หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ เดือนสิงหาคม 2563
รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ เดือนสิงหาคม 2563
14 ม.ค. 2564
0
นานาสาระน่ารู้

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน สิงหาคม 2563

บทบาทของสถานเอกอัครราชทูตฯ ในช่วงการระบาด

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครแวนคูเวอร์ ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ได้รับผลกระทบ
จากไวรัสโควิด – 19 ทั้งการมอบถุงยังชีพแก่คนไทย และการให้กำลังใจ ตั้งแต่เดือนเมษายนที่มีการห้ามอากาศยานพาณิชย์ลงจอดในประเทศไทย
สถานเอกอัครราชทูต ได้จัดเที่ยวบินพิเศษของสายการบินพาณิชย์ (Repatriation Flight) นำคนไทยกลับประเทศรวม 10 เที่ยวบิน

ความสัมพันธ์ไทย – แคนาดา ในด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

แคนาดาและไทยได้สร้างความร่วมมือโดยนำความรู้ และแนวปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ ทั้งด้านการวิจัยและพัฒนา การแพทย์และสาธารณสุข
เทคโนโลยีและนวัตกรรม พลังงาน สิ่งแวดล้อม และการร่วมกันแก้ไขปัญหาและความท้าทายระหว่างประเทศ ซึ่งไทยและแคนาดามีความ
ร่วมมือร่วมกันอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนาน

ความร่วมมือด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ไทยและแคนาดาสร้างความร่วมมือหลายด้าน เช่น

-แคนาดาสนับสนุนการก่อตั้งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ของไทย และมีการสนับสนุนทุนวิจัยร่วมกับ TDRI อย่างต่อเนื่อง
เช่น ความร่วมมือภายใต้โครงการท้าทายแคนาดา (Grand Challenges Canada – GCC) ซึ่งรัฐบาลแคนาดาสนับสนุนงบประมาณทุนวิจัยและ
พัฒนานวัตกรรมด้านสาธารณสุข ซึ่งไทยได้นำรูปแบบดังกล่าวมาพัฒนาเป็นโครงการท้าทายไทย (Grand Challenges Thailand)

-การแลกเปลี่ยนบุคลากรและการทำวิจัยร่วมทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึง ความร่วมมือระดับสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ เช่น โครงการ
ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างมหาวิทยาลัย McGill กับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

-การสนับสนุนให้เพิ่มการแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษา รวมทั้ง นักเรียนทุนรัฐบาล โดยแคนาดามีข้อได้เปรียบด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
ค่าใช้จ่าไม่สูงมาก และมีทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาต่างชาติ

-ในปี 2560 แคนาดาได้หารือกับภาคเอกชนในจังหวัดภูเก็ต และเชียงใหม่ เกี่ยวกับการนำต้นแบบการบริหารจัดการรูปแบบ Smart City
มาประยุกต์ใช้ในไทย ซึ่งบริษัทกิจการด้านพลังงานสะอาดของไทยสนใจและอยู่ระหว่างการประสานงานกับภาคธุรกิจของแคนาดา

-ธันวาคม 2561 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับสภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา (The National Research
Council of Canada-NRC) ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อมุ่ง
พัฒนาความร่วมมือในนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ และเกษตรกรรมสมัยใหม่

การพัฒนานวัตกรรมในแคนาดา

ความท้าทายที่กำหนดอนาคต

การเติบโตของเศรษฐกิจ แคนาดามีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าแคนาดาจะได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย
และอัตราภาษีลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่ยังไม่เพียงพอทั้งนี้แคนาดมีคนในวัยทำงานน้อยลงทำให้การเติบโตในอนาคตมีแนวโน้มลดลง

เทคโนโลยีขั้นสูง เทคโนโลยีเปลี่ยนเป็นดิจิทัลและทำให้ชีวิตของคนเป็นรูปแบบอัตโนมัติ อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีอื่นๆ ช่วนให้การสื่อสาร
จากทุกมุมโลกเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องเปิดกว้างเพื่อนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็นในอนาคต

ยุคแห่งโลกาภิวัฒน์ ยุคแห่งการแข่งขันการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆ เพื่อเติบโตทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดแรงกดดัน
ในการแข่งขันนวัตกรรมระดับโลกที่เข้มข้นขึ้น

การเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ จากผลกระทบการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ แคนาดาทุ่มเงินทุนจำนวนมาก
เพื่อผลักดันนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด

Innovation Agenda

รัฐบาลแคนาดาวางกลยุทธ์การพัฒนานวัตกรรมไว้ 4 ส่วน คือ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประเทศที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี มีความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดโลก ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถ
ของทรัพยากรบุคคลในประเทศเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ

การพัฒนาทักษะ

Clean Tech การพัฒนาพลังงานสะอาด

การพัฒนาพลังงานสะอาด เป็นส่วนหนึ่งในแผนการพัฒนานวัตกรรม Innovation and Skills Plan เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและการเติบโตทางด้าน
เทคโนโลยีสะอาด โดยกระจายในเขตมณฑลต่างๆ

 

เขตมณฑล British Columbia

Click Materials บริษัทผลิตกระจกสำหรับที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ และตลาดยานยนต์ มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพของกระจก
ช่วยประหยัดพลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสามารถเชื่อมโยงเข้ากับอาคารอัจฉริยะ/บ้านอัจฉริยะที่สั่งงานด้วยเสียง

Cryologistics พัฒนาภาชนะหุ้มฉนวนที่ใช้คาร์บอนไดออกไซด์เหลวเป็นสารทำความเย็นตามธรรมชาติ สำหรับการขนส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์
ทางชีวภาพที่ไวต่ออุณหภูมิ

เขตมณฑล Alberta

Quebe Technologies Inc. พัฒนาอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) สำหรับใช้ในอุตสาหกรรม AI เพื่อตรวจจับและลดการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกในโรงงานผลิตน้ำมันและก๊าซ

เขตมณฑล Nova Scotia

Salient Energy พัฒนาแบตเตอรี่พลังงานสะอาดรูปแบบใหม่ โดยใช้ซิงค์ไอออน (Zinc-Ion) ซึ่งมีราคาถูก ปลอดภัย และมีอายุการใช้งาน
ยาวนานกว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ใช้กันในปัจจุบัน

เขตมณฑล Ontario

EcoPackers เปลี่ยนผลผลิตได้จากการเกษตรให้เป็นทางเลือกใหม่แทนการใช้พลาสติก โดยผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพืชและย่อยสลายได้ 100%

Aspire Food Group สร้างฟาร์มจิ้งหรีด โดยใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติ เช่นการใช้หุ่นยนต์ และการเก็บข้อมูลอัตโนมัติ และมุ่งไปที่ตลาดที่ใช้แมลง
เพื่อการใช้งานทางด้านชีวการแพทย์ เคมีเกษตร และด้านโภชนาการ

Pantonium โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในระบบขนส่งสาธารณะเส้นทางเดินรถ และตอบสนองแบบเรียลไทม์

เขตมณฑล Quebec

Anomera ผลิตนาโนคริสตัลเซลลูโลสคาร์บอกซิล (Carboxylated Cellulose Nanocrystals : CNC) ใช้ทดแทนพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลาย
นำมาใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพและเครื่องสำอาง ปูนซีเมนต์ ส่วนประกอบโพลิเมอร์ สารเคลือบ การเกษตร และการแพทย์

Effenco สำหรับใช้ในรถบรรทุกเชิงพาณิชย์ที่สามารถประหยัดเชื้อเพลิงได้ถึง 10% และลดต้นทุนการทำนุบำรุงรักษายานพาหนะ
และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Sollum Technologies Inc. พัฒนาระบบแสงสว่างอัจฉริยะและสามารถปรับระดับแสงธรรมชาติ ช่วยลดการใช้พลังงานได้ 30%

National Research Council (NRC)

สภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา เป็นองค์กรวิจัยที่ใหญ่ที่สุดของรัฐบาลแคนาดา มุ่งเน้นศึกษาและพัฒนา 5 สาขาหลัก ได้แก่ 1) เทคโนโลยีดิจิทัล
2) เทคโนโลยีอุบัติใหม่ 3) วิศวกรรม 4) ชีววิทยาศาสตร์ และ 5) การขนส่งและการผลิต

 

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/ost-sci-review-aug2020.pdf

 

แชร์หน้านี้: