หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน มกราคม 2564
วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน มกราคม 2564
4 เม.ย. 2564
0
นานาสาระน่ารู้

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน มกราคม 2564

สหรัฐอเมริการกับการมีส่วนกับประชาคมโลกในด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีสถิติการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลกมาจนถึงปี 2548 ที่จีนได้แซงหน้า สหรัฐฯ ได้เข้าเป็นภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Unitec Nations Framework Convention on Climate Change – UNFCCC) เมื่อปี 2535 ขณะที่ต่อมีมีการจัดทำพิธีสารเกียวโต ทีประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2538 สหรัฐฯ ในฐานะที่เป็นประเทศปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลัก ที่ต้องมีพันธกรณีลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมายของพิธีสาร ไม่เข้าร่วมเป็นภาคีพิธีสารฯ ซึ่งมีการผูกมัดประเทศพัฒนาแล้วให้ลดก๊าซเรือนกระจก และช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในโครงการซื้อขายก๊าซเรือนกระจกที่มีเครดิตคาร์บอนที่เรียกว่า กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanise – CDM) เป็นกรอบโครงการที่รัฐภาคีสมาชิกจะดำเนินร่วมกันจนทำให้การดำเนินงานระหว่างภายใต้พิธีสาร
เกียวโตขาดเอกภาพ และค่อยๆ หมดกำลังลง โดยเฉพาะ ปี 2556 – 2563 แคนาดาขอถอนตัวจากการเป็นภาคีพิธีสาร ขณะที่ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ประกาศไม่ขอผูกมัดตนเองตามพันธกรณี โดยญี่ปุนพยายามสร้างกลไกมาซื้อขายคาร์บอนแบบทวิภาคี หรือ Joint Crediting Mechanism (JCM) ซึ่งมีส่วนทำให้พิธีสารเกียวโตหมดความหมายเช่นเดียวกัน
พัฒนาของเหตุการณ์เหล่านี้ มีผลสำคัญมาจากการที่ประเทศพัฒนาแล้ว ไม่ได้มั่งคั่งร่ำรวยเหมือนแต่ก่อน ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาได้พัฒนารุดหน้าขึ้นมาก ทั้งทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ทั้งในการผลิตทางอุตสาหกรรม และเพิ่มสัดส่วนของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะ จีน อินเดีย บราซิล อินโดนีเซีย ได้รวมตัวกันแล้วปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 63% ของโลก ด้วยเหตุนี้
ที่ประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้พยายามหามาตรการใหม่ที่จะให้ทุกประเทศร่วมแรงร่วมใจกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อรักษาอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส และนำไปสู่การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 21 ที่กรุงปารีส เมื่อปี 2558 มุ่งเน้นให้มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกโดยสมัครใจ จากความตกลงระหว่างประเทศที่ชื่อว่า ความตกลงปารีส (Paris Agreement)

ความตกลงปารีส Paris Agreement

ความตกลงปารีสมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 หรือ 30 วันหลังจากวันที่ภาคีอนุสัญญาฯ อย่างน้อย 55 รัฐ ที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกันอย่างน้อย 55%  ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก โดย จีนกับสหรัฐฯ ได้ยื่นสัตยาบันสารรับรองความตกลงปารีสพร้อมกัน เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2559 (ไทยยื่นสัตยาบันสารเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2559)

 

การเปลี่ยนแปลงของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้การบริหารงานของอดีตประธานาธิบดีทรัมป์

