28 มีนาคม 2566

BCG Naga Belt Road…หนทางแห่งความสำเร็จการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก

BCG-Naga Belt Road

วิทยากร
  • นายสัตวแพทย์ ยุคล ลิ้มแหลมทอง
  • ดร.กัญญณัช ศิริธัญญา
  • ดร.อรรจนา ด้วงแพง
  • ดร. อนาวิน สุวรรณะ
  • ผศ.ดร.สุจินต์ ภัทรภูวดล
  • ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา
  • รศ.ดร.เขมรัฐ เถลิงศรี
  • ศ.ดร.กิตติ ลิ่มสกุล
  • คุณกุลประภา นาวานุเคราะห์, ผู้ดำเนินรายการ

BCG Naga Belt Road…หนทางแห่งความสำเร็จการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก

โครงการยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวด้วยเกษตรสมัยใหม่ บนเส้นทางสายวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง (BCG-Naga Belt Road)” เป็นหนึ่งในการขับเคลื่อนในลักษณะกลุ่มสินค้าของ BCG       สาขาเกษตร ที่เป็นแบบอย่างการทำงานด้วยความร่วมมือแบบ 4P (Public-Private-People-Professional partnership) ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่มเกษตรกร สถาบันการศึกษาในพื้นที่ ดำเนินการโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บริษัท สยามคูโบต้า         คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท เกษตรอินโน จำกัด และหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันการใช้ BCG Model ขับเคลื่อนชุมชนฐานการผลิตข้าวให้มีการสร้างมูลค่าเพิ่มแบบครบวงจร นำไปสู่การยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวและผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานต่อไป 

 

ในปี 2565 โครงการฯ ได้พัฒนาเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 4 จังหวัดนำร่อง (จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงราย จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดนครพนม) โดยปรับเปลี่ยนเกษตรกรจาก “ผู้ซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว” เป็น “ผู้ผลิต และ/หรือจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว” และพัฒนาชุมชนนวัตกรรมเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตข้าว โดยดำเนินงาน 4 แผนงาน ครอบคลุมห่วงโซ่การผลิตข้าวและการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับข้าวเหนียว ดังนี้ 1) การถ่ายทอดเทคโนโลยี          ที่เหมาะสม และพันธุ์ข้าวเหนียว เพื่อสร้างความเข้มแข็งมั่นคงด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ให้แก่เกษตรกร 2) การยกระดับห่วงโซ่คุณค่าของการผลิตข้าวเหนียวบนเส้นทางสายวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงด้วยนวัตกรรม          ที่เหมาะสมและการเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร 3) การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรม ทรัพยากรท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับข้าวเหนียว และ 4) การพัฒนาระบบสนับสนุนเพื่อการส่งเสริม   การพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทาง BCG model ซึ่งแผนงานดังกล่าว มุ่งเน้นประเด็นสำคัญ ดังนี้

  1. การพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร (human capacity)
  2. เกษตรกรมีความรู้อยู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน ด้วยกลไกการสร้างความเป็นผู้นำและสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน 
  3. การเพิ่มสมรรถนะวิชาชีพของบุคลากรในห่วงโซ่ข้าวเหนียว (re-skill up-skill)
  4. การใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์จากความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรท้องถิ่น
  5. การยอมรับเทคโนโลยีสู่การพัฒนาด้านการผลิตตลอดห่วงโซ่ข้าวเหนียว
  6. การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งวัฒนธรรมข้าวเหนียว
  7. การพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนในห่วงโซ่การผลิตข้าวเหนียว
  8. การพัฒนาต้นแบบชุมชนนวัตกรรม carbon ต่ำ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและทรัพยากรในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยโครงการฯ ประสบความสำเร็จในการยกระดับรายได้ของเกษตรกรและการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบอย่างในการพัฒนา BCG commodity base ในสินค้าเกษตรอื่นๆ จึงเป็นที่มาในการเสวนาครั้งนี้

งานเสวนาในหัวข้อ BCG Naga Belt Road…หนทางแห่งความสำเร็จการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เป็นการนำเสนอรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้านการเกษตรด้วย BCG Model โดยในช่วงที่ 1 เป็นการเสวนาในประเด็น “ทำอย่างไร  ในการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรสู่ความสำเร็จ” และช่วงที่ 2 เป็นการเสวนาในประเด็น “ผลลัพธ์แห่งการเปลี่ยนแปลง start local go global” เพื่อเป็นแนวทางสู่การพัฒนาและการขยายผลในสินค้าเกษตรอื่นๆ ต่อไปในอนาคต

กำหนดการเสวนา

13.00 – 13.05 น. กล่าวเปิดสัมมนา 

โดย นายสัตวแพทย์ ยุคล ลิ้มแหลมทอง
ประธานคณะอนุกรรมการการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเกษตร

13.05 – 13.20 น. การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้านการเกษตรด้วย BCG 

โดย นายสัตวแพทย์ ยุคล ลิ้มแหลมทอง
ประธานคณะอนุกรรมการการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเกษตร

13.20– 14.30 น. เสวนา เรื่อง BCG Naga Belt Road…หนทางแห่งความสำเร็จการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก 

ผู้ดำเนินรายการ คุณกุลประภา นาวานุเคราะห์ 

(อดีต) ผู้ช่วยผู้อำนวยการ, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ช่วงที่ 1: ทำอย่างไรในการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรสู่ความสำเร็จ 

ผู้อภิปราย

  • ดร.กัญญณัช ศิริธัญญา, (อดีต) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ดร.อรรจนา ด้วงแพง, คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ดร. อนาวิน สุวรรณะ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ผศ.ดร.สุจินต์ ภัทรภูวดล, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

 

ช่วงที่ 2: ผลลัพธ์แห่งการเปลี่ยนแปลง start local go global 

ผู้อภิปราย

  • ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • รศ.ดร.เขมรัฐ เถลิงศรี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14.30 – 14.45 น. ต้นแบบการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนด้วย BCG Naga Belt Road

โดย ศ.ดร.กิตติ ลิ่มสกุล, ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์

14.45 – 15.00 น. ถาม – ตอบ
เอกสารประกอบการสัมมนา
เกี่ยวกับวิทยากร
นายสัตวแพทย์ ยุคล ลิ้มแหลมทอง
ประธานคณะอนุกรรมการการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเกษตร
ดร.กัญญณัช ศิริธัญญา
(อดีต) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ดร.อรรจนา ด้วงแพง
คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ดร. อนาวิน สุวรรณะ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ผศ.ดร.สุจินต์ ภัทรภูวดล
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
รศ.ดร.เขมรัฐ เถลิงศรี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศ.ดร.กิตติ ลิ่มสกุล
ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์
คุณกุลประภา นาวานุเคราะห์
(อดีต) ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (ผู้ดำเนินรายการ)
หัวข้อสัมมนาอื่นๆ