดยซื้อเมล็ดพันธุ์จากพ่อค้าในท้องถิ่น แต่มักมีปัญหาถั่วหินปน ได้ผลผลิตน้อย เมล็ดเล็ก เวลาขายก็ได้ราคาต่ำ พอ สวทช. เข้ามาส่งเสริมการปลูกถั่วเขียว KUML ซึ่งเป็นถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูงและต้านทานโรค สหกรณ์ฯ จึงสนใจ เพราะนอกจากตอบโจทย์มาตรฐาน EU แล้ว ยังช่วยให้เกษตรมีรายได้เสริมหลังการทำนา ดีกว่าปล่อยที่นาว่างไว้เฉย ๆ”     สวทช. ไม่เพียงสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML แต่ยังลงพื้นที่ร่วมกับ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน และสำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อจัดทำสื่อที่เข้าใจง่าย เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ง่าย และอบรมการปลูกถั่วเขียว KUML แบบครบวงจรให้แก่เกษตรกร “แต่ก่อน เราไม่มีความรู้เรื่องการปลูกถั่วเขียว ก็หว่าน แล้วก็ปล่อยไว้ตามธรรมชาติ รอเก็บเกี่ยว แต่ครั้งนี้ทีมเจ้าหน้าที่ได้เข้ามาอบรมให้ความรู้ว่าการปลูกถั่วเขียวต้องทำอย่างไร อาจารย์ประกิจ สมท่า จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ผู้พัฒนาพันธุ์ถั่วเขียว KUML ช่วยแนะนำวิธีการตั้งแต่การเตรียมดิน ดูว่าดินมีความชุ่มชื้นเพียงพอไหม ก่อนปลูกก็ให้นำเมล็ดถั่วไปคลุกไรโซเบียมก่อน ซึ่งจะช่วยให้ถั่วเขียวต้านทานโรค รากจะมีปม หาอาหารได้เก่งขึ้น ต้นถั่วเขียวแข็งแรงขึ้น ระหว่างปลูกก็ต้องเดินสำรวจโรคแมลงและดึงวัชพืชทิ้ง ที่สำคัญยังสอนการคัดเมล็ดพันธุ์สำหรับเก็บไว้ใช้ปลูกต่อในปีถัดไป”   ถั่วเขียว KUML ฝักใหญ่ น้ำหนักดี มีตลาดรองรับ การขาดแคลน ‘เมล็ดพันธุ์ดี’ ที่ให้ผลผลิตคุ้มค่าแก่การลงทุนลงแรง คือ สาเหตุหลักที่ทำให้เกษตรกรปลูกพืชตระกูลถั่วลดลง แต่เมื่อพวกเขาได้ทดลองปลูกถั่วเขียว KUML แล้ว เกษตรกรส่วนใหญ่ต่างยกนิ้วการันตีว่าผลผลิตคุณภาพดีและอยากปลูกเพิ่ม   [caption id="attachment_66847" align="aligncenter" width="700"] มณี แสงแก้ว เกษตรกร สมาชิกสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทา จำกัด[/caption]   ลุงมณี แสงแก้ว เกษตรกร สมาชิกสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทา จำกัด เล่าว่า เริ่มปลูกถั่วเขียว KUML มาได้ 2 ปีแล้ว ข้อดีคือเมล็ดใหญ่กว่าพันธุ์พื้นบ้าน ฝักยาว ได้ผลผลิตเยอะ พอถั่วเขียวเมล็ดใหญ่ขึ้น ทำให้น้ำหนักดี ถึงปลูกน้อยแต่ก็ขายได้น้ำหนักเยอะ ที่สำคัญคือเติบโตสม่ำเสมอ เก็บเกี่ยวง่ายขึ้น เพราะสุกไล่เลี่ยกัน ปลูกแล้วจะขายใคร ? คือโจทย์ใหญ่ของเกษตร แต่สำหรับถั่วเขียว KUML เกษตรกรแทบไม่ต้องกังวล เพราะ สวทช. ใช้กลยุทธ์ “ตลาดนำการผลิต” เชื่อมตลาดรับซื้อ พร้อมกำหนดมาตรฐานและราคาถั่วเขียว KUML จูงใจไว้ตั้งแต่ต้นทาง     กฤษณ์ เล่าว่า สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทา จำกัด เปิดรับซื้อถั่วเขียว KUML ในราคากิโลกรัมละ 40 บาท ทั้งนี้มีข้อกำหนดว่าต้องเป็นถั่วเขียวพันธุ์ KUML ที่ปลูกในแปลงที่ได้รับรองมาตรฐาน EU หรือ I-FOAM ถึงจะได้ราคานี้ แต่หากเป็นแปลงนาที่ได้รับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อื่น ๆ เช่น PGS จะรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 35 บาท สาเหตุที่รับซื้อถั่วเขียวได้ราคาดี เพราะเรามีลูกค้าที่รอซื้ออยู่แล้ว โดยผลผลิตถั่วเขียวที่รับซื้อมาจะนำมาตากแดดและนำเข้าเครื่องร่อนเพื่อคัดแยกเมล็ดที่มีคุณภาพ ก่อนบรรจุถุงสุญญากาศเพื่อส่งขายให้กลุ่มลูกค้าที่กินเจและอาหารสุขภาพในกรุงเทพฯ ซึ่งตลาดยังมีความต้องการผลผลิตอีกมาก     “ปีที่แล้วมีสมาชิกเริ่มปลูกแล้วนำมาขาย ทำให้มีรายได้เพิ่ม บางคนขายได้เงิน 20,000 บาท หรือ 30,000 บาท จากปกติไม่ได้มีรายได้หลังการทำนาเลย พอเกษตรกรท่านอื่นเห็นว่าปลูกแล้วมีรายได้จริง ก็เริ่มปลูกกันมากขึ้น ซึ่งในปี 2568 นี้ มีจำนวนสมาชิกสหกรณ์ฯ หันมาปลูกถั่วเขียวรวม 80% เกษตรกรที่เหลือบางคนแม้จะอยากปลูก แต่ด้วยสภาพดินที่ไม่พร้อม บางแปลงเป็นดินเหนียว ทำให้ปลูกไม่ได้” “ปลูกถั่วเขียว KUML ดีตรงที่มั่นใจว่าขายได้” ลุงมณีกล่าวเสริมและเล่าว่า แต่ก่อนนี้ปลูกแล้วก็ต้องรอว่าจะขายใคร ไม่ที่ขาย กินเองบ้าง ขายคนในชุมชนบ้าง แต่ตอนนี้เก็บผลผลิตเสร็จส่งขายสหกรณ์ฯ ได้เลย “ถ้าอยากมีรายได้เพิ่มหลังการทำนาก็ต้องมาปลูกถั่วเขียว KUML เพราะมีแหล่งรับซื้อรออยู่แล้ว ขายง่าย และได้เงินง่ายด้วย” ลุงมณีกล่าวย้ำด้วยความมั่นใจพร้อมรอยยิ้ม   ถั่วเขียว KUML พืชมหัศจรรย์ปรุงดินดี มีรายได้ยั่งยืน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตปุ๋ยอินทรีย์และข้าวอินทรีย์บ้านคำครตา ตำบลดงมะไฟ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร เป็นหนึ่งในพื้นที่การส่งเสริมการปลูกถั่วเขียว KUML   [caption id="attachment_66846" align="aligncenter" width="700"] ลัดดา พันธ์ศรี ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตปุ๋ยอินทรีย์และข้าวอินทรีย์บ้านคำครตา จ.ยโสธร[/caption]   ลัดดา พันธ์ศรี ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตปุ๋ยอินทรีย์และข้าวอินทรีย์บ้านคำครตา จ.ยโสธร เล่าว่า กลุ่มของเรามีสมาชิกทั้งหมด 138 ราย ผลิตข้าวอินทรีย์ได้รับรองมาตรฐานของสหภาพยุโรป (EU) และ มาตรฐานระบบอินทรีย์แคนาดา (COR) ซึ่งสิ่งที่จำเป็นมากที่สุดของการทำข้าวอินทรีย์ คือ ‘การบำรุงดินหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว’ “แต่ก่อนนี้หลังทำนา เราปลูกถั่วพร้าและปอเทืองเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน ไม่ได้เสริมสร้างรายได้ กระทั่ง ปี 2567 ได้รู้จักกับ สวทช. ผ่านการแนะนำของบ้านต้นข้าวออร์แกนิก กลุ่มวิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งเป็นเครือข่ายกัน ทำให้ได้เริ่มปลูกถั่วเขียว KUML ข้อดีของถั่วเขียว KUML คือ สุกพร้อมกัน แล้วก็ฝักใหญ่ เมล็ดใหญ่ เวลาเก็บน้ำหนักจะเยอะ ที่สำคัญคือถั่วเขียวเป็นพืชตระกูลถั่วที่ช่วยบำรุงดินให้กับต้นข้าวในฤดูกาลทำนา ดินจะร่วนซุยมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น เมล็ดข้าวที่ได้จะโต หุงแล้วหอม นิ่ม อร่อย เพราะเราไม่ใช้สารเคมีในการผลิตข้าวเลย”   การปลูกถั่วเขียว KUML 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ 5 กิโลกรัม ซึ่งหลังจากหว่านและปั่นกลบแล้ว ระหว่างปลูกหากเจอโรคและแมลงศัตรูพืช หรือแปลงถั่วเขียวมีปัญหา เจ้าหน้าที่ทั้งจาก สวทช. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเกษตรจังหวัดยังคอยเป็น ‘พี่เลี้ยง’ ให้คำแนะนำและแก้ปัญหา “พอถั่วเขียวเริ่มงอก เราก็ต้องหมั่นดูในแปลงว่ามีโรคและแมลงหรือไม่ เช่น ถ้าเจอเพลี้ยอ่อน ก็จะแจ้งเข้าไปในไลน์กลุ่ม ซึ่งเจ้าหน้าที่หน่วยอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดจะคอยดูว่าแปลงถั่วเขียวของสมาชิกท่านใดมีปัญหาบ้าง จากนั้นจะเข้ามาช่วยดูและให้คำแนะนำ เช่น การใช้ชีวภัณฑ์ หรือน้ำหมักชีวภาพ แต่ที่ปลูกมาสมาชิกยังไม่พบปัญหารุนแรงถึงขั้นที่สร้างความเสียหายจนไม่ได้ผลผลิต”     ทุกวันนี้ถั่วเขียว KUML นอกจากเป็นพืชบำรุงดินชั้นดี ยังเป็นถั่วมหัศจรรย์ที่สร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตปุ๋ยอินทรีย์และข้าวอินทรีย์บ้านคำครตาอย่างมาก ลัดดา กล่าวว่า ปีที่แล้วปลูกถั่วเขียว KUML จำนวน 5 ไร่ ได้ผลผลิตถั่วเขียวประมาณ 700 กิโลกรัม เก็บไว้เป็นเมล็ดพันธุ์ 60 กิโลกรัม ที่เหลือขายให้บ้านต้นข้าวออร์แกนิกทั้งหมดในราคากิโลกรัมละ 35 บาท ทำให้มีรายได้เพิ่มประมาณ 20,000 บาท ซึ่งทางต้นข้าวออร์แกนิกจะส่งให้บริษัทข้าวดินดี ที่ทาง สวทช. ได้เชื่อมเป็นตลาดรับซื้อผลผลิตถั่วเขียว KUML ไว้ตั้งแต่แรก แต่หากเราสามารถทำความสะอาดและคัดเมล็ดถั่วเขียวคุณภาพส่งขายบริษัทโดยตรงจะขายได้ในราคากิโลกรัมละ 40 บาท “ปลูกถั่วเขียว KUML มีที่ขายแน่นอน เพราะตลาดยุโรป อเมริกา ยังต้องการผลผลิตอีกมาก ที่สำคัญจังหวัดยโสธรก็มีตลาดรองรับถั่วเขียวเพิ่มขึ้นมาก เรียกว่าเป็นพืชที่จะสร้างรายได้อย่างเป็นมรรคเป็นผลเลย” ถั่วเขียว KUML ที่กำลังออกฝักเต็มผืนนาไม่เพียงเป็นพืชฟื้นฟูดินที่ช่วยขับเคลื่อน ‘ยโสธรสู่เมืองเกษตรอินทรีย์’ แต่ยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่ช่วยยกระดับรายได้ให้ ‘เกษตรกรทุ่งกุลาม่วนซื่น อยู่ดี มีแฮง’ เรียบเรียงโดย วัชราภรณ์ สนทนา ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช. อาร์ตเวิร์กโดย ฉัตรทิพย์ สุริยะ ฝ่ายผลิตสื่อสมัยใหม่ สวทช.
ข่าว
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
บทความ
 
ผลงานวิจัยเด่น
 
Workshop: The Essentials for Food Entrepreneurs: Brand, Business Strategy, and Financial Basic
📢 หากคุณเป็นผู้ประกอบการหรือกำลังเริ่มต้นธุรกิจอาหาร ห้ามพลาด! กับ The Essentials for Food Entrepreneurs: Brand, Business Strategy, and Financial Basic 💡   🚨กิจกรรม workshop ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจอาหาร โดยท่านจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทรนด์แห่งอนาคตที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม การวางกลยุทธ์เพื่อการสร้างแบรนด์ในระดับสากล พร้อมได้ความรู้เบื้องต้นทางด้านการเงินและการลงทุนในธุรกิจอาหาร โดยเรียนรู้ผ่าน Board game ที่สนุกสนาน เพื่อช่วยให้ท่านเข้าใจภาพรวมของธุรกิจได้ง่ายขึ้น ข้อมูลที่ท่านจะได้เรียนรู้ในครั้งนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้ประกอบการอาหารจำเป็นต้องรู้ในการบริหารธุรกิจให้เติบโตและยั่งยืนต่อไป   🎯 Key Highlights ✅Food Innovation Overview นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต ✅Future Food Business Trends ✅ Attitude Trend ค้นหากลุ่มเป้าหมายธุรกิจ ✅ Brand & Business Strategy Preparing for Global Brand ✅กลยุทธ์การงานแผนงบประมาณและงบการเงิน เพื่อเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจอย่างยั่งยืน   📅 วันที่ 6 - 9 พฤษภาคม 2568 📍ณ โรงแรมเบสท์เวสเทิร์น จตุจักร   👉สมัครได้ที่ https://www.nstda.or.th/r/FKZgk 💥ค่าลงทะเบียน 🎉EARLY BIRD (วันนี้ – 28 มีนาคม) 7,000 บาท ✨REGULAR 8,000 บาท   🚩 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 🌏 Facebook : FoodInnopolis 📲 โทรศัพท์ : คุณโชติกา 0619592498 และ คุณกวิสรา 0988426289   แล้วพบกันที่เวิร์กชอปเพื่ออนาคตธุรกิจอาหารของคุณ! 🚀 #Food #Foodtrend #Strategy #คอร์สพัฒนาผู้ประกอบการ รายละเอียด Agenda สำหรับการ Workshop
ปฏิทินกิจกรรม