หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญขององค์กรฐานความรู้ ศึกษาจากการตอบแบบสอบถามของผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยในอิหร่าน
ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญขององค์กรฐานความรู้ ศึกษาจากการตอบแบบสอบถามของผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยในอิหร่าน
26 มี.ค. 2564
0
นานาสาระน่ารู้

1. จาการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามของ 30 ผู้สอนในเรื่องการจัดการรัฐบาลของมหาวิทยาลัยแห่งชาติและมหาวิทยาลัย Azad ในอิหร่าน สามารถแบ่งปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญเป็น 3 ประเด็นหลัก และ 18 ประเด็นย่อย ดังนี้

1. โครงสร้างองค์กร (Structural) ประกอบด้วย 8 ประเด็นย่อย

1.1 การลื่นไหลของความรู้ (fluidity)

โครงสร้างองค์กรควรทำให้เกิดการลื่นไหลของความรู้

1.2 กำจัดขอบเขต (eliminate of boundary)

องค์กรฐานความรู้ต้องเป็นอิสระจากขอบเขตที่จำกัด ทำให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยไม่มีข้อห้ามจากการควบคุมและอำนาจที่เป็นทางการ

1.3 ความยืดหยุ่น (flexibility)

โครงสร้างองค์กรต้องมีความยืดหยุ่น ทำให้จัดระเบียบความรู้ได้เหมาะสม

1.4 เทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology)

เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรฐานความรู้เพิ่มคุณค่า เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวมและเผยแพร่ความรู้

1.5 ใช้ทีมและมอบรางวัลให้ (applying teams and awarding them)

การประเมินความสามารถและการให้ผลตอบแทนเป็นทีมจะทำให้สมาชิกช่วยกันพัฒนาความสามารถและแบ่งปันความรู้ระหว่างกัน

1.6 ความเป็นทางการ (formality)

1.7 การรวมอำนาจมาอยู่ส่วนกลาง (centralization)

1.8 ความซับซ้อน (complexity)

 

2. พฤติกรรมองค์กร (Behavioral) ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย

2.1 การแก้ประเด็นและปัญหาอย่างเป็นระบบ (issues and problem solving in a systemic way)

องค์กรต้องยอมรับปัญหาและประเด็นและประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาโดยการตั้งสมมติฐานและการทดสอบ

2.2 การทดสอบและประสบการณ์ (test and experience)

การทดสอบและประสบการณ์เป็นการค้นหาและทดสอบความรู้ใหม่ ก่อให้เกิดความรู้

2.3 เรียนรู้จากอดีต (learning from past)

องค์กรเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต โดยการทบทวนความล้มเหลวและความสำเร็จและค้นหาเหตุผลให้ความรู้อย่างมาก และต้องทำให้ความรู้ที่ได้เข้าถึงได้โดยสมาชิกทุกคนเมื่อต้องการใช้ประโยชน์

2.4 เลียนแบบสิ่งที่ดีที่สุด (imitating the best)

องค์กรฐานความรู้ให้ความรู้จากการเรียนรู้จากบุคคลอื่น

2.5 การถ่ายทอดและกระจายความรู้ (transmitting and distributing knowledge)

องค์กรฐานความรู้ต้องสามารถสร้าง บันทึก และกระจายความรู้อย่างเหมาะสม ความรู้ไม่ควรจำกัดอยู่กับกลุ่มจำเพาะ ควรจะกระจายไปทั่วทั้งองค์กรและสมาชิกทุกคน ความคิดมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อกระจายไปทั่วทุกคน

 

3. วัฒนธรรมองค์กร (cultural) ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย

3.1 ค่านิยมอิสลามและศาสนา (Islamic and religious values)

สังคมอิหร่านขึ้นอยู่กับค่านิยมอิสลาม ต้องพิจารณาในนโยบายระบบราชการ

3.2 การมีส่วนร่วม (participation)

การมีส่วนร่วมของสมาชิกในองค์กรจะช่วยส่งเสริมการพัฒนา รักษาไว้ แบ่งปัน และประยุกต์ใช้ความรู้

3.3 ความไว้วางใจ (trust)

ความไว้วางใจเป็นความยินดีที่จะแบ่งปันความรู้

3.4  knowledge fostering leading

3.5 คุณธรรมนิยม (meritocracy)

คุณธรรมนิยมหมายถึงการใช้คนที่ดีที่สุดในตำแหน่งที่เหมาะสมในองค์กร

 

2. จัดอันดับความสำคัญของ 3 ประเด็นหลักและ 18 ประเด็นย่อยโดยใช้ซอฟต์แวร์คำนวณค่าน้ำหนักความสำคัญ (weight significance) ของแต่ละประเด็น ผลเป็นดังนี้

2.1 ผลการจัดอันดับความสำคัญของ 3 ประเด็นหลัก พบว่า วัฒนธรรมองค์กรมีความสำคัญเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ โครงสร้างองค์กร และตามด้วยพฤติกรรมองค์กร

2.2 ผลการจัดอันดับความสำคัญของ 18 ประเด็นย่อย เรียงลำดับจากอันดับ 1 ถึงอันดับ 18 ได้ดังนี้ trust ในวัฒนธรรมองค์กร, participation ในวัฒนธรรมองค์กร, information technology ในโครงสร้างองค์กร, meritocracy ในวัฒนธรรมองค์กร, flexibility ในโครงสร้างองค์กร, Islamic and religious values ในวัฒนธรรมองค์กร, fluidity ในโครงสร้างองค์กร, eliminate of boundary ในโครงสร้างองค์กร, team depending and awarding them ในโครงสร้างองค์กร, knowledge fostering leading ในวัฒนธรรมองค์กร, formality ในโครงสร้างองค์กร, issues and problem solving in a systemic way ในพฤติกรรมองค์กร, complexity ในโครงสร้างองค์กร, centralization ในโครงสร้างองค์กร, imitating the best ในพฤติกรรมองค์กร, transmitting and distributing knowledge ในพฤติกรรมองค์กร, test and experience ในพฤติกรรมองค์กร และ learning from past ในพฤติกรรมองค์กร ตามลำดับ

 

ที่มา: Somayeh Hosseinzadeh, Toraj Mojibi, Seyyed Mehdi Alvani and Javad Rezaeian (2019).  Prioritizing and Analyzing Key Factors of Succeeding Knowledge-Based Organizations Using Analytical Hierarchy Process (AHP). Retrieved January 18, 2021, from https://ijol.cikd.ca/article_60471_11124a8e6a5ce213a7207294875d1a7e.pdf

แชร์หน้านี้: