ข้าวพื้นเมืองใต้…สำคัญอย่างไร

ข้าวพื้นเมืองใต้…สำคัญอย่างไร

ภาคใต้ถือได้ว่ามี “ข้าวพันธุ์พื้นเมือง” ที่หลากหลายแห่งหนึ่งของไทย ซึ่งศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวพัทลุงได้เคยรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ไว้ได้ถึง 162 สายพันธุ์ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ทำให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวในภาคใต้หรือแม้แต่จำนวนชาวนาลดน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลต่อการมีอยู่ของสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองใต้ได้ เวทีเสวนา “ข้าวพื้นเมืองใต้ …สำคัญอย่างไร” ในงาน ‘เสริมแกร่งชาวนาสงขลา’ ด้วย ‘วิถีวิทย์’ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563 ณ ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา จึงได้ชวนนักวิชาการมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องพันธุ์ข้าวพื้นเมืองใต้และหนทางการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง เป็นแนวทางต่อลมหายใจพันธุ์ข้าวพื้นเมืองใต้ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ข้าวพื้นเมือง มรดกทางวัฒนธรรม “ข้าวไทยและพันธุกรรมมีความสำคัญในแง่เดียวกับศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เพราะเป็นสิ่งที่อยู่บนแผ่นดินไทย ได้รับการคัดเลือกและสร้างสรรค์จากบรรพบุรุษ” ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ให้มุมมองถึงความสำคัญของข้าวพื้นเมือง อาจารย์ภัทรพร ฉายภาพข้าวพื้นเมืองของประเทศไทยว่า

เสริมแกร่งชาวนา ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี

เสริมแกร่งชาวนา ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี

เพราะเมล็ดพันธุ์ข้าว ไม่เพียงเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ หากยังเป็นปัจจัยที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพให้ผลผลิตอีกด้วย การเรียนรู้และทำความเข้าใจเมล็ดพันธุ์จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ชาวนาไม่ควรมองข้าม “หัวใจสำคัญของเมล็ดพันธุ์คือ ต้องมีสิ่งที่มีชีวิตที่เรียกว่า ต้นอ่อน (embrio) มีเนื้อแป้งข้าวและเปลือก ถ้าไม่มีต้นอ่อน จะไม่เป็นเมล็ดพันธุ์ จะเรียกว่า ข้าวเปลือก” ดร.กัญญณัช ศิริธัญญา ผู้เชี่ยวชาญการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว อธิบายความแตกต่างของเมล็ดพันธุ์และข้าวเปลือก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นความรู้การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ได้ถูกต้อง การใช้เมล็ดพันธุ์ดีทำให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ เนื่องจากใช้ในปริมาณน้อยกว่าเมล็ดพันธุ์ทั่วไป ลดต้นทุนการผลิต เพราะผ่านการคัดเลือกรวงที่สมบูรณ์แล้ว จึงลดเชื้อโรคและการใช้สารเคมีกำจัดโรค ผลผลิตสูง และทำให้กำไรต่อพื้นที่มากกว่า แล้วจะได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีได้อย่างไร จำเป็นต้องรู้จัก “ชั้นเมล็ดพันธุ์” เพื่อรู้ที่มาและการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ ซึ่งชั้นเมล็ดพันธุ์ประกอบด้วย เมล็ดพันธุ์คัด (breeder seed) เป็นชั้นเมล็ดพันธุ์สำหรับนักปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งชาวนาสามารถเป็นนักปรับปรุงพันธุ์ได้ โดยเฉพาะในภาคใต้ซึ่งใช้ “แกระ” เป็นเครื่องมือเก็บเกี่ยวที่สามารถคัดเลือกรวงสมบูรณ์ ถูกต้องตามพันธุ์ เมล็ดพันธุ์หลัก

“Inspector” ผู้ปิดทองขับเคลื่อน “ข้าวอินทรีย์”

“Inspector” ผู้ปิดทองขับเคลื่อน “ข้าวอินทรีย์”

การปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวเพื่อให้ได้มาตรฐาน Organic Thailand ภายใต้โครงการเกษตรอินทรีย์ล้านไร่ของภาครัฐ กำหนดระยะเวลาปรับเปลี่ยนไว้ 3 ปี แบ่งเป็น ระยะปรับเปลี่ยนปี 1 (T1) ระยะปรับเปลี่ยนปี 2 (T2) และระยะปรับเปลี่ยนปี 3 (T3) มีข้อกำหนดปฏิบัติและการตรวจสอบที่เข้มข้นขึ้นในแต่ละระยะ และที่สำคัญเป็นการตรวจรับรองแบบกลุ่ม นั่นหมายถึงสมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องผ่านการตรวจ หากคนใดคนหนึ่งไม่ผ่าน ทั้งกลุ่มจะไม่ได้รับการรับรอง สมาชิกจึงต้องร่วมแรงร่วมใจปฏิบัติให้ได้ตามข้อกำหนด โดยมีผู้ตรวจสอบภายใน หรือ Inspector ประจำกลุ่ม ทำหน้าที่ทั้ง “ผู้ตรวจ” และ “ผู้ขับเคลื่อน” ให้การผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเดินหน้าได้สำเร็จ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดอบรมให้ความรู้ “กระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อขอรับรองกระบวนการกลุ่ม” และ “การตรวจรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์แบบกลุ่ม เพื่อสร้างผู้ตรวจสอบภายในองค์กร

“ข้าวเหนียวธัญสิริน” ต้านทานโรคไหม้ หอมนุ่มนาน อีกทางเลือกของผู้ปลูกผู้บริโภค

“ข้าวเหนียวธัญสิริน” ต้านทานโรคไหม้ หอมนุ่มนาน อีกทางเลือกของผู้ปลูกผู้บริโภค

กลางปี 2562 สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านร่องคำ ต.ป่าสังข์ อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด กว่า 30 คน ซึ่งปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ได้เข้าร่วมอบรม “การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี” ที่สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) จัดขึ้น นอกจากได้เรียนรู้การทำแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ตั้งแต่กระบวนการเตรียมแปลง การเก็บเกี่ยว และการผลิตเพื่อจำหน่ายอย่างถูกต้องตาม พรบ. เมล็ดพันธุ์ข้าว แล้ว ในวันนั้นพวกเขายังได้รู้จักพันธุ์ข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อว่า “ธัญสิริน” “เขาบอกว่าต้นแข็งแรง ไม่ล้ม ให้ผลผลิตเยอะ ต้านทานโรคด้วย สนใจที่ต้นไม่ล้มนี่ล่ะ” สุพัฒน์ ศิลศร ประธานกลุ่มฯ ย้อนความถึงจุดเด่นของสายพันธุ์ข้าวนี้ที่ดึงดูดความสนใจให้เขาและสมาชิก ข้าวหอมมะลิ 105 เป็นพันธุ์ข้าวขึ้นชื่อในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เกษตรกรนิยมปลูกเพื่อจำหน่าย แต่สำหรับการบริโภคนั้น “ข้าวเหนียว” เป็นอาหารหลักของคนแถบนี้ ซึ่งข้าวเหนียว

