ชีวนวัตกรรมผสานภูมิปัญญา สร้างคุณค่า “หม้อห้อมโบราณ”

ชีวนวัตกรรมผสานภูมิปัญญา สร้างคุณค่า “หม้อห้อมโบราณ”

“ชีวนวัตกรรมเป็นองค์ความรู้ใหม่ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ช่วยต่อยอดภูมิปัญญาการผลิตห้อมตั้งแต่การปลูก ก่อหม้อ การย้อม และได้ผลิตภัณฑ์ที่ขายได้จริง” -รศ.ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย- บ้านทุ่งโฮ้ง ต.ทุ่งโฮ้ง อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ เป็นแหล่งผลิต “ผ้าหม้อห้อม” ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ อีกทั้งยังเป็นผ้าพื้นเมืองของชาวแพร่ที่มีอัตลักษณ์ ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นและเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของจังหวัด จากวิถีการย้อมห้อมแบบโบราณที่ใช้กิ่งและใบห้อมหมักในหม้อ ใช้เวลาย้อมหลายวันกว่าสีจะติดทนและสวยงาม เมื่อความนิยมผ้าหม้อห้อมมากขึ้น การผลิตให้ทันตามความต้องการตลาดจึงปรับเปลี่ยนมาใช้สีเคมี ต้นทุนถูกลงและใช้เวลาผลิตรวดเร็วกว่า “เราคนรุ่นเก่าก็หันมาใช้เคมีเหมือนกัน แต่พอทำไปสักระยะก็มาคิดว่าวิธีการย้อมห้อมแบบธรรมชาติตามภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษสั่งสมมา แทบจะไม่หลงเหลือให้เห็น เราต้องกลับมาเป็นผู้อนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งเหล่านี้ให้คงอยู่ ให้ลูกหลานได้เห็น ได้ภูมิใจ” วิภา จักรบุตร รองประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าย้อมหม้อห้อมโบราณ บอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นการกลับมาอนุรักษ์การผลิตผ้าหม้อห้อมโบราณ และเป็นที่มาของการรวมกลุ่มสมาชิกเมื่อปี พ.ศ. 2561 ในช่วงแรกกลุ่มฯ ซื้อ “ต้นห้อมสด” เพื่อนำมาทำเปอะสำหรับย้อมจากบ้านนาคูหา ต.สวนเขื่อน อ.เมือง

ยกระดับ “ผ้าทอฝ้ายสามสี” ของดีบ้านก้อทุ่ง ด้วยนวัตกรรม

ยกระดับ “ผ้าทอฝ้ายสามสี” ของดีบ้านก้อทุ่ง ด้วยนวัตกรรม

สวทช. ช่วยผลักดันให้กลุ่มฯ เป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องฝ้ายธรรมชาติ สมาชิกมีอาชีพและฝ้ายสามสีบ้านก้อทุ่งเป็นที่รู้จัก -กัลยาณี รุ่นหนุ่ม- “เราคือผู้ปลูกฝ้าย ทอผ้าฝ้าย และจัดจำหน่ายด้วยภูมิปัญญาของคนในชุมชนก้อ ทุกกระบวนการผลิตเราใส่ใจ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสิ่งที่มีคุณค่า และผ้าฝ้ายทอมือที่ดีที่สุด” วิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพผู้สูงอายุบ้านก้อทุ่ง ต.ก้อ อ.ลี้ .ลำพูน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2557 จากแรงบันดาลใจของ กัลยาณี รุ่นหนุ่ม หรือ ป้าติ๋ม อดีตครูที่ตั้งใจกลับมาพัฒนาบ้านเกิด เมื่อเห็นผู้สูงอายุในหมู่บ้านเพิ่มจำนวนมากขึ้นและไม่มีอาชีพ ป้าติ๋ม จึงชักชวนผู้สูงอายุมาทอผ้า โดยใช้โรงเรียนร้างที่ต่อมาชุมชนได้ร่วมกันทอดผ้าป่าหาทุนซ่อมแซมปรับปรุง จนกลายเป็นพื้นที่ใช้สอยร่วมกันของชุมชนและเป็นแหล่งทอผ้าของกลุ่มฯ “กลุ่มฯ เริ่มต้นทอผ้าจากฝ้ายย้อมสีเคมี ก็ทำไปแบบสะเปะสะปะ เราก็สู้แหล่งผลิตใหญ่ๆ ไม่ได้ ป้าก็เริ่มคิดหาวิธีจะทำยังไงให้กลุ่มฯ อยู่ได้และพึ่งตัวเองได้ ก็ลองไปเข้าอบรมกับหน่วยงานต่างๆ หลายครั้ง เอาความรู้จากหลายๆ ที่มาปรับใช้

“ทากิริ” ผ้าทอมือสร้างสมดุลธรรมชาติด้วยความรู้ สะท้อนภูมิปัญญาชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยยาว

“ทากิริ” ผ้าทอมือสร้างสมดุลธรรมชาติด้วยความรู้ สะท้อนภูมิปัญญาชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยยาว

แบรนด์ทากิริ เราตระหนักถึงทรัพยากรที่ใช้ไป เราสร้างสมดุลระหว่างธรรมชาติ ป่าและวิถีชีวิตให้ได้มากที่สุด เพราะเรารู้ดีว่าป่าคือ ชีวิต คือ วิถีชีวิตของพวกเราชาวกะเหรี่ยง -กิติพันธ์ ด่านวนาศรี- “การนำพืชมาใช้ประโยชน์ เราต้องให้ความรู้ชาวบ้านด้วยว่าจะใช้เฉพาะส่วนที่ใช้สีได้ ถากต้นไม้อย่างไรไม่ให้บอบช้ำมากและต้องรักษาแผลต้นไม้อย่างไร เพื่อให้เขาคงอยู่กับธรรมชาติต่อไป ไม่ใช่ตัดโค่นมาทั้งต้น “แบรนด์ทากิริ’ เราตระหนักถึงทรัพยากรที่ใช้ไป เราจะปลูกพืชให้สีในแปลงปลูกของเราเพื่อทดแทนและส่งเสริมการปลูกในพื้นที่ป่า สร้างสมดุลระหว่างธรรมชาติ ป่าและวิถีชีวิตให้ได้มากที่สุด เพราะเรารู้ดีว่าป่าคือ ชีวิต คือ วิถีชีวิตของพวกเราชาวกะเหรี่ยง” กิติพันธ์ ด่านวนาศรี แกนนำกลุ่มผ้ากะเหรี่ยงบ้านดอยยาว ต.ทากาศ อ.แม่ทา จ.ลำพูน บอกถึงจุดยืนของ “ทากิริ” แบรนด์ผ้าทอมือของกลุ่มฯ ทากิริ (TAKIRI) เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า ลาย ที่ครอบคลุมถึงลายผ้าทอ ลายผ้าปัก

Aqua-IoT ตัวช่วยฟาร์มกุ้ง เลี้ยงรอด ได้คุณภาพ ลดต้นทุน

Aqua-IoT ตัวช่วยฟาร์มกุ้ง เลี้ยงรอด ได้คุณภาพ ลดต้นทุน

เราต้องเอาสิ่งที่เกิดขึ้นมาวิเคราะห์สาเหตุ ทำไมค่าตัวเลขจึงสูง แล้วแก้ปัญหา เพราะการอยู่กับสัตว์น้ำ สิ่งสำคัญคือ การแก้ปัญหาต้องไว -พัชรินทร์ จินดาพรรณ- การเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจอย่างกุ้งหรือปลาให้ได้คุณภาพ ต้องอาศัยการดูแลและบริหารจัดการฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ซึ่งการอยู่รอดของสัตว์น้ำยังสะท้อนถึงความอยู่รอดของเกษตรกรผู้เลี้ยงด้วยเช่นกัน จงกล ผลวงษ์, ภูมิพจน์ ต่อชีวี และพัชรินทร์ จินดาพรรณ ต่างคลุกคลีในแวดวงการเลี้ยงกุ้งมานานกว่า 20 ปี ตั้งแต่สมัยที่นิยมเลี้ยงกุ้งกุลาดำจนปรับเปลี่ยนเป็นกุ้งขาวในปัจจุบัน การเลี้ยงสัตว์น้ำไม่ว่าชนิดใด คุณภาพน้ำส่งผลต่อความแข็งแรงและสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ ซึ่งคุณภาพน้ำมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์เชื่อมโยงกันทั้งสภาพอากาศเหนือบ่อเลี้ยงและสภาพแวดล้อมในน้ำ “ค่า ph ค่า DO ในน้ำที่เปลี่ยนแปลง ทำให้กุ้งเครียดได้ เมื่อกุ้งเครียด ภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอ เชื้อโรคก็จู่โจม” พัชรินทร์ จินดาพรรณ นายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทยและเจ้าของลูกกระต่ายฟาร์ม จ.จันทบุรี บอกถึงคุณภาพน้ำที่ส่งผลต่อการเกิดโรคในกุ้งได้ pH

ระบบให้น้ำอัจฉริยะสำหรับพืชแปลงเปิด ยกระดับสวนทุเรียนไทย

ระบบให้น้ำอัจฉริยะสำหรับพืชแปลงเปิด ยกระดับสวนทุเรียนไทย

สมัยนี้เป็นยุคนวัตกรรม เป็นยุคของคนรุ่นใหม่ เรามีที่ดินอยู่แล้ว เอาเทคโนโลยีมาช่วยทำสวน คนรุ่นใหม่จะได้อยากทำสวนมากขึ้น -ชาลี จันทร์แสง- สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ดำเนินโครงการ “การขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยี Smart farm ด้านการเกษตร กลุ่มไม้ผลภาคตะวันออก ผู้ปลูกทุเรียน พื้นที่จังหวัดระยอง” โดยร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดระยองขยายผลการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะใน 30 จุด ใน 5 อำเภอของจังหวัดระยอง ได้แก่ อำเภอแกลง อำเภอเขาชะเมา อำเภอวังจันทร์ อำเภอเมืองระยอง และอำเภอบ้านค่าย เพื่อให้เกษตรกรนำไปประยุกต์ใช้บริหารจัดการแปลงทุเรียนได้อย่างแม่นยำ สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้พื้นที่และเป็นต้นแบบการทำเกษตรสมัยใหม่ให้พื้นที่อื่นๆ ต่อไป ชาลี จันทร์แสง เกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด (สาขาสวนผลไม้) และ ปรีชา กาละวัย อดีตโปรแกรมเมอร์บริษัทเอกชน

ปลูก ‘มะยงชิดคุณภาพ’ ให้ ‘สมาร์ทเทคโนโลยี’ เป็นตัวช่วย

ปลูก ‘มะยงชิดคุณภาพ’ ให้ ‘สมาร์ทเทคโนโลยี’ เป็นตัวช่วย

“เทคโนโลยีช่วยทุ่นเวลาและให้ความรู้” คำตอบสั้นๆ จาก ฉัตรชนก ทองเรือง หรือ ลุงแดง วัย 59 ปี เจ้าของสวนมะยงชิด “ทองเรือง” เมื่อพูดถึง เทคโนโลยีการให้น้ำอัจฉริยะสำหรับพืชแปลงเปิด ที่เขาได้คลุกคลีมาเกือบ 2 ปี “มะยงชิด” เป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดนครนายกและเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของจังหวัด ซึ่งสวนทองเรือง แห่งนี้เป็นแหล่งผลิตมะยงชิดพันธุ์ทูลเกล้าที่คว้ารางวัลการประกวดมานับไม่ถ้วน ผลผลิตของสวนเฉลี่ยปีละ 2 ตัน ถูกจับจองล่วงหน้าและจำหน่ายที่หน้าสวนเท่านั้น ในราคากิโลกรัมละ 350-400 บาท ด้วยความชอบรสชาติที่หวานและหอมกรอบของมะยงชิด ทำให้ ลุงแดง หันมาปลูกมะยงชิดอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2535 เรียนรู้ สังเกต จดบันทึกการปลูกและพัฒนาการปลูกมะยงชิดของตนเอง จนได้ผลผลิตที่ “รสชาติหวาน

รู้ใช้ ‘ข้อมูลสภาวะแวดล้อม’ ทำสวนทุเรียนได้ ‘ประหยัด ปลอดภัย’

รู้ใช้ ‘ข้อมูลสภาวะแวดล้อม’ ทำสวนทุเรียนได้ ‘ประหยัด ปลอดภัย’

“ทำให้รู้สภาพอากาศสวนของเราเป็นอย่างไร แล้วก็ประหยัดและปลอดภัย” คำบอกเล่าจาก นัทธี สุวรรณจินดา เกษตรกรรุ่นใหม่ เมื่อพูดถึง ระบบตรวจวัดด้วยเซนเซอร์แบบเครือข่ายไร้สายเพื่อการจัดการและควบคุมอัตโนมัติ หรือ ไวมาก (WiMaRC) “สมัยพ่อแม่ทำสวนอาศัยประสบการณ์จัดการแปลง อย่างช่วงพฤศจิกายนลมหนาวเริ่มมา จะอดน้ำทุเรียนเพื่อให้ทุเรียนออกดอก แต่บางปีก็ไม่เป็นตามนั้น ถ้าอากาศไม่ได้ ก็ต้องอดน้ำทุเรียนจนใบเหลือง ถ้าไม่หนาวก็ต้องรดน้ำ” นัทธี เล่าถึง “การคาดเดาสภาพอากาศไม่ได้” ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งที่คนทำสวนทุเรียนประสบ นัทธี เบนเข็มจากอาชีพครูมาช่วยพ่อแม่ทำสวนทุเรียน “สุวรรณจินดา” ได้ราว 10 ปี ด้วยเป็นคนรุ่นใหม่ที่เข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่าย เขาจึงหาข้อมูลสภาพอากาศจากแหล่งอื่นๆ นอกเหนือจากข้อมูลสภาพอากาศจากหน่วยงานรัฐที่ชาวสวนคุ้นเคย เพื่อมาช่วยตัดสินใจจัดการสวนทุเรียนพื้นที่ 30 ไร่ของครอบครัว “ข้อมูลจากเว็บไซต์อากาศหรือจากเฟซบุ๊กมีมากขึ้น ดูง่ายและดูผ่านมือถือได้ ทำให้เรารู้ว่าต้องเตรียมสวนอย่างไร อย่างรู้ว่าอาทิตย์หน้าอากาศจะเริ่มหนาว เราจะต้องตัดแต่งกิ่งในทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ย

จากถิ่น คืนถิ่น …เมื่อเมล็ดพันธุ์งอกงามในชุมชน

จากถิ่น คืนถิ่น …เมื่อเมล็ดพันธุ์งอกงามในชุมชน

“ได้ลงมือทำ ได้เห็นความเบิกบานและการเจริญเติบโตของพืชผักในทุกวัน” คือนิยามความสุขการทำเกษตรของ จุฬารัตน์ อยู่เย็น สาวน้อยบ้านทุ่งโป่ง ต.เมืองปาน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง แต่กว่าที่จะสัมผัสถึงความสุขนี้ได้ เธอต้องฟันฝ่ากับความคาดหวังของใครต่อใคร เพื่อไปให้ถึงความพอดีของชีวิตบนเส้นทางเกษตรที่เธอเลือก ชีวิตที่เติบโตในชุมชนที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และผลิตเมล็ดพันธุ์ส่งบริษัท ผลผลิตมากมายแต่รายได้ที่ครอบครัวเธอและชาวบ้านได้รับกลับสวนทาง จึงเป็นแรงผลักให้ จุฬารัตน์ ฝันที่จะเป็นนักส่งเสริมการเกษตรของบริษัท ด้วยหวังกลับมาช่วยชุมชนให้มีรายได้มากขึ้น เธอจึงตั้งใจเข้าเรียนที่คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อนำทางสู่อาชีพในฝัน “จากที่เคยเห็นแต่ข้าวโพด พอเข้ามาเรียนทำให้เห็นว่ามีหลายพืชมากทั้งผัก ไม้ผล ไม้ประดับ รุ่นพี่ก็แนะนำให้เรียนสาขาพืชผัก เพราะเป็นพืชที่คนเรากินทุกวันและมีงานให้ทำได้หลายอย่าง” ช่วงปลายของการเรียน จุฬารัตน์ รับรู้ว่ามีรุ่นพี่คณะเข้าร่วม “โครงการพัฒนาทักษะผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่” ได้ฝึกงานกับบริษัทเมล็ดพันธุ์และได้กลับไปทำงานที่บ้านเกิดด้วย เธอจึงติดตามกิจกรรมของโครงการฯ และตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯ ในรุ่นที่ 2 โดยไม่ลังเล และได้ไปเรียนรู้งานกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ลักกี้ซีดส์อะโกร เป็นเวลา

“ไข่เน่า” ฟักทองพื้นเมือง หัวเรือเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก

“ไข่เน่า” ฟักทองพื้นเมือง หัวเรือเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก

“ใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด ปลูกทุกอย่างที่เรากิน กินทุกอย่างที่เราปลูก” เป็นแนวทางหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของตำบลบัวใหญ่ อ.นาน้อย จ.น่าน ที่ ฑิฆัมพร กองสอน หรือที่คนในพื้นที่เรียกติดปากว่า แม่กำนัน ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลบัวใหญ่ ได้ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายผลักดันให้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2554 โดยมีข้อมูลคนบัวใหญ่ป่วยด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับ 1 ของ อ.นาน้อย เป็นแรงผลักให้เธอส่งเสริมคนในพื้นที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ 1 ไร่ “ถ้าปลูกทุกอย่างที่เรากินใน 1 ไร่ และกินทุกอย่างที่เราปลูกในนั้น อันดับแรกที่จะได้คือ สุขภาพ ถ้าทำอินทรีย์จะเผื่อแผ่ไปให้คนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม สารพิษที่ไหลลงแม่น้ำก็ไม่มี และเมื่อปลูกแบบผสมผสาน สิ่งที่จะได้ตามมาคือ ป่า” แม่กำนัน อธิบายถึงแนวคิดที่ตอบโจทย์ทั้งสุขภาพ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โครงการ 1