ถั่วเขียว KUML อินทรีย์: คุณค่าที่มากกว่าพืชบำรุงดิน

ถั่วเขียว KUML อินทรีย์: คุณค่าที่มากกว่าพืชบำรุงดิน

เมล็ดใหญ่และสีสวยสดของถั่วเขียวในแพ็คสุญญากาศ สะดุดตานักช้อปสายสุขภาพให้หยิบจับ เมื่อบวกกับข้อความและตราสัญลักษณ์ “เกษตรอินทรีย์มาตรฐานสากล” ชวนให้หยิบจ่าย 40 บาท (ครึ่งกิโลกรัม) ได้ไม่ยากนัก ต้นทางของถั่วเขียวอินทรีย์นี้มาจากวิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง ต.โพนเมืองน้อย อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์คุณภาพ และเริ่มหันมาจริงจังกับพืชหลังนาอย่าง “ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ได้ไม่นาน …เมื่อ “ถั่วเขียว” เป็นพืชหลังนาที่เกษตรกรคุ้นเคยอยู่แล้ว แต่เหตุใดพวกเขาจึงให้ความสำคัญมากขึ้น และทำไมต้องเป็นถั่วเขียวพันธุ์ KUML จากนาเคมีสู่นาอินทรีย์ “คนทำเคมีจะมองหญ้าเป็นศัตรู แต่ก่อนเราก็มองแบบนั้น ทำตามรุ่นพ่อรุ่นแม่ ทำนาให้ได้ข้าวเยอะๆ แต่ลืมนึกถึงสภาพแวดล้อม เป็นอันตรายไปหมด” วิรัตน์ ขันติจิตร สมาชิกวิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง ย้อนความถึงวิถีการทำนาจากรุ่นสู่รุ่นที่พึ่งพิงสารเคมีเป็นหลัก จนเมื่อได้รับแนวคิดการทำนาที่ไม่ใช้สารเคมีจากการเข้าร่วมอบรมกับชุมชนสันติอโศก บวกกับราคาสารเคมีที่เพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นแรงผลักสำคัญให้พวกเขาปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิถีการทำนา “ปี 2542

จัดการศัตรูพืชใน “ถั่วฝักยาว” ด้วยชีวภัณฑ์แบบผสมผสาน*

จัดการศัตรูพืชใน “ถั่วฝักยาว” ด้วยชีวภัณฑ์แบบผสมผสาน*

“ถั่วฝักยาว” เป็นหนึ่งในพืชผักต้นๆ ที่ผู้บริโภคกังขาถึงความปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง ขณะเดียวกันก็เป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่เกษตรกรกุมขมับกับปัญหาของโรคพืชและแมลงศัตรูพืชที่ทำให้ผลผลิตเสียหาย เกษตรกรจำนวนไม่น้อยจึงเลือกใช้สารเคมีเพื่อแก้ปัญหา ภายใต้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model สาขาเกษตรของจังหวัดราชบุรี คณะทำงานโครงการ BCG ปี 25651 ได้เลือก “ถั่วฝักยาว” เป็นพืชผักนำร่องที่จะปรับเปลี่ยนการผลิตจากระบบเคมีเป็นเกษตรอินทรีย์ เพื่อความปลอดภัยต่อทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภคและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. จึงได้ศึกษาและจัดทำแผนการใช้ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช โดยใช้พื้นที่กรณีศึกษาที่ “ฟาร์มฝันแม่ ต.น้ำพุ อ.เมือง จ.ราชบุรี” และ “แปลงผักคุณระเบียบ เพชรแอง ต.ด่านทับตะโก อ.เมือง จ.ราชบุรี” *ข้อมูลจาก แบบแผนการจัดการศัตรูพืชด้วยชีวภัณฑ์แบบผสมผสานของถั่วฝักยาว (Standard Operating Procedure: SOP) ภายใต้โครงการ

‘ชีวภัณฑ์’ อาวุธคู่ใจคนปลูกผักปลอดภัย-ผักอินทรีย์

‘ชีวภัณฑ์’ อาวุธคู่ใจคนปลูกผักปลอดภัย-ผักอินทรีย์

จังหวัดราชบุรีเป็นหนึ่งในพื้นที่ BCG Model สาขาเกษตร ที่สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ร่วมทำงานกับสำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี ยกระดับการปลูกผักปลอดภัยและผักอินทรีย์ด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีสารชีวภัณฑ์ โดยพืชผักที่สำคัญของจังหวัดราชบุรี ได้แก่ ถั่วฝักยาว คะน้า มะเขือเปราะ พริก ซึ่งมีแมลงศัตรูพืชหลายชนิด อาทิ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว แมลงวันผลไม้ เป็นต้น “ก้อนเชื้อสดบิวเวอเรียและเมตาไรเซียม” จาก อนันต์ กอเจริญ ประธานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลประสาทสิทธิ์ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี คืออุปกรณ์สำคัญที่ สท. ใช้ถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้บิวเวอเรียและเมตาไรเซียมให้เกษตรกร 83 ราย จากกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายสามพรานโมเดลในจังหวัดราชบุรี เกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางแพ เกษตรกรแปลงใหญ่ผักดอนแร่ อำเภอเมืองราชบุรี และศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลคุ้งน้ำวน อำเภอเมืองราชบุรี อนันต์

คิดอย่างสมาร์ท ใช้สมาร์ทเทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพสวนทุเรียน

คิดอย่างสมาร์ท ใช้สมาร์ทเทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพสวนทุเรียน

พื้นที่ EEC หรือระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) ครอบคลุม 3 จังหวัดสำคัญของภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง เป็นหมุดหมายการพัฒนาประเทศภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 โดยมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือสำคัญ “ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ: เทคโนโลยีการให้น้ำอัจฉริยะสำหรับควบคุมการให้น้ำในแปลงเกษตร” เป็นหนึ่งในสมาร์ทเทคโนโลยี (smart technology) ที่สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ถ่ายทอดให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในจังหวัดระยองมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 โดยมีสวนทุเรียนที่ได้ติดตั้งเทคโนโลยีดังกล่าวแล้ว 33 แห่ง (ข้อมูลปี พ.ศ.2565) แม้ระบบฟาร์มรักษ์น้ำฯ เป็นเรื่องใหม่สำหรับคนทำสวนทุเรียน แต่มีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่พร้อมเปิดรับและปรับตัวกับการใช้เทคโนโลยี ด้วยมองเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ไม่เพียงคุณภาพของผลผลิต หากยังรวมถึงต้นทุนการผลิตของสวนด้วย อย่างไรก็ตามแม้เกษตรกรพร้อมเรียนรู้และใช้เทคโนโลยี แต่มีจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้และความพร้อมของพื้นที่ที่จะรองรับการใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการวางระบบน้ำ ซึ่งเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สำคัญของสวน

ASI ผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ ฟันเฟืองสู่เกษตร 4.0

ASI ผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ ฟันเฟืองสู่เกษตร 4.0

“เทคโนโลยีและนวัตกรรม” เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเทคโนโลยีอัจฉริยะ หรือสมาร์ทเทคโนโลยี (smart technology) ได้รับการส่งเสริมอย่างมากในภาคการเกษตร เพื่อให้เกิดการทำเกษตรในรูปแบบ “สมาร์ทฟาร์มมิ่ง” (smart farming) ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการผลิตและเพิ่มคุณภาพผลผลิต และนำไปสู่การทำเกษตรที่ “ทำน้อย แต่ได้มาก” สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือยกระดับการผลิตและคุณภาพชีวิตเกษตรกร ไม่เพียงการถ่ายทอดความรู้และขยายผลเทคโนโลยีสู่เกษตรกรโดยตรง สท. ยังได้ใช้กลไกการสร้างผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ หรือ ASI (Agriculture System Integrator: ASI) เป็นอีกช่องทางสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีได้สะดวกยิ่งขึ้น ผ่านการให้บริการจากผู้ประกอบที่ได้รับการยกระดับความรู้ความสามารถในเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้บ่มเพาะผู้ประกอบการที่สนใจเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. และพร้อมเป็นผู้ให้บริการเกษตรกร ซึ่งทำให้เกิดการขยายผลเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. สู่การใช้งานจริงได้มากขึ้น

ปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ มูลค่าที่มากกว่า ‘พืชบำรุงดิน’

ปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ มูลค่าที่มากกว่า ‘พืชบำรุงดิน’

เมล็ดใหญ่ สุกแก่เร็ว ให้ผลผลิตสูงได้ถึง 300 กก./ไร่ ต้านทานโรคราแป้งและใบจุด คือจุดเด่นของถั่วเขียวพันธุ์ KUML ที่เริ่มได้รับความนิยมจากเกษตรกร หลังจากที่ สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ขยายผลการปลูกถั่วเขียว KUML อย่างมีคุณภาพให้เกษตรกรโดยใช้ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จนเกิดการจัดตั้ง “ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML บ้านดอนหวาย” อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพระดับชุมชนส่งต่อเมล็ดพันธุ์ KUML ให้เกษตรกรทั่วประเทศ ถั่วเขียวเป็นพืชหลังนาที่ไม่เพียงช่วยบำรุงดินให้สมบูรณ์สำหรับการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป หากเมล็ดถั่วเขียว (grain) ยังเป็นผลผลิตที่สร้างรายได้ให้เกษตรกร และด้วยจุดเด่นของถั่วเขียว KUML บวกกับการปลูกอย่างมีความรู้ ทำให้ผลผลิตถั่วเขียวเป็นที่ต้องการของบริษัทรับซื้อ ดังเช่น บริษัท กิตติทัต จำกัด

เมื่อ ‘ตลาดนำการผลิต’ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์

เมื่อ ‘ตลาดนำการผลิต’ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์

โครงการ “อุบลโมเดล” คือจุดเริ่มการทำงานด้วยกลไกตลาดนำการผลิต ซึ่งสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE ดำเนินงานกับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ ต.กู่จ่าน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร จำนวน 60 คน พื้นที่ปลูกรวม 354 ไร่ โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ให้ได้คุณภาพดี ซึ่งในปี 2565 สามารถสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ 1.3 ล้านบาท จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็น 4 ตัน/ไร่ จากเดิม 3 ตัน/ไร่ แม้ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่ด้วยราคารับซื้อมันสำปะหลังอินทรีย์ที่สูงและต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ.2565

ลงทุนโรงเรือน (ไม้ไผ่) อย่างไรให้คุ้มทุน

ลงทุนโรงเรือน (ไม้ไผ่) อย่างไรให้คุ้มทุน

น.ส.เลอทีชา เมืองมีศรีนักวิชาการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) เกือบทุกครั้งที่เราพูดถึงโรงเรือนไม้ไผ่ มักจะมีคำถามว่า ต้นทุนเท่าไหร่? แพงไหม? อายุกี่ปี? คุ้มไหม? ปลูกผักอะไรได้บ้าง? …. วันนี้จะพาไปเรียนรู้จาก “กลุ่มเกษตรกรบ้านแป้น” ต.บ้านแป้น อ.เมือง จ.ลำพูน กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกผักจริง ใช้โรงเรือนจริง ที่นี่สร้างโรงเรือนไม้ไผ่หลังคาจั่ว 2 ชั้นรูปแบบของ สวทช. ขนาด 6×15 เมตร ใช้ไม้ไผ่จากสวน ป่าหัวไร่ปลายนา หรือหาซื้อในพื้นที่ ตีมูลค่าตามราคาพื้นที่ ค่าแรงไม่มี เพราะอาศัยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนช่วยกันสร้าง หากจะตีราคาก็คงเป็นค่าอาหาร เครื่องดื่ม ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง คือ พลาสติกคลุมหลังคาขนาด 4×48 เมตร ราคาประมาณ 3,500 บาท+

“ปลูกให้เป็น ปลูกให้มีกิน” สร้างความมั่นคงทางอาหารที่แนวชายแดน

“ปลูกให้เป็น ปลูกให้มีกิน” สร้างความมั่นคงทางอาหารที่แนวชายแดน

เด็กได้เรียนรู้ระบบผลิตพืชผักเกษตรอินทรีย์ อินทรีย์ช้ากว่า แต่ดีต่อตัวเขา ต่อชุมชน และถ้าทำได้มาตรฐาน จะเพิ่มมูลค่าให้พืชในท้องถิ่นเขาได้ -ด.ต.สมดุลย์ โพอัน- “ไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ แต่พอมีโครงการของอาจารย์ ก็ทำให้เรามีความรู้” ลัดดา อมรไฝ่ประไพ เกษตรกรบ้าน กล้อทอ ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีด้านเกษตรจาก รศ.ดร.จานุลักษณ์ ขนบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ทั้งการปลูกพริก งา ฟักทอง การเก็บเมล็ดพันธุ์ การผลิตสารชีวภัณฑ์ หรือแม้แต่ กล้วยหอมพันธุ์แขนทอง พืชชนิดใหม่ในพื้นที่ “เทศบาลฯ ของเราอยากลองอะไรใหม่ๆ เพื่อมาเสริมการทำไร่ที่เป็นอาชีพหลักของชาวบ้าน อาจารย์เข้ามาให้ความรู้หลายเรื่อง แต่ที่ได้ผลและเห็นเป็นรูปธรรมก็คือ กล้วยหอมพันธุ์แขนทอง ที่นี่มีแต่กล้วยน้ำว้า กล้วยหอมเป็นพืชใหม่ มีชาวบ้าน 20