“Bright ข้าวเม็ดเคี้ยว” ขายข้าวให้แตกต่าง

“Bright ข้าวเม็ดเคี้ยว” ขายข้าวให้แตกต่าง

ประสบการณ์เพียงไม่กี่ชั่วโมงจากการศึกษาดูงานที่ดินส่วนพระองค์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จ.นครนายก ได้เห็นวิธีการปลูกข้าวต้นเดียวบนพื้นที่ไม่กี่ตารางเมตร สร้างความประทับใจและเป็นแรงผลักดันให้ ปรีดาธพันธุ์ จันทร์เรือง อดีตผู้จัดการโรงงาน ดีกรีปริญญาโทด้านธุรกิจเทคโนโลยี หันมาเรียนรู้การทำเกษตรบนหลักเศรษฐกิจพอเพียงพร้อมกับเก็บเกี่ยวความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านอยู่สองปี จนตัดสินใจละทิ้งเงินเดือนกว่าครึ่งแสนบาท กลับมาทำเกษตรที่จังหวัดชัยนาทเมื่อปี 2558 “ครอบครัวไม่เห็นด้วย แม่ก็เครียด เรียนจบมาทำงานเงินเดือนก็เยอะ เสียดายเงินเดือน การงานกำลังไปได้ดี แต่ผมคิดแล้วว่าทำเกษตรนี่ล่ะคือใช่ แต่ต้องทำเกษตรแบบใช้ความรู้และทำให้เป็นเกษตรเชิงอุตสาหกรรม ถึงจะรอด” “ทำข้าวให้มีคุณสมบัติเชิงยา” เป็นเป้าหมายที่ปรีดาธพันธุ์ตั้งไว้และลงมือทำด้วยการพลิกพื้นที่ 4 ไร่ที่ขอแบ่งจากครอบครัวทำเป็นนาอินทรีย์ โดยใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผสานกับภูมิปัญญาชาวบ้าน “ข้าวอินทรีย์ออริจิไรซ์ (Origi Rice)” ผลิตภัณฑ์แรกจากแปลงนาอินทรีย์ที่ขายผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก และไลน์ ได้รับการตอบรับอย่างดี ออเดอร์สั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปรีดาธพันธุ์ตัดสินใจขอใช้พื้นที่นาอีก 17 ไร่ แต่ครั้งนี้ไม่มีเสียงคัดค้านใดๆ จากครอบครัว

นวัตกรรมฟางข้าวอินทรีย์: ผลิตภัณฑ์จากบ้านสามขา จังหวัดลำปาง

นวัตกรรมฟางข้าวอินทรีย์: ผลิตภัณฑ์จากบ้านสามขา จังหวัดลำปาง

อย่าโยนฉันทิ้ง ให้โอกาสฉันงอกงามในสวนคุณ “กระดาษที่สื่อสารมากกว่าตัวหนังสือ” คุณเคยได้รับกระดาษโน๊ตที่ส่งผ่านด้วยข้อความสั้นๆ ไหม? หลังจากคุณอ่านข้อความแล้ว กระดาษเหล่านั้นหายไปไหน? วันนี้กระดาษโน๊ตจากฟางข้าว หรือ “สวนกระดาษ” ทำให้คุณเข้าใจมากกว่าตัวหนังสือ เพราะสวนกระดาษ คือสิ่งที่สื่อความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการดูแลเอาใจใส่เมล็ดพันธุ์ในกระดาษให้งอกเจริญเติบโตเป็นต้นกล้า กระทั่งนำไปบริโภคได้ กระดาษฟางข้าวไม่เพียงใช้เขียนเพื่อสื่อข้อความ แต่เป็นปุ๋ยไร้สารเคมีชั้นดี ทำให้พืชเจริญเติบโต แข็งแรง ทนต่อศัตรูพืช เมื่อถึงช่วงหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวในหลายพื้นที่ในประเทศไทย “ฟางข้าว” ส่วนที่เหลือใช้จากการเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูกกลายเป็นของเหลือใช้ทางการเกษตร เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมกำจัดฟางข้าวโดยการเผาทำลายมากกว่าการปล่อยให้ย่อยสลาย เพราะความสะดวก รวดเร็ว และการขาดแคลนแรงงาน กลายเป็นปัญหาหมอกควันหรือมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นทุกปี รวมทั้งการสูญเสียอินทรีย์วัตถุที่กลับคืนสู่ผืนดิน “หมู่บ้านสามขา” มีการรณรงค์ในเรื่องการเผา จนได้รับรางวัลเป็นหมู่บ้านต้นแบบปลอดการเผาฟางข้าว หมู่บ้านสามขา อ.แม่ทะ จ.ลำปาง เป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก ล้อมรอบด้วยภูเขา เป็นแหล่งต้นน้ำธรรมชาติที่บริสุทธิ์จากยอดดอย ชาวบ้านสามขาใช้น้ำธรรมชาติจากยอดดอยสำหรับอุปโภคและบริโภค การทำเกษตรทำนายึดถือตามวิถีชีวิตคนในชุมชนที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ใช้หลักการของเกษตรแบบอินทรีย์ คือการทำนาโดยไม่ใช้สารเคมี

“ถั่วเขียว KUML” ปลูกด้วยใจ ได้คุณภาพ

“ถั่วเขียว KUML” ปลูกด้วยใจ ได้คุณภาพ

“สมัยก่อนหว่านถั่วเขียวที่หัวไร่ปลายนา เอาไว้ทำไส้ขนม หว่านถั่วลิสงไว้ทำกระยาสารท รุ่นพ่อแม่เก็บเมล็ดไว้นิดหน่อยเพื่อใช้หว่านรอบต่อไป” ประดิษฐ์ เขม้นเขตร์กิจ ผู้ใหญ่บ้านดอยหวาย หมู่ 7 ต.บ่อยาง อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี บอกเล่าวิถีการปลูกพืชหลังของคนรุ่นพ่อแม่เมื่อกว่า 40 ปีจากพืชที่ปลูกไว้เพื่อใช้ในครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกไม่มากมาย วิถีการปลูกถั่วเขียวของชุมชนเริ่มปรับเปลี่ยนได้ราว 15 ปี หลังมีข้อกำหนดห้ามทำนาปรัง เกิดการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกถั่วเขียวเป็น “อาชีพเสริม” มีทั้งส่งจำหน่ายให้ศูนย์เมล็ดพืชไร่ชัยนาทและจำหน่ายให้พ่อค้าคนกลางป้อนสู่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง สำหรับชาวนาจะเริ่มปลูกถั่วเขียวหลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว โดยปลูกในช่วงพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ส่วนชาวไร่จะปลูกถั่วเขียวในช่วงเดือนพฤษภาคมก่อนลงปลูกข้าวโพด สายพันธุ์ถั่วเขียวที่ชาวบ้านนิยมปลูก เช่น ชัยนาท 84-1 กำแพงแสน 1 กำแพงแสน 2 “ช่วงปี 2559 เมล็ดพันธุ์กำแพงแสนมีไม่พอ ลูกบ้านอยากได้พันธุ์อื่นมาปลูกเพิ่ม ก็ไปสอบถามจากเกษตรอำเภอ ถึงได้รู้ว่ามีพันธุ์ KUML เข้ามาใหม่” ประดิษฐ์ ย้อนความเมื่อวันที่ได้รู้จักถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่

“หอมชลสิทธิ์” ข้าวทนน้ำท่วม หอม นุ่ม ด้วยคุณภาพ

“หอมชลสิทธิ์” ข้าวทนน้ำท่วม หอม นุ่ม ด้วยคุณภาพ

จังหวัดพัทลุงเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญอีกแห่งของภาคใต้ มีพื้นที่ปลูกข้าวราว 3 แสนไร่ แต่ด้วยสภาพอากาศ “ฝนแปดแดดสี่” ของภาคใต้ส่งผลกระทบไม่น้อยต่อเกษตรกรที่สูญเสียทั้งพืชอาหารบริโภคและรายได้จากการจำหน่ายข้าว ปี 2557 ชาวตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง รู้จัก “ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน” หลังจากที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงได้ขอสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์จากมูลนิธิชัยพัฒนา นำไปแจกจ่ายให้เกษตรกรได้เพาะปลูก ดังที่ “บ้านโคกฉิ่ง” หมู่ 11 ตำบลชัยบุรี แหล่งผลิตพันธุ์ข้าวนี้ที่มี สมมาตร มณีรัตน์ และทวี บุษราภรณ์ สองเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของบ้านโคกฉิ่ง รับหน้าที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์เมื่อปี 2560 บนพื้นที่ปลูกคนละ 5 ไร่ ก่อนส่งต่อเมล็ดพันธุ์ให้สมาชิก “วิสาหกิจกลุ่มข้าวหอมชลสิทธิ์บ้านโคกฉิ่ง” นำไปเพาะปลูกเพื่อบริโภค “กลุ่มมีสมาชิก 21 คน ส่วนใหญ่จะปลูกข้าวหอมชลสิทธิ์ไว้กินในครัวเรือน มีบางรายที่ปลูกได้มาก ก็จะขาย และมีสมาชิกเริ่มสนใจปลูกเพื่อทำเมล็ดพันธุ์เพิ่มขึ้น” ปรีชา อ่อนรักษ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจข้าวหอมชลสิทธิ์บ้านโคกฉิ่ง บอกเล่าถึงการปลูกข้าวหอมชลสิทธิ์ของสมาชิกกลุ่ม ซึ่งนอกจากเป็นประธานของกลุ่มฯ แล้ว ปรีชา ยังทำหน้าที่นักการตลาดให้กลุ่มฯ รับซื้อข้าวเปลือกจากสมาชิกและหาตลาดจำหน่าย โดยเขาประกันราคาข้าวให้สมาชิกที่ 8,000 บาท/ตัน ก่อนนำไปสีและจำหน่ายเป็นข้าวสารราคากิโลกรัมละ 30 บาท หากแพ็คสุญญากาศจำหน่ายกิโลกรัมละ 50 บาท ส่วนเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์รับซื้อเมล็ดพันธุ์สด (ไม่อบแห้ง) ในราคากิโลกรัมละ 10 บาท และจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 18 บาท ซึ่งรายได้จากการขายข้าวสารและเมล็ดพันธุ์จะนำมาเฉลี่ยเป็นเงินปันผลให้สมาชิก ก่อนหน้าที่สมาชิกกลุ่มฯ ได้รู้จักพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ พันธุ์ข้าวที่ปลูกในพื้นที่มีหลากหลายทั้งพันธุ์พิษณุโลก พันธุ์ชัยนาท พันธุ์หอมปทุม รวมถึงพันธุ์พื้นเมืองอย่างเล็บนกและสังข์หยด

“ข้าวหอมชลสิทธิ์ สู้วิกฤตน้ำท่วม” สู่ “หมู่บ้านผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพ”

“ข้าวหอมชลสิทธิ์ สู้วิกฤตน้ำท่วม” สู่ “หมู่บ้านผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพ”

จากสภาพปัญหาน้ำท่วมนาข้าวจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นเป็นประจำเกือบทุกปี ทำให้พืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะนาข้าวได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และกรมการข้าว ปรับปรุงพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา และคณะ จากหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว (หน่วยปฏิบัติการวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)) สวทช. ร่วมกับนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรมการข้าว พัฒนาพันธุ์ข้าวหอมคุณภาพดีที่ทนน้ำท่วมฉับพลัน โดยผสมระหว่างพันธุ์ข้าวไออาร์ 57514 ที่ทนต่อน้ำท่วมฉับพลันกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่ไม่ทนน้ำท่วม ได้พันธุ์ชื่อว่า “ข้าวพันธุ์หอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน” “ข้าวพันธุ์หอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน” จมอยู่ใต้น้ำได้นาน 2-3 สัปดาห์ ฟื้นตัวหลังน้ำลดได้ดี ความสูงต้นประมาณ 105-110 เซนติเมตร จำนวนรวงต่อกอประมาณ 15 รวง (นาดำ) ลำต้นแข็ง ไม่หักล้มง่าย นอกจากคุณสมบัติเด่นในการทนน้ำท่วมฉับพลันแล้ว พันธุ์หอมชลสิทธิ์ไม่ไวต่อช่วงแสง จึงปลูกได้มากกว่า 1 ครั้งต่อปี อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 800-900 กิโลกรัมต่อไร่ คุณภาพการหุงต้มคล้ายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ปริมาณอะไมโลส ร้อยละ 14-18 และมีกลิ่นหอม เมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทาน ปลายปี 2556 พื้นที่ตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ประสบปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน ทำให้ปริมาณน้ำในคลองไหลเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่เกษตรกรรม สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะพื้นที่นาข้าวซึ่งเพาะปลูกกันมากในเขตอำเภอเมืองพัทลุงและอำเภอควนขนุน องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงได้ขอรับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลันจากมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน สวทช. น้อมเกล้าฯ ถวาย