29 มีนาคม 2566

พลิกวิกฤติโรคอหิวาต์แอฟริกาสุกรเป็นโอกาส ด้วยวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม

Transforming Crisis of African Swine Fever into Opportunity with Science and Innovation

วิทยากร
  • ดร. ธีรยุทธ ตู้จินดา 
  • ดร. อนันต์ จงแก้ววัฒนา
  • ดร. ธีระเดช ทวีรัตนศิลป์
  • สพ.ญ.ดร. ฌัลลิกา แก้วบริสุทธิ์
  • คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย
  • รศ.น.สพ.ดร. มานะกร สุขมาก
  • น.สพ. อภิชาติ วงศ์ฉายา
  • ดร. สุรพงษ์ ขุนแผ้ว

พลิกวิกฤติโรคอหิวาต์แอฟริกาสุกรเป็นโอกาส ด้วยวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม

โรคอหิวาต์แอฟริกาสุกรเกิดจากเชื้อไวรัสอหิวาต์แอฟริกา (African swine fever virus, ASFV) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในสุกรที่ร้ายแรง สร้างความเสียหายแก่ธุรกิจการเลี้ยงสุกรทั่วโลกอย่างมหาศาล แม้ว่าเชื้อไวรัสก่อโรคดังกล่าวจะถูกค้นพบมาเกือบ 100 ปี แต่องค์ความรู้พื้นฐาน ตลอดจนเทคโนโลยีสำหรับการป้องกันและควบคุมโรคยังมีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาสุกรยังมีประสิทธิภาพที่ไม่ดีเท่าที่ควร โดยนับตั้งแต่การตรวจพบการระบาดของเชื้อไวรัส ASFV ในประเทศไทย งานวิจัยและพัฒนาได้เริ่มบูรณาการขึ้นในหลายมิติและในหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่น การศึกษาเกี่ยวกับไวรัสวิทยาพื้นฐานของเชื้อไวรัส ASFV การแยกเชื้อและถอดรหัสพันธุกรรม การพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำและรวดเร็ว การวิจัยและพัฒนาวัคซีนในรูปแบบต่าง ๆ การตรวจหาสารออกฤทธิ์ต้านการติดเชื้อไวรัส ตลอดจนการบริหารจัดการระบบความปลอดภัยในฟาร์ม เป็นต้น การสัมมนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์เกี่ยวกับนวัตกรรม และการบริการจัดการเพื่อแก้ไขการระบาดของเชื้อไวรัส ASFV ระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และนักวิชาชีพด้านสัตวแพทย์จากภาคเอกชน นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจ เพื่อนำองค์ความรู้และนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานหรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

กำหนดการสัมมนา

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 9.10 น. กล่าวเปิดสัมมนา

โดย ดร. ธีรยุทธ ตู้จินดา, รักษาการรองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

09.10 – 09.45 น. ไวรัสวิทยาของ ASFV กับหลายปริศนาที่รอการค้นพบ

โดย ดร. อนันต์ จงแก้ววัฒนา, ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ 

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

09.45 – 10.20 น. ประสบการณ์จากการแยก ASFV สายพันธุ์ไทยได้สำเร็จ สอนอะไรบ้าง

โดย ดร. ธีระเดช ทวีรัตนศิลป์, นักวิจัย กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

10.20 – 10.40 น. พักระหว่างการสัมมนา
10.40 – 11.15 น. วัคซีน ASFV: ความหวัง และ ความท้าทาย

โดย สพ.ญ.ดร. ฌัลลิกา แก้วบริสุทธิ์, นักวิจัย กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

11.15 – 11.50 น. เทคโนโลยี PigXY-AMP กับการตรวจวินิจฉัย ASFV

โดย คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย, นักวิจัยอาวุโส กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

11.50 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย
13.00 – 13.40 น. ทิศทางของการพัฒนางานวิจัยกับโจทย์จากภาคสนามในการจัดการ ASFV 

โดย รศ.น.สพ.ดร. มานะกร สุขมาก, คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

13.40 – 14.20 น. การวินิจฉัยและการเฝ้าระวัง ASF ในฟาร์มเกษตร

โดย น.สพ. อภิชาติ วงศ์ฉายา, บริษัทเวทโปรดักส์ รีเซิร์ช แอนด์ อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด

14.20 – 14.35 น. พักระหว่างการสัมมนา
14.35 – 15.30 น. เสวนาเรื่อง การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปแก้ปัญหาการระบาดของ ASFV ในประเทศไทย บทบาทของโมเดลเศรษฐกิจ BCG

โดย

  • ดร. อนันต์ จงแก้ววัฒนา
  • สพ.ญ.ดร. ฌัลลิกา แก้วบริสุทธิ์
  • รศ.น.สพ.ดร. มานะกร สุขมาก
  • น.สพ. อภิชาติ วงศ์ฉายา

ดำเนินรายการโดย ดร. สุรพงษ์ ขุนแผ้ว, นักวิจัย กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

15.30 น. ปิดการสัมมนา
สถาบันหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อสัมมนา
VDO สัมมนา
เกี่ยวกับวิทยากร
ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา 
รักษาการรองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
ดร. อนันต์ จงแก้ววัฒนา
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
ดร. ธีระเดช ทวีรัตนศิลป์
นักวิจัย กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
สพ.ญ.ดร. ฌัลลิกา แก้วบริสุทธิ์
นักวิจัย กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย
นักวิจัยอาวุโส กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและการค้นหาสารชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
รศ.น.สพ.ดร. มานะกร สุขมาก
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
น.สพ. อภิชาติ วงศ์ฉายา
บริษัทเวทโปรดักส์ รีเซิร์ช แอนด์ อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด
ดร. สุรพงษ์ ขุนแผ้ว
นักวิจัย กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช
หัวข้อสัมมนาอื่นๆ