หลังจากประธานาธิบดีทรัมป์ชนะผลการเลือกตั้งและเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐฯ ในวันที่ 20 มกราคม 2560 นั้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงกฎและระเบียบจากสมัยอดีตประธานาธิบดีโอบามา รวมถึง นโยบายและการบริหารจัดการของหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่
1. การถอนตัวจากความตกลงปารีส
การที่สหรัฐฯ ภายใต้การนำของอดีตประธานาธิบดีโอบามาได้ลงนามในความตกลงปารีส เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2559 และให้สัตยาบันเดือนกันยายนปีเดียวกันพร้อมกับสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่เมื่อการสืบทอดตำแหน่งทางการเมืองในสมัยของประธานาธิบดีทรัมป์ได้ประกาศกร้าวว่าโลกร้อนไม่จริง ประธานาธิบดีทรัมป์แถลงการณ์ว่า สหรัฐฯ จะถอนการสนับสนุนความตกลงปารีส
นโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์เป็นภาพสะท้อนนโยบายภาพรวมของพรรคที่มีกลุ่มผลประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมเชื้อเพลิง
ฟอสซิล (น้ำมันและก๊าซ) หนุนหลังอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัท Exxon Mobil ที่เป็นบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ
หลังจากแถลงการณ์ของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ยกเลิกการเข้าร่วมความตกลงปารีส เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560 ณ ทำเนียบขาว โดยได้ยื่นสารขอลาออกจากสมาชิกภาพเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2562 จึงทำให้ว่าที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน มุ่งมั่นที่จะนำสหรัฐฯ กลับเข้าเป็นภาคีรัฐสมาชิกตามเดิมในโอกาสแรก

2. การยกเลิกมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมและถอนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศออกจากยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ
ในช่วงต้นเดือนมกราคม 2561 สมาชิกรัฐสภา ได้ส่งจดหมายเพื่อเรียกร้องให้ประธานาธิบดีทรัมป์ พิจารณายกเลิกการถอนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศออกจากยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติอีกครั้ง นายกเทศมนตรีรัฐชิคาโก ได้จัดประชุมผู้นำท้องถิ่นจากรัฐต่างๆ ทั่วสหรัฐฯ ร่วมกับแคนาดา และเม็กซิโก ร่วมลงนามความตกลงใน Global Covenant of Mayors for Climate and Energy ซึ่งเป็นแผนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถึงแม้ว่าการประชุมจะเกิดขึ้นก่อนที่ประธานาธิบดีทรัมป์แถลงการณ์ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาตินั้นแต่ผู้นำท้องถิ่นในแต่ละรัฐยังคงเดินหน้าต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

3. การเปลี่ยนแปลงของหน่วยงาน EPA

หน่วยงาน Environment Protection Agency (EPA) มีหน้าที่ปกป้อง ประเมิน และวิจัยสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ หลังจากประธานาธิบดีทรัมป์ดำรงตำแหน่งได้สนับสนุนให้นายสก๊อต พรูอิทท์ (Scott Pruitt) ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ EPA
เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560 นายพรูอิทท์เคยฟ้องร้องหน่วยงาน EPA 14 ครั้งในเรื่องมลพิษทางน้ำ อากาศ การควบคุม
สารปรอท หมอกควัน และมลพิษอื่นๆ ทั้งยังมีความคิดไม่เห็นด้วยว่า กิจกรรมของมนุษย์เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามที่นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาวิจัยไว้
ปลายปี 2560 หน่วยงาน EPA และนายพรูอิทท์ได้ถูกฟ้องร้องในข้อหาละเลยหน้าที่ของรัฐบาลในการควบคุมการปล่อยก๊าซมีเทน อัยการสูงสุดรัฐนิวยอร์กร่วมกับอีก 13 รัฐ กล่าวว่า ชาวอเมริกันมากกว่า 115 ล้านคน กำลังสูดหมอกควันระดับอันตรายเข้าไป แสดงให้เห็นถึงการเพิกเฉยต่อสุขภาพของประชาชนและกฏหมาย
นายพรูอิทท์ ได้ลาออกจากการเป็นผู้อำนวยการ EPA เมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 หลังจากสื่อต่างๆ กล่าวถึงการทำผิดจรรยาบรรณและความไม่เหมาะสมในตำแหน่งด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ ซึ่งประธานาธิบดีทรัมป์ได้เสนอชื่อนายแอนดรูว์
วีลเลอร์ (Andrew Wheeler) ดำรงตำแหน่งแทน นายวีลเลอร์มีนโยบายการบริหารงานทางด้านสิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างจากนายพรูอิทท์ และนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมของประธานาธิบดีทรัมป์คงเดินหน้าต่อไป

4. การยกเลิกแผนพลังงานสะอาด (Clean Power Plan : CPP)

แผนพลังงานสะอาด (Clean Power Plan : CPP) โดยมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโรงไฟฟ้า 32% ภายในปี 2573 ซึ่งประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวว่า CPP ไม่สอดคล้องกับ Clean Air Act ซึ่งเป็นกฏหมายของรัฐบาลกลางในการควบคุมคุณภาพอากาศและลดมลพิษทางอากาศจึงควรยกเลิกแผนพลังงานสะอาด ทั้งนี้ แผน ACE จะทำให้ความเข้มงวดในการควบคุมการปล่อยมลพิษลดลงและคาดว่าจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น 12 เท่าใน 10 ปีต่อจากนี้

5. การอนุมัติโครงการขยายท่อขนส่งน้ำมัน Keystone XL

ประธานาธิบดีทรัมป์เชื่อว่าโครงการขยายท่อขนส่งน้ำมัน KeystonXL หรือ Keystone Export Limited ของบริษัท TransCanada Corp. มีมูลค่า 8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จะช่วยการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เพิ่มศักยภาพในการขนส่งน้ำมันดิบ (Oil sands) จากรัฐแอลเบอร์ตาไปยังรัฐเนเบรสกา ถึง 830,000 บาเรล/วัน ซึ่งโครงการนี้ถูกระงับโดยอดีตประธานาธิบดีโอบามาด้วยเหตุผลด้านผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากการกลั่นน้ำมันดิบจากทรายน้ำมัน (Oil sands) ต้องใช้น้ำในปริมาณมากและความร้อนสูงชะแยกน้ำมันออกจากมวลทราย โดยกระบวนการดังกล่าวจะก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากกว่าปกติถึง 17% และประชาชนอาจจะได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างและหากมีการรั่วไหลของน้ำมัน

นโยบายการปฏิวัติด้านพลังงานสะอาดและความเป็นธรรมด้านสิ่งแวดล้อมของนายโจ ไบเดน
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนล่าสุด เข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคม 2564 มีมุมมองว่าเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม คือเรื่องเดียวกัน และวางแผนดำเนินการทางด้านสิ่งแวดล้อม รัฐบาลกลางจะลงทุน 1.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงสิบปีข้างหน้า ในการปฏิวัติพลังงานสะอาด (Clean Energy Revolution) โดยไบเดนได้กลับเข้าร่วมข้อตกลงปารีสเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน นอกจากนี้ยังเตรียมปรับ Green New Deal (คือ ข้อเสนอด้านนโยบายของสหรัฐฯ ที่ระบุปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ)

นโยบายทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของนายไบเดน ได้แก่ :
1. นำพาสหรัฐฯ ไปสู่เศรษฐกิจพลังงานสะอาด (cleanenergy economy) 100% และภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) จะยุติการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
1.1 ระเบียบบริหารราชการชุดใหม่ (series of new executive orders) ผลักดันความก้าวหน้าครั้งประวัติศาสตร์ในการลดการปล่อยก๊าซอย่างมีนัยสำคัญของสหรัฐฯ
1.2 วาระทางด้านกฏหมายที่จะมีการผลักดันในปีแรกของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

2. เสริมความแข็งแกร่งและฟื้นฟูสหรัฐฯ รัฐบาลวางแผนลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นอาคาร ระบบน้ำ การขนส่ง และพลังงาน ให้มีความทนทาน ช่วยป้องกันและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ

3. ร่วมกับนานาประเทศในการรับมือกับภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สหรัฐฯ มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คิดสัดส่วน 15% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก

4. ต่อต้านการใช้อำนาจโดยมิชอบของผู้ปล่อยมลพิษ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนคนผิวสีและผู้ที่มีรายได้ต่ำ

5. ให้ความสำคัญและช่วยเหลือคนงานและชุมชนที่ดำเนินการด้านถ่านหินโรงไฟฟ้า นายไบเดนให้คำมั่นที่จะไม่ทอดทิ้งคนงานทุกคน

อ่านเพิมเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2021/ost-sci-review-jan2021.pdf

 

 

 

 

 

แชร์หน้านี้: