หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 6 เดือน มิถุนายน 2563
วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 6 เดือน มิถุนายน 2563
24 พ.ย. 2563
0
นานาสาระน่ารู้

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 6 เดือน มิถุนายน 2563

การประชุม Global Vaccine Summit เพื่อระดมทุนพัฒนาวัคซีนในการต่อสู้กับโรคติดเชื้อ

สืบเนื่องจากการจัดการประชุมนานาชาติ “Coronavirus Global Response Pledging Conference” ในรูปแบบออนไลน์
ระหว่างผู้นำประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ร่วมกับผู้นำของประเทศอื่นๆ ทั่วโลก เพื่อระดมทุนสนับสนุนการวิจัยพัฒนาวัคซีน
ป้องกันโรคโควิด-19 ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ให้ความเห็นว่า วัคซีนจะสามารถช่วยชีวิตประชาชนได้ โดยเฉพาะ
ประชาชนพื้นที่กลุ่มเสี่ยง องค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน Gavi มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยประเทศกำลังพัฒนาในการสร้าง
ระบบสาธารณสุขและโครงการการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมที่ได้รับเงินสนับสนุน

เงินสนับสนุน 300 ล้านยูโร จากคณะกรรมาธิการยุโรปจะถูกนำไปใช้ในกิจกรรมดังต่อไปนี้

– จัดหาวัคซีนให้แก่เด็กจำนวน 300 ล้านคนทั่วโลก และช่วยชีวิตประชาชนกว่า 8 ล้านคน

– ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาให้มีอิสรภาพทางการเงิน
ในการจัดการกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ

– ส่งเสริมโครงการการพัฒนาวัคซีนและแจกจ่ายไปให้แก่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก

– ป้องกันการแพร่ระบาดซ้ำของโรคโปลิโอ

– จัดสร้างคลังวัคซีนเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อต่างๆ ในอนาคต

เนื่องจากงบประมาณสนับสนุนจากการระดมทุนจะมุ่งเน้นไปยังองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน Gavi เป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทย
เช่น สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข และไปโอเทคที่ปัจจุบันมีโครงการพัฒนาวัคซีนร่วมกัน จะประสานในการ
สร้างความร่วมมือในระดับนานาชาติกับองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน Gavi ในการร่วมพัฒนาวัคซีนในการต่อสู้โรคติดเชื้อ

การประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลและสร้างเครือข่ายการวิจัยเพื่อต่อสู้กับโรคโควิด-19

สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้ร่วมประชุมออนไลน์ COVID-19 International online
R&I networking event จัดโดยคณะกรรมาธิการยุโรป ด้านการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเข้ารับทราบข้อมูลงานวิจัยทั่วโลกใน
ประเด็นการจัดการกับโรคโควิด-19 จุดประสงค์หลัก คือ เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการวิจัย รวมไปถึงนำเสนอผลงานวิจัย
ของโครงการที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันให้แก่เครือข่ายนักวิจัยและบุคคลการด้านนโยบายทางวิทยาศาสตร์ ได้แลกเปลี่ยนข้อมูล
วิทยาการด้านการรักษาโรคโควิด-19

แพลตฟอร์มแบ่งปันข้อมูลสำหรับนักวิจัยเพื่อต่อสู้กับโรคโควิด-19

ในการประชุมนำเสนอ EU Covid-19 Data Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่จัดตั้งโดยสหภาพยุโรปเพื่อให้นักวิจัยเก็บรักษา
แบ่งปัน และวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ร่วมกัน แพลตฟอร์มรวบรวมข้อมูล อาทิ ลำดับพันธุกรรม โครงสร้าง
โปรตีนของไวรัส ข้อมูลจากการวิจัยระยะก่อนและหลังมีอาการของโรค ข้อมูลด้านการระบาดวิทยา ฯ สามารถเข้าถึงได้ที่
https://www.covid19dataportal.org/  โดยแพลตฟอร์ม จะรวบรวมฐานข้อมูลโครงการวิจัย ได้แก่ การศึกษาวิธีการแพร่
กระจายและการตรวจวินิจฉัยของไวรัส การวิจัยในสัตว์ทดลองและสภาพแวดล้อม การศึกษาทางระบาดวิทยา การทดลองทาง
คลินิก การศึกษาหาวิธีการป้องกันการติดเชื้อ การวิจัยและพัฒนาวิธีการรักษา การวิจัยและพัฒนาวัคซีน การศึกษาจริยธรรมของ
การวิจัย และการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ในการตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

วิทยาการด้านการรักษาโรคโควิด-19

จากการนำเสนอข้อมูลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 สรุปได้ดังนี้

ในงานวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง มีระดับไซโตไคน์ (cytokines) หลายชนิดในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ไซโตไคน์เป็นสารที่สร้างและหลั่งโดยเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน มีบทบาทในการตอบสนองที่รุนแรงมากเกินไป ทำให้มีการหลั่ง
ไซโตไคน์หลายชนิดสู่กระแสเลือดทันทีพร้อมกันในปริมาณมาก ก่อให้เกิดการอักเสบของอวัยวะบางส่วน ผลมาจากปฏิกิริยา
การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกายในการต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม โดยการอักเสบซึ่งอาจรุนแรงจนทำให้อวัยวะนั้นทำงาน
ล้มเหลว และนำสู่การเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ ในช่วงมีการระบาดได้มีการทดลองนำยาต้านไซโตไคน์บางชนิดมาทดลองใช้รักษาผู้ป่วย
เพื่อช่วยชีวิตตามความจำเป็น เช่น ใช้รักษาอาการปอดอักเสบรุนแรง การศึกษาส่วนใหญ่เริ่มต้นเดือนเมษายน 2563 และจะได้
เริ่มประเมินผลเบื้องต้นในเดือนมิถุนายน 2563

สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเปิดตัวโครงการให้ทุนวิจัยเพื่อพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

กระทรวงการศึกษาและวิจัยของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (the Federal Ministry of Education and Research, BMBF)
ส่งเสริมการพัฒนาวัคซีนในสถาบันวิจัยท้องถิ่น เนื่องจากวัคซีนสำหรับไวรัส SARS-CoV-2 เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยฟื้นฟูเสถียรภาพ
ทางสังคมและเศรษฐกิจ โครงการสนับสนุนทุนวิจัยนี้จะช่วยเร่งการพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย จุดมุ่งหมายหลักคือ
การพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและสามารถผลิตได้ในระดับอุตสาหกรรมภายในปี 2564 มุ่งเน้นการสนับสนุนการทดลองทางคลินิก
ขยายขีดความสามารถวิจัย และเพิ่มกำลังการผลิต

สาขาในการให้ทุนวิจัย

โครงการสนับสนุนทุนวิจัยนี้ สนับสนุนโครงการที่สามารถนำไปต่อยอดในอุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพ ดังนี้

การพัฒนาและทดสอบวัคซีนทางคลินิกในระยะ 1-3 : โดยต้องเป็นการพัฒนาวัคซีนเพื่อจัดการกับไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งมีการทดลอง
เบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว และการทดลองสามารถดำเนินการได้ก่อนวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563

การขยายกำลังการผลิตและความสามารถในการบรรจุ จะต้องเกิดขึ้นในโรงงานผลิตยาหรือวัคซีนในเยอรมนีเท่านั้น แต่ทุนสามาถจ้าง
หน่วยงานอื่นมาเป็นผู้รับจ้างเหมาช่วงการผลิตและบรรจุวัคซีนได้

การขยายการทดลองทางคลินิกในเยอรมนี รวมถึงการนำอาสาสมัครเข้ามาทำการทดลองทางคลินิกในระยะ 2 และ 3

นักวิชาชีพไทยในยุโรปค้นพบอัลกอริทึมตรวจสอบการเจริญเติบโตของปลาตามธรรมชาติ

นักวิจัยไทยจากสมาคมนักวิชาชีพไทยในภูมิภาคยุโรป2ท่าน ได้แก่ ดร.ปรเมษฐ์ มนูญพงศ์ ดร.กฤษณา รุ่งเรืองศักดิ์ ทอร์ริสสัน
ได้ร่วมกันพัฒนาอัลกอริทึมเพื่อช่วยตรวจสอบและติดตามการเจริญเติบโตของสุขภาวะของปลาตามธรรมชาติ (ที่ไม่ได้เกิด
จากการเพาะเลี้ยง) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญให้แก่นักชีววิทยาในการวัดผลกระทบจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ
ต่อการเจริญเติบโตของปลาตามธรรมชาติได้แม่นยำ

 

 ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200921-newsletter-brussels-no06-jun63.pdf

 

24 พ.ย. 2563
0
แชร์หน้านี้: