คิดอย่างสมาร์ท ใช้สมาร์ทเทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพสวนทุเรียน

คิดอย่างสมาร์ท ใช้สมาร์ทเทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพสวนทุเรียน

พื้นที่ EEC หรือระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) ครอบคลุม 3 จังหวัดสำคัญของภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง เป็นหมุดหมายการพัฒนาประเทศภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 โดยมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือสำคัญ “ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ: เทคโนโลยีการให้น้ำอัจฉริยะสำหรับควบคุมการให้น้ำในแปลงเกษตร” เป็นหนึ่งในสมาร์ทเทคโนโลยี (smart technology) ที่สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ถ่ายทอดให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในจังหวัดระยองมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 โดยมีสวนทุเรียนที่ได้ติดตั้งเทคโนโลยีดังกล่าวแล้ว 33 แห่ง (ข้อมูลปี พ.ศ.2565) แม้ระบบฟาร์มรักษ์น้ำฯ เป็นเรื่องใหม่สำหรับคนทำสวนทุเรียน แต่มีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่พร้อมเปิดรับและปรับตัวกับการใช้เทคโนโลยี ด้วยมองเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ไม่เพียงคุณภาพของผลผลิต หากยังรวมถึงต้นทุนการผลิตของสวนด้วย อย่างไรก็ตามแม้เกษตรกรพร้อมเรียนรู้และใช้เทคโนโลยี แต่มีจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้และความพร้อมของพื้นที่ที่จะรองรับการใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการวางระบบน้ำ ซึ่งเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สำคัญของสวน

ASI ผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ ฟันเฟืองสู่เกษตร 4.0

ASI ผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ ฟันเฟืองสู่เกษตร 4.0

“เทคโนโลยีและนวัตกรรม” เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเทคโนโลยีอัจฉริยะ หรือสมาร์ทเทคโนโลยี (smart technology) ได้รับการส่งเสริมอย่างมากในภาคการเกษตร เพื่อให้เกิดการทำเกษตรในรูปแบบ “สมาร์ทฟาร์มมิ่ง” (smart farming) ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการผลิตและเพิ่มคุณภาพผลผลิต และนำไปสู่การทำเกษตรที่ “ทำน้อย แต่ได้มาก” สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือยกระดับการผลิตและคุณภาพชีวิตเกษตรกร ไม่เพียงการถ่ายทอดความรู้และขยายผลเทคโนโลยีสู่เกษตรกรโดยตรง สท. ยังได้ใช้กลไกการสร้างผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ หรือ ASI (Agriculture System Integrator: ASI) เป็นอีกช่องทางสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีได้สะดวกยิ่งขึ้น ผ่านการให้บริการจากผู้ประกอบที่ได้รับการยกระดับความรู้ความสามารถในเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้บ่มเพาะผู้ประกอบการที่สนใจเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. และพร้อมเป็นผู้ให้บริการเกษตรกร ซึ่งทำให้เกิดการขยายผลเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. สู่การใช้งานจริงได้มากขึ้น

ไวมาก (WiMaRC) ระบบตรวจวัดสภาวะแวดล้อมด้วยเทคโนโลยี IoT

ไวมาก (WiMaRC) ระบบตรวจวัดสภาวะแวดล้อมด้วยเทคโนโลยี IoT

“ไวมาก” (Wireless sensor network for Management and Remote Control: WiMaRC) คือ ระบบตรวจวัดสภาวะแวดล้อมด้วยเซนเซอร์แบบเครือข่ายไร้สายเพื่อการจัดการและควบคุมอัตโนมัติ แสดงผลแบบเรียลไทม์ (real time) ผ่านเว็บแอปพลิเคชัน (web application) โดยเก็บข้อมูลและรูปภาพผ่าน IoT Cloud Platform เพื่อติดตาม วิเคราะห์และบริหารจัดการในรูปแบบดิจิทัล รองรับเซนเซอร์หลากหลายรูปแบบ สื่อความรู้ > (ใบปลิว) “ไวมาก” ระบบตรวจวัดสภาวะแวดล้อมด้วยเทคโนโลยี IoT (ข้อมูลปี 2021)> (โปสเตอร์) WiMaRC (ไวมาร์ค) ระบบตรวจวัดด้วยเซนเซอร์แบบเครือข่ายไร้สายและควบคุมอัตโนมัติ (ข้อมูลปี 2019) > (โปสเตอร์)

ปลูก ‘มะยงชิดคุณภาพ’ ให้ ‘สมาร์ทเทคโนโลยี’ เป็นตัวช่วย

ปลูก ‘มะยงชิดคุณภาพ’ ให้ ‘สมาร์ทเทคโนโลยี’ เป็นตัวช่วย

“เทคโนโลยีช่วยทุ่นเวลาและให้ความรู้” คำตอบสั้นๆ จาก ฉัตรชนก ทองเรือง หรือ ลุงแดง วัย 59 ปี เจ้าของสวนมะยงชิด “ทองเรือง” เมื่อพูดถึง เทคโนโลยีการให้น้ำอัจฉริยะสำหรับพืชแปลงเปิด ที่เขาได้คลุกคลีมาเกือบ 2 ปี “มะยงชิด” เป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดนครนายกและเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของจังหวัด ซึ่งสวนทองเรือง แห่งนี้เป็นแหล่งผลิตมะยงชิดพันธุ์ทูลเกล้าที่คว้ารางวัลการประกวดมานับไม่ถ้วน ผลผลิตของสวนเฉลี่ยปีละ 2 ตัน ถูกจับจองล่วงหน้าและจำหน่ายที่หน้าสวนเท่านั้น ในราคากิโลกรัมละ 350-400 บาท ด้วยความชอบรสชาติที่หวานและหอมกรอบของมะยงชิด ทำให้ ลุงแดง หันมาปลูกมะยงชิดอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2535 เรียนรู้ สังเกต จดบันทึกการปลูกและพัฒนาการปลูกมะยงชิดของตนเอง จนได้ผลผลิตที่ “รสชาติหวาน

รู้ใช้ ‘ข้อมูลสภาวะแวดล้อม’ ทำสวนทุเรียนได้ ‘ประหยัด ปลอดภัย’

รู้ใช้ ‘ข้อมูลสภาวะแวดล้อม’ ทำสวนทุเรียนได้ ‘ประหยัด ปลอดภัย’

“ทำให้รู้สภาพอากาศสวนของเราเป็นอย่างไร แล้วก็ประหยัดและปลอดภัย” คำบอกเล่าจาก นัทธี สุวรรณจินดา เกษตรกรรุ่นใหม่ เมื่อพูดถึง ระบบตรวจวัดด้วยเซนเซอร์แบบเครือข่ายไร้สายเพื่อการจัดการและควบคุมอัตโนมัติ หรือ ไวมาก (WiMaRC) “สมัยพ่อแม่ทำสวนอาศัยประสบการณ์จัดการแปลง อย่างช่วงพฤศจิกายนลมหนาวเริ่มมา จะอดน้ำทุเรียนเพื่อให้ทุเรียนออกดอก แต่บางปีก็ไม่เป็นตามนั้น ถ้าอากาศไม่ได้ ก็ต้องอดน้ำทุเรียนจนใบเหลือง ถ้าไม่หนาวก็ต้องรดน้ำ” นัทธี เล่าถึง “การคาดเดาสภาพอากาศไม่ได้” ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งที่คนทำสวนทุเรียนประสบ นัทธี เบนเข็มจากอาชีพครูมาช่วยพ่อแม่ทำสวนทุเรียน “สุวรรณจินดา” ได้ราว 10 ปี ด้วยเป็นคนรุ่นใหม่ที่เข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่าย เขาจึงหาข้อมูลสภาพอากาศจากแหล่งอื่นๆ นอกเหนือจากข้อมูลสภาพอากาศจากหน่วยงานรัฐที่ชาวสวนคุ้นเคย เพื่อมาช่วยตัดสินใจจัดการสวนทุเรียนพื้นที่ 30 ไร่ของครอบครัว “ข้อมูลจากเว็บไซต์อากาศหรือจากเฟซบุ๊กมีมากขึ้น ดูง่ายและดูผ่านมือถือได้ ทำให้เรารู้ว่าต้องเตรียมสวนอย่างไร อย่างรู้ว่าอาทิตย์หน้าอากาศจะเริ่มหนาว เราจะต้องตัดแต่งกิ่งในทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ย