หน้าแรก คลังความรู้ วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน มิถุนายน 2564
วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน มิถุนายน 2564
13 ก.ย. 2564
0

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน มิถุนายน 2564

วัคซีน

วัคซีน คือ การให้สารที่เตรียมขึ้นจากเชื้อหรือสารประกอบของเชื้อเข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายผลิแอนติบอดีฆ่าเชื้อโรค และสามารถจดจำได้ว่าเป็นสารก่อโรคซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะจดจำคุณสมบัติการแอนติเจน ทำให้ร่างกายสามารถกำจัดแอนติเจนได้รวดเร็วขึ้นหากได้รับอีกในภายหลัง

การพัฒนาและการขออนุมัติการใช้วัคซีน

          การออกใบอนุญาตการใช้วัคซีนอย่างเป็นทางการ เป็นกระบวนการที่ใช้เวลานานอาจถึง 10 ปี หรือนานกว่านั้น โดย Food and Drug Administration หรือ (FDA) กำหนดให้วัคซีนต้องผ่านการทดลองทางคลินิกกับอาสาสมัครในมนุษย์ 3 ขั้นตอนก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้ใช้ในประชาชนทั่วไป
ขั้นที่ 1 (Phase 1): ทดสอบในอาสาสมัครเพียง 20 – 100 คน ใช้เวลาไม่กี่เดือน เพื่อประเมินความปลอดภัยขั้นพื้นฐานและระบุปฏิกิริยาที่พบ
ขั้นที่ 2 (Phase 2): ทดสอบในกลุ่มอาสาสมัครขนาดใหญ่ จำนวนหลายร้อยคน ระยะเวลาหลายเดือนถึงสองปี เพื่อรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพ เพื่อกำหนดองค์ประกอบของวัคซีน จำนวนครั้งที่ควรได้รับวัคซีน และรายละเอียดของปฏิกิริยาทั่วไปที่เกิดขึ้น
ขั้นที่ 3 (Phase 3): หากผลการทดสอบขั้น 2 ไม่เกิดปัญหาสุขภาพใด จึงจะดำเนินการทดสอบในขั้นที่ 3 โดยขยายกลุ่มอาสาสมัครจำนวนหลายพันถึงหลายหมื่นคน การทดลองเหล่านี้จะใช้เวลาหลายปี เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มที่ได้รับวัคซีนกับกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน
หากผลการทดลองทางคลินิกแสดงให้เห็นว่าวัคซีนมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ผู้ผลิตจะต้องยื่นคำขออนุญาต Biologics License Application (BLA) ต่อ FDA ฉลากบนผลิตภัณฑ์ โรงงานและขั้นตอนการผลิต เมื่อผ่านกระบวนการพิจารณาแล้ว วัคซีนนั้นจะได้รับอนุญาตให้ใช้กับประชากรทั่วไปได้

การอนุญาตการใช้ในกรณีฉุกเฉิน Emergency Use Authorization : EUA

การอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน (EUA) เป็นการใช้มาตรการทางการแพทย์ รวมถึงการใช้วัคซีนกรณีฉุกเฉิน หมายถึงการอนุญาตให้ใช้ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ยังไม่ผ่านการรับรองทางการในกรณีฉุกเฉินเพื่อวินิจฉัย บำบัด หรือป้องกันโรคร้ายแรงหรือคุกคามถึงชีวิต โดยที่ผ่านมา การอนุญาตให้มีการใช้กรณีฉุกเฉิน ได้แก่ โรคแอนแทรกซ์ อีโบลา เอนเทอโรไวรัส (enterovirus) ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H7N9 และกลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจในตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome – MERS) จะต้องมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า
– เกิดภาวะที่ร้ายแรงหรือเป็นอันตรายถึงชีวิต
-หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของวัคซีนหรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ต้องมีความน่าเชื่อถือ ว่าผลิตภัณฑ์นี้สามารถใช้ในการวินิฉัย บำบัด บรรเทา หรือป้องกันภาวะที่ร้ายแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
-มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น FDA จะพิจารณาผลประโยชน์และศักยภาพของผลิตภัณฑ์ กับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากหลักฐานและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่
-ไม่มีทางเลือกอื่น : ยังไม่มีวัคซีนหรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ใด ๆ ในปัจจุบัน เพื่อให้เป็นทางเลือกอื่น
สำหรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด -19 FDA ได้อธิบายเงื่อนไขโดยเชิงประสิทธิภาพต้องสามารถลดการติดเชื้อโควิดได้อย่างน้อย 50% ในเชิงความปลอดภัย ต้องมีการเก็บข้อมูลอย่างละเอียดอย่างน้อย 2 เดือน

วัคซีนป้องกันโควิด – 19

          วัคซีนป้องกันโควิด-19 ในปัจจุบัน มีทั้งที่ฉีดเข็มเดียว และที่จำเป็นต้องฉีด 2 เข็ม สำหรับวัคซีนที่ต้องฉีด 2 เข็มนั้น เข็มแรกเป็นการแนะนำให้ร่างกายเรารู้จักแอนติเจน หรือโปรตีนของแปลกปลอมที่กระตุ้นให้ร่างกายผลิตแอนติบอดีในระบบภูมิคุ้มกันเป็นครั้งแรก นักวิทยาศาสตร์เรียกกระบวนการนี้ว่า priming the immune response เข็มที่ 2 ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นเพื่อให้แน่ใจว่าระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเราจะมีพัฒนาการตอบสนองของหน่วยความจำเพื่อต่อสู้กับไวรัสเมื่อพบกันอีกครั้ง วัคซีนป้องกันโควิด-19 ในปัจจุบัน เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ฉีดห่างกันประมาณ 21-28 วัน (3-4 สัปดาห์) หรือบางประเภท 42 วัน หรืออาจถึง 12 สัปดาห์ วัคซีนที่ใช้ในปัจจุบัน Pfizer/BioNTech, Moderna, AstraZeneca, Johnson & Johnson, Sinovac และ Sputnik V เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่พัฒนาและนำมาใช้ป้องกันเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 โดยแบ่งประเภทของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตามเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตวัคซีน

ประเภทของวัคซีนป้องกันโควิด – 19
เทคนิค mRNA (mRNA Technology)

          เทคโนโลยี mRNA ที่ใช้ในการผลิตวัคซีน เป็นการใช้กรดนิวคลีอิกที่เป็นส่วนหนึ่งของสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส โดยขั้นแรก DNA จะถูกเปลี่ยนเป็น RNA ที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวเพื่อสร้างโปรตีนเฉพาะที่ส่งชุดคำสั่งเฉพาะไปยังเซลล์ของเรา ให้สร้างโปรตีนที่เราต้องการให้ระบบภูมิคุ้มกันของเรารับรู้และตอบสนอง
การใช้ไวรัสเป็นพาหะ (viral vector vaccine)

          โดยใช้หลักการฝากสารพันธุกรรมของเชื้อ SARS-CoV-2 เข้าไปในไวรัสพาหะชนิดอื่น ๆ เช่น Adenovirus เพื่อนำเข้าไปในร่างกายมนุษย์ ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส ได้แก่ วัคซีนบริษัท AstraZeneca ของอังกฤษ Johnson & Johnson ของสหรัฐฯ และ  Sputnik V ของรัสเซีย ข้อดีของวัคซีนกลุ่มนี้ คือ เป็นวัคซีนที่เลียนแบบการติดเชื้อตามธรรมชาติ ผลิตได้ง่าย เร็ว ราคาไม่สูง ข้อด้อย คือ ยังไม่มีประสบการณ์ใช้ในวงกว้าง และในผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสที่ใช้เป็นพาหะมาก่อน วัคซีนอาจกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ไม่ดีมากนัก
วัคซีนของ AstraZeneca หรือ AZD1222 ที่คิดค้นโดยบริษัท AstraZeneca ร่วมกับ University of Oxford ใช้ไวรัส Adenovirus ของลิงชิมแปนซี เป็นไวรัสพาหะ จาการศึกษาวิจัยพบว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพเฉลี่ย 70% โดยให้วัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 4 สัปดาห์ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การเก็บรักษาเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศา (อย่างน้อย 6 เดือน) ปัจจุบัน รัฐบาลไทยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนนี้จาก University of Oxford
วัคซีน Janssen หรือ AD26.COV2.5
ที่ผลิตโดยบริษัทยา Johnson & Johnson (J&J) ใช้ Adenovirus 26 เป็นไวรัสพาหะ วัคซีนนี้เป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิดเดียวที่ฉีดเพียง 1 เข็ม สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีแล้ว มีประสิทธิภาพ 66% ในการป้องกันโควิด-19 แบบที่มีอาการ และมีประสิทธิภาพ 85% ในการป้องกันการเจ็บป่วยที่รุนแรง
วัคซีน Sputnik V ค้นคว้าและพัฒนาโดยสถาบันวิจัย Gamaleya รัสเซีย ที่ใช้ชื่อเดียวกับดาวเทียมดวงแรกของโลกที่รัสเซียส่งขึ้นไปในอวกาศ Sputnik V ใช้ Adenovirus 5 สำหรับวัคซีนเข็มที่ 1 และ Adenovirus 26 สำหรับวัคซีนเข็มที่ 2 โดยฉีดห่างกัน 3 สัปดาห์ สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียสได้นาน 2 เดือน วัคซีนมีประสิทธิภาพสูง 92% กับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิมของจีน และสายพันธุ์ Alpha (สายพันธุ์อังกฤษ) อัลฟาซึ่งระบาดในวงกว้าง และสร้างภูมิคุ้มกันได้ประมาณ 90% สำหรับสายพันธุ์ Delta (พันธุ์อินเดีย) แต่ไม่ได้ผลดีนักในสายพันธุ์ Beta (พันธุ์แอฟริกาใต้)

วัคซีนเชื้อตาย (inactivated vaccine)
ผลิตโดยการใช้ไวรัส SARA-CoV-2 ที่ถูกทำให้อ่อนแรงหรือตายแล้ว ได้แก่ วัคซีน CoronaVac และวัคซีน Sinopharm ของจีน ข้อดี คือ ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่มีมานาน แต่ข้อจำกัด คือ ราคาวัคซีนค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องเพาะเลี้ยงเชื้อในห้องปฏิบัติการที่มีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสูง (Biosafety level 3)
วัคซีน CoronaVac เป็นของบริษัท SinoVac Life Sciences ใช้เชื้อตายสายพันธุ์ CZ02 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 อยู่ที่ 51-84% อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดที่ทำให้วัคซีนนี้ ถูกลดความน่าเชื่อถือลงไปมากคือมีศักยภาพในการป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้ต่ำ และมีอัตราการลดระดับของภูมิต้านทานรวดเร็ว
วัคซีน Sinopharm หรือ BBIBP-CorV พัฒนาโดยสถาบัน Beijing Bio-Institute of Biological Products ใช้เชื้อตายสายพันธุ์ WIV04 (สายพันธุ์อู่ฮั่น) และ HB02 (สายพันธุ์ปักกิ่ง) พบว่า มีประสิทธิภาพโดยรวม 79% สามารถป้องกันอาการรุนแรงได้ 100% โดยให้วัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 3-4 สัปดาห์

วัคซีนแบบใช้โปรตีน (protein-based vaccine)

Pfizer
ชื่อวัคซีน :
BNT162b2P
บริษัทผู้ผลิต : Pfizer, สหรัฐอเมริการ และ BioNtech เยอรมัน
เทคโนโลยีการผลิต : mRNA
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกัน 3 สัปดาห์
อายุที่ฉีดได้ : 12 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวด บวมแดงบริเวณจุดที่ฉีด หนาวสั่น ปวดหัว ร่างกายอ่อนเพลีย
ราคาต่อโดส : 570-607 บาท

Moderna
ชื่อวัคซีน
: mRNA-1273
บริษัทผู้ผลิต : Moderna, สหรัฐอเมริกา
เทคโนโลยีการผลิต : mRNA
ประสิทธิภาพการป้องกัน : 94.1%
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกัน 4 สัปดาห์
อายุที่ฉีดได้ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวด บวมแดงบริเวณจุดที่ฉีด หนาวสั่น ปวดหัว ร่างกายอ่อนเพลีย
ราคาต่อโดส : 450-750 บาท

Johnson & Johnson
ชื่อวัคซีน :
JNJ-78436735
บริษัทผู้ผลิต : Janseen Phamaceutical Companies of Johnson & Johnson, สหรัฐอเมริกา
เทคโนโลยีการผลิต : Viral Vector
จำนวนโดส : 1 โดส
อายุที่ฉีดได้ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวดบริเวณจุดที่ฉีด ปวดหัว มีไข้ ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้

AstraZeneca
ชื่อวัคซีน
: AZD1222, ChAdOx1 nCoV-19
บริษัทผู้ผลิต : Oxford University และ AstrzZeneca อังกฤษ
เทคโนโลยีการผลิต : Viral Vector
ประสิทธิภาพการป้องกัน : 70.4%-82.4%
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกัน 4-12 สัปดาห์
อายุที่ฉีดได้ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวดบริเวณจุดที่ฉีด หนาวสั่น ปวดหัว มีไข้ ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้
ราคาต่อโดส : 300-314 บาท

S-Putnik V
ชื่อวัคซีน :
Spuntnik V
บริษัทผู้ผลิต : Gamaleya Research Institute of Epidemiology and Microbiology, รัสเซีย
เทคโนโลยีการผลิต : Viral Vector
ประสิทธิภาพการป้องกัน : 91.1%-91.5%
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกัน 3 สัปดาห์
อายุที่ฉีดได้ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวด/บวม/แดงบริเวณจุดที่ฉีด ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ผื่นขึ้น ร่างกายอ่อนเพลีย
ราคาต่อโดส : 311-405 บาท

SINOVAC
ชื่อวัคซีน :
CoronaVac
บริษัทผู้ผลิต : Sinovac Biotech Ltd., จีน
เทคโนโลยีการผลิต : Inactivated virus
ประสิทธิภาพการป้องกัน : 49.6%-50.7%
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกัน 2 สัปดาห์
อายุที่ฉีดได้ : 18 – 60 ปี
ผลข้างเคียง : ปวดบริเวณจุดที่ฉีด ปวดหัว อาการชาคล้ายอัมพาต
ราคาต่อโดส : 427 – 934 บาท

SINOPHARM
ชื่อวัคซีน :
BBIBP-CorV
บริษัทผู้ผลิต : Sinopharm’s Beijing Institute of Biological Products, จีน
เทคโนโลยีการผลิต : Inactivated virus
ประสิทธิภาพการป้องกัน : 79.3%
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกัน 3 – 4 สัปดาห์
อายุที่ฉีดได้ : 18 – 60 ปี
ผลข้างเคียง : ปวด/บวม/แดงบริเวณจุดที่ฉีด ปวดหัว มีไข้ ผื่นขึ้น ปวดกล้ามเนื้อ
ราคาต่อโดส : 934 – 1,123 บาท

NOVAVAX
ชื่อวัคซีน :
NVX-CoV2373
บริษัทผู้ผลิต : Novava, สหรัฐอเมริกา
เทคโนโลยีการผลิต : Protein-based vaccine
ประสิทธิภาพการป้องกัน : 96%
จำนวนโดส : 2 โดส ห่างกัน 3 สัปดาห์
อายุที่ฉีดได้ : 18 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียง : ปวด/บวม/แดงบริเวณจุดที่ฉีด ปวดหัว มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ
ราคาต่อโดส : คาดว่าราคาจะอยู่ที่ราว 16 เหรียญสหรัฐฯ ต่อโดส หรือประมาณ 530 บาท

โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ และประสิทธิภาพการป้องกันของวัคซีน

เดลตาพลัส (Delta Plus) และ แลมบ์ดา (Lambda)
เดลตาพลัส (Delta Plus)

เดลตาพลัสมีลักษณะคล้ายสายพันธุ์เดลตา แต่มีการกลายพันธุ์เพิ่มที่เรียกว่า K417N ที่โปรตีนหนาม ที่ช่วยให้เชื้อไวรัสสามารถยึดเกาะกับเซลล์ที่ติดเชื้อได้ดีขึ้น และทนทานต่อการรักษาด้วยแอนติบอดีชนิดโมโนโคลน (monoclonal antibody therapy) ซึ่งเป็นการให้แอนติบอดีทางเส้นเลือดเพื่อฆ่าไวรัส ปัจจุบันพบเดลตาพลัสใน 9 ประเทศคือ สหรัฐฯ อังกฤษ โปรตุเกส สวิสเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น โปแลนด์ รัสเซีย และจีน แต่ทั้งนี้ นักไวรัสวิทยาระบุว่ายังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่สนับสนุนข้อมลดังกล่าว และ WHO ก็ยังไม่ได้จัดให้เดลตาพลัสอยู่ในกลุ่มเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวลหรือน่าจับตามองแต่อย่างใด

แลมบ์ดา (Lambda)

          สำหรับสายพันธุ์แลมบ์ดา (Lambda) WHO จัดให้อยู่ในกลุ่มเชื้อกลายพันธุ์ที่น่าจับตามอง และเริ่มมีการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น ตรวจพบครั้งแรกเดือนสิงหาคม 2563 ในเปรู สูงถึง 81% รวมทั้งประเทศชิลี เม็กซิโกและอาร์เจนตินาอีกด้วย
ไวรัสสายพันธุ์นี้มียีนกลายพันธุ์ซับซ้อนหลายตำแหน่ง เมื่อเทียบกับพันธุกรรมของไวรัสโควิดดั้งเดิมที่พบครั้งแรกที่นครอู่ฮั่น พบการกลายพันธุ์ถึง 7 จุดบนโปรตีนที่เป็นส่วนหนามของไวรัส ทำให้กลายเป็นสายพันธุ์ที่มีศักยภาพสูงที่จะให้เกิดการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กของสหรัฐฯ เผยแพร่ผลการศึกษาโดยระบุว่าสายพันธุ์นี้มีความสามารถในการต้านทานแอนติบอดีจากวัคซีนสูงกว่าไวรัส SARS-CoV-2 แบบดั้งเดิม 3.3 เท่า และเมื่อทดลองใช้วัคซีนป้องกันโควิดชนิด mRNA (Pfizer และ Moderna) กับไวรัสสายพันธุ์แลมบ์ดา ผลปรากฏว่าไวรัสมีความสามารถต้านทานแอนติบอดีจากวัคซีนต่ำลงกว่าเดิม โดยอยู่ในเกณฑ์ที่วัคซีน mRNA ซึ่งใช้กันอยู่ทั่วไป จะสามารถรับมือไวรัสกลายพันธุ์ชนิดนี้ได้

ประสิทธิภาพการป้องกันของวัคซีน

วัคซีนตัวไหนมีประสิทธิภาพดีกว่ากัน
เปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพเป็นเพียงตัวเลขที่บอกผลการทดสอบระยะที่ 3 ในอาสาสมัครว่า วัคซีนแต่ละประเภทให้ผลการทดสอบอย่างไรในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งวัคซีนแต่ละตัว ทำการศึกษาทดสอบในปัจจัยที่แตกต่างกัน ทดลองในอาสาสมัครกลุ่มต่างกัน จำนวนอาสาสมัครและทดสอบในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน เช่น
– Pfizer ทดสอบในอาสาสมัครจำนวนมากกว่า 43,000 คน ในสหรัฐฯ เยอรมนี ตุรกี แอฟริกาใต้ บราซิล และอาร์เจนตินา
– Moderna ทดสอบในอาสาสมัครจำนวนกว่า 30,000 คน ในสหรัฐฯ
– AstraZeneca ทดสอบในอาสาสมัครจำนวน 32,000 คน ในอังกฤษ บราซิล แอฟริกา อินเดีย ฮ่องกง อาร์เจนตินา ชิลี โคลอมเบีย เปรู สหรัฐฯ และรัสเซีย
– Sinovac ทดสอบในอาสาสมัครจำนวน 30,000 คน ในบราซิล ชิลี อินโดนีเซีย ตุรกี จีน ฮ่องกง และฟิลิปปินส์
การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 นั้น คือ การป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย ทั้งไม่มีอาการ อาการไม่รุนแรง อาการรุนแรง การเข้ารักษาในโรงพยาบาล หรือเสียชีวิต วัตถุประสงค์หลักของการฉีดวัคซีน หมายถึง การป้องกันการเกิดอาการรุนแรง และการเสียชีวิต

สถานการณ์ความเคลื่อนไหวด้านเศรษฐกิจและการฟื้นฟู

          องค์กรเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ได้คาดการณ์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2564 ไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยให้เหตุผลว่าตัวแปรสำคัญนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ ที่ผลักดันโดยประธานาธิบดี โจ ไบเดน ช่วยให้โลกฟื้นตัวจากวิกฤตเร็วขึ้น มีผลให้การเติบโตของ GDP โลกเพิ่มขึ้น 1% ในปี 2564 เห็นได้จากที่ผู้คนกลับมาลงทุนมากขึ้น ธนาคาร และสายการบิน เริ่มกลับมา

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2021/ost-sci-review-jun2021.pdf

 

แชร์หน้านี้: