31 มีนาคม 2566

เส้นทางสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์

Commercial EVs conversion industry development – A pathway

วิทยากร
  • ดร. สุมิตรา จรสโรจน์กุล
  • ดร. มานพ มาสมทบ
  • ดร. กมล เอื้อชินกุล
  • ผู้แทนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
  • ผู้แทนจาก สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
  • ผู้แทนจาก กรมการขนส่งทางบก (ขบ.)
  • ผู้แทนจาก กลุ่มผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง 1
  • ผู้แทนจาก กลุ่มผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง 2

เส้นทางสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์

ประเทศไทยมีอัตราเพิ่มขึ้นของยานยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดและต่อเนื่อง จะเห็นได้จากอัตราเพิ่มขึ้นของยานยนต์ไฟฟ้ารวมในปี พ.ศ. 2565 ที่เติบโตใหม่จากปี พ.ศ. 2564 ถึงร้อยละ 260 และมีอัตราสะสมเติบโตมากถึงร้อยละ 182 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มรถบรรทุกไฟฟ้า รถโดยสารไฟฟ้า และรถยนต์ไฟฟ้า ตามลำดับ การเติบโตของจำนวนยานยนต์ไฟฟ้าเหล่านี้เอง นำมาสู่เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางเลือกที่เหมาะสมในด้านต้นทุนที่ต่ำกว่าการซื้อยานยนต์ไฟฟ้าใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มรถกระบะขนส่งเชิงพาณิชย์ และรถบรรทุกขนส่งสินค้า ที่มีข้อจำกัดในด้านต้นทุนการซื้อรถใหม่ และ สามารถกำหนดระยะทางการใช้งานที่แน่นอน สามารถออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมได้ 

 

อย่างไรก็ตาม แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้าที่ยังคงมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาผู้ประกอบการขนาดเล็ก ที่มีศักยภาพในการกระจายไปทั่วทั้งประเทศไทย ยังคงมีอุปสรรคในด้านเทคโนโลยีการดัดแปลง ต้นทุนในการทดสอบเพื่อจดทะเบียนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และการบริการหลังการขายที่ต้องครอบคลุมและสามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงยังไม่เติบโตเท่าที่ควร การสัมมนาในหัวข้อ “เส้นทางสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์” จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ทั่วไป แก่ผู้ประกอบการ ผู้สนใจดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ในด้านข้อเสนอแนะในการดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้า ตั้งแต่การออกแบบ การติดตั้ง และการจดทะเบียน ผ่านคู่มือ (Manual) ที่ผ่านการออกแบบและจัดทำจากประสบการณ์การดำเนินการในเชิงปฏิบัติ (Best practices) ทั้งจาก สวทช. เอง และผู้ประกอบการที่เข้าร่วมทดลองดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้า

กำหนดการสัมมนา

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 09.15 น. กล่าวเปิดสัมมนา

โดย ดร. สุมิตรา จรสโรจน์กุล, ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งขาติ

09.15 – 10.00 น. ออกแบบยานยนต์ไฟฟ้าอย่างไรให้ปลอดภัย ด้วยอุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์ความเป็นฉนวนไฟฟ้า (Insulation Monitoring Device, IMD)

โดย ดร. มานพ มาสมทบ, นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ

10.00 – 11.00 น. การจัดการด้านมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง 

โดย ดร. กมล เอื้อชินกุล, นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

11.00 – 11.15 น. พักระหว่างการสัมมนา
11.15 – 12.20 น. เสวนา หัวข้อ “ยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ โอกาสของผู้ประกอบการไทย”

โดย

  • ผู้แทนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
  • ผู้แทนจาก สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
  • ผู้แทนจาก กรมการขนส่งทางบก (ขบ.)
  • ผู้แทนจาก กลุ่มผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง 1
  • ผู้แทนจาก กลุ่มผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง 2

ดำเนินการเสวนา โดย นายกฤษดา ธีรศุภลักษณ์ 

ช่อง Welldone Guarantee

12.20 – 12.30 น. ถาม – ตอบ
เกี่ยวกับวิทยากร
ดร. สุมิตรา จรสโรจน์กุล
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ สวทช.
ดร. มานพ มาสมทบ
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ
ดร. กมล เอื้อชินกุล
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ผู้แทนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
ผู้แทนจาก สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
ผู้แทนจาก กรมการขนส่งทางบก (ขบ.)
ผู้แทนจาก กลุ่มผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง 1
ผู้แทนจาก กลุ่มผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง 2
หัวข้อสัมมนาอื่นๆ