30 มีนาคม 2566

จีโนมิกส์ประเทศไทย: การแพทย์จีโนมิกส์เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย

Genomics Thailand: Enhancing our Quality of Life via Genomic Medicine

วิทยากร
  • รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม
  • นพ.พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์
  • ดร.ศิษเฎศ ทองสิมา
  • ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร
  • อ.นพ.จักรกฤษณ์ เอื้อสุนทรวัฒนา
  • รศ.ดร.วิภู กุตะนันท์
  • รศ.ดร.จตุพล คำปวนสาย
  • ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์
  • นพ.วีรยุทธ ประพันธ์พจน์
  • อ.ดร.ธิดาทิพย์ วงศ์สุรวัฒน์
  • นายเฉลิมพล ศรีจอมทอง

จีโนมิกส์ประเทศไทย: การแพทย์จีโนมิกส์เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย

เทคโนโลยีจีโนมิกส์ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์และสาธารณสุข ภายใต้แนวคิดการแพทย์แม่นยำหรือ การแพทย์จีโนมิกส์ ซึ่งเป็นแนวทางการแพทย์สมัยใหม่ที่ใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลทางคลินิก และข้อมูลแวดล้อมอื่นๆ เพื่อการตรวจวินิจฉัยและการพยากรณ์โรคที่แม่นยำ การเลือกรูปแบบการรักษาและการใช้ยา แบบมุ่งเป้าเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุดในผู้ป่วยแต่ละราย รวมไปถึงการสร้างเสริมสุขภาพและการใช้ข้อมูลในเชิง ป้องกัน การทำนายความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การเกิดโรคและหลีกเลี่ยงผลที่จะเกิดขึ้น นำไปสู่การลดภาระค่าใช้จ่ายใน การดูแลสุขภาพและการมีอายุที่ยืนยาวอย่างมีสุขภาพดี และกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้การทำนาย วินิจฉัย การเลือก แผนการรักษามีประสิทธิภาพและแม่นยำกับคนไทยคือการมีฐานข้อมูลความหลากหลายทางพันธุกรรมที่จำเพาะกับ ประชากรไทย (Reference Thai Genome Database) สำหรับเป็นฐานข้อมูลอ้างอิงในการแปลผลทางพันธุกรรม รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ด้านพันธุกรรมที่จำเพาะกับคนไทย

ประเทศไทยมีการจัดตั้ง แผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย (พ.ศ. 2563-2567) หรือโครงการ จีโนมิกส์ประเทศไทย (Genomics Thailand) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลพันธุกรรมของคนไทย 5 หมื่นราย โดยความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม สำนักงาน คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และหน่วยงานภาคีเครือข่าย (Genomics Thailand consortium) โดยตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการแพทย์จีโนมิกส์ระดับอาเซียนภายใน 5 ปี และ ประชาชนไทยสามารถเข้าถึงบริการด้านการแพทย์จีโนมิกส์อย่างมีคุณภาพ ภายในงานสัมมนาท่านจะได้รับทราบ ความก้าวหน้าการดำเนินงานของโครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย รวมถึงแนวทางการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล ดังกล่าวเพื่อการบริการทางการแพทย์ และผลกระทบที่สำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางทาง การแพทย์ (Medical Hub) ของอาเซียน นอกจากนี้ยังจะได้อัปเดตความรู้และนวัตกรรมในวงการจีโนมิกส์ที่น่าสนใจ

กำหนดการสัมมนา

09.00 – 09.30 น. ลงทะเบียนงาน
09.30 – 09.50 น. กล่าวเปิดงาน

โดย รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม, อดีตปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

09.50 – 10.20 น. Genome Data Utilization and Commercialization in Thailand

โดย นพ. พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์, ที่ปรึกษาพิเศษด้านสาธารณสุข 

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาค ตะวันออก (สกพอ.)

10.20 – 10.50 น. Computational Genomic Medicine Infrastructure for Thailand

โดย ดร. ศิษเฎศ ทองสิมา, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

10.50 – 11.00 น. พักระหว่างการสัมมนา
11.00 – 11.30 น. Cancer Precision Medicine in Thailand

โดย ศ.นพ. มานพ พิทักษ์ภากร, คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

11.30 – 12.00 น. Precision Medicine in Non-Communicable Diseases

โดย อ.นพ.จักรกฤษณ์ เอื้อสุนทรวัฒนา, คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

12.00 – 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย
13.30 – 14.30 น. The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2022 

The Genomes of Extinct Hominins and Human Evolution

โดย รศ.ดร.วิภู กุตะนันท์, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Anthropology and Genetic Diversity of Thai People

โดย รศ.ดร.จตุพล คำปวนสาย, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

14.30 – 15.00 น. Infectious Disease Genomics and Their Application

โดย ศ.นพ. ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

15.00 – 15.15 น. พักระหว่างการสัมมนา
15.15 – 16.00 น. Update State of the Art Genomic Platforms 

โดย นพ.วีรยุทธ ประพันธ์พจน์, บริษัท ศูนย์พันธุศาสตร์การแพทย์ จำกัด

อ.ดร.ธิดาทิพย์ วงศ์สุรวัฒน์, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

นายเฉลิมพล ศรีจอมทอง, ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านเวชพันธุศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

 

 

สถาบันหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อสัมมนา
VDO สัมมนา
เกี่ยวกับวิทยากร
รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม
อดีตปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
นพ. พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์
ที่ปรึกษาพิเศษด้านสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาค ตะวันออก (สกพอ.)
ดร. ศิษเฎศ ทองสิมา
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง
ศ.นพ. มานพ พิทักษ์ภากร
คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
อ.นพ.จักรกฤษณ์ เอื้อสุนทรวัฒนา
คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
รศ.ดร.วิภู กุตะนันท์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รศ.ดร.จตุพล คำปวนสาย
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศ.นพ. ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
นพ.วีรยุทธ ประพันธ์พจน์
บริษัท ศูนย์พันธุศาสตร์การแพทย์ จำกัด
อ.ดร.ธิดาทิพย์ วงศ์สุรวัฒน์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
นายเฉลิมพล ศรีจอมทอง
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านเวชพันธุศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
หัวข้อสัมมนาอื่นๆ