31 มีนาคม 2566

การปรับเปลี่ยนของอุตสาหกรรมยาไทยหลังโควิด

Paradigm Shift in Pharma Industry of Thailand after Covid Era

วิทยากร
  • ดร. วรรณี ฉินศิริกุล
  • ดร. วันวิสาข์ ทองคำวิฑูรย์
  • ดร. ณัฐ อธิวิทวัส
  • ดร.ภญ.มุกดาวรรณ ประกอบไวทยกิจ
  • ดร. นิติพล ศรีมงคลพิทักษ์
  • ดร. กนกวรรณ ศันสนะพงษ์ปรีชา
  • ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์

การปรับเปลี่ยนของอุตสาหกรรมยาไทยหลังโควิด

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรค COVID-19 ยารวมถึงสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม (Active Pharmaceutical Ingredient, API) เพื่อนำมาผลิตยากลายเป็นปัจจัยที่มีความต้องการสูง ไม่สามารถหาซื้อได้ด้วยวิธีปกติ เกิดภาวะขาดแคลนทั่วโลก และประเทศไทยยังจำเป็นต้องนำเข้า API ถึง 90% ดังนั้นการสร้างความมั่นคงทางยาของประเทศในภาวะวิกฤตนี้รวมถึงการวางแผนเพื่อการระบาดของโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ เป็นสิ่งสำคัญจำเป็นและต้องเร่งดำเนินการ จึงเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่าง องค์การเภสัชกรรม บริษัท อินโนบิก (เอเชีย) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการร่วมวิจัยพัฒนา API ศึกษาความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ การวางแผนการผลิต API เพื่อความมั่นคง โดยโครงการนี้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติในด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และแผนแม่บทฯ ด้านอุตสาหกรรมแห่งอนาคต นอกจากนั้นการผลิต API ยังเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญของ BCG Model สาขายาและวัคซีน 


ในงานสัมมนานี้ ท่านจะได้รับฟังแนวคิด BCG Model ด้านยาและวัคซีนของประเทศ มุมมองของเอกชนต่อตลาด API โลก สู่การลงทุน API ในประเทศ โดย บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) สถานการณ์วิกฤติขาดแคลนยา API และการวางแผนการผลิตยาหลังโควิด โดยองค์การเภสัชกรรม รวมถึงเทคโนโลยีและกรณีตัวอย่างในการสังเคราะห์ API โดย BIOTEC สวทช. รวมทั้งยุทธศาสตร์ด้านยาและวัคซีนของประเทศ โดยสำนักงานอาหารและยา รวมถึงการพัฒนายาสมุนไพรจากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ โดย NANOTEC สวทช. รวมถึงทิศทางการสนับสนุนงานวิจัยด้านยาของประเทศโดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS)  การอภิปรายร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น   

กำหนดการสัมมนา

08.30 – 09.00 น.
ลงทะเบียน
09.00 – 09.10 น. กล่าวเปิดสัมมนา 

โดย ดร. วรรณี ฉินศิริกุล, ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ดำเนินรายการโดย ดร. วันวิสาข์ ทองคำวิฑูรย์, ฝ่ายยุทธศาสตร์และติดตามประเมินผล สวทช.

09.10 – 09.30 น. มุมมองตลาด API โลก สู่การลงทุน API ไทย

โดย ดร.ณัฐ อธิวิทวัส, กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด 

09.30 – 9.50 น. วิกฤติยาขาดแคลนและการวางแผนการผลิตยาหลังโควิด

โดย ดร.ภญ.มุกดาวรรณ ประกอบไวทยกิจ, รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม 

9.50 – 10.10 น. เทคโนโลยีและกรณีตัวอย่างในการสังเคราะห์ API

โดย ดร. นิติพล ศรีมงคลพิทักษ์, นักวิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. 

10.10 – 10.30 น. การพัฒนายาสมุนไพรจากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ 

โดย ดร. กนกวรรณ ศันสนะพงษ์ปรีชา, นักวิจัย ทีมวิจัยเวชศาสตร์นาโน กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน (NCAP) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) สวทช.

10.30 – 10.50 น. ทิศทางการสนับสนุนงานวิจัยด้านยาของประเทศ 

โดย ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์, รองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS)

10.50 – 11.30 น. Panel Discussion: 

โอกาสและความท้าทายต่ออุตสาหกรรมใหม่ด้านยาของประเทศ    

 โดย

  • ดร.ณัฐ อธิวิทวัส, กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด
  • ดร.ภญ. มุกดาวรรณ ประกอบไวทยกิจ, รองผู้อำนวยการ องค์การเภสัชกรรม      
  • ดร.นิติพล ศรีมงคลพิทักษ์, นักวิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
  • ดร. กนกวรรณ ศันสนะพงษ์ปรีชา, นักวิจัย ทีมวิจัยเวชศาสตร์นาโน กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน (NCAP) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) สวทช.
  • ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์, รองผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS)

ดำเนินรายการโดย ดร. วันวิสาข์ ทองคำวิฑูรย์

ฝ่ายยุทธศาสตร์และติดตามประเมินผล สวทช.

เกี่ยวกับวิทยากร
ดร.วรรณี ฉินศิริกุล
ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)
ดร. วันวิสาข์ ทองคำวิฑูรย์
ฝ่ายยุทธศาสตร์และติดตามประเมินผล สวทช.
ดร.ณัฐ อธิวิทวัส
กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด
ดร.ภญ.มุกดาวรรณ ประกอบไวทยกิจ
ดร. นิติพล ศรีมงคลพิทักษ์
นักวิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
ดร. กนกวรรณ ศันสนะพงษ์ปรีชา
นักวิจัย ทีมวิจัยเวชศาสตร์นาโน กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน (NCAP) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) สวทช.
ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์
รองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS)
หัวข้อสัมมนาอื่นๆ