magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "Digital Archives"
formats

ตัวบ่งชี้ถาวร (Persistent Identifier)

ตัวบ่งชี้ทางบรรณานุกรม เช่น เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number – ISBN) และ เลขมาตรฐานประจำวารสาร (International Serial Number – ISSN) มีการใช้ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 แต่ด้วยความเติบโตอย่างรวดเร็วของสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ เป็นความท้าทายหลักต่อระบบตัวบ่งชี้ที่มีมาแต่เดิม เนื่องจากตัวบ่งชี้แบบเดิม เช่น เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือไม่ได้ถูกนำมาใช้ในอินเทอร์เน็ต นั่นเป็นเพราะ เลขที่อยู่ในเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ เช่น ISBN ไม่ได้เป็นหรือจะถูกตีความว่าเป็นตัวที่เชื่อมโยงด้วยเว็บบราวเซอร์ได้ ตัวบ่งชี้ถาวร (Persistent identifier-PI) มีหลายหน้าที่ แต่หน้าที่ที่สำคัญคือ เป็นตัวทำให้ตัวบ่งชี้แบบเดิมสามารถทำงานได้ในเว็บ และเป็นตัวจัดหาตัวเชื่อมโยงที่ถาวรไปยังสารสนเทศได้ การใช้ PI ต้องเป็น PI ที่ผู้ใช้สามารถให้ความเชื่อถือได้ว่าจะสามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าตำแหน่งของสารสนเทศนั้นจะถูกเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม ในทางปฏิบัติ ตัวบ่งชี้ถาวรต้องถูกจับคู่กับตัวบอกตำแหน่งที่อยู่ (locator) ที่ทันสมัยซึ่งจะต้องทำให้เข้าถึงสารสนเทศได้ตามที่แจ้งไว้ได้ – ( 193 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตัวบ่งชี้ถาวรดิจิทัลกับการทำงานข้ามระบบ

เป็นเพราะทรัพย์สินดิจิทัลหรือสารสนเทศดิจิทัล เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเรื่องทางวิทยาศาสตร์ ได้ทำให้การบ่งชี้ดิจิทัลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการสงวนรักษา การบริหารจัดการ การเข้าถึงและการนำกลับมาใช้ใหม่ของจำนวนข้อมูลมหาศาล หน้าที่ในการบ่งชี้การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล การสัมพันธ์กับเจ้าของผลงาน และองค์ประกอบอื่นๆ (เช่น สถาบัน/องค์กร กลุ่มวิจัย โครงการ) ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในการเข้าถึงการอ้างอิง การค้นคืน และการสงวนรักษาของทรัพยากรสารสนเทศทางวัฒนธรรมและทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้ ข้อสรุปบางประการสำหรับตัวบ่งชี้สารสนเทศดิจิทัลได้มีการเสนอในหลายๆ แห่งแตกต่างกัน เช่น ห้องสมุด สำนักพิมพ์ เป็นต้น และอีกหลายๆ มาตรฐานที่ยังอยู่ในระยะที่เริ่มได้ที่ของการพัฒนา (เช่น DOI, Handle, NBN, ARK, Scopus Id, ResearcherID, VIAF เป็นต้น) แต่ข้อด้อยสำคัญที่ยังคงทำให้ตัวบ่งชี้ถาวรเป็นปัญหาที่ยุ่งยาก ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งบางครั้งมีความเห็นที่ตรงกันข้ามในหลายประเด็นที่ต้องมีการถกเถียงกันต่อไป และด้วยความที่มีตัวบ่งชี้ดิจิทัลหลายตัว จึงเป็นเรื่องท้าทายไปถึงการหาข้อสรุปในการให้ตัวบางชี้เหล่านั้น สามารถทำข้ามระบบกันได้ (interoperability) APARSEN (Alliance for Permanent Access to the Records of Science Network) ได้สำรวจความสามารถในการทำงานข้ามระบบระหว่างตัวบ่งชี้ถาวร (Persistent Identifiers-PIs)

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Open Archival Information System (OAIS) : ระบบสารสนเทศจดหมายเหตุแบบเปิด

Open Archival Information System Reference Model หรือ OAIS Reference Model พัฒนาโดย The Consultative Committee for Space Data Systems (CDSDS) เป็นกรอบแนวความคิด (conceptual framework) เพื่ออธิบายคุณลักษณะที่จำเป็นของระบบสารสนเทศจดหมายเหตุ ซึ่งนับว่าเป็นก้าวแรกในการจัดทำมาตรฐานอย่างเป็นทางการสำหรับการจัดเก็บสารสนเทศในระยะยาว (Long –term archiving) กับข้อมูลทางอวกาศ คำว่า Open Archival Information System หรือ ระบบสารสนเทศจดหมายเหตุแบบเปิด บางครั้งอาจสร้างความเข้าใจผิดได้ จากคำว่า “Open” เพราะว่า “Open” ในที่นี้ หมายถึง การพัฒนา คำแนะนำ และมาตรฐาน ที่ถูกสร้างขึ้นในกลุ่มที่มีความสนใจเดียวกันอย่างเปิดเผย แต่ไม่ได้หมายความว่า การเข้าถึงระบบนั้นจะไม่มีการจำกัด กล่าวได้ว่า OAIS คือ ระบบจดหมายเหตุที่ประกอบด้วย กลุ่มคนและระบบ ที่ได้ทำข้อตกลงและรับผิดชอบร่วมกันในการสงวนรักษาสารสนเทศ และทำให้สามารถเข้าถึงได้ในกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

National Diet Library เริ่มทดสอบระบบจดหมายเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ของญี่ปุ่นตะวันออก

10 ม.ค. 2556 กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารของประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับ National Diet Library ทำการทดสอบ ระบบจดหมายเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ของญี่ปุ่นตะวันออก (Great East Japan Earthquake Archive) ระบบการจัดการข้อมูลแบบบูรณาการที่รวมรายการข้อมูลมากกว่า 100,000 รายการ เกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ของเมืองทางชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2554 – ( 178 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เอกสารการประชุม iPRES 2012

ดาวน์โหลดเอกสารการประชุม International Conference on Preservation of Digital Objects หรือ iPRES ครั้งที่ 9 ประจำปี 2012 ซึ่งจัดขึ้น ณ University of Toronto เมื่อวันที่ 1-5 ตุลาคม 2012 ที่ผ่านมา คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด– ( 87 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

U. of Michigan แปลงจดหมายโบราณของ St. Paul พร้อมให้บริการบน iPad/iPhone

จดหมายโบราณหายากของ St. Paul ได้ถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลและเปิดให้บริการผ่านแอพพลิเคชั่นแบบโต้ตอบ  (Interactive app) บน  iPad และ iPhone – ( 121 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จดหมายเหตุออนไลน์ เมือง Vancouver แคนาดา

ทีมงานหอจดหมายเหตุ Vancouver ร่วมมือกันประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ อาทิ การแปลงเอกสารให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล สแกนเนอร์แผนที่ Blog Open-data hackathon Geocoding Youtube Historypin และ Flickr เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับเมือง Vancouver ผ่านรูปภาพและวิดีโอประวัติศาสตร์ เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงเพื่อการศึกษาค้นคว้าตามที่ต้องการต่อไปผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ด เว็บไซต์ City of Vancouver Archives คลิกที่นี่ ฐานข้อมูล City of Vancouver Archives คลิกที่นี่ ที่มาข้อมูล: Price, Gary. (2013). “Canada: Putting Vancouver’s History Online”. infoDocket [Online], 1 January. http://www.infodocket.com/2013/01/01/canada-putting-vancouvers-history-online [Accessed 1 January 2013].– ( 107 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Gale เปิดตัว The National Geographic Virtual Library

  Gale หนึ่งในบริษัทผู้นำด้าน Information solutions สำหรับห้องสมุด โรงเรียน และธุรกิจ ร่วมกับ The National Geographic Society องค์กรทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์ที่มิหวังผลกำไรของสหรัฐอเมริกา เจ้าของนิตยสารชื่อดังอย่าง The National Geographic เปิดตัว ห้องสมุดเสมือน National Geographic เมื่อต้นปี 2012 Gale ประกาศว่า ห้องสมุดสามารถสืบค้นและเข้าถึง นิตยสาร National Geographic ฉบับย้อนหลัง ระหว่างปี 1888-1994 นอกจากนี้ยังได้มีการขยายปีที่พิมพ์ของนิตยสารเพื่อให้บริการเพิ่มจากปี 1995 เป็นต้นไป รวมถึงคอลเลคชั่นอื่นๆ คือ หนังสือ แผนที่ ภาพ และ National Geographic Traveler magazine ตั้งแต่ปี 2010 ถึงปัจจุบัน โดยตัวอย่างของหัวข้อที่น่าสนใจซึ่งเผยแพร่ เช่น Polar Obsession โดย Paul

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Cambridge Digital Library: digital library for the world

กว่าปีที่ผ่านมาหนังสือและเอกสารต้นฉบับหายากกว่าแสนรายการที่ The University of Cambridge รับผิดชอบดูแล อยู่ระหว่างการถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลเพื่อให้บริการที่ the Cambridge Digital Library ด้วยความตั้งใจของทีมงานกว่า 30 คน พร้อมด้วยกล้องและสแกนเนอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงเนื้อหาภายในหนังสือและเอกสารหายากเหล่านี้ Grant Young, Director of the Cambridge Digital Library project กล่าวว่าโครงการ Cambridge Digital Library นี้เปรียบเหมือนการเปิดห้องสมุดแบบเดิมๆ สู่โลกภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการเปิดช่องทางเพื่อแบ่งปันทรัพย์สินที่มีค่าของมหาวิทยาลัยที่มักหลบซ่อนอยู่ให้กับคนทั่วโลก ซึ่งห้องสมุดของมหาวิทยาลัย Cambridge นี้ นับเป็นหนึ่งในห้องสมุดเพื่อการค้นคว้าและวิจัยที่ใหญ่ที่สุด มีคอลเลคชั่นที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากมายที่ควรได้รับการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการเข้าถึงและใช้งานจากผู้ใช้ห้องสมุด Cambridge Digital Library ถูกเริ่มหลังจากได้รับเงินบริจาค ประมาณ 1.5 ล้านปอนด์จากมูลนิธิการกุศล Polonsky ปัจจุบันหนังสือและเอกสารหายากประมาณ 3,700 รายการ หรือ 35,000 หน้า ได้เปิดให้บริการในรูปแบบดิจิทัลผ่านอินเทอร์เน็ตฟรี

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

บริการหนังสือพิมพ์หายากในสวิตเซอร์แลนด์ ให้บริการออนไลน์ฟรี

มากกว่า 1 ล้านหน้าของหนังสือพิมพ์หายากในสวิตเซอร์แลนด์ถูกดิจิไทซ์และให้บริการออนไลน์ฟรี The State and University Library Lausanne (BCU Lausanne)  ได้ดำเนินโครงการแปลง (Digitize) หนังสือพิมพ์หายากของสวิตเซอร์แลนด์เพื่อให้บริการออนไลน์ฟรี โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงที่  http://scriptorium.bcu-lausanne.ch เพื่อดาวน์โหลด พิมพ์ หรือ ส่งผ่านทางอีเมล ตัวอย่างคอลเลคชั่นที่สำคัญ เช่น “Feuille d’Avis de Lausanne” and “24 heures” ซึ่งถูกตีพิมพ์ระหว่างปี 1762-2001 ทั้งนี้โครงการเกิดขึ้นจากการสนับสนุนของ the Swiss National Library and Edipresse (Tamedia) Archives of Canton of Vaud และ the Archive of the City of Lausanne ที่มาข้อมูล: Price, G.

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments