แบบแผนการจัดการศัตรูพืชด้วยชีวภัณฑ์แบบผสมผสานของถั่วฝักยาว (Standard Operating Procedure: SOP) ภายใต้โครงการ “การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG แบบบูรณาการเชิงพื้นที่ในจังหวัดราชบุรี”

‘ชีวภัณฑ์’ อาวุธคู่ใจคนปลูกผักปลอดภัย-ผักอินทรีย์

‘ชีวภัณฑ์’ อาวุธคู่ใจคนปลูกผักปลอดภัย-ผักอินทรีย์

จังหวัดราชบุรีเป็นหนึ่งในพื้นที่ BCG Model สาขาเกษตร ที่สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ร่วมทำงานกับสำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี ยกระดับการปลูกผักปลอดภัยและผักอินทรีย์ด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีสารชีวภัณฑ์ โดยพืชผักที่สำคัญของจังหวัดราชบุรี ได้แก่ ถั่วฝักยาว คะน้า มะเขือเปราะ พริก ซึ่งมีแมลงศัตรูพืชหลายชนิด อาทิ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว แมลงวันผลไม้ เป็นต้น “ก้อนเชื้อสดบิวเวอเรียและเมตาไรเซียม” จาก อนันต์ กอเจริญ ประธานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลประสาทสิทธิ์ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี คืออุปกรณ์สำคัญที่ สท. ใช้ถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้บิวเวอเรียและเมตาไรเซียมให้เกษตรกร 83 ราย จากกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายสามพรานโมเดลในจังหวัดราชบุรี เกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางแพ เกษตรกรแปลงใหญ่ผักดอนแร่ อำเภอเมืองราชบุรี และศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลคุ้งน้ำวน อำเภอเมืองราชบุรี อนันต์

ปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ มูลค่าที่มากกว่า ‘พืชบำรุงดิน’

ปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ มูลค่าที่มากกว่า ‘พืชบำรุงดิน’

เมล็ดใหญ่ สุกแก่เร็ว ให้ผลผลิตสูงได้ถึง 300 กก./ไร่ ต้านทานโรคราแป้งและใบจุด คือจุดเด่นของถั่วเขียวพันธุ์ KUML ที่เริ่มได้รับความนิยมจากเกษตรกร หลังจากที่ สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ขยายผลการปลูกถั่วเขียว KUML อย่างมีคุณภาพให้เกษตรกรโดยใช้ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จนเกิดการจัดตั้ง “ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML บ้านดอนหวาย” อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพระดับชุมชนส่งต่อเมล็ดพันธุ์ KUML ให้เกษตรกรทั่วประเทศ ถั่วเขียวเป็นพืชหลังนาที่ไม่เพียงช่วยบำรุงดินให้สมบูรณ์สำหรับการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป หากเมล็ดถั่วเขียว (grain) ยังเป็นผลผลิตที่สร้างรายได้ให้เกษตรกร และด้วยจุดเด่นของถั่วเขียว KUML บวกกับการปลูกอย่างมีความรู้ ทำให้ผลผลิตถั่วเขียวเป็นที่ต้องการของบริษัทรับซื้อ ดังเช่น บริษัท กิตติทัต จำกัด