‘ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ’ ผลิตภัณฑ์ Zero waste จากสวนมะพร้าว

‘ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ’ ผลิตภัณฑ์ Zero waste จากสวนมะพร้าว

“คิดให้ไกล ไปทีละก้าว” คือแนวคิดการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์แบรนด์ We VergiN และ Buppha ของกลุ่มวิสาหกิจเกษตรสวนดอก ต.บางยี่รงค์ อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ที่มีน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเป็นส่วนประกอบหลัก ผลิตภัณฑ์แรกของกลุ่มฯ ที่นำทางไปสู่การจัดการวัสดุเหลือทิ้งในสวนมะพร้าว จากพนักงานบริษัทที่กลับมารับช่วงดูแลสวนมะพร้าวและลิ้นจี่ของพ่อแม่บนพื้นที่ 18 ไร่ บุปผา ไวยเจริญ คิดหาหนทางเพิ่มมูลค่ามะพร้าวจากราคาที่ตกต่ำเหลือลูกละ 3 บาท “ช่วงปี 2555 ราคามะพร้าวตกต่ำมาก จากลูกละ 15 บาท เหลือลูกละ 3 บาท จะทำยังไงได้บ้างที่จะเพิ่มมูลค่าได้ จนได้ไปดูงานการแปรรูปมะพร้าวและได้แนวคิดกลับมาผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น” บุปผา นำเทคนิคที่ได้จากการดูงานมาผสมผสานกับภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ใช้กรรมวิธีไม่ผ่านความร้อน ทำให้ได้น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นแบบบริสุทธิ์ที่คงสารสำคัญไว้มากสุด และกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างดี เธอจึงต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยมีน้ำมันมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลัก อาทิ

โคขุน ขุนโค สร้างอาชีพที่ชายแดนใต้

โคขุน ขุนโค สร้างอาชีพที่ชายแดนใต้

“โค” เป็นส่วนหนึ่งในวิถีการดำเนินชีวิตของพี่น้องในสามจังหวัดชายแดนใต้ ชาวบ้านนิยมเลี้ยงโคพื้นเมืองเพื่อบริโภคในชีวิตประจำวันและใช้บริจาคทานในช่วงเทศกาลรอมฎอน หรือที่เรียกว่า วัวบุญ ซึ่งทำให้ความต้องการโคมีสูงมาก จึงมีโคจากที่ต่างๆ ส่งมาขายในพื้นที่และที่นี่จึงเป็นตลาดโคที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศก็ว่าได้ เมื่อปริมาณความต้องการโคในพื้นที่มีมาก แต่เม็ดเงินจากการซื้อขายโคกลับไม่หมุนเวียนถึงเกษตรกรในพื้นที่ จึงมีความพยายามของหลายหน่วยงานที่จะสนับสนุนและยกระดับการเลี้ยงโคให้เป็นอาชีพหลักในพื้นที่นี้ ผศ.ดร.จักรพันธ์ พิชญพิพัฒน์กุล คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เล่าว่า วิถีการเลี้ยงโคในพื้นที่ยังเลี้ยงแบบดั้งเดิม คือปล่อยให้โคหากินตามสวนหรือพื้นที่ว่างเปล่า การพัฒนาการเลี้ยงแบบจริงจังในเชิงธุรกิจหรือยกระดับให้เป็นอาชีพหลัก จึงต้องให้ความรู้เกษตรกรและมีช่องทางตลาดที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้เกษตรกรได้ ผศ.ดร.จักรพันธ์ พิชญพิพัฒน์กุล มาหะมะนาเซ และฆาเยาะ หรือ ฎอน นั่นจึงเป็นที่มาของ สหกรณ์โคเนื้อมือนารอ ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2561 เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาเลี้ยงโคพันธุ์ลูกผสมมากขึ้น นอกจากสหกรณ์ฯ รับซื้อ ชำแหละ จำหน่ายและแปรรูปเนื้อโคแล้ว สหกรณ์ฯ ยังเป็นแหล่งความรู้การเลี้ยงโคพันธุ์ลูกผสมและการขุนโคให้ได้คุณภาพ รวมถึงเป็นแหล่งวัตถุดิบอาหารโคคุณภาพให้สมาชิก “ตอนเริ่มต้นตั้งสหกรณ์ฯ มีสมาชิก

‘กล้า’ สร้างสุข กับ ‘สุขใจฟาร์ม’

‘กล้า’ สร้างสุข กับ ‘สุขใจฟาร์ม’

คงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครสักคนที่ใช้ชีวิตท่ามกลางแสงสี เสียงและเงินทองในเมืองกรุงมาค่อนชีวิต จะหันหลังให้ความสุขสนุกแล้วมาลงแรงปลูกผักที่บ้านเกิด ที่แวดล้อมด้วยแสง สีและเสียงของธรรมชาติ สุขใจ คือชื่อเล่นของ ภัทราพล วนะธนนนท์ ที่แม่ตั้งให้ด้วยหวังให้ชีวิตลูกมีความสุข จากเด็กน้อยที่เติบโตในชุมชนเล็กๆ ของต.วังทรายคำ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง ก่อนไปใช้ชีวิตในเมืองเชียงใหม่และโลดแล่นในวงการบันเทิงที่กรุงเทพฯ  พลิกชีวิตช่วงวัยกลางคนสู่อาชีพ “เกษตรกร” ที่ไม่มีใครคิดว่าเขาจะทำได้ เพียง 3 ปีบนเส้นทาง “เกษตรอินทรีย์” ผลผลิตคุณภาพของ ‘สุขใจฟาร์ม’ เดินทางสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และยังสร้างโอกาสให้กลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการ จากประสบการณ์การทำงานในฐานะผู้จัดการร้านถ่ายภาพที่จับงานเองทุกขั้นตอนกว่า 8 ปี นำทางสู่สายงานภาพยนตร์กับบริษัทดังในหน้าที่จัดหานักแสดง ทิ้งทวนชีวิตวงการมายาด้วยบทบาทผู้กำกับภาพยนตร์ก่อนกลับคืนถิ่นที่บ้านเกิด “เราทำงานในวงการบันเทิงห้อมล้อมด้วยแสงสี ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย กินดื่มเที่ยวสารพัด ไม่ได้ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีพอ พอเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาล ไม่มีใครดูแลเราเลย คนที่ดูแลเราคือแม่และคนในครอบครัว

ข้าวพื้นเมืองใต้…สำคัญอย่างไร

ข้าวพื้นเมืองใต้…สำคัญอย่างไร

ภาคใต้ถือได้ว่ามี “ข้าวพันธุ์พื้นเมือง” ที่หลากหลายแห่งหนึ่งของไทย ซึ่งศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวพัทลุงได้เคยรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ไว้ได้ถึง 162 สายพันธุ์ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ทำให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวในภาคใต้หรือแม้แต่จำนวนชาวนาลดน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลต่อการมีอยู่ของสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองใต้ได้ เวทีเสวนา “ข้าวพื้นเมืองใต้ …สำคัญอย่างไร” ในงาน ‘เสริมแกร่งชาวนาสงขลา’ ด้วย ‘วิถีวิทย์’ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563 ณ ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา จึงได้ชวนนักวิชาการมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องพันธุ์ข้าวพื้นเมืองใต้และหนทางการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง เป็นแนวทางต่อลมหายใจพันธุ์ข้าวพื้นเมืองใต้ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ข้าวพื้นเมือง มรดกทางวัฒนธรรม “ข้าวไทยและพันธุกรรมมีความสำคัญในแง่เดียวกับศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เพราะเป็นสิ่งที่อยู่บนแผ่นดินไทย ได้รับการคัดเลือกและสร้างสรรค์จากบรรพบุรุษ” ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ให้มุมมองถึงความสำคัญของข้าวพื้นเมือง อาจารย์ภัทรพร ฉายภาพข้าวพื้นเมืองของประเทศไทยว่า

เสริมแกร่งชาวนา ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี

เสริมแกร่งชาวนา ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี

เพราะเมล็ดพันธุ์ข้าว ไม่เพียงเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ หากยังเป็นปัจจัยที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพให้ผลผลิตอีกด้วย การเรียนรู้และทำความเข้าใจเมล็ดพันธุ์จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ชาวนาไม่ควรมองข้าม “หัวใจสำคัญของเมล็ดพันธุ์คือ ต้องมีสิ่งที่มีชีวิตที่เรียกว่า ต้นอ่อน (embrio) มีเนื้อแป้งข้าวและเปลือก ถ้าไม่มีต้นอ่อน จะไม่เป็นเมล็ดพันธุ์ จะเรียกว่า ข้าวเปลือก” ดร.กัญญณัช ศิริธัญญา ผู้เชี่ยวชาญการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว อธิบายความแตกต่างของเมล็ดพันธุ์และข้าวเปลือก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นความรู้การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ได้ถูกต้อง การใช้เมล็ดพันธุ์ดีทำให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ เนื่องจากใช้ในปริมาณน้อยกว่าเมล็ดพันธุ์ทั่วไป ลดต้นทุนการผลิต เพราะผ่านการคัดเลือกรวงที่สมบูรณ์แล้ว จึงลดเชื้อโรคและการใช้สารเคมีกำจัดโรค ผลผลิตสูง และทำให้กำไรต่อพื้นที่มากกว่า แล้วจะได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีได้อย่างไร จำเป็นต้องรู้จัก “ชั้นเมล็ดพันธุ์” เพื่อรู้ที่มาและการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ ซึ่งชั้นเมล็ดพันธุ์ประกอบด้วย เมล็ดพันธุ์คัด (breeder seed) เป็นชั้นเมล็ดพันธุ์สำหรับนักปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งชาวนาสามารถเป็นนักปรับปรุงพันธุ์ได้ โดยเฉพาะในภาคใต้ซึ่งใช้ “แกระ” เป็นเครื่องมือเก็บเกี่ยวที่สามารถคัดเลือกรวงสมบูรณ์ ถูกต้องตามพันธุ์ เมล็ดพันธุ์หลัก

ก้าวทันสมาร์ทเทคโนโลยีที่สถานีเรียนรู้ “โรงเรือนอัจฉริยะ”

ก้าวทันสมาร์ทเทคโนโลยีที่สถานีเรียนรู้ “โรงเรือนอัจฉริยะ”

“ตื่นเต้น รู้สึกว่าเท่ แปลกใหม่ โรงเรือนที่เคยเห็นก็ธรรมดา ไม่มีเทคโนโลยี” มายด์-สุภนิดา นามโบราณ นักเรียนทวิศึกษาสาขาเกษตรนวัต โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ โรงเรียนวังจันทร์วิทยา เล่าถึงความรู้สึกแรกที่ได้รู้จักโรงเรือนอัจฉริยะ “โรงเรือนอัจฉริยะ” คือโรงเรือนปลูกพืชที่ติดตามและควบคุมสภาวะแวดล้อมภายในโรงเรือน ได้แก่ อุณหภูมิอากาศ ความชื้นอากาศ ความเข้มแสง และความชื้นดิน โดยใช้ชุดเซนเซอร์และระบบควบคุมการให้น้ำและปุ๋ยอัตโนมัติตามความต้องการของพืช สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ติดตั้งโรงเรือนอัจฉริยะ ณ ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ จ.ระยอง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดระยองและใกล้เคียง ขณะเดียวกันยังเป็นหนึ่งในหัวข้อเรียนรู้ของนักเรียนหลักสูตร “เกษตรนวัต” อีกหนึ่งโครงการความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ในภาคเรียนแรกของปีการศึกษา 2562 เหล่านักเรียนเกษตรนวัตจำนวน 21 คน ใช้เวลาช่วงบ่ายในแต่ละวันเรียนรู้เรื่องพืช

Low profile High performance เลือกเครื่องมืออย่างฉลาด เพิ่มมูลค่าผลผลิต

Low profile High performance เลือกเครื่องมืออย่างฉลาด เพิ่มมูลค่าผลผลิต

เส้นทางสายเทคโนโลยีเกษตรของ สุวิทย์ ไตรโชค จากลูกชาวนาสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) ผู้บุกเบิกการปลูกเมล่อนของประเทศไทย ด้วยปริมาณผลผลิตปัจจุบันกว่า 150 ตันต่อปี “เกษตรกรคืออาชีพที่ถูกเอาเปรียบที่สุด ลูกข้าราชการเบิกค่าเรียนได้ แต่ลูกเกษตรกร รายได้ก็น้อยแล้วยังต้องหาเงินเรียนเอง” ความหลื่อมล้ำที่เป็นแรงผลักดันที่ทำให้ สุวิทย์ มุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตอาชีพเกษตรกรด้วยการทำเกษตรอย่างมีคุณภาพ เพื่อเป็นผู้กำหนดราคาตลาดได้เอง เส้นทางสายเกษตรของ สุวิทย์ เริ่มต้นจากการเป็นวิศวกรบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ด้วยมองว่าเป็นอาชีพที่มีรายได้ดี ซึ่งเป็นทุนสำคัญสำหรับการทำเกษตร รายได้ทั้งหมดจากงานประจำไปลงกับการทดลองและศึกษาหาความรู้ “ช่วงที่เป็นวิศวกร ผมใช้เงินประหยัดมาก ทั้งแผนกมีคนที่ใช้เงินน้อยกว่าผมแค่คนเดียว คือพนักงานทำความสะอาด ที่ผมแพ้เขาเพราะผมต้องไปซื้อข้าวกิน แต่เขาห่อข้าวมาจากบ้าน” พืชชนิดแรกที่ สุวิทย์ ลงมือปลูก คือ พืชผักสวนครัว แต่ไม่สร้างรายได้มากนัก ขณะเดียวกันการทำงานสายการบิน

รู้จักและรู้ใช้ IoT …ก้าวสำคัญของเกษตรกรไทย

รู้จักและรู้ใช้ IoT …ก้าวสำคัญของเกษตรกรไทย

“เทคโนโลยี IoT (Internet of Thing) ไปได้ทุกสายงาน จะทำสมาร์ทโฮม สมาร์ทอินดัสเทรียลก็ได้ แต่ผมมองว่าพื้นฐานของประเทศไทย คือ เกษตร ทำอย่างไรให้เกษตรกรรู้จัก IoT แล้วเอาไปใช้ประโยชน์” ด้วยความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศบวกกับความสนใจส่วนตัวในเรื่องเกษตร ทำให้ ผศ.ว่าที่ ร.ต.ภูมินทร์ ฮงมา คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม ไม่รีรอที่จะสมัครเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ “ระบบเซนเซอร์ไร้สายสำหรับการติดตามสภาวะแวดล้อมในฟาร์มเพื่อการควบคุมและบริหารจัดการ” ของ สวทช. เมื่อปี 2560 “ช่วงนั้นเรื่อง IoT มาแรง ผมก็ซื้ออุปกรณ์ที่มีขายตามท้องตลาดมาลอง แต่ไม่ค่อยเสถียร ถ้าอยากได้ของดี ราคาก็แพงมาก ก็มีคำถามว่าแล้วของไทยไม่มีเหรอ จนได้มาอบรมและรู้ว่ามี TMEC ของ สวทช. ที่ทำเซนเซอร์วัดความชื้นดินขึ้นเอง

“ข้อมูล” อาวุธสำคัญของเกษตรยุคใหม่

“ข้อมูล” อาวุธสำคัญของเกษตรยุคใหม่

ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ “ไร่เพื่อนคุณ ผักและผลไม้ไร้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 100%” ริมถนนโชคชัย-เด่นอุดม อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เชื้อชวนให้คนรักสุขภาพแวะจับจ่ายผลผลิต ภายในพื้นที่ 26 ไร่ถูกจัดสรรเป็นโรงเรือนเพาะปลูก 48 โรงเรือนที่หมุนเวียนปลูกพืชหลักอย่างเมล่อนและแตงโม สลับกับพืชผักอย่างถั่วฝักยาว คะน้า กวางตุ้ง แตงกวา ขณะที่ด้านหน้ามีห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพพืชผัก ห้องประชุม ร้านค้าและร้านอาหาร “ไร่เพื่อนคุณ” ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2558 โดย มงคล สุระสัจจะ อดีตข้าราชการที่เห็นปัญหาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ การกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง รวมถึงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เขาจึงตั้งใจที่จะใช้ชีวิตหลังเกษียณทำศูนย์เรียนรู้ให้เกษตรกร โดยยึดแนวทางสำคัญ “3 ปลอดภัย 3 เอาชนะ” คือ เกษตรกรปลอดภัย สิ่งแวดล้อมปลอดภัย ผู้บริโภคปลอดภัย และเอาชนะกลไกตลาด