magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Health ความสำเร็จที่มาจากทุนนักวิจัยแกนนำสู่ประชาคมอาเซียน
formats

ความสำเร็จที่มาจากทุนนักวิจัยแกนนำสู่ประชาคมอาเซียน

จากการบรรยายเรื่อง ความสำเร็จที่มาจากทุนนักวิจัยแกนนำสู่ประชาคมอาเซียน  วันที่ 1 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช.  ซึ่งในปีนี้ จัดภายใต้หัวข้อเรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การบรรยายแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ “นกเงือกในผืนป่า ก่อนเปิดประชาคมอาเซียน” (โดย ศ.ดร. พิไล พูลสวัสดิ์และคณะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
ช่วงที่สอง เป็นเรื่อง “มะเร็งท่อน้ำดี: ปัญหาร่วมของประชากรลุ่มน้ำโขง” (โดย รศ.ดร. โสพิศ วงศ์คำและคณะ ศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

ช่วงที่หนึ่งนกเงือกในผืนป่า ก่อนเปิดประชาคมอาเซียน
นกเงือกเป็นสัตว์ป่าที่เป็นดัชนีชี้ ความสมบูรณ์ของป่าไม้ และยังมีบทบาทที่สาคัญในการช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้ป่าหลายชนิด ซึ่งถือเป็นการช่วยรักษาโครงสร้างป่า และผดุงพันธุ์ไม้ป่า โครงการศึกษาวิจัยนี้ กำเนิดขึ้นจากความห่วงใยต่อสถานสภาพของนกเงือก ความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความเข้าใจสถานภาพและอนาคตของนกเงือกในประเทศไทยตั้งแต่ระดับพันธุกรรมประชากร จนกระทั่งถึงระดับระบบนิเวศน์ ซึ่งจะเป็นงานบุกเบิกสู่การอนุรักษ์สัตว์ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย

ศ.ดร.พิไล พูลสวัสดิ์และคณะ ได้ศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของนกเงือก 13 สายพันธุ์ และได้พบว่ามีนกเงือก 3 ชนิดที่พบในประเทศไทย คือ
นกเงือกหัวหงอก นกชนหิน และนกเงือกคอแดง อาจเป็นบรรพบุรุษของนกเงือกเอเชีย จากการศึกษาพบว่า นกเงือกหัวหงอก มีประชากรขนาดเล็กมาก (น้อยกว่า 100 ตัว)  แม้ว่าจะมีการอนุรักษ์อย่างเข้มข้นก็มีโอกาสสูญพันธุ์ไปจากป่าผืนในอนาคต

และช่วงที่สอง มะเร็งท่อนาดี:ปัญหาร่วมของประชากรลุ่มน้ำโขง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงเป็นแหล่งที่มีอุบัติการณ์ของมะเร็งท่อน้ำดีสูงที่สุดในโลก แม้ว่าจะมีการพิสูจน์แล้วว่า
การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สาคัญ แต่มะเร็งท่อน้ำดียังคงเป็นมะเร็งอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิต ชาวอีสานแม้ในปัจจุบัน ทั้งนี้ เนื่องจากยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นที่ยังไม่ทราบแน่ชัด ขาดการวินิจฉัยมะเร็งท่อน้ำดีในระยะต้น ขาดความรู้ ในกระบวนการพัฒนาของมะเร็งสู่ระยะแพร่ลุกลาม รวมทั้งขาดความเข้าใจในพฤติกรรมของมะเร็งท่อน้ำดีในการสนองตอบต่อยาเคมีบำบัด ทำให้การรักษามะเร็งท่อน้ำดีไม่ได้ผล ดังนั้นงานวิจัยนี้ จึงศึกษาในมิติต่างๆ ดังที่กล่าวมาควบคู่กัน เพื่อลดความสูญเสียจากมะเร็งท่อน้ำดี

ติดตามสื่อนำเสนอของหัวข้อนี้ได้ที่ http://nstda.or.th/nac2013/2-2seminar.php– ( 72 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


+ 5 = six

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>