magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "Organization Development"
formats

การทบทวนหลังทำงาน หรือหลังปฏิบัติ หรือหลังกิจกรรม (After Action Review-AAR)

เป็นการทบทวนหรือเป็นกระบวนการเพื่อวิเคราะห์ว่าเกิดเหตุอะไร สาเหตุของการเกิด และจะสามารถดำเนินการให้ดีกว่าเดิมได้อย่างไร โดยเอาบทเรียนจากความสำเร็จและความล้มเหลวของการทำงานที่ผ่านมา เพื่อนำมาซึ่งการพัฒนาหรือการปรับปรุงการทำงาน การทำ AAR เป็นรูปแบบของกลุ่มทำงานที่สะท้อน ความมีส่วนร่วมในการทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น อะไรคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง สาเหตุของการเกิดและสิ่งที่ได้เรียนรู้คืออะไร การทำ AAR เริ่มใช้เป็นครั้งแรกโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา เพื่อสะท้อนถึงการทำงานโดยการจำแนกถึงจุดแข็ง จุดอ่อน และสิ่งที่ต้องปรับปรุง การทำ AAR มักจะใช้ 4 คำถาม คือ สิ่งที่คาดว่าจะได้จากการทำงาน คืออะไร สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร สิ่งที่แตกต่างและทำไมจึงแตกต่าง สิ่งที่ต้องแก้ไข คืออะไร และจะปรับปรุงได้อย่างไร  อ่านต่อ – ( 146 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การประเมิน 360 องศา

ได้ข่าวแว่วๆ ว่า สวทช. จะนำการประเมิน 360 องศา หรือเกือบ 360 องศามาใช้งาน โดยก่อนหน้านี้หลายปีแล้ว เนคเทค ได้นำการประเมินแบบนี้มาใช้ช่วงหนึ่ง และปรับเปลี่ยนเป็นระบบบริหารงานบุคคลเดียวกับ สวทช. ทำให้ต้องยุติลงไป แต่เมื่อ สวทช. นำมาใช้อีกครั้ง คงจะเป็นการใช้ทั้งภาพรวม สวทช. แน่นอน อย่างไรก็ดีก่อนที่จะมาถึง ก็ควรศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการประเมิน 360 องศากันสักนิด การประเมิน 360 องศา เป็นรูปแบบหนึ่งของการประเมินผลการปฏิบัติการ การประเมินด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารระหว่างบุคคล โดยมีพัฒนาการมาจากปัญหาที่ว่า “การประเมินแบบเดิมบางรูปแบบ เกิดจากผลการประเมินไม่เป็นตามจริงด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ความเกรงอกเกรงใจ การรักษาน้ำใจ ความไม่ยุติธรรม ความลำเอียง” ดังนั้นจึงมีการปรับรูปแบบการประเมินให้เป็น 360 องศา เพื่อหวังผลอย่างน้อย 3 ประการได้แก่ การตื่นตัวของพนักงาน ซึ่งจะทราบถึงการเข้าใจตนเอง และเห็นว่าผู้อื่นเข้าใจเราอย่างไร เป็นผลให้มีการตื่นตัวของพนักงาน การป้องกันปัญหาอันเกิดจากความไม่ยุติธรรมในบางประการ การเพิ่มศักยภาพในการรับรู้ เป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้จัดการ ซึ่งยังผลให้เป็นรากฐานของกระบวนการจัดการ และภาวะความเป็นผู้นำ อย่างไรก็ดี การประเมิน

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รำลึกความหลังสู่อนาคตของ สกว. โดย ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์

รำลึกความหลังสู่อนาคตของ สกว. เมื่อ วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๖ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จัดงานครบรอบ ๒๐ ปี สกว. ในงานดังกล่าว ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ได้เล่าให้ฟังถึงการก่อตั้ง สกว. และอนาคต ของ สกว.ในมุมมองของท่าน การก่อตั้งและการดำเนินงานที่ผ่านมา เหตุใดจึงมี สกว. เหตุผลก็คือ ในช่วงนั้นหรือแม้กระทั่งในช่วงนี้ เราต้องยอมรับว่าระบบการสนับสนุนการวิจัยของไทยยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก สกว. จึงได้ช่วยขึ้นมา ก่อนมี สกว. ในช่วงนั้น งานวิจัยแทบไม่มีนโยบาย ไม่มีงบประมาณ และเท่าที่มีก็ยังติดในระเบียบราชการขยับตัวแทบไม่ได้ ดังนั้นโอกาสสำคัญที่จะปรับ ระบบการสนับสนุนการวิจัยของเรา เมื่อมีตัวอย่าง คือ การก่อตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  และถัดจากนั้นมา มีการจัดตั้งสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ขึ้น แสดงว่ามีโอกาสและมีกลไกที่จะให้ตั้งองค์กรของรัฐที่ไม่ได้อยู่ในระบบราชการ โดยออกกฎหมายพิเศษ การก่อตั้ง สกว. ที่สำคัญ มีผู้ผลักดัน ๓ ท่าน ได้แก่ ดร.สง่า สรรพศรี

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

AEC : ขุมทรัพย์ Talent ไร้พรมแดน (AEC : Talent Treasury)

AEC : ขุมทรัพย์ Talent ไร้พรมแดน (AEC : Talent Treasury)  เป็นอีกหัวข้อหนึ่งในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อเรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Towards AEC with Science and Technology) เป็นการบรรยายวันที่ 31 มีนาคม 2556 เวลา 13.30-15.30 น. เนื่องจากในระยะเวลาเพียง 3 ปี ต่อจากนี้  ไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) บุคลากรในสาขาต่างๆ จะมีทางเลือกในการทำงานอย่างเปิดกว้าง กระแสของการหมุนเวียนแรงงานจะเปิดกว้างมากขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน ทุกภาคส่วนจะต้องมีกลยุทธ์ในการจูงใจและรักษาคนเก่ง แรงงานก็ต้องพัฒนาตนเองและสร้างคุณค่าให้แก่ตนเองและองค์กร เพื่อรักษางาน และสร้างจุดแข็งให้สามารถแข่งขันกับแรงงานจากต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศได้ การนำเสนอประสบการณ์ด้านการพัฒนากำลังคนของประเทศของวิทยากรในหัวข้อนี้ เพื่อสร้างความตระหนักด้านกำลังคนด้าน ว และ ท คุณลักษณะเด่นของ Talent บุคลากรคุณภาพภายในองค์กร การกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โลกอนาคตกับทิศทางสังคมอีก 150 ปีข้างหน้า

อะไรจะเกิดขึ้นในปี 2013 ในอีก 10 ปี หรือ 50 ปี หรือ 100 ปี เราจะได้เห็นการคาดการณ์ในอนาคตข้างหน้าจากนักคิด นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญ ว่าในอนาคตข้างหน้าสังคมของเราอาจจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง ในด้านต่างๆ เช่น Computing and robotics, Politics and business, Science and nature ฯลฯ โดยใช้อินโฟกราฟฟิกอธิบายเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ – ( 1383 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การวิเคราะห์แผนงานองค์กรด้วย PEST (LE)

โลกเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน มีหลากเหตุผลที่ทำให้องค์กร (ทั้งที่หวังและไม่หวังผลกำไร) จำเป็นต้องเกาะติดความเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกที่อาจส่งผลต่อการดำเนินองค์กร เช่น เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน เพื่อตรวจสอบโอกาสและภัยคุกคาม เพื่อประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร โดยเฉพาะการอาศัยข้อมูลดังกล่าวประกอบการตัดสินใจในการบริหารองค์กร ปัจจุบันมีหลากหลายเครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์แผนงาน โดยบทความนี้จะขอแนะนำ “PEST (LE)” – ( 39838 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments