29 มีนาคม 2566

การพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) เพื่อความยั่งยืน

วิทยากร
  • ดร. วรรณพ วิเศษสงวน
  • นายกิตติณัฐ โสภา
  • นางสาวภาวิณี อนุสรณ์เสรี
  • นายสุรพล บุพโกสุม
  • นางสาวปภาวี สุธาวิวัฒน์
  • นายพรชัย ปานศรีแก้ว
  • นายพัฒน์พงษ์ บุตรราช 

การพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) เพื่อความยั่งยืน

ตามเป้าหมาย Sustainable Development Goal (SDGs) ของสหประชาชาติที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่งผลต่อการส่งออกของประเทศไทยที่มีการส่งออกอาหารเป็นลำดับต้น ๆ ของโลก เนื่องด้วยการกีดกันทางการค้าลักษณะ Non-tariff Barrier โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งผลต่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งขาดความเชี่ยวชาญและเงินทุนในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนหรืออุตสาหกรรมสีเขียวได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องยกระดับผู้ประกอบการด้านอาหารของไทยให้มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืน ได้แก่ ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ลดการใช้ทรัพยากรน้ำและพลังงาน ลดการปลดปล่อยของเสียและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ลดการสูญเสียระหว่างกระบวนการผลิต ปรับเปลี่ยนของเหลือทิ้งให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการขอรับรองการตรวจประเมินอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry)  จากหน่วยงานภาครัฐโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ดังนั้น เพื่อให้มีการส่งเสริมผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งบริษัทขนาดใหญ่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ SMEs เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยพัฒนาผู้ประกอบการให้ได้รับความรู้ คำปรึกษาด้านการผลิต การจัดการสิ่งแวดล้อม และพลังงานเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในโรงงานเพื่อมุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียวอย่างเป็นระบบทั้งระยะสั้นและระยะยาวตามนโยบายของประเทศ โดยที่ผ่านมา สวทช. ร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ดำเนินงาน การยกระดับอุตสาหกรรมกรรมสีเขียว GI ในกระบวนการผลิต โดยการวินิจฉัยปัญหาเบื้องต้น จากโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการแต่ละราย โดยผู้เชี่ยวชาญจาก สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และนักวิจัยจาก สวทช. และได้จัดกิจกรรมสร้างความเข้าใจข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติตามเกณฑ์อุตสาหกรรมสีเขียวและยกระดับผู้ประกอบการและผู้สนใจ

กำหนดการสัมมนา

13.00 – 13.15 น. กล่าวตอนรับ

โดย ดร. วรรณพ วิเศษสงวน, ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. และ

อนุกรรมการและเลขานุการ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาอาหาร

13.15 – 14.10 น. แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวและประโยชน์ที่ได้รับจากอุตสาหกรรมสีเขียว

โดย นายกิตติณัฐ โสภา, วิศวกรชำนาญการพิเศษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม

14.10 – 14.30 น. นำเสนอโครงการ “การขยายผลโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) เพื่อยกระดับผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต” และหลักเกณฑ์การสนับสนุนของโปรแกรม ITAP 

โดย นางสาวภาวิณี อนุสรณ์เสรี, ที่ปรึกษาอาวุโส โปรแกรม ITAP สวทช.

14.30 – 15.10 น. เทรนด์การขับเคลื่อนด้าน ESG ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ 

โดย นายสุรพล บุพโกสุม, ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาบริการด้านความยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

15.10 – 15.45 น. ช่วงเล่าสู่กันฟังจากผู้ประกอบการที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ  

โดย

  • นางสาวปภาวี สุธาวิวัฒน์, กรรมการผู้จัดการ บริษัท สวิฟท์ จำกัด
  • นายพรชัย ปานศรีแก้ว, กรรมการผู้จัดการ บริษัท พี.ซี.ทูน่า จำกัด
  • นายพัฒน์พงษ์ บุตรราช, ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน
    บริษัท เอ็นไวรอนเมนทัล เทรนนิง แอนด์ ยูทิลิตีส์ จำกัด
15.45 – 16.00 น. ถาม-ตอบ
VDO สัมมนา
เกี่ยวกับวิทยากร
ดร. วรรณพ วิเศษสงวน
ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. และอนุกรรมการและเลขานุการ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาอาหาร
นายกิตติณัฐ โสภา
วิศวกรชำนาญการพิเศษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม
นางสาวภาวิณี อนุสรณ์เสรี
ที่ปรึกษาอาวุโส โปรแกรม ITAP สวทช.
นายสุรพล บุพโกสุม
ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาบริการด้านความยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
นางสาวปภาวี สุธาวิวัฒน์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท สวิฟท์ จำกัด
นายพรชัย ปานศรีแก้ว
กรรมการผู้จัดการ บริษัท พี.ซี.ทูน่า จำกัด
นายพัฒน์พงษ์ บุตรราช
ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน บริษัท เอ็นไวรอนเมนทัล เทรนนิง แอนด์ ยูทิลิตีส์ จำกัด
หัวข้อสัมมนาอื่นๆ