magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ASEAN ตอบโจทย์นวัตกรรมชาวบ้านเพื่อการเกษตร
formats

ตอบโจทย์นวัตกรรมชาวบ้านเพื่อการเกษตร

การเสวนาเรื่อง ตอบโจทย์นวัตกรรมชาวบ้านเพื่อการเกษตร เป็นหนึ่งในหัวข้อการเสวนาหัวข้อหนึ่ง ในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช.  ครั้งที่ 9 (NAC 2013)  เรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี สรุปการเสวนาได้ดังนี้
ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด จึงต้องอาศัยปัจจัยทางธรรมชาติมากที่สุด แต่ปัจจุบันโลกเปลี่ยนไป สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปรวมถึงเกิดปัญหาต่างๆ มากมาย จึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดในปัจจุบัน โดยการหาวิธีการ กระบวนการ ตลอดจนแนวความคิดต่างๆ เพื่อปรับปรุงผลผลิตให้ดีขึ้น เพื่อผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ในการเสวนาดังกล่าวมีการกล่าวถึงการทำเกษตรอย่างไรให้ได้ผลผลิตที่ดี ทั้งคุณภาพและปริมาณ รวมตลอดถึงผลตอบแทนที่จะได้รับทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ซึ่งการเสวนาครั้งนี้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำนาข้าว  การปลูกพืชและผักอินทรีย์และการทำเกษตรเพื่อการพึ่งตนเองและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น

  • การทำนาโดยวิธีแกล้งข้าว เพื่อให้ผลผลิตของข้าวได้มากขึ้น ไม่ว่าข้าวนั้นจะปลูกในนาใดก็ตาม คุณศุภชัย ปิติวุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการขาย บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด และชาวนาวันหยุด ได้คิดวิธีการปลูกข้าว ด้วยวิธี”ระบบผลิตเปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว” ซึ่งวิธีการก็คือ การควบคุมระดับน้ำในแปลงนา ผสมผสานเทคโนโลยีที่ทำได้ด้วนตนเอง ซึ่งวีธีนี้จากเดิมเป็นการทำนาที่ต่างคนต่างทำ วิธีนี้เปลี่ยนเป็นรวมกลุ่มกันทำซึ่งเป้าหมายมีทั้งคุณภาพ และปริมาณ ตั้งแต่การคัดพันธ์ข้าวปลูก ข้าวที่ได้เป็นข้าวปลอดสารพิษ เป็นข้าวอินทรีย์  ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นสามารถช่วยให้ ลดเมล็ดพันธ์  ลดน้ำ ลดปุ๋ยเคมี ลดยาเคมี และลดแรงงาน  แต่จะช่วยเพิ่มคุณภาพข้าว  เพิ่มปริมาณผลผลิต เพิ่มกำไรและสะสมทุน เพิ่มความสามัคคีชุมชน
  • การทำเกษตรเพื่อการพึ่งพาตนเองและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น โดยคุณลุงโชคดี ปรโลกานนท์ เกษตรกรที่วังน้ำเขียว หรือที่รู้จักกันในนาม สวนลุงโชค วังน้ำเขียวซึ่งสวนลุงโชคนี้ เป็นแหล่งเรียนรู้การเกษตรเพื่อการพึ่งพาตนเอง และสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น ซึ่งกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้คุณลุงโชคต้องลองผิดลองถูกกับการทำไร่มาไม่น้อย ทั้งๆ ที่คุณลุงเองเรียนทางด้านเกษตร ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมุ่งสู่ความฝันของตัวเองไม่ทำงานกินเงินเดือน แต่ตั้งใจที่จะทำการเกษตรอย่างที่ร่ำเรียนมาสุดท้ายคุณลุงก็ประสบความสำเร็จจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้แนวทางวนเกษตร ในการจัดระบบนิเวศเกษตรสูธรรมชาติสมดุล เริ่มจากการพลิกฟื้นผืนดินจากการปลูกพืชไร่ สร้างดินให้มีชีวิต สร้างปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของตนเองและครอบครัว มีข้าวในนา มีผัก มีปลาอาหาร มีไม้ไว้ใช้สอย ปัจจุบันสวนลุงโชคมีความหลากหลายพรรณพืชในแปลงเกษตรมากกว่า 350 ชนิด
  • การปลูกพืชและผักอินทรีย์ โดยคุณปิยะทัศน์ ทัศนิยม ประธานเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ บ้านหนองมัง จ.อุบลราชธานี เหตุผลในการปลูกพืชและผักอินทรีย์เนื่องจากผู้บริโภคสนใจดูแลสุขภาพมากขึ้น มีความต้องการผัก-ผลไม้ปลอดสารพิษมากขึ้น จึงหันมาทำการเกษตรอินทรีย์ จากการเรียนรู้จากประสบการณ์ด้วยตัวเอง มีการลองผิด ลองถูกเช่นเดียวกัน ดองเลือกว่าจะปลูกพืชอะไรในฤดูไหน ที่ปลูกแล้วได้ผลดี มีความต้องการทางการตลาด เปลี่ยนการใช้ปู๋ยเคมีมาเป็นปุ๋ยที่หมักเอง ก็จะได้ทั้งพื้นอินทรีย์และลดต้นทุนการผลิต ทั้งนี้และทั้งนั้น คุณปิยะทัศน์ บอกว่า จะทำเกษตรให้ได้ผลดีต้องมีแนวคิดที่ชัดเจนและถูกต้องมีอุดมการณ์ ว่าเรารักเกษตรจริงหรือไม่

บทสรุปจากทั้ง 3 ท่านการทำการเกษตรที่ได้ผลดีคือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ และมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จ ใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียง ทำเกษตรแบบ
พึ่งพาตนเอง ไม่ใช้ปุ๋เคมี ลดต้นทุน ทำให้ดินดี สุขภาพดี สุดท้ายเศรษฐกิจจะดีตามมา ในการที่เกษตรกรรมของเราเมื่อเข้าสู่ AEC แล้ว จะสู้ประเทศอื่นได้
เมื่อมีการพัฒนาเรื่องคุณภาพของพันธ์พืช สงวนรักษาพันธ์พืชที่เป็นของประเทศจริงๆ ก็จะสามารถสู้ประเทศอื่นได้แน่นอน  สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม
ได้ที่ http://nstda.or.th/nac2013/2-3seminar.php– ( 219 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


seven + 4 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>