หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ ผลการจัดอันดับความสามารถทางนวัตกรรม ประจำปี 2564 โดย WIPO (Global Innovation Index 2021)
ผลการจัดอันดับความสามารถทางนวัตกรรม ประจำปี 2564 โดย WIPO (Global Innovation Index 2021)
20 ธ.ค. 2564
0
นานาสาระน่ารู้

ในปี 2564 WIPO ได้จัดอันดับความสามารถทางนวัตกรรมของ 132 ประเทศทั่วโลก และได้เผยแพร่ไว้ที่ https://www.wipo.int/global_innovation_index/en/2021/?gclid=EAIaIQobChMI6f6Mrq3l9AIVS5lmAh2Saw98EAAYASAAEgIih_D_BwE โดยมีผลการจัดอันดับดังนี้

ตารางผลการจัดอันดับความสามารถทางนวัตกรรมของประเทศ 5 อันดับแรกและประเทศไทย ปี 2563-2564 โดย WIPO

 ประเทศ  สวิตเซอร์แลนด์  สวีเดน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ ไทย
ปี 2564 2563 2564 2563 2564 2563 2564 2563 2564 2563 2564 2563
อันดับรวม 1 1 2 2 3 3 4 4 5 10 43 44
1. สถาบัน 13 13 9 11 12 9 15 16 28 29 64 65
1.1 สภาพแวดล้อมด้านการเมือง 3 2 8 10 19 16 21 25 18 24 54 51
1.2 สภาพแวดล้อมด้านการควบคุม 7 7 13 13 12 11 9 8 57 52 112 113
1.3 สภาพแวดล้อมด้านธุรกิจ 47 47 16 16 2 2 12 12 10 10 20 20
2. ทุนมนุษย์และการวิจัย 6 6 2 3 11 12 10 10 1 1 63 67
2.1 การศึกษา 24 31 4 6 41 45 28 35 22 28 86 87
2.2 อุดมศึกษา 21 18 25 28 45 45 18 15 13 16 57 58
2.3 การวิจัยและพัฒนา 3 4 5 6 2 2 9 9 1 1 47 46
3. โครงสร้างพื้นฐาน 2 3 3 2 23 24 10 6 12 14 61 67
3.1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 15 21 22 13 9 9 2 1 1 2 60 79
3.2 โครงสร้างพื้นฐานทั่วไป 24 25 6 4 18 15 40 38 11 10 48 50
3.3 ความยั่งยืนด้านนิเวศวิทยา 2 2 17 15 55 59 14 14 50 49 68 67
4. ความซับซ้อนของตลาด 6 6 11 12 2 2 4 5 18 11 27 22
4.1 เครดิต 7 6 17 17 1 1 10 8 12 10 24 21
4.2 การลงทุน 10 7 16 21 9 13 5 5 65 42 64 31
4.3 การค้า การแข่งขัน และขนาดตลาด 46 27 24 30 18 1 3 4 16 12 19 25
5. ความซับซ้อนของธุรกิจ 4 2 1 1 2 5 21 19 7 7 36 36
5.1 คนทำงานที่มีความรู้ 5 4 3 3 4 5 14 16 1 2 51 51
5.2 การเชื่อมต่อนวัตกรรม 4 5 2 2 5 8 17 14 15 16 67 68
5.3 การดูดซับความรู้ 11 12 6 13 7 5 27 27 8 8 18 15
6. ผลผลิตของความรู้และเทคโนโลยี 1 1 2 2 3 3 10 9 8 11 40 44
6.1 การสร้างความรู้  1 1 2 2 3 3 8 6 7 7 47 54
6.2 ผลกระทบของความรู้ 2 5 14 19 1 3 19 10 23 27 44 32
6.3 การเผยแพร่ความรู้ 12 6 6 4 16 16 15 11 7 15 33 36
7. ผลผลิตจากการสร้างสรรค์ 2 2 5 7 12 11 4 5 8 14 55 52
7.1 ทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ 5 3 8 8 21 15 10 9 1 2 68 57
7.2 สินค้าและบริการสร้างสรรค์ 3 3 19 21 7 7 6 10 20 19 15 14
7.3 การสร้างสรรค์ออนไลน์ 4 5 7 6 21 18 10 10 37 37 84 73

สวิตเซอร์แลนด์ได้อันดับ 1 ในปีนี้เหมือนปีที่แล้ว รองลงมาคือ สวีเดน ซึ่งปีนี้มีอันดับเหมือนปีที่แล้ว ถัดมาเป็นสหรัฐอเมริกา มีอันดับเหมือนปีที่แล้ว สหราชอาณาจักรยังคงครองอันดับ 4 ไว้เหมือนปีที่แล้ว อันดับ 5 คือ เกาหลีใต้ มีอันดับเลื่อนขึ้นมาจากปีที่แล้ว 5 อันดับ ส่วนไทยได้อันดับ 43 ดีขึ้นจากปีที่แล้ว 1 อันดับ ได้อันดับ 44 ในปีที่แล้ว

สำหรับไทยปีนี้ได้อันดับ 43 ดีขึ้นจากปีที่แล้ว 1 อันดับ ได้อันดับ 44 ในปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับดีขึ้นของ 3 ปัจจัย เป็นหลัก จากทั้งหมด 7 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยทุนมนุษย์และการวิจัย เลื่อนอันดับขึ้น 4 อันดับ จากอันดับ 67 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 63 ในปีนี้ 2. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เลื่อนอันดับขึ้น 6 อันดับ จากอันดับ 67 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 61 ในปีนี้ 3. ปัจจัยผลผลิตของความรู้และเทคโนโลยี เลื่อนอันดับขึ้น 4 อันดับ จากอันดับ 44 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 40 ในปีนี้ ปัจจัยย่อยที่ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยทุนมนุษย์และการวิจัย คือ ปัจจัยย่อยการศึกษาและปัจจัยย่อยอุดมศึกษา ที่มีอันดับเลื่อนขึ้น 1 อันดับ จากอันดับ 87 และ 58 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 86 และ 57 ในปีนี้ ตามลำดับ ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน คือ ปัจจัยย่อยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 19 อันดับ จากอันดับ 79 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 60 ในปีนี้ ทำให้ปัจจัยย่อยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีอันดับเลื่อนขึ้นมากที่สุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมด ปัจจัยย่อยหลักที่ทำให้เกิดการเลื่อนอันดับขึ้นของปัจจัยผลผลิตของความรู้และเทคโนโลยี คือ ปัจจัยย่อยการสร้างความรู้ ที่มีอันดับเลื่อนขึ้นถึง 7 อันดับ จากอันดับ 54 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับ 47 ในปีนี้ อันดับที่ได้ของทั้ง 7 ปัจจัยทั้งในปีนี้และปีที่แล้วของไทยจัดอยู่ในระดับค่อนไปในทางที่ดีจนถึงปานกลาง โดยมีปัจจัยความซับซ้อนของตลาดและปัจจัยความซับซ้อนของธุรกิจ มีอันดับค่อนไปในทางที่ดีทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ได้อันดับ 22 และ 36 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้ได้อันดับ 27 และ 36 ตามลำดับ ปัจจัยย่อยที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างมากเนื่องจากมีอันดับไม่ดีและต่ำที่สุดจากปัจจัยย่อยทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว คือ ปัจจัยย่อยสภาพแวดล้อมด้านการควบคุม ที่มีอันดับ 113 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 112 ตัวชี้วัดที่มีอันดับที่ไม่ดีต้องได้รับการพัฒนาอย่างมากทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ได้แก่ 1. ตัวชี้วัด Cost of redundancy dismissal มีอันดับ 123 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 124 อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยสภาพแวดล้อมด้านการควบคุม ปัจจัยสถาบัน ทำให้ตัวชี้วัด Cost of redundancy dismissal เป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำที่สุดจากตัวชี้วัดทั้งหมดทั้งปีนี้และปีที่แล้ว 2. ตัวชี้วัด Pupil-teacher ratio, secondary มีอันดับ 109 ทั้งปีนี้และปีที่แล้ว อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยการศึกษา ปัจจัยทุนมนุษย์และการวิจัย 3. ตัวชี้วัด ICT services imports, % total trade มีอันดับ 123 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 116 อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยการดูดซับความรู้ ปัจจัยความซับซ้อนของธุรกิจ ทำให้ตัวชี้วัด ICT services imports, % total trade เป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำที่สุดจากตัวชี้วัดทั้งหมดในปีที่แล้ว 4. ตัวชี้วัด ICT services exports, % total trade มีอันดับ 117 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 118 อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยการเผยแพร่ความรู้ ปัจจัยผลผลิตของความรู้และเทคโนโลยี 5. ตัวชี้วัด Country-code TLDs/th pop. 15–69 มีอันดับ 100 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 102 อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยการสร้างสรรค์ออนไลน์ ปัจจัยผลผลิตจากการสร้างสรรค์ ส่วนตัวชี้วัดที่มีอันดับดีมากทั้งปีนี้และปีที่แล้ว ได้แก่ 1. ตัวชี้วัด Ease of protecting minority investors มีอันดับ 3 ทั้งปีที่แล้วและปีนี้ อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยการลงทุน ปัจจัยความซับซ้อนของตลาด 2. ตัวชี้วัด GERD financed by business, % มีอันดับ 1 ทั้งปีที่แล้วและปีนี้ อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยคนทำงานที่มีความรู้ ปัจจัยความซับซ้อนของธุรกิจ ทำให้ตัวชี้วัด GERD financed by business, % เป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับดีที่สุดจากตัวชี้วัดทั้งหมดทั้งปีที่แล้วและปีนี้ 3. ตัวชี้วัด Creative goods exports, % total trade มีอันดับ 1 ในปีที่แล้ว ส่วนปีนี้มีอันดับ 8 อยู่ภายใต้ปัจจัยย่อยสินค้าและบริการสร้างสรรค์ ปัจจัยผลผลิตจากการสร้างสรรค์

คงเป็นข่าวดีสำหรับไทยที่มีอันดับเลื่อนขึ้นมา 1 อันดับจากปีที่แล้ว แต่ยังต้องพัฒนาอีกหลายด้านเนื่องจากในปีนี้ได้อันดับ 43 ซึ่งเป็นอันดับค่อนไปทางระดับปานกลาง เพื่อในปีหน้าไทยจะมีอันดับรวมดีขึ้นกว่านี้มาก โดยเฉพาะด้าน Cost of redundancy dismissal ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่มีอันดับต่ำที่สุดในบรรดาตัวชี้วัดทั้งหมดทั้งในปีนี้และปีที่แล้ว

 

แชร์หน้านี้: