magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "S&T Stories"
formats

การป้องกันที่รวดเร็วและอยู่นานจากไวรัสอีโบลาด้วยวัคซีนชนิดใหม่

Published on October 1, 2014 by in S&T Stories

คณะนักวิจัยจาก National Institutes of Health (NIH) นำโดย Nancy J. Sullivan รายงานว่าเพียงครั้งเดียวของวัคซีนที่สร้างจากยีนของไวรัสอีโบลา 2 ยีนต่ออยู่กับ vector ของไวรัสไข้หวัดของลิงชิมแปนซีหรือเรียกว่า chimp adenovirus type 3 (ChAd3) สามารถป้องกันลิงทั้ง 4 ตัวที่ได้รับเชื้อไวรัสอีโบลาปริมาณมาก 5 สัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อ คณะนักวิจัยยังแสดงอีกว่าการป้องกันจะอยู่นานมากขึ้นถ้าได้รับวัคซีนเพิ่มอีกตัวหนึ่ง ติดตามอ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่: NIH/National Institute of Allergy and Infectious Diseases (2014, September 8). Rapid and durable protection against Ebola virus with new vaccine regimens. ScienceDaily. Retrieved September 30, 2014, from http://www.sciencedaily.com/releases/2014/09/140908152930.htm–

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ในไม่ช้าพวกเราจะได้เห็นผลไม้ที่ได้รับการพัฒนาทางพันธุกรรมโดยไม่ต้องมีการส่งผ่านยีนแปลกปลอมเข้าไป

จากเผยแพร่ในวารสาร Trends in Biotechnology ความก้าวหน้าเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงของจีโนมทำได้อย่างแม่นยำ ทำให้เป็นไปได้ที่ผลไม้และพืชอื่นๆ อาจจะได้รับการพัฒนาทางพันธุกรรมโดยไม่ต้องมีการส่งผ่านยีนแปลกปลอมเข้าไป ผลไม้ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมโดยไม่ต้องมีการส่งผ่านยีนแปลกปลอมเข้าไป (genetically edited fruits) อาจได้รับการยอมรับจากคนทั่วไปมากกว่าสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (genetically modified organisms, GMOs) ที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป นี่สามารถหมายความว่าผลไม้ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมโดยไม่ต้องมีการส่งผ่านยีนแปลกปลอมเข้าไป เช่น กล้วยชนิดพิเศษซึ่งผลิตวิตามิน เอ มากขึ้นสามารถปรากฏบนชั้นของร้านขายของชำ ติดตามอ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่ : Cell Press (2014, August 13). Coming soon: Genetically edited ‘super bananas’ and other fruit?. ScienceDaily. Retrieved September 30, 2014, from http://www.sciencedaily.com/releases/2014/08/140813131044.htm– ( 41 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ชุดทดสอบ (ทางเคมี) อย่างง่ายทำงานอย่างไร?

Published on August 13, 2014 by in S&T Stories

หลายคนคงรู้ว่าชุดทดสอบอย่างง่าย (test kit) มักใช้เพื่อคัดกรองตัวอย่าง ก่อนที่จะนำไปทดสอบอย่างละเอียดด้วยเครื่องมือในห้องปฏิบัติการที่มีความเที่ยงตรงและแม่นยำสูง เพื่อให้ได้ผลถูกต้องมากขึ้น มีบทความหนึ่งแนะนำให้พวกเรารู้จักชุดทดสอบอย่างง่ายมากขึ้น เช่น พูดถึงหลักการทำงานของชุดทดสอบอย่างง่าย ชุดทดสอบอย่างง่ายที่ดีควรมีสมบัติอย่างไร ปฏิกริยาเคมีที่นำมาใช้กับชุดทดสอบอย่างง่ายมีหลายปฏิกิริยา ได้แก่ 1. ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับด่าง 2. ปฏิกิริยาออกซิเดชัน-รีดักชัน 3. ปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบเชิงซ้อน 4. ปฏิกิริยาของเอนไซม์ นอกจากนี้ในบทความยังอธิบายหลักการทำงานของชุดทดสอบการตั้งครรภ์ ติดตามอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : ศุภมาส ด่านวิทยากุล. “ชุดทดสอบ (ทางเคมี) อย่างง่ายทำงานอย่างไร?” เทคโนโลยีวัสดุ. 74 : 17-20 : กรกฎาคม – กันยายน 2557.– ( 45 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สนุกกับผลึกหิมะ

Published on August 13, 2014 by in S&T Stories

เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีโอกาสอ่านบทความเรื่อง สนุกกับผลึกหิมะ มีการแนะนำให้รู้จักผลึกหิมะหลากหลายแบบพร้อมทั้งมีรูปภาพประกอบ เช่น ผลึกหิมะรูปปริซึมอย่างง่าย (simple prism) เป็นผลึกหิมะที่มีรูปร่างอย่างง่ายๆ มีรูปร่างคล้ายกล่องขนม Koala’s March ซึ่งมีหน้าตัดรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า หากยาวหน่อยก็เรียกว่า แท่ง (column) แต่หากสั้นและแบนก็เรียกว่า แผ่น (plate) ผลึกหิมะรูปปริซึมยังสามารถมีฝาปิดทั้ง 2 ด้าน บน-ล่าง โดยฝาปิดอาจมีรูปแบบต่างๆ อย่างหลากหลาย ผลึกหิมะแบบนี้เรียกว่าแท่งมีฝาปิด (capped column) นอกจากนี้ในบทความยังพูดถึงโมเดลผลึกหิมะและการสร้างซึ่งเกิดจากแรงบันดาลใจให้คนเราสร้างสรรค์งานศิลปะง่ายๆ จากผลึกหิมะในธรรมชาติ ติดตามอ่านเรื่องราวฉบับเต็มได้จาก : บัญชา ธนบุญสมบัติ. “สนุกกับผลึกหิมะ” เทคโนโลยีวัสดุ. 74 : 13-16 : กรกฎาคม – กันยายน 2557.– ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หมัดทรงพลังของกั้งตั๊กแตน 7 สี: ต้นแบบวัสดุที่รอคอย

Published on August 13, 2014 by in S&T Stories

คณะนักวิจัยนำโดยเดวิด ไคเซลอัส (David Kisailus) วิศวกรเคมีของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ริเวอร์ไซด์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเซาเทิร์น แคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยเพอร์ดู ได้พัฒนาวัสดุชนิดใหม่ที่มีน้ำหนักเบา แต่มีความแข็งแรงสูงได้สำเร็จโดยการเลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งทำให้ความต้องการของมนุษย์ที่จะมียานพาหนะประหยัดพลังงาน เสื้อเกราะทรงประสิทธภาพ หรืออุปกรณ์ป้องกันการบาดเจ็บของนักกีฬาที่ได้ผลชะงัดคงเป็นไปได้ นักวิทยาศาสตร์พบว่า กั้งตั๊กแตน 7 สีมีหมัดที่หนักกว่าน้ำหนักของตัวเองมากกว่า 1,000 เท่า มีความเร็วราว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และที่สำคัญสามารถชกเหยื่อได้มากถึง 50,000 ครั้งโดยกำปั้นของมันไม่ได้รับความเสียหายใดๆ นอกจากนี้การชกเป็นชุดอย่างรวดเร็วจะทำให้น้ำบริเวณรอบๆ หมัดร้อนเหมือนน้ำต้ม เกิดฟองอากาศจำนวนมากไประเบิดบนตัวเหยื่อ เหยื่อจึงเหมือนโดนชกซ้ำอีกรอบ ด้วยเหตุนี้เองทำให้คณะนักวิจัยของไคเซลอัสสนใจและพยายามที่จะไขความลับที่ซุกซ่อนอยู่ในกำปั้นของกั้งตั๊กแตน 7 สี ติดตามอ่านเรื่องราวทั้งหมดได้จาก : อรวรรณ สัมฤทธิ์เดชขจร. “หมัดทรงพลังของกั้งตั๊กแตน 7 สี: ต้นแบบวัสดุที่รอคอย” เทคโนโลยีวัสดุ. 74 : 11-12 : กรกฎาคม – กันยายน 2557.– ( 799 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เชื้อเพลิงจากสาหร่าย

Published on August 11, 2014 by in S&T Stories

ปัจจุบันน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาสูงขึ้นมาก เพราะปริมาณน้ำมันในธรรมชาติเริ่มลดน้อยลง หลายคนเกรงว่าจะเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันไปทั่วโลก ดังนั้นจึงมีการมองหาแหล่งเชื้อเพลิงทางเลือกอย่างเร่งด่วน แนวทางหนึ่งที่กำลังเป็นที่น่าจับตามองคือ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของสาหร่ายบางชนิดให้กลายเป็นแหล่งผลิตน้ำมันขนาดจิ๋ว นักวิทยาศาสตร์มีแนวทางในการพัฒนาอย่างไร ทำไมต้องเป็นน้ำมันจากสาหร่าย และสิ่งที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์สนใจเลือกใช้สาหร่ายคืออะไร ติดตามหาคำตอบได้จากบทความเรื่อง เชื้อเพลิงจากสาหร่าย เขียนโดย อรวรรณ สัมฤทธิ์เดชขจร ในวารสารเทคโนโลยีวัสดุ ฉบับที่ 61 : ตุลาคม – ธันวาคม 2553 หน้า 29-35– ( 35 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คู่กัดเทคโนโลยี: ไฟฟ้ากระแสตรง VS กระแสสลับ

Published on August 11, 2014 by in S&T Stories

ครั้งหนึ่งเคยเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า สงครามกระแสไฟ (currents war) แต่สงครามนี้ไม่ใช่การแย่งกันใช้กระแสไฟฟ้า แต่เป็นการแข่งขันระหว่างเทคโนโลยีไฟฟ้ากระแสตรงที่พัฒนาโดยโทมัส อัลวา เอดิสัน  (Thomas Alva Edison) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเกิดก่อนกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นภายหลังอย่างไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งพัฒนาโดยนิโคลา เทสลา (Nikola Tesla) ติดตามอ่านเรื่องราวที่มาของเหตุการณ์ในครั้งนั้นและการก่อกำเนิดของไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับได้จากบทความเรื่อง คู่กัดเทคโนโลยี: ไฟฟ้ากระแสตรง VS กระแสสลับ เขียนโดย The One ในวารสารเทคโนโลยีวัสดุ ฉบับที่ 61 : ตุลาคม – ธันวาคม 2553 หน้า 19-23– ( 89 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ท่อนาโนคาร์บอน: วัสดุในอนาคต

Published on August 11, 2014 by in S&T Stories

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ท่อนาโนคาร์บอน และรู้ว่าท่อนาโนคาร์บอนนี้นำไปประยุกต์ใช้อะไรได้บ้าง เช่น วัสดุอิเล็กโทรดในวงจรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อลดความต้านทาน ท่อนาโนคาร์บอนที่มีสมบัติเป็นวัสดุกึ่งตัวนำสามารถสร้างเป็นเซนเซอร์ในการตรวจวัดแก๊ส ด้วยคุณสมบัติพิเศษด้านความแข็งแรงของท่อนาโนคาร์บอนที่เหนือกว่าโลหะและวัสดุอื่นๆ จึงนำไปใช้สร้างความแข็งแรงให้กับไม้เทนนิส ไม้เบสบอล จักรยาน ถึงอย่างไรก็ตามยังมีหลายคนอยากรู้จักท่อนาโนคาร์บอนให้มากขึ้น ติดตามอ่านบทความที่มีเนื้อหาที่น่าสนใจเรื่อง ท่อนาโนคาร์บอน: วัสดุในอนาคต ซึ่งได้พูดถึงหัวข้อ มารู้จักกับท่อนาโนคาร์บอน การสังเคราะห์ท่อนาโนคาร์บอน สมบัติของท่อนาโนคาร์บอนกับการประยุกต์ใช้ ได้จาก : อภิชาติ ด่านวิทยากุล. “ท่อนาโนคาร์บอน: วัสดุในอนาคต” เทคโนโลยีวัสดุ. 61 : 13-18 : ตุลาคม – ธันวาคม 2553.– ( 56 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มุมกลับของนาโนซิลเวอร์

Published on August 11, 2014 by in S&T Stories

ในช่วงที่นาโนเทคโนโลยีกำลังมาแรง หลายคนต้องเคยได้ยินคำโฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มากมายที่ใช้นาโนซิลเวอร์ เช่น ภาชนะบรรจุอาหาร เสื้อผ้าที่ปราศจากกลิ่น อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านและอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยผู้ผลิตจะกล่าวถึงสมบัติเด่นของนาโนซิลเวอร์ที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดี ถึงอย่างไรก็ตามอาจมีคำถามว่าหากอนุภาคนาโนซิลเวอร์ปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมจะมีผลกระทบอะไรบ้าง? ติดตามอ่านบทความที่มีเนื้อหาที่น่าสนใจเรื่อง มุมกลับของนาโนซิลเวอร์ ได้จาก : ต้นน้ำ. “มุมกลับของนาโนซิลเวอร์” เทคโนโลยีวัสดุ. 61 : 8-12 : ตุลาคม – ธันวาคม 2553.– ( 33 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ภาพเหล่านี้จะทำให้คุณไม่อาจไว้วางใจสมองของคุณอีกต่อไป …

สมองของเราได้มีการพัฒนายุทธวิธีที่น่าทึ่งและการจัดการกลไกที่จะช่วยให้เราเข้าใจต่อโลกที่ซับซ้อนรอบตัวเรา แต่บางส่วนของจิตใจของเราจะไม่สมบูรณ์และไม่สามารถสัมผัสผ่านภาพลวงตาที่แสนจะหลอกลวงเหล่านี้ สีเหลี่ยมเหล่านี้เป็นทั้งสองสีเป็นสีเดียวกัน ลองเอานิ้วกั้นระหว่างสองสีนี้สิ!   ภาพลวงตา CORNSWEET เป็นภาพลวงตาเกิดจากปรากฏการณ์ในสมองที่เรียกว่าการยับยั้งเทียบเคียงซึ่งสร้างความคมชัดมากขึ้นระหว่างสองวัตถุเพราะขอบสีที่แตกต่างกัน   – ( 235 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments