magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "Librarian"
formats

การสร้างรหัสผ่านที่ดี : ข้อแนะนำสำหรับบรรณารักษ์และผู้ใช้ห้องสมุด

Jessamyn West แนะนำการสร้างรหัสผ่านที่ดีให้แก่บรรณารักษ์และผู้ใช้ห้องสมุด จากบทความ How to Use Better and Stronger Passwords for Yourself and Your Patrons ซึ่งตีพิมพ์ใน Computers in Libraries ปีที่ 24 ฉบับ 2 เดือนมีนาคม 2014 หน้า 19-21 หรือติดตามอ่านได้ที่ http://www.infotoday.com/cilmag/mar14/West–How-to-Use-Better-and-Stronger-Passwords-for-Yourself-and-Your-Patrons.shtml ผู้เขียนซึ่งเป็นผู้อำนวยการด้านปฏิบัติการของ MetaFilten.com ได้เขียนบทความนี้ เพื่อนำเสนอแนวทางสร้างรหัสผ่านให้กับบรรณารักษ์และผู้ใช้ห้องสมุด ครอบคลุมในเรื่องความสำคัญของความปลอดภัยของรหัสผ่านในการป้องกันการรุกล้ำจากบุคคลอื่นและการกระทำอันเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เคล็ดลับสำหรับการสร้างรหัสผ่านที่ดี  – ( 34 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Collection Analysis (ตอนที่ 2)

วิธีการวัดหรือวิเคราะห์เพื่อประเมินทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด เพื่อประโยชน์ในการจัดหาทรัพยากร การต่ออายุ หรือการตัดสินใจเลิกซื้อ หรือเลิกการบอกรับวารสาร ฐานข้อมูลออนไลน์ ฯลฯ ห้องสมุดอาจมีวิธีการวัดเพื่อประเมินทรัพยากรอยู่แล้ว แต่การวัดโดยการรวมวิธีหรือเครื่องมือใหม่เข้ามานี้จะช่วยให้เห็นภาพรวมทั้ง หมดได้ดี ไม่เพียงแต่ช่วยให้การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศมีประสิทธิภาพขึ้น แต่สามารถจัดหาได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น และช่วยให้ห้องสมุดประหยัดเงินและเวลาอีกด้วย เบเกอร์ และแลนแคสเตอร์  (Baker and Lancaster อ้างถึงใน Crawley-Low, Jill V. : 2002) ได้ชี้แนะ 2 วิธีพื้นฐานในการประเมินทรัพยากรสารสนเทศ ได้แก่ อ่านรายละเอียด– ( 56 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Collection Analysis (ตอนที่ 1)

คำว่า “Collection” เป็นคำที่คุ้นเคยสำหรับบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ รวมทั้งผู้ที่ปฏิบัติงานในห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ สถาบันบริการสารสนเทศ ซึ่งหมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศ ที่ห้องสมุดจัดหาให้บริการ ห้องสมุดมักจะมีการแบ่งทรัพยากรสารสนเทศออกเป็นหลายๆ Collection และหลายหมวดหมู่ ไม่ว่าจะมีการแบ่งเป็นกี่ Collection ก็ตาม ห้องสมุดก็ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้น พร้อมๆ กับการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้ามาอย่างต่อเนื่อง – ( 72 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

บรรณารักษ์ และห้องสมุดในภาพยนตร์กว่า 100 เรื่องของฮอลลีวูด

ที่เขียนเรื่องนี้ เพราะเกิดแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง A Beautiful Mind แต่ก่อนหน้านั้น ก็มีเรื่อง Lorenzo’s Oil หรือน้ำมันลอเรนโซ ที่ชอบมากๆ เพราะ Lorenzo’s Oil ฉายให้เห็นการค้นคว้าข้อมูลในห้องสมุดอย่างหนัก เพื่อให้ได้ข้อมูลการรักษาโรคของลูกชายวัย 5 ขวบ ที่เป็นโรค ALD (adrenoleukodystrophy) ที่รักษายาก และจะตายในอีก 1-2 ปี หลังจากที่พบว่าเป็น เห็นบทบาทของบรรณารักษ์และฉากการใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งหาข้อมูลวิชาการเยอะ มากของกับพ่อแม่ของลอเรนโซ (อ่านบทวิจารณ์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=loveinthesky&group=2 และ http://www.gotoknow.org/posts/162860) ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่นี่– ( 51 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การค้นคืนสารสนเทศข้ามภาษา หรือการสืบค้นข้ามภาษา (Cross-Language Information Retrieval หรือ CLIR)

การค้นคืนสารสนเทศข้ามภาษา หรือการสืบค้นข้ามภาษา (Cross-Language Information Retrieval หรือ CLIR) เป็นส่วนหนึ่งของการสืบค้นหรือการค้นคืนสารสนเทศ  หมายถึง การค้นคืนสารสนเทศซึ่งภาษาที่แสดงในเอกสารไม่ตรงกับภาษาที่ใช้เป็นคำค้น  เนื่องจากเอกสารหรือสารสนเทศมีหลากหลายภาษา การใช้คำค้นด้วยภาษาใดภาษาหนึ่ง จะทำให้ไม่สามารถค้นคืนข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากแต่อาจจะแสดงอยู่ในภาษา อื่นๆ ไม่ได้ถูกดึงขึ้นมา เช่น การใช้คำภาษาไทยเป็นคำค้น จะทำให้ไม่พบเอกสารที่เขียนด้วยภาษาอื่น ตัวอย่าง เช่น ถ้าต้องการสืบค้นคำว่า ฐานข้อมูล ก็จะพบเฉพาะเอกสารที่มีเฉพาะคำว่า ฐานข้อมูลในเอกสารภาษาไทยเท่านั้น ข้อมูลเรื่องฐานข้อมูลในเอกสารภาษาอื่นๆ จะไม่ได้ถูกดึงขึ้นมา ซึ่งจะเป็นการพลาดโอกาสในการใช้เอกสารที่มีประโยชน์ได้  อ่านรายละเอียดต่อ– ( 43 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เจาะลึกวิชาชีพบรรณารักษ์

จากเว็บไซต์ http://master-degree-online.com/infographic-anatomy-of-a-librarian/ ได้เจาะลึกวิชาชีพบรรณารักษ์ในรูปแบบของ infographic ในด้านต่างๆ เช่น อายุ: อายุของบรรณารักษ์  จะอยู่ในช่วง 20-24 ปี เพียง 1% แต่จะมีอยู่ในช่วงอายุ 25-54 มากที่สุด คือ 75% และ อายุมากว่า 55 ปี 24% เพศ: เพศที่มักประกอบอาชีพบรรณารักษ์ คือ ผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ 78% ที่เหลือ 22% เป็นผู้ชาย งานในห้องสมุดกับการทำงานของสมอง:  เป็นส่วนชอบมากที่สุด แสดงการใช้งานสมองซีกซ้ายและซีกขวาว่าสมองแต่ละซีกทำงานแบบใดในห้องสมุด เชิญชมภาพ infographic แบบเต็มร้อยได้เลยค่ะ– ( 44 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

12 องค์กร/สมาคม ที่บรรณารักษ์ใหม่ควรรู้จัก

ในเว็บไซต์ LibraryScienceList.com ได้เขียนถึง 12 องค์กร/สมาคม ทางด้านห้องสมุด ที่บรรณารักษ์จบใหม่ รุ่นใหม่ ควรรู้จักหรือคุ้นเคย แต่เป็นองค์กร/สมาคม ของสหรัฐอเมริกา แล้วถ้าหันมามองประเทศไทย ไม่ต้องนึกถึงเฉพาะบรรณารักษ์จบใหม่ หรือบรรณารักษ์รุ่นใหม่เลย รุ่นก่อนหน้านั้น (ไม่ขอใช้คำว่า รุ่นเก่า) ควรจะมีสมาคม/องค์กรใดบ้างที่ควรรู้จัก อันเป็นว่า มารู้จัก องค์กรในอเมริกา ก่อนก็แล้วกันค่ะ อ่านแล้วอาจจะรู้จักมากกว่าองค์กร/สมาคมของไทย ก็ได้ค่ะ ทั้ง 12 องค์กร/สมาคม ได้แก่ – ( 283 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Bibliomining เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานห้องสมุด

ห้องสมุดมีบทบาทและทำหน้าที่สำคัญในการเป็นหัวใจขององค์กรในการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ และบทบาทการเป็นผู้ให้บริการสารสนเทศ ในบทบาทของการเป็นผู้ให้บริการสารสนเทศ ห้องสมุดจึงเต็มไปด้วยข้อมูลต่างๆ ของผู้คนที่อยู่ในองค์กร ข้อมูลพื้นฐานเหล่านั้น สามารถนำออกมาแสดงด้วยการทำเหมืองข้อมูลของห้องสมุด (library data mining) การทำ Bibliomining เป็นการนำข้อมูลภายในของห้องสมุดออกมาประมวลผล รวมทั้งอธิบายความหมายตามบริบทของห้องสมุด Bibliomining มาจากคำ 2 คำ คือ Bibliometrics และ Data mining หมายถึง การประมวลผลข้อมูลของห้องสมุดด้วยการใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล (data mining) หรือกล่าวง่ายๆ ว่า เป็นการนำข้อมูลจำนวนมากในระบบห้องสมุดที่ใช้กันอยู่ในประจำวันมาประมวลผล  ในบทความนี้ จะกล่าวถึงวิธีการที่ห้องสมุดและผู้บริหารห้องสมุดใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล ในการทำให้เกิดความเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุด บุคลากร และรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้ในห้องสมุดเพื่อ ประโยชน์ในการบริหารงานห้องสมุด อ่านเพิ่มเติม– ( 99 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Federated Searching

การสืบค้นแบบ Federated Search หรือบางแห่งอาจจะเรียกว่า Single search หรือ One search เป็นการสืบค้นที่ถูกดึงเป็นเรื่องสำคัญของห้องสมุดเกือบทุกแห่ง ด้วยความสามารถของเครื่องมือนี้ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลจากหลายๆ แห่ง ในเวลาเดียวกัน ได้ด้วยการใส่คำค้นเพียงครั้งเดียวผ่านหน้าจอหรืออินเทอร์เฟสการค้นเพียงหนึ่งเดียว และแสดงผลการสืบค้นที่ได้เป็นชุดเดียว ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถได้รับข้อมูลทั้งจากฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด จากเว็บไซต์ต่างๆ หรือแม้แต่ฐานข้อมูลออนไลน์จำนวนมากที่ห้องสมุดบอกรับ – ( 127 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments