magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "nac2013"
formats

โรคติดเชื้ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ กับการเตรียมความพร้อมการเปิดรับประชาคมอาเซียน

จากการบรรยายเรื่อง “โรคติดเชื้ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ กับการเตรียมความพร้อมการเปิดรับประชาคมอาเซียน” วันที่ 1 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ซึ่งในปีนี้ จัดภายใต้หัวข้อเรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบรรยายแบ่งเป็น 4 ช่วง คือ ช่วงแรก เป็นเรื่อง “World without Malaria: A Grand hallenge?” (โดย ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ สวทช.) ช่วงที่สอง เป็นเรื่อง “ปัญหาโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำกับแรงงานข้ามชาติ” (โดย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ช่วงที่สาม เป็นเรื่อง “Zoonosis กับการเปิดประชาคมอาเซียน” (โดย รศ.นสพ.ปานเทพ รัตนากร คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล) และช่วงสุดท้าย เป็นเรื่อง รวมพลังขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ รับมือประชาคมอาเซียนภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว” (โดย นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รู้รอบด้านก่อนมีรถไฟความเร็วสูง : การพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางและความพร้อมในภูมิภาคอาเซียนสำหรับการเข้าสู่ AEC ในปี 2558

หัวข้อการบรรยายและเสวนาพิเศษ เรื่อง รู้รอบด้านก่อนมีรถไฟความเร็วสูง : การพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางและความพร้อมในภูมิภาคอาเซียนสำหรับการเข้าสู่  AEC ในปี 2558 เป็นหนึ่งในหัวข้อการบรรยายและเสวนาพิเศษ หัวข้อหนึ่ง ในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช.  ครั้งที่ 9 (NAC 2013)  เรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี  เนื้อหาการบรรยายโดยสรุป ประเด็นร้อนของภูมิภาคอาเซียนในขณะนี้ คือการเปิดเสรีของประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งระบบรางเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ ระบบรางที่ถูกกล่าวขานกันมากในภูมิภาคอาเซียน คือรถไฟความเร็วสูง ปี 2552 ประเทศเวียดนามตกเป็นข่าวอย่างร้อนแรงในการที่จะเป็นชาติแรกที่สร้างทางรถไฟความเร็วสูง แต่ในที่สุดรัฐสภาเวียดนามก็มีมติไม่เห็นชอบกับโครงการดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกสำหรับระบบการปกครองแบบพรรคการเมืองเดียวที่รัฐบาลรับรัฐสภามักจะมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหลังจากเวียดนามชะลอโครงการรถไฟความเร็วสูงไปแล้ว ก็เกิดกระแสรถไฟความเร็วสูงขึ้นในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศไทยโดยคาดหวังว่าจะมีการสร้างรถไฟทางกว้าง 1.435 เมตรจากคุณหมิงมายังเวียงจันทน์ แล้วเลยเข้าประเทศไทยที่จังหวัดหนองคาย ซึ่งหากเป็นจริงแล้วก็จะเป็นการเชื่อมทางรถไฟจากประเทศจีนเข้าในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งใช้ทางรถไฟเป็นขนาดกว้าง 1

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตอบโจทย์นวัตกรรมชาวบ้านเพื่อการเกษตร

การเสวนาเรื่อง ตอบโจทย์นวัตกรรมชาวบ้านเพื่อการเกษตร เป็นหนึ่งในหัวข้อการเสวนาหัวข้อหนึ่ง ในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช.  ครั้งที่ 9 (NAC 2013)  เรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี สรุปการเสวนาได้ดังนี้ ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด จึงต้องอาศัยปัจจัยทางธรรมชาติมากที่สุด แต่ปัจจุบันโลกเปลี่ยนไป สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปรวมถึงเกิดปัญหาต่างๆ มากมาย จึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดในปัจจุบัน โดยการหาวิธีการ กระบวนการ ตลอดจนแนวความคิดต่างๆ เพื่อปรับปรุงผลผลิตให้ดีขึ้น เพื่อผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในการเสวนาดังกล่าวมีการกล่าวถึงการทำเกษตรอย่างไรให้ได้ผลผลิตที่ดี ทั้งคุณภาพและปริมาณ รวมตลอดถึงผลตอบแทนที่จะได้รับทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ซึ่งการเสวนาครั้งนี้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำนาข้าว  การปลูกพืชและผักอินทรีย์และการทำเกษตรเพื่อการพึ่งตนเองและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น การทำนาโดยวิธีแกล้งข้าว เพื่อให้ผลผลิตของข้าวได้มากขึ้น ไม่ว่าข้าวนั้นจะปลูกในนาใดก็ตาม คุณศุภชัย ปิติวุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการขาย บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความสำเร็จที่มาจากทุนนักวิจัยแกนนำสู่ประชาคมอาเซียน

จากการบรรยายเรื่อง ความสำเร็จที่มาจากทุนนักวิจัยแกนนำสู่ประชาคมอาเซียน  วันที่ 1 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช.  ซึ่งในปีนี้ จัดภายใต้หัวข้อเรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบรรยายแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ “นกเงือกในผืนป่า ก่อนเปิดประชาคมอาเซียน” (โดย ศ.ดร. พิไล พูลสวัสดิ์และคณะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) ช่วงที่สอง เป็นเรื่อง “มะเร็งท่อน้ำดี: ปัญหาร่วมของประชากรลุ่มน้ำโขง” (โดย รศ.ดร. โสพิศ วงศ์คำและคณะ ศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น) ช่วงที่หนึ่งนกเงือกในผืนป่า ก่อนเปิดประชาคมอาเซียน นกเงือกเป็นสัตว์ป่าที่เป็นดัชนีชี้ ความสมบูรณ์ของป่าไม้ และยังมีบทบาทที่สาคัญในการช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้ป่าหลายชนิด ซึ่งถือเป็นการช่วยรักษาโครงสร้างป่า และผดุงพันธุ์ไม้ป่า โครงการศึกษาวิจัยนี้ กำเนิดขึ้นจากความห่วงใยต่อสถานสภาพของนกเงือก ความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความเข้าใจสถานภาพและอนาคตของนกเงือกในประเทศไทยตั้งแต่ระดับพันธุกรรมประชากร จนกระทั่งถึงระดับระบบนิเวศน์ ซึ่งจะเป็นงานบุกเบิกสู่การอนุรักษ์สัตว์ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย ศ.ดร.พิไล พูลสวัสดิ์และคณะ ได้ศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของนกเงือก 13

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สหกรณ์ตรังร่วมประชุมสวทช.ปรับปรุงผลิตปาล์มสู่อาเซียน

ตรัง :นายนันทวัฒน์ แก้วอำดีสหกรณ์จังหวัดตรัง นำคณะกรรมการดำเนินการ และผู้จัดการสหกรณ์ในจังหวัดตรัง เข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปี 2556 (NAC 2013) หัวข้อเรื่องจากปาล์มน้ำมัน สู่น้ำมันปาล์ม : วิกฤตหรือโอกาสในการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ณ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายนันทวัฒน์ กล่าวว่า งานในวันนี้จัดขึ้นโดย สวทช. เพื่อมุ่งเน้นและสะท้อนบทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่มีต่อยุทธศาสตร์และทิศทางของประเทศ ในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)อย่างเต็มรูปแบบ ในหัวข้อ ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเนื่องจาก สวทช. เล็งเห็นว่า การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างสมบูรณ์ ในปี พ.ศ.2558 จะเป็นโอกาสหรือความท้าทายต่อภาคธุรกิจไทย ไม่ว่าจะเป็นภาคการเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ ก็ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถในการแข่งขัน ความสามารถในการปรับตัวของภาคธุรกิจ และการเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วนในประเทศเพื่อให้ภาคธุรกิจไทยสามารถแข่ง ขันได้ สหกรณ์จังหวัดตรัง กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังเป็นเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็นระหว่างทุกภาคส่วนถึงความต้องการและศักยภาพในการพัฒนาและประยุกต์ ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยุงชุม วิทยาศาสตร์ช่วยได้อย่างไร

จากการบรรยายเรื่อง ยุงชุม วิทยาศาสตร์ช่วยได้อย่างไร วันที่ 1 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ซึ่งในปีนี้ จัดภายใต้หัวข้อเรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นั้น โดยวัตถุประสงค์ของการบรรยายในหัวข้อนี้ เพื่อมุ่งเน้นเผยแพร่ความรู้ และเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมประชากรยุง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมฟังสามารถนำความรูัที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน การบรรยายแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงแรก เป็นเรื่อง “บทบาทของวิทยาศาสตร์ต่อการลดโรคนำโดยยุง” (โดย น.พ. วิชัย สติมัย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)  ช่วงที่สอง เป็นเรื่อง “การใช้สารเคมีควบคุมยุง” (โดย รศ. ดร. นฤมล โกมลมิศร์ จากภาควิชากีฏวิทยาทางการแพทย์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล) และช่วงที่สาม เป็นเรื่อง “แบคทีเรียปราบลูกน้ำยุง ความเป็นมาและแนวทางการพัฒนา” (โดยวิทยากร 2 ท่าน คือ ศ.

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการทำไร่อ้อย

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดทำฐานข้อมูลเชื้อพันธุกรรมอ้อย (http://cropthai.ku.ac.th) โดยมีข้อมูลเชื้อพันธุกรรมอ้อยซึ่งนักปรับปรุงพันธุ์สนใจมาก และพันธุ์อ้อยการค้าซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในส่วนเชื้อพันธุกรรมอ้อยเก็บรวบรวมลักษณะทางการเกษตรและทางพฤกษศาสตร์ เช่น ลักษณะลำต้น หูใบ แผ่นใบ สี กลุ่มขน ในส่วนพันธุ์อ้อยการค้า มีรูปภาพประกอบ ลักษณะทางการเกษตรมีอธิบายไว้เป็นจำนวนมาก เช่น ความหวาน ขนาด การแตกก่อ ลักษณะกลุ่มขน ยังมีข้อมูลสภาพดินที่เหมาะสมกับแต่ละพันธุ์ และในฐานข้อมูลยังรวบรวมพันธุประวัติอ้อย ความสัมพันธ์ของพันธุ์อ้อยแต่ละพันธุ์ ซึ่งมีประโยชน์ต่อนักปรับปรุงพันธุ์ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังมีระบบฐานข้อมูลการผสมพันธุ์ การเพาะเมล็ด และการคัดเลือกพันธุ์ ซึ่งทำให้นักปรับปรุงพันธุ์ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น เชื้อพันธุ์อ้อยแต่ละพันธุ์ออกดอกเมื่อไหร่ อ้อยแต่ละพันธุ์มีเพศดอกอะไร เคยผสมพันธุ์อ้อยคู่ใดเมื่อไหร่ อ้อยพันธุ์ใดผสมติดเมล็ดได้ดีหรือผสมไม่ติด อ้อยพันธุ์ใดผสมตัวเองไม่ติดบ้างหรือเป็นหมัน อ้อยพันธุ์ไหนให้ลูกผสมที่ดีเด่นบ้าง บริษัท มิตรผล พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด ได้ขยายพื้นที่ปลูกอ้อยไปยังประเทศลาว เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แต่ประสบปัญหาเหมือนไร่อ้อยในประเทศไทยคือ ไม่สามารถควบคุมโรคใบขาวในอ้อยได้ จนกระทั่งได้รับความรู้เรื่องเทคนิคการเพาะเลี้ยงอ้อยปลอดโรคและคำแนะนำให้จัดตั้งหน่วยผลิตอ้อยปลอดโรคที่ลาวจาก ดร.เฉลิมพล เกิดมณี จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ผลก็คือเมื่อนำอ้อยปลอดโรคจากหน่วยไปปลูกในไร่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถแก้ปัญหาโรคใบขาวได้เป็นผลสำเร็จ เรียบเรียงจากการบรรยายเรื่อง ผลงานวิจัยด้านอ้อยสู่การใช้ประโยชน์ ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 9

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการสร้างความพร้อมของผู้ประกอบการไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

คำบางคำมักนำไปใช้โดยไม่รู้ความหมายที่ถูกต้อง เช่นเดียวกับคำว่า นวัตกรรม ส่วนใหญ่ใช้เรียกสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นใหม่ทั้งหมดเป็นนวัตกรรม ที่ถูกต้องนวัตกรรมคือ สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นใหม่แต่มีการสร้างรายได้นำไปสู่การตลาด ดังนั้นนวัตกรรมต้องประกอบด้วย 1.มีความใหม่ ซึ่งอาจทำขึ้นใหม่ทั้งหมดหรือมีการพัฒนาจากของเก่า 2.มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 3.สร้างผลสำเร็จเชิงพาณิชย์ และ 4.ต้องมีกระบวนการใชัความรู้และความคิดสร้างสรรค์ จึงทำให้นวัตกรรมส่งผลดีต่อผู้ประกอบการคือ สร้างรายได้เพิ่มขึ้น เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและการได้เปรียบ ดังนั้นบริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัททั่วโลกจึงมีการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องโดยอาจเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ซึ่งทำให้บริษัทเหล่านั้นประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนและก้าวสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจนั้น ระดับในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.ระดับค่อยเป็นค่อยไป เช่น เปลี่ยนชิ้นส่วนในโทรศัพท์ 2.ระดับเฉียบพลัน เช่น ผลิต CD ออกมาใช้แทนแผ่นเสียง 3.ระดับสิ้นเชิง เช่น สร้างเครื่องจักรไอน้ำใช้แทนแรงงงานคนและสัตว์ เหตุที่หลายบริษัทสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้นมาได้เนื่องจากมีศักยภาพหรือขีดความสามารถและมีการวางแผนจัดการที่ดี โดยแนวโน้มของการสร้างสรรค์นวัตกรรมคือ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต เพิ่มประสิทธิภาพและลดขนาดของผลิตภัณฑ์ ในระยะแรกสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยต่างๆ มีการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้เกิดองค์ความรู้ต่างๆ มากมาย เพื่อให้ผู้สนใจนำไปวิจัยต่อยอดและนำไปสู่การทำธุรกิจ ต่อมาเริ่มมีการร่วมลงทุนทำวิจัยกับภาคเอกชน มีภาคเอกชนมาตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยในมหาวิทยาลัยและสวทช. ส่งผลให้เกิดการสร้างนวัตกรรมมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมที่จะก้าวสู่เวทีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือแม้กระทั่งเวทีระดับโลก เรียบเรียงจากการบรรยายเรื่อง บทบาทของนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการยกระดับผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ AEC ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 9

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพอาหารเพื่อถนอมรสชาติและเสริมสุขภาพ

เพื่อสร้างความตระหนักและเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตอาหารรับรู้เทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวกับการเลือกใช้และพัฒนาวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร เช่น สารปรับสมบัติรีโอโลยีสำหรับอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว-กรณีศึกษาโดยใช้ซอสพริก การพัฒนาแป้งชุบทอดเพื่อลดปริมาณไขมันในอาหารทอดกรอบ การพัฒนาสารทดแทนไขมันและสารผสมไฮโดรคอลลอยด์ที่ทำให้สามารถเก็บรักษาอาหารให้มีอายุยาวนานโดยยังมีเนื้อสัมผัสไม่เปลียนไป เป็นเทคโนโลยีที่ตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ และเป็นสาขาการผลิตที่ประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญ คือ การผลิตอาหาร การพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพอาหารเพื่อถนอมรสชาติและเสริมสุขภาพ และสนับสนุนให้อุตสาหกรรมอาหารไทยสามารถยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เน้นคุณภาพ รสชาติ เนื่อสัมผัส และการใส่ใจต่อสุขภาพ http://nstda.or.th/nac2013/1-seminar.php รายการอ้างอิง : เทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพอาหารเพื่อถนอมรสชาติและเสริมสุขภาพ. NAC2013 (ห้องประชุม M-120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย). วันที่ 1 เมษายน 2556.– ( 115 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การพัฒนางานวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันสำหรับชุมชนเกษตรไทยใน AEC

“รถบรรทุกเอนกประสงค์” งานวิจัยเพื่อเกษตรชุมชน เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สินค้าเกษตรของไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันทางการค้ามากขึ้น ขณะที่เกษตรกรไทยยังขาดเครื่องมือและความรู้ในการจัดการอีกมาก เครื่องมือสำคัญที่คู่กับเกษตรกรมาช้านานคือ รถอีแต๋น ซึ่งเกษตรกรนิยมใช้ในปัจจุบันเป็นพาหนะที่ได้จากการนำชิ้นส่วนโครงฐานรถเก่าและอะไหล่เก่ามาดัดแปลงและประกอบ จึงไม่ปลอดภัยในการใช้งานและจดทะเบียนรถยนต์ไม่ได้ รวมทั้งเกิดปัญหาขณะใช้งานบ่อย ส่งผลให้ต้นทุนค่าขนส่งของเกษตรกรเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัวและเป็นการลดทอนความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกร ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ร่วมมือกับ บริษัทสามมิตรมอเตอร์แมนูแฟคเจอริง จำกัด  (มหาชน) ดำเนินการพัฒนารถยนต์อเนกประสงค์สำหรับเกษตรกรชุมชน โดยใช้ชิ้นส่วนมาตรฐานตามหลักวิศวกรรมของโครงฐานรถสำคัญ 5 ชิ้นส่วน ได้แก่ แชชซี ดุมล้อและระบบเบรก ระบบบังคับเลี้ยว ระบบกำลังส่ง และระบบส่งกำลังสะทือน มาประกอบเป็นรถอเนกประสงค์ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาชิ้นส่วนโครงฐานที่ไม่ได้มาตรฐาน และเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน รวมถึงอาจนำไปจดทะเบียนรถได้ เนื่องจากมีการออกแบบและคำนวณตามหลักวิศวกรรมที่ถูกต้อง http://nstda.or.th/nac2013/1-seminar.php รายการอ้างอิง : การพัฒนางานวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันสำหรับชุมชนเกษตรไทยใน AEC. NAC2013 (ห้องประชุม CC-306 อาคารศูนย์ประชุมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย). วันที่ 1 เมษายน 2556.  – ( 67 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments