ไรน้ำนางฟ้า

ไรน้ำนางฟ้า

จากงานวิจัยสู่ธุรกิจ “ฟาร์มไรน้ำนางฟ้า” ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง “เราเริ่มเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าแบบติดลบด้วยซ้ำ ถ้าเราไม่รู้คือเป็นศูนย์ แต่ติดลบคือเราเข้าใจผิด ทำให้เราทำหลายๆ อย่างไม่ถูกต้อง” นุจรี โลหะกุล ถอดบทเรียนที่ได้จากการต่อยอดงานวิจัย “ไรน้ำนางฟ้า” สู่ธุรกิจฟาร์มเพาะเลี้ยงของครอบครัว หลังอบรมและเรียนรู้การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี นุจรี กลับมาทดลองและฝึกฝนการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าในบ่อวงซีเมนต์ขนาด 90 ซม. ที่บ้านพักย่านสมุทรปราการ ควบคู่ไปกับธุรกิจเลี้ยงไส้เดือนดินที่จำหน่ายในชื่อ “เพื่อนดิน” “มีลูกค้าที่ซื้อไส้เดือนเป็นประจำเพื่อเอาไปเป็นอาหารให้ปลาหมอสี ลองตักไรน้ำให้เขาไปลองใช้ เขาใช้อยู่ 2 เดือน เห็นว่าลูกปลาขึ้นหัวโหนกเร็ว สีและรูปทรงปลาสวยมาก หลังจากนั้นก็ขอซื้อและกลายเป็นลูกค้าประจำ” เสียงตอบรับจากลูกค้าที่ได้ใช้ไรน้ำนางฟ้าในฟาร์มเพาะพันธุ์ปลา จุดประกายให้ นุจรี มองเห็นโอกาสที่จะสร้างธุรกิจใหม่ให้ตัวเองได้ และจากการสำรวจตลาดจำหน่ายในไทย เธอพบว่ายังไม่มีอาหารสัตว์น้ำที่มีโปรตีนสูงและยังมีตัวเร่งสีในธรรมชาติเหมือนไรน้ำนางฟ้า ปี 2559 นุจรี ตัดสินใจขยับขยายพื้นที่การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไปที่อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

โค

โค

โคที่เติบโตแข็งแรง เป็นต้นทางสู่คุณภาพของเนื้อโค ซึ่งนั่นหมายถึงโคจำเป็นต้องได้รับอาหารที่มีคุณภาพ ซึ่งมีทั้งอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารหมักจากวัตถุดิบที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังอาหารผสมสำเร็จรูป หรืออาหารทีเอ็มอาร์ (TMR) ซึ่งเป็นนวัตกรรมอาหารโคที่นำอาหารหยาบและอาหารข้นมาผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม ซึ่งช่วยลดต้นทุนการใช้วัตถุดิบที่นำมาเป็นส่วนผสมอาหารโคที่หายากขึ้น บทความ สิ่งพิมพ์ VDO บทความ โคขุน ขุนโค สร้างอาชีพที่ชายแดนใต้ ฐานเรียนรู้ การผลิตอาหารโคคุณภาพ โคขุน ขุนโคด้วยอาหารหมักคุณภาพ สิ่งพิมพ์ ขุนโคด้วยอาหารหมักคุณภาพ การผลิตอาหารโค “ทีเอ็มอาร์” (TMR) การผลิตอาหารสัตว์จากสับปะรดและการใช้จุลินทรีย์หมักเพิ่มประสิทธิภาพวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและผลพลอยได้ทางอุตสาหกรรม เพื่อนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ โปรตีนก้อน (Protein block) อาหารเสริมสำหรับโค VDO พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการเลี้ยงโคขุนด้วยนวัตกรรมอาหาร ว้าววิทย์ช่วยเศรษฐกิจชาติ ตอน อาหารโคต้นทุนต่ำจากเศษเหลือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โคเนื้อ

“หอมชลสิทธิ์” ข้าวทนน้ำท่วม หอม นุ่ม ด้วยคุณภาพ

“หอมชลสิทธิ์” ข้าวทนน้ำท่วม หอม นุ่ม ด้วยคุณภาพ

จังหวัดพัทลุงเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญอีกแห่งของภาคใต้ มีพื้นที่ปลูกข้าวราว 3 แสนไร่ แต่ด้วยสภาพอากาศ “ฝนแปดแดดสี่” ของภาคใต้ส่งผลกระทบไม่น้อยต่อเกษตรกรที่สูญเสียทั้งพืชอาหารบริโภคและรายได้จากการจำหน่ายข้าว ปี 2557 ชาวตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง รู้จัก “ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน” หลังจากที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงได้ขอสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์จากมูลนิธิชัยพัฒนา นำไปแจกจ่ายให้เกษตรกรได้เพาะปลูก ดังที่ “บ้านโคกฉิ่ง” หมู่ 11 ตำบลชัยบุรี แหล่งผลิตพันธุ์ข้าวนี้ที่มี สมมาตร มณีรัตน์ และทวี บุษราภรณ์ สองเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของบ้านโคกฉิ่ง รับหน้าที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์เมื่อปี 2560 บนพื้นที่ปลูกคนละ 5 ไร่ ก่อนส่งต่อเมล็ดพันธุ์ให้สมาชิก “วิสาหกิจกลุ่มข้าวหอมชลสิทธิ์บ้านโคกฉิ่ง” นำไปเพาะปลูกเพื่อบริโภค “กลุ่มมีสมาชิก 21 คน ส่วนใหญ่จะปลูกข้าวหอมชลสิทธิ์ไว้กินในครัวเรือน มีบางรายที่ปลูกได้มาก ก็จะขาย และมีสมาชิกเริ่มสนใจปลูกเพื่อทำเมล็ดพันธุ์เพิ่มขึ้น” ปรีชา อ่อนรักษ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจข้าวหอมชลสิทธิ์บ้านโคกฉิ่ง บอกเล่าถึงการปลูกข้าวหอมชลสิทธิ์ของสมาชิกกลุ่ม ซึ่งนอกจากเป็นประธานของกลุ่มฯ แล้ว ปรีชา ยังทำหน้าที่นักการตลาดให้กลุ่มฯ รับซื้อข้าวเปลือกจากสมาชิกและหาตลาดจำหน่าย โดยเขาประกันราคาข้าวให้สมาชิกที่ 8,000 บาท/ตัน ก่อนนำไปสีและจำหน่ายเป็นข้าวสารราคากิโลกรัมละ 30 บาท หากแพ็คสุญญากาศจำหน่ายกิโลกรัมละ 50 บาท ส่วนเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์รับซื้อเมล็ดพันธุ์สด (ไม่อบแห้ง) ในราคากิโลกรัมละ 10 บาท และจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 18 บาท ซึ่งรายได้จากการขายข้าวสารและเมล็ดพันธุ์จะนำมาเฉลี่ยเป็นเงินปันผลให้สมาชิก ก่อนหน้าที่สมาชิกกลุ่มฯ ได้รู้จักพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ พันธุ์ข้าวที่ปลูกในพื้นที่มีหลากหลายทั้งพันธุ์พิษณุโลก พันธุ์ชัยนาท พันธุ์หอมปทุม รวมถึงพันธุ์พื้นเมืองอย่างเล็บนกและสังข์หยด

“ข้าวหอมชลสิทธิ์ สู้วิกฤตน้ำท่วม” สู่ “หมู่บ้านผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพ”

“ข้าวหอมชลสิทธิ์ สู้วิกฤตน้ำท่วม” สู่ “หมู่บ้านผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพ”

จากสภาพปัญหาน้ำท่วมนาข้าวจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นเป็นประจำเกือบทุกปี ทำให้พืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะนาข้าวได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และกรมการข้าว ปรับปรุงพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา และคณะ จากหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว (หน่วยปฏิบัติการวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)) สวทช. ร่วมกับนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรมการข้าว พัฒนาพันธุ์ข้าวหอมคุณภาพดีที่ทนน้ำท่วมฉับพลัน โดยผสมระหว่างพันธุ์ข้าวไออาร์ 57514 ที่ทนต่อน้ำท่วมฉับพลันกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่ไม่ทนน้ำท่วม ได้พันธุ์ชื่อว่า “ข้าวพันธุ์หอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน” “ข้าวพันธุ์หอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน” จมอยู่ใต้น้ำได้นาน 2-3 สัปดาห์ ฟื้นตัวหลังน้ำลดได้ดี ความสูงต้นประมาณ 105-110 เซนติเมตร จำนวนรวงต่อกอประมาณ 15 รวง (นาดำ) ลำต้นแข็ง ไม่หักล้มง่าย นอกจากคุณสมบัติเด่นในการทนน้ำท่วมฉับพลันแล้ว พันธุ์หอมชลสิทธิ์ไม่ไวต่อช่วงแสง จึงปลูกได้มากกว่า 1 ครั้งต่อปี อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 800-900 กิโลกรัมต่อไร่ คุณภาพการหุงต้มคล้ายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ปริมาณอะไมโลส ร้อยละ 14-18 และมีกลิ่นหอม เมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทาน ปลายปี 2556 พื้นที่ตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ประสบปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน ทำให้ปริมาณน้ำในคลองไหลเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่เกษตรกรรม สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะพื้นที่นาข้าวซึ่งเพาะปลูกกันมากในเขตอำเภอเมืองพัทลุงและอำเภอควนขนุน องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงได้ขอรับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลันจากมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน สวทช. น้อมเกล้าฯ ถวาย

สวทช.-พันธมิตรจับมือจังหวัดร้อยเอ็ด เดินหน้า Smart Tambon Model

สวทช.-พันธมิตรจับมือจังหวัดร้อยเอ็ด เดินหน้า Smart Tambon Model

(20 พฤศจิกายน 2562) ที่เทศบาลตำบลคำพอุง อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด – สวทช. ลงนามบันทึกความร่วมมือกับจังหวัดร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และเครือเบทาโกร เดินหน้าโครงการ Smart Tambol Model นำร่องที่เทศบาลตำบลคำพอุง พัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม 5 ด้านด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) กล่าวว่า การส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวมในระดับตำบล หรือ Smart Tambon Model เป็นต้นแบบการพัฒนาท้องถิ่นที่เกิดจากการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน เพื่อพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม 5

สท. ผนึกสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา บ่มเพาะเส้นทางอาชีพเกษตรสมัยใหม่

สท. ผนึกสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา บ่มเพาะเส้นทางอาชีพเกษตรสมัยใหม่

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการฝึกอบรมและบ่มเพาะบุคลากรสายอาชีพด้านเกษตรสมัยใหม่ ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา เพื่อเสริมสร้างบุคลากรสายอาชีพให้เกิดนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตรสู่ภาคเกษตรกรรมของประเทศ ณ อาคาร 60 พรรษาราชสุดาสมภพ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา

ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน

ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน

ดาวน์โหลด หนังสือผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน from piyapornnok