magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "ASEAN Economic Community"
formats

ศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (จร.)

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้เปิดศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2554 เนื่องจากการที่อาเซียนจะรวมตัวกันทางเศรษฐกิจเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี พ.ศ. 2558 จึงเป็นจุดเริ่มต้นของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศในการถ่ายทอดข้อมูลและสร้างความเข้าใจ โดยมุ่งการให้บริการที่เน้นการสื่อสารสองทาง เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลจากส่วนผู้เจรจาการค้า (Negotiators) ไปสู่ผู้ใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงเขตการค้าเสรี (Stakeholders) ควบคู่ไปกับการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ SME และผู้สนใจทั่วไปได้ใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้าตามความตกลงต่างๆ ของไทยในการประกอบธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมโดยสามารถวางแผนธุรกิจเตรียมความพร้อมทั้งเชิงรับและเชิงรุก เพื่อใช้โอกาสจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและการเปิดเสรีทางการค้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ติดตามข้อมูลและขอใช้บริการได้ที่ โทร 0 2507 7555 โทรสาร 0 2547 5612 อีเมล info@dtn.go.th – ( 107 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นานาสาระเกี่ยวกับ AEC กับ EXIM Bank

ในเว็บไซต์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับ AEC ในแง่ของการลงทุน การทำธุรกิจ การส่งสินค้ากับประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน  บทความต่างๆ เหล่านี้ น่าสนใจมากทีเดียว เป็นข้อมูลให้กับผู้ประกอบการ นักลงทุนของไทย ในการเข้าสู่ถนน AECโดยเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ที่ http://www.exim.go.th/Newsinfo/aec.aspx?section_=77711844 นอกจากเว็บไซต์นี้แล้ว ท่านสามารถติดตามแหล่งสารสนเทศอาเซียนในแง่มุมอื่นๆ ได้ที่ http://stks.or.th/th/asean-resources.html และ http://nstda.or.th/asean/    – ( 111 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

AEC : ขุมทรัพย์ Talent ไร้พรมแดน (AEC : Talent Treasury)

AEC : ขุมทรัพย์ Talent ไร้พรมแดน (AEC : Talent Treasury)  เป็นอีกหัวข้อหนึ่งในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อเรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Towards AEC with Science and Technology) เป็นการบรรยายวันที่ 31 มีนาคม 2556 เวลา 13.30-15.30 น. เนื่องจากในระยะเวลาเพียง 3 ปี ต่อจากนี้  ไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) บุคลากรในสาขาต่างๆ จะมีทางเลือกในการทำงานอย่างเปิดกว้าง กระแสของการหมุนเวียนแรงงานจะเปิดกว้างมากขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน ทุกภาคส่วนจะต้องมีกลยุทธ์ในการจูงใจและรักษาคนเก่ง แรงงานก็ต้องพัฒนาตนเองและสร้างคุณค่าให้แก่ตนเองและองค์กร เพื่อรักษางาน และสร้างจุดแข็งให้สามารถแข่งขันกับแรงงานจากต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศได้ การนำเสนอประสบการณ์ด้านการพัฒนากำลังคนของประเทศของวิทยากรในหัวข้อนี้ เพื่อสร้างความตระหนักด้านกำลังคนด้าน ว และ ท คุณลักษณะเด่นของ Talent บุคลากรคุณภาพภายในองค์กร การกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ศูนย์สารสนเทศอาเซียน มรภ. มหาสารคาม

ศูนย์สารสนเทศอาเซียน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (ASEAN Information Center, Rajabhat Mahasarakham University) ให้บริการสารสนเทศอาเซียน เพื่อให้ความรู้ และเป็นแหล่งศึกษาดูงานสำหรับโรงเรียน สถานศึกษา ซึ่งสามารถนำไปเป็นต้นแบบในกรจัดทำศูนย์อาเซียนศึกษาได้ ภายในศูนย์ฯ ประกอบด้วยเอกสารข้อมูล นิทรรศการ และสื่อต่างๆ เกี่ยวกับอาเซียน รวมทั้งได้จัดทำเว็บไซต์เพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งสารสนเทศอาเซียนอื่นๆ และที่ทางศูนย์ฯ พัฒนาขึ้นเอง สามารถเข้าถึงสารสนเทศและกิจกรรมของศูนย์ฯ ได้ที่  http://arcm.rmu.ac.th/~asean/asean_web/home.php – ( 154 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความร่วมมือทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มประเทศอาเซียน

ความร่วมมือทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นหนึ่งในหัวข้อการบรรยายหัวข้อหนึ่งที่จัดในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช.  ครั้งที่ 9 (NAC 2013)  เรื่องความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี สรุปเนื้อหาการบรรยายในส่วนของคุณปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ดังนี้ ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property : IP) ครอบคลุม 4 เรื่อง คือ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบ ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้า โดยวิทยากรเน้นบรรยายเรื่องเครื่องหมายการค้า  ว่าจะปกป้องและขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าอย่างไรในกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งนี้การเข้าร่วม AEC วัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจการค้าให้ดีขึ้น ซึ่งพื้นฐานอยู่ที่การวิจัยและพัฒนา (R&D) ซึ่งโดยภาพรวมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มี 4 ข้อ คือ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หอการค้าในกลุ่มประเทศอาเซียน

ติดตามข้อมูลของหอการค้าในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้ที่ http://www.nccibd.com/  (บรูไน) http://www.umfcci.com/ (พม่า) http://www.lncci.laotel.com/ (ลาว) http://www.philippinechamber.com/ (ฟิลิปปินส์) http://www.thaichamber.org/ (ไทย) http://www.ppcc.org.kh/ (กัมพูชา) http://www.kadin-indonesia.or.id/ (อินโดนีเซีย) http://www.micci.com  (มาเลเซีย) http://www.sicc.com.sg/ (สิงคโปร์) http://www.vcci.com.vn/ (เวียดนาม) แหล่งอ้างอิง: หอการค้าไทยและสภาหอการค้าไทย. http://www.thaichamber.org/scripts/aec.asp      – ( 162 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี : แผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ AEC เป็นหัวข้อหนึ่งที่จัดในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช.  ครั้งที่ 9 (NAC 2013)  เรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ดังนี้ แผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี เริ่มมาตั้งแต่ช่วงเหตุการณ์น้ำท่วม ปลายปี 2554 และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และได้รับการอนุมัติเมื่อเดือนกันยายน 2555 จนออกมาสู่แผนปฏิบัติการ (Action plan) ซึ่งจะมีการระดมสมองจัดทำแผนฏิบัติการ ในการสัมมนาครั้งนี้ ใน 3 ยุทธศาสตร์ย่อย คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : สร้างและบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์นาโน ยุทธศาสตร์ที่ 2 :

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการทำไร่อ้อย

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดทำฐานข้อมูลเชื้อพันธุกรรมอ้อย (http://cropthai.ku.ac.th) โดยมีข้อมูลเชื้อพันธุกรรมอ้อยซึ่งนักปรับปรุงพันธุ์สนใจมาก และพันธุ์อ้อยการค้าซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในส่วนเชื้อพันธุกรรมอ้อยเก็บรวบรวมลักษณะทางการเกษตรและทางพฤกษศาสตร์ เช่น ลักษณะลำต้น หูใบ แผ่นใบ สี กลุ่มขน ในส่วนพันธุ์อ้อยการค้า มีรูปภาพประกอบ ลักษณะทางการเกษตรมีอธิบายไว้เป็นจำนวนมาก เช่น ความหวาน ขนาด การแตกก่อ ลักษณะกลุ่มขน ยังมีข้อมูลสภาพดินที่เหมาะสมกับแต่ละพันธุ์ และในฐานข้อมูลยังรวบรวมพันธุประวัติอ้อย ความสัมพันธ์ของพันธุ์อ้อยแต่ละพันธุ์ ซึ่งมีประโยชน์ต่อนักปรับปรุงพันธุ์ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังมีระบบฐานข้อมูลการผสมพันธุ์ การเพาะเมล็ด และการคัดเลือกพันธุ์ ซึ่งทำให้นักปรับปรุงพันธุ์ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น เชื้อพันธุ์อ้อยแต่ละพันธุ์ออกดอกเมื่อไหร่ อ้อยแต่ละพันธุ์มีเพศดอกอะไร เคยผสมพันธุ์อ้อยคู่ใดเมื่อไหร่ อ้อยพันธุ์ใดผสมติดเมล็ดได้ดีหรือผสมไม่ติด อ้อยพันธุ์ใดผสมตัวเองไม่ติดบ้างหรือเป็นหมัน อ้อยพันธุ์ไหนให้ลูกผสมที่ดีเด่นบ้าง บริษัท มิตรผล พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด ได้ขยายพื้นที่ปลูกอ้อยไปยังประเทศลาว เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แต่ประสบปัญหาเหมือนไร่อ้อยในประเทศไทยคือ ไม่สามารถควบคุมโรคใบขาวในอ้อยได้ จนกระทั่งได้รับความรู้เรื่องเทคนิคการเพาะเลี้ยงอ้อยปลอดโรคและคำแนะนำให้จัดตั้งหน่วยผลิตอ้อยปลอดโรคที่ลาวจาก ดร.เฉลิมพล เกิดมณี จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ผลก็คือเมื่อนำอ้อยปลอดโรคจากหน่วยไปปลูกในไร่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถแก้ปัญหาโรคใบขาวได้เป็นผลสำเร็จ เรียบเรียงจากการบรรยายเรื่อง ผลงานวิจัยด้านอ้อยสู่การใช้ประโยชน์ ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 9

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพื่อเข้าสู่ AEC โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพื่อเข้าสู่ AEC โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหนึ่งในหัวข้อการบรรยายหัวข้อหนึ่งที่จัดในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช.  ครั้งที่ 9 (NAC 2013)  เรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ดังนี้ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เวชสำอาง มีผู้ประกอบการผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเครื่องสำอาง เวชสำอางที่สกัดจากสมุนไพรและที่ใช้นาโนเทคโนโลยีเป็นส่วนประกอบ  เวชสำอางใช้แตกต่างจากเครื่องสำอาง คือ เวชสำอางใช้แล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ (Functional cosmetics) สารออกฤทธิ์ที่ถือเป็นเวชสำอางได้แก่ Vitamin, Antioxidants, Hydroxy acids, Growth Factors, Hormones, Peptides, Glycosaminoglycans และสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิด ซึ่งจัดเป็นกลุ่มยาอยู่บ้าง ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ต้องมีเลขทะเบียน อย.  กำกับ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการสร้างความพร้อมของผู้ประกอบการไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

คำบางคำมักนำไปใช้โดยไม่รู้ความหมายที่ถูกต้อง เช่นเดียวกับคำว่า นวัตกรรม ส่วนใหญ่ใช้เรียกสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นใหม่ทั้งหมดเป็นนวัตกรรม ที่ถูกต้องนวัตกรรมคือ สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นใหม่แต่มีการสร้างรายได้นำไปสู่การตลาด ดังนั้นนวัตกรรมต้องประกอบด้วย 1.มีความใหม่ ซึ่งอาจทำขึ้นใหม่ทั้งหมดหรือมีการพัฒนาจากของเก่า 2.มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 3.สร้างผลสำเร็จเชิงพาณิชย์ และ 4.ต้องมีกระบวนการใชัความรู้และความคิดสร้างสรรค์ จึงทำให้นวัตกรรมส่งผลดีต่อผู้ประกอบการคือ สร้างรายได้เพิ่มขึ้น เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและการได้เปรียบ ดังนั้นบริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัททั่วโลกจึงมีการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องโดยอาจเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ซึ่งทำให้บริษัทเหล่านั้นประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนและก้าวสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจนั้น ระดับในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.ระดับค่อยเป็นค่อยไป เช่น เปลี่ยนชิ้นส่วนในโทรศัพท์ 2.ระดับเฉียบพลัน เช่น ผลิต CD ออกมาใช้แทนแผ่นเสียง 3.ระดับสิ้นเชิง เช่น สร้างเครื่องจักรไอน้ำใช้แทนแรงงงานคนและสัตว์ เหตุที่หลายบริษัทสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้นมาได้เนื่องจากมีศักยภาพหรือขีดความสามารถและมีการวางแผนจัดการที่ดี โดยแนวโน้มของการสร้างสรรค์นวัตกรรมคือ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต เพิ่มประสิทธิภาพและลดขนาดของผลิตภัณฑ์ ในระยะแรกสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยต่างๆ มีการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้เกิดองค์ความรู้ต่างๆ มากมาย เพื่อให้ผู้สนใจนำไปวิจัยต่อยอดและนำไปสู่การทำธุรกิจ ต่อมาเริ่มมีการร่วมลงทุนทำวิจัยกับภาคเอกชน มีภาคเอกชนมาตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยในมหาวิทยาลัยและสวทช. ส่งผลให้เกิดการสร้างนวัตกรรมมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมที่จะก้าวสู่เวทีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือแม้กระทั่งเวทีระดับโลก เรียบเรียงจากการบรรยายเรื่อง บทบาทของนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการยกระดับผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ AEC ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 9

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments