magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by tipparat
formats

ทำความรู้จักกับ Startup

“Startup” คงเป็นคำศัพท์ใหม่ทางธุรกิจที่หลายๆ คนคงจะได้ยินบ่อยครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ คำว่า Startup มักจะมาพร้อมกับภาพของเจ้าของธุรกิจรุ่นเยาว์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากกับธุรกิจใหม่ของพวกเขาพร้อมกับรายงานผลกำไรของบริษัทจำนวนหลักล้านซึ่งเกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อมีคนถามขึ้นมาว่า Startup คืออะไร เราก็ยังไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้ Startup เป็นแนวความคิดใหม่ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาและถูกกล่าวถึงอย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้พยายามที่จะระบุหาคำจำกัดความของแนวความคิดนี้ แต่ก็พบว่า ต่างคนก็ต่างมีคำจำกัดความของ Startup ที่แตกต่างกันไป และคนส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า ไม่ว่าจะเป็น อายุของบริษัท จำนวนเงินลงทุนหรือผลกำไร ประเภทของสินค้าและบริการ ก็ไม่สามารถเป็นตัวชี้ชัดได้ว่า ธุรกิจหนึ่งๆ คือ Startup หรือไม่ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/296-knowledges/21982-science-and-technology-news ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2559). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2559. ค้นข้อมูลวันที่ 29 เมษายน 2559 จาก http://ostc.thaiembdc.org/2016/?page_id=3110– ( 48 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ค่ายยุวทูตวิทยาศาสตร์:“ค่ายและการทัศนศึกษาวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชนไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา”

สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. จัดโครงการค่ายยุวทูตวิทยาศาสตร์:“ค่ายและการทัศนศึกษาวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชนไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา” (Young Ambassador in Science and Technology Program) ระหว่างวันที่ 22 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2559 เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจถึงศักยภาพการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทย ให้แก่เยาวชนไทยในสหรัฐฯ ที่มีความสนใจและมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำงานในหน่วยงานราชการหรือองค์กรการค้นคว้าวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญของสหรัฐฯ ในอนาคต อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในการประสาน สร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ในอนาคต อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/296-knowledges/21982-science-and-technology-news ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2559). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2559. ค้นข้อมูลวันที่ 29 เมษายน 2559 จาก http://ostc.thaiembdc.org/2016/?page_id=3110– ( 30 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ทดลองไวรัสซิก้ากับลิงที่กำลังตั้งครรภ์: ข้อดีและข้อเสียของการเปิดเผยผลการทดลองแบบ Real time

คณะนักวิทยาศาสตร์ นำโดย Dave O’Connor ศาสตราจารย์ของ University of Wisconsin-Madison ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มต้นการทดลองเพื่อศึกษาผลของไวรัสซิก้าที่มีต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์ โดยใช้ลิงเป็นสัตว์ทดลอง คณะนักวิทยาศาสตร์ได้ฉีดเชื้อไวรัสซิก้าให้แก่ลิงทดลองในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 และมีการเผยแพร่ความคืบหน้าของการทดลอง เช่น ผลการอัลตราซาวด์และการตรวจเลือด แบบ Real time บนเว็บไซต์ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปติดตามผลการทดลองได้ในทันที ไม่ต้องรอให้การทดลองเสร็จสิ้นและผ่านระบบการตรวจสอบเพื่อตีพิมพ์ที่ใช้เวลายาวนาน O’Connor ให้สัมภาษณ์กับสื่อของสหรัฐฯ ว่า การทดลองดังกล่าวอาจจะไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรมและศีลธรรม เนื่องจากลิงตั้งครรภ์ที่ถูกใช้ในการทดลองจะได้รับไวรัสซิก้า เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของไวรัสที่มีต่อลูกลิงในครรภ์ แต่เขาเห็นว่า หญิงตั้งครรภ์ในหลายๆ ประเทศที่มีการระบาดของไวรัสซิก้ากำลังได้รับผลกระทบจากไวรัสชนิดนี้ ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสชนิดนี้มากนัก เขาเชื่อว่าการศึกษาครั้งนี้จึงมีความจำเป็นต่อมนุษย์จำนวนมาก นอกจาก การตัดสินใจเลือกระหว่างประเด็นด้านศีลธรรมกับความจำเป็นของการศึกษาครั้งนี้แล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้หลายๆ คนสนใจคือ การเผยแพร่ข้อมูลและความก้าวหน้าของการวิจัยแบบ Real time ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับวงการวิจัยด้านชีววิทยา อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/296-knowledges/21982-science-and-technology-news ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2559). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2559. ค้นข้อมูลวันที่

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

1 ปีบนสถานีอวกาศนานาชาติของ Scott Kelly และ Mikhail Kornienko

ในวันที่ 27 มีนาคม 2558 นาย Scott Kelly และ Mikhail Kornienko เพื่อนนักบินอวกาศจากรัสเซียอีกคนหนึ่งได้ออกเดินทางจาก Baikonur Cosmodrome ประเทศคาซัคสถาน เพื่อไปปฏิบัติหน้าที่บนสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station – ISS) หลังจากนั้นอีก 340 วัน ทั้งคู่ได้สำเร็จจากภารกิจของพวกเขา และเดินทางกลับมายังผิวโลกอย่างปลอดภัยในวันที่ 1 มีนาคม 2559 ทั้งคู่ได้ปฏิบัติภารกิจที่จัดว่าเป็นอีกก้าวสำคัญของการสำรวจอวกาศของมนุษยชาติ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/296-knowledges/21982-science-and-technology-news ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2559). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2559. ค้นข้อมูลวันที่ 29 เมษายน 2559 จาก http://ostc.thaiembdc.org/2016/?page_id=3110– ( 20 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผู้หญิงกับ STEM Education

ในปัจจุบันนี้ การศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ หรือ STEM Education (Science, Technology, Engineering, and Math) เป็นคำที่ได้ยินกันอย่างแพร่หลาย หน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในหลายๆ ประเทศ ต่างตระหนักถึงความสำคัญของ STEM Education เพราะเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ช่วยพัฒนาบุคลากรและความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ การสนับสนุนให้ผู้หญิงมีความสนใจใน STEM จึงเป็นหนึ่งในวิธีการพัฒนาการศึกษาด้าน STEM ที่หลายๆ หน่วยงานของสหรัฐอเมริกาให้ความสนใจ เพราะหากสหรัฐฯ สามารถพัฒนาความสามารถด้าน STEM ให้แก่ผู้หญิงได้ ประเทศจะมีบุคลากรด้าน STEM เพิ่มมากขึ้นจำนวนมาก หน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบประเด็นนี้คือ The Office of Science and Technology Policy (OSTP) และ White House Council on Woman and Girls อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/20077-science-and-technology-news ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 
formats

วิดีโอ 3 มิติในอนาคต

ความร่วมมือของมหาวิทยาลัย Brigham Young (BYU) และสถาบัน Massachusetts Institute of Technology (MIT) ในการสร้างความยิ่งใหญ่ของจอภาพวิดีโอ 3 มิติ โดยใช้หลักการเกี่ยวกับแสง 3 หลักการ คือ การสะท้อน การหักเห และการเบี่ยงเบนของแสง นักวิจัยศึกษาบนพื้นผิว Lithium Niobate (LiNbO3) ซึ่งมีคุณสมบัติทางแสงที่ดีเยี่ยม รวมถึงศึกษาภายใต้พื้นผิวของ LiNbO3 โดยการสร้างช่องกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic Channels) หรือท่อนำคลื่น (Waveguides) เพื่อกักการผ่านของแสง โดยมีขั้วไฟฟ้าโลหะฝังไว้ในแต่ละท่อนำคลื่น เพื่อทดสอบความสามารถในการผลิตคลื่นเสียงบนพื้นผิว สำหรับการนำไปใช้ ทีมนักวิจัยมีการพัฒนาและผสมผสานเทคนิคด้านโทรคมนาคม และการศึกษาเกี่ยวกับแสงแบบครบวงจรเพื่อให้มีราคาลดต่ำลงกว่าวิธีก่อนหน้านี้ ทีมนักวิจัยใช้เทคโนโลยีเพื่อให้จอภาพง่ายต่อการใช้งาน แสดงผล 3 มิติ และมีราคาไม่แพง นอกจากนี้ทีมนักวิจัยศึกษาเพิ่มเติมเพื่อที่จะนำไปใช้ในการสร้างจอวิดีโอ 3 มิติที่มีขนาดใหญ่ประมาณห้องพัก อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/20077-science-and-technology-news ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2558). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความคาดหวังในการนำธาตุบนดวงจันทร์มาใช้ประโยชน์

มีการศึกษาทางด้านอวกาศพบว่าดวงจันทร์มีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุผิวดิน ธาตุที่หายากบนโลกมนุษย์และน้ำแข็งที่เกิดจากสารประกอบของน้ำ ซึ่งพบโดยประมาณ 1.6 พันล้านตันที่ขั้วดวงจันทร์ จากการตีพิมพ์ของนิตยสาร Physics World นักเขียนทางด้านวิทยาศาสตร์ Richard Corfield กล่าวถึงวิธีการที่บริษัทเอกชนและหน่วยงานด้านอวกาศมีความต้องการที่จะนำแหล่งทรัพยากรเหล่านี้มาใช้เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ในอนาคต และเปลี่ยนภูมิทัศน์ที่แห้งแล้งให้กลายเป็นเงิน บริษัท Shackleton Energy Company (SEC) ใน Texas มีแผนที่จะทำเหมืองสำรองขนาดใหญ่ โดยส่งคนและหุ่นยนต์เพื่อขุดเหมืองที่ขั้วดวงจันทร์ และทำการสกัดไฮโดรเจนและออกซิเจนจากน้ำแข็ง เพื่อนำไปใช้เป็นส่วนประกอบเชื้อเพลิงจรวดและสามารถขายให้กับคู่ค้าในอวกาศในวงโคจรโลกต่ำ (low Earth orbit) Dale Tietz ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท SEC กล่าวถึงแผนการสร้างสถานีบริการเชื้อเพลิงในอวกาศ โดยที่จะมีเชื้อเพลิงสำหรับจรวดขายในราคาที่ถูกกว่าการส่งเชื้อเพลิงไปจากโลก Moon Express เป็นอีกหนึ่งบริษัทเงินทุนเอกชนที่ทำการศึกษาทรัพยากรบนดวงจันทร์ที่ให้ความสนใจในการสกัดส่วนประกอบน้ำแข็งเพื่อนำไปใช้ในการผลิตเป็นพลังงานเชื้อเพลิง แต่อยู่ในรูปแบบที่แตกต่างออกไป โดยวางแผนที่จะดำเนินการผลิตเชื้อเพลิงโดยการใช้ high-test peroxide (HTP) ซึ่งเป็นที่รู้จักและมีการใช้เป็นเชื้อเพลิงจรวดมาเป็นระยะยาวนาน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/20077-science-and-technology-news ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2558). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2558. ค้นข้อมูลวันที่ 8

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความสัมพันธ์ของรูปแบบการคลอดทารกและจุลินทรีย์ในลำไส้ทารก

Joanna Holbrook นักวิจัยอาวุโสของสถาบัน Singapore Institute for Clinical Sciences กล่าวว่า สิ่งแวดล้อมในช่วงต้น เช่น รูปแบบการคลอด รูปแบบการให้อาหาร ช่วงระยะเวลาในการคลอด และสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย อาจมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของทารก จำนวนจุลินทรีย์ในลำไส้ และปริมาณไขมันในร่างกายของทารกในอนาคต โดยเชื่อว่า ปริมาณจุลินทรีย์ที่พบในลำไส้ทารกจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพทารกในภายหลัง จากการศึกษานี้ Holbrook และทีมนักวิจัยทดสอบในห้องปฏิบัติการ โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า 16s rRNA Sequencing เป็นการวิเคราะห์และเปรียบเทียบจุลินทรีย์ในตัวอย่าง ทีมนักวิจัยศึกษาจากตัวอย่างอุจจาระของทารกจำนวน 75 คน ซึ่งคลอดตามธรรมชาติและคลอดโดยการผ่าท้องที่เข้าร่วมในโครงการ GUSTO (Growing Up in Singapore Toward Healthy Outcomes) โดยนักวิจัยศึกษาตัวอย่างอุจจาระเมื่อทารกมีอายุครบ 3 วัน  3 สัปดาห์  3 เดือน และ 6 เดือน จาก 3 เชื้อชาติในประเทศสิงคโปร์ คือ เชื้อชาติจีน

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ควันไฟและความรุนแรงของพายุทอร์นาโด

Gregory Carmichael อาจารย์ด้านวิศวเคมีและวิศวชีวเคมี มหาวิทยาลัย University of Iowa ผู้อำนวยการร่วมสถาบัน Center for Global and Regional Environmental Research (CGRER) และผู้อำนวยการโครงการ Iowa Informatics Initiative ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างควันไฟกับความรุนแรงของพายุทอร์นาโดจากประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2011 ซึ่งเกิดพายุทอร์นาโดจำนวน 122 ลูก บริเวณพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐฯ ทำให้มีผู้เสียชีวิตสูงถึง 313 คน และได้รับการพิจารณาว่าเป็นความรุนแรงที่สุดทางสภาพอากาศหลังจากเหตุการณ์ในปี ค.ศ. 1950 การศึกษาของทีมนักวิจัยนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นการศึกษาครั้งแรกถึงอิทธิพลของควันไฟต่อความรุนแรงของพายุทอร์นาโดในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศสหรัฐฯ นอกจากนี้ศูนย์การคาดการณ์สภาพอากาศยังไม่เคยมีการพิจารณาถึงควันไฟในชั้นบรรยากาศและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ทำให้มีการพิจารณาว่าควันไฟเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้พายุทอร์นาโดเพิ่มความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทีมนักวิจัยใช้คอมพิวเตอร์จำลองเพื่อศึกษาข้อมูลที่บันทึกไว้ในช่วงเหตุการณ์ ค.ศ. 2011 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/20077-science-and-technology-news ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2558). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2558. ค้นข้อมูลวันที่

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การป้องกันที่รวดเร็วและอยู่นานจากไวรัสอีโบลาด้วยวัคซีนชนิดใหม่

Published on October 1, 2014 by in S&T Stories

คณะนักวิจัยจาก National Institutes of Health (NIH) นำโดย Nancy J. Sullivan รายงานว่าเพียงครั้งเดียวของวัคซีนที่สร้างจากยีนของไวรัสอีโบลา 2 ยีนต่ออยู่กับ vector ของไวรัสไข้หวัดของลิงชิมแปนซีหรือเรียกว่า chimp adenovirus type 3 (ChAd3) สามารถป้องกันลิงทั้ง 4 ตัวที่ได้รับเชื้อไวรัสอีโบลาปริมาณมาก 5 สัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อ คณะนักวิจัยยังแสดงอีกว่าการป้องกันจะอยู่นานมากขึ้นถ้าได้รับวัคซีนเพิ่มอีกตัวหนึ่ง ติดตามอ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่: NIH/National Institute of Allergy and Infectious Diseases (2014, September 8). Rapid and durable protection against Ebola virus with new vaccine regimens. ScienceDaily. Retrieved September 30, 2014, from http://www.sciencedaily.com/releases/2014/09/140908152930.htm–

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments